ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ
ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ เป็นชื่อเรียกละครโทรทัศน์ไทยที่ว่ากันว่าเกือบทั้งหมดมาจากนิทานพื้นบ้าน เล่ากันแบบปากต่อปากหรือมุขปาฐะ จะแตกต่างกันในรายละเอียดที่คนเล่าสอดแทรกสิ่งที่ตัวเองรู้ในแต่ละท้องถิ่น มักมีโครงเรื่องคล้าย ๆ กัน เช่น เจ้าชายพลัดพรากจากบ้านเมือง ต้องออกเดินทางผจญภัย พบนางเอก และต่อสู่กับตัวร้ายซึ่งส่วนมากคือยักษ์ หรืออาจมีเนื้อหาในเชิง พระเอกถูกใส่ร้ายเป็นตัวกาลกิณีบ้านเมือง ต้องถูกเนรเทศเข้าป่า ได้เรียนวิชากับพระอาจารย์หรือฤๅษี ก่อนมาเจอกับนางเอก และกลับมากอบกู้บ้านเมืองสำเร็จ[1] กล่าวคือมีเนื้อหา "เรียนวิชา-ฆ่ายักษ์-ลักนาง" เป็นส่วนใหญ่[2]
ในสมัยก่อนจะทำเป็นภาพยนตร์ เรียกว่า หนังจักร ๆ วงศ์ ๆ ใช้ฟิล์ม 16 มม. แต่ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นการอัดวิดีโอ และเปลี่ยนมาเป็นละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ทางโทรทัศน์ แล้วจึงมาเป็นละครพื้นบ้าน ซึ่งเป็นละครลักษณะเดียวกัน
ในปัจจุบัน ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น เป็นผู้ผลิตละครค่ายเดียวเท่านั้นที่ผลิตละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ผ่านทางช่อง 7 เอชดี โดยผลิตในนามสามเศียร[1][3]
ในสมัยนั้นในช่วงที่มีการแข่งขันในด้านละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ทั้ง 6 ช่องรายการ มักจะแข่งขันกันที่เวลา ฐานการรับชม และการออกอากาศเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันนี้เหลือเพียงช่อง 7 เอชดีเท่านั้นที่ยังออกอากาศละครจักร ๆ วงศ์ ๆ อยู่ ส่วนช่องที่เหลือได้ยุติการออกอากาศไปแล้วเนื่องจากฐานการรับชมมีน้อย
เกร็ดข้อมูล
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "40 ปี ละครจักรๆ วงศ์ๆ บนเส้นทางที่แปรเปลี่ยน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-05-19.
- ↑ ปรากฏการณ์"พระทิณวงศ์" ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่เริ่มจะไม่ใช่นิทาน เก็บถาวร 2007-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน matichon.co.th
- ↑ แต่เดิมการผลิตละครจักรๆ วงศ์ๆ ของสามเศียร จะผลิตโดย ดาราวิดีโอ โดยละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องสุดท้ายที่ดาราวิดีโอผลิตในนามสามเศียรคือละครเรื่อง ดาบเจ็ดสี มณีเจ็ดแสง หลังจากนั้นดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่นจึงได้เข้ามาผลิตละครจักรๆ วงศ์ๆ ต่อ โดยผลิตละครเรื่องแรกออกมาคือเรื่อง เทพศิลป์ อินทรจักร ซึ่งการโอนการผลิตครั้งนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2542
- ↑ "#น้าผี #ขวัญใจตลอดกาลของแฟนจักรๆวงศ์ๆ". เฟซบุ๊ก. 2018-11-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เจาะลึกละครจักร ๆ วงศ์ ๆ เก็บถาวร 2009-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน