นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม
ร้อยตำรวจเอก นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม (ชื่อเล่น ต้น) เป็นนักฟุตบอลชาวไทย ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งแบ็กขวาให้กับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในไทยลีก โดยเขาเป็นกัปตันทีม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด คนปัจจุบัน
![]() | |||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนตัว | |||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม | ||||||||||||||||||||||||||||||
วันเกิด | 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 | ||||||||||||||||||||||||||||||
สถานที่เกิด | จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 1.79 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว) | ||||||||||||||||||||||||||||||
ตำแหน่ง | แบ็กขวา | ||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลสโมสร | |||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสรปัจจุบัน | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | ||||||||||||||||||||||||||||||
หมายเลข | 15 | ||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสรเยาวชน | |||||||||||||||||||||||||||||||
2550-2552 | อัสสัมชัญธนบุรี | ||||||||||||||||||||||||||||||
2553 | อยุธยา | ||||||||||||||||||||||||||||||
2554 | เพื่อนตำรวจ | ||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสรอาชีพ* | |||||||||||||||||||||||||||||||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) | ||||||||||||||||||||||||||||
2555–2557 | บีอีซี-เทโรศาสน | 54 | (2) | ||||||||||||||||||||||||||||
2558– | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 169 | (18) | ||||||||||||||||||||||||||||
ทีมชาติ‡ | |||||||||||||||||||||||||||||||
2554–2555 | ไทย ยู-19 | 8 | (2) | ||||||||||||||||||||||||||||
2555–2559 | ไทย ยู-23 | 22 | (7) | ||||||||||||||||||||||||||||
2556– | ไทย | 35 | (1) | ||||||||||||||||||||||||||||
เกียรติประวัติ
| |||||||||||||||||||||||||||||||
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 11 ธันวาคม 2564 |
ประวัติ แก้ไข
นฤบดินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ที่อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[1] จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพฯ ปัจจุบันกำลังศึกษาในสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต[2] นอกจากนี้ เขายังเคยเป็นแบบให้กับ นิตยสารสุดสัปดาห์ ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ภายใต้แนวคิด "หนุ่มน่าถอด 2030" และมีน้องสาว 1 คน คือ น้ำตาล (ทิพนารี วีรวัฒโนดม)
สโมสรอาชีพ แก้ไข
นฤบดินทร์เริ่มลงแข่งขันระดับเยาวชน กับทีมฟุตบอลของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี และสโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ[1] ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันระดับนักเรียน รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ประเภท ก. ประจำปี พ.ศ. 2551
บีอีซี เทโรศาสน แก้ไข
เมื่อราวต้น พ.ศ. 2555 นฤบดินทร์ได้ขึ้นมาแข่งขันระดับอาชีพให้กับสโมสรบีอีซี-เทโรศาสน โดยมีเพื่อนร่วมทีมที่ติดทีมชาติชุดใหญ่ด้วยกันคือ ชนาธิป สรงกระสินธ์,พีระพัฒน์ โน้ตชัยยา,ธนบูรณ์ เกษารัตน์และอดิศร พรหมรักษ์ ปัจจุบันทั้งหมดยังคงโลดแล่นในเวทีการค้าแข้งในไทยลีก โดยชนาธิป สรงกระสินธ์เล่นให้กับบีจี ปทุม ยูไนเต็ด, พีระพัฒน์ โน้ตชัยยาเล่นให้กับทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด, ธนบูรณ์ เกษารัตน์เล่นให้กับการท่าเรือ เอฟซี, และ อดิศร พรหมรักษ์เล่นให้กับราชบุรี
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แก้ไข
ในช่วงต้น พ.ศ. 2558 หลังจากจบศึก AFF SUZUKI CUP 2014 นฤบดินทร์ถูกแลกเปลี่ยนตัวกับอดิศักดิ์ ไกรษร ไปอยู่กับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด โดยเขาสวมเสื้อหมายเลข 13 ก่อนในปี 2019 เขาเปลี่ยนมาใส่หมายเลข 15[3]
ฤดูกาล 2558 แก้ไข
ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558 นฤบดินทร์ทำประตูแรกในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2558 ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะโอสถสภา 6–3[4]
ฤดูกาล 2559 แก้ไข
ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559 นัดการแข่งขันฉลองความสัมพันธ์ 65 ปี ไทย-กัมพูชา รายการ "ช้างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดทัวร์ ครั้งที่ 1" นฤบดินทร์ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกข้อมือซ้าย ทำให้ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวช[5] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 นฤบดินทร์ตัดสินใจต่อสัญญากับสโมสรไปอีก 5 ปี[6]
ฤดูกาล 2560 แก้ไข
ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 นฤบดินทร์ได้เริ่มเข้ารับการฝึกอบรมที่โรงเรียนนายร้อย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ระยะในการฝึกทั้งสิ้น 3 เดือน โดยเขาจะได้รับอนุญาตให้กลับมาเล่นให้กับสโมสรในช่วงที่มีการแข่งขัน[7]
ฤดูกาล 2561 แก้ไข
ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 นฤบดินทร์ทำประตูแรกในไทยลีก ฤดูกาล 2561 ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านแซงเอาชนะอุบล ยูไนเต็ด ไปได้ 2–1[8]
ฤดูกาล 2562 แก้ไข
ก่อนเปิดฤดูกาล 2562 นฤบดินทร์ได้เปลี่ยนหมายเลขเสื้อจาก 13 ไปเป็น 15 ต่อมาในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562 นฤบดินทร์ทำประตูแรกในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะราชบุรี มิตรผล ไปได้ 6–0[9]
ฤดูกาล 2563–64 แก้ไข
ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 นฤบดินทร์ทำประตูแรกในไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะชลบุรีไปได้ 4–0[10] ต่อมาในวันที่ 7 พฤศจิกายน การแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ รอบ 64 ทีมสุดท้าย เขาทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะสมุทรสงครามไปอย่างขาดลอย 9–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 32 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[11] และในวันที่ 31 ตุลาคม เขาทำประตูที่ 6 ในลีก ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะเมืองทอง ยูไนเต็ดไปได้ 2–0
ฤดูกาล 2564–65 แก้ไข
วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 นฤบดินทร์ทำประตูแรกในไทยลีก ฤดูกาล 2564–65 ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะเมืองทอง ยูไนเต็ดไปได้ 2–0[12]
ฤดูกาล 2565–66 แก้ไข
วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2565 การแข่งขันไทยลีก ฤดูกาล 2565–66 นัดที่ 4 นฤบดินทร์เสียทีทำเข้าประตูตัวเองในนัดที่ทีมเปิดบ้านพบกับบีจี ปทุม ยูไนเต็ด อย่างไรก็ตาม ทีมสามารถกลับมาตีเสมอได้ 2–2
ทีมชาติ แก้ไข
นฤบดินทร์เริ่มลงแข่งขันให้กับทีมชาติไทย ตั้งแต่รุ่นอายุ 12, 13, 16, 19 ปี ซึ่งอยู่ในชุดที่เข้าถึงรอบสุดท้าย ฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[1] และชุดใหญ่ ซึ่งอยู่ในชุดที่ได้เหรียญทองฟุตบอลชาย ในกีฬาซีเกมส์ 2013 ชนะเลิศรายการ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 รวมทั้ง ซีเกมส์ 2015 ตามลำดับ
ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 นฤบดินทร์ มีชื่อติดทีมชาติไทยเบื้องต้น 33 คน[13] และในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 นฤบดินทร์ ยังคงมีชื่อติดทีมชาติไทยในรอบที่ตัดตัวเหลือ 23 คนสุดท้าย ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก นัดที่ไทยจะเปิดบ้านพบกับเวียดนามและออกไปเยือนอินโดนีเซีย[14]
สถิติอาชีพ แก้ไข
สโมสร แก้ไข
- ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2566
สโมสร | ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | เอเชีย | อื่น ๆ | ทั้งหมด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ||
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 2563–64 | ไทยลีก | 27 | 1 | 5 | 1 | — | 2 | 0 | — | 34 | 2 | ||
2564–65 | ไทยลีก | 27 | 1 | 5 | 0 | 4 | 0 | 1[a] | 0 | — | 37 | 1 | ||
2565–66 | ไทยลีก | 27 | 0 | 4 | 0 | 5 | 0 | 0 | 0 | 1[b] | 0 | 37 | 0 |
- ↑ ลงเล่นในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2022 รอบเพลย์ออฟ
- ↑ ลงเล่นในไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ
ทีมชาติ แก้ไข
- ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560[15]
ทีมชาติ | ปี | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|
ไทย | 2556 | 5 | 0 |
2557 | 8 | 0 | |
2558 | 4 | 0 | |
2559 | 3 | 0 | |
2560 | 3 | 0 | |
ทั้งหมด | 23 | 0 |
การทำประตูในนามทีมชาติ แก้ไข
# | วันที่ | สนาม | คู่แข่ง | ทำประตู | ผลการแข่งขัน | รายการ |
---|---|---|---|---|---|---|
— | 23 มกราคม พ.ศ. 2556 | สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย | ฟินแลนด์ | 1-2 | 1-3 | ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 42 (การแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการ) |
1. | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564 | สนามกีฬาอาลมักตูม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | อินโดนีเซีย | 1-0 | 2-2 | ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 |
เกียรติประวัติ แก้ไข
สโมสร แก้ไข
- บีอีซี เทโรศาสน
- บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- ไทยลีก (5): 2558, 2560, 2561, 2564–65, 2565–66
- ไทยเอฟเอคัพ (2): 2558, 2564–65
- ไทยลีกคัพ (4): 2558, 2559, 2564–65, 2566–66
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. และไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ (3): 2558, 2559, 2562
- แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ (2): 2558, 2559
ทีมชาติ แก้ไข
- ไทย อายุไม่เกิน 19 ปี
- ไทย อายุไม่เกิน 23 ปี
- ไทย
รางวัลส่วนตัว แก้ไข
- ทีมยอดเยี่ยมฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[16]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล นักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยม ฟุตบอลสยามโกลเดนบอล 2013
- ↑ นักกีฬาฟุตบอล เก็บถาวร 2015-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- ↑ เทโรยันแลก"นฤบดินทร์"กับ"อดิศักดิ์"ของบุรีรัมย์ จากเดลินิวส์
- ↑ ""บุรีรัมย์" ถล่มโอสถฯ 6-3 ฉีกนำ 5 แต้ม "กิเลน" เสียท่าอาร์มี". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ต้น นฤบดินทร์" ผ่าตัดข้อมือผ่านฉลุย คาดใส่เฝือก 2-3 วีค". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พ่อยัน "นฤบดินทร์" ต่อสัญญาบุรีรัมย์ยาว 5 ปี". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'นฤบดินทร์' เข้าฝึกอบรมนายร้อย". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แซงชนะ อุบล 2-1 ยังครองจ่าฝูงไทยลีกเหนียวแน่น". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์หญ้าสวยยำมังกรหวาน 6-0". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ไฮไลท์+ดูย้อนหลัง บุรีรัมย์ 4-0 ชลบุรี เอฟซี, ฉลามสิบตัว สุดแรงต้าน". สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เปิดรังถล่ม สมุทรสงคราม 9-0 ลิ่ว 32 ทีม ช้างเอฟเอคัพ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ November 7, 2020.
- ↑ "ช้างอารีนา หนาวจริง! ปราสาทสายฟ้า แช่แข็ง กิเลนผยอง ครองบัลลังก์จ่าฝูง ไทยลีก ต่อไป". สืบค้นเมื่อ November 1, 2021.
- ↑ "นิชิโนะประกาศรายชื่อ 33 แข้งช้างศึกเตรียมคัดบอลโลก". สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กุนซือชาวญี่ปุ่น ประกาศตัดตัวผู้เล่นให้เหลือ 23 ราย เป็นที่เรียบร้อย". สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Narubodin Weerawatnodom". National-Football-Teams.com. สืบค้นเมื่อ 17 February 2016.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๓๑, ๙ มกราคม ๒๕๕๘