พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ (เกิด นิดพร นพฤทธิ์; 16 มกราคม พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น ตั้ม[2] อดีตนายแบบ อดีตนักแสดง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย อดีตโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อดีตโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ภูมิธรรม เวชยชัย
พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ | |
---|---|
พร้อมพงศ์ ใน พ.ศ. 2555 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | นิดพร นพฤทธิ์ 16 มกราคม พ.ศ. 2504 อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ประเทศไทย[1] |
สัญชาติ | ไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2549–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2558; 2562–ปัจจุบัน) |
ความสูง | 180 เซนติเมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว) |
บุตร | 3 คน |
การศึกษา | โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ศษ.บ.) มหาวิทยาลัยเกริก (ร.ม.) มหาวิทยาลัยปทุมธานี (ปร.ด.) |
อาชีพ | นักการเมือง นักแสดง นายแบบ |
ชื่อเล่น | ตั้ม |
อาชีพแสดง | |
ชื่ออื่น | พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2526 – 2551 |
ผลงานเด่น | จักรพันธ์ - เลดี้ฝรั่งดอง (2527) กำจร - บ๊ายบายไทยแลนด์ (2530) |
สังกัด | สีบุญเรืองฟิล์ม |
ประวัติและการศึกษา
แก้พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2504 ที่ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นบุตรชายของนวบ (บิดา) พร้อมพงศ์ มีชื่อเดิมว่า นิดพร ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น นพพร และพร้อมพงศ์ ในช่วงที่เป็นนักแสดง ตามลำดับ
พร้อมพงศ์จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนตะกั่วป่า “เสนานุกูล” สำเร็จปริญญาศึกษาศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารการเมือง) รุ่นที่ 2 ของมหาวิทยาลัยเกริก และปริญญาเอก คณะปรัชญา สาขาการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี[3]
ชีวิตส่วนตัวเคยใช้ชีวิตครอบครัวร่วมกับ พรพรรณ เชาวฤทธิ์ มิสทีนไทยแลนด์ ปี 2533 นักแสดงละครจักรๆ วงศ์ๆ โดยมีบุตรสาว 1 คน บุตรชาย 2 คน ปัจจุบันทั้งคู่แยกทางกันมาแล้วหลายปี
การแสดง
แก้หลังจากจบชั้น มศ.5 พร้อมพงศ์เดินทางเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งรับจ้างทำงานทุกประเภท จนกระทั่งเพื่อนชวนไปเป็นนายแบบ และมีผลงานถ่ายแบบนิตยสาร เดินแบบแฟชั่นโชว์ ต่อมาจึงเข้ามาอยู่โมเดลลิ่งในสังกัดซี.เอส.พี. ของสรพงศ์ ชาตรี ซึ่งมีสมนึก เอี่ยวเจริญ ผู้จัดการส่วนตัวของสรพงศ์เป็นผู้บริหาร[4] และเริ่มต้นชีวิตการแสดงจากการเป็นตัวประกอบ
จากนั้นจึงมีโอกาสแสดงเป็นพระเอกครั้งแรก ในภาพยนตร์เรื่อง เลดี้ฝรั่งดอง ในปี พ.ศ. 2527 แสดงคู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์ ถ่ายทำที่ประเทศออสเตรีย และเปลี่ยนมาใช้ชื่อในการแสดงว่า "พร้อมพงศ์" จากเดิมในช่วงที่เป็นนายแบบใช้ชื่อว่า นพพร โดยคำว่า "พร้อม" มาจากชื่อของพันคำ หรือ พร้อมสิน สีบุญเรือง ผู้เป็นเจ้าของค่ายสีบุญเรืองฟิล์มที่พร้อมพงศ์สังกัด และเป็นผู้ปลุกปั้น คำว่า "พงศ์" มาจากชื่อของ สรพงศ์ ชาตรี โดยเป็นการนำชื่อของผู้ปลุกปั้นสองคนมารวมกัน
ต่อมาจึงมีผลงานการเป็นพระเอกภาพยนตร์ไทยตามมาอีกหลายเรื่อง ภายใต้สังกัดและการผลักดันของสีบุญเรืองฟิล์ม ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคือการเป็นพระเอกคู่ขวัญกับจารุณี สุขสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนางเอกร่วมสังกัด โดยทางสีบุญเรืองจะอาศัยกระแสความนิยมในตัวจารุณีเป็นแรงส่งพร้อมพงศ์อีกทางหนึ่ง ภาพยนตร์ที่พร้อมพงศ์เป็นพระเอกมักจะมีการขึ้นชื่อ จารุณี สุขสวัสดิ์ นางเอกไว้ก่อน[4] ทั้งคู่มีผลงานแสดงภาพยนตร์คู่กันเกือบ 20 เรื่อง เช่น เลดี้ฝรั่งดอง, เขยบ้านนอก, แม่ดอกรักเร่ เป็นต้น
พร้อมพงศ์ถือเป็นพระเอกคู่ขวัญของจารุณี เช่นเดียวกับทูน หิรัญทรัพย์, สรพงศ์ ชาตรี นอกจากนี้ยังเป็นนายแบบและพระเอกที่จัดว่ารูปร่างสูงมากในยุคนั้น ด้วยส่วนสูง 180 เซนติเมตร
จากนั้นจึงหันมาแสดงละครโทรทัศน์ และรับผลิตมิวสิกวิดีโอคาราโอเกะ พร้อมทั้งร่วมแสดง บทบาทการแสดงซึ่งเป็นที่รู้จักดีที่สุดคือ ละครโทรทัศน์ประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ จนกระทั่งได้รับรางวัลเมขลา ผู้แสดงนำชายละครสนับสนุนนิยายพื้นบ้านดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2534 จากเรื่อง ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือ สี่ยอดกุมาร อันเป็นที่มาของฉายา ที่เทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียกว่า "เสด็จพี่" ซึ่งพร้อมพงศ์ตอบโต้ว่า จะเรียกเสด็จพี่ก็ได้ แต่อย่าเรียกเสด็จพ่อ[5]
การเมือง
แก้พร้อมพงศ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่จังหวัดพังงา เขต 1 ในนามพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมา ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โฆษกกระทรวงวัฒนธรรม ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประธานคณะทำงานประชาสัมพันธ์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการ กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ตามลำดับ ก่อนที่นายพร้อมพงศ์จะมาดำรงตำแหน่ง โฆษกพรรคเพื่อไทย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 38[6]
ต่อมาในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ศาลฎีกาพิพากษาให้เขาต้องโทษจำคุก 1 ปี จากกรณีหมิ่นประมาทนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ โดยไม่รอลงอาญา และเขาได้รับการพักโทษ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ตามหลักเกณฑ์ของกรมราชทัณฑ์ รวมระยะเวลาที่ต้องโทษในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 9 เดือน 16 วัน[7]
หลังเงียบไปหลายปี 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พร้อมพงศ์กลับมาออกสื่อเต็มตัวอีกครั้ง จากการตั้งโต๊ะแถลงโต้กลับข้อกล่าวหาของชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ที่มีต่อเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกพรรคเพื่อไทย
ผลงานภาพยนตร์
แก้- เลดี้ฝรั่งดอง (2527) รับบท จักรพันธ์ คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- หลานสาวเจ้าสัว (2528) รับบท ธนะรัชต์ คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- เขยบ้านนอก (2528) รับบท คำนวณ คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- วัยเรียนเพี้ยนรัก (2528) รับบท วิรัช คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- หยุดโลกเพื่อเธอ (2528) รับบท โอฬาร คู่กับ พัชราพรรณ โสภิตา
- มาธาดอร์จอมเพี้ยน (2528) รับบท อนาวิน คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- พ่อมหาจำเริญ (2528) รับบท อิศรา ชาติชาตรี คู่กับ สินจัย หงษ์ไทย
- ตำรวจบ้าน (2528) รับบท สงคราม ธีรพาณิชย์ คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- ลูกสาวเถ้าแก่เฮง (2529) รับบท ต้อม คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- แด่คุณครูด้วยหัวใจ (2529) รับบท เทวัญ (โห้) คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- เครื่องแบบสีขาว (2529) รับบท อรชุน คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- เจ้าสาวมะลิซ้อน (2529) รับบท ทองดี คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- ราชินีดอกหญ้า (2529) รับบท ทรงวิทย์ คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- แม่ดอกรักเร่ (2529) รับบท เทพ คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- ยุ่งนักรักซะเลย (2529) รับบท ลำใย / อัครินทร์ (ฝาแฝด) คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- บ๊ายบายไทยแลนด์ (2530) รับบท กำจร คู่กับ จามจุรี เชิดโฉม *ไม่ได้ฉาย*
- ก้อ...โอเคนะ (2530) รับบท แก่ / แกรี่
- รักสำรอง (2531) รับบท นนท์
- เพชรเหนือเพชร (2531) รับบท ปราการ
- ราชสีห์หน้าเซ่อ (2531)
- นางกลางไฟ (2531) รับบท กิจจา
- ตัณหาเถื่อน (2531)
- ดอกไม้ร่วงที่สันทราย (2535)
- บุญเพ็ง หีบเหล็ก (2547) รับบท บุญเพ็ง
- 2 ผู้ยุ่งเหยิง (2547) รับบท พตท.วันเผด็จ
- โคตรเพชฌฆาต (2548) รับบท ปลัดอำเภอ
ผลงานละครโทรทัศน์
แก้- เรื่องสั้นวันจันทร์ (2531) ช่อง 7
- แววมยุรา (2532) ช่อง 7 รับบท จักร / สยุมภูว์ ทศพล คู่กับ อภิรดี ภวภูตานนท์
- ปริศนาของเวตาล (2532) ช่อง 7 รับบท คุณากร
- แก้วตาเสือ (2532) ช่อง 7 รับบท ดลภพ คู่กับ ชไมพร จตุรภุช
- ห้องหุ่น (2532) ช่อง 7 รับบท ไก่ คู่กับ ธนาภรณ์ จิตต์จำรึก
- เพลิงพ่าย (2533) ช่อง 9 รับบท วุฒิ คู่กับ จามจุรี เชิดโฉม
- ดิน น้ำ ลม ไฟ (2534) ช่อง 7 รับบท จุลณีย์ คู่กับ เสาวลักษณ์ ศรีอรัญญ์
- ละอองดาว (2534) ช่อง 7
- คู่ทรหด (2534) ช่อง 5 (ละครสั้นประกอบรายการคู่ทรหด)
- คดีแดง (2534) ช่อง 7 รับเชิญ (ตอน คิดผิด)
- มาลัยทอง (2535) ช่อง 7
- ลูกเมียเก่า (2535) ช่อง 7
- เหตุเกิดที่สน. (2535) ช่อง 7 รับเชิญ
- ภูติสาวเจ้าเสน่ห์ (2536) ช่อง 3 คู่กับ นิสา วงศ์วัฒน์
- เกราะเพชรเจ็ดสี (2538) ช่อง 7 รับบท สหัสชัย
- สายโลหิต (2538) ช่อง 7 รับเชิญ
- พรหมลิขิตจากนิ้วป้อมๆ (2538) ช่อง 7
- กัณหา ชาลี (2539) ช่อง 7 รับเชิญ
- ดอกแก้ว (2539) ช่อง 7 รับเชิญ
- มณีนพเก้า (2539) ช่อง 7
- ดวงใจพิสุทธิ์ (2540) ช่อง 7 รับเชิญ
- น้ำใจแม่ (2540) ช่อง 7
- ขวานฟ้าหน้าดำ (2541) ช่อง 7
- หนุ่มทิพย์ (2542) ช่อง 7 รับเชิญ
- เทพศิลป์ อินทรจักร (2542) ช่อง 7
- มัสยา (2543) ช่อง 7 รับเชิญ
- นางสิบสอง (2543) ช่อง 7
- แก้วหน้าม้า (2544) ช่อง 7
- สี่ยอดกุมาร (2544) ช่อง 7 รับเชิญ
- ดาวพระศุกร์ (2545) ช่อง 7
- ยอพระกลิ่น (2546) ช่อง 7 รับเชิญ
- สิงหไกรภพ (2547) ช่อง 7
- ผักบุ้งกับกุ้งนาง (2547) ช่อง 7 รับเชิญ
- ดาวเปื้อนดิน (2551) ช่อง 7
ผลงานมิวสิควิดีโอ
แก้- เพลง ช้ำคือเรา ของ นิตยา บุญสูงเนิน (2538)
- มิวสิควิดีโอคาราโอเกะ ค่าย Rose Media & Entertainment
ผลงานเบื้องหลัง
แก้- มิวสิกวิดีโอคาราโอเกะ รับผลิต และร่วมแสดง
- 2 ผู้ยุ่งเหยิง 2547 (โฮมมูฟวี่) อำนวยและควบคุมการผลิต, บทประพันธ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ "สิ่งที่ทำไม่ได้สร้างภาพ"
- ↑ พระเอกละคร หึงเมียทุบรถ เก็บถาวร 2007-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำเนาจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, 12 เมษายน 2550
- ↑ สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยปทุมธานี[ลิงก์เสีย]
- ↑ 4.0 4.1 "พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์". www.fapot.or.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ รายการบอกข่าวเล่าเรื่อง ทางช่อง 9 : 23 มกราคม พ.ศ. 2553 เก็บถาวร 2010-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ พักโทษ"พร้อมพงศ์-เกียรติอุดม"คืนสู่อิสรภาพ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ชีวประวัติ พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ที่เว็บไซต์ หนังดี.คอม