พัชรศรี เบญจมาศ

สำหรับความหมายอื่น ดูที่ กาละแม

พัชรศรี เบญจมาศ ชื่อเล่น แมร์[1] หรือชื่อในวงการบันเทิง กาละแม เป็นพิธีกร ผู้ประกาศข่าว คอลัมนิสต์ให้กับนิตยสาร มติชนสุดสัปดาห์ Cleo และ chicmistry.com ในข้อ Good Girl Living in sin ก่อนหน้านั้นเธอเคยเขียนให้กับ เนชั่นสุดสัปดาห์ มาร์ ดีมานด์ ลิซ่า discazine และ i-mono อีกด้วย และยังได้เป็นนักแสดงแสดงภาพยนตร์เรื่อง แก๊งชะนีกับอีแอบ ร่วมกับเพื่อนพิธีกรรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง และ ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์

พัชรศรี เบญจมาศ
Patcharasri Benjamach.JPG
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด19 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (46 ปี)
พัชรศรี เบญจมาศ
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บิดาธนาดุล เบญจมาศ
มารดาเพราพรรณ เบญจมาศ
อาชีพ
  • พิธีกร
  • ผู้ประกาศข่าว
  • นักแสดง
  • นักเขียน
ปีที่แสดงพ.ศ. 2540–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นผู้หญิงถึงผู้หญิง
เก็บตก
สังกัดสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

ประวัติแก้ไข

พัชรศรีเกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง 2 คน ของนายธนาดุล และนางเพราพรรณ เบญจมาศ น้องชายชื่อ มิว-นายพีรสรรพ์ เบญจมาศ เรียนจบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนไผทอุดมศึกษา กับโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ จากนั้น เข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ก่อนเข้าเป็นนิสิตจุฬาฯ เริ่มฝึกงานในตำแหน่งผู้สื่อข่าวช่อง 3 จบปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน (วิทยุโทรทัศน์) ปีการศึกษา 2539

พัชรศรีมีชื่อเสียงจากนิสัยที่เปิดเผย และตรงไปตรงมา เธอโด่งดังจากการเขียนหนังสือในปี 2545 เรื่อง "กายกรรมบนเส้นด้าย" และ "ผู้ชายเลวกว่าหมาและไม่ได้มาจากดาวอังคาร" ซึ่งเป็นที่วิจารณ์อย่างมากจากผู้อ่านเพศชาย ตามด้วย "ผู้หญิงยิงฟัน" และหลังจากนั้นก็ได้มีงานเขียนตามออกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น "ผู้หญิงร้าย ผู้ชายรัก" ที่เธอทำหน้าที่เรียบเรียงจากหนังสือ Why Men Love Bitches โดยหนังสือเล่มล่าสุด คือ “คิด-เช่น-แมร์ ” (Kitchen Mare)

พัชรศรียังเคยเป็นพิธีกรรายการผู้หญิงถึงผู้หญิงทางช่อง 3 ซึ่งเป็นรายการที่สร้างชื่อเสียงให้กับเธอเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ พัชรศรียังได้เป็นต้นแบบให้กับการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่อง "โฟร์แองจี สี่สาวแสนซน" ที่นำบุคลิกของทั้ง 4 สาวจากรายการผู้หญิงถึงผู้หญิงมาเป็นแบบให้กับตัวการ์ตูน และยังเป็นผู้พากย์บรรยายตอนต้นและตอนจบของการ์ตูนในแต่ละตอนอีกด้วย อีกทั้งยังได้ไปปรากฏตัวในวรรณกรรมไทยเรื่อง The White Road Spirit II ของ ดร.ป๊อป ในบทตัวละคร"แมร์"[2]

การศึกษาแก้ไข

การทำงานแก้ไข

ปี 2540-2543 ได้เป็นเป็นพิธีกรรายการ"ดูหนังฟังเพลง" กับ "สีสันบันเทิง" อ่านข่าวช่วง"เมืองไทยวันนี้" และ "เช้านี้ที่ช่อง 3" เป็นผู้ดำเนินรายการวิทยุช่วง WOMAN"S Today ของคลื่นผู้หญิงวันเสาร์-อาทิตย์

ปี 2544 ได้เป็นพิธีกรรายการ 3 นาทีไม่มีปัญหา กับเจาะใจการใช้รถกับกรมการประกันภัยทางไอทีวี แล้วก็ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง"โกลคลับ เกมล้มโต๊ะ" ให้ฟิล์ม บางกอก และดำเนินรายการการ์ตูนนิทานชาดกออกอากาศทางโทรทัศน์เพื่อการศึกษาไทยคมและยูบีซี

ปี 2549 ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง ข้าวเหนียวหมูปิ้ง รับบทเป็นน้าเล็ก และภาพยนตร์เรื่อง มอ 8 ที่ไก่ มีสุข แจ้งมีสุข ร่วมแสดงด้วย รวมทั้งภาพยนตร์เรื่อง แก๊งชะนีกับอีแอบ ซึ่งเรื่องนี้ 4 พิธีกรจากรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง คือ พัชรศรี เบญจมาศ มีสุข แจ้งมีสุข พิมลวรรณ หุ่นทองคำ และกุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์ ร่วมแสดงนำทั้ง 4 คน แล้วยังพ่วง ปอ อรปรียา หุ่นศาสตร์ จากรายการเรื่องเล่าเช้านี้มาด้วย และยังร่วมเป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ตของเบิร์ด ธงไชย พร้อมกับเพื่อนๆทั้ง 4 อีกด้วย

ปี 2550 ได้มีโปรเจกต์ร้องเพลง ออกอัลบั้ม ขึ้นคอนเสิร์ต ร่วมกับรายการ "The Album อยากบอกต้องออกเทป" ร่วมกับนักแสดงและพิธีกรอีก 5 คน ได้แก่ ปอ ทฤษฎี สหวงษ์, เชอร์รี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ , หยาด หยาดทิพย์ ราชปาล, คุณปลื้ม หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล, และ แชมป์ พีรพล เอื้ออารียกูล เพลงที่ร้องในอัลบั้ม 1. เฉย เฉย 2. ชายในฝัน

ผลงานหนังสือแก้ไข

  • กายกรรมบนเส้นด้าย
  • ผู้ชายเลวกว่าหมาและไม่ได้มาจากดาวอังคาร (2546)
  • ผู้หญิงยิงฟัน พ.1
  • เรื่องของคนมีปัญหา หมาไม่เกี่ยว
  • ผู้ชายไม่ใช่เทวดา (2547)
  • เมื่อไหร่ผู้ชายรักจริงแล้วผู้หญิงจะบานฉ่ำ
  • จดหมายถึงกิ๊ก โรแมนติกไม่กั๊ก (2547)
  • ผู้หญิงเดินสาย ผู้ชายแนวนอน
  • ขอบคุณที่เจอกัน 365 วันโลกหมุนรอบความรัก
  • อยู่คนเดียวก็ได้ สบายดี (2549)
  • แก๊งชะนี ไม่มีแอบ
  • โลกหมุนช้าของกาละแมร์
  • ปรากฏการณ์แห่งรัก Phenominal of Love
  • แหล่มแรกของกาละแมร์
  • แมร์ลา
  • ผู้หญิงร้าย ผู้ชายรัก
    • ผู้หญิงร้าย ผู้ชายรัก ภาค 2
  • โชคดี ที่โสดเป็น
  • สุข สวย รวยโคตร
  • ตอบปัญหารักกระอักเลือด
  • ปัจจัยที่ 5
  • ชนะร้อยครั้ง
  • คิด-เช่น-แมร์ (Kitchen Mare)
  • แคร์-เช่น-มิตร

ผลงานพิธีกรแก้ไข

อดีตแก้ไข

ปัจจุบันแก้ไข

ผลงานการแสดงแก้ไข

ภาพยนตร์แก้ไข

ละครแก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

ดูเพิ่มแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ชื่อวงการบันเทิง
  2. ประวัติ "กาละแมร์ พัชรศรี" สาวลุคมั่น จากรั้วนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. "กาละแมร์ ปลื้ม เข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในฐานะผู้มีจิตศรัทธาช่วยเหลือสังคม". Kapook.com. 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessed_date= ถูกละเว้น (help)

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข