ผู้ใช้:จีระชัย02/เกี่ยวกับเว็บไซต์

หน้านี้แนะนำเว็บไซต์ต่อผู้เข้าชม บทความสารานุกรมเกี่ยวกับโครงการ ดู วิกิพีเดีย; สำหรับการเริ่มต้นแก้ไขบนวิกิพีเดีย ดู วิกิพีเดีย:เริ่มต้น

วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมบนอินเทอร์เน็ตที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมพัฒนา

วิกิพีเดีย เป็นโครงการสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ โดยมีรูปแบบที่เปิดเผยและแก้ไขได้ คำว่า "วิกิพีเดีย" มาจากการผสมกันของคำสองคำ ได้แก่ วิกิ (รูปแบบของเว็บไซต์ชนิดหนึ่งที่สามารถมีส่วนร่วมได้ มาจากคำในภาษาฮาวายเอียน wiki หมายถึง "เร็ว") และ เอนไซโคพีเดีย (สารานุกรม) บทความในวิกิพีเดียมีลิงก์ซึ่งสามารถนำผู้ใช้ไปยังหน้าที่เกี่ยวข้องกันและข้อมูลเพิ่มเติมได้

วิกิพีเดียถูกเขียนขึ้นด้วยความร่วมมือจากกลุ่มอาสาสมัครไม่เปิดเผยตัวซึ่งไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ ผู้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ต่างก็สามารถมีส่วนเขียนและแก้ไขบทความบนวิกิพีเดียได้ทั้งสิ้น (ยกเว้นบางกรณีซึ่งไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปแก้ไขเพื้อป้องกันข้อพิพาท และ/หรือ การก่อกวน) ผู้เขียนไม่ต้องเผยชื่อจริงในวิกิพีเดีย เว้นแต่จะเปิดเผยตนเองอย่างสมัครใจ

นโยบายหลักที่ใช้ดำเนินการวิกิพีเดีย คือ ห้าเสาหลัก ประชาคมวิกิพีเดียเห็นชอบและพัฒนานโยบายและแนวปฏิบัติซึ่งจะปรับปรุงสารานุกรมวิกิพีเดียต่อไป หากทว่าไม่มีความจำเป็นอย่างเป็นทางการที่คุณจะต้องทราบและทำความคุ้นเคยกับหลักการดังกล่าวก่อนที่คุณจะร่วมพัฒนาวิกิพีเดียแต่อย่างใด

นับตั้งแต่การก่อตั้งในปี พ.ศ. 2544 วิกิพีเดียได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งกลายเป็นเว็บไซต์อ้างอิงที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีผู้เข้าชมเกือบ 78 ล้านคนต่อเดือน จากสถิติเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 และมีผู้ร่วมแก้ไขที่ยังคงดำเนินการอยู่กว่า 91,000 คน กำลังเขียนบทความกว่า 17,000,000 บทความ ในวิกิพีเดีย 270 ภาษา ปัจจุบัน วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความจำนวน 163,842 บทความ ทุกวัน ผู้เข้าชมจำนวนมากได้มีส่วนแก้ไขและสร้างบทความใหม่เพื่อขยายคลังความรู้บนสารานุกรมวิกิพีเดีย (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:สถิติ)

การแก้ไขทั้งหมดบนวิกิพีเดียอาจมีการทบทวนหรือแก้ไข ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องมีคุณวุฒิหรือความชำนาญก่อนที่จะสามารถแก้ไขวิกิพีเดีย ทุกคนล้วนได้รับโอกาสให้แก้ไขวิกิพีเดีย เพราะเจตจำนงของวิกิพีเดีย คือ การเป็นสารานุกรมที่ครอบคลุมความรู้ที่มีอยู่แล้วและข้อมูลได้รับการพิสูจน์ยืนยันจากแหล่งข้อมูลอื่นมาก่อน การค้นคว้าต้นฉบับหรือความรู้ซึ่งไม่ปรากฏในแหล่งอื่นมาก่อนจึงไม่สามารถลงบนวิกิพีเดียได้ ทุกคน ทุกวัย และทุกภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมล้วนสามารถเขียนบทความวิกิพีเดียได้ ตั้งแต่บทความส่วนมากสามารถแก้ไขได้โดยทุกคนที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำได้ง่าย ๆ เพียงคลิกที่ลิงก์ แก้ไข ซึ่งอยู่บนสุดของทุกหน้าที่สามารถแก้ไขได้ ทุกคนสามารถเพิ่มข้อมูล หาแหล่งอ้างอิง หรือกระทั่งวิพากษ์วิจารณ์ได้ ตราบใดที่การแก้ไขปรับปรุงดังกล่าวอยู่ภายใต้นโยบายของวิกิพีเดียและด้วยมาตรฐานคุณภาพที่เหมาะสม เนื้อหาคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานหรือเนื้อหาอันเป็นที่ขัดแย้งจะถูกนำออก ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลว่าตนจะสร้างความเสียหายให้กับวิกิพีเดียโดยมิได้เจตนาระหว่างการเพิ่มหรือพัฒนาเนื้อหา เนื่องจากผู้ร่วมแก้ไขคนอื่นสามารถวกกลับมาให้คำแนะนำหรือแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ได้ และซอฟต์แวร์ของวิกิพีเดียถูกออกแบบมาอย่างระมัดระวังเพื่อให้สามารถย้อนหรือแก้ไขข้อผิดพลาดในการแก้ไขได้อย่างง่ายดาย

เนื่องจากวิกิพีเดียเป็นงานความร่วมมือมีชีวิต มันจึงแตกต่างจากแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสารอยู่หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทความเก่ายังสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขให้เข้าใจง่ายและเป็นกลางยิ่งขึ้น ในขณะที่บทความใหม่มักจะบรรจุข้อมูลที่ผิดพลาดหลายครั้ง มีเนื้อหาที่ไม่เป็นสารานุกรม หรือเป็นการก่อกวน ผู้ใช้จำเป็นจะต้องระวังต่อการกระทำดังกล่าว เพื่อที่จะรับข้อมูลที่น่าเชื่อถือและหลีกเลี่ยงข้อมูลที่ผิดพลาดที่เพิ่มขึ้นมาและยังไม่ได้ถูกนำออก (ดูเพิ่มที่ การใช้วิกิพีเดียประกอบการวิจัย) อย่างไรก็ตาม วิกิพีเดียมีการอัปเดตข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างไปจากแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร ด้วยการสร้างหรืออัปเดตข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้ภายในระยะเวลาไม่กี่วินาที นาที หรือชั่วโมง ในขณะที่สารานุกรมแบบพิมพ์เล่มหนึ่งต้องใช้เวลาในการตีพิมพ์นานเป็นเดือนหรือเป็นปี

เว็บไซต์ wikipedia.org หน้าโฮมเพจของวิกิพีเดียทุกภาษา

หากคุณยังไม่เคยเขียนวิกิพีเดีย ขอเวลาคุณเพียงไม่กี่นาทีที่จะอ่านตามลิงก์ข้างล่างนี้ แล้วคุณก็จะสามารถร่วมพัฒนาวิกิพีเดียได้:

  • อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย — เพื่อที่คุณจะเข้าใจถึงวิธีการพิจารณาหรือความร่วมมือที่มีต่อวิกิพีเดีย
  • คำถามพบบ่อย — เพื่อที่คุณจะเข้าใจในปัญหาที่ผู้ใช้วิกิพีเดียมักประสบ
  • คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง — เพื่อที่จะทราบข้อแนะนำที่มีประโยชน์สำหรับครอบครัวของคุณ
  • ถามคำถาม — เพื่อที่คุณจะทราบว่าที่ใดที่คุณควรจะถามคำถามในเรื่องที่คุณสงสัย
  • ความช่วยเหลือ — เพื่อที่คุณจะได้ทราบวิธีการแก้ไขและประเด็นอื่น ๆ ในวิกิพีเดียให้ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลเบื้องต้น แก้

ประวัติวิกิพีเดีย แก้

วิกิพีเดียเป็นโครงการสารานุกรมเสรี ก่อตั้งขึ้นโดย จิมมี เวลส์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 โดยแยกตัวออกมาจากนูพีเดีย

วิกิพีเดียถูกสร้างออกมาโดยแยกออกมาจากนูพีเดีย ซึ่งเป็นโครงการสร้างสารานุกรมเสรีที่ไม่มีผู้ใช้งานแล้ว นูพีเดียมีระบบการตรวจทานข้อมูลอย่างประณีต และต้องอาศัยผู้ร่วมแก้ไขที่มีคุณวุฒิสูง แต่อัตราการเขียนบทความอยู่ในระดับต่ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2543 จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งนูพีเดีย และแลร์รี แซงเจอร์ ผู้ซึ่งเวลส์ว่าจ้างเพื่อทำงานร่วมกันในโครงการดังกล่าว ได้สนทนาถึงหนทางในการเปิดนูพีเดียให้เปิดกว้างและมีความสมบูรณ์ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น จากแหล่งข้อมูลหลายแห่งได้เสนอว่าแนวคิดวิกิอาจทำให้สมาชิกสาธารณะสามารถมีส่วนร่วมในด้านเนื้อหาได้ โดยวิกิแรกของนูพีเดียออนไลน์เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2544

แต่ผู้เขียนและผู้อ่านนูพีเดียกลับพบอุปสรรคหลายประการต่อแนวคิดในการทำงานร่วมกันของนูพีเดียกับรูปแบบวิกิ ดังนั้น โครงการใหม่ "วิกิพีเดีย" จึงได้ถือกำเนิดขึ้น และมีโดเมนของตนเอง คือ wikipedia.com เมื่อวันที่ 15 มกราคม เวลส์ได้บริจาคทั้งย่านความถี่และเซิร์ฟเวอร์ในซานดิเอโก ส่วนลูกจ้างของโบมิสทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผู้ซึ่งทำงานในโครงการ รวมไปถึง ทิม เชลล์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งโบมิสและเป็นคณะกรรมการบริหารในปัจจุบัน และโปรแกรมเมอร์ เจสัน ริเชย์ โดเมนของวิกิพีเดียได้เปลี่ยนเป็น wikipedia.org ตามอย่างรูปแบบขององค์กรในปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของมูลนิธิวิกิมีเดีย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 คำว่า วิกิ ได้กลายมาเป็นหนึ่งในคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับใหม่[1]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 ได้เกิดกระแสของวิกิพีเดียนอกเหนือจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ มีการจัดตั้งวิกิพีเดียในภาษาอื่น ๆ ทั้งในภาษาคาตาลัน ภาษาจีน ภาษาดัตช์ ภาษาเอสเปอรันโต ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรู ภาษาอิตาลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย ภาษาสเปน และภาษาสวีเดน ต่อมาไม่นาน ภาษาอารบิกและภาษาฮังการีก็ได้เพิ่มเข้ามาด้วย[2] และในเดือนกันยายน ได้รวมไปถึงภาษาโปแลนด์ และก็ได้มีการพิจารณาเรื่องข้อกำหนดในวิกิพีเดียภาษาต่าง ๆ ขึ้น[3] เมื่อถึงปลายปีนั้น ก็ได้มีการเปิดตัว ภาษาแอฟริคานส์ ภาษานอร์เวย์ และภาษาเซอร์โบโครเอเชียน

เครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ แก้

เกือบทุกอย่างที่อยู่บนวิกิพีเดียอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ซึ่งสามารถเผยแพร่หรือสร้างใหม่ได้โดยเสรี

วิกิพีเดียเป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งได้สร้างเครือข่ายของโครงการเนื้อหาเสรี โดยในโครงการทั้งหลายของวิกิมีเดีย คุณจะได้รับโอกาสที่จะกล้าเขียนบทความด้วยตัวคุณเอง และสนับสนุนความรู้ในวิธีการที่เกิดจากความร่วมมือกับผู้ใช้คนอื่น

เนื้อหาและภาพส่วนใหญ่ของวิกิพีเดียอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตคู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 (CC-BY-SA) และสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (GFDL) เนื้อหาบางส่วนถูกนำเข้ามาโดยอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบ CC-BY-SA หรือสัญญาอนุญาตที่เข้ากันได้เท่านั้น และไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบ GFDL เนื้อหาที่เข้าข่ายดังกล่าวจะถูกระบุในตอนท้ายของหน้า ในประวัติการแก้ไขหน้า หรือในหน้าอภิปรายของบทความเพื่อที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์ ภาพทุกภาพซึ่งแสดงถึงสัญญาอนุญาตที่อยู่ภายใต้ หรือแสดงถึงคำชี้แจงเหตุผลในกรณีการใช้ภาพที่ไม่เสรี

เรื่องที่คุณเขียนในวิกิพีเดียยังถือว่าเป็นทรัพย์ของผู้สร้าง ในขณะที่ทั้งสัญญาอนุญาตแบบ CC-BY-SA และ GFDL ต่างก็ชี้ว่าเนื้อหาดังกล่าวสามารถเผยแพร่หรือสร้างใหม่ได้อย่างเสรี

ผู้ร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย แก้

ผู้ใดที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้นั้นย่อมมีโอกาสร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย

ใครก็ตามที่สามารถติดต่ออินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียได้เช่นกัน และลักษณะของการเปิดกว้างเช่นนี้จะเป็นการรวบรวมเอาเนื้อหาปริมาณมหาศาล โดยผู้ร่วมแก้ไขจำนวนกว่า 75,000 คน— นับตั้งแต่นักวิชาการเฉพาะด้านไปจนถึงผู้อ่านทั่วไป— ล้วนสามารถแก้ไขวิกิพีเดียได้อย่างเสมอกัน และผู้ร่วมแก้ไขซึ่งมีประสบการณ์เหล่านี้มักจะช่วยในการสร้างรูปแบบของสารานุกรม ผ่านทางคู่มือการเขียนของเราอย่างถูกต้อง

กลไกหลายอย่างถูกจัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือสมาชิกวิกิพีเดียในการบรรลุวัตถุประสงค์ของการทำงานสำคัญในการสร้างทรัพยากรคุณภาพสูงไปพร้อมกับการรักษาความประพฤติอย่างอารยชน ผู้ร่วมแก้ไขสามารถดูบทความและผู้มีความสามารถทางเทคนิคสามารถที่จะแก้ไขโปรแกรมเพื่อที่จะรักษาแนวทางหรือเพื่อย้อนการแก้ไขที่ไม่ดีได้ มีผู้ดูแลระบบกว่า 18 คน ซึ่งมีอำนาจในการจัดระเบียบพฤติกรรมให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย ทั้งนี้หากมีความไม่ลงรอยกันในด้านวิธีการนำเสนอข้อเท็จจริง ผู้ร่วมแก้ไขจะทำงานร่วมกันและนำเสนอข้อคิดเห็นอย่างผู้เชี่ยวชาญในประเด็นปัจจุบันได้อย่างยุติธรรม ผู้ดูแลระบบสามารถบล็อกชั่วคราวหรือถาวรต่อผู้ที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างอารยชนได้

ถึงแม้ว่ามูลนิธิวิกิมีเดียเป็นเจ้าของไซต์วิกิพีเดีย แต่ส่วนใหญ่แล้ว วิกิมีเดียไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเขียนและการดำเนินงานประจำวันในวิกิพีเดียเท่าใดนัก

ข้อแนะนำในการใช้งานวิกิพีเดีย แก้

การสำรวจวิกิพีเดีย แก้

ผู้เยี่ยมชมจำนวนมากเข้ามายังวิกิพีเดียเพื่อที่จะแสวงหาความรู้ และส่วนอื่น ๆ เข้ามาเพื่อที่จะแบ่งปันความรู้ อันที่จริงแล้ว แม้กระทั่งในขณะนี้ บทความจำนวนมากกำลังถูกพัฒนาขึ้น และบทความใหม่อีกจำนวนมากก็ถูกสร้างขึ้นด้วยเช่นกัน คุณสามารถดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ในหน้าปรับปรุงล่าสุด คุณยังสามารถดูบทความที่ถูกสุ่มเนื้อหาได้เช่นกัน บทความในวิกิพีเดียไทยกว่า 206 บทความถูกคัดเลือกจากประชาคมวิกิพีเดียให้เป็นบทความคัดสรร อันเป็นการใช้ตัวอย่างเพื่อแสดงความเป็นบทความซึ่งมีคุณภาพดีที่สุดในสารานุกรม และอีกกว่า 173 บทความได้รับการคัดเลือกให้เป็นบทความคุณภาพ ข้อมูลในบางส่วนของวิกิพีเดียอยู่ในรูปแบบของบัญชีรายชื่อ วิกิพีเดียยังมีสถานีย่อย ซึ่งรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องของสถานีย่อยนั้น ๆ คุณยังสามารถสืบค้นบทความได้จากแถบด้านขวาบนของจอภาพในขณะนี้

นอกจากในภาษาไทยแล้ว ในปัจจุบัน มีวิกิพีเดียในภาษาอื่นอีกมากกว่า 200 ภาษา (ดูที่ รายชื่อวิกิพีเดียในเวอร์ชั่นภาษาอื่น) รวมทั้งโครงการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พจนานุกรม คำคม ตำรา เอกสารต้นฉบับและบริการข่าว (ดูที่ โครงการพี่น้อง) ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกดำรงรักษา อัปเดตข้อมูล และบริหารจัดการโดยประชาคมที่แยกจากกัน และมักจะมีเนื้อหาและบทความซึ่งในบางครั้งอาจสืบค้นได้ยากในแหล่งข้อมูลอื่นทั่วไป

การนำทางเบื้องต้นในวิกิพีเดีย แก้

บทความทั้งหมดในวิกิพีเดียถูกเชื่อมโยงหรืออ้างอิงระหว่างกัน เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นข้อความที่มีสีเช่นนี้ หมายความว่า มีลิงก์เชื่อมโยงไปยังหน้าบทความในวิกิพีเดีย ซึ่งมีข้อมูลเชิงลึก เมื่อคุณต้องการข้อมูลดังกล่าว การเลื่อนเมาส์ค้างไว้เหนือลิงก์มักจะแสดงให้คุณเห็นว่าลิงก์ดังกล่าวจะพาคุณเชื่อมโยงไปยังหน้าใด ในทุกที่ที่ปรากฏลิงก์เช่นนี้ ผู้ใช้สามารถคลิกเพียงครั้งเดียวเพื่อลิงก์ไปยังข้อมูลเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมีลิงก์ประเภทอื่นในตอนท้ายของบทความ ซึ่งเชื่อมโยงไปหาเว็บไซต์และหน้าภายนอก แหล่งข้อมูลอ้างอิง และหมวดหมู่ที่ได้รับการจัดระเบียบเอาไว้อย่างหลวม ๆ ซึ่งคุณสามารถทำการสืบค้นได้อย่างเป็นลำดับ บทความบางบทยังมีลิงก์ไปยังหน้าคำจำกัดความในพจนานุกรม คำคม บทความที่มีเนื้อหาเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น และข้อมูลเพิ่มเติมในโครงการพี่น้องของวิกิมีเดีย คุณสามารถเพิ่มเติมลิงก์ได้หากลิงก์ดังกล่าวขาดหายไป และนี่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่คุณสามารถมีส่วนช่วยเหลือวิกิพีเดียได้

การใช้วิกิพีเดียประกอบการวิจัย แก้

การอ้างอิงถึงวิกิพีเดียในเอกสารงานวิจัยมักถูกพิจารณาว่ายอมรับไม่ได้
เนื่องจากวิกิพีเดียถูกมองว่าเป็นแหล่งอ้างอิงที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ
[4][5]

ดูเพิ่มที่ Wikipedia:Wikipedia as an academic source สำหรับตัวอย่างการใช้วิกิพีเดียเป็นแหล่งอ้างอิงในผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ

เนื่องจากความเป็นวิกิของวิกิพีเดีย บทความทั้งหลายจึงไม่เคยเสร็จสมบูรณ์เลย เพราะจะมีการแก้ไขและพัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยทั่วไปแล้ว ผลดังกล่าวได้ปรากฏในการปรับปรุงคุณภาพของบทความและการนำเสนอที่เป็นกลางและสมดุล

ผู้ใช้พึงทราบว่าไม่ใช่บทความทั้งหมดที่มีคุณภาพตามแบบสารานุกรมตั้งแต่ต้น: บทความในวิกิพีเดียอาจบรรจุข้อมูลที่ผิดหรือเป็นที่โต้แย้ง อันที่จริงแล้ว บทความจำนวนมากมีความไม่เป็นกลางในตอนต้น และหลังจากกระบวนการอภิปราย การโต้แย้งและการโต้วาทีเป็นเวลานาน บทความก็จะเข้าสู่มุมมองที่เป็นกลางมากขึ้นทีละน้อย ในขณะที่บทความบางบทที่มีเนื้อหาไม่เป็นกลางอย่างร้ายแรง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้เวลานานที่จะปรับปรุงความเป็นกลางของเนื้อหาให้สมดุลกัน ซึ่งบางส่วนเป็นเพราะผู้แก้ไขมักจะเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนที่ตนสนใจและไม่พยายามที่จะสร้างสารานุกรมที่มีความครอบคลุมอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดก็จะมีผู้ปรับปรุงอื่นที่เพิ่มเนื้อหาและเขียนบทความ รวมทั้งพยายามที่จะให้เนื้อหามีลักษณะเป็นกลางและครอบคลุมอย่างแท้จริง นอกเหนือจากนั้น วิกิพีเดียยังดำเนินการกระบวนการยุติข้อพิพาทภายในเพื่อจะช่วยผู้ร่วมแก้ไขที่ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหา โดยปกติแล้ว ผู้แก้ไขจะต้องมีความเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับวิธีการพัฒนาบทความ

บทความวิกิพีเดีย ในอุดมคติ คือ บทความที่เขียนอย่างดี มีเนื้อหาสมดุล เป็นกลาง และมีความเป็นสารานุกรม บรรจุความรู้ซึ่งครอบคลุม มีความสำคัญและสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ในปัจจุบัน บทความจำนวนมากกำลังพัฒนาเข้าสู่ระดับคุณภาพดังกล่าวเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา และบทความหลายบทก็เป็นเช่นนี้แล้ว บทความที่ดีที่สุดของเรา เรียกว่า บทความคัดสรร ซึ่งจะประดับดาวเล็ก ๆ ( ) ไว้มุมบนขวาของบทความ ส่วนบทความที่มีคุณภาพเป็นรองเพียงบทความคัดสรร เรียกว่า บทความคุณภาพ ซึ่งจะประดับเครื่องหมายกากบาท ( ) ไว้มุมบนขวาของบทความ อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวอาจกินเวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปีจึงจะบรรลุผล ดังที่ผู้ใช้ต่างก็แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของตน บทความบางบทยังบรรจุเนื้อความที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์อ้างอิงอย่างสมบูรณ์ ในภายหลัง ผู้ใช้คนอื่น ๆ อาจเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนอื่น เนื้อหาบางส่วนอาจถูกพิจารณาโดยผู้ใช้ในภายหลังว่าไม่เหมาะสม ซึ่งนำไปสู่การนำออกหรือขยายความเพิ่ม

แต่ในขณะที่ทิศทางในภาพรวมของวิกิพีเดียกำลังมุ่งไปสู่การพัฒนามากขึ้น แต่ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้วิกิพีเดียอย่างระมัดระวัง หากคุณตั้งใจที่จะใช้มันเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการวิจัย นับตั้งแต่บทความวิกิพีเดียมีระดับคุณภาพที่หลากหลาย และต้องตรึกตรองโดยรอบคอบ โดยเรามีหน้าแนวปฏิบัติและข้อมูลเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้และนักวิจัยที่จะกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิกิพีเดียเมื่อเทียบกับสารานุกรมตีพิมพ์ แก้

ดูบทความหลักได้ที่ วิกิไม่ใช่เอกสาร บนเมตาวิกิ (อังกฤษ)

วิกิพีเดียมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าสารานุกรมตีพิมพ์แบบดั้งเดิม กล่าวคือ เนื่องจากวิกิพีเดียไม่ต้องได้รับการตีพิมพ์ วิกิพีเดียจึงเสียค่าใช้จ่ายใน "การตีพิมพ์" ต่ำมากสำหรับการเพิ่มเติมหรือขยายความ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยเช่นเดียวกัน นอกจากนั้น วิกิพีเดียยังใช้วิกิลิงก์แทนการอธิบายในบรรทัดและยังมีการรวบรวมเนื้อหาโดยสรุปที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดเอาไว้ในย่อหน้าแรกของแต่ละบทความเพื่อสรุปเนื้อหาทั้งหมดอีกด้วย (เรียกว่า "บทนำของบทความ") การแก้ไขวิกิพีเดียยังกินเวลาไม่นานเช่นเดียวกัน ในขณะที่เนื้อหาของสารานุกรมตีพิมพ์จะยังไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะถึงการตีพิมพ์ในคราวถัดไป แต่ผู้ใช้วิกิพีเดียสามารถอัปเดตข้อมูลได้ทุกเมื่อ เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจว่าบทความจะมีความทันสมัยต่อเหตุการณ์ปัจจุบันและความคงแก่เรียนทั้งหลาย

จุดแข็ง จุดอ่อน และคุณภาพของบทความวิกิพีเดีย แก้

วิกิพีเดียเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย แต่การแก้ไขทุกครั้งของผู้ใช้ทุกคนมิใช่การแก้ไขอย่างมีคุณภาพเสียทั้งหมด

จุดแข็งที่สุด จุดอ่อนที่สุดของวิกิพีเดียเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน เนื่องจากวิกิพีเดียเปิดโอกาสให้ผู้ใดก็ตามมีส่วนในวิกิพีเดีย ทำให้มีฐานผู้ร่วมแก้ไขพัฒนาขนาดใหญ่ และบทความทั้งหลายก็ถูกเขียนขึ้นด้วยความคิดเห็นที่ตรงกันตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการแก้ไข

  • วิกิพีเดียเปิดโอกาสให้กับฐานผู้ร่วมพัฒนาขนาดใหญ่ ซึ่งครอบคลุมผู้ร่วมแก้ไขจำนวนมากจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้วิกิพีเดียลดอคติทางภูมิภาคและวัฒนธรรมที่พบในสิ่งตีพิมพ์จำนวนมาก และทำให้เป็นการยากยิ่งที่กลุ่มบุคคลใดกลุ่มหนึ่งที่จะพยายามเซ็นเซอร์หรือสอดแทรกอคติลงไป ฐานผู้ร่วมแก้ไขที่มีขนาดใหญ่และหลากหลายยังทำให้สามารถเข้าถึงและขยายใจความสำคัญในเรื่องที่อาจไม่สามารถเข้าถึงได้หรือมีเอกสารประกอบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จำนวนผู้ร่วมพัฒนาบทความจำนวนมากสามารถพัฒนาบทความได้ตลอดเวลา ยังหมายความว่า วิกิพีเดียสามารถผลิตบทความสารานุกรมที่ยอดเยี่ยมและทรัพยากรที่ครอบคลุมถึงเหตุการณ์ข่าวปัจจุบันได้ภายในเวลาเพียงไม่นานนักหลังจากมีการเผยแพร่ มันยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงข้อเสียที่พบในสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ ที่วิกิพีเดียอาจสะท้อนถึงอคติทางวัฒนธรรม อายุ สังคม เศรษฐกิจ และอื่น ๆ ของผู้ร่วมพัฒนาได้ วิกิพีเดียไม่มีกระบวนการอย่างเป็นระบบที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีการเขียนหัวเรื่องที่ "มีความสำคัญยิ่ง" ดังนั้น วิกิพีเดียอาจปรากฏการมองข้ามและการละเลยอย่างคาดไม่ถึง ในขณะที่บทความส่วนใหญ่อาจถูกเปลี่ยนแปลงได้โดยใครก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว การแก้ไขวิกิพีเดียอาจเกิดขึ้นโดยกลุ่มประชากรเพียงกลุ่มเดียว (เช่น เยาวชนมากกว่าผู้สูงวัย เพศชายมากกว่าเพศหญิง คนรวยมากกว่าคนจน เป็นต้น) ซึ่งอาจเกิดอคติขึ้นได้ บางหัวเรื่องอาจยังมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมนัก ในขณะที่บางหัวเรื่องมีเนื้อหาครอบคลุมและเจาะลึก
  • วิกิพีเดียเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมแก้ไข ซึ่งหมายความว่า วิกิพีเดียจะถูกก่อกวนได้ง่ายหรือมีข้อมูลที่น่าสงสัยและยังไม่ได้พิสูจน์ ซึ่งข้อความเหล่านี้สมควรที่จะถูกลบทิ้ง (ดูเพิ่มที่ รายชื่อการก่อกวน) ในขณะที่การก่อกวนบางอย่างมีลักษณะสะดุดตา ซึ่งสามารถถูกตรวจพบได้ง่าย และได้รับการแก้ไขอยู่บ่อยครั้ง แต่วิกิพีเดียก็มีปัญหาในด้านการสนับสนุนมุมมองที่แตกต่างกันมากกว่าผลงานอ้างอิงตีพิมพ์ อย่างไรก็ตาม อคติที่จะไม่ถูกโต้แย้งในผลงานอ้างอิงที่ถูกตีพิมพ์แบบเดิมจะถูกคัดค้านหรือถูกพิจารณาเป็นอย่างมากในวิกิพีเดีย ในขณะที่บทความในวิกิพีเดียส่วนใหญ่มักมีมาตรฐานในระดับดีภายหลังได้รับการแก้ไขแล้ว แต่บทความใหม่และบทความที่มีการตรวจสอบน้อยก็อาจถูกก่อกวนและสอดแทรกเนื้อหาผิดลงไปเป็นได้ ผู้ร่วมแก้ไขวิกิพีเดียจำนวนมากไม่ยินยอมต่อนโยบายหลัก หรืออาจเพิ่มเติมข้อมูลที่ปราศจากแหล่งอ้างอิงที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ และด้วยการเข้าถึงวิกิพีเดียอย่างง่ายดายเช่นนี้ย่อมเป็นการเพิ่มโอกาสที่วิกิพีเดียจะบรรจุเนื้อหาที่ผิดพลาดหรือเข้าใจผิด ซึ่งควรจะได้รับการแก้ไขในทันที โดยผู้ร่วมแก้ไขเลือกที่จะดูผ่านหน้าปรับปรุงล่าสุดและแก้ไขบทความผ่านทางหน้ารายการเฝ้าดู
  • วิกิพีเดียถูกเขียนขึ้นอย่างเปิดเผยและโปร่งใส จึงทำให้มีทั้งผู้สนับสนุนและผู้ที่ต่อต้าน การเซ็นเซอร์หรือการเปิดเผยมุมมองที่แตกต่างออกไปจาก "มุมมองของทางการ" ทำให้ข้อมูลบางอย่างเป็นการยากอย่างยิ่งที่จะเก็บบันทึกไว้และมักจะประสบความล้มเหลวเมื่อเวลาผ่านไป ในความเป็นจริงแล้ว บทความส่วนใหญ่ในวิกิพีเดียจะมีการกล่าวถึงมุมมองสำคัญทั้งหมด เพื่อที่จะบรรลุมุมมองที่เป็นกลาง ในความเป็นจริงแล้ว กระบวนการเพื่อที่จะพัฒนาบทความไปจนถึงระดับนั้นจะต้องกินเวลาและมีการถกเถียงกันมาก โดยที่บทความจะถูกแก้ไขไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งหยุดอยู่ที่ "การเข้าถึงความเป็นกลาง" ที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้ การเข้าถึงความเป็นกลางเป็นโอกาสไม่บ่อยครั้งนักกว่าที่พบมุมมองแบบสุดโต่ง วิกิพีเดียปฏิบัติการเพื่อให้มีกระบวนการโต้เถียงและแก้ไขปัญหา ซึ่งผู้แก้ไขจะอภิปรายหนทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันก่อนที่จะลบการแก้ไขคุณภาพต่ำหรือมีอคติอยู่เสีย
  • วิกิพีเดียถูกเขียนขึ้นโดยนักสมัครเล่นเป็นส่วนใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีหนังสือรับรองไม่มีน้ำหนักอะไรเพิ่มเติมในวิกิพีเดีย นอกจากนั้น วิกิพีเดียยังไม่รับผิดชอบต่อการตรวจทานบทความทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ หรือวิศวกรรม ข้อได้เปรียบข้อหนึ่งของการมีนักสมัครเล่นเป็นผู้เขียนวิกิพีเดีย คือ พวกเขามีเวลาว่างมากกว่า และสามารถพัฒนาวิกิพีเดียได้บ่อยครั้งกว่า

กล่าวโดยสรุป คือ บทความและขอบเขตของเนื้อหายังคงประสบกับการถูกปล่อยปะละเลย และในขณะที่ข้อมูลที่ผิดและการก่อกวนได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็อาจไม่เกิดขึ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพราะฉะนั้น จึงมีข้อสรุปอย่างง่าย ๆ ว่าวิกิพีเดียจะยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าตราบเท่าที่เนื้อหายังมีแหล่งอ้างอิงที่ดีประกอบด้วย

ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิซึ่งรันวิกิพีเดียได้บันทึกประวัติการแก้ไขและการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด และข้อมูลที่ถูกเพิ่มเติมสู่วิกิพีเดียจะไม่สูญหายไป หน้าอภิปรายเป็นหน้าข้อมูลที่มีความสำคัญในหัวข้อที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน ดังนั้น นักวิจัยมืออาชีพมักจะพบความแข็งขันอย่างกว้างขวางหรือมุมมองสนับสนุนอย่างรอบคอบ ซึ่งไม่ถูกนำเสนอในหน้าบทความ ดังเช่นข้อมูลในแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ข้อมูลในวิกิพีเดียควรจะถูกตรวจสอบ ความเห็นในปี พ.ศ. 2548 โดยนักเขียนเทคโนโลยีของบีบีซีเคยตั้งข้อสังเกตว่า การอภิปรายในลักษณะนี้อาจกลายมาเป็นเครื่องหมายของวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วแหล่งข้อมูลทุกแห่ง (ทั้งในเซิร์จเอนจินและสื่อต่าง ๆ) และตั้งชื่อว่า "เป็นสำนึกที่ดีกว่าในการหาค่าของแหล่งข้อมูล"[6]

ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ แก้

วิกิพีเดียปฏิเสธที่จะรับผิดชอบ หากข้อมูลในวิกิพีเดียไม่เป็นความจริง

วิกิพีเดียมีข้อปฏิเสธความรับผิดชอบเช่นเดียวกับในอีกหลายเว็บไซต์ ซึ่งเป็นการแจ้งต่อผู้ที่นำเนื้อหาจากวิกิพีเดียไปเผยแพร่ว่าวิกิพีเดียเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือ และข้อปฏิเสธความรับผิดชอบทั้งหมดนี้มีผลต่อทุกหน้าบนวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นการเลือกนำเอามาจากแหล่งต่าง ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งถูกมองว่าเชื่อถือได้ (รวมไปถึงจากแหล่งข้อมูล อย่างเช่น สารานุกรมบริตานิกา แอสโซสิเอเทต เพรสส์ และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด)

การมีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย แก้

คุณสามารถแก้ไขวิกิพีเดียได้ง่าย ๆ เพียงแค่รู้วิธีการและหลักปฏิบัติ

ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมต่อวิกิพีเดียโดยการคลิกแทบ แก้ไข ซึ่งอยู่บนสุดของหน้าบทความนี้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มการแก้ไข กรุณาอ่านหน้าช่วยเหลือที่มีประโยชน์บางหน้า อย่างเช่น หน้าสอนการใช้งานและหน้ารวมนโยบายและแนวปฏิบัติ และสำหรับการมีส่วนร่วมแก้ไขในวิกิพีเดีย คุณพึงระลึกเสมอว่าผู้ใช้ทุดคนถูกคาดหวังว่าจะมีความเป็นอารยะและมีมุมมองที่เป็นกลาง เคารพมุมมองความเห็นที่แตกต่าง และเพิ่มเติมข้อมูลเฉพาะที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้และเป็นข้อเท็จจริงมากกว่าเพียงมุมมองส่วนบุคคลและความคิดเห็น ห้าเสาหลักของวิกิพีเดียครอบคลุมแนวทางดังกล่าวทั้งหมด และควรที่ผู้ร่วมแก้ไขจะอ่านก่อนที่จะลงมือแก้ไข

บทความส่วนมากจะเริ่มต้นมาจากโครง แต่หลังจากที่ได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมแก้ไขหลายคน บทความเหล่านั้นสามารถพัฒนาจนกลายมาเป็นบทความคัดสรรได้ เมื่อผู้ร่วมแก้ไขได้ตัดสินใจเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจ พวกเขาอาจร้องขอให้มีการเขียนบทความนั้นขึ้น หรือพวกเขาอาจตัดสินใจลงมือเขียนด้วยตนเอง วิกิพีเดียเป็นโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยมุ่งเน้นไปยังขอบเขตหัวเรื่องที่เจาะจงหรืองานที่ต้องการการช่วยเหลือพัฒนาร่วมกัน

การแก้ไขหน้า แก้

วิกิพีเดียใช้รูปแบบหน้าที่เรียบง่ายแต่สามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง เพื่อให้ผู้ร่วมแก้ไขร่วมมือกันเพิ่มเติมข้อมูลประกอบแทนที่จะออกแบบหน้าเองทั้งหมด ซึ่งรวมไปถึงการแบ่งหัวข้อและหัวข้อย่อยโดยอัตโนมัติ ระบบแหล่งอ้างอิงอัตโนมัติ ภาพและตาราง และรายชื่อข้อความ ลิงก์ ไอเอสบีเอ็น และคณิต รวมไปถึงรูปแบบการเขียนและอักขระในเกือบทุกภาษาทั่วโลก รวมทั้งสัญลักษณ์ทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีรูปแบบอย่างง่ายที่จะสามารถนำไปใช้ได้โดยง่าย

รูปแบบของหน้าประกอบด้วยแทบบนสุดของหน้าต่าง อันประกอบด้วย:

  • บทความ แสดงบทความของหัวเรื่องนั้น
  • อภิปราย แสดงการอภิปรายของผู้ใช้เกี่ยวกับตัวบทความ รวมไปถึงความเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และการโต้เถียงกัน เป็นต้น
  • แก้ไข เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้แก้ไขบทความ ซึ่งขึ้นอยู่กับการโต้เถียงที่เกิดขึ้นกับหัวเรื่อง และแทบดังกล่าวอาจไม่ปรากฏต่อผู้ใช้ทุกคน (แต่จะแสดงผลเป็น ดูโค้ด แทน แสดงว่าคุณไม่สามารถแก้ไขหน้านั้นได้)
  • ประวัติ แทบดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้อ่านดูผู้ร่วมแก้ไขของบทความและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • เครื่องหมายรูปดาว (เฝ้าดู) เป็นการเลือกที่ให้แสดงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในบทความดังกล่าวในหน้ารายการเฝ้าดูของคุณเมื่อคุณล็อกอิน (เมื่อคลิกแล้วดาวจะกลายเป็นทึบแสงแทน)

วิกิพีเดียมีเวอร์ชันที่มั่นคงและมีการควบคุมการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งหมายความว่า การแก้ไขคุณภาพต่ำหรือการก่อกวนจะสามารถถูกย้อนหรือถูกพัฒนาขึ้นให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ดังนั้น ผู้ใช้ที่ไม่มีประสบการณ์จึงไม่อาจสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นอย่างถาวรในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ดังที่ผู้ใช้จำนวนมากมีส่วนร่วมพัฒนาปรับปรุงวิกิพีเดียมากกว่าบทความที่เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น

เงื่อนไขของเนื้อหาในวิกิพีเดีย แก้

วิกิพีเดียขอไม่รับงานเขียนที่ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข

เนื้อหาที่ปรากฏในวิกิพีเดียมีเจตนาที่จะทำให้เป็นข้อเท็จจริง มีความโดดเด่น สามารถพิสูจน์ยืนยันได้จากแหล่งอ้างอิงภายนอก และมีการนำเสนออย่างเป็นกลาง

คุณสามารถศึกษานโยบายและแนวปฏิบัติเหล่านี้ได้จาก:

การบริหารการแก้ไข การตรวจตราและการจัดการ แก้

ชาววิกิพีเดียบริหารจัดการกันเอง และพัฒนาวิกิพีเดียตามความสมัครใจ ตามบทบาทที่ตนเองเลือก หรือตามอำนาจซึ่งได้รับมอบหมาย

ประชาคมวิกิพีเดียส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมขึ้นด้วยตนเอง ดังนั้น ทุกคนอาจสร้างชื่อเสียงได้จากการเป็นผู้ร่วมแก้ไขที่มีความสามารถและจะกลายมาเป็นการมีส่วนร่วมในบทบาทที่ตนเองเลือก เช่น ปัจเจกชนจะเลือกที่จะมีส่วนร่วมในงานพิเศษ อย่างเช่น การพิจารณาบทความตามการร้องขอของผู้อื่น การเฝ้าดูการปรับปรุงล่าสุดเพื่อหาการก่อกวน การเฝ้าดูบทความล่าสุดเพื่อจุดประสงค์ในการควบคุมคุณภาพของบทความ หรือบทบาทที่เกี่ยวข้อง ผู้ร่วมแก้ไขผู้ซึ่งพบว่าความรับผิดชอบในการบริหารการแก้ไขจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ความสามารถของพวกเขาในการช่วยเหลือประชาคมอาจร้องขอให้มีการพิจารณาในประชาคมในการวางข้อตกลงในแต่ละบทบาท อันเป็นโครงสร้างที่จะมีผลต่อมาตรฐานการดำเนินงานของประชาคม นับจนถึงปัจจุบัน อัตราการยินยอมราว 75-80% หลังจากการตั้งคำถามถูกพิจารณาว่าเป็นความต้องการสำหรับบทบาทดังกล่าว มาตรฐานซึ่งมีเจตนาที่จะทำให้มีความแน่นอนในประสบการณ์ระดับสูง ความเชื่อมั่นและความสนิทสนมกันในทิศทางกว้าง ๆ ในวิกิพีเดีย

ระบบซอฟต์แวร์สนับสนุนและโปรแกรมอัตโนมัติจำนวนมากมีส่วนช่วยเหลือผู้ร่วมแก้ไขนับหลายร้อยคนในการเฝ้าดูการแก้ไขและผู้ร่วมแก้ไขที่ก่อให้เกิดปัญหา

ตามหลักเหตุผลแล้ว ผู้ร่วมแก้ไขและผู้ใช้ทั้งหมดต่างก็ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมโดยปราศจาก "โครงสร้างอำนาจ" ซึ่งอย่างไรก็ตาม ระดับของการเข้าถึงวิกิพีเดียจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง:

  1. ผู้ใช้สามารถแก้ไขบทความส่วนใหญ่บนวิกิพีเดีย แต่บทความบางบทถูกป้องกันเนื่องจากมีการก่อกวนหรือสงครามแก้ไข ซึ่งสามารถถูกแก้ไขได้จากผู้ใช้ที่่ผ่านเกณฑ์แล้วเท่านั้น
  2. ผู้ใช้ลงทะเบียนทุกคน ซึ่งได้ลงทะเบียนมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 4 วัน และได้รับการแก้ไขมากกว่า 10 ครั้งจะกลายมาเป็น "ผู้ใช้ได้รับการรับรองอัตโนมัติ" (Autoconfirmed) และสามารถกระทำการได้มากกว่าผู้ใช่ไม่ลงทะเบียนหรือผู้ใช้ใหม่ได้ 3 อย่าง:
    • สามารถเปลี่ยนชื่อบทความได้
    • สามารถแก้ไขบทความที่กึ่งล็อกได้
    • สามารถมีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียงในบางเรื่องได้
  3. ผู้ใช้ลงทะเบียนจำนวนมากสามารถเข้าถึงเครื่องมือซึ่งทำให้การแก้ไขง่ายขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งมีผู้ใช้จำนวนน้อยที่ศึกษาการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ แต่สิทธิพิเศษเพียงอย่างเดียวที่มอบให้แก่ผู้ร่วมแก้ไขอย่างดี ได้แก่ การย้อนกลับ ซึ่งเป็นการย้อนการแก้ไขที่ง่ายกว่าเดิม
  4. ผู้ดูแลระบบ (Administrator, Sysop) ผู้ที่ได้รับเลือกจากประชาคม สามารถเข้าถึงเครื่องมือบางประการได้มากขึ้น มีอำนาจในการลบบทความ บล็อกผู้ใช้หรือหมายเลขไอพี และสามารถแก้ไขบทความที่ถูกล็อกได้
  5. ผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง (Bureaucrat) ผู้ที่ได้รับเลือกผ่านทางกระบวนการเช่นเดียวกับการเลือกผู้ดูแลระบบ มีอำนาจในการเพิ่มเติมหรือเพิกถอนสิทธิผู้ดูแลระบบ อนุมัติหรือลบล้างสิทธิของบอต และเปลี่ยนชื่อผู้ใช้

นอกเหนิอจากลำดับการเข้าถึงดังกล่าวแล้ว ในวิกิพีเดียภาษาต่างประเทศหรือในโครงการอื่นอาจมีโครงสร้างอื่นประกอบด้วย ได้แก่:

  • คณะกรรมการตัดสินชี้ขาด (Wikiepdia:Arbitration Committee) ซึ่งมีลักษณคล้ายกับศาลสูงของวิกิพีเดีย มีหน้าที่รับมือกับข้อพิพาทซึ่งยังคงไม่ได้รับการแก้ไขหลังจากความพยายามยุติข้อพิพาทประสบความล้มเหลว สมาชิกของคณะกรรมการจะดำรงตำแหน่งคราวละสามปีโดยเวียนกันตามตาราง และบรรดาผู้ดูแลระบบมักจะเป็นผู้ซึ่งถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่ง
  • Stewards ถือเป็นระดับสูงสุด นอกเหนือจากกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดีย เป็นผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเทคนิคเล็กน้อยและมักจะไม่ค่อยได้ยินข่าวหรือการกระทำของพวกเขามากนัก เขามักจะปรากฏตัวเพื่อทำหน้าที่แทนผู้ดูแลระบบหรือผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้งในวิกิพีเดียภาษาท้องถิ่นในกรณีที่ไม่สามารถหาบุคคลมีทำหน้าที่ดังกล่าวได้เท่านั้น
  • ผู้ใช้:จิมมี เวลส์ ซึ่งในทางเทคนิค ทำหน้าที่เสมือน Stewards ได้รับสิทธิการเข้าถึงใหม่ "ผู้ก่อตั้ง" (Founder) ในปี พ.ศ. 2552

การรับมือกับการโต้แย้งและการกระทำที่ผิด แก้

วิกิพีเดียมีระเบียบปฏิบัติหลายประการเพื่อรับมือกับกรณีที่เกิดการกระทำที่ผิดขึ้น ซึ่งระเบียบเหล่านี้ถูกทดสอบเป็นอย่างดีและไว้วางใจได้

  • ผู้ใช้ทุกคนสามารถรายงานการก่อกวนโดยเจตนา และปรับปรุงแก้ไขไ้ด้
  • การโต้แย้งระหว่างผู้ร่วมแก้ไข ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม การเข้าถึงการแก้ไข หรือความสมเหตุสมผลของเนื้อหา สามารถนำไปอภิปรายในหน้าอภิปรายของแต่ละบทความ ผ่านการร้องขอจากผู้ร่วมแก้ไขอื่นหรือกระบวนการยุติข้อโต้แย้งของวิกิพีเดีย
  • การใช้บัญชีผู้ใช้ในทางที่ผิด อย่างเช่น การสร้าง "หุ่นเชิดอินเทอร์เน็ต" หรือการรวมกลุ่มกันเพื่อนำเสนิมุมมองที่ไม่เป็นกลางหรือความไม่เหมาะสมในการอภิปราย หรือเพื่อก่อกวนกระบวนการอื่นในวิกิพีเดียด้วยการกระทำอันเป็นที่น่ารำคาญ จะถูกพิจารณาผ่านทางนโยบายหุ่นเชิด

นอกเหนือจากนั้น ผู้ใช้ใหม่อาจพบว่าการร่วมลงคะแนนเสียงของตนมีน้ำหนักน้อยกว่าผู้ใช้คนอื่นในการลงคะแนนเสียงอย่างไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการใช้บัญชีผู้ใช้เพื่อจุดประสงค์เดียว

การพิจารณาคุณภาพการแก้ไข แก้

เช่นเดียวกับระบบในการควบคุมการแก้ไขที่ไม่ได้มาตรฐานและการก่อกวน วิกิพีเดียยังมีคู่มือเต็มรูปแบบและเนื้อหา และรูปแบบหลายอย่างสำหรับการพิจารณาและพัฒนาบทความอยู่อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างของกระบวนการดังกล่าวได้แก่ การเสนอบทความคุณภาพ และการเสนอบทความคัดสรร การตรวจสอบบทความอย่างกวดขันมีเจตนาเพื่อที่จะบรรลุมาตรฐานสูงสุดและแสดงขีดความสามารถของวิกิพีเดียที่จะผลิตผลงานคุณภาพสูง

นอกเหนือจากนั้น รูปแบบที่เจาะจงของบทความหรือขอบเขตของงานมักจะมีโครงการเฉพาะและกว้างขวาง เช่น โครงการวิกิ และหน่วยเก็บกวาดเฉพาะกิจ

คุณสมบัติทางเทคนิค แก้

วิกิพีเดียใช้ซอฟต์แวร์ของมีเดียวิกิ ซึ่งเป็นโปรแกรมโอเพนซอร์ซ ที่ไม่เพียงแต่ใช้กันในโครงการของวิกิมีเดีย แต่ยังรวมไปถึงเว็บไซต์อื่นอีกเป็นจำนวนมาก ฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนโครงการวิกิมีเดียตั้งอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์หลายร้อยแห่งในศูนย์ให้บริการตามแห่งต่าง ๆ รอบโลก คำอธิบายทั้งหมดของเซิร์ฟเวอร์และบทบาทของเซิร์ฟเวอร์สามารถดูได้ที่หน้านี้

คำถามและข้อเสนอแนะ แก้

วิกิพีเีดียดำเนินงานได้ก็ด้วยความพยายามของสาธารณชน เพื่อให้ได้ผลออกมาเป็นสารานุกรม หากมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ คุณควรจะเพิ่มข้อคิดเห็นดังกล่าวในหน้าอภิปรายก่อน ทั้งนี้ จงกล้าที่จะแก้ไขวิกิพีเดีย เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือเพิ่มเติมข้อมูล

คำถามพบบ่อย แก้

การตอบรับ แก้

วิกิพีเดียมีกระบวนการยุติข้อพิพาท รวมไปถึงมีหน้าที่ออกแบบมาสำหรับตอบคำถาม ผลป้อนกลับ แสดงความคิดเห็น หรือเสนอแนะ:

ดูเพิ่มที่:

ความช่วยเหลือในการศึกษาค้นคว้าและคำถาม แก้

สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเฉพาะเรื่อง วิกิพีเดียมีตัวช่วยผู้ใช้ดังกล่าว ดังนี้

ตามธรรมชาติของวิกิพีเดียแล้ว วิกิพีเดียส่งเสริมให้ทุกคนค้นคว้าข้อมูลด้วยตัวเองก่อน และหากในวิกิพีเดียไม่มีข้อมูลตามที่คุณค้นคว้า ก็จงกล้าที่จะเพิ่มมันลงไปเพื่อให้ผู้อื่นได้รับความทราบข้อมูลดังกล่าวด้วยเช่นกัน

การพูดคุยระหว่างประชาคม แก้

วิกิพีเดียมีศาลาชุมชน สำหรับสนทนาเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของบทความหรือพฤติกรรมของผู้แก้ไขบทความ ศาลาชุมชนนั้นครอบคลุมเรื่องทั่วไป เช่น ประกาศ การอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับเทคนิค นโยบาย และการใช้ภาษา รวมถึงยังมีศาลาประชาคม เป็นศูนย์กลางสำหรับสิ่งที่ต้องทำ การร่วมมือกับผู้ใช้อื่น ข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขโดยเบื้องต้น ศาลาประชาคมยังมีไว้สำหรับติดตามว่าเกิดอะไรขึ้นในวิกิพีเีดียอีกด้วย

ติดต่อผู้แก้ไขวิกิพีเดียเป็นการส่วนตัว แก้

หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ที่แรกที่คุณควรจะไป คือ วิกิพีเดีย:ความช่วยเหลือ ในการติดต่อกับผู้ร่วมแก้ไขเป็นรายบุคคล คุณอาจทิ้งข้อความไว้ในหน้าพูดคุยของเขาได้ สถานที่โดยทั่วไปที่ใช้ถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับนโยบายหรือโครงการวิกิจะอยู่ที่วิกิพีเดีย:สภากาแฟ สำหรับการติดต่อออนไลน์ และวิกิพีเดีย:จดหมายกลุ่ม สำหรับการติดต่อผ่านทางอีเมลล์ หรือคุณอาจจะติดต่อชาววิกิพีเดียคนอื่นผ่านช่องทางไออาร์ซีและอีเมล

นอกจากนั้น เมตาวิกิของมูลนิธิวิกิมีเดีย อันเป็นแหล่งสำหรับการประสานงานในโครงการวิกิพีเดียและโครงการพี่น้องอื่น ๆ ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่คุณสามารถแจ้งบั๊กและร้องขอฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเติม

สำหรับช่องทางการติดต่อทั้งหมด ดูที่ วิกิพีเดีย:ติดต่อ

วิกิพีเดียในภาษาอื่น แก้

วิกิพีเดียภาษาไทยถูกเขียนขึ้นในภาษาไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ปัจจุบัน วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความทั้งหมด 163,842 บทความ วิกิพีเดียในภาษาอื่นก็มีเช่นกัน โดยวิกิพีเดียที่มีขนาดใหญ่สามารถดูได้ตามรายชื่อด้านล่างนี้

โครงการพี่น้อง แก้

วิกิพีเดียดำเนินการโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร นอกจากวิกิพีเดียแล้ว วิกิมีเดียยังดำเนินการโครงการหลายภาษาและเนื้อหาเสรีอีกหลายโครงการด้วยกัน ได้แก่

 
วิกิซอร์ซ
เอกสารต้นฉบับเสรี
 
คอมมอนส์
ศูนย์รวมสื่อเสรี
 
วิกิพจนานุกรม
พจนานุกรมและอรรถาภิธาน
 
วิกิตำรา
ตำราและคู่มือเสรี
 
วิกิคำคม
แหล่งรวบรวมคำพูด
 
เมต้าวิกิ
ศูนย์ประสานงานโครงการวิกิมีเดีย
 
วิกิสปีชีส์
สารบบอนุกรมวิธาน
 
วิกิข่าว
แหล่งข่าวเนื้อหาเสรี

โปรดทราบด้วยว่า ถึงแม้เว็บไซต์อื่นอาจใช้ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์เหล่านั้นมีรูปลักษณ์คล้ายคลึงกับวิกิพีเดีย หรืออาจมีชื่อที่รวมไปถึง "วิกิ-" หรือ "-พีเดีย" หรือชื่อที่คล้ายกันในชื่อโดเมน แต่โครงการที่สังกัดมูลนิธิวิกิมีเดีจะปรากฏในรายชื่อทางด้านบนเท่านั้น โครงการอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้ไม่อยู่ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิวิกิมีเดีย แม้โครงการอื่นอาจมีการกล่าวอ้างเช่นนั้นก็ตาม

อ้างอิง แก้

  1. "Quarterly update to OED online: New edition: Prakrit to prim", Oxford English Dictionary, March 15, 2007
  2. "Wikipedia announcements — May 2001".
  3. "Wikipedia announcements — September 2001".
  4. Andrew Orlowski. (2006). New Age judge blasts Apple. The Register. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2553.
  5. Andrew Orlowski. (2006). Avoid Wikipedia, warns Wikipedia chief. The Register. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2553.
  6. Bill Thompson, "What is it with Wikipedia?", BBC, December 16, 2005.

ดูเพิ่ม แก้

อ่านเพิ่มเติม แก้