วิกิพีเดีย:วิกิพีเดียดีอย่างไร

เมื่อคุณอ่านและแก้ไขวิกิพีเดีย ในจุดหนึ่ง คุณอาจตั้งคำถามกับตัวเองว่า: "ทำไมวิกิพีเดียจึงยิ่งใหญ่เช่นนี้", "อะไรเป็นคำอธิบายสำหรับการเติบโตและความสำเร็จอย่างมหาศาลของวิกิพีเดีย" ในการตอบคำถามเหล่านี้ ผู้ใช้ได้เขียนคำอธิบายและข้อโต้แย้งบางประการในหน้านี้ ในการเปรียบเทียบ โปรดดู วิกิพีเดีย:วิกิพีเดียไม่ดีอย่างไร และ วิกิพีเดีย:คำตอบสำหรับข้อโต้แย้งโดยทั่วไป

การแก้ไข แก้

  • เป็นการง่ายมากที่จะแก้ไขบทความวิกิพีเดีย ทุกคนสามารถคลิกลิงก์ "แก้" หรือ "แก้ไข" และลงมือพัฒนาบทความ การแก้ไขของคุณไม่จำเป็นจะต้องผ่านการตรวจทานอย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่การตรวจสอบเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาคมที่นี่ และทุกคนผู้อ่านบทความและแก้ไขข้อผิดพลาดล้วนแต่เป็นผู้วิจารณ์ทั้งสิ้น ปัจจัยสำคัญ คือ วิกิพีเดียจะ ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเอง เมื่อเวลาผ่านไป บทความจะพัฒนาขึ้นจากความร่วมมืออันหลากหลาย วิกิพีเดียมีระบบจัดการให้บุคคลมอหาข้อสังเกต หรือความคิดเห็นอื่น ๆ เกี่ยวกับประเด็นการแก้ไข และทำให้วิกิพีเดียเป็นผลมาจาก "การมองอย่างเป็นเอกฉันท์" เราชอบ (ในหลายกรณี) บุคคลผู้ซึ่งเข้ามาและปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าจำเป็น; ประชาคมจะรอคอยและตอบสนองอย่งรวดเร็วต่อการแก้ไขที่น่าสงสัย (ถ้ามี) และอาจย้อนการแก้ไขหรือตั้งคำถามพวกเขา นี่จะมีประสิทธิภาพอย่างมาก; ความพยายามของเราดูเหมือนจะปฏิบัติงานในเชิงก่อมากกว่าในโครงการอื่นที่คล้ายกัน
  • ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดค้นเวิลด์ไวด์เว็บ กล่าวย้ำในหนังสือ Weaving the Web ของเขาอยู่บ่อยครั้งว่า เว็บได้เติบโตไปสู่ตัวกลางซึ่งสามารถอ่านได้ง่ายกว่าแก้ไขมัน เขาคาดการณ์ว่าเว็บจะเป็นตัวกลางที่มีความร่วมมือกันมากขึ้นกว่าที่เป็นในปัจจุบัน และคิดว่าบราว์เซอร์ควรจะถูกทำงานเหมือนกับบรรณาธิการ ไซต์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิกิเป็นรูปแบบที่เข้าใกล้กับวิสัยทัศน์ของเขา อันที่จริงแล้ว เว็บบราวเซอร์ตัวแรกเองก็เป็นตัวแก้ไขเว็บเช่นกัน
  • ในขณะที่สารานุกรมในอดีตอาจมีการปรับปรุงใหม่เป็นรายปี ในวิกิพีเดีย การเพิ่มบทความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และการปรับปรุงบทความที่เก่ากว่า จะมีการอัปเดตมากกว่าพันครั้งในเวลาหนึ่งชั่วโมง ซึ่งนับเป็นจำนวนมากหากคุณให้ความสนใจกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ข่าวสารวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมป๊อป หรือในขอบเขตความสนใจซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • ความผิดพลาดในวิกิพีเดียส่วนใหญ่จะได้รับการแก้ไขภายในเวลาไม่กี่วินาที แทนที่จะเป็นหลายเดือนในสารานุกรมตีพิมพ์ ถ้าบุคคลใดพบเห็นความผิดพลาดในวิกิพีเดีย พวกเขาสามารถแก้ไขมันได้ด้วยตนเอง เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการอันยาวนาน ยากลำบาก และน่ารำคาญ ในการรายงานและแก้ไขปัญหาในสารานุกรมตีพิมพ์
  • บนวิกิพีเดีย ไม่มีหัวข้อที่จำเป็นต้องเขียนและไม่มีใครเป็นผู้จัดสรรมอบหมายงาน นั่นหมายความว่า ทุกคนสามารถค้นหาส่วนของสารานุกรมที่พวกเขาสนใจและเพิ่มเติมข้อมูลลงไปโดยทันที (ในกรณีที่พวกเขาสามารถทำได้ดีกว่าที่มีอยู่เดิมแล้ว) นี่จะเพิ่มแรงกระตุ้นและทำให้เกิดความสนุกสนาน
  • วิกิพีเดียมีเนื้อหาเปิด และอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ และสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู การรู้หลักดังกล่าวทำให้มีผู้คนเข้ามาร่วมแก้ไขมากขึ้น; พวกเขารู้ว่ามันเป็นโครงการสาธารณะและทุกคนสามารถร่วมใช้ประโยชน์จากมันได้
  • การใช้หน้าอภิปราย หากบทความไม่ครอบคลุมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คุณสามารถถามหรือเสนอแนะได้
  • บทความที่คุณต้องการ หากบทความที่ค้นพยายามค้นหาไม่พบที่นี่ คุณก็เพียงแค่ขอให้มีการเขียนขึ้น
  • ผู้วิจารณ์วิกิพีเดียจำนวนมากยืนยันว่าบทความถูกเขียนขึ้นโดยมือสมัครเล่นและไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ร่วมพัฒนาหลายคนในหัวข้อเฉพาะทางเป็นถึงผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้ในระดับมือหนึ่งในเรื่องที่พวกเขาเขียน

องค์กร แก้

  • วิกิพีเดียแทบจะไม่มี ข้าราชการ (เป็นคำในวิกิพีเดียซึ่งหมายถึง ผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง) เลย; จนอาจกล่าวได้ว่าวิกิพีเดียไม่มีกลุ่มคนเหล่านี้เลย แต่นั่นมิได้เป็นอนาธิปไตยทั้งหมด ในวิกิพีเดียมีแรงกดดันทางสังคมและบรรทัดฐานในประชาคม แต่บางทีสาเหตุซึ่งวิกิพีเดียไม่ประกอบขึ้นเป็นระบบการบริหารซึ่งมีพิธีรีตรอง (bureaucracy) ก็เนื่องมาจากทุกคนสามารถเข้าร่วมและดำเนินการแก้ไขพัฒนาใด ๆ ตามความชอบของพวกเขา และคนอื่น ๆ ก็มักจะชอบมันในเวลาที่พวกเขาทำ ดังนั้น เราจะไม่มีการขวางกั้นสิ่งนี้; ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและร่วมพัฒนาโครงการได้ตลอดเวลา โครงการดังกล่าวดูแลรักษาตัวเอง การควบคุมการแก้ไขมักจะดำเนินไปควบคู่ไปกับการเขียน ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง (อีกแล้ว) แต่ในบางกรณี วิกิพีเดียมีบทความที่ "ถูกล็อก" เพื่อป้องกันการก่อกวนในหัวข้อที่สำคัญ เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
  • ชีวิตไม่ยุติธรรม และประชาคมอินเทอร์เน็ตก็ไม่มีความยุติธรรมเช่นกัน ถ้าหากมีผู้ดูแลระบบสักคนหนึ่งรู้สึกไม่ชอบคุณตามฟอรั่มอินเทอร์เน็ต คุณจะถูกส่งออกมาจากที่นั่นค่อนข้างที่จะรวดเร็ว เนื่องจากพวกเขาบริหารฟอรั่มดังกล่าว เขาจึงเป็นผู้สร้างกฎ แต่บนวิกิพีเดีย ทุกคนต่างก็สามารถแก้ไขเหมือน ๆ กัน แต่ถ้าหากคุณเป็นนักสะกดคำที่ไม่ดี หรือแม้กระทั่งคุณอายุน้อยเกินกว่าที่จะบอกชื่อของคุณตามกฎหมาย หรือแม้กระทั่งคุณมีมุมมองในเชิงโต้เถียงกัน หรือแม้กระทั่งคุณเกลียดวิกิพีเดีย ตราบใดก็ตามที่คุณสามารถปรับปรุงบทความของเรา คุณย่อมได้รับการต้อนรับที่นี่ และแน่นอน เราแบนบุคคลผู้ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับเรา แต่นั่นก็หลังจากที่เราได้ให้โอกาสพวกเขาเหล่านั้นเป็นครั้งที่สองแล้ว เรามีผู้ดูแลระบบกว่า 18 คน ผู้ซึ่งตรวจสอบการตัดสินใจของผู้ใช้คนอื่น

ความครอบคลุมและความเจาะลึก แก้

  • จนถึงปัจจุบัน วิกิพีเดียถือได้ว่าเป็นสารานุกรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มันถูกพิจารณาว่ามีขนาดใหญ่และครอบคลุมแหล่งความรู้มากที่สุดเท่าที่ใครได้เคยพบเห็นในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษขณะนี้มีบทความมากกว่า 3 ล้านบทความ ซึ่งคิดเป็น 20 เท่า ของอดีตสารานุกรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (สารานุกรมบริตานิกาฉบับที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบรรจุบทความไว้ 65,000 บทความ) และด้วยบทความใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น ข้อมูลจะสามารถเข้าถึงได้ง่ายดายกว่าแต่ก่อน
  • นโยบายมุมมองเป็นกลางของวิกิพีเดียทำให้มันเป็นที่ที่ยอดเยี่ยมในการเข้าใจหัวเรื่องที่ยังเป็นที่โต้เถียงกันอย่างรวดเร็ว
  • วิกิพีเดียไม่ใช่สารานุกรมตีพิมพ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากบทความจะไม่ถูกจำกัดขนาดอย่างเข้มงวดดังที่เป็นในสารานุกรมตีพิมพ์
  • บทความใหม่บนวิกิพีเดียดูเหมือนว่าจะยิ่งมีความสละสลวยมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ โดยบทความทั้งหลายมักจะก้าวไปสู่การปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าบุคคลผู้เขียนมีความรับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น หากสมมุติว่าโครงการวิกิพีเดียคงอยู่ไปนานอีกหลายปีและดึงดูดผู้คนเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลอย่างยิ่งในการคาดการณ์เช่นนี้
  • วิกิพีเดียดูเหมือนว่าจะดึงดูดคนที่ฉลาดและมีเวลาอยู่ในมือบ้าง นอกเหนือจากนั้น ในวิกิพีเดียยังมีผู้เชี่ยวชาญบางคนอยู่ด้วย เมื่อเวลาผ่านไป ผู้เชี่ยวชาญสามารถพัฒนางานจำนวนมากจะริเริ่มโดยอาสาสมัครวิกิพีเดียที่แก้ไขเป็นงานอดิเรกและมือสมัครเล่นสามารถพัฒนาได้โดยผู้เชี่ยวชาญ นี่ทำให้วิกิพีเดียเป็นประชาคมที่ค่อนข้างมีสติปัญญาอย่างน่าพอใจ และทำให้เรามีความมั่นใจว่าคุณภาพบทความวิกิพีเดียจะอยู่ในระดับสูง ไม่ตอนนี้ก็ในไม่ช้า
  • นอกเหนือจากนั้น เนื่องจากผู้ที่มีความรู้อย่างสูงมาจากทั่วทุกมุมโลก วิกิพีเดียจึงสามารถให้ "มุมมองโลก" แก่ผู้อ่านได้อย่างแท้จริง
  • หากจะเปรียบแล้ว วิกิพีเดียก็เป็นเหมือนดินที่อุดมสมบูรณ์สำหรับความรู้ เมื่อบทความสารานุกรมได้เติบโตขึ้น พวกมันจะสามารถดึงดูดชาวสวนเพื่อที่จะถอนวัชพืชและปรับแต่งมัน ในขณะที่การอภิปรายระหว่างสมาชิกประชาคมจะเพิ่มการให้แสงสว่าง ซึ่งจะเร่งการเจริญเติบโตของพืชเหล่านี้ และด้วยความพยายามอย่างไม่ลดละและการบำรุงรักษาอย่างดี บทความวิกิพีเดียจะสามารถเป็นสิ่งที่สวยงามและให้ความรู้ได้เป็นอย่างดี

การก่อกวน แก้

  • โดยธรรมชาติ วิกิพีเดียต่อต้านการแก้ไขที่เป็นการก่อกวนในตัวของมันเอง รุ่นที่ผ่านมาทั้งหมดของบทความได้มีการบันทึกและเก็บรักษาไว้ เมื่อเกิดการก่อกวนขึ้น การคลิกไม่กี่ครั้งก็จะสามารถย้อนการแก้ไขรูปแบบดังกล่าวได้ ลองคิดดูว่า การก่อกวนเสียเวลามากกว่าการย้อนการก่อกวนเสียอีก เมื่อประกอบกันระหว่างการบล็อกไอพีและการตรวจสอบการปรับปรุงล่าสุดอย่างใกล้ชิด วิกิพีเดียก็จะสามารถรับมือกับการก่อกวนได้แทบจะแน่นอน
  • โอกาสของการเผชิญกับการก่อกวนที่คุณไม่สามารถตรวจพบได้ในทันทีมีน้อยมาก เพราะการก่อกวนส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบางส่วนของหน้าหรือเพิ่มข้อความที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการก่อกวน มีน้อยกรณีเท่านั้นที่เป็นการเพิ่มข้อมูลแบบผิด ๆ และที่น้อยยิ่งไปกว่านั้น คือ การเพิ่มข้อมูลที่เป็นการหลอกลวง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ แก้

  • ความสำเร็จของวิกิพีเดียขึ้นอยู่กับผู้ใช้วิกิพีเดียเป็นสำคัญ เรียกว่า "ชาววิกิพีเดีย"
  • ในทางทฤษฎี ทุกคนสามารถเป็นชาววิกิพีเดียได้ แต่ในทฤษฎีจะให้ผลเหมือนกับการปฏิบัติหรือเปล่า
  • แนวคิดที่ว่าประชาคมวิกิพีเดียเป็นกลุ่มคนพิเศษที่มีลักษณะไม่เหมือนใคร เพื่อลำดับคุณลักษณะพิเศษเหล่านี้ เราได้มีโมเดลปัจจัยทางด้านล่าง:
    • ปัจจัยผู้ใช้
      • ความเปิดเผย
      • ทักษะคอมพิวเตอร์
      • แรงจูงใจ
      • ความเป็นกลาง
      • ไม่มีการแบ่งแยกลำดับชั้น
    • ปัจจัยด้านความรู้
      • ประเภทของความรู้
      • อัตราการเปลี่ยนแปลงสูง
      • การตรวจทาน
    • ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
      • การใช้งานง่าย
      • การเข้าถึงอย่างรวดเร็ว
      • การเข้าถึงอย่างไม่จำกัดในหลายภาษา
      • โครงสร้างที่ยืดหยุ่น
      • ปลอดภัย

ปัจจัยทั้งหมดนี้ประกอบกันล้วนมีบทบาทเพื่อบรรลุความสำเร็จในการสร้างและแบ่งปันความรู้บนวิกิพีเดีย

ดูเพิ่ม แก้