ผู้ใช้:Alert9654/รายชื่อแหล่งมรดกโลกแบ่งตามปีที่ได้ขึ้นทะเบียน

นี่คือรายชื่อแหล่งมรดกโลกตามที่องค์การยูเนสโกได้มีมติขึ้นทะเบียน ผ่านการประชุมสมัยสามัญประจำปีของคณะกรรมการมรดกโลก (the World Heritage Committee) จากผู้แทนชาติสมาชิก 21 ประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศจะมีวาระเพียง 5 ปี

โดยแหล่งมรดกโลกแห่งแรกที่มีการขึ้นทะเบียนในรายการ ก็คือ "หมู่เกาะกาลาปาโกส (Galápagos Islands)" จากประเทศ  เอกวาดอร์ มีมติเมื่อ ค.ศ. 1978 (ตรงกับ พ.ศ. 2521) โดยประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด ณ ปัจจุบัน (ค.ศ.2019) ก็คือ "ประเทศจีน และประเทศอิตาลี" โดยมีการขึ้นทะเบียนประเทศละ 55 รายการ แต่หากนับการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกโดยลำพัง ประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด ก็คือ "ประเทศจีน" รวมทั้งสิ้น 54 รายการ // (F) หมายถึง แหล่งมรดกโลกแห่งแรกของประเทศนั้น ๆ

ค.ศ.1989 (การประชุมสมัยที่ 13) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 11-15 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ณ กรุงปารีส   ฝรั่งเศส

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 21 ชาติสมาชิก คือ   กรีซ   คิวบา   แคนาดา   โคลอมเบีย   ซีเรีย   เซเนกัล   ตูนิเซีย   แทนซาเนีย   ไทย   บราซิล   บัลแกเรีย   ปากีสถาน   เปรู   ฝรั่งเศส   เม็กซิโก   เยเมน   สหรัฐ   อิตาลี   อินเดีย   อินโดนีเซีย   โอมาน

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 7 แห่ง (🟠 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 4 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง / 🟡 มรดกโลกแบบผสมผสาน 1 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  กรีซ แหล่งโบราณคดีมิสตราส (Archaeological Site of Mystras)       เมืองโบราณที่ล้อมไปด้วยป้อมปราการบนเนินเขาแห่งนี้ ก่อสร้างขึ้นในปี 1249 (ตรงกับ พ.ศ. 1792) โดย “เจ้าชายวิลเลียมที่ 2 แห่งวิลล์ฮาร์ดูอิน (William II of Villehardouin)” หลังก่อสร้างไม่นาน เมืองแห่งนี้ก็กลายเป็นศูนย์กลางอำนาจ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของยุคไบแซนไทน์ตอนปลาย ก่อนที่ภายหลังจะถูกชาวเติร์กและชาวเวนิสยึดครอง และกลายเป็นเมืองร้างในท้ายที่สุด

    ที่นี่จึงเป็นหลักฐานที่แสดงออกถึงสังคมเมืองอันรุ่งเรืองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ตอนปลาย สะท้อนผ่านซากปรักหักพังของป้อมปราการ พระราชวัง อาราม โบสถ์ บ้านเรือน ถนน และจัตุรัสสาธารณะท่ามกลางภูมิทัศน์เนินเขาอันงดงาม

🟠 วัฒนธรรม (2) (3) (4) • จังหวัดลาโกเนีย ภูมิภาคเพโลพอนนีส (Laconia, Peloponnese)
แหล่งโบราณคดีโอลิมเปีย (Archaeological Site of Olympia)      เมืองโบราณกลางหุบเขาที่มีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่นี่เป็นศูนย์กลางการบูชาเทพเจ้าซุส (Zeus) อดีตที่ตั้งเทวรูปซุสแห่งโอลิมเปีย (The Statue of Zeus at Olympia) 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ และเป็นจุดกำเนิดการแข่งขันโอลิมปิกโบราณ (Ancient Olympic) ตั้งแต่ 776 ปีก่อนคริสตกาล (ตรงกับ 233 ปีก่อนพุทธกาล)

    การผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมแบบกรีกโบราณ รูปแบบ วิธีการ และวัฒนธรรมการบูชาเทพเจ้าผ่านเกมกีฬา คือ "สัญลักษณ์แห่งสันติภาพและคุณธรรม" เป็นดั่งคบเพลิงแห่งเจตนารมณ์ที่ส่งต่อให้กับเกมกีฬาในโลกยุคปัจจุบัน

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (6) จังหวัดอลิซ ภูมิภาคกรีซตะวันตก (Elis, Western Greece)
  ซิมบับเว

  แซมเบีย (F)

โมซี-โออา-ตุนยา / น้ำตกวิกตอเรีย (Mosi-oa-Tunya / Victoria Falls)       น้ำตกขนาดใหญ่แห่งนี้มีลักษณะทางธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยาที่โดดเด่นน่าสนใจ จากการสันนิษฐานระบุว่า น้ำตกแห่งนี้เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟกลายเป็นหินภูเขาไฟบะซอลต์อายุ 180 ล้านปี เมื่อหินบะซอลต์ที่มีความหนาและมีขนาดกว้างใหญ่เย็นตัวลงก็เกิดรอยแตกแยกออกเป็นส่วน ๆ จนทิศทางการไหลของแม่น้ำแซมเบซี (Zambezi) เปลี่ยนแปลงและค่อย ๆ กัดเซาะรอยแตกจนเกิดเป็นภูมิทัศน์อันงดงาม

      ทำให้ที่นี่เป็นถิ่นอาศัยของนกที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์จำนวนมาก ตั้งแต่ เหยี่ยวไททา (Taita falcon) แร้งแลปเปต (Lappet-faced vulture) นกฟลามิงโกเล็ก (Lesser flamingo) นกอินทรีสีน้ำตาล (Tawny eagle) นกอินทรีบาเทเลอร์ (Bateleur) เป็นต้น

🟢 ธรรมชาติ (7) (8)   ซิมบับเว

จังหวัดใต้ (Southern)

  แซมเบีย

จังหวัดมาทาเบเลแลนด์เหนือ (Matabeleland North)

  โปรตุเกส อารามแห่งอัลกูบาซา (Monastery of Alcobaça)       อารามแห่งนี้นับว่าเป็นอารามสถาปัตยกรรมกอทิกขนาดใหญ่แห่งแรกของโปรตุเกส สร้างขึ้นเมื่อปี 1143 (ตรงกับ พ.ศ. 1686) โดย “กษัตริย์อาฟงซูที่ 1 (Afonso I)” ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โปรตุเกส เพื่อประกาศว่าพระองค์และราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของศาสนจักร และทรงสาบานว่าจะขับไล่ชาวมัวร์ออกจากคาบสมุทรไอบีเรียต่อไป

      ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม วัสดุก่อสร้าง ไปจนถึงอรรถประโยชน์ต่าง ๆ ทำให้อารามแห่งนี้ถูกขนานนามว่าเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกแบบซิสเตอร์เชียน (Cistercian gothic art) ชิ้นเอก เป็นพยานถึงการเผยแพร่รูปแบบสุนทรียศาสตร์ที่กระจายไปทั่วภูมิภาคตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรีย

🟠 วัฒนธรรม (1) (4) เขตไลรีอา (Leiria)
  มอริเตเนีย อุทยานแห่งชาติบ็อง ดาร์ กวิน (Banc d'Arguin National Park) (F)       ระบบนิเวศอันหลากหลายเลียบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งแต่ ทะเลทราย หนองน้ำ เกาะเล็ก ๆ ไปจนถึงน่านน้ำตื้นริมชายฝั่ง ความแตกต่างระหว่างสภาพแวดล้อมทางบกและความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ทำให้อุทยานที่มีพื้นที่กว่า 12,000 ตร.กม. แห่งนี้มีธรรมชาติอันโดดเด่นและอุดมสมบูรณ์เพียงพอการต่อดำรงชีวิตของสัตว์จำนวนมาก

      นั่นทำให้อุทยานแห่งนี้เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ อาทิ กวางกาเซลล์ดอร์คัส (Dorcas gazelle) แมวน้ำมังก์เมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean monk seal) โลมาหลังค่อมแอตแลนติก (Atlantic hump-backed dolphin) วาฬฟิน (Fin whale) วาฬไรต์แอตแลนติกเหนือ (North Atlantic right whale) เต่าหัวค้อน (Loggerhead sea turtle) ฯลฯ

🟢 ธรรมชาติ (9) (10) • ภูมิภาคเดาะค์เลาะต์ นาวาษิบู (Dakhlet Nouadhibou)
  มาลี หน้าผาบ็องดียาการา (ดินแดนของชาวโดกอน) (Cliff of Bandiagara (Land of the Dogons))       หน้าผาหินทรายสูงเหนือที่ราบทะเลทรายแห่งนี้เป็นอดีตที่ตั้งชุมชนชาวโดกอน (Dogon) มีสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น ตั้งแต่ บ้านเรือน ยุ้งข้าว แท่นบูชา ไปจนถึงลานประชาคมที่ปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อม จนเกิดเป็นรูปแบบวิถีชีวิต ประเพณี และพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์

      นี่คือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์และปรับตัวให้เข้ากับข้อจํากัดทางกายภาพ เพื่อสร้างชุมชนที่สะท้อนตัวตนผ่านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และปรัชญา โดยไม่กังวลต่อความท้าทายในทุกรูปแบบ

🟡 ผสมผสาน (5) (7) • เขตม็อปตี (Mopti)
  อินเดีย กลุ่มพุทธสถานที่สาญจี (Buddhist Monuments at Sanchi)       กลุ่มพุทธสถานแห่งนี้สร้างขึ้นโดย “พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ (Ashoka the Great of Maurya)“ ราว ๆ 200-300 ปีก่อนคริสตกาล (ราว พ.ศ. 244-343) ประกอบไปด้วย กลุ่มพระสถูปเจดีย์สำหรับเก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ ซุ้มประตู พระราชวัง และเขตสังฆาราม

      กลุ่มพุทธสถานหินที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดียแห่งนี้ จึงเป็นหนึ่งในตัวอย่างศิลปะอนิคอนิก (Aniconic) ที่เก่าแก่ ทรงคุณค่า และมีอิทธิพลต่อพุทธสถานอื่น ๆ ในเวลาต่อมา นั่นจึงทำให้เมืองสาญจีเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาที่สําคัญจนถึงศตวรรษที่ 12 (ราว พ.ศ. 1644-1743)

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (6) • รัฐมัธยประเทศ (Madhya Pradesh)

ค.ศ.1988 (การประชุมสมัยที่ 12) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 5-9 ธันวาคม พ.ศ. 2531 ณ กรุงบราซิเลีย   บราซิล

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 19 ชาติสมาชิก คือ   กรีซ   คิวบา   แคนาดา   ตูนิเซีย   ตุรกี (หรือ ทูร์เคีย)   นอร์เวย์   บราซิล   บัลแกเรีย   ปากีสถาน   ฝรั่งเศส   เม็กซิโก   เยเมน   เลบานอน   ศรีลังกา   สหรัฐ   ออสเตรเลีย   อิตาลี   อินเดีย   แอลจีเรีย

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 27 แห่ง (🟠 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 19 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 5 แห่ง / 🟡 มรดกโลกแบบผสมผสาน 3 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  กรีซ เขาแอทอส (Mount Athos)       เป็นศูนย์กลางทางจิตวิญญาณของผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox) ช่วงปี 1054 (ตรงกับ พ.ศ. 1597) ก่อนเลื่อนสถานะเป็นเขตปกครองตนเองตั้งแต่ยุคไบแซนไทน์ และได้รับสมญานามว่า “ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ (Holy Mountain)”

     สถานที่แห่งนี้อุดมไปด้วยงานศิลป์อันงดงาม ตั้งแต่ การวางผังอารามกว่า 20 อาราม ประติมากรรม กระเบื้องลายคราม งานปักผ้า วัตถุล้ำค่าจากทองคำ-เงิน-งาช้าง เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated Manuscripts) จิตรกรรมฝาผนังที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ศิลปะออร์ทอดอกซ์อันชดช้อย เป็นต้น

🟡 ผสมผสาน (1) (2) (4) (5) (6) (7) • เขตปกครองตนเองเมานต์แอทอส (Mount Athos)
นครยุคกลางแห่งโรดส์ (Medieval City of Rhode)       กลุ่มอัศวินนักบุญยอห์นแห่งเยรูซาเล็ม (Order of Saint John of Jerusalem) เข้ายึดครองนครโรดส์ (Rhodes) ช่วง ค.ศ. 1309-1523 (ตรงกับ พ.ศ. 1852-2066) และปรับปรุงให้เป็นฐานที่มั่น ก่อนที่ภายหลังจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของทูร์เคียและอิตาลี

    นครแห่งนี้ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญมากมาย ตั้งแต่ พระราชวังแกรนด์มาสเตอร์ส ถนนอัศวิน โรงพยาบาลใหญ่ โรงอาบน้ำใหญ่แบบทูร์เคีย กลุ่มอาคารจากสมัยออตโตมัน และเคยเป็นสถานที่ตั้งของ 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ อย่าง “เทวรูปเฮลิออส (Colossus of Rhodes)” อีกด้วย

🟠 วัฒนธรรม (2) (4) (5) • จังหวัดโรดส์ ภูมิภาคเซาท์อีเจียน (Rhodes, South Aegean)
บริเวณศักดิ์สิทธิ์แอสคลีเพียสที่เอพิดอรัส (Sanctuary of Asklepios at Epidaurus)       กลางหุบเขาเล็ก ๆ ในภูมิภาคเพโลพอนนีส (Peloponnese) เป็นที่ตั้งของวิหารแอสคลีเพียส (Asklepios) เทพแห่งการแพทย์ ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากลัทธิการบูชาเทพอะพอลโล (Apollo) ลัทธิประจำนครรัฐเอพิดอรัส (Epidaurus) ช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล (ราว 57 ปีก่อนพุทธกาล - พ.ศ. 42)

     มีโบราณสถานหลัก ๆ อย่าง วิหารแอสคลีเพียส วิหารน้อย และโรงมหรสพ ถือเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของอารยธรรมกรีกโบราณ มีอายุมากกว่า 2,500 ปี นอกจากนี้ยังมีวิหารน้อยใหญ่ และโรงพยาบาลที่สร้างอุทิศให้กับเทพแห่งการแพทย์ สถานที่รวบรวมองค์ความรู้ทรงคุณค่าของยุคกรีก-โรมัน

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (6) • จังหวัดอาร์โกลิส ภูมิภาคเพโลพอนนีส (Argolis, Peloponnese)
โบราณสถานศิลปะยุคคริสเตียนและไบแซนไทน์แห่งเทสซาลอนิกิ (Paleochristian and Byzantine Monuments of Thessaloniki)       เมืองแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 315 ปีก่อนคริสตกาล (ตรงกับ พ.ศ. 228) เป็นเมืองท่าสำคัญสำหรับการเดินเรือสู่ทะเล และเป็นฐานที่ตั้งแห่งแรก ๆ ของการเผยแผ่ศาสนาคริสต์

     นี่จึงทำให้เมือง ๆ นี้เต็มไปด้วยโบราณสถานสำคัญทางศาสนา ตั้งแต่ วิหารกลมประดับงานโมเสก โบสถ์นักบุญเดเมทริอุส และโบสถ์นักบุญเดวิด ล้วนเป็นตัวอย่างของงานศิลปะยุคคริสเตียนตอนต้น (Early Christian) ขณะที่โบสถ์อีกหลายหลังก็ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะยุคไบแซนไทน์ สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามของศิลปะและสถาปัตยกรรมของแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (4) • จังหวัดเทสซาลอนิกิ ภูมิภาคเซ็นทรัลมาซิโดเนีย (Thessaloniki, Central Macedonia)
เมเตออรา (Meteora)       บนยอดเขาหินทรายที่มนุษย์แทบมิอาจเข้าถึง มีนักบวชที่แสวงหาความโดดเดี่ยวทางจิตวิญญาณและต้องการเป็นอิสระจากการข่มเหงทางศาสนากลุ่มหนึ่ง ได้ก่อตั้งอารามขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ราว พ.ศ. 1544-1643)

     แม้จะยากลำบากและไม่น่าเป็นไปได้ แต่อารามน้อยใหญ่ก็สร้างขึ้น ณ บริเวณเสาแห่งนภา (Columns of the Sky) มากถึง 24 หลัง (ปัจจุบันหลงเหลืออยู่เพียง 6 หลัง) สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม ที่บ่งชี้ถึงพัฒนาการของศิลปะยุคหลังไบแซนไทน์ (Post-Byzantine) ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ

🟡 ผสมผสาน (1) (2) (4) (5) (7) • จังหวัดไตรกาลา ภูมิภาคเทสซาลี (Trikala, Thessaly)
  คิวบา ตรินิแดด และหุบเขาลอสเกนิออส (Trinidad and the Valley de los Ingenios)       เมืองตรินิแดด ก่อตั้งราว ๆ ปี 1514 (ตรงกับ พ.ศ. 2057) เพื่อเป็นเกียรติแด่ตรีเอกภาพ (Holy Trinity) มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในฐานะเมืองศูนย์กลางการค้าน้ำตาลในช่วงศตวรรษที่ 18-19 (ราว พ.ศ. 2244-2443) สะท้อนผ่านอาคารต่าง ๆ ที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปะแบบนีโอคลาสสิก กับอิทธิพลจากชาวอันดาลูซิอา (Andalusian) และชาวมัวร์ (Moor) ตั้งแต่ลักษณะเรียบง่ายไปจนถึงโอ่อ่าอลังการ

     ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองจะพบกับหุบเขาความยาว 225 กม. อดีตที่ตั้งของโรงงานน้ำตาลกว่า 70 แห่ง และเป็นแหล่งทำงานของแรงงานทาสกว่า 30,000 คน

🟠 วัฒนธรรม (4) (5) • จังหวัดซังก์ติเอสปิริตุส (Sancti Spiritus)
  ตูนิเซีย ก็อยเราะวาน (Kairouan)       เมืองแห่งนี้ก่อตั้งราวปี 670 (ตรงกับ พ.ศ. 1213) โดยราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (Umayyad) และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในยุคราชวงศ์อัฆลาบียะฮ์ (Aghlabid) ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 (ราว พ.ศ. 1344-1443) กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของผู้ศึกษาศาสนาอิสลามนิกายซุนนี (Sunni)

     สถาปัตยกรรมต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาวมุสลิมในดินแดนแอฟริกาเหนือหรือมาเกร็บ (Maghreb) ได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ มัสยิดใหญ่ มัสยิดสามประตู มัสยิดช่างตัดผม รวมไปถึงแอ่งน้ำอักลาบิด

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (6) • เขตก็อยเราะวาน (Kairouan)
มะดีนาแห่งซูสส์ (Medina of Sousse)       ซูสส์ เป็นเมืองสำคัญด้านการค้าและการทหารในยุคราชวงศ์อาคลาบิด (Aghlabid) ราว ๆ ปี 800-909 (ตรงกับ พ.ศ. 1343-1452) เป็นต้นแบบการก่อสร้างเมืองในช่วงศตวรรษแรก ๆ ของศาสนาอิสลาม

     ตั้งแต่ กำแพงเมือง ป้อมริบาต หรือสถานที่พำนักของทหารอาสาสมัคร-พ่อค้าเร่ ป้อมปราการหรือคาสบาห์ มัสยิดใหญ่ รวมไปถึงมัสยิดบู ฟตาตา ฯลฯ ล้วนเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของสถาปัตยกรรมมุสลิม สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวอาหรับในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้อย่างเด่นชัด

🟠 วัฒนธรรม (3) (4) (5) • เขตซูสส์ (Sousse)
  ตุรกี (หรือ ทูร์เคีย) ซานทอส-เลตูน (Xanthos-Letoon)       ที่นี่เคยเป็นเมืองหลวงของชาวลีเซีย (Lycia) ศูนย์กลางทางวัฒนธรรม การค้าขาย และศาสนาที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

     สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ของดินแดนแห่งนี้ แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานของอารยธรรมกรีก โรมัน ไบแซนไทน์ และอนาโตเลีย (Anatolia) ได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะศิลปะเกี่ยวกับการฝังศพ กลายเป็นต้นแบบทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญต่อเมืองอื่น ๆ ในภูมิภาค นอกจากนี้จารึกโบราณที่สลักด้วยภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียนของชาวลีเซียที่ตั้งอยู่ภายในเมือง ยังมีความสำคัญต่อการส่งต่อประวัติศาสตร์แก่มวลมนุษยชาติ

🟠 วัฒนธรรม (2) (3) • จังหวัดอันตัลยา (Antalya)

• จังหวัดมูกลา (Mugla)

เฮียราโพลิส-ปามุกคาเล (Hierapolis-Pamukkale)       ปามุกคาเล หรือปราสาทปุยฝ้าย (Cotton Castle) เป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากธารน้ำใต้ดิน ซึ่งมีแร่แคลไซต์ (Calcite) ปริมาณสูง ได้ทำปฏิกิริยาจับตัวแข็งเกาะกันเป็นริ้ว เป็นแอ่ง เป็นชั้น ลดหลั่นกันไปตามภูมิประเทศ เกิดเป็นประติมากรรมธรรมชาติอันงดงามแปลกตา

     ห่างไปไม่ไกลนัก จะพบกับร่องรอยของเมืองโรมันโบราณ ก่อตั้งช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2 (ราว พ.ศ. 644-743) โดยกษัตริย์ยูเมเนสที่ 1 แห่งเพอร์กามอน (Eumenes I of Pergamon) พระองค์เลือกใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ จนทำให้เมืองเฮียราโพลิส กลายเป็นสถานที่อาบน้ำแร่ เพื่อการบำบัดโรคและรักษาอาการเจ็บป่วยที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในแถบนี้

🟡 ผสมผสาน (3) (4) (7) • จังหวัดเดนิซลี (Denizli)
  เปรู ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์กรุงลิมา (Historic Centre of Lima)       แม้จะเคยถูกทำลายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว แต่นครกษัตริย์ (City of the Kings) แห่งนี้ ก็ยังคงเป็นเมืองหลวงและเมืองที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของดินแดนอาณานิคมสเปนในทวีปอเมริกาใต้ นับตั้งแต่ปี 1542 (ตรงกับ พ.ศ. 2082) จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ราว พ.ศ. 2273-2312)

     มหาวิหาร อาราม สะพาน และอาคารอีกหลายแห่ง สะท้อนให้เห็นสถาปัตยกรรมอันงดงามจากความร่วมมือของศิลปินพื้นเมืองและศิลปินชาวยุโรปในยุคล่าอาณานิคมที่ยังคงรักษาคุณค่าทางสถาปัตยกรรมสุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และองค์ความรู้ทางวิชาการไว้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

🟠 วัฒนธรรม (4) • กรุงลิมา (Lima)
  ฝรั่งเศส สตราสบูร์, กร็อง-ดีล และนอยชตัดท์ (Strasbourg, Grande-Ile and Neustadt)       เมืองสตราสบูร์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอีล (Ill) ใกล้ชายแดนเยอรมนี ในอดีตเมืองแห่งนี้เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ มีกลิ่นอายความเป็นเยอรมันแทรกซึมอยู่ในหลายส่วน จนถูกขนานนามว่าเป็น “เมืองสองวัฒนธรรม”

     กร็อง-ดีล เป็นเกาะขนาดใหญ่ห้อมล้อมไปด้วยแม่น้ำ เป็นต้นแบบย่านเมืองเก่ายุคกลาง และเป็นสถานที่ตั้งของอาสนวิหารสถาปัตยกรรมกอทิกที่สมบูรณ์แบบที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ขณะที่นอยชตัดท์ ก็โดดเด่นด้านการวางผังเมือง ด้วยการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมดั้งเดิมกับสถาปัตยกรรมของบารง โอสมานน์ (Baron Haussmann) ได้อย่างลงตัว

🟠 วัฒนธรรม (2) (4) • จังหวัดบา-แร็ง แคว้นกร็องแต็สต์ (Baas-Rhin, Grand Est)
  มาลี ทิมบักตู (Timbuktu)       เมืองโบราณแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 (ราว พ.ศ. 944-1043) ก่อนจะรุ่งเรืองถึงขีดสุดช่วงศตวรรษที่ 15-16 (ราว พ.ศ. 1944-2143) ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิซองไฮ (Songhai) ที่ได้แผ่ขยายดินแดนไปทั่วแอฟริกาตะวันตก ทำให้เมืองแห่งนี้มีบทบาทสำคัญในฐานะแหล่งค้าขายและการแลกเปลี่ยนสินค้า

     นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม และเป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยซ็องกอเร โรงเรียนสอนศาสนา และมัสยิดอีกหลายแห่งที่ก่อขึ้นมาจากอิฐและดินเหนียว สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของเมืองนี้ที่มีต่อชาวมุสลิมในแถบแอฟริกา

🟠 วัฒนธรรม (3) (4) (5) • เขตตุงบุกตู (Tombouctou)
เมืองเก่าเญนเน (Old Town of Djenne) (F)       สถานที่แห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ 250 ปีก่อนคริสตกาล (ตรงกับ พ.ศ. 294) ภายในเมืองเต็มไปด้วยอาคารที่สร้างจากดินโคลนผสมไม้ สะท้อนให้เห็นถึงการวางผังเมืองและสถาปัตยกรรมซูดาโน-ซาฮีเลียน (Sudano-Sahelian) อย่างเด่นชัด

     ภายหลังเมืองแห่งนี้ได้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อและศูนย์กลางการค้าทองข้ามทะเลทรายสะฮาราในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 (ราว พ.ศ. 1944-2143) และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการเผยแผ่ศาสนาอิสลามที่สำคัญของดินแดนแถบนี้

🟠 วัฒนธรรม (3) (4) • เขตม็อปตี (Mopti)
  เม็กซิโก นครสมัยก่อนอารยธรรมสเปนแห่งชิเชน-อิตซา (Pre-Hispanic City of Chichen-Itza)       สถานที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวมายา (Maya) ในคาบสมุทรยูกาตัน (Yucatan) ตลอดประวัติศาสตร์กว่าพันปี ชนเผ่าต่าง ๆ ได้ทิ้งร่องรอยอารยธรรมไว้ที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก

     องค์ความรู้ทางดาราศาสตร์ของชาวมายา–โทลเท็ก (Maya–Toltec) ที่ถ่ายทอดไว้ผ่านโบราณสถานหินและงานศิลปะต่าง ๆ ด้วยการผสานกรรมวิธีการก่อสร้างแบบดั้งเดิมกับการก่อสร้างแบบเม็กซิโกกลาง ตั้งแต่ พีระมิดวิหารคูคุลคาน วิหารนักรบ หอดูดาวทรงกลม สนามฟุตบอล ฯลฯ ทำให้ชิเชน-อิตซาเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่สำคัญของอารยธรรมมายา

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) • รัฐเมซิโก (Mexaico)
เมืองประวัติศาสตร์กัวนาฆัวโต และเหมืองในบริเวณใกล้เคียง (Historic Town of Guanajuato and Adjacent Mines)       เมืองแห่งนี้ก่อตั้งโดยชาวสเปน ราว ๆ ปี 1548 (ตรงกับ พ.ศ. 2091) ก่อนจะกลายเป็นศูนย์กลางการขุดแร่เงินชั้นนำของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ตรงกับ พ.ศ. 2244-2343) เห็นได้จากถนนใต้ดิน ปล่องเหมืองที่ดำดิ่งลึกลงไปใต้พื้นดินกว่า 600 ม. อาคารรูปแบบบาโรก–นีโอคลาสสิก ก็สะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมเหมืองในอดีตได้เป็นอย่างดี

     นอกจากนี้โบสถ์ต่าง ๆ  อย่าง โบสถ์คณะแห่งพระเยซูเจ้า กับโบสถ์ลาวาเลนเซียนา ยังจัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมบาโรกที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในแถบอเมริกาใต้และกลางอีกด้วย

🟠 วัฒนธรรม (3) (4) • รัฐกัวนาฆัวโต (Guanajuato)
  ศรีลังกา เขตสงวนป่าสิงหราชะ (Sinharaja Forest Reserve)       เขตสงวนแห่งนี้เป็นพื้นที่ราบลุ่มป่าฝนผืนสุดท้ายในศรีลังกา ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 90 ตร.กม. พันธุ์ไม้กว่า 60% เป็นพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น และอีกหลายชนิดเป็นพันธุ์ไม้หายาก

     ที่นี่ยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมาก โดยเฉพาะสัตว์เฉพาะถิ่นและสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ อาทิ นกกะปูดใหญ่เขียว (Green-billed coucal) นกขุนแผนศรีลังกา (Sri Lanka blue magpie) นกบั้งรอกหน้าแดง (Red-faced malkoha) ลิงลมเรียวแดง (Red slender loris) ค่างหน้าม่วง (Purple-faced langur) ลิงแสมหมวกโทก (Toque macaque) ฯลฯ

🟢 ธรรมชาติ (9) (10) • จังหวัดสพรคมุวะ (Sabaragamuwa)

• จังหวัดใต้ (Southern)

นครศักดิ์สิทธิ์กัณฏิ (Sacred City of Kandy)       อดีตเมืองหลวงสุดท้ายภายใต้การปกครองของกษัตริย์ศรีลังกา ก่อนที่จักรวรรดิอังกฤษจะเข้ายึดครองดินแดนช่วงปี 1815 (ตรงกับ พ.ศ. 2358)

     เมืองแห่งนี้เป็นที่ตั้งของหนึ่งในศาสนสถานสำคัญ อย่าง วัดศรีทัลฒามัลลิกาวะวิหาร หรือวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว สถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (พระทันตธาตุเบื้องล่างขวาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองศรีลังกา รวมไปถึงโบราณสถานและศาสนสถานสำคัญ ๆ อาทิ พระราชวัง ศาลาแปดเหลี่ยมปะธิริปปุวะ สำนักสงฆ์สยามนิกาย และศาลเทพฮินดูทั้งสี่หลัง

🟠 วัฒนธรรม (4) (6) • อำเภอกัณฏิ จังหวัดกลาง (Kandy, Central)
เมืองเก่ากอลล์ และป้อมปราการ (Old Town of Galle and its Fortifications)       เมืองท่าเก่าแก่แห่งนี้ก่อตั้งช่วงศตวรรษที่ 16 (ตรงกับ พ.ศ. 2044-2143) โดยชาวโปรตุเกส และได้รับการพัฒนาถึงจุดสูงสุดช่วงศตวรรษที่ 18 (ตรงกับ พ.ศ. 2244-2343) ก่อนที่จักรวรรดิอังกฤษจะเข้ามายึดครอง

     เมืองแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของเมืองที่มีป้อมปราการที่สร้างโดยชาวยุโรปในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องระหว่างรูปแบบสถาปัตยกรรมของชาวยุโรป และขนบประเพณีของชาวเอเชียใต้ได้อย่างลงตัว

🟠 วัฒนธรรม (4) • อำเภอกอลล์ จังหวัดใต้ (Galle , Southern)
  สเปน นครเก่าซาลามันกา (Old City of Salamanca)       นครเก่าแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล (ราว พ.ศ. 244-343) โดยชาวคาร์ธาจิเนียน (Carthaginian) ก่อนจะถูกปกครองโดยชาวมัวร์ (Moor) จนถึงศตวรรษที่ 11 (ราว พ.ศ.1544-1643) และเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในปี 1218 (ตรงกับ พ.ศ. 1761) เมื่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 แห่งเลออน (Alfonso IX of León) ทรงก่อตั้งมหาวิทยาลัยซาลามันกาขึ้น ซึ่งต่อมาหลังจากนั้น มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็กลายเป็น “ศูนย์กลางทางวิชาการที่สำคัญและมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป”

     จากประวัติศาสตร์ยาวนาน 2,000 กว่าปี ทำให้นครแห่งนี้เต็มไปด้วยโบราณสถานและงานศิลปะอันหลากหลาย ตั้งแต่ สถาปัตยกรรมรูปแบบบาโรก โรมาเนสก์ และกอทิก

🟠 วัฒนธรรม (4) • จังหวัดซาลามันกา แคว้นกัสติยา และเลออน (Salamanca, Castile & Leon)
  สหราชอาณาจักร เกาะเฮนเดอร์สัน (Henderson Island)       แนวปะการังที่ถูกแรงดันใต้แผ่นเปลือกโลกยกขึ้นจนโผล่พ้นจากน้ำทะเล เกิดเป็นเกาะขนาดใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมพื้นที่เพียง 37 ตร.กม. แห่งนี้ นับว่าเป็นเกาะปะการังเพียงไม่กี่แห่งที่ยังคงความสมบูรณ์และไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ ทำให้เราสามารถศึกษาพลวัตของสรรพชีวิต (Dynamic Perspective) และการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ได้อย่างแจ่มชัด

     เกาะแห่งนี้ยังเป็นถิ่นอาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์เฉพาะถิ่นหลายชนิด โดยเฉพาะนกที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ จำนวน 4 ชนิด และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของนกจมูกหลอดเฮนเดอร์สัน (Henderson petrel) เพียงแห่งเดียวบนโลก

🟢 ธรรมชาติ (7) (10) • เกาะเฮนเดอร์สัน หมู่เกาะพิตแคร์น (Henderson, Pitcairn Islands)
หอคอยแห่งกรุงลอนดอน (Tower of London)       พระราชวังหลวงและป้อมปราการแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเทมส์ (Thames) สร้างขึ้นโดย “พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (William I of England)”  เมื่อปี 1078 (ตรงกับ พ.ศ. 1621) ด้วยสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์

     ตลอดระยะเวลากว่า 1 สหัสวรรษ สถานที่แห่งนี้ถูกใช้ประโยชน์หลายอย่าง ทั้ง ป้อมปราการ พระราชวัง คลังแสงเก็บอาวุธ ท้องพระคลัง หอเก็บเอกสาร สวนสัตว์ โรงกษาปณ์หลวง หอดูดาว และเป็นสถานที่คุมขังนักโทษตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ไปจนถึงเหล่าข้าราชบริพาร ทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นจุดบันทึกประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อังกฤษมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

🟠 วัฒนธรรม (2) (4) • กรุงลอนดอน แคว้นอังกฤษ (London, England)
อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี, อารามนักบุญออกัสติน และโบสถ์นักบุญมาร์ติน (Canterbury Cathedral, Saint Augustine’ Abbey and Saint Martin’ Church)       อาสนวิหารสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์–กอทิกแห่งนี้เป็นที่ประทับของผู้นำคริสตจักรแห่งอังกฤษ ก่อสร้างตั้งแต่ปี 1070 (ตรงกับ พ.ศ. 1613) และเป็นสถานที่ที่อาร์ชบิชอปโธมัส เบกเค็ต (Archbishop Thomas Becket) ถูกพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Henry II of England) ลอบสังหาร

     ภายในเมืองเต็มไปด้วยโบราณสถานสำคัญหลายแห่ง ตั้งแต่ ซากอารามนักบุญออกัสติน หลักฐานที่แสดงถึงบทบาทการเผยแผ่ศาสนาของนักบุญในยุคสมัยที่เครือจักรภพแองโกล-แซกซอน (Heptarchy) เรืองอำนาจ และโบสถ์นักบุญมาร์ตินที่มีรูปแบบเรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าและเก่าแก่ที่สุดในอังกฤษ

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (6) • มณฑลเคนต์ แคว้นอังกฤษ (Kent, England)
  ออสเตรเลีย เขตร้อนชื้นของควีนส์แลนด์ (Wet Tropics of Queensland)       เขตร้อนชื้นแห่งนี้ทอดยาวตามชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย เป็นระยะทางกว่า 450 กม. ครอบคลุมพื้นที่กว่า 8,900 ตร.กม. ส่วนใหญ่เป็นป่าฝนเขตร้อนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อายุราว ๆ 130-140 ล้านปี

     ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีพันธุ์พืชหายากกว่า 390 สายพันธุ์ และเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์เฉพาะถิ่นและสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์จำนวนมาก อาทิ นกแคสโซแวรีใต้ (Southern cassowary) จิงโจ้หนูมัสกี (Muskyrat-kangaroo) จิงโจ้บินท้องเหลือง (Yellow-bellied glider) วอยลี (Woylie) ควอลลายเสือ (Tigerquoll) ฯลฯ

🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) (10) • รัฐควีนส์แลนด์ (Queensland)
  อินเดีย อุทยานแห่งชาตินันทาเทวี และหุบเขาดอกไม้ (Nanda Devi and Valley of Flowers National Park)       อุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาหิมาลัยตะวันตก สูงจากระดับน้ำทะเล 3,500 ม. ครอบคลุมพื้นที่กว่า 710 ตร.กม. เป็นเขตสูงชันที่มีเขาสลับซับซ้อน ทำให้มีสัตว์หายากและสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ เสือดาวหิมะ (Snow leopard) หมีดำหิมาลัย (Himalayan black bear) กวางชะมดหิมาลัย (Himalayan musk deer) เลียงผาหิมาลัย (Himalayan serow) ฯลฯ

     โดดเด่นด้วยภูมิประเทศอันงดงาม ตั้งแต่ ธารน้ำแข็ง แพเศษหินธารน้ำแข็ง (Moraine) ไปจนถึงทุ่งหญ้าอัลไพน์ ภูมิทัศน์ดังกล่าวถูกเสริมความงามด้วยทุ่งหญ้าดอกไม้กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา จนถูกกล่าวถึงในมหากาพย์มหาภารตะและตำนานความเชื่อของศาสนาฮินดู

🟢 ธรรมชาติ (7) (10) • จังหวัดชาโมลี, รัฐอุตตราขัณฑ์ (Chamoli, Uttarakhand)
  แอฟริกากลาง อุทยานแห่งชาติมาโนโว-กูนดา เซนต์ ฟลอริส (Manovo-Gounda Saint Floris National Park) (F)       อุทยานแห่งนี้ถือว่าเป็นอุทยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแอฟริกากลาง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 17,400 ตร.กม. ทำให้ที่นี่มีระบบนิเวศหลากหลาย ตั้งแต่ ที่ราบน้ำท่วมถึง ทุ่งหญ้าสะวันนา ป่าดิบชื้น ไปจนถึงป่าพรุริมฝั่ง และด้วยอิทธิพลของแม่น้ำ 3 สายที่ไหลตัดผ่านได้นำความอุดมสมบูรณ์มาสู่อุทยานแห่งนี้

     นั่นทำให้ที่นี่เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์จำนวนมาก อาทิ ช้างป่าแอฟริกา หมาใน จระเข้ ฯลฯ และโดยเฉพาะสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ อย่าง กวางกาเซลล์หน้าผากแดง (Red-fronted gazelle) เสือชีตาห์แอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeast African cheetah) และแรดดำ (Black rhinoceros) ที่มักถูกล่าจากมนุษย์จนเหลือจำนวนน้อยมาก ๆ ในธรรมชาติ

🟢 ธรรมชาติ (9) (10) • เขตบามินกุย-บางโกรัน (Bamingui-Bangoran)
  โอมาน แหล่งโบราณคดีบาท, อัล-คุทมุ และอัล-อายน์ (Archaeological Sites of Bat, Al-Khutm and Al-Ayn)       แหล่งโบราณคดีกึ่งก่อนประวัติศาสตร์แห่งนี้รวมไปถึงแหล่งโบราณคดีใกล้เคียงอื่น ๆ แสดงให้เห็นถึงหลักฐานการตั้งชุมชนและสุสานเก่าแก่ของมนุษย์ยุคสำริด ตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล (ราว พ.ศ. 244-343) ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก

     ซากหอคอยหินยุคฮาฟิต (Hafit) และกลุ่มสุสานลักษณะรังผึ้งขนาดใหญ่ที่มีหลุมฝังศพกว่าร้อยหลุม กระจายอยู่ทั่วบริเวณ สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของมนุษย์ยุคสำริด ตั้งแต่ วิธีการไปจนถึงรูปแบบการก่อสร้างที่ผ่านกระบวนการคิดมาเป็นอย่างดี

🟠 วัฒนธรรม (3) (4) • เขตผู้ว่าราชการอัดดอฮิเราะห์ (Ad Dhahirah)

ค.ศ.1987 (การประชุมสมัยที่ 11) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 7-11 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ณ กรุงปารีส   ฝรั่งเศส

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 19 ชาติสมาชิก คือ   กรีซ   คิวบา   แคนาดา   ตูนิเซีย   ตุรกี (หรือ ทูร์เคีย)   แทนซาเนีย   บราซิล   บัลแกเรีย   ปากีสถาน   ฝรั่งเศส   เม็กซิโก   เยเมน   เลบานอน   ศรีลังกา   สหรัฐ   ออสเตรเลีย   อิตาลี   อินเดีย   แอลจีเรีย

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 41 แห่ง (🟠 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 32 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 7 แห่ง / 🟡 มรดกโลกแบบผสมผสาน 2 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  กรีซ แหล่งโบราณคดีเดลฟี (Archaeological Site of Delphi) 🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (6)
อะโครโพลิส, กรุงเอเธนส์ (Acropolis, Athens) 🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (6)
  แคนาดา อุทยานแห่งชาติโกรสมอร์น (Gros Morne National Park)       อุทยานที่มีพื้นที่ 1,800 ตร.กม. แห่งนี้ คือ ตัวอย่างอันหายากของปรากฏการณ์ทวีปเลื่อน (Continental drift) กระบวนการเคลื่อนตัวของแผ่นทวีปและธารน้ำแข็งที่ใช้ระยะเวลากว่า 485 ล้านปี เกิดเป็นหน้าผาสูงตระหง่านของฟยอร์ดน้ำจืดที่ถูกกัดเซาะโดยธารน้ำแข็ง น้ำตก โขดหิน หาดทราย ป่าไม้ พื้นที่ราบต่ำ ไปจนถึงพื้นที่ราบสูงแห้งแล้งที่เต็มไปด้วยชั้นหินซิลิเกตที่อุดมไปด้วยโลหะเป็นพิษ

      กระนั้นอุทยานแห่งนี้ก็เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าหลากสายพันธุ์ ตั้งแต่ นกสายฟ้า (Rock ptarmigan) กวางคาริบูป่าเหนือ (Boreal woodland caribou) หมาไม้อเมริกัน (American marten) วาฬฟิน (Fin whale) เป็นต้น

🟢 ธรรมชาติ (7) (8) • รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ (Newfoundland and Labrador)
  แคเมอรูน เขตสงวนพันธุ์สัตว์จา (Dja Faunal Reserve) (F)       หนึ่งในเขตป่าฝนแอฟริกาที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการปกป้องอย่างดีที่สุด บนพื้นที่ 5,260 ตร.กม. ทำให้ที่นี่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าหลากชนิด โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในอันดับวานร (Primate)

      ตัวอย่างสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตสงวนพันธุ์แห่งนี้ มีลิงกอริลลาที่ราบลุ่มตะวันตก (Western lowland gorilla) ลิงชิมแปนซีแอฟริกันตะวันตก (West African chimpanzee) ลิงบังกาเบย์ปลอกคอขาว (Collared mangabey) ลิงดริลล์ (Drill) ลิงแมนดริลล์ (Mandrill) เป็นต้น

🟢 ธรรมชาติ (9) (10) • ภูมิภาคตะวันออก (East)
  จีน กำแพงเมืองจีน (The Great Wall)       สิ่งก่อสร้างขนาดมหึมาแห่งนี้เริ่มต้นก่อสร้างในยุคสมัยชุนชิว-จ้านกว๋อ (Chunqiu-Zhanguo) ราว ๆ 770 ปีก่อนคริสตกาล (ตรงกับ 227 ปีก่อนพุทธกาล) ก่อนจะถูกต่อเติมอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งในยุคสมัยของ "กษัตริย์ฉินฉือหวังตี้ แห่งราชวงศ์ฉิน (Qin Shi Huangdi of Qin)" หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ปฐมจักรพรรดิแห่งประวัติศาสตร์จีน เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าเร่ร่อน และได้รับการต่อเติมเรื่อยมาจนถึงราชวงศ์หมิง (Ming)

      นี่จึงเป็นสิ่งก่อสร้างทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหลักฐานอันเด่นชัดถึงการใช้สถาปัตยกรรมในการเสริมสร้างยุทธศาสตร์การป้องกันดินแดนที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานนับพันปี

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (6) • มณฑลเหลียวหนิง (Liaoning)

• มณฑลเทียนจิน (Tianjin)

• มณฑลเหอเป่ย์ (Hebei)

• กรุงปักกิ่ง (Beijing)

• เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (Inner Mongolia)

• มณฑลชานซี (Shanxi)

• มณฑลฉ่านซี (Shaanxi)

• เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย (Ningxia)

• มณฑลกานซู (Gansu)

เขาไท่ (Mount Taishan) (F)       ภูเขาแห่งนี้ก่อตัวขึ้นผ่านกระบวนการทางธรณีวิทยาและชีวภาพที่สลับซับซ้อนกว่า 3,000 ล้านปี ทำให้เกิดเป็นภูมิทัศน์อันน่าทึ่ง มนุษย์จึงใช้ประโยชน์จากธรรมชาติในการรังสรรค์ความเชื่อ จนก่อตัวเป็นวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อันยาวนานนับพันปี

      ที่นี่เคยเป็นสถานที่ประกอบพิธีบวงสรวงคารวะฟ้า ดิน และขุนเขาของจักรพรรดิจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน (Qin) (ราว พ.ศ. 323-342) จนถึงราชวงศ์ฮั่นและหมิง รวม 72 รัชสมัย ประกอบกับเคยเป็นสถานที่แสวงบุญของนักพรตเต๋าผู้แสวงหาความสันโดษ ทำให้ที่นี่กลายเป็นที่ตั้งของสถาปัตยกรรมทรงคุณค่าท่ามกลางธรรมชาติอันน่าตื่นตาตื่นใจ

🟡 ผสมผสาน (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) • มณฑลซานตง (Shandong)
ถ้ำมั่วเกา (Mogao Caves)       ถ้ำแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยสิบหกแคว้น (Sixteen kingdoms) ราวปี 304-439 (ตรงกับ พ.ศ. 847-982) โดยภิกษุรูปหนึ่งสำหรับเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และถูกต่อเติมเรื่อยมาจนถึงราชวงศ์หยวน (Yuan) ก่อนจะหยุดชะงักไปจากปัญหาสงคราม

      อดีตที่นี่เคยเป็นหนึ่งในจุดค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่สำคัญในเส้นทางสายไหม ทำให้ได้รับการอุปถัมภ์จากกลุ่มพ่อค้าในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ การสร้างถ้ำแกะสลักรวมกัน 492 ถ้ำ จิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรูป ไปจนถึงวัตถุโบราณอื่น ๆ กว่า 40,000 ชิ้น ที่นี่จึงจัดว่าแหล่งรวบรวมงานพุทธศิลป์จีนที่ทรงคุณค่าที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (5) (6) • มณฑลกานซู่ (Gansu)
พระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและชิง ณ กรุงปักกิ่งและเฉิ่นหยาง (Imperial Palaces of the Ming and Qing Dynasties in Beijing and Shenyang)       พระราชวังเก่าแก่แห่งนี้สร้างขึ้นปี 1406-1420 (ตรงกับ พ.ศ. 1949-1963) โดย "จักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง (Yongle of Ming)" เพื่อเป็นสถานที่ประทับของจักรพรรดิ พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางแห่งราชวงศ์หมิงเรื่อยไปจนถึงราชวงศ์ชิง (Qing) รวม 24 พระองค์ ภายในพระราชวังแห่งนี้มีห้องมากถึง 9,999 ห้อง

      ขณะที่พระราชวังที่เฉิ่นหยาง อดีตเมืองหลวงของราชวงศ์ชิง สร้างขึ้นเมื่อปี 1625 (ตรงกับ พ.ศ. 2168) ด้วยสถาปัตยกรรมที่แฝงกลิ่นอายวัฒนธรรมของชาวแมนจู (Manchu) ผสมผสานกับแบบโครงสร้างพระราชวังหลวงที่กรุงปักกิ่ง ทำให้พระราชวังหลวงทั้งสองเป็นเสมือนตัวแทนอารยธรรมจีนในยุคราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) • กรุงปักกิ่ง (Beijing)

• มณฑลเหลียวหนิง (Liaoning)

สุสานจักรพรรดิฉินที่ 1 (Mausoleum of the First Qin Emperor)       สุสานหลวงของ "กษัตริย์ฉินฉือหวังตี้ แห่งราชวงศ์ฉิน (Qin Shi Huangdi of Qin)" หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ สร้างขึ้นตั้งแต่ 246-208 ปีก่อนคริสตกาล (ตรงกับ พ.ศ. 297-335) มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนกว่า 7,400 ชิ้น อาทิ กองทัพทหารดินเผา นางสนม นางกำนัล สรรพาวุธ รถม้าและม้าศึก ฯลฯ

      โดยแผนผังของสุสานนั้นจำลองมาจากเมืองเสียนหยาง (Xianyang) อดีตเมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน ด้วยขนาดพื้นที่ ปริมาณของโบราณวัตถุ รูปแบบและการจัดสร้างที่มีความสลับซับซ้อน ล้วนแสดงให้เห็นถึงฐานะและอำนาจของปฐมจักรพรรดิแห่งประวัติศาสตร์จีนที่รวบรวมแว่นแคว้นดินแดนต่าง ๆ จนเป็นปึกแผ่นได้เป็นอย่างดี

🟠 วัฒนธรรม (1) (3) (4) (6) • มณฑลฉ่านซี (Shaanxi)
แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่ง โจวโข่วเตี้ยน (Peking Man Site at Zhoukoudian)      กลุ่มถ้ำหินปูนแห่งนี้เป็นแหล่งขุดค้นพบกระดูกของมนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคหินเก่า ประมาณ 200,000-750,000 ปีก่อน การขุดค้นเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1921 (ตรงกับ พ.ศ. 2464) กระทั่งหลายปีถัดมา จะมีการขุดพบกระดูกฟัน กระดูกหน้าผาก และกระดูกกะโหลกศีรษะมนุษย์ที่มีสภาพสมบูรณ์เป็นครั้งแรก

     นับจากนั้นแหล่งขุดค้นแห่งนี้ก็ขุดพบกระดูกกะโหลกศีรษะมนุษย์กว่า 40 ชิ้น ซากกระดูกมนุษย์ชิ้นส่วนอื่น ๆ ซากกระดูกสัตว์อีกกว่าร้อยชนิด เครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินกว่าแสนชิ้น และหลักฐานการใช้ไฟจำนวนมาก นั่นทำให้ที่นี่กลายเป็นหลักฐานการมีอยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในทวีปเอเชียที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์ยุคแรก

🟠 วัฒนธรรม (3) (6) • มณฑลฉ่านซี (Shaanxi)
  ตุรกี (หรือ ทูร์เคีย) เนมรุตดัก (Nemrut Dağ)      บนยอดเขาเนมรุตทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี มีรูปสลักหินเศียรเทพเจ้าขนาดใหญ่กระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก ย้อนไปเมื่อ 62 ปีก่อนคริสตกาล (ตรงกับ พ.ศ. 482) “กษัตริย์แอนทิโอคัสที่ 1 (Antiochus I)” หนึ่งในกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของอาณาจักรโคมานายา (Commagene) ได้สร้างสถานที่แห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับพระองค์

     อนุสรณ์สถานแห่งนี้เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่สะท้อนให้เห็นถึงความทะเยอทะยานแห่งยุคเฮลเลนิสติก (Hellenistic) ตั้งแต่ การออกแบบที่ซับซ้อน การก่อสร้างที่พิถีพิถัน ไปจนถึงเทคโนโลยีที่นํามาใช้สร้างรูปสลักและหลักศิลาจารึก (Stelae) ขนาดมหึมา

🟠 วัฒนธรรม (1) (3) (4) • จังหวัดอาดือยามัน (Adıyaman)
  แทนซาเนีย อุทยานแห่งชาติคิลิมันจาโร (Kilimanjaro National Park)      อุทยานที่มีพื้นที่ประมาณ 755 ตร.กม. แห่งนี้เป็นที่ตั้งของ "ภูเขาคิลิมันจาโร” ภูเขาที่สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นภูเขาแบบกรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Stratovolcano) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่นี่มีระบบนิเวศหลากหลาย ตั้งแต่ ป่าดิบเขา ป่าฝน ทุ่งไม้พุ่ม ทุ่งไม้พุ่มเตี้ย ที่ลุ่ม เขตที่สูงบาร์เรนส์ และพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง

    ทำให้ที่นี่เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าหลากชนิด โดยเฉพาะสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ อย่าง ไฮแรกซ์ต้นไม้ตะวันออก (Eastern tree hyrax) ช้างพุ่มไม้แอฟริกา (African bush elephant) ดุยเกอร์แอบบอตต์ (Abbott’s duiker) แรดดำแอฟริกาตะวันออก (Eastern black rhinoceros) รีดบักภูเขาแชนเลอร์ (Chanler's mountain reedbuck) เป็นต้น

🟢 ธรรมชาติ (7) • ภูมิภาคคิลิมันจาโร (Kilimanjaro)
  บราซิล กรุงบราซิเลีย (Brasilia) 🟠 วัฒนธรรม (1) (4)
  โบลิเวีย เมืองโปโตซี (City of Potosí) (F)     เมืองแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1545 (ตรงกับ พ.ศ. 2088) เป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมของอุตสาหกรรมเหมืองเงินขนาดใหญ่จากศตวรรษที่ 16 (ราว พ.ศ. 2044-2143) ที่สะท้อนให้เห็นถึงห่วงโซ่การผลิตแร่เงินที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ ระบบการขุดหาแร่ ระบบการสกัดแร่ด้วยพลังงานน้ำ ระบบชลประทาน อ่างเก็บน้ำและทะเลสาบเทียมที่สลับซับซ้อน ไปจนถึงโรงบดและหลอมแร่เพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์

    ผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมแอนเดียนบาโรก (Andean Baroque) สถาปัตยกรรมใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันเกิดจากผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมบาโรกของชาวสเปน กับวัฒนธรรมจากกลุ่มแรงงานพื้นเมือง ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนถูกอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีจนถึงปัจจุบัน

🟠 วัฒนธรรม (2) (4) (6) • แคว้นโปโตซี (Potosí)
  เปรู อุทยานแห่งชาติมานู (Manú National Park)     อุทยานแห่งนี้คือจุดบรรจบกันระหว่างเทือกเขาแอนดีสเขตร้อนกับลุ่มน้ําอะเมซอน การไต่ระดับความสูงของธรรมชาติทำให้เกิดเป็นระบบนิเวศอันหลากหลายบนพื้นที่กว่า 17,160 ตร.กม. ตั้งแต่ ทุ่งหญ้าที่ราบสูง ป่าหมอก ป่าดิบชื้นเชิงเขา ป่าฝนที่ราบลุ่ม และลำห้วยน้อยใหญ่หลายสาย

    ที่นี่จึงเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์จำนวนมาก อาทิ ลิงขนสีน้ำตาล (Common woolly monkey) อาร์มาดิลโลยักษ์ (Giant armadillo) หมีแว่น (Spectacled bear) สมเสร็จอเมริกาใต้ (Lowland tapir) กวางทารูกา (Taruca) นกฮัมมิงเบิร์ดหางติ่ง (Marvellous spatuletail) นกทินามูดำ (Black tinamou) เต่าแม่น้ำอะเมซอนจุดเหลือง (Yellow-spotted river turtle) ฯลฯ

🟢 ธรรมชาติ (9) (10) • แคว้นมาเดรเดดิออส (Madre de Dios)

• แคว้นคุซโก (Cuzco)

  เม็กซิโก เซียนกาอัน (Sian Ka'an)      เขตสงวนชีวมณฑลที่มีพื้นที่ราว 5,200 ตร.กม. แห่งนี้ ประกอบด้วยป่าเขตร้อน ป่าชายเลน บึง หาดทราย เนินทราย แนวหญ้าทะเล และแนวปะการังกั้น ซึ่งเป็นผลมาจากระบบอุทกวิทยาที่ซับซ้อน นั่นทำให้ที่นี่กลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ชุ่มน้ําที่เก่าแก่และซับซ้อนที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค

     ด้วยเหตุนี้ที่นี่จึงเป็นถิ่นอาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์หลากสายพันธุ์ โดยเฉพาะสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ ตั้งแต่ ลิงแมงมุมมือดำ (Black-handed spider monkey) ลิงฮาวเลอร์ดำยูกาตัน (Yucatan black howler monkey) พะยูนแคริบเบียน (Caribbean manatee) สมเสร็จอเมริกากลาง (Central American tapir) จระเข้อเมริกา (American crocodile) ปลาคางคกปะการัง (splendid toadfish) เป็นต้น

🟢 ธรรมชาติ (7) (10) • รัฐกินตานาโร (Quintana Roo)
นครสมัยก่อนอารยธรรมสเปนแห่งเตโอตีวากาน (Pre-Hispanic City of Teotihuacan)      สถานที่แห่งนี้สร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 1-7 (ราว พ.ศ. 544-1243) ก่อนจะกลายเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันหนาแน่น ประมาณ 25,000 คนหรือมากกว่านั้น นั่นทำให้เมืองแห่งนี้กลายเป็นเมืองสำคัญในหลายด้าน โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่ทรงพลังที่สุดในเมโสอเมริกา

     ผังเมืองที่ออกแบบมาโดยคำนึงถึงองค์ประกอบทางธรรมชาติของหุบเขาเม็กซิโก (Valley of Mexico) พีระมิดแห่งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ วิหารบูชาเทพเจ้า พระราชวัง ตลอดจนอาคารจำนวนมากที่ตกแต่งด้วยภาพวาดฝาผนังแสดงให้เห็นถึงโลกทัศน์และสภาพแวดล้อม ล้วนมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อแนวความคิดของวัฒนธรรมในบริเวณใกล้เคียง

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (6) • รัฐเมฮิโก (Mexico)
นครสมัยก่อนอารยธรรมสเปนและอุทยานแห่งชาติปาเลงกา (Pre-Hispanic City and National Park of Palenque)      สถานที่แห่งนี้มีอายุประมาณ 226 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 799 (ตรงกับ พ.ศ. 318-1342) แม้ที่นี่จะมีขนาดกลางเมื่อเทียบกับแหล่งอารยธรรมมายาแหล่งอื่น ๆ ในคาบสมุทรยูกาตัน (Yucatan) แต่ที่นี่กลับมีสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และหัตถกรรมที่ดีที่สุด

     สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดีที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของชาวมายา (Maya) ตั้งแต่ ซากสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่มีสภาพเกือบสมบูรณ์ การคิดค้นรูปแบบศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ ความประณีตพิถีพิถันของงานฝีมือและงานก่อสร้าง ตลอดจนความตื้นลึกหนาบางของภาพหินแกะสลัก ล้วนเป็นสิ่งยืนยันถึงอัจฉริยะของชาวมายาแห่งปาเลงกา

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) • รัฐเชียปัส (Chiapas)
ศูนย์กลางประวัติศาสตร์ปวยบลา (Historic Centre of Puebla)      เมืองแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1531 (ตรงกับ พ.ศ. 2074) บริเวณเชิงภูเขาไฟโปโปกาเตเปตล์ (Popocatepetl) นอกขอบเขตการครอบครองของชนพื้นเมือง ทำให้ที่นี่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์บนเส้นทางการค้าระหว่างท่าเรือเมืองเวรากรูซ (Port of Veracruz) กับกรุงเม็กซิโกซิตีมานานกว่าสองศตวรรษ

     สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ มหาวิหาร พระราชวัง ไปจนถึงบ้านเรือนหลายหลังที่ตกแต่งผนังด้วยการปูแผ่นกระเบื้องสี (Azulejos) สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดสุนทรียศาสตร์ที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างศิลปะรูปแบบยุโรปและอเมริกา ถูกนํามาพัฒนาและปรับใช้ในท้องถิ่นจนเกิดเป็นผลงานอันเป็นลักษณะเฉพาะของเมืองแห่งนี้

🟠 วัฒนธรรม (2) (4) • รัฐปวยบลา (Puebla)
ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เม็กซิโกซิตีและโซชิมิลโก (Historic Centre of Mexico City and Xochimilco) (F)      ซากเมืองหลวงเก่าเตโนชติตลัน (Tenochtitlan) และโครงข่ายเกาะเทียมลอยน้ำจำนวนมากของชาวแอซเท็ก (Aztec) ที่ก่อตั้งขึ้นราวปี 1325 (ตรงกับ พ.ศ. 1868) บริเวณทะเลสาบเท็กโกโก (Texcoco) ก่อนถูกจักรวรรดิสเปนเข้ารุกรานและบุกขยายเมืองจนภูมิประเทศบริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงสถาปัตยกรรมใหม่ที่ชาวสเปนสร้างสรรค์ขึ้น ล้วนเป็นตัวอย่างของการอยู่ร่วมกันระหว่างวัฒนธรรมผู้ถูกล่าและวัฒนธรรมผู้ไล่ล่าบนพื้นที่แห่งความสิ้นหวังและความคาดหวัง

     ห่างไปทางใต้ประมาณ 28 กม. "โซชิมิลโก" คือโครงข่ายคลองและเกาะเทียมลอยน้ำ (Chinampa) แห่งสุดท้าย ที่เป็นประจักษ์พยานถึงความพยายามของชาวแอซเท็กในการสร้างที่อยู่อาศัยท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออํานวย

🟠 วัฒนธรรม (2) (3) (4) (5) • กรุงเม็กซิโกซิตี (Mexico City)
ศูนย์กลางประวัติศาสตร์วาฮากา และแหล่งโบราณคดีมอนเตอัลบัน (Historic Centre of Oaxaca and Archaeological Site of Monte Albán)      เมืองวาฮากา ก่อตั้งขึ้นในปี 1529 (ตรงกับ พ.ศ. 2072) โดยชาวซาโปเท็ก (Zapotec) ด้วยกรรมวิธีการก่อสร้างที่เน้นความแข็งแรงทนทานต่อปรากฏการณ์แผ่นดินไหว เป็นตัวอย่างที่ดีของการก่อสร้างอย่างยั่งยืนและการวางผังเมืองในยุคอาณานิคมสเปนช่วงศตวรรษที่ 16 (ราว พ.ศ. 2044-2143)

     ถัดไปไม่ไกลนักบริเวณหุบเขาวาฮากา (Oaxaca Valley) เป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,500 ปี ร่องรอยของซากปรักหักพังต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ องค์ความรู้ ความเชื่อ และการแสดงออกทางศิลปะอันยอดเยี่ยม

     แหล่งมรดกโลก ณ บริเวณนี้จึงเป็นหลักฐานของการหลอมรวมของสองวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมเมโสอเมริกันและวัฒนธรรมสเปน ผ่านยุคสมัยและกาลเวลา

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) • รัฐวาฮากา (Oaxaca)
  โมร็อกโก กซาร์แห่งอายต์-แบน-ฮัดดู (Ksar of Ait-Ben-Haddou)      หมู่บ้านป้อมปราการแห่งนี้มีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 11 (ตรงกับ พ.ศ. 1544-1643) ตั้งอยู่บนเส้นทางคาราวานเดิมระหว่างทะเลทรายสะฮาราและเมืองมาร์ราคิช (Marrakesh) ทำให้ที่นี่มีความสำคัญในฐานะเมืองแวะพัก และเมืองค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า

     กลุ่มอาคารที่มีกำแพงล้อมรอบในหมู่บ้านแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยดินโคลนแห้งสีแดงผสมกับไม้ สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมโมร็อกโกตอนใต้ที่ยังคงสืบทอดต่อกันมากว่าสหัสวรรษ ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาในการพลิกแพลงและดิ้นรนเอาตัวรอดท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันร้อนระอุ จนกลายเป็นหมู่บ้านป้อมปราการที่เป็นเสมือนตัวแทนของวัฒนธรรมทางตอนใต้ของโมร็อกโก

🟠 วัฒนธรรม (4) (5) • จังหวัดอัวะร์ซาเซต ภูมิภาคดราอา-ตาฟิลาเลต (Ouarzazate, Drâa-Tafilalet)
  เยอรมนี (อดีตคือ เยอรมนีตะวันตก) นครฮันเซอแห่งลือเบ็ค (Hanseatic City of Lübeck)      อดีตเมืองหลวงแห่งกลุ่มสันนิบาตฮันเซอ (Hanseatic league) ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 12 (ตรงกับ พ.ศ. 1644-1743) และเจริญรุ่งเรืองจนถึงศตวรรษที่ 16 (ตรงกับ พ.ศ. 2044-2143) ในฐานะศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาคยุโรปเหนือ และยังคงเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลมาจนถึงทุกวันนี้

    แม้จะได้รับความเสียหายช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของเมืองเก่าที่ก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมกอทิกที่สร้างขึ้นจากอิฐ (Brick Gothic) ตั้งแต่ ประตูเมือง โบสถ์ คลังเกลือ หรือสถานที่อาศัยของขุนนางช่วงศตวรรษที่ 15-16 (ตรงกับ พ.ศ. 1944-2143) ยังคงงดงามเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

🟠 วัฒนธรรม (4) • รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ (Schleswig-Holstein)
  เยอรมนี (อดีตคือ เยอรมนีตะวันตก)

  สหราชอาณาจักร

แนวพรมแดนของจักรวรรดิโรมัน (Frontiers of the Roman Empire)      ร่องรอยของกําแพง คูน้ํา ป้อมปราการ หอสังเกตการณ์ และการตั้งถิ่นฐานของพลเรือนที่ทอดยาวรวมกันกว่า 5,000 กม. จากชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนเหนือของสกอตแลนด์ ผ่านยุโรปไปยังทะเลดํา และทะเลแดง ข้ามแอฟริกาเหนือไปยังชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก แสดงให้เห็นถึงเส้นเขตแดนของจักรวรรดิโรมันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 2 (ตรงกับ พ.ศ. 644-743)

     “จักรพรรดิเฮเดรียน (Hadrian)” เริ่มสร้างกำแพงขึ้นในปี 122 (ตรงกับ พ.ศ. 665) เพื่อปกป้องเมืองและแสดงอำนาจ พระองค์ตั้งใจสร้างเขตแบ่งระหว่างโลกอารยะของชาวโรมันกับถิ่นทุรกันดารของเหล่าอนารยชน เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันอันเกรียงไกร

🟠 วัฒนธรรม (2) (3) (4)   เยอรมนี

• รัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ (Rheinland-Pfalz)

• รัฐเฮ็สเซิน (Hessen)

• รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค (Baden-Württemberg)

• รัฐไบเอิร์น ( Bayern)


  สหราชอาณาจักร

• พื้นที่สภาเรนฟรูว์เชอร์ (Renfrewshire)

• พื้นที่สภาเวสต์ดันบาร์ตันเชอร์ (West Dunbartonshire)

• พื้นที่สภานครกลาสโกว์ (Glasgow)

• พื้นที่สภาอีสต์ดันบาร์ตันเชอร์ (East Dumbartonshire)

• พื้นที่สภานอร์ทแลนาร์กเชอร์ (North Lanarkshire)

• พื้นที่สภาฟอลเคิร์ก (Falkirk)

  สเปน อาสนวิหาร, อัลกาซาร์ และหอจดหมายเหตุอินดีส ในเซบิยา (Cathedral, Alcázar and Archivo de Indias in Seville)      หลังจากการล่มสลายของชาวมัวร์ (Moor) และถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชบัลลังก์กัสติยา (Crown of Castile) ในปี 1248 (ตรงกับ พ.ศ. 1791) เมืองแห่งนี้ก็กลายเป็นประตูการค้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของจักรวรรดิสเปน เรื่อยไปจนถึงศตวรรษที่ 17 (ราว พ.ศ. 2144-2243)

     ดังนั้นร่องรอยวัฒนธรรมบนสถาปัตยกรรมต่าง ๆ จึงมีกลิ่นอายของชาวมัวร์ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมกอทิกแบบสเปนที่นิยมในช่วงเวลาดังกล่าว ตั้งแต่ อาสนวิหารกอทิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พระราชวังที่ผสมกันระหว่างสถาปัตยกรรมกอทิกและมูเดฆาร์ (Mudejar) อย่างกลมกลืน ไปจนถึงหอจดหมายเหตุที่รวบรวมเอกสารสำคัญ ๆ อาทิ จดหมาย แผนที่ รายงานบันทึกบทบาทสำคัญของจักรวรรดิสเปนต่อการสร้างโลกใหม่ ฯลฯ

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (6) • จังหวัดซาบิยา แคว้นอันดาลูซิอา (Seville, Andalusia)
  สหรัฐ มอนติเซลโลและมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียในชาร์ลอตต์วิลล์ (Monticello and the University of Virginia in Charlottesville)      บริเวณชานเมืองชาร์ลอตต์วิลล์ เป็นสถานที่ตั้งของคฤหาสน์สำหรับพักอาศัยของ "ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)" ประธานาธิบดีคนที่ 3 แห่งสหรัฐอเมริกา ผู้ประพันธ์คำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) ที่สะท้อนให้เห็นรูปแบบสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิกผสมผสานเข้ากับมุมมองการออกแบบที่สดใหม่

     ต่อมาปี 1819 (ตรงกับ พ.ศ. 2362) เจฟเฟอร์สันก็ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียขึ้นในบริเวณใกล้ ๆ กัน เขาออกแบบอาคารต่าง ๆ ท่ามกลางธรรมชาติเขียวขจี โดยได้รับแรงบันดาลมาจากวิหารแพนธีออน (Pantheon, Rome) นี่จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการพยายามคัดลอกรูปแบบศิลปะยุโรปอันรุ่งเรือง และการทดลองเพื่อริเริ่มรูปแบบศิลปะอเมริกันบนแผ่นดินโลกใหม่

🟠 วัฒนธรรม (1) (4) (6) • รัฐเวอร์จิเนีย (Virginia)
วัฒนธรรมชาโก (Chaco Culture)      เป็นเวลากว่า 2,000 ปีที่ชาวปวยโบล (Pueblo) ชนพื้นเมืองอเมริกันครอบครองพื้นที่กลางทะเลทรายกว้างทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ซากเมืองแห่งนี้เคยเจริญสูงสุดราวปี 1020-1110 (ตรงกับ พ.ศ. 1563-1653) ที่นี่เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม พิธีกรรม การค้า และกิจกรรมทางการเมือง

     ซากเมืองแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยองค์ความรู้อันเป็นเลิศ ตั้งแต่ การวางผังเมือง การออกแบบเมือง และรูปแบบอาคารที่บางหลังมีความสูงถึงสี่ชั้น และอาจมีห้องหับต่าง ๆ รวมกันได้มากถึง 600-800 ห้อง นี่จึงเป็นตัวอย่างของความสำเร็จทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่ชาวปวยโบลสามารถเอาชนะสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายทารุณได้ยาวนานหลายพันปี

🟠 วัฒนธรรม (3) • รัฐนิวเม็กซิโก (New Mexico)
อุทยานแห่งชาติภูเขาไฟฮาวาย (Hawaii Volcanoes National Park)      อุทยานที่มีพื้นที่เกือบ 880 ตร.กม. แห่งนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาไฟเมานา โลอา (Mauna Loa) และภูเขาไฟคีเลาเวอา (Kīlauea) ภูเขาไฟที่ปะทุมากที่สุดในโลก การปะทุของภูเขาไฟทั้งสองได้สร้างภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และกระแสลาวาก็เผยให้เห็นการก่อตัวทางธรณีวิทยาที่น่าประหลาดใจ

     กระนั้นที่นี่ก็ยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์และนกที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์จำนวนมาก มีแมวน้ำฮาวาย (Hawaiian monk seal) ห่านฮาวาย (Hawaiian goose) นกนางแอ่นฮาวาย (Hawaiian petrel) เหยี่ยวฮาวาย (Hawaiian hawk) นกฮาวายอาเคปา (Hawaiʻi ʻakepa) นกอาคีอาโปลาเอา (ʻAkiapolaʻau) นกอีวี (ʻIʻiwi) นกอาลาวี (Alawī) เป็นต้น

🟢 ธรรมชาติ (8) • รัฐฮาวาย (Hawaii)
  สหราชอาณาจักร นครบาธ (City of Bath) 🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (4)
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ อารามเวสต์มินสเตอร์ รวมถึงโบสถ์นักบุญมาร์กริตส์ (Palace of Westminster and Westminster Abbey including Saint Margaret’s Church) 🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (4)
พระราชวังเบลนิม (Blenheim Palace) 🟠 วัฒนธรรม (2) (4)
  ออสเตรเลีย อุทยานแห่งชาติอูลูรู-กาตาจูตา (Uluru-Kata Tjuta National Park)      อุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่กลางทะเลทรายแห้งแล้งทางตะวันตกของออสเตรเลีย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,325 ตร.กม. มีความโดดเด่นด้านธรณีวิทยาโดยเฉพาะก้อนหินและกลุ่มหินขนาดมหึมาที่ก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 350 ล้านปีก่อน ซึ่งก้อนหินและกลุ่มหินนี้มีความผูกพันและเกี่ยวข้องกับระบบความเชื่ออันเก่าแก่ของชนพื้นเมืองเผ่าอานางู (Anangu) มานานกว่า 10,000 ปี

     ระเบียบปฏิบัติดั้งเดิมของชาวอานางูที่ยึดถือสืบต่อกันมา เป็นรากฐานภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมที่มีชีวิต เป็นตัวอย่างของระเบียบที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน พืช สัตว์ และลักษณะทางกายภาพของแผ่นดินอย่างยั่งยืน

     นั่นทำให้อุทยานแห่งนี้เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์หลายชนิด ตั้งแต่ บิลบียักษ์ (Greater bilby) มัลการาหางหงอน (Crest-tailed mulgara) ค้างคาวผี (Ghost bat) จิงโจ้แคระกระต่ายสีน้ำตาลแดง (Rufous hare-wallaby) จิ้งเหลนทะเลทรายยักษ์ (Great desert skink) เป็นต้น

🟡 ผสมผสาน (5) (6) (7) (8) • รัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (Northern Territory)
  อิตาลี จัตุรัสดูโอโม, เมืองปิซา (Piazza del Duomo, Pisa)      กลุ่มสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ที่ตั้งตระหง่านอยู่ในพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยกําแพงเมืองแห่งนี้ สร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 11-14 (ราว พ.ศ. 1544-1943) ประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างหลักทั้ง 4 คือ อาสนวิหารปิซา หอระฆัง หอศีลจุ่ม และสุสานนักบุญ

     จัตุรัสแห่งนี้มีความโดดเด่นเนื่องจากมีผลงานศิลปะที่เป็นประจักษ์พยานถึงจิตวิญญาณความคิดสร้างสรรค์ของสถาปัตยกรรมยุคกลาง จนเกิดเป็นรูปแบบศิลปะแขนงใหม่อย่างศิลปะโรมาเนสก์แบบปิซา (Pisan Romanesque) ก่อนศิลปะแขนงนี้จะแพร่กระจายไปยังดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (4) (6) • จังหวัดปิซา แคว้นทัสคานี (Pisa, Tuscany)
เวนิสและทะเลสาบน้ำเค็ม (Venice and its Lagoon)      เมืองเวนิส ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 5 (ราว พ.ศ. 944-1043) จากการเชื่อมเกาะเล็ก ๆ จำนวนมากบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย (Venetian) เข้าด้วยกัน ก่อนจะกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญในศตวรรษที่ 10 (ราว พ.ศ. 1444-1543) ทำให้ตลอดระยะเวลาหลายศตวรรษเวนิสได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

     ภูมิทัศน์ของเมืองและทะเลสาบแห่งนี้เป็นผลมาจากกระบวนการพลวัตที่แสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับระบบนิเวศของสภาพแวดล้อม องค์ความรู้ในการอยู่ร่วมกับ "น้ำ" การจัดการและการป้องกันระดับน้ำทะเลแสดงให้เห็นถึงทักษะอันยอดเยี่ยมของมนุษย์ยุคกลางจนถึงยุคปัจจุบัน

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (5) (6) • นครบาลเวนิส แคว้นเวเนโต (Venice, Veneto)
  อินเดีย กลุ่มโบราณสถานที่ปัฏฏทกัล (Group of Monuments at Pattadakal)      กลุ่มโบราณสถานแห่งนี้เป็นเทวสถานศาสนาฮินดูและเชน สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 7-8 (ราว พ.ศ. 1144-1343) โดยราชวงศ์จาลุกยะ (Chalukya) โดยทั่วไปเทวสถานฮินดูจะสร้างอุทิศแด่พระศิวะ แต่เทวสถานที่นี่ก็มีองค์ประกอบของเทววิทยาและตำนานของไวษณพนิกาย (Vaishnavism) กับศากตินิกาย (Shaktism) ขณะที่เทวสถานเชนสร้างอุทิศแด่พระมหาวีระ (Mahavira) ศาสดาของศาสนาเชน

     เทวสถานต่าง ๆ ล้วนเกิดจากการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างรูปแบบสถาปัตยกรรมอินเดียเหนือและอินเดียใต้ เป็นตัวอย่างผลงานชิ้นเอกของศิลปะสรรหา (Eclectic art)

🟠 วัฒนธรรม (3) (4) • รัฐกรณาฏกะ (Karnataka)
ถ้ำเอลิแฟนตา (Elephanta Caves)      เทวสถานฮินดูที่เกิดจากการเจาะและแกะสลักเข้าไปในถ้ำหินบะซอลต์ สร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล (ราว พ.ศ. 344-443) เพื่อบูชาพระศิวะ ประกอบด้วยโบสถ์พราหมณ์ไศวนิกาย (Shaivism) 5 แห่ง และซากพระสถูปบางส่วน

     แผนผังของถ้ำ การจัดวาง และการแบ่งพื้นที่ถ้ำออกเป็นส่วนต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นถึงความชาญฉลาดของมนุษย์ในยุคที่เครื่องมือและเทคโนโลยีไม่เอื้ออำนวย เทวสถานฮินดูแห่งนี้จึงเกิดขึ้นจากการผสมผสานกันระหว่างองค์ความรู้ ศิลปกรรม และความเชื่อของชาวฮินดูที่ถูกนํามาใช้อย่างละเมียดละไม

🟠 วัฒนธรรม (1) (3) • รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra)
มหาเทวสถานที่มีชีวิตแห่งโจฬะ (Great Living Chola Temples)      เทวสถานฮินดูแห่งนี้สร้างในสมัยราชวงศ์โจฬะ (Chola) ระหว่างศตวรรษที่ 11-12 (ราว พ.ศ. 1544-1743) ประกอบไปด้วยหมู่มนเทียรสามหลัง อาคารเทวสถานแกะสลักด้วยหินเพื่อแสดงความเคารพต่อพระศิวะ ไม่มีการลงสีเหมือนกับเทวสถานฮินดูทั่วไป ภายในเป็นห้องโถงสำหรับประกอบพิธีกรรม สวดมนต์ มีประติมากรรม และจิตรกรรมฝาผนังบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับราชวงศ์

     กลุ่มเทวสถานฮินดูแห่งนี้จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมทราวิฑ (Dravidian) อันเป็นเอกลักษณ์ แนวปฏิบัติศาสนาฮินดูในแถบอินเดียใต้ และการเมืองการปกครองในสมัยราชวงศ์โจฬะ

🟠 วัฒนธรรม (2) (3) • รัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu)
อุทยานแห่งชาติสุนทรวัน (Sundarbans National Park)      อุทยานแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสุนทรวัน (พื้นที่ป่าชายเลนที่เกิดจากการบรรจบกันของแม่น้ำ 3 สายในอ่าวเบงกอล) บนดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,330 ตร.กม. เป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมของระบบนิเวศวิทยาระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม การก่อตัวของสามเหลี่ยมปากแม่น้ํา อิทธิพลน้ําขึ้นน้ําลง และการเจริญเติบโตของพืชหลากสายพันธุ์

     ทำให้ที่นี่เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์จำนวนมาก อย่าง เสือโคร่งเบงกอล (Bengal tiger) กวางบึง (Barasingha) แรดชวา (Javan rhinoceros) นกฟินฟุต (Masked finfoot) นกกระทาบึง (Swamp francolin) เต่ากระดองนกยูงอินเดีย (Peacock soft-shelled turtle) เป็นต้น

🟢 ธรรมชาติ (9) (10) • รัฐเบงกอลตะวันตก (West Bengal)
  โอมาน ป้อมบะฮ์ลาอ์ (Bahla Fort) (F) 🟠 วัฒนธรรม (4)
  ฮังการี กรุงบูดาเปสต์ รวมถึงริมฝั่งแม่น้ำดานูบ ย่านปราสาทบูดอ และถนนอ็อนดราชชี (Budapest, including the Banks of the Danube, the Buda Castle Quarter and Andrássy Avenue) (F) 🟠 วัฒนธรรม (2) (4)
หมู่บ้านเก่าโฮโลเคอ และบริเวณโดยรอบ (Old Village of Hollókő and its Surroundings)      หมู่บ้านเก่าแก่ที่สร้างขึ้นช่วงศตวรรษที่ 13 (ตรงกับ พ.ศ. 1744-1843) และได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดช่วงศตวรรษที่ 18-19 (ตรงกับ พ.ศ. 2244-2443) แห่งนี้ ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของชาวปาโลตซ์ (Palócz) กลุ่มชนพื้นเมืองทางตอนเหนือของฮังการีที่มีรูปแบบการทำเกษตรกรรมอันเป็นเอกลักษณ์สืบทอดมายาวนาน นั่นคือ การปลูกพืชสลับเป็นแถบอย่างมีระเบียบ (Field strip cropping)

     นั่นทำให้หมู่บ้านแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่มีชีวิตของวิถีชีวิตชนบทก่อนการปฏิวัติเกษตรกรรมในอังกฤษ (British Agricultural Revolution) ท่ามกลางภูมิทัศน์และธรรมชาติอันงดงาม

🟠 วัฒนธรรม (5) • เทศมณฑลโนกราด (Nograd)

ค.ศ.1986 (การประชุมสมัยที่ 10) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 24-28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ณ กรุงปารีส   ฝรั่งเศส

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 21 ชาติสมาชิก คือ   กรีซ   กินี   แคนาดา   จอร์แดน   ไซปรัส   ตุรกี (หรือ ทูร์เคีย)   แทนซาเนีย   นอร์เวย์   บราซิล   บัลแกเรีย   มาลาวี   เม็กซิโก   เยเมน   เยอรมนี   ลิเบีย   เลบานอน   ศรีลังกา   สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก   ออสเตรเลีย   อินเดีย   แอลจีเรีย

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 29 แห่ง (🟠 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 23 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 5 แห่ง / 🟡 มรดกโลกแบบผสมผสาน 1 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  กรีซ เทวสถานอะพอลโลเอพิคิวริอุสที่บาสเซ (Temple of Apollo Epicurius at Bassae) (F)      เทวสถานของเทพเจ้าแห่งการรักษาพยาบาล และเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์แห่งนี้ สร้างขึ้นกลางศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล (ราว พ.ศ. 974-1013) บนที่สูงอันเปล่าเปลี่ยวของภูเขาอาร์คาเดียน (Arcadian)

     เทวสถานแห่งนี้มีการค้นพบหัวเสาแบบคอรินเทียน (Corinthian) ที่เก่าแก่ที่สุด ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบอาร์เคอิก (Archaic) กับดอริก (Doric) รวมไปถึงมีการใช้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่แหวกแนวอื่น ๆ

🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) • จังหวัดเมสเซเนีย ภูมิภาคเพโลพอนนีส (Messenia, Peloponnese)
  ซิมบับเว โบราณสถานแห่งชาติเกรตซิมบับเว (Great Zimbabwe National Monument) 🟠 วัฒนธรรม (1) (3) (6)
โบราณสถานแห่งชาติซากเมืองคามี (Khami Ruins National Monument) 🟠 วัฒนธรรม (3) (4)
  ซีเรีย เมืองโบราณอะเลปเป (Ancient City of Aleppo) 🟠 วัฒนธรรม (3) (4)
  เซอร์เบีย

(อดีตคือ ยูโกสลาเวีย)

อารามสตูเดนิซา (Studenica Monastery) 🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (4) (6)
  ตุรกี (หรือ ทูร์เคีย) ฮัตตูชา: เมืองหลวงของฮิตไทต์ (Hattusha: the Hittite Capital) 🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4)
  บราซิล อุทยานแห่งชาติอิกวาซู (Iguaçu National Park)      อุทยานที่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,690 ตร.กม. แห่งนี้เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงของภูเขาไฟเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ซึ่งก่อให้เกิดลักษณะทางธรณีสัณฐานวิทยาอันน่าทึ่ง และเป็นต้นกำเนิดน้ำตกอิกวาซู (Iguaçu) หนึ่งในน้ําตกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ําปารานา (Paraná)

     ป่าฝนกึ่งเขตร้อนกึ่งผลัดใบที่มีความหลากหลายอยู่ในระดับสูงแห่งนี้จึงเป็นถิ่นอาศัยของพืชกับสัตว์หายากและอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จำนวนมาก มีกวางแคระ (Dwarf brocket deer) นกจาคูทิงกาหน้าดำ (Black-fronted piping guan) นกสเปดบิลปีกสีน้ำตาลแดง (Russet-winged spadebill) นกแก้วอะเมซอนแว่นแดง (Red-spectacled amazon) นกแก้วมาคอว์เขียวแกมน้ำเงิน (Glaucous macaw) เป็นต้น

🟢 ธรรมชาติ (7) (10) • รัฐปารานา (Paraná)
  เปรู เขตโบราณคดีชันชัน (Chan Chan Archaeological Zone) 🟠 วัฒนธรรม (1) (3)
  โปรตุเกส ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เอวูรา (Historic Centre of Évora) 🟠 วัฒนธรรม (2) (4)
  เยเมน เมืองเก่าซานา (Old City of Sana'a) 🟠 วัฒนธรรม (4) (5) (6)
  เยอรมนี

(อดีตคือ เยอรมนีตะวันตก)

โบราณสถานโรมัน, อาสนวิหารนักบุญปีเตอร์ และโบสถ์พระแม่ในเทรียร์ (Roman Monuments, Cathedral of Saint Peter and Church of Our Lady in Trier)      เมืองเทรียร์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโมเซลเลอ (Moselle) เป็นเมืองอาณานิคมของโรมัน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 (ราว พ.ศ. 544-643) ก่อนที่ศตวรรษถัดมาจะก็กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า และเป็นเมืองหลวงหนึ่งของระบอบการปกครองเตตราชี (Tetrachy) กระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3 (ราว พ.ศ. 804-843) เมืองแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันในสมญานาม "โรมที่สอง (The Second Rome)”

     ด้วยจำนวนและคุณค่าของโบราณสถานที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเมืองเทรียร์ ตั้งแต่ อาสนวิหาร โบสถ์ ซากกำแพงที่มีป้อมปราการ สะพาน โรงอาบน้ำ อัฒจันทร์ ฯลฯ ล้วนเป็นข้อพิสูจน์ที่เด่นชัดของอารยธรรมโรมันอันรุ่งเรือง

🟠 วัฒนธรรม (1) (3) (4) (6) • รัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ (Rheinland-Pfalz)
  ลิเบีย เมืองเก่ากาดาแม็ส (Old Town of Ghadamès) 🟠 วัฒนธรรม (5)
  สเปน นครประวัติศาสตร์โตลาโด (Historic City of Toledo) 🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4)
เมืองเก่ากาเซเรส (Old Town of Cáceres) 🟠 วัฒนธรรม (3) (4)
สถาปัตยกรรมมูเดฆาร์แห่งอารากอน (Mudejar Architecture of Aragon) 🟠 วัฒนธรรม (4)
อุทยานแห่งชาติการาโฆนาย (Garajonay National Park) 🟢 ธรรมชาติ (7) (9)
  สโลวีเนีย (อดีตคือ ยูโกสลาเวีย) ถ้ำชกอตซิยัน (Škocjan Caves) (F) 🟢 ธรรมชาติ (7) (8)
  สหราชอาณาจักร โกรกธารไอออนบริดจ์ (Ironbridge Gorge) 🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (4) (6)
ไจแอนต์สคอสเวย์ และชายฝั่ง (Giant's Causeway and Causeway Coast) (F) 🟢 ธรรมชาติ (7) (8)
เซนต์คิลดา (Saint Kilda) 🟡 ผสมผสาน (3) (5) (7) (9) (10)
ปราสาทและกำแพงเมืองของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดในกวิเนดด์ (Castles and Town Walls of King Edward in Gwynedd) 🟠 วัฒนธรรม (1) (3) (4)
ปราสาทและอาสนวิหารเดอรัม (Durham Castle and Cathedral) 🟠 วัฒนธรรม (2) (4) (6)
สโตนเฮนจ์, เอฟเบอรี และแหล่งโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่อง (Stonehenge, Avebury and Associated Sites) 🟠 วัฒนธรรม (1) (2) (3)
อุทยานหลวงสตัดลีย์ รวมทั้งซากอารามฟาวน์ทินส์ (Studley Royal Park including the Ruins of Fountains Abbey) 🟠 วัฒนธรรม (1) (4)
  ออสเตรเลีย ป่าฝนกอนด์วานาของออสเตรเลีย (Gondwana Rainforests of Australia)      ป่าฝนแห่งนี้ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย มีพื้นที่รวมกว่า 3,665 ตร.กม. ครอบคลุมเขตป่าสงวนกว่า 50 แห่ง ตั้งแต่ กระบวนการทางธรณีวิทยา ปริมาณพื้นที่ป่าที่ยังคงหลงเหลือ ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนสายพันธุ์พืชและสัตว์ ล้วนเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการของโลกอันยาวนานนับล้านปี

     ทำให้ที่นี่ยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จำนวนมาก ตั้งแต่ กบต้นไม้นิวอิงแลนด์ (New England tree frog) กุ้งน้ำจืดลามิงตัน (Lamington crayfish) จิงโจ้แคระหินหางพู่กัน (Brush-tailed rock-wallaby) นกพุ่มไม้อกแดง (Rufous Scrubbird) นกแก้วค็อกซอน (Coxen’s fig parrot) หนูแม่น้ำเฮสติงส์ (Hastings river mouse) เป็นต้น

🟢 ธรรมชาติ (8) (9) (10) • รัฐควีนส์แลนด์ (Queensland))

• รัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales)

  อินเดีย กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห (Khajuraho Group of Monuments) 🟠 วัฒนธรรม (1) (3)
กลุ่มโบราณสถานที่ฮัมปี (Group of Monuments at Hampi) 🟠 วัฒนธรรม (2) (3) (4)
โบสถ์และอารามแห่งกัว (Churches and convents of Goa) 🟠 วัฒนธรรม (2) (4) (6)
ฟเตหปุระสีกรี (Fatehpur Sikri) 🟠 วัฒนธรรม (2) (3) (4)

ค.ศ.1985 (การประชุมสมัยที่ 9) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 2-6 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ณ กรุงปารีส   ฝรั่งเศส

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 21 ชาติสมาชิก คือ   กรีซ   กินี   แคนาดา   จอร์แดน   ไซปรัส   ตุรกี (หรือ ทูร์เคีย)   แทนซาเนีย   นอร์เวย์   บราซิล   บัลแกเรีย   มาลาวี   เม็กซิโก   เยเมน   เยอรมนี   ลิเบีย   เลบานอน   ศรีลังกา   สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก   ออสเตรเลีย   อินเดีย   แอลจีเรีย

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 30 แห่ง (🟡 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 25 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 4 แห่ง / 🟠 มรดกโลกแบบผสม 1 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  แคนาดา ย่านประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าควิเบก (Historic District of Old Québec)      เมืองควิเบก ก่อตั้งขึ้นโดย "ชอมแปลง (Champlain)" นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 (ตรงกับ กลางพุทธศตวรรษที่ 22) เป็นเมืองเดียวในอเมริกาเหนือที่ยังคงรักษากำแพงเมือง รวมทั้งหอรบ ประตูเมือง และสิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูรอบ ๆ เมืองเก่าเอาไว้ได้เป็นอย่างดี

     เมืองบน (Upper Town) สร้างอยู่บนหน้าผา เป็นศูนย์กลางทางศาสนาและการปกครอง มีโบสถ์อาราม ป้อม ปราสาทฟรงเตอนัก และโบราณสถานอีกจำนวนมาก ขณะที่เมืองล่าง (Lower Town) ที่มีย่านโบราณ ทำให้เมืองแห่งนี้เป็นชุมชนเมืองที่เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุดของเมืองอาณานิคมแบบป้อมปราการ

🟡 วัฒนธรรม (4) (6) • รัฐควิเบก (Quebec)
  จอร์แดน คูเซอีร์ อัมรา (Qusayr 'Amra)      ปราสาทกลางทะเลทรายที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์แห่งนี้ ก่อสร้างขึ้นช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 (ตรงกับ กลางพุทธศตวรรษที่ 13) เพื่อใช้เป็นป้อมและค่ายทหาร รวมทั้งเป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองรัฐของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (Umayyad)

     องค์ประกอบเด่นของพระราชวังแห่งนี้ ก็คือ โถงรับรอง และสถานที่อาบน้ำหรือฮัมมัม (Hammam) ซึ่งตกแต่งอย่างหรูหราด้วยจิตรกรรมภาพบุคคล สะท้อนให้เห็นถึงศิลปะตามยุคสมัยที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนความเชื่อทางศาสนา

🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (4) • เขตผู้ว่าราชการอัซซัรกออ์ (Zarqa)
เปตรา (Petra) (F)      เมืองคาราวานของชาวนาบาเทียน (Nabataean) ชนชาติอาหรับที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอยต่อระหว่างซีเรียกับอาราเบียแห่งนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นจุดผ่านที่สำคัญระหว่างอาราเบีย อียิปต์ และซีเรีย-ฟีนิเชีย

     เพตรา เป็นเมืองที่เกิดจากการก่อสร้างผสมกับการแกะสลักเข้าไปในหินธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยภูเขาอันเต็มไปด้วยช่องเขาและหุบผา นับเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกแหล่งหนึ่ง ซึ่งวัฒนธรรมตะวันออกได้ผสมผสานเข้ากับสถาปัตยกรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic) ได้สมบูรณ์แบบ

🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (4) • เขตผู้ว่าราชการมะอาน (Ma'an)
  ไซปรัส โบสถ์ประดับภาพจิตรกรรมในแคว้นทรูดอส (Painted Churches in the Troodos Region)      แคว้นทรูดอส เป็นที่ตั้งของกลุ่มโบสถ์และอารามใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งในจักรวรรดิไบแซนไทน์ กลุ่มโบราณสถานกว่า 10 แห่ง มีการตกแต่งอย่างมากด้วยจิตรกรรมฝาผนัง แสดงให้เห็นภาพรวมของงานจิตรกรรมยุคไบแซนไทน์และโพสต์-ไบแซนไทน์ (Post-Byzantine) ได้เป็นอย่างดี 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) (4) • แคว้นทรูดอส (Troodos)
  ตูนิเซีย เมืองพูนิกแห่งเคอร์ควานและสุสาน (Punic Town of Kerkuane and its Necropolis)      เมืองของฟีนิเชียเมืองนี้ อาจถูกปล่อยให้ทิ้งร้างตั้งแต่สมัยสงครามพูนิกครั้งที่ 1 ด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์จากชาวโรมัน

     ซากโบราณสถานในเมืองแห่งนี้ ประกอบรวมกันเป็นตัวอย่างเพียงหนึ่งเดียวของเมืองแบบฟีนิชิโอ-พูนิก (Phoenicio-Punic City) ที่ยังคงเหลืออยู่ บ้านพักอาศัยสร้างขึ้นตามผังซึ่งเป็นมาตรฐานสอดคล้องกับระบบการวางผังเมืองที่ชาญ

🟡 วัฒนธรรม (3) • เขตผู้ว่าการนาบิล (Nabeul)
  ตุรกี (หรือ ทูร์เคีย) มัสยิดใหญ่และโรงพยาบาลแห่งดิฟริกี (Great Mosque and Hospital of Divrigi)      แคว้นอนาโตเลียถูกชาวเติร์ก (Turks) ตีได้ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ตรงกับ พุทธศตวรรษที่ 16) ใน ค.ศ. 1228-1229 (ตรงกับ พ.ศ. 1771-1772)

     "เอมีร์ อาห์เหม็ด ชาห์ (Emir Ahmed Shah)" จึงได้ก่อตั้งมัสยิดขึ้น พร้อม ๆ กับโรงพยาบาล ซึ่งงานศิลปะต่าง ๆ นับว่าสร้างสรรค์และสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของสถาปัตยกรรมอิสลาม

🟡 วัฒนธรรม (1) (4) • จังหวัดซีวัส (Sivas)
ย่านประวัติศาสตร์เมืองอิสตันบูล (Historic Areas of Istanbul) (F)      ด้วยที่ตั้งอันเป็นจุดยุทธศาสตร์บนคาบสมุทรบอสฟอรัส (Bosphorus) ระหว่างบอลข่าน (Balkans) กับอนาโตเลีย (Anatolia) ทะเลดำกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

     ทำให้เมืองอิสตันบูลมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์สำคัญ ๆ ทางการเมือง ศาสนา และศิลปะมาเป็นเวลากว่า 2,000 ปี ผลงานชิ้นเอกของเมือง ตั้งแต่ สนามแข่งม้าของคอนสแตนติน สุเหร่าโซเฟีย มัสยิดสุเลย์มานีเย ฯลฯ ล้วนสะท้อนภาพความงดงามและความสำคัญของเมือง ๆ นี้ได้อย่างดีเยี่ยม

🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) • จังหวัดอิสตันบูล (Istanbul)
อุทยานแห่งชาติโกเรเม และแหล่งหินแห่งคัปปาโดเชีย (Göreme National Park and the Rock Sites of Cappadocia)      ท่ามกลางภูมิทัศน์อันน่าตื่นตาตื่นใจที่เกิดจากการกัดเซาะหุบเขาโกเรเม (Göreme) ประกอบกับพื้นที่แวดล้อมที่มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สกัดจากหิน เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ถึงศิลปะไบแซนไทน์ ยุคโพสต์-ไอโคโนคลาสติก (Post-Iconoclastic)

     ที่อยู่อาศัย หมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นถ้ำ และเมืองใต้ดิน ยังบ่งบอกถึงวิถีชีวิตและการอาศัยแบบดั้งเดิมที่มีความเก่าแก่ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 (ตรงกับ พุทธศตวรรษที่ 9)

🟠 ผสม (1) (3) (5) (7) • จังหวัดเนฟเชฮีร์ (Nevsehir)
  นอร์เวย์ ศิลปะบนหินแห่งอัลตา (Rock Art of Alta)      ภาพเขียนบนผนังหินในอัลตาฟยอร์ด (Alta Fjord) ใกล้อาร์กติกเซอร์เคิล (Arctic Circle) กลุ่มนี้ มีร่องรอยการตั้งถิ่นฐานที่มีอายุตั้งแต่ 4,200-500 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ตรงกับ 3,700 ปีก่อนพุทธศักราช-พุทธศตวรรษที่ 1) ภาพเขียนและภาพสลักเป็นพัน ๆ ภาพแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและกิจกรรมของมนุษย์ชายขอบของดินแดนทางเหนือในยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้อย่างแจ่มชัด 🟡 วัฒนธรรม (3) • เทศมณฑลฟินน์มาร์ก (Finnmark)
  บราซิล วิหารบอมเจซูสโดกองกอนยาส (Sanctuary of Bom Jesus do Congonhas)      สร้างขึ้นช่วงครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ตรงกับ พุทธศตวรรษที่ 23) ประกอบไปด้วยโบสถ์ที่มีการตกแต่งภายในอย่างอลังการด้วยศิลปะโรโกโก (Rococo) ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากอิตาลีบันไดที่อยู่ภายนอกตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปศาสดาพยากรณ์ (Prophets) โบสถ์น้อยทั้ง 7 แห่งแสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์สำคัญทางศาสนา

     ภายในมีประติมากรรมหลากสีสันโดยอาเลยาดินโย (Aleijadinho) ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกของศิลปะบาโรคที่มีความเป็นตัวของตัวเอง เร้าอารมณ์สะเทือนใจ และมีการแสดงออกที่ชัดเจน แสดงถึงความสำเร็จทางศิลปะที่ไม่เหมือนใคร อัญมณีแห่งอัจฉริยภาพของมนุษย์ สะท้อนถึงจุดสูงสุดของศิลปะคริสเตียนในละตินอเมริกา

🟡 วัฒนธรรม (1) (4) • รัฐมีนัสเชไรส์ (Minas Gerais)
ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เมืองซาลวาดอร์ เด บาเยีย

(Historic Centre of Salvador de Bahia )

     อดีตเมืองหลวงแห่งแรกของบราซิล ช่วง ค.ศ. 1549 - 1763 (ตรงกับ พ.ศ. 2092 - 2306) เมืองแห่งนี้มีการผสมผสานวัฒนธรรมยุโรป แอฟริกัน และอเมรินเดียน (Amerindian) ทั้งยังเป็นตลาดค้าทาสแห่งแรกของโลกใหม่ตั้งแต่ ค.ศ. 1558 (ตรงกับ พ.ศ. 2101) ซึ่งมีทาสเข้ามาทำงานในไร่อ้อยเป็นจำนวนมาก

     ตัวเมืองยังคงรักษากลุ่มอาคารยุคเรอแนซ็องส์อันโดดเด่นไว้ได้เป็นอย่างดี

🟡 วัฒนธรรม (1) (4) • รัฐบาเยีย (Bahia)
  บังกลาเทศ ซากวิหารพุทธที่ปาหารปูร์ (Ruins of the Buddhist Vihara at Paharpur) (F)      สถานที่แห่งนี้เป็นหลักฐานที่แสดงว่าศาสนาพุทธนิกายมหายาน เริ่มขึ้นในเบงกอล ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 (ตรงกับ พุทธศตวรรษที่ 12)

     มหาวิหารโสมาปุระ เป็นศูนย์กลางแห่งปัญญามาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 (ตรงกับ พุทธศตวรรษที่ 17) แบบแปลนของมหาวิหารปรับให้เข้ากับการใช้งานทางศาสนา วัดนี้แสดงให้เห็นความสำเร็จทางศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ ด้วยเส้นสายธรรมดาที่ประสานเข้ากันเป็นอย่างลงตัว

🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (6) • เขตนโอคาม จังหวัดราชชาฮี (Naogaon, Rajshahi)
นครมัสยิดประวัติศาสตร์พาเครหาฏะ (Historic Mosque City of Bagerhat)      เมืองโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ชานเมืองพาเครหาฏะ บริเวณที่แม่น้ำคงคาและแม่น้ำพรหมบุตรไหลมาบรรจบกัน ก่อตั้งขึ้นโดยนายพลชาวเตอร์กชื่อ "ข่าน จาฮาน อาลี (Ulugh Khan Jahan)" ช่วงศตวรรษที่ 15

     โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ผยให้เห็นฝีมือและความงดงามของสถาปัตยกรรมแบบเบงกอล ตั้งแต่ มัสยิดกว่า 360 แห่ง อาคารสาธารณะ สุสาน สะพาน ถนน ถังเก็บน้ำ และอาคารสาธารณะอื่น ๆ ที่สร้างจากอิฐ

🟡 วัฒนธรรม (4) • เขตพาเครหาฏะ จังหวัดขุลนา (Khulna, Bagherhat)
  บัลแกเรีย สุสานของชาวเทรเชียนแห่งสเวสห์ตาริ (Thracian Tomb of Sveshtari)      หลุมศพแห่งนี้ถูกค้นพบใน ค.ศ. 1944 (ตรงกับ พ.ศ. 2487) มีอายุตั้งแต่ยุคเฮลเลนิสติก(Hellenistic) ราว ๆ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 (ตรงกับ กลางพุทธศตวรรษที่ 10)

     สุสานแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้เมืองเซฟโตโปลิส (Seutopolis) นครหลวงของพระเจ้าเซฟเตสที่ 3 (Seutes III) กษัตริย์แห่งเทรส และเป็นส่วนหนึ่งของสุสานเทรเชียน สุสานลักษณะคล้ายรังผึ้งที่มีทางเดินคับแคบ และมีห้องฝังศพทรงกลมตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังแสดงภาพพิธีกรรมและวัฒนธรรมการฝังศพของชาวเทรส จิตรกรรมเหล่านี้จึงเป็นงานยุคเฮลเลนิสติกที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดของบัลแกเรีย

🟡 วัฒนธรรม (1) (3) • จังหวัดราซกราด (Razgrad)
  เบนิน พระราชวังแห่งอโบมีย์ (Royal Palaces of Abomey) (F)      ตั้งแต่ ค.ศ.1625 - 1900 (ตรงกับ พ.ศ. 2168 - 2443) มีกษัตริย์ 12 พระองค์ได้สืบทอดการปกครองอาณาจักรดาโฮมีย์ (Dahomey) ที่เกรียงไกร โดยกษัตริย์ทุกพระองค์ (ยกเว้นพระเจ้าอกาบา (King Akaba) ซึ่งมีที่ประทับแยกออกไปต่างหาก) ล้วนแล้วแต่มีพระราชวังที่สร้างขึ้นภายในพื้นที่เดียวกัน รายล้อมไปด้วยกำแพงทำจากค็อบ (Cob: วัสดุก่อสร้างที่ประกอบด้วยดินเหนียว ฟาง ทราย และน้ำ)

     กลุ่มอนุสรณ์สถานแห่งนี้จึงมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของอาณาจักรที่สูญสลายไปแล้ว

🟡 วัฒนธรรม (3) (4) • อำเภอซู (Zou)
  เปรู แหล่งโบราณคดีชาวิน (Chavín (Archaeological Site))      แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ มีอายุระหว่าง 1,500 -300 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ตรงกับ 1,000 ปีก่อนพุทธศักราช-พ.ศ. 243) เป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดของยุคพรี-โคลัมเบียน (Pre-Columbian)

     ลักษณะอันน่าตื่นตาตื่นใจของแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ คือ กลุ่มลานและจตุรัสล้อมรอบด้วยสิ่งก่อสร้างหินตัด พร้อมตกแต่งด้วยหินรูปสัตว์สัญลักษณ์นานาชนิด

🟡 วัฒนธรรม (3) • จังหวัดอังกัช (Ancash)
อุทยานแห่งชาติวาสการาน (Huascarán National Park)      ตั้งอยู่ในเทือกเขาคอร์ดิเยรา บลังกา (Cordillera Blanca) เทือกเขาในเขตร้อนที่สูงที่สุดในโลก

     ภูเขาวาสการานมีความสูงถึง 6,768 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หุบลึกที่มีกระแสน้ำไหลผ่าน ทะเลสาบน้ำแข็งและพืชพรรณอันหลากหลาย ทำให้อุทยานแห่งชาตินี้มีความงามน่าตื่นตาตื่นใจ ทั้งยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลากชนิด โดยเฉพาะสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ตั้งแต่ หมีแว่น (Spectacled Bear) แร้งแอนเดียน (Andean Condor) แมวภูเขาแอนเดียน (Andean Mountainc Cat) เป็นต้น

🟢 ธรรมชาติ (7) (8) • จังหวัดอังกัช (Ancash)
  ฝรั่งเศส ปงต์ ดู การ์ (สะพานส่งน้ำโรมัน) (Pont du Gard (Roman Aqueduct))      สะพานแห่งนี้ สร้างขึ้นราว ๆ คริสต์ศตวรรษที่ 1 (ตรงกับ พุทธศตวรรษที่ ) เพื่อใช้เป็นสะพานส่งน้ำของเมืองนีมส์ (Nimes) ระยะทางยาวเกือบ 50 กิโลเมตร ทอดผ่านแม่น้ำการ์ด (Gard) ในอดีตทางส่งน้ำนี้สามารถส่งน้ำได้ประมาณ 200,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สิ่งก่อสร้างนี้จึงนับว่าเป็นผลงานการสร้างสรรค์ชิ้นเอกของเหล่าสถาปนิกและวิศวกรไฮดรอลิกชาวโรมัน ทั้งในด้านเทคนิคและศิลปกรรม 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (4) • จังหวัดการ์ แคว้นอ็อกซีตานี (Gard, Occitanie)
  โมร็อกโก มะดีนาแห่งมาร์ราเกช (Medina of Marrakesh)      มาร์ราเกซก่อตั้งขึ้นช่วง ค.ศ. 1070-1072 (ตรงกับ พ.ศ. 1613-1615) โดยราชวงศ์อัลโมราวิด (Almoravid) ราชวงศ์แรกแห่งโมร็อกโก ก่อนเมืองแห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอยู่นานหลายปี)

     อิทธิพลต่าง ๆ ของมะดีนาแห่งมาร์ราเกซยังคงปรากฏอยู่ทั่วไปในโลกอิสลามตะวันตก ตั้งแต่แอฟริกาเหนือไปจนถึงแคว้นอันดาลูเซีย (Andalucia) ของสเปน และสะท้อนผ่านโบราณสถานต่าง ๆ ภายในเมืองได้อย่างงดงามและสมบูรณ์แบบ

🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (4) (5) • ภูมิภาคมาร์ราเกซ-ซาฟี (Marrakesh-Safi)
  เยอรมนี

(อดีตคือ เยอรมนีตะวันตก)

มหาวิหารเซนต์แมรี และโบสถ์เซนต์ไมเคิลที่ฮิลเดไชม์ (St Marys Cathedral and St Michaels Church at Hildesheim)      มหาวิหารและโบสถ์แห่งนี้ สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1010-1020 (ตรงกับ พ.ศ. 1553-1563) โดดเด่นด้วยศิลปะแบบออตโตเนียนโรมาเนสก์ (Ottonian Romanesque) การตกแต่งภายในโดยเฉพาะเพดานไม้ งานปูนปั้นระบายสี ประตูสำริดที่มีชื่อเสียง และเสาบรอนซ์แบร์นวาร์ด (Bernward bronze column) นับว่าเป็นสมบัติล้ำค่า และเป็นตัวอย่างของโบสถ์โรมาเนสก์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) • รัฐโลเวอร์แซกโซนี หรือนีเดอร์ซัคเซิน (Lower Saxony or Niedersachsen)
  ลิเบีย แหล่งศิลปะถ้ำแห่งทาดราร์ต อคาคัส (Rock-Art Sites of Tadrart Acacus)      พื้นที่แห่งนี้ ประกอบไปด้วย ศิลปะภาพวาดบนผนังถ้ำนับพัน ๆ ชิ้นซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน และมีอายุสมัยตั้งแต่ 12,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึง ค.ศ. 100 (ตรงกับ ประมาณ 11,500 ปีก่อนพุทธศักราช-พ.ศ. 643)

     ภาพเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสัตว์และพันธุ์พืช ตลอดจนวิถีชีวิตของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายซาฮาราที่เปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น

🟡 วัฒนธรรม (3) • เขตฆัต (Ghat)
  สเปน ซานเตียโก เด กอมโปสเตลา (เมืองเก่า) (Santiago de Compostela (Old Town))      แหล่งแสวงบุญในสเปนตะวันตกเฉียงเหนือแห่งนี้ เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ระหว่างชาวคริสต์ในสเปนกับชาวมุสลิม เมือง ๆ นี้ถูกทำลายโดยชาวมุสลิม ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 (ตรงกับ กลางพุทธศตวรรษที่ 16) ก่อนจะได้ปฏิสังขรณ์เต็มรูปแบบในศตวรรษต่อมา

     เมืองเก่าซานเตียโก (Santiago) ประกอบด้วยอาคารแบบโรมาเนสก์ กอธิก และบาโรก เป็นหนึ่งในชุมชนเมืองที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุด เกาะกลุ่มกันอยู่โดยรอบหลุมฝังศพของนักบุญเจมส์ (Saint James) และอาสนวิหาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของปอร์ติโก เด ลา กลอเรีย (Pórtico de la Gloria) อันโดดเด่น

🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (6) • แคว้นกาลิเซีย (Galicia)
ถ้ำอัลตามีรา และศิลปะถ้ำยุคหินเก่าในสเปนเหนือ (Cave of Altamira and Paleolithic Cave Art of Northern Spain)      ถ้ำที่มีภาพเขียนยุคหินเก่าแห่งนี้ เป็นตัวแทนสูงสุดของศิลปะถ้ำยุคหินเก่าที่พัฒนาตั้งแต่เทือกเขาอูราล (Urals) ไปจนถึงคาบสมุทรไอบีเรียน (Iberian) มีอายุตั้งแต่ 35,000-11,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช (ตรงกับ 34,500-10,500 ปีก่อนพุทธศักราช)

     เนื่องจากทางเดินในถ้ำที่ลึก และแยกตัวออกจากภายนอกอย่างชัดเจน ทำให้ถ้ำเหล่านี้ยังคงรักษาสภาพไว้ได้เป็นอย่างดีสะท้อนให้เห็นอัจฉริยภาพและความสำเร็จทางศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นเอก ที่เป็นหลักฐานทางวัฒนธรรม และการแสดงออกที่โดดเด่นของช่วงสำคัญ ๆ ในประวัติศาสตร์พัฒนาการของมนุษย์

🟡 วัฒนธรรม (1) (3) • แคว้นกันตาเบรีย (Cantabria)

• แคว้นประเทศบัสโก (País Vasco)

• แคว้นอัสตูเรียส (Asturias)

โบราณสถานของโอเวียโดและอาณาจักรแห่งอัสตูเรียส (Monuments of Oviedo and the Kingdom of the Asturias)      ราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 (ตรงกับ พุทธศตวรรษที่ 14) ในอาณาจักรเล็ก ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียน (Iberian) แห่งนี้ ความศรัทธาของคริสต์ศาสนิกชนได้สร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมทางศาสนา ทั้ง โบสถ์ซานตา มาเรีย เดล นารังโก โบสถ์ซาน มิเกล เด ลีโย โบสถ์ซานตา คริสตินา เด เลนา และโบสถ์ซาน ฆูเลียน เด ลอส ปราดอส ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ภายในและบริเวณรอบ ๆ เมืองโบราณโอเวียโด (Oviedo) 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (4) • แคว้นอัสตูเรียส (Asturias)
เมืองเก่าเซโกเวียและสะพานส่งน้ำ (Old Town of Segovia and its Aqueduct)      สะพานส่งน้ำโรมันของเซโกเวีย สันนิษฐานว่าก่อสร้างราว ๆ ปี 50 ก่อนคริสต์ศักราช (ตรงกับ พ.ศ. 493) เป็นสะพานส่งน้ำที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดี สิ่งก่อสร้างที่น่าประทับใจนี้ ประกอบไปด้วยซุ้มโค้ง 2 ชั้น ระยะทางยาว 17 กิโลเมตร ที่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองประวัติศาสตร์เซโกเวีย ทั้งยังมีโบราณสถานสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ปราสาทเซโกเวีย ที่มีก่อสร้างช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ตรงกับ พุทธศตวรรษที่ 16) และอาสนวิหารรูปแบบกอธิก ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 (ตรงกับ พุทธศตวรรษที่ 21) 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (4) • แคว้นกัสติยาและเลออน (Castile-Leon)
เมืองเก่าอาบีลา และโบสถ์เอ็กซตรา-มูรอส (Old Town of Ávila with its Extra-Muros Churches)      เมืองเก่าแห่งนี้ ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ตรงกับ พุทธศตวรรษที่ 16) เพื่อป้องกันดินแดนสเปนจากพวกมัวร์ (Moors)

     "เมืองแห่งนักบุญและก้อนหิน" (City of Saints and Stones) แห่งนี้ เป็นสถานที่เกิดของนักบุญเทเรซา (St Teresa) และเป็นที่ฝังศพของแกรนด์ อินควิสิเตอร์ ทอร์เกมาดา (Grand Inquisitor Torquemada) ซึ่งยังคงรักษาภาพลักษณ์อันเคร่งขรึมของยุคกลางเอาไว้ได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่อาสนวิหารรูปแบบกอธิกและป้อมปราการ อันประกอบด้วยหอคอยรูปครึ่งวงกลม 82 หอ และประตู 9 ประตู นับว่าเป็นป้อมปราการที่สมบูรณ์ที่สุดในสเปน

🟡 วัฒนธรรม (3) (4) • แคว้นกัสติยาและเลออน (Castile-Leon)
  อินเดีย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามานัส (Manas Wildlife Sanctuary)      เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้อยู่บริเวณที่ลาดเชิงเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเขตทุ่งหญ้าและป่าเขตร้อนเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าหลากชนิด รวมทั้งสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อีกจำนวนหนึ่ง มีเต่าหลังนูนอัสสัม (Assam roofed turtle) ค่างทอง (Gee's Golden Langur) หมูป่าแคระ (Pygmy Hog) กระต่ายป่าขนหยาบ (Hispid Hare) เป็นต้น 🟢 ธรรมชาติ (7) (9) (10) • รัฐอัสสัม (Assam)
อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา (Kaziranga National Park)      อุทยานแห่งนี้ เป็นอุทยานแห่งสุดท้ายในอินเดียตะวันออกที่มนุษย์ยังไม่ได้บุกรุก ที่นี่จึงเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลากสายพันธุ์ ตั้งแต่ แรดอินเดีย (Indian Rhinoceros) ที่พบเป็นจำนวนมากถึง 2 ใน 3 ของโลก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ อาทิ เสือ ช้าง เสือดำ หมี รวมถึงนกอีกพันกว่าชนิด 🟢 ธรรมชาติ (9) (10) • รัฐอัสสัม (Assam)
อุทยานแห่งชาติเคโอลาเดโอ (Keoladeo National Park)      พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นแหล่งล่านกของชนชั้นกษัตริย์ ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ตรงกับ พุทธศตวรรษที่ 24) ปัจจุบันเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับนกกว่า 340 ชนิดที่อพยพหนีอากาศหนาวมาจากประเทศอัฟกานิสถาน เติร์กเมนิสถาน จีน และไซบีเรีย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ "นกกระเรียนไซบีเรีย (Siberian Crane)" สัตว์ที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ 🟢 ธรรมชาติ (10) • รัฐราชสถาน (Rajasthan)
  อิรัก ฮาตรา (Hatra) (F)      ซากเมืองโบราณแห่งนี้ สร้างขึ้นราว 247 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 224 (ตรงกับ พ.ศ. 297 - 767) และเป็นเมืองหลวงของดินแดนอาหรับภายใต้การปกครองของจักรวรรดิพาร์เทีย (Parthian)

     นอกจากนี้ช่วง ค.ศ. 116-198 (ตรงกับ พ.ศ. 659-741) เมืองฮาตรายังสามารถต้านทานการรุกรานจากชาวโรมัน  ได้ด้วยกำแพงเมืองที่สูงและหนา หอคอยที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่ง และหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะศาสนสถานที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบเฮลเลนิสติก  (Hellenistic) และโรมัน ก็เป็นสิ่งยืนยันถึงความยิ่งใหญ่ของเมือง ๆ นี้ได้เป็นอย่างดี

🟡 วัฒนธรรม (2) (3) (4) (6) • เขตผู้ว่าการนิเนเวห์ (Nineveh)

ค.ศ.1984 (การประชุมสมัยที่ 8) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ณ กรุงบัวโนสไอเรส   อาร์เจนตินา

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 21 ชาติสมาชิก คือ   กินี   จอร์แดน   เซเนกัล   ไซปรัส   ตุรกี   นอร์เวย์   บราซิล   ปากีสถาน   ปานามา   ฝรั่งเศส   มาลาวี   เยอรมนี   ลิเบีย   เลบานอน   ศรีลังกา   สวิตเซอร์แลนด์   สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก   ออสเตรเลีย   อาร์เจนตินา   อิตาลี   แอลจีเรีย

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 23 แห่ง (🟡 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 16 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 7 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  แคนาดา กลุ่มอุทยานแคเนเดียนรอกกีเมาน์เทน (Canadian Rocky Mountain Parks)      อุทยานแห่งนี้มีอาณาเขตติดกันกับอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ทั้งอุทยานแห่งชาติแบนฟ์ (Banff) แจสเปอร์ (Jasper) คูทะเนย์ (Kootenay) และโยโฮ (Yoho) รวมทั้งภูเขารอบสัน (Robson) ภูเขาอัสซินิบอยน์ (Assiniboine) และอุทยานประจำจังหวัดแฮมเบอร์ (Hamber) ประกอบด้วยยอดเขา ธารน้ำแข็ง ทะเลสาบ น้ำตก หุบ และถ้ำหินปูน ผสานกันเป็นภูมิทัศน์ของขุนเขาที่น่าตื่นตาตื่นใจ ทั้งยังเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์หินตะกอนเบอร์จิส (Burgess Shale Fossil Site) ที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลชนิดตัวนิ่ม (Soft-Bodied Marine Animals) 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) • รัฐบริติชโคลัมเบีย (British Columbia)

• รัฐแอลเบอร์ตา (Alberta)

  โคลอมเบีย (F)       🟡 วัฒนธรรม (4) (6) • จังหวัดโบลิวาร์ (Bolívar)
  ซิมบับเว (F)       🟢 ธรรมชาติ • จังหวัด ()
  เนปาล       🟢 ธรรมชาติ • จังหวัด ()
  นครรัฐวาติกัน       🟡 วัฒนธรรม • จังหวัด ()
  มาลาวี (F)       🟢 ธรรมชาติ • จังหวัด ()
  เยอรมนี

(อดีตคือ เยอรมนีตะวันตก)

      🟡 วัฒนธรรม (2) (4) • รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน (Nordrhein-Westfalen)
  เลบานอน       🟡 วัฒนธรรม • จังหวัด ()
      🟡 วัฒนธรรม • จังหวัด ()
      🟡 วัฒนธรรม • จังหวัด ()
(F)       🟡 วัฒนธรรม • จังหวัด ()
  สเปน งานของอันโตนี เกาดี (Works of Antoni Gaudí)      สิ่งก่อสร้าง 7 แห่ง โดยสถาปนิกนามว่า "อันโตนี เกาดี" ตั้งอยู่ในเมืองหรือใกล้ ๆ กับเมืองบาร์เซโลนา (Barcelona) เป็นข้อพิสูจน์ถึงความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณูปการต่อพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้างในยุคปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ตรงกับกลางพุทธศตวรรษที่ 25) งานเหล่านี้เป็นตัวแทนของศิลปะนวยุคนิยมแบบกาตาลัน (Catalan Modernism) ประกอบด้วย

     1) ปาร์กกูเอล (Park Güell) สวนสาธารณะเก่าแก่บนเขากลางเมืองบาร์เซโลนา หนึ่งในงานด้านสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปใต้

     2) ปาเลากูเอล (Palau Güell) คฤหาสน์โอ่อ่าริมถนนคนเดินกลางเมืองบาร์เซโลนา

     3) คาซา มิลา (Casa Mila) คฤหาสน์แปลกตาที่มีรูปลักษณ์คล้ายเหมืองหินริมถนน และจุดที่สำคัญจุดหนึ่งก็คือ "ดาดฟ้า หรือสวนแห่งนักรบ (The Garden of Warriors)" ที่เต็มไปด้วยรูปปั้นหินทรายยักษ์ พร้อมกับการชมทิวทัศน์ของเมืองบาร์เซโลน่าแบบ 360 องศา

     4) โรงเรียนซากราดา ฟามีเลีย (Sagrada Família Schools) โรงเรียนประถมของเด็กยากจน ตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย คุ้มค่ากับการใข้สอย และงดงามปราณีตด้วยรูปทรงเรขาคณิต

     5) มหาวิหารซากราดา ฟามีเลีย (Sagrada Família) สถาปัตยกรรมประจำเมืองบาร์เซโลนา ที่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1882 (ตรงกับ พ.ศ. 2425) จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่แล้วเสร็จ หากก่อสร้างสมบูรณ์ะที่นี่ก็จะกลายเป็นมหาวิหารที่มีความสูงที่สุดในโลก ด้วยความสูงถึง 170 เมตร

     6) คาซา บัตโล (Casa Batlló) คฤาสนห์ที่มีกลิ่นอายคล้ายปราสาทเทพนิยายใจกลางเมือง บริเวณหลังคาที่มีลักษณะคล้ายกับมังกรเกล็ดสีฟ้า ส่วนบริเวณด้านในก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลนานาชนิด

     7) โบสถ์โคโลเนียกูเอล (Church of Colonia Güell) โบสถ์ที่ก่อสร้างจากหิน อิฐ และซีเมนต์ และตกแต่งด้วยการประดับเศษกระเบื้อง ว่ากันว่านี่คือผลงานทดลองก่อนที่เกาดีจะนำไปต่อยอดเป็นมหาวิหารซากราดา ฟามีเลีย

🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (4) • แคว้นกาตาลุญญา (Catalunya)
ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์แห่งคอร์โดบา (Historic Centre of Cordoba)      ยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของเมืองคอร์โดบา เริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 8 (ตรงกับพุทธศตวรรษที่ 13) หลังจากชัยชนะของชาวมัวร์ (Moor) ทำให้มีการก่อสร้างวัง มัสยิดกว่า 300 แห่ง และอาคารสาธารณะอีกจำนวนมาก เพื่อประชันความยิ่งใหญ่ของกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) กรุงดามัสกัส (Damascus) และกรุงแบกแดด (Baghdad) ก่อนที่คริสต์ศตวรรษที่ 13 (ตรงกับพุทธศตวรรษที่ 18) ในรัชสมัยพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยา (Ferdinand III of Castile) จะเปลี่ยนมัสยิดใหญ่ให้กลายเป็นอาสนวิหาร

     ปัจจุบันเมืองแห่งนี้ยังคงมีสถาปัตยกรรมอันงดงามน่าประทับใจ ชวนนึกย้อนไปเมื่อครั้งวันวาน อดีตเมืองหลวงที่เจริญรุ่งเรืองของอาราจักรกาหลิบแห่งคอร์โดบา (Caliphate of Córdoba) ของชาวมุสลิม ซึ่งเคยปกครองพื้นที่เกือบทั้งหมดในคาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula)

🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) • แคว้นอันดาลูซิอา (Andalusia)
อารามและพระราชฐานแห่งเอสกูเรียล กรุงมาดริด (Monastery and Site of the Escurial, Madrid)      อดีตที่ประทับของกษัตริย์สเปน สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าเฟลิเป ที่ 2 (Philip II) สถาปัตยกรรมรูปแบบเรอแนซ็องส์ เริ่มสร้างเมื่อ ค.ศ. 1563 และแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1584 (ตรงกับ พ.ศ. 2106-2127) ประกอบด้วยหมู่อาคารที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสองส่วน คือ อารามหลวง และที่ประทับเพื่อเสด็จออกล่าสัตว์อันสงบเงียบ ก่อนจะกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ณ ช่วงเวลานั้น 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (4) • แคว้นมาดริด (Madrid)
อาลัมบรา เชเนราลิเฟ และอัลเบย์ซิน เมืองกรานาดา (Alhambra, Generalife and Albayzín, Granada)      พระราชวังอาลัมบรา และป้อมปราการโบราณ ตั้งอยู่บนเนินเขาที่มีแม่น้ำดาร์โร (Darro) ไหลผ่าน สร้างขึ้นโดยสุลต่านแห่งราชวงศ์นาซริด (Nasrid) ซึ่งเป็นราชวงศ์ของชาวมุสลิมราชวงศ์สุดท้ายในสเปน และเป็นอาณาจักรอิสลามสุดท้ายในแถบยุโรปตะวันตก พระราชวังแห่งนี้สร้างด้วยดิน หิน อิฐสีแดงในรูปแบบสถาปัตยกรรมมัวร์ (Moor) อันปราณีต มีความสำคัญทั้งแง่ประวัติศาสตร์ของชาวคริสต์ ยิวและมุสลิม

     พระราชวังเชเนราลิเฟ เป็นพระราชวังฤดูร้อน ที่มีสวนอันโด่งดังจนถูกขนานว่าเป็น "สวนสวรรค์อันสูงส่ง (The Garden of Lofty Paradise)" สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 (ตรงกับพุทธศตวรรษที่ 18) และใกล้ ๆ กัน ก็มีย่านอัลเบย์ซิน อดีตย่านที่อยู่อาศัยของชาวอาหรับ แหล่งรวมสถาปัตยกรรมมัวร์ และสถาปัตยกรรมอันดาลูเซีย (Andalusian) ซึ่งได้ผสมผสานเข้ากันได้เป็นอย่างดี

🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (4) • แคว้นอันดาลูซิอา (Andalusia)
อาสนวิหารบูรกอส (Burgos Cathedral) (F)      อาสนวิหารแห่งนี้เริ่มก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 13 (ตรงกับพุทธศตวรรษที่ 18) โดยพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยา (Fernando III) เพื่อบูชาพระแม่มารีแห่งคริสต์ศาสนาด้วยสถาปัตยกรรมกอทิก ถือว่าเป็นอาสนวิหารขนาดใหญ่ที่มีสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งยังสถานที่ฝังศพขุนศึกชาวสเปนผู้เก่งกาจ นามว่า "เอลซิด (El Cid)" อีกด้วย 🟡 วัฒนธรรม (2) (4) (6) • แคว้นกัสติยาและเลออน (Castile-Leon)
  สหรัฐ อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ (Statue of Liberty)      อนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นในกรุงปารีส โดยประติมากร นามว่า "บาร์โตลดี (Bartholdi) ร่วมกับกุสตาฟ เอฟเฟล (Gustave Eiffel)" เพื่อเป็นของขวัญเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี แห่งการประกาศอิสรภาพของอเมริกาใน ค.ศ. 1886 (ตรงกับ พ.ศ. 2429) จากประเทศฝรั่งเศส อนุสรณ์สถานแห่งนี้ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณปากอ่าวนิวยอร์ก (New York Harbour) เป็นเสมือนการต้อนรับและโอบกอดเหล่าผู้อพยพนับล้าน ๆ คนที่เดินทางมายังประเทศสหรัฐอเมริกา ดินแดนแห่งอิสรภาพและความหลากหลาย 🟡 วัฒนธรรม (1) (6) • รัฐนิวยอร์ก (New York)
อุทยานแห่งชาติโยเซมิต (Yosemite National Park)      อุทยานแห่งนี้ประกอบด้วย หุบเขาลอยฟ้า น้ำตก ทะเลสาบ ทะเลสาบหลุมผิวโลก (Cirque Lakes) หินที่ถูกธารน้ำแข็งพัดพา (Moraines) และหุบเขารูปตัวยู (U-Shaped) เป็นสถานที่ที่แสดงภาพรวมของหินแกรนิตที่เกิดจากธารน้ำแข็งทุกประเภท ตั้งแต่ 600-4,000 เมตร ทั้งยังเป็นที่อยู่ของพืชพรรณและสัตว์หลากชนิด โดยเฉพาะแกะเขาใหญ่เซียร์ราเนวาดา (Sierra Nevada Bighorn Sheep) สิ่งมีชีวิตที่เสียงต่อการสูญพันธุ์ 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) • รัฐแคลิฟอร์เนีย (California)
  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

(อดีตคือ ซาอีร์)

      🟢 ธรรมชาติ (7) (9) • จังหวัดเอกาเตอร์ (Équateur)

• จังหวัดไม-ดอมเบ (Mai-Ndombe)

• จังหวัดกาซาอี (Kasaï)

• จังหวัดซังกูรู (Sankuru)

  อาร์เจนตินา       🟢 ธรรมชาติ (7) (10) • รัฐมิซิโอเนส (Misiones)
  อาร์เจนตินา  บราซิล       🟡 วัฒนธรรม (4)   อาร์เจนตินา

• รัฐมิซิโอเนส (Misiones)


  บราซิล

• จังหวัด ()

  อินเดีย       🟡 วัฒนธรรม • จังหวัด ()
      🟡 วัฒนธรรม • จังหวัด ()

ค.ศ.1983 (การประชุมสมัยที่ 7) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 5-9 ธันวาคม พ.ศ. 2526 ณ เมืองฟลอเรนซ์   อิตาลี

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 21 ชาติสมาชิก คือ   กินี   จอร์แดน   เซเนกัล   ไซปรัส   ตูนิเซีย   เนปาล   บราซิล   บัลแกเรีย   ปากีสถาน   ปานามา   ฝรั่งเศส   เยอรมนี   ลิเบีย   สวิตเซอร์แลนด์   สหรัฐ   สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก   ออสเตรเลีย   อาร์เจนตินา   อิตาลี   อิรัก   อียิปต์

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 29 แห่ง (🟡 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 19 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 9 แห่ง / 🟠 มรดกโลกแบบผสม 1 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  โกตดิวัวร์ อุทยานแห่งชาติโกโมเอ (Comoé National Park)      อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่กว่า 11,495.5 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นหนึ่งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดของแอฟริกาตะวันตก เนื่องจากมีแม่น้ำโกโมเอ (Comoé) ไหลผ่าน จึงทำให้มีอุทยานแห่งนี้อุดมไปด้วยความหลากหลายของระบบนิเวศ ทั้ง ป่าที่ราบลุ่มน้ำ ป่าพรุ ป่าฝนเขตร้อน ตลอดจนทุ่งหญ้าสะวันนา แหล่งหากินอันอุดมสมบูรณ์ของเหล่าสัตว์กินพืช ในผืนป่าแห่งนี้เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์น้อยใหญ่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นหมูป่า ช้างป่าแอฟริกัน ควายป่าแอฟริกัน ละมั่งแอฟริกา ตัวลิ่มยักษ์ แอนทีโลป หมาใน เสือดาว สิงโต เป็นต้น 🟢 ธรรมชาติ (9) (10) • เขตซานซาน (Zanzan)

• เขตซาวาเนส (Savanes)

  คอสตาริกา (F)

  ปานามา

ทิวเขาตาลามังกา-เขตอนุรักษ์ธรรมชาติลาอามิสตัด / อุทยานแห่งชาติลาอามิสตัด (Talamanca Range-La Amistad Reserves / La Amistad National Park)      ตำแหน่งที่ตั้งของมรดกโลกแห่งนี้ถือว่ามีความพิเศษเฉพาะแห่งหนึ่งในอเมริกากลาง ธารน้ำแข็งควอเทอร์นารี (Quaternary glaciers) ได้ทิ้งร่องรอย ทำให้สัตว์และพืชของอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ได้ผสมพันธุ์กัน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าฝนเขตร้อน ถิ่นอาศัยของชนพื้นเมืองชาวอินเดียนกว่า 4 เผ่า ที่ได้รับการดูแลและคุ้มครองอย่างใกล้ชิดจากประเทศคอสตาริกากับปานามา 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) (10)   คอสตาริกา• จังหวัดซานโฮเซ (San Jose)

• จังหวัดการ์ตาโก (Cartago)

• จังหวัดลิมอน (Limon)

• จังหวัดปุนตาเรนัส (Puntarenas)


  ปานามา

• จังหวัดโบกัส เดล เตโร (Bocas del Toro)

• จังหวัดชิริกี (Chiriqui)

  แคนาดา อุทยานแห่งชาติวูดบัฟฟาโล (Wood Buffalo National Park)      อุทยานแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของฝูงควายไบซันจำนวนมากที่สุดในอเมริกาเหนือ อีกทั้งยังเป็นที่ทำรังตามธรรมชาติของนกกระสาสีขาวขนาดใหญ่ สิ่งที่น่าชมอีกสิ่งหนึ่งของอุทยาน ได้แก่ "ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก" ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำพีซ (Peace) และแม่น้ำอธาบาสกา (Athabasca) 🟢 ธรรมชาติ (7) (9) (10) • รัฐแอลเบอร์ตา (Alberta)

• ดินแดนนอร์ทเวสต์ เทร์รีทอรีส์ (Northwest Territories)

  เซเชลส์ เขตอนุรักษ์ธรรมชาติวาลเลเดอเม (Vallée de Mai Nature Reserve)      เขตอนุรักษ์นี้อยู่ที่ใจกลางของเกาะเล็ก ๆ ชื่อเกาะพราสลิน (Praslin) มีร่องรอยของป่าต้นปาล์มธรรมชาติที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เกือบจะอยู่ในสภาพดั้งเดิม ผลมะพร้าวแฝดหรือมะพร้าวทะเล (Coco de Mer) อันเลื่องชื่อ เป็นผลผลิตแห่งผืนป่าที่เคยทำให้คนโบร่ำโบราณเชื่อกันว่ามันเติบโตขึ้นจากความลึกของก้นทะเล ซึ่งผลไม้ดังกล่าวถือว่ามีขนาดเมล็ดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) (10) • เกาะพราสลิน (Praslin)
  บราซิล ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เมืองเซาหลุยส์ (Historic Centre of São Luís)      ย่านใจกลางเมืองประวัติศาสตร์ที่มีอายุอยู่ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 แห่งนี้ ก่อตั้งโดยชาวฝรั่งเศสและถูกยึดครองโดยชาวดัตช์ ก่อนที่จะตกมาสู่การปกครองของโปรตุเกส ย่านดังกล่าวยังคงอนุรักษ์ผังถนนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดั้งเดิมไว้ได้อย่างสมบูรณ์ แม้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ไม่ส่งผลกระทบต่ออาคารประวัติศาสตร์อันงดงามที่ยังคงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เมืองแห่งนี้เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของเมืองอาณานิคมไอบีเรียน (Iberian) 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) (5) • รัฐมารันเยา (Maranhão)
  บัลแกเรีย เขตอนุรักษ์ธรรมชาติซเรบาร์นา (Srebarna Nature Reserve)      เขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งนี้ เป็นทะเลสาบน้ำจืดติดกับแม่น้ำดานูบ เป็นแหล่งวางไข่ของนกกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งหลายชนิดจัดเป็นนกหายากหรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ 🟢 ธรรมชาติ (10) • จังหวัดซีลิสตรา (Silistra)
เมืองโบราณเนสเซบาร์ (Ancient City of Nessebar)      เมืองแห่งนี้มีอายุเก่าแก่กว่า 3,000 ปี เคยเป็นชุมชนของชาวเธรเชียน (Thracian) ก่อนจะตกเป็นอาณานิคมของกรีซ ร่องรอยหลักฐานในเมืองส่วนใหญ่อยู่ในช่วงยุคเฮลเลนิสติก (Hellenistic) จนถึงยุคกลาง ประกอบด้วย เทวสถาน วิหารเทพอะพอลโล ตลาดเก่า กำแพงของป้อมปราการ และบ้านไม้โบราณที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16-19 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) • จังหวัดบูร์กาส (Burgas)
อารามรีลา (Rila Monastery)      อารามแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 มีบทบาทสำคัญด้านจิตวิญญาณและสังคมของบัลแกเรียยุคกลาง รูปแบบของอารามเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของศิลปะสมัยบัลแกเรียน เรอแนซ็องส์ และเป็นสัญลักษณ์แห่งการตระหนักรู้ถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมสลาวิก (Slavic) หลังจากที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนชาติอื่นมานานหลายศตวรรษ 🟡 วัฒนธรรม (6) • จังหวัดคูย์สเตนดิล (Kyustendil)
อุทยานแห่งชาติพิริน (Pirin National Park)      อุทยานแห่งนี้ ประกอบด้วยภูมิทัศน์หลากหลายและมีลักษณะเฉพาะอันงดงาม ทั้งทะเลสาบ น้ำตก ถ้ำ ป่าสน ภูเขาหินปูนอันขรุขระ ทะเลสาบน้ำแข็งกว่า 70 แห่งที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ ซึ่งทุก ๆ แห่งล้วนเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ประจำถิ่นและพืชหายากหลากสายพันธุ์ โดยเฉพาะต้นเบย์คูเชวา มูรา (Baykusheva Mura) ที่มีความสูงกว่า 24 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดของบัลแกเรีย 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) • จังหวัดบลากอเยฟกราด (Blagoevgrad)
  ปวยร์โตรีโก

(เครือรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา)

ลา ฟอร์ตาเลซา และแหล่งประวัติศาสตร์แห่งชาติซาน ฆวน ในปวยร์โตรีโก (La Fortaleza and San Juan National Historic Site in Puerto Rico) (F)      ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15-19 ระบบสิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันภัยถูกสร้างขึ้น ณ จุดยุทธศาสตร์ในทะเลแคริบเบียน (Caribbean Sea) แห่งนี้ เพื่อป้องกันเมืองและอ่าวซาน ฆวน (San Juan Bay) สิ่งก่อสร้างดังกล่าวเป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมทางการทหารของยุโรปที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับที่ตั้งที่เป็นอ่าวของทวีปอเมริกา 🟡 วัฒนธรรม (6) • เทศบาลซาน ฆวน (San Juan)
  เปรู เมืองคุซโก (City of Cuzco)      เมืองคุซโกได้พัฒนาขึ้นภายใต้การปกครองของจักรพรรดิปาชาคูตีแห่งอินคา (Pachacuti, Inca) จนกลายเป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองที่มีบทบาทอันโดดเด่นในด้านศาสนาและการปกครอง เมืองแห่งนี้ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ที่จัดถูกจัดสรรและแบ่งแยกอย่างชัดเจน ทั้งพื้นที่เกษตรกรรม งานช่างฝีมือ และอุตสาหกรรม เมื่อสเปนได้พิชิตเมืองคุซโกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวสเปนก็ยังคงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ไว้ แถมยังได้สร้างวังและโบสถ์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบบาโรกบนซากปรักหักพังของเมืองได้อย่างกลมกลืน 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) • จังหวัดคุซโก (Cuzco)
แหล่งอนุรักษ์ประวัติศาสตร์มาชู ปิกชู (Historic Sanctuary of Machu Picchu) (F)      ซากอารยธรรมโบราณที่อยู่ระดับ 2,430 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล กำแพงขนาดยักษ์ ลานกว้างและทางลาดที่ราวกับว่าถูกสกัดด้วยธรรมชาติในหน้าผาหินชัน เป็นการสร้างสรรค์ชุมชนเมืองที่น่าอัศจรรย์ของจักรวรรดิอินคา (Inca Empire) ในยุครุ่งเรืองสูงสุด พื้นที่ลาดเขาด้านตะวันออกของภูเขาแอนดีส (Andes) ล้อมรอบด้วยลุ่มแม่น้ำแอมะซอนตอนบน (Upper Amazon Basin) ซึ่งอุดมไปด้วยพืชพรรณและสัตว์อันหลากหลาย เป็นสภาพแวดล้อมท่ามกลางป่าเขตร้อนบนภูเขาอันงดงามเกินจินตนาการ 🟠 ผสม (1) (3) (7) (9) • จังหวัดอูรูบัมบา (Urubamba)
  โปรตุเกส คอนแวนต์แห่งพระคริสต์ในโตมาร์ (Convent of Christ in Tomar)      อนุสรณ์สถานของยุคสมัยเรกองคิสตา (Reconquista) ช่วงเวลาที่คริสเตียนรบราเพื่อช่วงชิงดินแดนกลับคืนจากมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรีย ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8-15 คอนแวนต์แห่งอัศวินเทมปลาร์แห่งโตมาร์ (Convent of the Knights Templar of Tomar) ถือว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่มีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรม เพราะผสมผสานศิลปะหลากแขนงทั้งแบบโรมัน กอทิก มานูเอลีน และเรอแนซ็องส์ได้อย่างลงตัว 🟡 วัฒนธรรม (1) (6) • เขตซานตาเรม (Santarem)
ย่านใจกลางเมืองอังกรา โด เอโรอิซโม ในอะโซร์ส (Central Zone of the Town of Angra do Heroismo in the Azores)      อดีตเมืองอังกรา เป็นจุดแวะพักที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 15 จวบจนกระทั่งมีการประดิษฐ์เรือกลไฟขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ป้อมที่มีอายุกว่า 400 ปี เป็นตัวอย่างที่แสดงถึงสถาปัตยกรรมทางการทหารอันเกรียงไกร 🟡 วัฒนธรรม (4) (6) • เขตปกครองตนเองอะโซร์ส (Azores)
อารามของนักบวชเยโรนีไมต์ และหอคอยแห่งเบเลมในลิสบอน (Monastery of the Hieronymites and Tower of Belém in Lisbon)      อารามของนักบวชเยโรนีไมต์ ตั้งอยู่ที่ปากอ่าวลิสบอน (Lisbon harbour) ก่อสร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1502 (ตรงกับ พ.ศ. 2045) รวมใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 50 ปี เป็นตัวอย่างงานศิลปะในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของโปรตุเกส ใกล้กับอารามยังมีหอคอยแห่งเบเลม อนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการเดินทางของ "วัชกู ดา กามา (Vasco da Gama)" นักเดินเรือสำรวจชาวโปรตุเกส ผู้ค้บพบเส้นทางการเดินเรือจากทวีปยุโรปสู่ประเทศอินเดีย ซึ่งการค้นพบของเขาได้วางรากฐานอันสำคัญมาจวบจนโลกยุคปัจจุบัน 🟡 วัฒนธรรม (3) (6) • เขตลิสบอน (Lisbon)
อารามแห่งบาตาลยา (Monastery of Batalha)      อารามนิกายโดมินิกัน (Dominican) แห่งบาตาลยา สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะของชาวโปรตุเกสที่มีต่อชาวคาสตีเลียน (Castilians) ในยุทธการอัลชูบาร์โรตา (Aljubarrota) เหตุการณ์สำคัญของการรวมชาติโปรตุเกส ใน ค.ศ. 1385 (ตรงกับ พ.ศ. 1928) อารามแห่งนี้เป็นโครงการก่อสร้างหลักของสถาบันกษัตริย์แห่งโปรตุเกสตลอดช่วงเวลากว่า 2 ศตวรรษ สะท้อนตัวตนที่ผ่านการวิวัฒน์ได้อย่างลุ่มลึกและชดช้อย

     ทั้งงานหินอันแข็งแกร่งรูปแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ผสมผสานกับการแกะสลักอันละเอียดอ่อนรูปแบบสถาปัตยกรรมมานูเอลีน ซุ้มประตูหรูหรานำไปสู่ห้องสวดมนต์ที่มีมนต์ขลัง และกลุ่มประติมากรรมของนักบุญที่ตั้งอยู่ด้านนอก ถือว่าเป็นผลงานชิ้นเอกชวนหลงใหลของอารามแห่งนี้

🟡 วัฒนธรรม (1) (2) • เขตไลรีอา (Leiria)
  ฝรั่งเศส จัตุรัสปลาซ สตานิสลาส ปลาซ เดอ ลา การ์ริแอร์ และปลาซ ดัลลิยองซ์ ในน็องซี (Place Stanislas, Place de la Carrière and Place dAlliance in Nancy)      น็องซี (Nancy) เมืองพำนักของกษัตริย์ผู้ไร้อาณาจักร "สตานิสลาส เลสซินสกี (Stanislas Leszczynski)" ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นดยุกแห่งลอร์เรน (Duke of Lorraine) สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1752-1756 (ตรงกับ พ.ศ. 2295-2299)

     จัตุรัสและอาคารรายรอบ ประกอบด้วยศาลาว่าการเมืองน็องซี โรงอุปรากร พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ และอาคารขนาดเล็ก ซึ่งทั้งหมดล้วนประสบความสำเร็จทั้งในแง่ประโยชน์การใช้สอยและการสร้างสรรค์ด้วยความละเมียดละไม

🟡 วัฒนธรรม (1) (4) • จังหวัดลอแรน แคว้นกร็องแต็สต์ (Lorraine, Grand Est)
วิหารแซงต์-ซาแว็ง ซูร์ การ์ตองป์ (Abbey Church of Saint-Savin sur Gartempe)      วิหารหลังนี้ได้รับสมญานามว่า "วิหารซิสทีนโรมาเนสก์ (Romanesque Sistine Chapel)" สร้างขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ ความสำคัญของวิหารนี้อยู่ที่จิตรกรรมฝาผนังจากคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ที่ได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพที่ดีมาก 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) • จังหวัดเวียน แคว้นนูแวลากีแตน (Vienne, Nouvelle-Aquitaine)
อ่าวปอร์โต : กาลองช์แห่งเปียนา อ่าวจิโรลาตา เขตอนุรักษ์ธรรมชาติสแกนโดลา (Gulf of Porto: Calanche of Piana, Gulf of Girolata, Scandola Reserve)      เขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งนี้มีพืชพรรณอันโดดเด่นแบบป่าไม้พุ่มเตี้ย นกที่พบมีทั้ง นกนางนวล นกกาน้ำ และอินทรีทะเล น้ำอันใสสะอาด และเกาะขนาดเล็กซึ่งมีถ้ำที่มนุษย์เข้าไม่ถึง เป็นที่อยู่ของสรรพชีวิตอันอุดมสมบูรณ์ 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (10) • จังหวัดกอร์ส-ดูว์-ซูด และจังหวัดโอต-กอร์ส แคว้นคอร์ซิกา (Corse du Sud and Haute Corse, Corsica)
  เยอรมนี

(อดีตคือ เยอรมนีตะวันตก)

โบสถ์สำหรับนักแสวงบุญแห่งวีส์ (Pilgrimage Church of Wies)      โบสถ์แห่งนี้เป็นผลงานของสถาปนิกและช่างปูนปั้น "โดมินิคุส ซิมเมอร์มันน์ (Dominikus Zimmermann)" เขาทุ่มเทสร้างโบสถ์แห่งนี้เป็นเวลา 11 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1745-1754 (ตรงกับ พ.ศ. 2288-2297) และเป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมบาวาเรียนโรโกโก (Bavarian Rococo) ซึ่งมีการประดับประดาอย่างหรูหราโอ่อ่่า แตกต่างจากรูปลักษณ์ภายนอกที่เน้นความเรียบง่าย 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) • รัฐบาวาเรีย หรือไบเอิร์น (Bavaria or Bayern)
  สวิตเซอร์แลนด์ คอนแวนต์นิกายเบเนดิกทีนของเซนต์จอห์นที่มุสแตร์ (Benedictine Convent of St John at Müstair)      ตัวอย่างที่ดีของการปฏิรูปอารามคริสเตียนในยุคคาโรลิงเจียน (Carolingian) คอนแวนต์แห่งนี้เก็บรักษาภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ที่เขียนขึ้นราว ค.ศ. 800 (ตรงกับ พ.ศ. 1343) รวมทั้งจิตรกรรมปูนเปียก และประติมากรรมปูนปั้นสมัยโรมาเนสก์ 🟡 วัฒนธรรม (3) • รัฐเกราบึนเดิน (Graubunden)
วิหารแห่งเซนต์กอลล์ (Abbey of St Gall) (F)      ตัวอย่างอันสมบูรณ์แบบของอารามคาโรลิงเจียน (Carolingian) ที่ยิ่งใหญ่ เป็นหนึ่งในอารามที่สำคัญที่สุดของยุโรปจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 ห้องสมุดของที่นี่เป็นหนึ่งในห้องสมุดที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก มีต้นฉบับล้ำค่ามากกว่า 170,000 รายการ ตั้งแต่ต้นฉบับตัวเขียนภาษาไอร์แลนด์สมัยศตวรรษที่ 7 ไปจนถึงคัมภีร์ไบเบิลภาษาเยอรมัน บทกวีของกวีเอกรัทเพิร์ต (Ratpert) และทูลิโอ (Tuotilo) 🟡 วัฒนธรรม (2) (4) • รัฐเซนต์กอลล์ (St Gall)
เมืองเก่าเบิร์น (Old City of Berne)      ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 12 บนเนินเขาที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำอาเร (Aare) เป็นตัวอย่างของผังเมืองสมัยกลางที่ดีที่สุดในทวีปยุโรป เริ่มจากเขตเมืองเก่า ไปจนถึงหอนาฬิกา สวนหมี พิพิธภัณฑ์บ้านไอน์สไตน์ บ่อน้ำพุกว่า 70 บ่อที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ล้วนสะท้อนกลิ่นอายความงามของวันวานได้เป็นอย่างดี 🟡 วัฒนธรรม (3) • รัฐเบิร์น (Berne)
  สหรัฐ อุทยานแห่งชาติเกรตสโมกกีเมาน์เทนส์ (Great Smoky Mountains National Park)      อุทยานแห่งนี้เป็นผืนป่าดิบชื้นเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ มีชื่อเสียงด้านความสวยงามจากปรากฏการณ์ใบไม้เปลี่ยนสี มีสัตว์ที่เสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์และพรรณพืชกว่า 3,500 ชนิด ทั้งยังมีสิ่งปลูกสร้างทางประวัติศาสตร์อีกมากมาย ทั้งอาคารชุมชนเก่าแก่ โบสถ์ โรงโม่ กระต๊อบและโรงนาอายุกว่าร้อยปี รวมไปถึงจุดชมวิวคลิงส์แมนส์โดม (Clingmans Dome Observation Tower) เป็นต้น 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) (10) • รัฐเทนเนสซี (Tennessee)

• รัฐนอร์ทแคโรไลนา (North Carolina)

  อินเดีย ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves) (F)      ศิลปะภายในถ้ำแห่งนี้มีอายุตั้งแต่ 200-100 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ราว ๆ พ.ศ. 350) ถือได้ว่าเป็นวัดถ้ำในพระพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมของถ้ำอชันตาเรียกได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกในศิลปะพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอิทธิพลอต่องานศิลปะในยุคถัด ๆ มา 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) • รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra)
ถ้ำเอลโลรา (Ellora Caves)      สถานที่สำคัญทางศาสนามีอายุระหว่าง ค.ศ. 600-1000 (ตรงกับ พ.ศ. 1143-1543) เกิดจากการขุดเจาะเข้าไปในกำแพงหน้าผาหินบะซอลต์ในเนินเขาจารนันทรี (Charanandri Hill) จนเกิดเป็นถ้ำมากกว่า 100 ถ้ำ งานศิลปะต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นถึงความกลมเกลียวระหว่างศาสนา ที่ผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์และการผสานเทคนิคของพระพุทธศาสนา ศาสนาฮินดู และศาสนาเชนเข้าไว้ด้วยกัน 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (6) • รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra)
ทัชมาฮาล (Taj Mahal)      สุสานขนาดมหึมาที่สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สร้างขึ้นในเมืองอาครา (Agra) ระหว่าง ค.ศ. 1631-1648 (ตรงกับ พ.ศ. 2174-2191) ตามบัญชาของ "จักรพรรดิชาห์ จาฮาน แห่งจักรวรรดิโมกุล (Shah Jahan, Mughal Empire)" เพื่อเป็นที่ระลึกถึงมเหสีเอก สถานที่แห่งนี้เปรียบเสมือนเพชรน้ำเอกแห่งศิลปะมุสลิมในอินเดีย และเป็นผลงานชิ้นเอกที่ทั่วโลกต่างพากันยกย่อง 🟡 วัฒนธรรม (1) • รัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh)
ป้อมแดงอาครา (Agra Fort)      อนุสรณ์สถานสำคัญของราชวงศ์โมกุล (Mughal) สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ป้อมหินทรายนี้สร้างเป็นกำแพงล้อมรอบพระราชวังของกษัตริย์โมกุล มีความยาวกว่า 2.5 กิโลเมตร อาคารส่วนใหญ่ของป้อมสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบเบงกอล (Bengal) และคุชราต (Gujarat) ไม่ว่าจะเป็นประกอบด้วยพระราชวังชาฮานคีร์ (Jahangir) ห้องท้องพระโรงส่วนพระองค์ ท้องพระโรงขนาดใหญ่สำหรับออกว่าราชการ สุเหร่า หมู่พระราชมณเฑียรทอง ตำหนักหินอ่อน หอคอยแปดเหลี่ยม และสวนองุ่น 🟡 วัฒนธรรม (3) • รัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh)
  เอกวาดอร์ อุทยานแห่งชาติซานเกย์ (Sangay National Park)      ด้วยความงามของธรรมชาติอันโดดเด่น และภูเขาไฟมีพลังอีก 2 ลูก อุทยานแห่งนี้จึงแสดงให้เห็นถึงระบบนิเวศที่มีความย้อนแย้งแต่กลับครบถ้วนสมบูรณ์ ตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนไปจนถึงธารน้ำแข็ง กลายเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ท้องถิ่น อย่างสมเสร็จภูเขา (Mountain Tapir) และแร้งแอนเดียน (Andean Condor) 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) (10) • จังหวัดโมโรนา ซันติเอโก (Morona Santiago)

• จังหวัดชิมโบราโซ (Chimborazo)

• จังหวัดตุงกูราอัว (Tungurahua)

ค.ศ.1982 (การประชุมสมัยที่ 6) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 13-17 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ณ กรุงปารีส   ฝรั่งเศส

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 21 ชาติสมาชิก คือ   กินี   จอร์แดน   เซเนกัล   ไซปรัส   ตูนิเซีย   เนปาล   บราซิล   บัลแกเรีย   ปากีสถาน   ปานามา   ฝรั่งเศส   เยอรมนี   ลิเบีย   สวิตเซอร์แลนด์   สหรัฐ   สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก   ออสเตรเลีย   อาร์เจนตินา   อิตาลี   อิรัก   อียิปต์

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 24 แห่ง (🟡 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 17 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 5 แห่ง / 🟠 มรดกโลกแบบผสม 2 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  โกตดิวัวร์ อุทยานแห่งชาติไต (Taï National Park)      อุทยานแห่งนี้เป็นหนึ่งในป่าเขตร้อนดั้งเดิมที่สำคัญเพียงไม่กี่แห่งที่เหลืออยู่ในแอฟริกาตะวันตก ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธรรมชาติและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ถูกคุกคาม ทั้ง ฮิปโปโปเตมัสแคระ และลิงกว่า 11 ชนิด ถือว่ามีความน่าสนใจทางชีววิทยาเป็นอย่างยิ่ง 🟢 ธรรมชาติ (7) (10) • เขตกุยโกล (Guiglo)

• เขตบาส-ซาสซานดรา (Bas-Sassandra)

  คิวบา เมืองฮาวานาเก่าและป้อมปราการ (Old Havana and its Fortifications) (F)      เมืองที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1519 (ตรงกับ พ.ศ. 2061) จนในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมืองแห่งนี้ก็กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของการต่อเรือในทะเลแคริบเบียน ปัจจุบันย่านเมืองเก่ายังคงรักษาสภาพสิ่งก่อสร้างที่ผสมผสานศิลปะแบบบาโรกและนีโอคลาสสิกไว้ได้เป็นอย่างดี 🟡 วัฒนธรรม (4) (5) • จังหวัดซิวดัด เดอ ลา ฮาบานา (Ciudad de la Habana)
  เซเชลส์ เกาะวงแหวนปะการังอัลดาบรา (Aldabra Atoll) (F)      เกาะปะการังที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นถิ่นอาศัยของเต่ายักษ์กว่า 152,000 ตัว ด้วยลักษณะทางกายภาพอันซับซ้อน จึงทำให้การเข้าถึงค่อนข้างยากลำบาก แต่นั่นก็เป็นกลไกที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการรุกรานจากมนุษย์และสัตว์ต่างถิ่น 🟢 ธรรมชาติ (7) (9) (10) • เกาะอัลดาบรา (Aldabra Island)
  แทนซาเนีย เขตสงวนการล่าสัตว์เซลูส (Selous Game Reserve)      ช้าง แรดดำ ชีตาห์ ยีราฟ ฮิปโปโปเตมัส และจระเข้จำนวนมาก อาศัยอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยอันกว้างใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 50,000 ตารางกิโลเมตร อุทยานแห่งนี้มีเขตพืชพรรณหลากหลาย ตั้งแต่ไม้พุ่มหนาทึบจนถึงทุ่งหญ้าเปิดโล่งสลับด้วยผืนป่า 🟢 ธรรมชาติ (9) (10) • แคว้นปวานิ (Pwani)

• แคว้นมวารา (Mtwara)

• แคว้นโมโรโกโร (Morogoro)

• แคว้นลินดิ (Lindi)

• แคว้นรูวูมา (Ruvuma)

  บราซิล ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เมืองโอลีนดา (Historic Centre of the Town of Olinda)      ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยชาวโปรตุเกส ประวัติศาสตร์ของเมืองแห่งนี้มีความสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมน้ำตาลอ้อย สิ่งก่อสร้างภายในเมืองถูกออกแบบมาได้อย่างสมดุลและกลมกลืน ทั้งอาคาร สวน โบสถ์บาโรก ชุมชนนักบวชชาวคริสต์ และโบสถ์น้อยอีกมากมาย ล้วนเป็นเสน่ห์ของเมืองโอลีนดา 🟡 วัฒนธรรม (2) (4) • รัฐเปร์นัมบูกู (Pernambuco)
  ฝรั่งเศส จากโรงผลิตเกลือใหญ่แห่ง ซาแลงส์-เลส์-แบงส์ ถึงโรงผลิตเกลือหลวงแห่ง อาร์ค-เอต์-เซอนองส์ การผลิตเกลือแบบถาดเปิด (From the Great Saltworks of Salins-les-Bains to the Royal Saltworks of Arc-et-Senans, the production of open-pan salt)      โรงผลิตเกลือหลวง แห่งอาร์ค-เอต์-เซอนองส์ เริ่มก่อสร้าง ค.ศ. 1775 (ตรงกับ พ.ศ. 2318) ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI) เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ครั้งแรกของสถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงอุดมคติและความก้าวหน้าแห่งปัญญาญาณ (Enlightenment) กลุ่มอาคารขนาดใหญ่นี้ ได้รับการออกแบบให้ตรงกับการทำงานอย่างมีสมเหตุสมผลและเป็นระบบ

     ส่วนโรงผลิตเกลือใหญ่ แห่งซาแลงส์-เลส์-แบงส์ มีการสูบน้ำเกลือมาตั้งแต่ยุคกลางหรือก่อนหน้านั้น ประกอบด้วยอาคารที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับโรงผลิตเกลือหลวง เป็นหลักฐานที่สำคัญของประวัติศาสตร์การผลิตเกลือในฝรั่งเศส

🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (4) • จังหวัดดู แคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต (Doubs, Bourgogne-Franche-Comté)
  เยเมน เมืองปราการเก่าชีบาม (Old Walled City of Shibam) (F)      เมืองในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีปราการล้อมรอบ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของเมืองอันเก่าแก่และดีที่สุดของการวางผังเมืองตามหลักการก่อสร้างแนวตั้ง ลักษณะอาคารบ้านเรือนเหมือนหอคอยจำนวนมากที่โผล่ขึ้นมาจากหน้าผา ทำให้เมืองแห่งนี้ได้รับสมญานามว่า "แมนฮัตตันแห่งทะเลทราย" 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) (5) • เขตผู้ว่าราชการฮัดระเมาต์ (Hadramaut)
  ลิเบีย แหล่งโบราณคดีซาบราธา (Archaeological Site of Sabratha)      สถานีการค้าของฟีนีเชีย เป็นสถานที่ส่งออกสินค้าจากดินแดนตอนในของแอฟริกา เมืองแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมาสสินิสซาแห่งนูมิเดีย (Numidian Kingdom of Massinissa) ที่ดำรงอยู่เพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะถูกโรมันเข้ายึดครองและสร้างขึ้นใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 2-3 🟡 วัฒนธรรม (3) • เขตซาวิยะ (Zawiya)
แหล่งโบราณคดีซีเรเน (Archaeological Site of Cyrene)      เมืองซีเรเนได้รับอิทธิพลมาจากโรมันและคงความเป็นนครหลวงอันยิ่งใหญ่ ก่อนจะประสบเหตุแผ่นดินไหวใน ค.ศ. 365 (ตรงกับ พ.ศ. 908) ทำให้ ประวัติศาสตร์อันยาวนานเป็นพัน ๆ ปีของเมืองนี้ ปรากฏอยู่ในร่องรอยของซากโบราณสถานอันมีชื่อเสียงมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) (4) • เขตญะบัล อัล อัคฮ์ดาร (Jabal al Akhdar)
แหล่งโบราณคดีเลปติส แมกนา (Archaeological Site of Leptis Magna) (F)      เมืองเลปติส แมกนาได้รับการขยายและตกแต่งให้งดงามโดย "จักรพรรดิเซปติมัส เซเวรัส แห่งจักรวรรดิโรมัน (Septimus Severus of Roman Empire)" ซึ่งกำเนิดและเติบโต ณ เมืองแห่งนี้ เมืองเลปติสประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างอันงดงามและมีมนต์ขลัง เช่น อนุสรณ์สถาน ท่าเรือ ย่านการค้า โรงเก็บสินค้า อัฒจันทร์ และเขตที่อยู่อาศัย จนถูกขนานนามว่าเป็นอาณาจักรโรมันที่มีชื่อเสียงและงดงามมากที่สุดในแอฟริกา 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) • เขตนูกวัต อัล คาม (Nuqat al Khams)
  ศรีลังกา นครประวัติศาสตร์โปโลนนารุวะ (Ancient City of Polonnaruwa) (F)      อดีตราชธานีแห่งที่ 2 ของศรีลังกา ถัดจากเมืองอนุราธปุระ (Anuradhapura) ราชธานีแห่งนี้รุ่งเรืองอยู่เพียง 3 ชั่วอายุ หรือประมาณ 200 ปีเท่านั้น ก่อนจะถูกทหารชาวทมิฬทำลายจนย่อยยับใน ค.ศ. 1202-1208 (ตรงกับ พ.ศ. 1745-1751) ภายในประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างและงานศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นศาสนสถาน วิหารหิน วิหารประกอบพิธีกรรม พระพุทธรูป อนุสาวรีย์ และจารึกบนแผ่นหินขนาดใหญ่ 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (6) • จังหวัดนอร์ทเซ็นทรัล (North Central)
นครประวัติศาสตร์สิคิริยา (Ancient City of Sigiriya)      หรือ "แท่นศิลาราชสีห์" เป็นอีกหนึ่งเมืองป้อมปราการโบราณที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงพระเจ้ากัสสปะที่ 1 (King Kassapa I) สร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 17-18 จัดว่าเป็นเมืองที่มีความโดดเด่นด้านการวางผังเมืองเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู และวางระบบชลประทาน ภายในมีซากปรักหักพังมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสวนน้ำ สวนน้ำพุ สวนหิน ถ้ำ พระราชวัง ทั้งยังมีงานจิตรกรรมสีน้ำของชาวสิงหลอันเลื่องลือ ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,500 ปี 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (4) • จังหวัดเซ็นทรัล (Central)
เมืองศักดิ์สิทธิ์อนุราธปุระ (Sacred City of Anuradhapura)      ราชธานีแห่งแรกของศรีลังกา ก่อสร้างขึ้นล้อมรอบหน่อต้นศรีมหาโพธิ์ที่นำมาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย ทำให้อดีตราชธานีที่เคยเจริญรุ่งเรืองมานานกว่า 1,300 ปีแห่งนี้ มีบทบาทสำคัญทางด้านการเมืองและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาบนเกาะลังกา ก่อนที่ภายหลังเมืองแห่งนี้จะถูกปล่อยให้ทิ้งร้างเพราะการรุกรานของกองทัพราชวงศ์ปาณฑยะจากอินเดียตอนใต้ ใน ค.ศ. 833-853 (ตรงกับ พ.ศ. 1376-1396)

     นครหลวงแห่งนี้มีสถานที่และโบราณสถานมากมาย ทั้ง พระราชวัง ศาสนสถาน สระสรงน้ำของกษัตริย์ลังกา อุทยาน อ่างเก็บน้ำ และโลหะปราสาทซึ่งเป็นหนึ่งในสามแห่งของโลก ทั้งยังเป็นที่เก็บรักษาหนึ่งในงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่อีกชิ้นหนึ่งของศรีลังกา นั่นก็คือ "ประติมากรรมอัฒจันทร์ศิลา" หินสลักรูปจันทร์ครึ่งเสี้ยว ที่นอกจากจะมีความงดงามอ่อนช้อยในทางศิลปะแล้ว ยังมีความหมายทางพุทธปรัชญาอันแยบยลคมคาย

🟡 วัฒนธรรม (2) (3) (6) • จังหวัดนอร์ทเซ็นทรัล (North Central)
  สหรัฐ แหล่งประวัติศาสตร์แห่งรัฐเนินคาโฮเกีย (Cahokia Mounds State Historic Site)      เนินคาโฮเกียเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในยุคพรี-โคลัมเบียน (Pre-Columbian) ที่ใหญ่ที่สุดทางตอนเหนือของเม็กซิโก เคยเป็นแหล่งอาศัยในยุคมิซซิสซิปเปียน (Mississippian) ราว ๆ ค.ศ. 800-1400 (ตรงกับ พ.ศ. 1343-1943) บนพื้นที่ประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร และมีเนินดินราว ๆ 120 เนิน เป็นตัวอย่างอันชัดเจนของสภาพสังคมชาวอเมริกันพื้นเมืองยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความสลับซับซ้อน โบราณสถานเด่นในที่แห่งนี้ ก็คือ "มังก์ส มาวนด์ (Monks Mound)" เนินดินก่อนประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกา 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) • รัฐอิลลินอยส์ (Illinois)
  ออสเตรเลีย ดินแดนแทสมาเนีย (Tasmanian Wilderness)      ดินแดนแห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 15,000 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 25% ของรัฐแทสมาเนีย ประกอบด้วยไปด้วย อุทยานแห่งชาติ พื้นที่อนุรักษ์ และเขตสงวนมากมายกว่า 10 แห่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พื้นที่ป่าไม้อบอุ่นไม่ผลัดใบแห่งสุดท้ายของโลก และถ้ำหินปูนที่แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์โบราณเมื่อ 20,000 ปีที่แล้ว 🟠 ผสม (3) (4) (6) (7) (8) (9) (10) • รัฐแทสมาเนีย (Tasmania)
หมู่เกาะลอร์ด ฮาว (Lord Howe Island Group)      ตัวอย่างของเกาะอันห่างไกลในมหาสมุทร ที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเลลึกกว่า 2,000 เมตร หมู่เกาะนี้มีภูมิประเทศอันน่าตื่นตาตื่นใจ เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หายากจำนวนมากโดยเฉพาะนกเฉพาะถิ่น มีนกแว่นตาขาวเกาะลอร์ดฮาว (Lord Howe White-Eye) นกวูดเฮนเกาะลอร์ดฮาว (Lord Howe Woodhen) เป็นต้น และยังเคยเป็นถิ่นอาศัยของนกเฉพาะถิ่นที่สูญพันธุ์จากโลกไปแล้วกว่า 10 ชนิด 🟢 ธรรมชาติ (7) (10) • รัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales)
  อิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์แห่งฟลอเรนซ์ (Historic Centre of Florence)      สร้างขึ้นบนที่ตั้งของชุมชนเดิมยุคอีทรัสกัน (Etruscan) สัญลักษณ์ของศิลปะเรอแนซ็องส์ ที่ได้เป็นอิทธิพลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมภายใต้การปกครองของตระกูลเมดิชี (Medici) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 จนเป็นศูนย์กลางการค้าและการเงินของยุคกลาง ภายในมีวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม อนุสาวรีย์ และงานศิลป์เลื่องชื่อมากมาย

     ทั้งยังเป็นเมืองฝังศพบุคคลสำคัญ ๆ ของโลก ได้แก่ ไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) อัครมหาศิลปินผู้เป็นดั่งสัญลักษณ์ของเมืองฟลอเรนซ์, กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ และนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli) รัฐบุรุษคนสำคัญของอิตาลี

🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (6) • จังหวัดฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี (Florence, Tuscany)
  แอลจีเรีย เจมิลา (Djémila)      ซากเมืองเจมิลา ประกอบด้วยจตุรัสกลางเมือง วัด อาคารสำหรับตกลงธุรกิจและตัดสินคดีความ ประตูชัย และบ้านเรือน เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการวางผังเมืองแบบโรมันที่ปรับให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศแบบภูเขาสูงของแอลจีเรีย 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) • จังหวัดเซติฟ (Setif)
ทาสสิลี นาจเจอร์ (Tassili nAjjer)      สถานที่แห่งนี้มีภูมิประเทศงดงามแปลกตาด้วยการกัดกร่อนหินทรายขนาดมหึมารูปลักษณ์ต่าง ๆ คล้าย "ป่าหิน" ทั้งมีกลุ่มถ้ำซึ่งเป็นแหล่งรวมภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก ภาพเขียนและภาพสลักมากกว่า 15,000 ภาพได้บันทึกเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอพยพของสัตว์ และวิวัฒนาการของมนุษย์ในดินแดนชายขอบของทะเลทรายซาฮาราตั้งแต่ 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 1 🟠 ผสม (1) (3) (7) (8) • จังหวัดอัลลิซี (Illizi)

• จังหวัดทามันราสเซต (Tamanghasset)

ทิปาซา (Tipasa)      สถานีการค้าโบราณของชาวฟีนีเชียน (Phoenician) ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งโรมเคยเข้ายึดครองและใช้เป็นฐานทัพเพื่อเข้าตีอาณาจักรมอริทาเนีย (Mauritania) ภายในประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถานที่ผสมผสานศิลปะแบบฟีนิเชียน โรมัน พาลีโอคริสเตียน (คริสเตียนยุคเก่า) ไบแซนไทน์ และมอริทาเนียเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) • จังหวัดทิพาซา (Tipasa)
ทิมกาด (Timgad)      สร้างขึ้นโดยสมัยพระจักรพรรดิทราจัน (Emperor Trajan) ใน ค.ศ. 100 (ตรงกับ พ.ศ. 643) เพื่อเป็นเมืองทหาร สภาพอาคารบ้านเรือนล้วนสร้างมาจากหิน ผังเมืองมีลักษณะเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสและเส้นตั้งฉากตามแบบฉบับของโรมัน ทำให้เมืองแห่งนี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างอันยอดเยี่ยมของการวางผังเมืองแบบโรมัน 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) (4) • จังหวัดบัตนา (Batna)
หุบเขามูซาบ (M'Zab Valley)      ที่ตั้งถิ่นฐานสำคัญของชาวมุสลิมนิกายอิบาดะฮ์ (Ibadah) ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 หมู่บ้านในหุบเขามูซาบยังคงสภาพดั้งเดิมได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีลักษณะอันเรียบง่าย และปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทำให้แหล่งมรดกโลกแห่งนี้สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักวางผังเมืองในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) (5) • จังหวัดการ์ดาเอีย (Ghardaïa)
  ฮอนดูรัส เขตสงวนชีวภาพรีโอ ปลาตาโน (Río Plátano Biosphere Reserve)      เขตสงวนชีวภาพแห่งนี้ เป็นหนึ่งในป่าฝนเขตร้อนที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งในอเมริกากลาง มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำและทุ่งหญ้าใกล้แนวชายฝั่งทะเล ถัดเข้าไปเป็นป่าดิบชื้นเขตร้อน เทือกเขาสูง พื้นที่สูงชัน และมีแม่น้ำไหลผ่าน แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่านี้ได้เป็นอย่างดี ที่นี่ยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 30 กว่าชนิด นกอีก 300-400 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 100 ชนิด และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อีกมากมาย ทั้งเต่าจะละเม็ด (Loggerhead) ตัวกินมดยักษ์ (Giant Anteater) สมเสร็จอเมริกากลาง (Central American Tapir) ลิงแมนเทิลฮาวเลอร์ (Mantled Howler Monkey) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ในเขตสงวนชีวภาพอีกมากกว่า 2,000 คน ซึ่งพวกเขาก็ยังคงธำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ได้อย่างสมบูรณ์ไม่มีเปลี่ยน 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) (10) • จังหวัดกาเซียส อา ดีโอส (Gracias a Dios)
  เฮติ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ – ป้อม ซองส์ซูซี ฮามิเอร์ส์ (National History Park – Citadel, Sans Souci, Ramiers) (F)      โบราณสถานแห่งนี้มีอายุตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อประเทศเฮติประกาศอิสรภาพ วังซองส์ซูซี อาคารที่ฮามิเอร์ส์ และป้อมปราการ เป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพที่สร้างขึ้นโดยแรงงานทาสผิวดำที่ได้รับอิสรภาพแล้ว 🟡 วัฒนธรรม (4) (6) • จังหวัดนอร์ด (Nord)

ค.ศ.1981 (การประชุมสมัยที่ 5) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 26-30 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ณ กรุงซิดนีย์   ออสเตรเลีย

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 21 ชาติสมาชิก คือ   กินี   จอร์แดน   เซเนกัล   ไซปรัส   ตูนิเซีย   เนปาล   บราซิล   บัลแกเรีย   ปากีสถาน   ปานามา   ฝรั่งเศส   เยอรมนี   ลิเบีย   สวิตเซอร์แลนด์   สหรัฐ   สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก   ออสเตรเลีย   อาร์เจนตินา   อิตาลี   อิรัก   อียิปต์

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 26 แห่ง (🟡 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 15 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 9 แห่ง / 🟠 มรดกโลกแบบผสม 2 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  โกตดิวัวร์

  กินี

เขตสงวนธรรมชาติเข้มงวด ภูเขานิมบา (Mount Nimba Strict Nature Reserve) (F)      เขตสงวนธรรมชาติที่ตั้งอยู่ระหว่างประเทศกินี ไลบีเรีย และโกตดิวัวร์ เป็นภูเขาสูง บริเวณเนินเขาถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ เมื่อไต่ระดับความสูงไปเรื่อย ๆ จากลักษณะป่ารกทึบก็เปลี่ยนไปเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาสลับกับพุ่มไม้เตี้ย ที่นี่อุดมไปด้วยพรรณพืชและสัตว์ป่าเฉพาะถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างคางคกนิมบาตะวันตก (Western Nimba Toad) ที่สามารถพบเห็นได้ที่นี่เพียงแห่งเดียวในโลก และสัตว์หายากหรือสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เช่น หนูผีนิมบา (Nimba Shrew) ที่หายากจนใกล้สูญพันธุ์ และลิงชิมแปนซีที่จะอาศัยในบริเวณที่ราบตีนเขาของเขานิมบา ซึ่งมีความสามารถในการใช้เครื่องมือหินในการดำรงชีพอย่างเชี่ยวชาญ 🟢 ธรรมชาติ (9) (10)   โกตดิวัวร์

• เขตเดงกัวเล (Denguélé)


  กินี

• แคว้นอึนเซเรกอเร (Nzérékoré)

  กัวเตมาลา อุทยานโบราณคดีและซากเมืองคีริกัว (Archaeological Park and Ruins of Quirigua)      ซากปรักหักพัง อดีตเมืองหลวงของรัฐที่ปกครองตนเองและเคยมั่งคั่งในรัชสมัยของพระเจ้าคาวัก สกาย (Cauac Sky) ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 เมืองที่ประกอบด้วยโบราณสถานอันโดดเด่นสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 แท่งหินแกะสลัก และประติมากรรมปฏิทินอันน่าประทับใจ จัดว่าเป็นแหล่งสำคัญของการศึกษาอารยธรรมมายาแห่งอเมริกากลาง 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (4) • จังหวัดอีซาบัล (Izabal)
  แคนาดา ผาควายโดด เฮด-สแมชด์-อิน (Head-Smashed-In Buffalo Jump)      ร่องรอยทางเดินที่มีการทำเครื่องหมาย ค่ายพักของชนพื้นเมือง และเนินดินที่พบกระดูกควายไบซันอเมริกัน (American Bison) สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมากว่า 6,000 ปี ในหมู่ชนพื้นเมืองอเมริกาเหนือ พวกเขาจะฆ่าควายด้วยการไล่ต้อนพวกมันไปยังหน้าผา เมื่อมันตกลงสู่พื้น พวกเขาก็จะนำควายไปแล่เนื้อที่ค่ายพักซึ่งอยู่เบื้องล่างใกล้ ๆ กัน สะท้อนให้เห็นถึงภูมิความรู้อันยอดเยี่ยมทางด้านภูมิประเทศและการศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต เพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอดของคนยุคโบราณ 🟡 วัฒนธรรม (6) • รัฐแอลเบอร์ตา (Alberta)
สกังก์ กวาย (Sgang Gwaay)      หลักฐานของบ้านเรือน ที่เก็บศพแกะสลัก และเสาอนุสรณ์ เแสดงให้เห็นถึงศิลปะและวิถีชีวิตของชนเผ่าไฮดา (Haida) มรดกโลกแหล่งนี้เป็นอนุสรณ์ของวัฒนธรรมที่ยังมีชิวิตของชาวไฮดา รูปแบบความสัมพันธ์ของชนพื้นเมืองกับผืนดินและผืนทะเล เป็นกุญแจที่ทำให้เราเข้าใจประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาในแบบมุขปาฐะได้เป็นอย่างดี 🟡 วัฒนธรรม (3) • รัฐบริติชโคลัมเบีย (British Columbia)
  เซเนกัล เขตสงวนนกแห่งชาติดจูดจ์ (Djoudj National Bird Sanctuary)      พื้นที่ชุ่มน้ำที่ประกอบด้วยทะเลสาบขนาดใหญ่ ล้อมรอบไปด้วยธารน้ำ สระ และแอ่งน้ำขัง เป็นถิ่นอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตกว่า 1.5 ล้านตัว โดยเฉพาะนกชนิดต่าง ๆ มีนกเพลิแกนขาว นกกระสาแดง นกปากช้อนแอฟริกา นกยางโทนใหญ่ นกกาน้ำ เป็นต้น 🟢 ธรรมชาติ (7) (10) • แคว้นเซนต์-หลุยส์ (Saint-Louis)
อุทยานแห่งชาตินิโอโคโล-โคบา (Niokolo-Koba National Park)      ทุ่งหญ้าสะวันนากว้างสุดลูกหูลูกตา สลับกับเนินเขาขนาดหย่อม บางก็เป็นที่ราบต่ำน้ำท่วมถึง ผืนป่าที่เป็นถิ่นอาศัยของนกกว่า 300 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า 70 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 80 ชนิด และมีจำนวนสัตว์แอนทีโลปอาศัยอยู่มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์นี้เองที่ทำให้อุทยานแห่งนี้เปรียบเสมือนสรวงสวรรค์แห่งแอฟริกันตะวันตก 🟢 ธรรมชาติ (10) • แคว้นโคลดา (Kolda)

• แคว้นทัมบาเคาน์ดา (Tambacounda)

  แทนซาเนีย ซากโบราณสถานคิลวา คิสิวานี และซองโก มนารา (Ruins of Kilwa Kisiwani and Ruins of Songo Mnara)      ซากปรักหักพังของเมืองท่าแอฟริกันตะวันออกที่ยิ่งใหญ่ทั้ง 2 เมืองนี้ ได้รับการชื่นชมจากนักสำรวจชาวยุโรปมาช้านาน ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13-16 พ่อค้าเมืองคิลวา มักประกอบอาชีพค้าขายทองคำ ไข่มุก เครื่องถ้วยชามอาหรับ และเครื่องปั้นดินเผาเปอร์เซีย ทำให้การค้าขายในแถบมหาสมุทรอินเดียคึกคักมากเป็นพิเศษ 🟡 วัฒนธรรม (3) • แคว้นลินดิ (Lindi)
อุทยานแห่งชาติเซอเรงเกติ (Serengeti National Park)      ทุ่งหญ้าสะวันนากว้างสุดลูกหูลูกตาที่ครอบคลุมพื้นที่มากสุดในแทนซาเนีย ถิ่นอาศัยของสัตว์ป่ากว่า 5 ล้านตัว ทำให้เกิดการอพยพประจำปีของเหล่าสัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Great Migration) จนจัดว่าเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดเหตุการณ์หนึ่งของโลก 🟢 ธรรมชาติ (7) (10) • แคว้นชินยังกา (Shinyanga)

• แคว้นมารา (Mara)

• แคว้นอรูชา (Arusha)

นครเยรูซาเลม เมืองเก่าเยรูซาเล็มและกำแพงเมือง (Old City of Jerusalem and its Walls) (F)      นครศักดิ์สิทธิ์ของศาสนายูดาห์ คริสต์ และอิสลาม มีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ ภายในประกอบไปด้วยโบราณสถานกว่า 220 แห่ง อาทิ มัสยิดอัล-อักศอหรือโดมแห่งศิลา (Al-Aqsa Mosque or Dome of the Rock) ที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ตกแต่งด้วยลวดลายเรขาคณิตและลายดอกไม้งดงาม, พระวิหารที่ 2 (Second Temple) แห่งศาสนายูดาห์ ก่อสร้างราว ๆ 537 ปีก่อนคริสต์ศักราช, กำแพงร้องไห้ (Wailing Wall) สิ่งก่อสร้างที่แบ่งเขตชุมชนต่างศาสนา และโบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ (Church of the Holy Sepulchre) หรือโบสถ์การคืนพระชนม์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวคริสต์ เพราะเป็นสถานที่ตรึงกางเขนพระเยซู และ ยังเป็น สถานที่ฝังพระศพของพระเยซู และเป็นที่ที่พระองค์ฟื้นคืนพระชนม์ เป็นต้น 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) (6) พื้นที่พิพาทระหว่าง   ปาเลสไตน์ กับ   อิสราเอล

• นครเยรูซาเลม (Jerusalem)

  ปากีสถาน ป้อมและสวนชาลามาร์แห่งลาฮอร์ (Fort and Shalamar Gardens in Lahore)      สถานที่ 2 แห่งนี้เป็นผลงานชิ้นเอกสมัยอารยธรรมโมกุล (Mughal) รุ่งเรืองที่สุดในยุคจักรพรรดิชาห์ชะฮัน (Shah Jahan) ในบริเวณป้อมมีพระราชวังหินอ่อนและสุเหร่าประดับด้วยหินโมเสกและทอง สวนที่สร้างอยู่ใกล้ ๆ เมืองลาฮอร์นั้นงดงามด้วยรูปแบบการก่อสร้างลดหลั่นกันเป็น 3 ระดับ มีห้องหับ น้ำตก และสระน้ำประดับตกแต่งอย่างสวยงาม 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) • แคว้นปัญจาบ (Punjab)
อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ที่มาคลี เมืองทัตตา (Historical Monuments at Makli, Thatta)      อดีตเมืองหลวงของ 3 ราชวงศ์ที่สืบต่อ ๆ กันมา เมื่อเข้าสู่ยุคการปกครองโดยจักรพรรดิโมกุลแห่งเดลลี (Mughal Empire in Delhi) เมืองนี้ก็ได้รับการประดับตกแต่งอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14-18 ซากเมืองและสุสาน แสดงให้เห็นอารยธรรมอันเก่าแก่ของแคว้นสินธ์ (Sindh) 🟡 วัฒนธรรม (3) • แคว้นสินธ์ (Sindh)
  ปานามา อุทยานแห่งชาติดาเรียน (Darien National Park)      อุทยานแห่งนี้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสองทวีปของโลกใหม่ มีระบบนิเวศอันหลากหลายรูปแบบ ทั้ง หาดทราย ชายฝั่งที่เต็มไปด้วยหิน ป่าโกงกาง ที่ลุ่มหนอง และป่าเขตร้อนในที่ต่ำและที่สูง มีสัตว์ป่าที่น่าสนใจ และชนเผ่าอินเดียนอาศัยอยู่ 🟢 ธรรมชาติ (7) (9) (10) • จังหวัดดาเรียน (Darién)
  ฝรั่งเศส โบราณสถานโรมันและโรมาเนสก์ที่อาร์ลส์ (Arles, Roman and Romanesque Monuments)      นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการปรับเมืองโบราณให้เข้ากับอารยธรรมยุโรปยุคกลาง เมืองแห่งนี้มีโบราณสถานโรมันอันน่าประทับใจมากมาย ทั้ง สนามกีฬา โรงละคร ทางเดินใต้ดิน ที่อาบน้ำของคอนสแตนติน สุสานอาลีสกอง กำแพงเมืองโบราณและลานฝึกทหาร ฯลฯ จนถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีเสน่ห์ที่สุดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน 🟡 วัฒนธรรม (2) (4) • จังหวัดบุช-ดูว์-โรน แคว้นพรอว็องซาลป์-โกตดาซูร์ (Bouches-du-Rhône, Provence-Alpes-Côte d'Azur)
โบสถ์นิกายซิสเตอร์เชียนที่ฟงเตอเน (Cistercian Abbey of Fontenay)      โบสถ์แบบเบอร์กันดีที่เคร่งขรึมแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นโดยนักบุญเบอร์นาร์ด (St Bernard) ใน ค.ศ. 1119 (ตรงกับ พ.ศ. 1662) ประกอบด้วยโบสถ์ ลานโล่งภายในโบสถ์มีทางเดิน ล้อมรอบด้วยเสาลอย โรงอาหาร ที่นอน โรงอบขนม และโรงทำเครื่องเหล็ก นี่เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของการพึ่งพาตนเองอย่างพอเพียงที่ชุมชนนักบวชนิกายซิสเตอร์เชียน (Cistercian) ในยุคแรกสุดถือปฏิบัติกัน 🟡 วัฒนธรรม (4) • จังหวัดโกต-ดอร์ แคว้นบูร์กอญ (Côte d'Or, Bourgogne)
มหาวิหารโนเทรอดามแห่งอาเมียงส์ (Amiens Cathedral)      มหาวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งในโบสถ์กอทิกแบบคลาสสิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 13 มีความโดดเด่นด้านการจัดวางผังอาคาร ความงามของรูปด้านภายในที่ทำเป็น 3 ชั้น และประติมากรรมบนผนัง โดยเฉพาะหินสลักขนาดใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดิน 22 พระองค์ 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) • จังหวัดซอม แคว้นปีการ์ดี (Somme, Picardie)
โรงละครโรมันและบริเวณแวดล้อมและ "ประตูชัย" แห่งโอรองช์ (Roman Theatre and its Surroundings and the "Triumphal Arch" of Orange)      โรงละครโบราณแห่งโอรองช์ ก่อสร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 10-25 (ตรงกับ พ.ศ. 553-568) มันสามารถรอดพ้นจากยุคจักรวรรดิโรมันล่มสลาย ยุคกลาง และยุคสงครามศาสนา จนถูกจัดให้เป็นหนึ่งในโรงละครโรมันอันยิ่งใหญ่ที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ส่วนประตูชัยตกแต่งด้วยประติมากรรมนูนต่ำ สร้างขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1-2 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ทหารผ่านศึกในช่วงสงคราม 🟡 วัฒนธรรม (3) (6) • จังหวัดโวกลูซ แคว้นพรอว็องซาลป์-โกตดาซูร์ (Vacluse, Provence-Alpes-Côte-d’Azur)
สวนและพระราชวังฟงแตนโบล (Palace and Park of Fontainebleau)      ตำหนักล่าสัตว์ยุคกลางแห่งฟงแตนโบล เป็นที่เสด็จประพาสของกษัตริย์ฝรั่งเศสมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ได้รับการเปลี่ยนรูปแบบ ขยาย และตกแต่งใหม่ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 (François I) ผู้ซึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงสถานที่นี้ให้เป็นโรมใหม่ (New Rome) พระราชวังแบบอิตาเลียนแห่งนี้ล้อมรอบด้วยอุทยานอันกว้างใหญ่ ศิลปะของพระราชวังเป็นแบบผสมผสานระหว่างเรอแนซ็องส์และฝรั่งเศส 🟡 วัฒนธรรม (2) (4) • จังหวัดแซน-แซ็ง-เดอนี แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ (Seine-et-Marne, Ile-de-France)
  โมร็อกโก มะดีนาแห่งเฟ็ซ (Medina of Fez) (F)      เมืองเฟ็ซ ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อดีตเมืองหลวงและเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์เมืองหนึ่งของศาสนาอิสลาม ได้รับการขนานนามว่า "มักกะฮ์แห่งตะวันตก และเอเธนส์แห่งแอฟริกา" เมืองที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก องค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างสำคัญเมืองแแแแแแแแแแ อาทิ สถานที่สอนศาสนาอิสลาม ย่านการค้า ที่พักคนเดินทาง พระราชวัง บ้านพักอาศัย และลานน้ำพุ ล้วนมีเก่าแก่ แม้กาลเวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน แต่เฟ็ซก็ยังคงสถานภาพความเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของประเทศได้เป็นอย่างดี 🟡 วัฒนธรรม (2) (5) • แคว้นเฟส-โบวเลเมน (Fès-Boulemane)
  เยอรมนี

(อดีตคือ เยอรมนีตะวันตก)

มหาวิหารสเปเยอร์ (Speyer Cathedral)      มหาวิหารที่ก่อตั้งโดยพระเจ้าคอนราดที่ 2 (Conrad II) ใน ค.ศ. 1030 (ตรงกับ พ.ศ. 1573) เป็นหนึ่งในโบราณสถานโรมาเนสก์ที่สำคัญที่สุดในยุคจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) อาสนวิหารแห่งนี้เป็นที่ฝังพระศพพระจักรพรรดิของเยอรมนีมาเป็นเวลาเกือบ 300 ปี 🟡 วัฒนธรรม (2) • รัฐไรน์แลนด์-พาลาทิเนต หรือไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ (Rhineland-Palatinate or Rheinland-Pfalz)
วังเวิร์ซบวร์ก พร้อมด้วยสวนและจตุรัสประจำสำนัก (Würzburg Residence with the Court Gardens and Residence Square)      วังแบบบาโรกที่ตระการตาแห่งนี้ เป็นหนึ่งในวังที่ใหญ่และสวยงามที่สุดในเยอรมนี ห้อมล้อมด้วยอุทยานงดงามหลายแห่ง ถูกสร้างขึ้นโดยการอุปถัมภ์ของเจ้าชาย–บาทหลวงสองพี่น้อง ก่อสร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1720-1744 (ตรงกับ พ.ศ. 2263-2287) การตกแต่งภายในแสดงให้เห็นถึงงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบบาโรก–โรโกโกชั้นเลิศ 🟡 วัฒนธรรม (1) (4) • รัฐบาวาเรีย หรือไบเอิร์น (Bavaria or Bayern)
  สหรัฐ อุทยานแห่งชาติถ้ำแมมมอธ (Mammoth Cave National Park)      อุทยานแห่งนี้มีโครงข่ายถ้ำธรรมชาติและทางใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการก่อตัวของหินปูน เป็นที่อาศัยของพืชพรรณและสัตว์ รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อีกจำนวนหนึ่ง มีค้างคาวเล็กสีน้ำตาล (Little Brown Bat) กุ้งถ้ำเคนทักกี (Kentucky Cave Shrimp) เป็นต้น 🟢 ธรรมชาติ (7) (9) • รัฐเคนทักกี (Kentucky)
อุทยานแห่งชาติโอลิมปิก (Olympic National Park)      อุทยานแห่งนี้มีชื่อเสียงในแง่ความหลากหลายทางระบบนิเวศ ยอดเขาปกคลุมด้วยธารน้ำแข็งแทรกด้วยทุ่งหญ้าอัลไพน์ ล้อมรอบด้วยป่าเก่าแก่อันกว้างใหญ่ มีระบบแม่น้ำสำคัญกว่า 11 สายไหลลงมาจากภูเขา เป็นถิ่นอาศัยที่ดีที่สุดในประเทศของปลาอพยพ อุดมไปด้วยสัตว์และพืชเฉพาะถิ่น รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (10) • รัฐวอชิงตัน (Washington)
  ออสเตรเลีย อุทยานแห่งชาติคาคาดู (Kakadu National Park)      อุทยานแห่งนี้แสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างการอนุรักษ์ด้านประวัติศาสตร์และธรรมชาติวิทยา บริเวณนี้เป็นแหล่งอาศัยที่ยาวนานกว่า 40,000 ปี มีจิตรกรรมผนังถ้ำ การสลักหิน และแหล่งโบราณคดีที่มีการบันทึกวิถีชีวิตของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งยังมีระบบนิเวศที่หลากหลาย เป็นถิ่นอาศัยของพืชและสัตว์ประจำถิ่นหายาก 🟠 ผสม (1) (6) (7) (9) (10) • ดินแดนนอร์เทิร์น (Northern)
แนวหินปะการังขนาดใหญ่ (Great Barrier Reef) (F)      เป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายและโดดเด่นทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยปะการังกว่า 400 ชนิด จัดว่าเป็นแหล่งที่มีปะการังจำนวนมากและมีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังปลากว่า 1,500 ชนิด สัตว์ประเภทหอยอีก 4,000 ชนิด เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เช่น พะยูน (Dugong) และเต่าตนุหรือเต่าทะเลสีเขียว (Green Sea Turtle) ขนาดใหญ่จำนวนมาก 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) (10) • รัฐควีนส์แลนด์ (Queensland)
ภูมิภาคทะเลสาบวิลลันดรา (Willandra Lakes Region)      ทะเลสาบขนาดมหึมาที่แห้งขอด จนปรากฏร่องรอยของซากดึกดำบรรพ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง มีการขุดค้นพบสัตว์และพืชโบราณ รวมทั้งซากกระดูกมนุษย์ที่มีอายุกว่า 40,000 ปี แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาวอะบอริจิน (Aborigine) ที่อาศัยอยู่ในทวีปออสเตรเลีย ปัจจุบันเป็นถิ่นอาศัยของพรรณพืชและสัตว์หลากหลายชนิดบนพื้นที่อันแห้งแล้ง 🟠 ผสม (3) (8) • รัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales)
  อาร์เจนตินา อุทยานแห่งชาติลอสกลาเซียเรส (Los Glaciares National Park) (F)      พื้นที่ที่มีความงามตามธรรมชาติ ประกอบด้วยภูเขาที่ขรุขระสูงเสียดฟ้า และทะเลสาบน้ำแข็งจำนวนมาก ที่ปลายสุดของทะเลสาบมีธารน้ำแข็ง 3 สายไหลมาบรรจบกัน เกิดเป็นภาพภูเขาน้ำแข็งขนาดยักษ์ที่ไหลลงสู่พื้นทะเลสาบจนสายน้ำแตกกระจาย สร้างเสียงดังกัมปนาทร่วงหล่นมาจากฟากฟ้า 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) • รัฐซานตากรุซ (Santa Cruz)

ค.ศ.1980 (การประชุมสมัยที่ 4) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 1-5 กันยายน พ.ศ. 2523 ณ กรุงปารีส   ฝรั่งเศส

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 20 ชาติสมาชิก คือ   กานา   ซูดาน   เซเนกัล   ตูนิเซีย   เนปาล   ไนจีเรีย   บัลแกเรีย   ปากีสถาน   ปานามา   ฝรั่งเศส   สวิตเซอร์แลนด์   สหรัฐ   ออสเตรเลีย   อาร์เจนตินา   อิตาลี   อิรัก   อิหร่าน   อียิปต์   เอกวาดอร์   แอลจีเรีย

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 27 แห่ง (🟡 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 22 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 5 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  กานา อาคารพื้นถิ่นของอะซันเต (Asante Traditional Buildings)      อาคารเหล่านี้เป็นสิ่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ของอารยธรรมอะซันเต (Asante) อันยิ่งใหญ่ ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาคารต่าง ๆ สร้างด้วยดิน ไม้ และฟาง จึงอาจมีความเปราะบางบ้างไปตามกาลเวลาและสภาพดินฟ้าอากาศ 🟡 วัฒนธรรม (3) • แคว้นอะชานตี (Ashanti)
  ซีเรีย เมืองโบราณบอสรา (Ancient City of Bosra)      อดีตเมืองหลวงของโรมัน จุดแวะพักที่สำคัญในเส้นทางคาราวานสู่นครเมกกะ ภายในกำแพงอันสูงใหญ่มีโบราณสถานมากมาย อาทิ โรงละครโรมันยุคคริสต์ศตวรรษที่ 2 ซากสิ่งก่อสร้างยุคต้นคริสต์ศาสนา และมัสยิดอีกหลายแห่ง 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (6) • เขตผู้ว่าการดารา (Daraa)
แหล่งแพลไมรา (Site of Palmyra)      โอเอซิสกลางทะเลทรายซีเรีย สถานที่ตั้งของซากโบราณสถานของเมืองอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดในโลกยุคโบราณตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1-2 ศิลปะและสถาปัตยกรรมของแพลไมรายังตั้งอยู่ที่จุดตัดของอารยธรรมหลายอารยธรรม ทำให้เกิดการผสมผสานกัน ระหว่างเทคนิคก่อสร้างแบบกรีก-โรมัน และอิทธิพลท้องถิ่นอย่างเปอร์เซีย 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (4) • เขตผู้ว่าการฮอมส์ (Homs)
  ไซปรัส แพฟอส (Paphos) (F)      แหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินใหม่ เป็นศูนย์กลางของลัทธิบูชาเทพีแอโฟรไดที และเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ก่อนยุคเฮลเลนิสติก (Pre-Hellenistic) ที่นี่มีซากปรักหักพังมากมาย ทั้ง บ้านชนบทคหบดี พระราชวัง โรงมหรสพ ป้อม และสุสาน ที่บ่งบอกถึงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์กว่าพันปี 🟡 วัฒนธรรม (3) (6) • เขตแพฟอส (Paphos)
  ตูนิเซีย อุทยานแห่งชาติอิคเคอุล (Ichkeul National Park)      ทะเลสาบอิคเคอุลและพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นจุดแวะพักสำคัญของนกอพยพจำนวนนับพันซึ่งพากันโบยบินมาหาอาหารและทำรัง ณ ที่แห่งนี้ อิคเคอุลยังเป็นทะเลสาบแห่งเดียวที่หลงเหลืออยู่ของแนวห่วงโซ่ทะเลสาบที่เคยทอดข้ามบริเวณแถบแอฟริกาเหนือ 🟢 ธรรมชาติ (10) • เขตบันซัรต์ (Bizerta)
  นอร์เวย์ เมืองกิจการเหมืองเรอโรส (Røros Mining Town and the Circumference)      เหมืองทองแดงนี้ตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และได้ใช้งานเป็นเวลา 333 ปี ก่อนที่เมืองแห่งนี้จะก็ได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ใน ค.ศ. 1977 (ตรงกับ พ.ศ. 2520) หลังถูกทำลายโดยกองทัพสวีเดน ในเมืองมีบ้านไม้ประมาณ 80 หลัง ส่วนใหญ่สร้างล้อมรอบพื้นที่เปิดโล่งตรงกลาง บ้านหลายหลังยังคงทาผนังบ้านภายนอกด้วยน้ำมันดินจนเป็นสีดำคล้ำหมือนเมื่อหลายร้อยปีก่อน ทำให้เมืองนี้มีลักษณะละม้ายกับเมืองยุคกลางไม่มีผิดเพี้ยน 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) (5) • เทศมณฑลเทรินเดอลาก (Trøndelag)
  บราซิล ย่านประวัติศาสตร์เมืองโอโรเปรโต (Historic Town of Ouro Preto) (F)      ก่อตั้งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมืองแห่งนี้เป็นจุดศูนย์กลางของการตื่นทองและยุคทองของบราซิล เมื่อแร่ทองคำหมดลงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อิทธิพลของเมืองนี้ก็ค่อย ๆ เสื่อมไป เหลือไว้เพียงโบสถ์ สะพาน ลานน้ำพุ และประติมากรบาโรกของประติมากรและสถาปนิกชาวบราซิล นามว่า "อาเลยาดินโย (Aleijadinho)" 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) • รัฐมีนัสเชไรส์ (Minas Gerais)
  ปากีสถาน กลุ่มซากโบราณคดีที่โมเอนโจดาโร (Archaeological Ruins at Moenjodaro) (F)      ซากนครขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในหุบเขาอินดัส ก่อสร้างด้วยอิฐดิบ เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมืองบริวารที่ตั้งอยู่บนเขื่อนสูง กำแพงดิน และตัวเมืองที่ลดหลั่นลงมา แสดงให้เห็นถึงระบบการวางผังเมืองอันยอดเยี่ยมของยุคสมัยโบราณ 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) • แคว้นสินธ์ (Sindh)
กลุ่มซากโบราณสถานพุทธศาสนาแห่งตักห์ติบาไฮ และซากเมืองใกล้เคียงที่ซาห์ริบาลอล (Buddhist Ruins of Takht-i-Bahi and Neighbouring City Remains at Sahr-i-Bahlol)      สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาแห่งตักห์ติบาไฮ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง จึงรอดจากการรุกรานและยังคงอยู่ในสภาพดี ที่แห่งนี้คือแหล่งกำเนิดพระพุทธรูปยุคคันธาระที่ถูกจัดให้เป็นงานพุทธศิลป์ระดับโลก ซึ่งใกล้ ๆ กันนั้นก็ยังมีซากเมืองซาห์ริบาลอลที่สร้างขึ้นในยุคสมัยเดียวกันตั้งอยู่ด้วย 🟡 วัฒนธรรม (4) • แคว้นไคเบอร์ ปัคตูนควา (Khyber Pakhtunkhwa)
ตักศิลา (Taxila)      จากยุคหินโบราณแห่งซาไรกาลา (Saraikala) จวบจนเป็นส่วนหนึ่งของชีร์แค๊ป (Sirkap) และเซอร์ซัคห์ (Sirsukh) เมืองแห่งนี้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของการพัฒนาเมืองที่ได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย กรีก และเอเชียกลาง มีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางด้านการศึกษาพระพุทธศาสนา 🟡 วัฒนธรรม (3) (6) • แคว้นปัญจาบ (Punjab)
  ปานามา ป้อมปราการทางทะเลแคริบเบียนของปานามา : ปอรโตเบลโล–ซาน ลอเรนโซ (Fortifications on the Caribbean Side of Panama: Portobelo–San Lorenzo) (F)      ตัวอย่างอันน่าอัศจรรย์ของสถาปัตยกรรมทางการทหารยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ป้อมบนฝั่งทะเลแคริบเบียนที่ก่อสร้างขึ้นโดยสเปน สำหรับปกป้องเส้นทางการค้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ภายในสถานที่แห่งนี้มีทั้งอาคาร ค่ายทหาร และป้อมปราการที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นและสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก

     พอเข้าสู่ปี ค.ศ.1848-1855 (ตรงกับ พ.ศ. 2391-2398) กระแสตื่นทองในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (California Gold Rush) เป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดเหล่านักแสวงโชคจากทั่วทุกมุมโลก ป้อมแห่งนี้จึงมีบทบาทอีกครั้งในฐานะ "ที่พักกลางทางของคณะนักแสวงโชค" ก่อนจะหมดความสำคัญและถูกทิ้งร้างถาวร

🟡 วัฒนธรรม (1) (4) • จังหวัดโคลอน (Colon)
  โปแลนด์ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์แห่งวอร์ซอว์ (Historic Centre of Warsaw)      ระหว่างการปฏิวัติวอร์ซอว์ (Warsaw Uprising) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 (ตรงกับ พ.ศ. 2487) มากกว่าร้อยละ 85 ของย่านประวัติศาสตร์แห่งนี้ได้ถูกทำลายลงโดยกองทหารนาซี หลังจากสงครามที่กินเวลานานกว่า 5 ปี ชาววอร์ซอว์จึงร่วมกันบูรณะเมืองเก่าอย่างประณีต เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของการลงมือบูรณะปฏิสังขรณ์เกือบเต็มรูปแบบของช่วงประวัติศาสตร์ 🟡 วัฒนธรรม (2) (6) • จังหวัดแมโซเวีย (Masovia)
  มอนเตเนโกร

(อดีตคือ ยูโกสลาเวีย)

อุทยานแห่งชาติเดอร์มิตอร์ (Durmitor National Park)      อุทยานแห่งชาติอันน่าตื่นตาตื่นใจแห่งนี้ เกิดขึ้นจากธารน้ำแข็งและการเคลื่อนตัวของธารน้ำแข็งโดยแม่น้ำและสายน้ำใต้ดิน ตลอดแนวหุบแม่น้ำทารา (Tara) ซึ่งมีโตรกผาที่ลึกที่สุดในยุโรป มีป่าสนที่หนาทึบแทรกด้วยทะเลสาบน้ำใสสะอาด เป็นแหล่งพืชเฉพาะถิ่นหลากชนิด 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (10) • เทศบาลเมืองซาบยัค (Žabljak)
  มอลตา นครวัลเลตตา (City of Valletta) (F)      เมืองหลวงของมอลตา ที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวฟีนิเชียน กรีก คาร์เธจ โรมัน ไบแซนไทน์ อาหรับ และอัศวินกลุ่มออร์เดอร์ของนักบุญจอห์นแห่งเยรูซาเล็ม (Order of St John of Jerusalem) โบราณสถานกว่า 320 แห่งในวัลเลตตา รวมอยู่ในพื้นที่ 0.55 ตารางกิโลเมตร หรือกว่า 343.75 ไร่ ทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในย่านประวัติศาสตร์ที่มีโบราณสถานหนาแน่นที่สุดในโลก 🟡 วัฒนธรรม (1) (6) •แคว้นเซาท์อีสเทิร์น (South Eastern)
วิหารหินใหญ่แห่งมอลตา (Megalithic Temples of Malta)      วิหารที่สร้างด้วยก้อนหินขนาดใหญ่ สะท้อนให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมชิ้นเยี่ยมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แม้ผู้สร้างจะใช้วัสดุอย่างจำกัด แต่ที่นี่ก็เป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้คนรุ่นหลังทราบว่ามอลตามีองค์ความรู้การสร้างวิหารสืบต่อกันมาอย่างไร 🟡 วัฒนธรรม (4) • แคว้นโกโซ (Gozo)

• แคว้นเซ็นทรัล (Central)

• แคว้นเซาท์เทิร์น (Southern)

• แคว้นเซาท์อีสเทิร์น (South Eastern)

• แคว้นนอร์ทเทิร์น (Northern)

ฮัล ซาฟลิเอนี ไฮโพเจียม (Hal Saflieni Hypogeum)      โครงสร้างใต้ดินขนาดมหึมาที่ขุดขึ้นเมื่อราว 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช) โดยใช้อุปกรณ์การยกขนาดยักษ์ในการยกหินปูนปะการังที่มีขนาดใหญ่โต เดิมสถานที่แห่งนี้อาจเคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ก่อนที่ต่อมาจะถูกใช้เป็นสุสานในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 🟡 วัฒนธรรม (3) • แคว้นเซาท์อีสเทิร์น (South Eastern)
  สหรัฐ อุทยานแห่งชาติเรดวูด (Redwood National Park)      อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ ประกอบด้วย ภูเขาชายฝั่งทอดตัวตามแนวขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทางเหนือ ปกคลุมด้วยทิวป่าหนาทึบของต้นเรดวูดชายฝั่ง (Coastal Redwood Trees) ต้นไม้สูงที่สุดและน่าประทับใจที่สุดของโลก ชีวิตในทะเลและบนบกคราคร่ำไปด้วยสิ่งมีชีวิตน่าทึ่งมากมาย โดยเฉพาะนกอินทรีหัวล้าน (Bald Eagle) นกกระทุงสีน้ำตาลแคลิฟอร์เนีย (California Brown Pelican) สิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย (California Sea Lion) 🟢 ธรรมชาติ (7) (9) • รัฐแคลิฟอร์เนีย (California)
  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

(อดีตคือ ซาอีร์)

อุทยานแห่งชาติการัมบา (Garamba National Park)      ทุ่งหญ้าสะวันนาและป่าอันกว้างใหญ่ของอุทยานแห่งนี้ เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ได้แก่ ยีราฟ ฮิปโปโปเตมัส ช้างแอฟริกัน ละมั่งแอฟริกัน และยังเป็นถิ่นอาศัยแหล่งสุดท้ายของ "แรดขาวเหนือ (Northern White Rhinoceros)" แม้ว่าพวกมันจะมีขนาดใหญ่โตกว่าแรดดำ แต่แรดชนิดนี้กลับไม่เป็นภัยอันตราย ด้วยเหตุนี้พวกมันจึงมีจำนวนหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ตัว จนอยู่ในสถานะมีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ 🟢 ธรรมชาติ (7) (10) • จังหวัดกาซาอี ออเรียงตาล (Kasaï Orientale)
อุทยานแห่งชาติคาฮูซี–บิเอกา (Kahuzi–Biega National Park)      พื้นที่อันกว้างใหญ่ของป่าเขตร้อนดั้งเดิม ซึ่งมีภูเขาไฟที่ดับแล้วตระหง่านอยู่ 2 ลูก คือ ภูเขาไฟคาฮูซี (Kahuzi) และภูเขาไฟบิเอกา (Biega) แตกต่างจากเขตทุ่งหญ้าสะวันนา ทำให้ที่นี่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นถิ่นอาศัยของช้างแอฟริกัน หมูป่า ลิงชิมแปนซี แอนทีโลป ละมั่งแอฟริกัน หรือสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบเห็นได้ในอุทยานนี้เท่านั้น คือ ลิงหน้านกฮูก (Hamlyn's Monkey) ค้างคาวเกือกม้ารูเวนโซรี (Ruwenzori Horseshoe Bat) นกยูงคองโก (Congo Peacock) และยังเป็นถิ่นอาศัยของ "กอริลลาที่ราบลุ่มตะวันออก (Eastern Lowland Gorilla)" สัตว์ที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ ที่เหลืออยู่เพียง 200-300 ตัวเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นกอริลลาที่ราบลุ่มตะวันออกกลุ่มสุดท้ายโลกใบนี้ 🟢 ธรรมชาติ (10) • จังหวัดเซาท์-กีวู (South-Kivu)

• จังหวัดมานีมา (Maniema)

  อิตาลี โบสถ์ซานตามาเรียเดลเลกราซี และจิตรกรรมฝาผนัง “พระกระยาหารมื้อสุดท้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี และคอนแวนต์ในลัทธิโดมินิกัน (Church and Dominican Convent of Santa Maria delle Grazie with "The Last Supper" by Leonardo da Vinci)      โรงอาหารของคอนแวนต์ซานตามาเรียเดลเลกราซี (Santa Maria delle Grazie) เป็นองค์ประกอบสำคัญของกลุ่มสถาปัตยกรรมนี้ เริ่มก่อตั้งใน ค.ศ. 1463 (ตรงกับ พ.ศ. 2006) ที่ผนังทิศเหนือประดับด้วยภาพ "พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper)" ถือว่าเป็นผลงานชิ้นเอกที่ไม่มีงานจิตรกรรมใดเทียบเทียม เขียนขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1495-1497 (ตรงกับ พ.ศ. 2038-2040) โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ซึ่งผลงานของเขาได้เป็นการเปิดยุคสมัยใหม่ในประวัติศาสตร์ศิลปะ 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) • จังหวัดมิลาน แคว้นลอมบาร์ดี (Milan, Lombardy)
  อิตาลี

  นครรัฐวาติกัน (F)

ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์แห่งกรุงโรม เขตปกครองพิเศษของพระสันตะปาปา และซานเปาโลฟูโอรี เล มูรา (Historic Centre of Rome, the Properties of the Holy See in that City Enjoying Extraterritorial Rights and San Paolo Fuori le Mura)      ตำนานกล่าวว่าโรมก่อตั้งเมื่อ 753 ก่อนคริสต์ศักราช (ตรงกับ 210 ก่อนพุทธศักราช) เริ่มแรกเป็นเพียงศูนย์กลางของสาธารณรัฐโรมัน (Roman Republic) ก่อนที่จะเป็นจักรวรรดิโรมัน (Roman Empire) จากนั้นก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางของคริสตจักรในคริสต์ศตวรรษที่ 4

     มรดกโลกแหล่งนี้ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานสำคัญ ๆ มากมาย ได้แก่ จัตุรัสโรมัน (Roman Forum), สุสานจักรพรรดิออกุสตุส (Mausoleum of Augustus), สุสานจักรพรรดิฮาเดรียน (Mausolem of Hadrian), วิหารแพนธีออน (Pantheon), เสาของทราจัน (Trajan’s Column) และเสาของมาร์คุส ออเรลิอุส (Column of Marcus Aurelius) รวมถึงศาสนสถานและอาคารสาธารณะของโรมในเขตปกครองของพระสันตะปาปาอีกจำนวนมาก

🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (6)   อิตาลี

• กรุงโรม แคว้นลัตซีโย (Rome, Lazio)


  นครรัฐวาติกัน

• นครรัฐวาติกัน (Vatican City State)

  เอธิโอเปีย ติยา (Tiya)      หนึ่งในแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งจากจำนวน 160 แหล่ง ในพื้นที่แห่งนี้มีโบราณสถานกว่า 36 แห่ง ประกอบด้วยแท่งหินแกะสลักที่เป็นภาพสัญลักษณ์ 32 แท่ง สัญลักษณ์ส่วนใหญ่ยากที่จะตีความ แต่นั่นคือหลักฐานชิ้นสำคัญของอารยธรรมเอธิโอเปียโบราณ 🟡 วัฒนธรรม (1) (4) • แคว้นเซาเทิร์น เนชัน เนชันเนลลิตี แอนด์พีเพิลส์ (Southern Nation Nationalities & Peoples)
หุบเขาอาวาชตอนล่าง (Lower Valley of the Awash)      แหล่งโบราณคดีดึกดำบรรพ์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของทวีปแอฟริกา แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ การค้นพบที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดก็คือ การขุดพบซากโครงกระดูกมนุษย์คนแรกของโลก นามว่า "ลูซี (Lucy)" ที่มีอายุกว่า 4.4 ล้านปี ใน ค.ศ. 1974 (ตรงกับ พ.ศ. 2517) 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) (4) • แคว้นอาฟาร์ (Afar)
หุบเขาโอโมตอนล่าง (Lower Valley of the Omo)      พื้นที่ก่อนประวัติศาสตร์ใกล้ทะเลสาบเทอร์คานา (Turkana) มีชื่อเสียงไปทั่วโลกด้วยการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หลายซาก โดยเฉพาะโฮโมกราซิลิส (Homo Gracilis) ทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งศึกษาวิวัฒนาการที่สำคัญของมวลมนุษยชาติ 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) • แคว้นเซาเทิร์น เนชัน เนชันเนลลิตี แอนด์พีเพิลส์ (Southern Nation Nationalities & Peoples)
อักซุม (Aksum)      ซากปรักหักพังของเมืองโบราณอักซุม ตั้งอยู่บนตำแหน่งใจกลางเอธิโอเปียโบราณ เมื่ออาณาจักรอักซุมเป็นรัฐที่มีอิทธิพลสูงสุดระหว่างจักรวรรดิโรมันตะวันออกและเปอร์เซีย ซากโบราณสถานอันใหญ่โตอายุสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 1-13 ทั้งแท่งหินโอเบลิสก์ แผ่นหินสลักขนาดยักษ์ สุสานหลวง ซากปราสาทโบราณ ตลอดจนโบสถ์ที่ชาวเอธิโอเปียเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของหีบแห่งพันธสัญญา (Ark of the Covenant) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิล 🟡 วัฒนธรรม (1) (4) • แคว้นทิเกรย์ (Tigray)
  แอลจีเรีย อัลคาลาแห่งเบนีฮัมหมัด (Al Qala of Beni Hammad) (F)      พื้นที่อันงดงามกลางขุนเขา ที่ตั้งของซากโบราณสถานอันเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของเอเมียร์ แห่งสกุลฮัมหมัด (Hammadid) ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1007 (ตรงกับ พ.ศ. 1550) และถูกทำลายลงใน ค.ศ. 1552 (ตรงกับ พ.ศ. 1695) ทิ้งไว้เพียงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ ทั้งป้อมปราการของมุสลิมแบบดั้งเดิม และหนึ่งในมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในแอลจีเรีย 🟡 วัฒนธรรม (3) • จังหวัดมซิลา (M'Sila)
  ฮอนดูรัส แหล่งอารยธรรมมายาที่โคปาน (Maya Site of Copan) (F)      ซากปรักหักพังของโคปาน แหล่งอารยธรรมมายา (Maya) ที่สำคัญที่สุด ถูกค้นพบใน ค.ศ. 1570 (ตรงกับ พ.ศ. 2113) เมืองที่เคยเจริญสูงสุดในศตวรรษที่ 5 ร่องรอยโบราณสถาน แผ่นศิลาจารึกแนวตั้ง และประติมากรรมของอาคารต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงศิลปกรรมชั้นเยี่ยมจากอารยธรรมเมโสอเมริกาที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน 🟡 วัฒนธรรม (4) (6) • จังหวัดโคปาน (Copan)

ค.ศ.1979 (การประชุมสมัยที่ 3) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 22-26 ตุลาคม พ.ศ. 2522 ณ เมืองลักซอร์   อียิปต์

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 20 ชาติสมาชิก คือ   กานา   ซูดาน   เซเนกัล   ตูนิเซีย   เนปาล   ไนจีเรีย   บัลแกเรีย   ปากีสถาน   ปานามา   ฝรั่งเศส   สวิตเซอร์แลนด์   สหรัฐ   ออสเตรเลีย   อาร์เจนตินา   อิตาลี   อิรัก   อิหร่าน   อียิปต์   เอกวาดอร์   แอลจีเรีย

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 45 แห่ง (🟡 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 34 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 8 แห่ง / 🟠 มรดกโลกแบบผสม 3 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  กานา ป้อมและปราสาท แคว้นโวลตา แคว้นเกรตเตอร์อักครา แคว้นเซ็นทรัล และแคว้นเวสเทิร์น (Forts and Castles, Volta, Greater Accra, Central and Western Regions) (F)      สถานีการค้าที่มีป้อมปราการและอาคารพาณิชย์ตามแนวชายฝั่ง ก่อตั้งโดยชาวโปรตุเกสยุคล่าอาณานิคม

จุดเชื่อมต่อเส้นทางการค้าทาสที่สำคัญแห่งหนึ่งในมหาสมุทรแอตแลนติก เคยมีบรรพบุรุษชาวแอฟริกันกว่า 20 ล้านคน ถูกค้าขายจากสถานที่แห่งนี้ไปยังแผ่นดินยุโรปและอเมริกา

🟡 วัฒนธรรม (6) • แคว้นวอลตา (Volta)

• แคว้นเกรตเตอร์อักครา (Greater Accra)

• แคว้นเซ็นทรัล (Central)

• แคว้นเวสเทิร์น (Western)

  กัวเตมาลา อุทยานแห่งชาติติกัล (Tikal National Park) (F)      ใจกลางป่าดิบชื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และถิ่นอาศัยของสัตว์และพืชนานาชนิด ยังเป็นที่ตั้งของซากเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่สุดของอารยธรรมมายา (Mayan) ที่มีอายุตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสตกาล ประกอบไปด้วย สิ่งปลูกสร้างมากกว่า 3,000 หลัง ที่นี่เคยเป็นอดีตศูนย์กลาง การปกครอง เศรษฐกิจ การทหาร และเป็นจุดเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่น ๆ ในดินแดนเมโสอเมริกา 🟠 ผสม (1) (3) (4) (9) (10) • จังหวัดเอลเปเตง (El Peten)
แอนติกัว กัวเตมาลา (Antigua Guatemala)      เมืองแห่งนี้เคยเป็นถึงเมืองหลวงของอเมริกากลาง ภายใต้การปกครองของราชสำนักสเปน ช่วง ค.ศ. 1541 (ตรงกับ พ.ศ. 2084) ทำให้ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมในยุคล่าอาณานิคม และยังคงหลงเหลือร่องรอย โบราณสถานอันทรงคุณค่ามาจนถึงปัจจุบัน 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) (4) • จังหวัดซากาเตเปเกซ (Sacatepéquez)
  แคนาดา อุทยานไดโนเสาร์จังหวัดปาร์ก (Dinosaur Provincial Park)      นอกจากทิวทัศน์ที่งดงามแล้ว อุทยานไดโนเสาร์แห่งนี้ยังมีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญ จากยุคสัตว์เลื้อยคลาน (Age of Reptiles) โดยเฉพาะการขุดพบซากโครงกระดูกไดโนเสาร์ 35 ชนิด ที่มีอายุกว่า 75 ล้านปี จนอุทยานไดโนเสาร์แห่งนี้ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) • รัฐแอลเบอร์ตา (Alberta)
  แคนาดา   สหรัฐ คลูเอน / แรงเกลล์-เซนต์ เอเลียส / กลาเซียร์ เบย์ / ทัทเชนชินี-อัลเซค (Kluane / Wrangell-St. Elias / Glacier Bay / Tatshenshini-Alsek)      อุทยานเหล่านี้ ประกอบด้วย กลุ่มธารน้ำแข็งและยอดเขาสูงที่น่าประทับใจในบริเวณ 2 ด้านของชายแดนระหว่างประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ภูมิทัศน์อันน่าตื่นตาตื่นใจเหล่านี้เป็นถิ่นอาศัยของหมีกริซลี (Grizzly Bear) กวางคาริบู (Caribou) แกะดาลล์ (Dall Sheep) ทั้งยังมีทุ่งน้ำแข็งที่มิได้อยู่ในเขตขั้วโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลก 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) (10)   แคนาดา

• รัฐบริติชโคลัมเบีย (British Columbia)

• ดินแดนยูคอน (Yukon)


  สหรัฐ

• รัฐอะแลสกา (Alaska)

  โครเอเชีย

(อดีตคือ ยูโกสลาเวีย)

กลุ่มสิ่งก่อสร้างประวัติศาสตร์ของสปลิต พร้อมด้วยพระราชวังของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน (Historical Complex of Split with the Palace of Diocletian)      กลุ่มสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ ประกอบด้วย พระราชวังของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน (Diocletian) สร้างขึ้นปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 อาสนวิหารที่สร้างในยุคกลางโดยการนำวัสดุจากหลุมศพโบราณมาใช้ โบสถ์โรมาเนสก์ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 12-13 ป้อมปราการในยุคกลาง พระราชวังกอทิกยุคคริสต์ศตวรรษที่ 15 และพระราชวังอื่น ๆ แบบเรอเนสซองส์และบาโรก ซึ่งทั้งหมดล้วนงดงามตามแบบฉบับของตนเอง สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านของแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) (4) • เทศมณฑลสปริต-เดลเมเชีย (Split-Dalmatia)
เมืองเก่าดูบรอฟนิก (Old City of Dubrovnik) (F)      เมืองที่ได้รับสมญานามว่า "ไข่มุกแห่งทะเลเอเดรียติก” เป็นเมืองสำคัญที่มีอิทธิพลในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ทั้ง ด้านการค้า ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และการผังเมืองที่เป็นระเบียบ เมืองแห่งนี้ถูกโอบล้อมไปด้วยกำแพงที่มีอายุเก่าแก่กว่า 900 ปี ภายในมีปราสาท วิหาร หอระฆัง และผลงานศิลปกรรมทรงคุณค่ามากมาย 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (4) • เทศมณฑลดูบรอฟนิก-เนเรตวา (Dubrovnik-Neretva)
อุทยานแห่งชาติทะเลสาบพลิตไวซ์ (Plitvice Lakes National Park)      น้ำที่ไหลผ่านหินปูนและหินชอล์กเป็นเวลาพัน ๆ ปี ได้ก่อให้เกิด "กำแพงหินตะกอน ทราเวอร์ทีน (Travertine Barriers)" ที่ทำหน้าที่เหมือนเขื่อนธรรมชาติ ทำให้เกิดทะเลสาบ ถ้ำ และน้ำตกที่สวยงาม กระบวนการทางธรณีวิทยาดังกล่าวยังคงดำเนินอยู่มาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ป่าในเขตอุทยานยังเป็นถิ่นอาศัยของหมี สุนัขป่า และนกหายากหลากชนิด 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) • เทศมณฑลคาร์โลวัตส์ (Karlovac)

• เทศมณฑลลีคา-เซนย์ (ika-Senj)

  ซีเรีย เมืองโบราณดามัสกัส (Ancient City of Damascus) (F)      เมืองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในตะวันออกกลาง ก่อตั้งขึ้นในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช เมืองนี้เป็นศูนย์กลางอันรุ่งเรืองของงานหัตถกรรม โดยเฉพาะงานตีดาบและผ้าลูกไม้ ในตัวเมืองประกอบด้วย โบราณสถาน ประมาณ 125 แห่งจากยุคสมัยต่าง ๆ เช่น มัสยิดใหญ่ของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (Great Mosque of the Umayyads) หนึ่งในมัสยิดที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) (6) • เขตผู้ว่าการดามัสกัส (Damascus)
  เซอร์เบีย

(อดีตคือ ยูโกสลาเวีย)

สตารีราส และซอพอตชานี (Stari Ras and Sopocani) (F)      ที่ชานเมืองสตารีราส เมืองหลวงแห่งแรกของเซอร์เบีย มีกลุ่มสิ่งก่อสร้างยุคกลางที่น่าประทับใจ ทั้งป้อม โบสถ์ และอาราม โดยอารามที่ซอพอตชานี (Monastery at Sopocani) เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อระหว่างอารยธรรมตะวันตกกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) ได้เป็นอย่างดี 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) • เขตราสกา (Raska)
  แทนซาเนีย พื้นที่อนุรักษ์โงรองโกโร (Ngorongoro Conservation Area) (F)      พื้นที่อนุรักษ์ที่มีสภาพเป็นปล่องภูเขาไฟ จัดว่าเป็นปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในเป็นถิ่นอาศัยของชาวมาซาย (Maasai) และสัตว์ป่ากว่า 25,000 ตัว ทั้งยังเป็นแหล่งค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของโฮโม ฮาบิลิส (Homo Habilis) มนุษย์วานรยุคแรก ๆ ของมนุษย์ปัจจุบัน และออสตราโลพิธิคัส บอยซิไอ (Australopheticus Boisei) มนุษย์วานรลักษณะคล้ายกอริลลา ที่มีอายุราว ๆ 2.5-3 ล้านปี 🟠 ผสม (4) (7) (8) (9) (10) • แคว้นอรูชา (Arusha)
  ตูนิเซีย มะดีนาแห่งตูนิส (Medina of Tunis) (F)      ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อัลโมฮัด (Almohad) และฮัฟซิด (Hafsid) ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12-16 เมืองแห่งนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่ยิ่งใหญ่และมั่งคั่งที่สุดในโลกอิสลาม โบราณสถานราว ๆ 700 แห่ง ทั้งพระราชวัง มัสยิด สุสาน สถานที่สอนศาสนา และบ่อน้ำพุ สะท้อนให้เห็นถึงอดีตอันยิ่งใหญ่และเกรียงไกรของเมือง ๆ นี้ 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) (5) • เขตซูสส์ (Sousse)
สนามกีฬาแห่งอัลเจม (Amphitheatre of El Jem)      ซากปรักหักพังของสนามกีฬาการต่อสู้ที่ใหญ่ที่สุดในแถบแอฟริกาเหนือ สามารถจุผู้ชมได้สูงถึง 35,000 คน ถูกค้นพบในหมู่บ้านเล็ก ๆ นามว่า 'อัลเจม' โบราณสถานแห่งนี้ถูกสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 3 แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และอิทธิพลอันกว้างไกลของจักรวรรดิโรมัน 🟡 วัฒนธรรม (4) (6) • เขตมะฮ์เดียะอ์ (Mahdia)
แหล่งโบราณคดีคาร์เธจ (Archaeological Site of Carthage)      เมืองคาร์เธจ ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 6 คาร์เธจก็ได้พัฒนาเป็นอาณาจักรการค้าที่ยิ่งใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่แถบเมดิเตอร์เรเนียนและเป็นอู่อารยธรรมอันโดดเด่นในช่วงสงครามพิวนิก (Punic Wars) ก่อนจะถูกทำลายโดยชาวโรมันช่วง 146 ก่อนคริสต์ศักราช 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) (4) • เขตตูนิส (Tunis)
  นอร์เวย์ โบสถ์ไม้แห่งอูร์เนส (Urnes Stave Church) (F)      หนึ่งในโบสถ์ขั้นบันไดที่เก่าแก่ที่สุดในนอร์เวย์ สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 ตัวอย่างสถาปัตยกรรมไม้ของสแกนดิเนเวีย หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง การซึมซับ และการยอมรับศาสนาคริสต์ของวัฒนธรรมไวกิง 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) • เทศมณฑลเวสต์แลนด์ (Vestland)
ย่านท่าเรือเก่าบริกเกิน (Bryggen)      ย่านท่าเรือและกลุ่มอาคารไม้เก่าแก่ สิ่งย้ำเตือนถึงความสำคัญของเมืองแห่งนี้ ในฐานะอดีตแหล่งค้าขาย ส่วนหนึ่งของสมาคมการค้าสันนิบาตฮันเซียติก (Hanseatic League) สมาคมการค้าที่รุ่งเรืองมากในทวีปยุโรป ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 🟡 วัฒนธรรม (3) • เทศมณฑลเวสต์แลนด์ (Vestland)
  เนปาล หุบเขากาฐมาณฑุ (Kathmandu Valley) (F)      ในอดีตหุบเขาแห่งนี้เป็นชุมทางการค้าสำคัญบนเส้นทางการค้าระหว่างทิเบตและอินเดีย เป็นดินแดนของกษัตริย์แห่งราชวงศ์มัลละ (Malla) ที่ปกครองดินแดนแถบนี้มายาวนานกว่า 800 ปี อนุสรณ์สถานและอาคารต่าง ๆ รวม 7 กลุ่มสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองด้านการผสมผสานวัฒนธรรมระหว่างศาสนาพุทธนิกายมหายานและฮินดู ตลอดจนศิลปะอันงดงามอ่อนช้อยได้อย่างกลมกลืน 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) (6) • จังหวัดบากมาติ (Bagmati)
อุทยานแห่งชาติสคารมถะ (Sagarmatha National Park)      นอกจากจะมีภูเขาเอเวอร์เรสต์ที่สูงตระหง่านแล้ว บริเวณแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยภูเขาธารน้ำแข็ง หุบผาลึก สัตว์หายาก ทั้งเสือดาวหิมะ และหมีแพนด้า ตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเศรปา (Sherpas) ชนเผ่าพื้นเมืองที่มีวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ 🟢 ธรรมชาติ (7) • จังหวัดหมายเลข 1 (No.1)
  บัลแกเรีย คนขี่ม้ามาดารา (Madara Rider)      ภาพอัศวินที่กำลังพิชิตสิงโต ถูกแกะสลักอยู่บนหน้าผาสูง 100 เมตร ใกล้หมู่บ้านมาดาราในบัลแกเรียตะวันออกเฉียงเหนือ มาดาราเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักรบัลแกเรียโบราณ ก่อนที่จะเริ่มมีการนับถือศาสนาคริสต์ มรดกโลกแห่งนี้จึงถือว่าเป็นประติมากรรมนูนสูงที่สะท้อนเรื่องราวของบัลแกเรียในช่วงต้นศตวรรษที่ 8 ได้เป็นอย่างดี 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) • จังหวัดชูเมน (Shumen)
โบสถ์โบยานา (Boyana Church) (F)      โบสถ์ที่ตั้งอยู่ชานเมืองโซเฟีย สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ภายในเป็นแหล่งรวบรวมงานงานศิลปะอันเก่าแก่และทรงคุณค่า ทั้ง ภาพชีวประวัติของเซนต์นิโคลัส ภาพกษัตริย์และราชินีแห่งบัลแกเรีย ภาพพระเยซูและสาวกผู้เผยแผ่ศาสนาทั้ง 4 องค์ ภาพคู่สามีภรรยาผู้อุปถัมภ์ในการสร้างโบสถ์แห่งนี้ จนโบสถ์แห่งนี้ถูกขนานนามว่าเป็น "หอศิลป์แห่งศิลปะยุคกลางของยุโรปตะวันออก" 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) • กรุงโซเฟีย (Sofia)
โบสถ์หินสกัดแห่งอิวาโนโว (Rock-Hewn Churches of Ivanovo)      กลุ่มอาคารสกัดจากหิน ประกอบด้วย โบสถ์ โบสถ์น้อย อารามและห้องพักนักบวช ถูกสร้างขึ้นใกล้กับหมู่บ้านอิวาโนโวโดยนักบวชยุคก่อน ภายในเป็นแหล่งรวบรวมจิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่ ตั้งแต่ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 13-14 แสดงให้เห็นถึงความสามารถของจิตรกรสกุลช่างทาร์โนโว (Tarnovo) 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) • จังหวัดรูเซ (Ruse)
สุสานเทรเชียนแห่งสเวสห์ตาริ (Thracian Tomb of Sveshtari)      สุสานแห่งนี้ถูกสร้างตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะมีการค้นพบใน ค.ศ. 1982 (ตรงกับ พ.ศ. 2525) เนินดินเหนือสุสานมีรูปแบบเฉพาะแสดงถึงพื้นฐานอาคารแบบเทรเชียน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอารยธรรมเฮเลนนิสติก (Hellenistic) ภายในบรรจุโบราณวัตถุ ผลงานประติมากรรม และจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงถึงภาพพิธีกรรมและวัฒนธรรมการฝังศพของชาวเทรเชียนไว้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) • จังหวัดสตารา ซากอรา (Stara Zagora)
  โปแลนด์ ค่ายกักกันและประหารเอาชวิทซ์ เบียร์เคอเนา ของนาซีเยอรมัน [พ.ศ. 2483-2488] (Auschwitz Birkenau German Nazi Concentration and Extermination Camp [1940-1945])      กำแพงอันแข็งแกร่ง ลวดหนาม ลานกว้าง อาคารค่ายทหาร แท่นแขวนคอ ห้องรมแก๊ส และเตาเผาศพ แสดงให้เห็นสภาพของสถานที่ซึ่งนาซีใช้ดำเนินการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในค่ายควบคุมและประหาร มีมนุษย์กว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวยิวถูกบังคับให้อดอาหาร ซ้อมทรมาน และสังหารอย่างเลือดเย็นและเป็นระบบในค่ายแห่งนี้ นี่จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการกระทำทารุณกรรมของมนุษย์ต่อมนุษย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 🟡 วัฒนธรรม (6) • จังหวัดมาวอปอลสกา หรือเลสเซอร์โปแลนด์ (Małopolska or Lesser Poland)
เบโลเวชสกายา ปุซชา / ป่าเบียโลเวียชา (Belovezhskaya Pushcha / Bialowieza Forest)      ตั้งอยู่ในพื้นที่สันปันน้ำระหว่างทะเลบอลติกและทะเลดำ ป่าขนาดมหึมานี้ประกอบด้วยไม้ไม่ผลัดใบและไม้ใบกว้าง แหล่งอาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหายากมากมาย ตั้งแต่สุนัขป่า แมวป่า (Lynx) นาก (Otter) และไบซันยุโรปกว่า 300 ตัว 🟢 ธรรมชาติ (9) (10) • จังหวัดปอดลาเกีย (Podlaskie)
  ฝรั่งเศส มงต์-แซงต์-มิเชล และอ่าว (Mont-Saint-Michel and its Bay)      บนเนินหินท่ามกลางชายฝั่งทรายกว้างขวาง เป็นที่ตั้งของ "สิ่งมหัศจรรย์แห่งตะวันตก" โบสถ์รูปแบบกอทิกนิกายเบเนดิกทีน (Benedictine) ซึ่งอุทิศให้กับอัครทูตสวรรค์มิเชล (Archangel St Miche) สร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11-16 เป็นผลงานอันยอดเยี่ยมด้านเทคนิคและศิลปะ ที่เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับแหล่งที่ตั้งซึ่งมีลักษณะทางธรรมชาติอันเฉพาะตัว 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (6) • จังหวัดม็องช์ แคว้นบัส-นอร์ม็องดี (Manche, Basse-Normandie)
วิหารเวเซอเลย์และเนินเขา (Vézelay, Church and Hill)      ไม่นานหลังจากการก่อตั้งวิหารนิกายเบเนดิกทีน (Benedictine abbey) แห่งเวเซอเลย์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็ได้รับอัฐิของนักบุญแมรี แมกดาลีน (St Mary Magdalene) จากนั้นก็ได้กลายเป็นสถานที่แสวงบุญอันสำคัญ และเป็นแหล่งรวบรวมงานศิลปะและสถาปัตยกรรมชิ้นเอกในแบบเบอร์กันเดียน โรมาเนสก์ (Burgundian Romanesque) 🟡 วัฒนธรรม (1) (6) • จังหวัดอียอน แคว้นบูร์กอญ (Yonne, Bourgogne)
สวนและพระราชวังแวร์ซายส์ (Palace and Park of Versailles) (F)      ที่ประทับหลักของกษัตริย์ฝรั่งเศส ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Loius XIV) ถึงรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI) พระราชวังแห่งนี้ได้รับการตกแต่งโดยฝีมือสถาปนิก ประติมากร มัณฑนากร และภูมิสถาปนิกหลายรุ่น จึงเป็นต้นแบบของพระราชวังในอุดมคติของยุโรปเป็นเวลานานกว่าศตวรรษ 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (6) • จังหวัดอีฟว์ลีน แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ (Yvelines, Ile-de-France)
แหล่งก่อนประวัติศาสตร์และถ้ำที่มีภาพเขียนสีในหุบเขาเวแซร์ (Prehistoric Sites and Decorated Caves of the Vézère Valley)      หุบเขาเวแซร์มีแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ 147 แหล่ง มีอายุตั้งแต่ยุคหินเก่า มีถ้ำที่มีภาพเขียนสี 25 ถ้ำ เป็นแหล่งที่ได้ความน่าสนใจในแง่ของชาติพันธุ์วิทยา มานุษยวิทยา และศิลปวิทยา ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ โดยเฉพาะที่ถ้ำลาสโกซ์ (Lascaux Cave) ซึ่งการค้นพบใน ค.ศ.1940 (ตรงกับ พ.ศ. 2483) มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อประวัติศาสตร์ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ ตลอดจนภาพเขียนสีการล่าสัตว์ที่มีมากกว่า 100 ภาพ ก็แสดงให้เห็นถึงรายละเอียด สีสันอันสดใส และลักษณะของภาพที่สมจริงเสมือนมีชีวิต 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) • จังหวัดดอร์ดอญ แคว้นอากีแตน (Dordogne, Aquitaine)
อาสนวิหารโนเทรอดามแห่งชาร์ตร์ (Chartres Cathedral)      อาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลชาร์ตร์ ถูกจัดว่าเป็น "จุดสูงสุดของศิลปะกอทิกแบบฝรั่งเศส" ที่นี่เป็นแหล่งรวมสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และหน้าต่างกระจกสีที่ยังคงสภาพสมบูรณ์งดงาม อาสนวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1194-1220 (ตรงกับ พ.ศ. 1737-1763) เป็นอาสนวิหารที่มีบทบาทสำคัญ ๆ ในหน้าประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (4) • จังหวัดเออเรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ (Eure-et-Loire, Centre-Val de Loire)
  นอร์ทมาซิโดเนีย

(อดีตคือ ยูโกสลาเวีย)

มรดกธรรมชาติและวัฒนธรรมของแคว้นโอห์ริด (Natural and Cultural Heritage of the Ohrid region) (F)      เมืองโอห์ริด เป็นหนึ่งในชุมชนมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป สร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 19 เมืองนี้มีอารามของชาวสลาฟที่เก่าแก่ที่สุด และยังมีรูปเคารพศิลปะไบแซนไทน์มากกว่า 800 รูป จนถูกจัดให้เป็น "แหล่งรวบรวมรูปเคารพที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในโลก" 🟠 ผสม (1) (3) (4) (7) • เทศบาลโอครีด (Ohrid)
  มอนเตเนโกร

(อดีตคือ ยูโกสลาเวีย)

เขตธรรมชาติและประวัติศาสตร์–วัฒนธรรมแห่งคอเตอร์ (Natural and Culturo–Historical Region of Kotor) (F)      เมืองโบราณอายุกว่า 2,000 ปี มีประวัติศาสตร์เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน เป็นเมืองชายฝั่งทะเลสำคัญในอดีตและยังเป็นศูนย์กลางการค้าในแถบทะเลเอเดรียติก ภายในเมืองมีกำแพงเมือง ป้อมปราการ คูคลองที่เชื่อมสู่อ่าว และอาคารบ้านเรือนแบบยุคกลางที่อนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) (4) • เทศบาลเมืองกอเตอร์ (Kotor)
  สหรัฐ อินดิเพนเดนซ์ฮอลล์ (Independence Hall)      คำประกาศอิสรภาพและรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ได้ลงนามในอาคารหลังนี้ เป็นรากฐานสำคัญของประวัติศาสตร์อเมริกา ที่ยังส่งผลอย่างลึกล้ำต่อกระบวนการประชาธิปไตยไปทั่วทั้งโลก

   ตัวอาคารหลังนี้ สร้างแล้วเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1753 (ตรงกับ พ.ศ. 2296) ในฐานะสภานิติบัญญัติของอาณานิคมสำหรับจังหวัดเพนซิลเวเนีย (ต่อมาคือศาลาว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย) ก่อนจะกลายเป็นสถานที่จัดการประชุมใหญ่สภาแห่งทวีปหรือสภาอาณานิคมรอบที่ 2 (Second Continental Congress) เมื่อ ค.ศ. 1775-1783 (ตรงกับ พ.ศ. 2318-2326) และเป็นสถานที่ประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1787 (ตรงกับ พ.ศ. 2330)

🟡 วัฒนธรรม (6) • รัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania)
อุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์ (Everglades National Park)      ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำ สะท้อนได้จากการเป็นแหล่งอาศัยและหลบภัยของสัตว์น้อยใหญ่ ตั้งแต่ นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ อย่าง “พะยูนมานาที (Manatee)” จนทำให้อุทยานแห่งนี้ได้รับสมญานามว่า "แม่น้ำหญ้าซึ่งไหลอย่างเงียบเชียบจากภายในแผ่นดินลงสู่ทะเล (A River of Grass Flowing Imperceptibly from The Hinterland into The Sea)" 🟢 ธรรมชาติ (8) (9) (10) • รัฐฟลอริดา (Florida)
อุทยานแห่งชาติแกรนด์แคนยอน (Grand Canyon National Park)      เกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำโคโลราโด (Colorado) ที่ความลึกเกือบ 1,600 เมตร ไหลผ่านที่ราบสูงทำให้เกิดการสึกกร่อน และการพังทลายของหินตั้งแต่เมื่อหลายสิบล้านปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงร่องรอยทางธรณีวิทยาอันน่ามหัศจรรย์ 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) (10) • รัฐแอริโซนา (Arizona)
  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

(อดีตคือ ซาอีร์)

อุทยานแห่งชาติวีรุงกา (Virunga National Park) (F)      อุทยานแห่งนี้ประกอบด้วยความหลากหลายทางระบบนิเวศ เห็นได้จากที่ลุ่มหนองและทุ่งหญ้าสเตปป์ ทุ่งหิมะในรเว็นโซรี (Rwenzori) ที่ความสูงกว่า 5,000 เมตร ทุ่งลาวาไล่ไปจนถึงทุ่งหญ้าสะวันนาบนไหล่ภูเขาไฟ และยังถิ่นอาศัยของนกกว่า 700 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 200 ชนิด รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ อย่างกอริลลาภูเขา (Mountain Gorilla) ทำให้ที่นี่มีกอลิลาภูเขาอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (10) • จังหวัดนอร์ท-กีวู (North-Kivu)

• จังหวัดกาซาอี ออเรียงตาล (Kasaï Orientale)

  อิตาลี ศิลปะสกัดหินแห่งหุบเขาวาลคาโมนิคา (Rock Drawings in Valcamonica) (F)      หนึ่งในกลุ่มภาพบนผนังหินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ประกอบด้วยสัญลักษณ์และภาพกว่า 140,000 ภาพ แกะสลักลงบนผนังหินในช่วงเวลากว่า 8,000 ปี บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ การเกษตร การเดินเรือ สงคราม และเวทมนตร์คาถา 🟡 วัฒนธรรม (3) (6) • จังหวัดเบรสเซีย แคว้นลอมบาร์ดี (Brescia, Lombardy)
  อิหร่าน จัตุรัสอิหม่าม แห่งอิสฟาฮาน (Meidan Emam, Esfahan)      สถานที่แห่งนี้ถูกสร้างโดยพระเจ้าอับบาสมหาราช (Abbas the Great) ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ภายในมีกลุ่มอาคารที่มีชื่อเสียงมากมาย ทั้ง สุเหร่าหลวง มัสยิดซีคลอตฟุลเลาะห์ หรือแม้แต่พระราชวังทูมิวริ ที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบชีวิต สังคม และวัฒนธรรมเปอร์เซียสมัยราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (Safavid) ได้อย่างแจ่มแจ้ง 🟡 วัฒนธรรม (1) (5) (6) • จังหวัดอิสฟาฮาน (Isfahan)
พีระมิดโชกา ซานบิล (Tchogha Zanbil) (F)      ซากนครอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอาณาจักรอีแลม (Elam) ที่โอบล้อมไปด้วยกำแพงวงกลมขนาดใหญ่เชื่อมต่อกันทั้ง 3 ด้าน ถูกสร้างเมื่อประมาณ 1,250 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมืองแห่งนี้ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะถูกพระเจ้าอัสเซอร์บานิปาล (Ashurbanipal) บุกโจมตีเสียก่อน จึงสังเกตได้จากซากอิฐที่ถูกกองทิ้งไว้เป็นจำนวนมากมาย 🟡 วัฒนธรรม (3) (4) • จังหวัดฆูเซสถาน (Khuzestan)
เมืองเพอร์เซโพลิส (Persepolis)      เมืองหลวงของจักรวรรดิอาเคเมนิด (Achaemenid Empire) สร้างโดยดาริสอุสที่ 1 (Darius I) เมื่อ 518 ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่ซึ่งจอมจักรพรรดิสร้างสรรค์พระราชวังอันสลับซับซ้อน โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากเมโสโปเตเมีย สถานที่ซึ่งมีความสำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (6) • จังหวัดฟาร์ส (Fars)
  อียิปต์ นครประวัติศาสตร์ไคโร (Historic Cairo)      ส่วนหนึ่งของเมืองอิสลามที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองไคโรใหม่ ประกอบด้วย มัสยิดสอนศาสนาอิสลาม โรงอาบน้ำ และน้ำพุ นครประวัติศาสตร์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 และกลายเป็นศูนย์กลางของโลกอิสลามที่มีความรุ่งเรืองสูงสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 14 🟡 วัฒนธรรม (1) (5) (6) • เขตผู้ว่าการไคโร (Cairo)
โบราณสถานของนูเบีย จากอาบู ซิมเบล ถึงฟิเล (Nubian Monuments from Abu Simbel to Philae)      แหล่งโบราณคดีอันโดดเด่นแหล่งนี้ ประกอบด้วยโบราณสถานที่ยิ่งใหญ่ ทั้งวิหารของรามเสสที่ 2 (Temples of Ramses II) ที่อาบู ซิมเบล และวิหารของเทพีไอซิส (Sanctuary of Isis) ที่ฟิเล ซึ่งได้รับการเคลื่อนย้ายเพื่อให้รอดพ้นปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องจากการสร้างเขื่อนอัสวาน ในช่วง ค.ศ. 1960-1980 (ตรงกับ พ.ศ. 2503-2523) 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (6) • เขตผู้ว่าการอัสวาน (Aswan)
เมมฟิสและสุสานโบราณ – ทุ่งพีระมิดจากกิซาถึงดาห์ชูร์ (Memphis and its Necropolis – the Pyramid Fields from Giza to Dahshur)      ราชธานีของอาณาจักรเก่าในยุคอียิปต์โบราณ มีโบราณสถานสำหรับฝังศพที่มีลักษณะพิเศษ คือ สุสานสร้างด้วยหินมาสตาบา (Mastaba) วิหาร และพีระมิด แหล่งมรดกโลกนี้ยังจัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณอีกด้วย 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (6) • เขตผู้ว่าการกีซา (Giza)
เมืองธีบส์โบราณและสุสาน (Ancient Thebes with its Necropolis) (F)      นครแห่งเทพอามุน อดีตราชธานีของอียิปต์ในยุคอาณาจักรกลางและอาณาจักรใหม่ ประกอบด้วย วิหาร พระราชวัง และสุสานหุบผากษัตริย์และหุบผาราชินี แหล่งมรดกโลกนี้จึงเป็นประจักษ์พยานอันแจ่มชัดของอารยธรรมอียิปต์ในยุคที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุด 🟡 วัฒนธรรม (1) (3) (6) • เขตผู้ว่าการกินา (Qena)
อาบู เมนา (Abu Mena)      ปี ค.ศ. 296 (ตรงกับ พ.ศ. 839) จักรพรรดิไอโอคลีเซียนได้กีดกันประชาชนไม่ให้นับถือคริสต์ศาสนา ทำให้เกิดการสังหารชาวคริสเตียนจำนวนมาก จนคริสต์ศาสนิกชนตกอยู่ในความหวาดกลัวและหวาดระแวง แต่ "นักบุญเมนาส แห่งอเล็กซานเดรีย (St.Menas of Alexandria)" ผู้เป็นข้าราชบริพารขององค์จักรพรรดิก็เป็นแกนนำลุกขึ้นมาปกป้องชาวคริสต์ จนแลกมาด้วยชีวิตของตัวเอง ทำให้ชาวคริสเตียนเคารพและนับถือนักบุญเมนาส จนสร้างโบราณสถานแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการรำลึก

   ซากปรักหักพังของโบสถ์ อาคารสำหรับทำพิธีศีลจุ่ม อาคารสำหรับตกลงธุรกิจและตัดสินคดีความ อาคารสาธารณะ บ้านเรือน ถนน อาราม และโรงงานในนครศักดิ์สิทธิ์ยุคคริสต์ศาสนาตอนต้น ล้วนเกิดจากความศรัทราของคริสต์ศาสนิกชน จนที่แห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางของศาสนาในภูมิภาคเมื่อครั้งอดีต

🟡 วัฒนธรรม (4) • เขตผู้ว่าการอะเล็กซานเดรีย หรืออัลอิสกันดะรียะฮ์ (Alexandria or Iskandariyah)
  เอธิโอเปีย ฟาซิลเก็บบิแห่งแคว้นกอนดาร์ (Fasil Ghebbi, Gondar Region)      ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เมืองป้อมปราการแห่งนี้เป็นที่ประทับของจักรพรรดิฟาซิลิดิส (Fasilides) แห่งเอธิโอเปียและผู้สืบทอดราชบัลลังก์องค์ต่อ ๆ มา ตัวเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงยาวกว่า 900 เมตร ภายในมีพระราชวัง โบสถ์ อาราม อาคารราชการและเอกชนที่ได้รับอิทธิพลมากจากฮินดูและอาหรับ 🟡 วัฒนธรรม (2) (3) • แคว้นอามฮารา (Amhara)

ค.ศ.1978 (การประชุมสมัยที่ 2) แก้

• จัดประชุมระหว่างวันที่ 5-8 กันยายน พ.ศ. 2521 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.   สหรัฐ

• คณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วย 14 ชาติสมาชิก คือ   กานา   แคนาดา   เซเนกัล   ตูนิเซีย   ไนจีเรีย   โปแลนด์   ฝรั่งเศส   เยอรมนี   สหรัฐ   ออสเตรเลีย   อิรัก   อิหร่าน   อียิปต์   เอกวาดอร์

• มีมติขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก จำนวนทั้งสิ้น 12 แห่ง (🟡 มรดกโลกทางวัฒนธรรม 8 แห่ง / 🟢 มรดกโลกทางธรรมชาติ 4 แห่ง)

ประเทศ รายนามแหล่งมรดกโลก ความสำคัญ ประเภท เกณฑ์การพิจารณา พื้นที่ตั้ง
  แคนาดา แหล่งประวัติศาสตร์แห่งชาติแลนโซเมโดวส์ (L’Anse aux Meadows National Historic Site) (F)      ร่องรอยการดำรงอยู่ของชุมชนไวกิงในคริสต์ศตวรรษที่ 11 บนเกาะนิวฟันด์แลนด์ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการสำรวจและการตั้งถิ่นฐานโดยชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เดินทางไกลที่สุดในโลกใหม่ ก่อนการเดินทางของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) 🟡 วัฒนธรรม (4) • รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ (Newfoundland and Labrador)
อุทยานแห่งชาตินาฮานนี (Nahanni National Park)      อุทยานที่มีลักษณะทางกายภาพหลากหลาย ทั้งถ้ำหินปูนเป็นเนินสูงต่ำ น้ำพุร้อน และน้ำตกขนาดใหญ่ เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ในป่าบอเรียล (ฺBoreal) ซึ่งเป็นเขตภูมิศาสตร์ทางเหนือของแคนาดาอยู่ในแนววงแหวนรอบขั้วโลกเหนือ 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) • ดินแดนนอร์ทเวสต์ เทร์รีทอรีส์ (Northwest Territories)
  เซเนกัล เกาะกอเร (Island of Gorée) (F)      เกาะที่เคยเป็นศูนย์กลางการค้าทาสที่ใหญ่ที่สุดของแอฟริกาตะวันออก บนเกาะมีสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความเหลื่อมล้ำของสถานะภาพระหว่างย่านพักอาศัยอันน่าหดหู่ของเหล่าทาส กับบ้านพักโอ่อ่าของนักค้าทาส ปัจจุบันแหล่งมรดกโลกนี้เป็นสถานที่เตือนใจให้ชาวโลกได้ระลึกถึงความโหดร้ายจากธุรกิจการค้าทาสในยุคอดีต 🟡 วัฒนธรรม (6) • แคว้นดาการ์ (Dakar)
  โปแลนด์ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์แห่งกรากุฟ (Historic Centre of Kraków) (F)      เมืองหลวงเก่าของโปแลนด์ตั้งอยู่ที่เชิงเขาปราสาทวาเวล (Wawel) เมืองการค้าที่มีความสำคัญช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 อันประกอบไปด้วยบ้านประวัติศาสตร์ พระราชวัง โบสถ์เก่าแก่จำนวนมาก และตลาดกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดของทวีปยุโรป 🟡 วัฒนธรรม (4) • จังหวัดมาวอปอลสกา หรือเลสเซอร์โปแลนด์ (Małopolska or Lesser Poland)
เหมืองเกลือวีลิชกา–บอคเนีย (Wieliczka and Bochnia Royal Salt Mines)      เหมืองเกลือใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถูกขุดมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 700 ปี ภายในมีเส้นทางสลับซับซ้อน ประกอบไปด้วยชั้นใต้ดิน 9 ชั้น อุโมงค์ 180 แห่ง ห้องว่างที่ขุดเสร็จสมบูรณ์อีก 2,040 ห้อง โบสถ์ที่แกะสลักจากเกลืองานประติมากรรมจากเกลือ ทะเลสาบน้ำเค็มใต้ดิน และร่องรอยการขุดเกลือภายในเหมือง 🟡 วัฒนธรรม (4) • จังหวัดมาวอปอลสกา หรือเลสเซอร์โปแลนด์ (Małopolska or Lesser Poland)
  เยอรมนี

(อดีตคือ เยอรมนีตะวันตก)

อาสนวิหารอาเคิน (Aachen Cathedral) (F)      อาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุดทางภาคเหนือของทวีปยุโรป มีความสำคัญมากทางประวัติศาสตร์ เพราะเคยใช้เป็นสถานที่สวมมงกุฎให้แด่กษัตริย์ราชวงค์คาโรลิงเกียน (Carolingian) กว่า 42 พระองค์ ตั้งแต่ ค.ศ. 936 จนถึง 1531 (ตรงกับ พ.ศ. 1479-2074) อาสนวิหารแห่งนี้ยังเป็นสถานที่เก็บรักษาสมบัติอันมีค่ามากมายของประเทศเยอรมนี 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (4) (6) • รัฐไรน์แลนด์-พาลาทิเนต หรือไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ (Rhineland-Palatinate or Rheinland-Pfalz)
  สหรัฐ อุทยานแห่งชาติเมซาเวิร์ด (Mesa Verde National Park)      ชุมชนของบรรพบุรุษชาวอินเดียนพูเอโบล (Pueblo Indian) สร้างตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6-12 ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหินทรายเมซาเวิร์ด (Mesa Verde plateau) จากหลักฐานทางโบราณคดี พื้นที่แห่งนี้มีการสร้างบ้านบนหน้าผาขนาดใหญ่ ประกอบด้วยห้องมากกว่า 100 ห้อง มีร่องรอยของรูปแบบการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ ทั้ง การผลิตเครื่องปั้นดินเผา การทำเกษตรกรรม และสถาปัตยกรรม 🟡 วัฒนธรรม (3) • รัฐโคโลราโด (Colorado)
อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน (Yellowstone National Park) (F)      อุทยานแห่งแรกของโลกและของสหรัฐอเมริกา ประกอบไปด้วย ที่ราบสูง ภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน ทะเลสาบ บ่อน้ำร้อน และน้ำพุร้อนที่มีมากกว่า 10,000 แห่ง นับว่าเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนระบบนิเวศเขตร้อนที่สมบูรณ์และยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) (10) • รัฐไวโอมิง (Wyoming)

• รัฐมอนแทนา (Montana)

• รัฐไอดาโฮ (Idaho)

  เอกวาดอร์ เมืองกีโต (City of Quito)      เมืองหลวงของเอกวาดอร์ เมืองนี้มีย่านประวัติศาสตร์ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีเยี่ยมและเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดในแถบละตินอเมริกา ทั้งยังมีสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงสกุลช่างบาโรกแห่งกีโต (Baroque School of Quito) ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะอิตาเลียน สเปน มัวร์ (Moorish) เฟลมิช (Flemish) และศิลปะพื้นถิ่นได้อย่างลงตัว 🟡 วัฒนธรรม (2) (4) • จังหวัดปิชินชา (Pinchinada)
หมู่เกาะกาลาปาโกส (Galápagos Islands) (F)      หมู่เกาะที่ได้รับสมญานามว่า "พิพิธภัณฑ์มีชีวิตและห้องแสดงวิวัฒนาการ (Living Museum and Showcase of Evolution)" ถิ่นอาศัยของสัตว์แปลกตาหลากสายพันธุ์ ทั้งอีกัวนาบก เต่ายักษ์ และนกฟินช์ (Finch) หมู่เกาะนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) หลังจากที่เขาได้มาเยือนยังเกาะแห่งนี้เมื่อ ค.ศ. 1835 (ตรงกับ พ.ศ. 2378) 🟢 ธรรมชาติ (7) (8) (9) (10) • จังหวัดกาลาปาโกส (Galapagos)
  เอธิโอเปีย โบสถ์หินสกัดที่ลาลีเบลา (Rock-Hewn Churches, Lalibela)      โบสถ์ยุคกลางที่มีลักษณะการสร้างแบบกลับหัว เกิดจากการสกัดหินดานลงไปเป็นโพรงขนาดใหญ่ จนเกิดเป็นโบราณสถานที่สะท้อนถึงวิศวกรรมอันน่าทึ่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 จากคนยุคโบราณ จำนวน 11 หลัง เป็นสถานที่สำคัญในคริสต์ศาสนา นิกายออร์โธดอกซ์ของเอธิโอเปีย ทั้งยังเป็นสถานที่แสวงบุญและเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสมาจนถึงปัจจุบัน 🟡 วัฒนธรรม (1) (2) (3) • แคว้นอามฮารา (Amhara)
อุทยานแห่งชาติซีเมียน (Simien National Park) (F)      อุทยานภูเขาที่มีภูมิทัศน์ตระการตาที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เกิดจากการสึกกร่อนหลายต่อหลายครั้งในช่วงเวลาหลายล้านปีบนที่ราบสูงเอธิโอเปีย จนปรากฏเป็นยอดเขาหยักคล้ายฟันเลื่อย หุบเขาลึก หน้าผา และยอดเขาปลายแหลม ทั้งยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หายากมากมาย ทั้ง ลิงบาบูนเชลาดา (Gelada Baboon) จิ้งจอกซีเมียน (Simien Fox) และกวางผาวาเลีย (Walia Ibex) 🟢 ธรรมชาติ (7) (10) • แคว้นอามฮารา (Amhara)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • https://whc.unesco.org/en/list/ — หน้าค้นหาบัญชีรายชื่อมรดกโลกที่จดทะเบียน ขององค์การยูเนสโก
  • http://164.115.22.96/heritage.aspx — หน้าค้นหาบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก [ฉบับภาษาไทย] ของศูนย์ข้อมูลมรดกโลก กระทรวงวัฒนธรรม
  • https://whc.unesco.org/en/sessions/02COM — รายงานสรุปการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ครั้งที่ 2 ประจำปี 1978 [ฉบับภาษาอังกฤษ] ขององค์การยูเนสโก
  • https://whc.unesco.org/en/sessions/03COM/ — รายงานสรุปการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ครั้งที่ 3 ประจำปี 1979 [ฉบับภาษาอังกฤษ] ขององค์การยูเนสโก
  • https://whc.unesco.org/en/sessions/04COM — รายงานสรุปการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ครั้งที่ 4 ประจำปี 1980 [ฉบับภาษาอังกฤษ] ขององค์การยูเนสโก
  • https://whc.unesco.org/en/sessions/05COM — รายงานสรุปการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ครั้งที่ 5 ประจำปี 1981 [ฉบับภาษาอังกฤษ] ขององค์การยูเนสโก
  • https://whc.unesco.org/en/sessions/06COM — รายงานสรุปการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ครั้งที่ 6 ประจำปี 1982 [ฉบับภาษาอังกฤษ] ขององค์การยูเนสโก
  • https://whc.unesco.org/en/sessions/07COM — รายงานสรุปการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ครั้งที่ 7 ประจำปี 1983 [ฉบับภาษาอังกฤษ] ขององค์การยูเนสโก
  • https://whc.unesco.org/en/sessions/08COM — รายงานสรุปการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ครั้งที่ 8 ประจำปี 1984 [ฉบับภาษาอังกฤษ] ขององค์การยูเนสโก