พารากอน ฮอลล์
พารากอน ฮอลล์ (อังกฤษ: Paragon Hall; ชื่อเดิม: รอยัล พารากอน ฮอลล์ (Royal Paragon Hall)) เป็นศูนย์แสดงสินค้า การประชุม และโถงคอนเสิร์ตในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นโถงประชุมหลัก 3 ห้อง และห้องประชุมย่อยอีก 6 ห้อง เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าสยามพารากอน ศูนย์การค้าหลักของย่านสยาม ย่านการค้าสำคัญใจกลางกรุงเทพมหานคร พารากอน ฮอลล์ จึงมักถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานสำคัญต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น การประกวด/แข่งขัน, งานแสดงสินค้า และคอนเสิร์ต เป็นต้น
พารากอน ฮอลล์ | |
---|---|
บรรยากาศภายในรอยัล พารากอน ฮอลล์ เมื่อปี พ.ศ. 2565 (ก่อนปรับปรุง) | |
ที่ตั้ง | 991 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น 5 ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
พิกัด | 13°44′49″N 100°32′06″E / 13.746993°N 100.534945°E |
เจ้าของ | บริษัท รอยัล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด |
ผู้ดำเนินการ | บริษัท สยามอัลไลแอนซ์ แมเนจเม้นท์ จำกัด |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2548 |
เปิดใช้งาน | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 |
ปรับปรุง | พ.ศ. 2566 – 2567 |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 800 ล้านบาท |
ชื่อเดิม | รอยัล พารากอน ฮอลล์ |
ที่นั่งแบบโรงละคร | 7,200 ที่นั่ง |
พื้นที่ปิดล้อม | |
พื้นที่ทั้งหมด | 12,000 ตารางเมตร |
ที่จอดรถ | 4,000 คัน |
ขนส่งมวลชน | สยาม |
เว็บไซต์ | |
www |
ประวัติ
แก้พารากอน ฮอลล์ มีชื่อเดิมว่า รอยัล พารากอน ฮอลล์ (Royal Paragon Hall) เป็นศูนย์ประชุมหลักภายในศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นเจ้าของโดย บริษัท รอยัล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด[1] ปัจจุบันดำเนินการโดย บริษัท สยามอัลไลแอนซ์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (ผู้บริหารเดียวกับทรู ไอคอน ฮอลล์ ในศูนย์การค้าไอคอนสยาม)[2] ซึ่งทั้ง 2 บริษัทอยู่ในเครือสยามพิวรรธน์ โดยใช้งบประมาณก่อสร้าง 800 ล้านบาท[3] เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549[1]
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2566 สยามพิวรรธน์ได้ประกาศปรับปรุงรอยัล พารากอน ฮอลล์ เพื่อรองรับรูปแบบการจัดงานให้มากขึ้น เป็น "ศูนย์กลางสถานที่จัดอีเวนต์และความบันเทิง" (Extraordinary Eventainment) โดยปิดปรับปรุงตั้งแต่เดือนธันวาคม และกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในชื่อ พารากอน ฮอลล์ (Paragon Hall) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567[4] โดยงานแรกที่จัดที่พารากอน ฮอลล์ โฉมใหม่นี้ คือ งานออกร้านคณะภริยาทูต ครั้งที่ 57 ของสภากาชาดไทย[5]
องค์ประกอบ
แก้พารากอน ฮอลล์ มีพื้นที่รวม 12,000 ตารางเมตร ออกแบบและการตกแต่งภายในอย่างพิถีพิถัน และจัดสรรพื้นที่อย่างลงตัว เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมทุกรูปแบบ เช่น คอนเสิร์ต การแสดงสินค้า นิทรรศการ การประชุม การเลี้ยงโต๊ะ และกิจกรรมพิเศษ เป็นต้น ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญ ได้แก่[1][3]
- โถงประชุมหลัก 3 โถง
- พารากอน ฮอลล์ 1 ออกแบบเป็นรูปเหลี่ยมเพชร ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "พารากอน" ที่สะท้อนความงดงามของแสงธรรมชาติในยามกลางวัน และแสงไฟในยามกลางคืน มีพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร รองรับคนได้มากกว่า 2,000 คน เพดานสูง 8 เมตร ผนังทั้ง 3 ด้านล้อมรอบด้วยกระจกใส ทำให้แสงจากภายนอกผ่านเข้ามาในโถงได้อย่างเต็มที่ สามารถมองเห็นสวนธรรมชาติภายนอกโถงได้
- พารากอน ฮอลล์ 2 และ 3 มีพื้นที่รวม 5,100 ตารางเมตร สามารถแบ่งเป็น 2 โถงได้โดยใช้ผนังเลื่อนเก็บเสียง (Portable partition) ความสูง 12.5 เมตร รองรับการจัดงานทุกรูปแบบ โดยเฉพาะคอนเสิร์ต ซึ่งสามารถรองรับคนได้มากกว่า 5,000 คน พร้อมด้วยจุดยึดแขวนรับน้ำหนักได้ 500 กิโลกรัมต่อจุด สำหรับแขวนป้ายตกแต่งและอุปกรณ์อื่น ๆ
- ห้องประชุมย่อย 6 ห้อง ขนาด 50-300 ตารางเมตร สำหรับการประชุมและสัมมนาต่าง ๆ
การใช้งาน
แก้พารากอน ฮอลล์ เคยเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ เช่น งานประกาศผลรางวัล การประกวด งานแสดงสินค้า การแสดงสด คอนเสิร์ต และละครเวที ดังนี้
งานประกาศผลรางวัลและการประกวด
แก้- เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์ 2006 (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2549)
- ซี้ด อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3 (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551)
- การประกวดนางสาวไทย 2551 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย และรอบตัดสิน (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551)
- รางวัลแชนแนลวีไทยแลนด์มิวสิกวิดีโออวอร์ดส 2009 (22 สิงหาคม พ.ศ. 2552)
- การประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2011 และมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2013-2018
- รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 14 (12 มิถุนายน พ.ศ. 2567)
งานแสดงสินค้า
แก้- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550; ตลาดซื้อขายภาพยนตร์)
- งานแสดงตราไปรษณียากรภาคพื้นเอเชีย 2550 (3-12 สิงหาคม พ.ศ. 2550)
- Bangkok Interactive Game Festival (BIG Festival) 2008 (3-6 เมษายน พ.ศ. 2551) และ 2009 (15-18 ตุลาคม พ.ศ. 2552)
- งานคอมเวิลด์ ไทยแลนด์
- งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมบันเทิงไทย 2551 (24-28 กันยายน พ.ศ. 2551) และ พ.ศ. 2552 (16-20 กันยายน พ.ศ. 2552)
- Thailand ICT Contest Festival 2008 และ 2009
- Thailand Internet Expo 2009
- Thailand Software Fair 2009
- SET In the City 2009
- Bangkok International Game Festival 2009-2012 (BIG Festival 2009-2012)
- Japan Expo in Thailand 2012-2017
- Thailand Game Show BIG Festival 2013
- งานแสดงตราไปรษณียากรโลก กรุงเทพ พ.ศ. 2556
- Thailand Comic Con 2014
- Bangkok Comic Con 2014
- Thailand Comic Con 2015 X Anime Idol Asia 2015
- Bangkok Comic Con X Thailand Comic Con 2018
- Toyotsu Japan Festival
- Nippon Haku Bangkok
คอนเสิร์ต ไลฟ์โชว์ และละครเวที
แก้- คอนเสิร์ต NICE CLUB สมาคมคนน่ารัก BY DAN & BEAM (10 กันยายน พ.ศ. 2549)
- AF the Musical ตอน เงิน เงิน เงิน (31 มีนาคม-8 เมษายน พ.ศ. 2550)
- บันทึกการแสดงสดซิกซ์อินเดอะซิตี โดย ทรูแฟนเทเชีย (27 เมษายน พ.ศ. 2551)
- Action Drama Concert FILM MISSION POSSIBLE LIVE (3 พฤษภาคม พ.ศ. 2551)
- Green Concert ครั้งที่ 11-22 (พ.ศ. 2551-2562)
- AF Bachelor Dream Concert โดย ทรูแฟนเทเชีย (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552)
- Kamikaze Live Concert (16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552)
- การ์ตูน เน็ตเวิร์ค ไลฟ์ ออน สเตจ: เบ็นเท็น ขุมพลังแห่งออมนิทริกซ์ (19-22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
- เดี่ยวไมโครโฟน โดย อุดม แต้พานิช ครั้งที่ 8-12 (พ.ศ. 2553-2561)
- The Idol Battle Concert (24 กรกฏาคม พ.ศ. 2553)
- เถ้าแก่น้อย presents K-OTIC THE REAL TIME CONCERT (23 เมษายน พ.ศ. 2554)
- คอนเสิร์ต 20 ปี คริสติน่า อากีล่าร์ (4-5 มิถุนายน พ.ศ. 2554) เป็นคอนเสิร์ตแรกในประเทศไทย ที่ทำเวทีตรงกลาง 360 องศา
- HIRUSCAR POST ACNE PRESENT KAMIKAZE LOVEเวอร์ CONCERT (30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
- คอนเสิร์ต ถึงไหนถึงกัน โดย นภัทร อินทร์ใจเอื้อ (24-25 กันยายน พ.ศ. 2554)
- Raptor 2011 Concert โดย แร็พเตอร์ (1-2 ตุลาคม พ.ศ. 2554)
- The Heroes Concert (15-16 ตุลาคม พ.ศ. 2554)
- คอนเสิร์ต ดี้-สีฟ้า “The Lyrics of Love” มุมมองความรัก จากปลายปากกาของ “ดี้-นิติพงษ์” และ “สีฟ้า” (4-5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555)
- คอนเสิร์ต I AM WHAT I AMP โดย เสาวลักษณ์ ลีละบุตร (2-3 มิถุนายน พ.ศ. 2555)
- คอนเสิร์ตรวมพลคนรัก เฟย์ ฟาง แก้ว "Biscuit Gap Presents FFKAHOLIC Concert" (26 มิถุนายน พ.ศ. 2555)
- คอนเสิร์ตอำลาพักงานของ "K-OTIC THE MEMORY CONCERT" (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
- J20 Anniversary Concert โดย เจตริน วรรธนะสิน (20-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
- คอนเสิร์ต สามแยกปากหวาน เฟส 2 (22-23 กันยายน พ.ศ. 2555)
- คอนเสิร์ตครบรอบ 5 ปี ค่ายกามิกาเซ่ "AIS 1-2-Call! Presents Kamikaze The5th Destiny Concert" (13 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
- Three Men & The Dreamgirls Concert (26-27 มกราคม พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต 6.2.13 (3-5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต 45 ปี เจนนิเฟอร์ คิ้ม "คอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายก่อนวัยทอง" (27-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต DJs on Stage VS The Star (28-29 กันยายน พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ตครบรอบ 6 ปี ค่ายกามิกาเซ่ "AIS 3G 1-2-Call! Presents Kamikaze K Fight Concert" (13 ตุลาคม พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต Turn Back Time With Tata โดย ทาทา ยัง (22-23 มีนาคม พ.ศ. 2557)
- คอนเสิร์ต กล่อมกรุง (3-4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
- คอนเสิร์ตครบรอบ 7 ปี ค่ายกามิกาเซ่ "AIS 3G 1-2-Call Presents Kamikaze แดนซ์ เนรมิต Concert" (4 ตุลาคม พ.ศ. 2557)
- Christina Kingdom Concert โดย คริสติน่า อากีล่าร์ (21-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)
- คอนเสิร์ต คิ้มรับแขก "KIM รับแขก" โดย เจนนิเฟอร์ คิ้ม (16-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)
- คอนเสิร์ต บี้ สุกฤษฎิ์ LOVE 10 ปีไม่มีหยุด (11-12 มิถุนายน พ.ศ. 2559)
- การแสดง "หมู่" โดย อุดม แต้พานิช และแขกรับเชิญ (3-11 กันยายน พ.ศ. 2559)
- คอนเสิร์ต ปรากฏการณ์เฉลียง โดย วงเฉลียง (17-18 กันยายน พ.ศ. 2559)
- คอนเสิร์ต ล้านตลับ โดย ใหม่ เจริญปุระ, คริสติน่า อากีล่าร์, นัท มีเรีย, นิโคล เทริโอ, สุนิตา ลีติกุล และทาทา ยัง (7-9 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- AmpSha concert โดย เสาวลักษณ์ ลีละบุตร และ มาช่า วัฒนพานิช (3-4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561)
- PECK PALITCHOKE 'FIRST DATE' Concert โดย ผลิตโชค อายนบุตร (20-22 เมษายน พ.ศ. 2561)
- GAM CONCERT MY FIRST TIME โดย วิชญาณี เปียกลิ่น (19-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2561)
- คอนเสิร์ต 4 โพดำ Oh My God (26-27 มกราคม พ.ศ. 2562)
- PECK PALITCHOKE Concert # 2 : LOVE IN SPACE โดย ผลิตโชค อายนบุตร (6-8 เมษายน พ.ศ. 2562)
- The Real Nadech Concert โดย ณเดชน์ คูกิมิยะ (19-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
- คอนเสิร์ต Cassette Festival (24-26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
- คอนเสิร์ต Singing Bird ครั้งที่ 1 ตอน เพลงตามคำขอ โดย ธงไชย แมคอินไตย์ (2-4 สิงหาคม พ.ศ. 2562)
- คอนเสิร์ต Aof Magic Night Concert โดย ปองศักดิ์ รัตนพงษ์ (15-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563)
- คอนเสิร์ต สี่แยกปากหวาน ตอน I Will Survive #สู้ตายเราต้องรอด (17-18 กันยายน พ.ศ. 2565)
- คอนเสิร์ต Cassette Festival 2 (24-25 กันยายน พ.ศ. 2565)
- คอนเสิร์ต PP KRIT THE FIRST FAN MEETING LIT & GLITTER Presented by Lazada (4-5 มีนาคม พ.ศ. 2566)
- คอนเสิร์ต 4 โพดำ ปะทะ 3 ดอกจิก #อสรพิษมิตรร้าย (1-2 เมษายน พ.ศ. 2566)
- BABYMONSTER PRESENTS : SEE YOU THERE IN BANGKOK (29-30 มิถุนายน พ.ศ. 2567)
- คอนเสิร์ต Cassette Fest Mega Hits (13-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2567)
- DHEVAPHOM FAN CON AFTER PARTY (25 สิงหาคม พ.ศ. 2567)
การเมือง
แก้- จุดเลือกตั้งล่วงหน้าใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 (7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566)[6] โดยมีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์มากเป็นลำดับที่สองของกรุงเทพมหานครรองจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก และเป็นพื้นที่ศูนย์การค้าหนึ่งในสองแห่งของกรุงเทพมหานครที่จัดการเลือกตั้งล่วงหน้า[7]
งานอื่น ๆ
แก้- จุดฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยความร่วมมือกับโรงพยาบาลกรุงเทพ, สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร, หอการค้าไทย (7 มิถุนายน-31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564)[8] และโรงพยาบาลสมิติเวช (พฤษภาคม พ.ศ. 2566)[9]
ระเบียงภาพ
แก้-
รอยัล พารากอน ฮอลล์ 1 มุมปกติ
-
รอยัล พารากอน ฮอลล์ 2-3 มุมปกติ
-
รอยัล พารากอน ฮอลล์ 1 เวลากลางคืน
-
รอยัล พารากอน ฮอลล์ 2-3 มุมสูง
รางวัล
แก้- ป้ายมาตรฐานอาคารปลอดภัย ประจำปี 2554
- รางวัลธรรมาภิบาลดีดเด่น ประจำปี 2558
- TCC Best 2014
- Thailand MICE Venue Standard 2014
- Thailand MICE Venue Standard 2015
- Thai Chamber Of Commerce Best Award 2016
- TBCSD Green Meetings
- ISO 22301 การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ[10]
- ISO 20121 การบริหารการจัดงานอย่างยั่งยืน[10]
- TIS 22300 การจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับการจัดประชุม สัมมนาและนิทรรศการ[10]
- Superbrands Award 2017
- ตราสัญลักษณ์มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย
- ตราสัญลักษณ์มาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน ประเภท สถานที่จัดงานแสดงสินค้า[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "สยามพารากอน ตอกย้ำความภาคภูมิแห่งสยามผงาด "รอยัล พารากอน ฮอลล์"". Positioning Magazine. 19 กรกฎาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 "สยามอัลไลแอนซ์ แมเนจเม้นท์ นำ รอยัล พารากอน ฮอลล์ และ ทรู ไอคอน ฮอลล์ คว้าสองตรามาตรฐาน ตอกย้ำการเป็นผู้นำสถานที่จัดงานระดับโลก". ผู้จัดการออนไลน์. 30 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 เทง, ทาลูน (4 กรกฎาคม 2017). "'ทีมเวิร์ค-นวัตกรรม' หัวใจสำคัญของ รอยัล พารากอน ฮอลล์ World Class Venue ที่สุดของไทย". Marketing Oops! (Interview). สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.
- ↑ "BABYMONSTER ประกาศเพิ่มรอบแฟนมีตติ้งในไทย เจอกันแน่ 29-30 มิถุนายน นี้". สปริงนิวส์. 4 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ตื่นตาสินค้าพื้นเมือง 57 ชาติ งาน'ออกร้านคณะภริยาทูต'". ไทยโพสต์. 6 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""วัยรุ่น" แห่ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าคึกคักแน่นพารากอนฮอลล์". ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16. 7 พฤษภาคม 2023.
- ↑ ""ม.ราม-รอยัล พารากอนฮอลล์-เขตห้วยขวาง" คนแห่เลือกลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 7 พ.ค. มากสุด". mgronline.com. 2023-04-26.
- ↑ "สยามพารากอนเปิดพื้นที่ทางเลือกให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชน ใจกลางกรุงเทพมหานคร". เดอะสแตนดาร์ด. 21 พฤษภาคม 2021.
- ↑ "สยามพารากอน ร่วมกับ โรงพยาบาลสมิติเวช เปิดหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นฟรี ระหว่างวันที่ 21-22 พ.ค.นี้ ณ ห้องประชุม 3-4 รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น 5". RYT9. 15 พฤษภาคม 2023.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "'รอยัล พารากอน ฮอลล์' ประกาศยึดตำแหน่ง 'ศูนย์กลางสถานที่จัดงานระดับโลกใจกลางกรุงเทพมหานคร'". สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). 7 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- ธุรกิจบริหารจัดการศูนย์การประชุมและศูนย์แสดงนิทรรศการ รอยัล พารากอน ฮอลล์ จากเว็บไซต์สยามพิวรรธน์
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ พารากอน ฮอลล์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์