พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต)

นายพลโท พระยาสุรเสนา นามเดิม กลิ่น แสง-ชูโต (4 ตุลาคม พ.ศ. 2407 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2457)[2] เป็นทหารบกและขุนนางชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ องคมนตรี และราชองครักษ์ เป็นน้องชายต่างมารดาของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)

พระยาสุรเสนา
(กลิ่น แสง-ชูโต)
สมุหราชองครักษ์
ดำรงตำแหน่ง
15 ตุลาคม พ.ศ. 2452 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2456
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้านายพลโท เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์
ถัดไปนายพลโท พระยาเทพอรชุน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 ตุลาคม พ.ศ. 2407
เสียชีวิต20 มิถุนายน พ.ศ. 2457 (49 ปี)
บ้านถนนดินสอ อำเภอพระนคร เมืองพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
คู่สมรสคุณหญิงเชื่อม สุรเสนา
บุตร6 คน
บุพการี
อาชีพทหารบก, ขุนนาง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ออสเตรีย-ฮังการี
ไทย สยาม
สังกัดกองทัพออสเตรีย-ฮังการี
กองทัพบกสยาม
กองเสือป่า
ประจำการพ.ศ. 2432 – 2435 (ออสเตรีย)
พ.ศ. 2435 – 2456 (สยาม)
ยศร้อยเอก (ออสเตรีย)[1]
นายพลโท (กองทัพบกสยาม)
นายกองเอก (กองเสือป่า)
บังคับบัญชากรมราชองครักษ์
กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
ผ่านศึกกบฏเงี้ยว

ประวัติ แก้

พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต) เป็นราชนิกูลวงศ์ชูโต เกิดในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ปีชวด พ.ศ. 2407 เป็นบุตรของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) กับคุณหญิงต่วน สุรศักดิ์มนตรี[3]

เมื่อรัชกาลที่ 5 ได้เล่าเรียนอักขรสมัยในโรงเรียนหลวงที่ในพระบรมมหาราชวัง พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์ เล่าเรียนจน พ.ศ. 2420 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งออกไปเล่าเรียนวิชาต่างประเทศในยุโรป ในคราวส่งนักเรียนไปเป็นครั้งที่ 2 โดยมีขุนวิทยานุกูลกวี (ห่วง อาจารยางกูร) บุตรของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นผู้กำกับไป มีนักเรียน 10 คนหนึ่งในนั้นคือพระยารำไพพงษ์บริพัตร (จิตร บุนนาค)

พระยาสุรเสนาอยู่ในนักเรียนที่ส่งไปเพื่อจะให้เรียนวิชาทหารบก จึงได้ไปเรียนอยู่ในประเทศออสเตรีย เรียนวิชาทหารบกของประเทศออสเตรียจนสอบได้ ได้มียศเป็นนายร้อยตรี แล้วเลื่อนเป็นนายร้อยโททหารบกออสเตรีย แล้วได้ทำการในตำแหน่งนายร้อยเอกแล้วจึงกลับมาบ้านเมือง[1]

การรับราชการ แก้

พระยาสุรเสนากลับมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2435 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯในตำแหน่งผู้บังคับกองทหารม้าในกรุงเทพฯ แต่รับราชการอยู่ได้ปีเดียว ถึง พ.ศ. 2436 โปรดกลับออกไปเป็นตำแหน่งนายทหารในสำนักราชทูต ณ ประเทศเยอรมนีและอยู่ประจำพระองค์พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช เมื่อทรงศึกษาวิชาการทหารอยู่ในประเทศเดนมาร์กด้วย และในเวลาที่กลับไปรับราชการอยู่ในยุโรปคราวนี้ ได้ตามเสด็จกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เมื่อเสด็จต่างพระองค์ในงานพระราชพิธีราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้านิโคลัสที่ 2 จักรพรรดิรัสเซีย และต่อมาถึง พ.ศ. 2440 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตำแหน่งราชองครักษ์ตามเสด็จในกระบวน แล้วตามเสด็จกลับมากรุงเทพฯ ด้วย

ในระหว่าง พ.ศ. 2441 ถึง พ.ศ. 2443 รับราชการในตำแหน่งราชองครักษ์ประจำ[4] ได้เป็นผู้ไปประจำเจ้าต่างประเทศและแขกเมืองมีบรรดาศักดิ์สูง ซึ่งเข้ามาเฝ้าในครั้งนั้นแทบทุกคราว

ถึง พ.ศ. 2443 ได้เป็นตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ถึง พ.ศ. 2445 เมื่อโปรดฯ ให้กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสด็จไปราชการในยุโรป โปรดฯ ให้ไปตามเสด็จกรมหลวงนครไชยศรีด้วย

ถึง พ.ศ. 2446 เนื่องในการปราบปรามพวกเงี้ยวที่ก่อการจราจลขึ้นในมณฑลพายัพ โปรดฯ ให้พระยาสุรเสนาเมื่อยังเป็นพระยารามกำแหง เป็นผู้บังคับการกองทหาร ตั้งรักษาการอยู่ที่เมืองเชียงคำปีหนึ่ง จึงได้กลับมารับราชการในกรุงเทพฯ

ถึง พ.ศ. 2447 ได้เป็นตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ มณฑลกรุงเทพ

ถึง พ.ศ. 2452 ได้เป็นตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ แทนเจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ ซึ่งถึงแก่อสัญกรรม ได้รับราชการในตำแหน่งสมุหราชองครักษ์มาตลอดรัชกาลที่ 5[5]

ถึงรัชกาลที่ 6 พระยาสุรเสนาเป็นผู้ซึ่งได้ทรงคุ้นเคยชอบพระราชอัธยาศัยมาแต่เดิม ก็ทรวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ต่อมา และได้รับพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าฯ เป็นอเนกประการ

เมื่อ พ.ศ. 2454 ทรงพระราชดำริจัดตั้งคณะเสือป่า ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พระยาสุรเสนา มีหน้าที่เป็นปลัดกอง[6] รองแต่พระองค์ตลอดมา สนองพระเดชพระคุณในการคณะเสือป่าตลอดมา[1]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สัญญาบัตรเป็นองคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2453[7]

บรรดาศักดิ์ แก้

  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 – หลวงศัลยยุทธวิธีกรร ถือศักดินา 800[8]
  • 21 มีนาคม พ.ศ. 2441 – พระศัลยยุทธวิธีกรร ถือศักดินา 1000[9]
  • 22 ธันวาคม พ.ศ. 2445 – พระยารามกำแหง ถือศักดินา 1500[10]
  • 13 มกราคม พ.ศ. 2450 – พระยาสุรเสนา ถือศักดินา 1500[11]

ยศ แก้

ยศทหาร แก้

ยศเสือป่า แก้

  • 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 – นายกองเอก[19]

ชีวิตครอบครัว แก้

พระยาสุรเสนา สมรสกับคุณหญิงเชื่อม สุรเสนามีบุตรธิดารวม 6 คน คือ[3]

  1. พันตรี หลวงสรสิทธยานุการ (สิทธิ์ แสง-ชูโต) อดีตสมาชิกวุฒิสภา สมรสกับประเมิน บุนนาค แล้วต่อมาจึงสมรสกับประมัย บุนนาค
  2. เหมาะ แสง-ชูโต สมรสกับขุนมวลพลพีรยุทธ์ (บูล ตรีสกุล)
  3. ศาสตราจารย์ พันโท หลวงชัยอัศวรักษ์ (ไชยแสง-ชูโต) คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คนแรก สมรสกับเผดียง บุนนาค ธิดาของเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)
  4. เกลา แสง-ชูโต สมรสกับภักตร์ บุนนาค
  5. สอย แสง-ชูโต สมรสกับพันตรี หลวงอำนาจสรกาญจน์ (ประสิทธิ ดิษยบุตร)
  6. สน แสง-ชูโต สมรสกับพระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค)

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

ถึง พ.ศ. 2456 พระยาสุรเสนาเป็นวัณโรคเกิดขึ้นในปาก ได้พยายามรักษา อาการหาคลายไม่ก็มีความทุพลภาพลงโดยลำดับ ภายหลังได้ทราบว่าโรคนั้นเป็นมะเร็งดอกบุก เมื่อพระยาสุรเสนาทราบว่าอาการโรคของตนพ้นวิสัยที่แพทย์จะเยียวยาได้แล้ว ก็นำความกราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตและพระราชทานเบี้ยบำนาญเป็นพิเศษแก่ตัวพระยาสุรเสนา[20]

พระยาสุรเสนาป่วยมาจนถึงแก่อนิจกรรมวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ที่บ้านพระราชทาน ณ ถนนดินสอ ในพระนคร คำนวณอายุได้ 51 ปี ได้รับพระราชทานโกษเป็นเกียรติยศ[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 โครงสุภาษิตเจ้านาย พระราชนิพนธ์ และพระนิพนธ์ ทรงเมื่อในรัชกาลที่ 5 นายพลโท พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๔๙, ๒๘ มิถุนายน ๒๔๕๗
  3. 3.0 3.1 สุภาษิตพระร่วงคำโคลง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงไชยอัศวรักษ์ (ไชย แสง-ชูโต)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามผู้ที่เป็นราชองครักษ์, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๓ หน้า ๒๘, ๑๗ เมษายน ๑๑๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมยุทธนาธิการ, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๘๘, ๑๗ ตุลาคม ๑๒๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ทำเนียบตำแหน่งชั้นนายที่บังคับบัญชาในกองเสือป่า, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๑, ๑๔ พฤษภาคม ๑๓๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรตั้งองคมนตรี, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๖๘, ๑๘ ธันวาคม ๑๒๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม ๙ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๓๐๐, ๑๑ ธันวาคม ๑๑๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๕๒ หน้า ๕๖๓, ๒๖ มีนาคม ๑๑๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๗๘๑, ๒๘ ธันวาคม ๑๒๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๑๑๔๔, ๑๙ มกราคม ๑๒๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรทหาร, เล่ม ๙ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๒๘๑, ๒๐ พฤศจิกายน ๑๑๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรทหาร, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๘ หน้า ๑๐๘, ๒๑ พฤษภาคม ๑๑๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๒ หน้า ๒๕, ๑๔ เมษายน ๑๒๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๑๑ หน้า ๑๖๙, ๑๕ มิถุนายน ๑๒๒
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๙ หน้า ๑๗๕, ๒๘ พฤษภาคม ๑๒๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๘, ๘ พฤษภาคม ๑๒๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงกลาโหม, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๗๙, ๕ มีนาคม ๑๒๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๐, ๑๔ พฤษภาคม ๑๓๐
  20. ราชกิจจานุเบกษา, กระแสพระบรมราชโองการให้นายพลโท พระยาเทพอรชุน เป็นสมุหราชองครักษ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ก หน้า ๔๘๕, ๑๕ มีนาคม ๒๔๕๖
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๓๓, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๘๓, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๐๑, ๑๙ ธันวาคม ๑๒๘
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๙๒, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๘๘, ๙ มิถุนายน ๑๓๑
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ประเทศยุโรป, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒๕ หน้า ๓๒๘, ๑๙ กันยายน ๑๑๖
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๓๖๔, ๒๔ กันยายน ๑๑๘
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๐, ๙ เมษายน ๑๓๐
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๒, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๑๖, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
  31. 31.0 31.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๓ ตอนที่ ๒๔ หน้า ๒๕๐, ๑๓ กันยายน ๑๑๕
  32. 32.0 32.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒๕ หน้า ๓๓๒, ๑๙ กันยายน ๑๑๖
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๖๗๐, ๒๙ ตุลาคม ๑๒๔
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๓ หน้า ๕๒๗, ๓ กันยายน ๑๒๔
  35. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชานุญาต เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๑ หน้า ๕๑๕, ๑๙ สิงหาคม ๑๒๕
  36. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันซวิค, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๕, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๖, ๓ พฤษภาคม ๒๔๕๗