นิทานพื้นบ้าน (folktale) เป็นนิทานประเภทหนึ่ง เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาซึ่งอาจไม่มีบันทึกเป็นหลักฐาน เนื่องจากสมัยโบราณไม่มีความบันเทิงในรูปแบบอื่นในสังคมหลายวัฒนธรรมใช้การเล่าเรื่องสู่กันฟังซึ่งมักเป็นเรื่องราวจากจินตนาการแสดงความเชื่อของชาวบ้าน นิทานพื้นบ้านมักได้รับการบันทึกหรือตีพิมพ์ภายหลังและมักหาต้นกำเนิดไม่ได้ และมีการแต่งแต้มเรื่องราวเพิ่มเติมตามจินตนาการของผู้เล่า นิทานพื้นบ้านที่โด่งดัง อย่างเช่น ซินเดอเรลลา เจ้าชายกบ แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ เจ้าหญิงนิทรา นิทานของไทยเช่น พิกุลทอง พยาคันคาก แก้วหน้าม้า

รูปแบบ

แก้

นิทานพื้นบ้านแยกเรื่องราวออกได้ดังนี้ [1]

  1. เทพนิยาย
  2. นิทานชีวิต
  3. นิทานวีรบุรุษ
  4. เรื่องปรัมปรา
  5. นิยายผจญภัยยุคกลาง
  6. ตำนาน
  7. นิทานอธิบายเหตุ
  8. นิทานสัตว์
  9. นิทานอุทาหรณ์
  10. เรื่องขำขัน
  11. ตำนานนักบุญ
  12. นิทานเข้าแบบ

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.