มูลนิธิวิกิมีเดีย

องค์กรการกุศลสัญชาติอเมริกัน

37°47′21″N 122°24′12″W / 37.7891838°N 122.4033522°W / 37.7891838; -122.4033522

มูลนิธิวิกิมีเดีย
ก่อตั้ง20 มิถุนายน พ.ศ. 2546 (21 ปี)
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัฐฟลอริดา สหรัฐ
ผู้ก่อตั้งจิมมี เวลส์
ประเภท501 (c) (3), องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
Tax ID no.
20-0049703[1]
ที่ตั้ง
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
วิธีวิกิพีเดีย, วิกิพจนานุกรม, วิกิคำคม, วิกิตำรา, วิกิซอร์ซ, วิกิมีเดียคอมมอนส์, วิกิสปีชีส์, วิกิข่าว, วิกิวิทยาลัย, วิกิสนเทศ, วิกิท่องเที่ยว
สมาชิก
คณะกรรมการเท่านั้น
บุคลากรหลัก
นาตาลียา ตึมกิว, ประธานคณะกรรมการ[2]
มารยานา อิสกันดัร, กรรมการบริหาร[3]
รายได้
รายจ่าย
  • Negative increase 65.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2559)
  • 52.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2558)[4]
ลูกจ้าง
บุคลากร/ผู้รับเหมา ~280 คน (ข้อมูลเมื่อตุลาคม 2558)[5]
เว็บไซต์wikimediafoundation.org

บริษัทมูลนิธิวิกิมีเดีย (อังกฤษ: Wikimedia Foundation, Inc.; WMF) หรือ วิกิมีเดีย เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรและองค์กรการกุศลสัญชาติอเมริกัน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[6] ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักจากการเข้าร่วมในขบวนการวิกิมีเดีย และเป็นเจ้าของชื่อโดเมนอินเทอร์เน็ตของโครงการส่วนใหญ่ของขบวนการ เช่น วิกิพีเดีย มูลนิธินี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยจิมมี เวลส์ เพื่อให้เป็นหนทางหนึ่งในการหาเงินทุนให้แก่วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องด้วยวิธีการที่ไม่แสวงหาผลกำไร[7][8]

ณ พ.ศ. 2558 มูลนิธิมีพนักงานกว่า 280 คน และมีรายได้ประจำปีเกินกว่า 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] ปัจจุบันนาตาลียา ตึมกิว (Nataliia Tymkiv) เป็นประธานคณะกรรมการบริษัท[2] มารยานา อิสกันดัร (Maryana Iskander) ได้เป็นกรรมการบริหารตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2565[3][10]

เป้าหมาย

แก้

มูลนิธิวิกิมีเดียมีเป้าหมายในการพัฒนาและคงสภาพโครงการเนื้อหาเปิดบนฐานของวิกิ และในการเปิดให้เข้าถึงเนื้อหาของโครงการเหล่านี้อย่างเต็มรูปแบบโดยไม่มีค่าใช้จ่าย[11] อีกเป้าหมายหลักของมูลนิธิวิกิมีเดียคือการสนับสนุนทางการเมือง (political advocacy)[12] ใน พ.ศ. 2548 มูลนิธิวิกิมีเดียได้รับสถานะหมวด 501 (c) (3) โดย Internal Revenue Code สหรัฐอเมริกา ว่าเป็นสาธารณกุศล[13] โดยมีโค้ด National Taxonomy of Exempt Entities (NTEE) ที่ B60 (การศึกษาแบบต่อเนื่องในผู้ใหญ่)[14][15] ตามกฎหมาย มูลนิธิแจ้งว่ามีจุดประสงค์ในการรวบรวมและพัฒนาเนื้อหาทางการศึกษาและในการเผยแพร่เนื้อหาเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพไปยังทั่วโลก[16]

อ้างอิง

แก้
  1. "2014 Return of Organization Exempt From Income Tax (form 990)" (PDF). WMF (Public Inspection Copy). 11 May 2016. สืบค้นเมื่อ 13 December 2016.
  2. 2.0 2.1 "Board of Trustees". Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2023.
  3. 3.0 3.1 "Leadership Team". Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2023.
  4. 4.0 4.1 "Wikimedia Foundation, Inc. Financial Statements June, 2016 and 2015" (PDF). Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ November 15, 2016.
  5. "Staff and contractors page (Wikimedia Foundation website)". Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ August 7, 2015.
  6. Jarice Hanson (2016). The Social Media Revolution: An Economic Encyclopedia of Friending, Following, Texting, and Connecting. ABC-CLIO. p. 375. ISBN 978-1-61069-768-2.
  7. Neate, Rupert (October 7, 2008). "Wikipedia founder Jimmy Wales goes bananas". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ October 25, 2009. The encyclopedia's huge fan base became such a drain on Bomis's resources that Mr Wales, and co-founder Larry Sanger, thought of a radical new funding model – charity.
  8. Jimmy Wales (June 20, 2003). "Announcing Wikimedia Foundation". mail:wikipedia-l. สืบค้นเมื่อ November 26, 2012.
  9. "Wikimedia Foundation, Inc. Financial Statements June, 2016 and 2015" (PDF). Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ November 15, 2016.
  10. Lima, Cristiano (14 กันยายน 2021). "Wikimedia taps leader of South African nonprofit as its next CEO". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กันยายน 2021. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2021.
  11. Devouard, Florence. "Mission statement". Wikimedia Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-06. สืบค้นเมื่อ January 28, 2008.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  12. Jackson, Jasper (12 Feb 2017). "'We always look for reliability': why Wikipedia's editors cut out the Daily Mail". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 Feb 2017. Another core job for the foundation – and Maher – is political advocacy. While copyright and press freedom are important issues for Wikipedia, there is one area even more fundamental to its operation - the rules that protect web firms from full liability for what their users post.
  13. Charity Navigator Charity Navigator IRS (Forms 990) Tab. Page accessed January 31, 2016
  14. "NTEE Classification System". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 2, 2008. สืบค้นเมื่อ มกราคม 28, 2008.
  15. "NCCS definition for Adult Education". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2007. สืบค้นเมื่อ January 28, 2008.
  16. Jd. "Wikimedia Foundation bylaws". Wikimedia Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-06. สืบค้นเมื่อ January 28, 2008.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้