เสียงในหู
เสียงในหู[6] (อังกฤษ: Tinnitus) เป็นเสียงที่ได้ยินแต่ไม่มีจริง ๆ นอกร่างกาย[1][7] แม้มักจะระบุอาการว่า หูอื้อหรือมีเสียงดังเหมือนโทรศัพท์/กระดิ่ง/นาฬิกาปลุก แต่ก็อาจเป็นเสียงกรอบแกรบ เสียงฟ่อ เสียงหึ่ง หรือเสียงก้อง[2] โดยน้อยครั้งมากที่เป็นเสียงคนหรือเสียงดนตรี[3] เสียงอาจค่อยหรือดัง ต่ำหรือสูง อาจมาจากเพียงหูข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง[2] เป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นอย่างต่อเนื่อง[8] โดยปกติแล้ว อาการจะค่อย ๆ เกิด[3] สำหรับบางคน เสียงจะสัมพันธ์กับความซึมเศร้าหรือความกังวล และสามารถกวนสมาธิ[2] เกือบทุกคนจะประสบกับเสียงในหูเบา ๆ ในห้องที่เงียบสนิท แต่จะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อก่อความรำคาญ ขัดขวางการได้ยินตามปกติ หรือสร้างปัญหาอื่น ๆ[9]
เสียงในหู (Tinnitus) | |
---|---|
เสียงในหูบ่อยครั้งมีอาการได้ยินเสียงดังกริ๊ง ๆ ของนาฬิกาปลุก/โทรศัพท์ | |
การออกเสียง |
|
สาขาวิชา | โสต ศอ นาสิกวิทยา, โสตวิทยา, โสตสัมผัสวิทยา, ประสาทวิทยา |
อาการ | ได้ยินเสียงทั้ง ๆ ที่ไม่มีเสียงภายนอกร่างกายจริง ๆ[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | ซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ[2] |
การตั้งต้น | ค่อย ๆ เกิด[3] |
สาเหตุ | การเสียการได้ยินเหตุเสียงดัง การติดเชื้อในหู โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคเมนิแยร์ เนื้องอกในสมอง เนื้องอกหูชั้นใน เครียด บาดเจ็บที่สมอง ขี้หูมากเกิน[2][4] |
วิธีวินิจฉัย | ขึ้นอยู่กับอาการ การตรวจการได้ยิน การตรวจประสาท[1][3] |
การรักษา | ให้คำแนะนำ/ปรึกษา ใช้เครื่องสร้างเสียง ใช้เครื่องช่วยฟัง[2][5] |
ความชุก | ~12.5%[5] |
เสียงในหูมักสัมพันธ์กับการเสียการได้ยินและการเข้าใจคำพูดที่ลดลงในที่มีเสียงดัง[2] ประชากรประมาณ 10-15% มีเสียงในหู ส่วนมากอดทนได้โดยเป็นปัญหาสำคัญสำหรับเพียงแค่ 1-2% ของประชากร[5] เสียงอาจกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองโดยสู้หรือหนี เพราะสมองอาจรับรู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญและมีอันตราย[10][11][12]
การมีเสียงในหูไม่ใช่โรคแต่เป็นอาการที่อาจมีเหตุได้หลายอย่าง และเกิดขึ้นได้ที่ทุกระดับของระบบการได้ยิน รวมทั้งนอกระบบ[2] เหตุสามัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือการสูญเสียการได้ยินจากเสียงดัง หรือการสูญเสียการได้ยินที่เกี่ยวกับอายุ คือ หูตึงเหตุสูงอายุ[2] เหตุอื่น ๆ รวมทั้งการติดเชื้อในหู โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเมนิแยร์ เนื้องอกในสมอง เนื้องอกเส้นประสาทหู ไมเกรน ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ยาบางชนิด การบาดเจ็บศีรษะในอดีต และขี้หู อาจอยู่ดี ๆ ก็ปรากฏในช่วงที่เครียด[4][3][2][13][14] เป็นอาการที่สามัญมากกว่าในผู้ที่ซึมเศร้า[3]
การวินิจฉัยมักขึ้นอยู่กับอาการที่ผู้ป่วยระบุว่ามี โดยมักใช้ร่วมกับการตรวจการได้ยิน (audiogram) การตรวจทางแพทย์หูคอจมูก และการตรวจระบบประสาท[1][3] เสียงในหูรบกวนชีวิตประจำวันแค่ไหนอาจวัดได้ด้วยแบบสอบถาม[3] ถ้าพบปัญหาอะไร แพทย์อาจตรวจโดยดูภาพเช่นที่ทำโดยเอ็มอาร์ไอ การตรวจสอบอื่น ๆ อาจช่วย เช่น ในกรณีเสียงเกิดตามจังหวะการเต้นหัวใจ ในกรณีน้อย แพทย์ที่ใช้หูฟังตรวจอาจได้ยินเสียงจริง ๆ ซึ่งในกรณีนี้ก็จะเป็นแบบที่มีเสียงจริง[3] บางครั้ง เสียงจากหูเองอาจก่ออาการเสียงในหู[15]
วิธีการป้องกันการเกิดเสียงในหูคือการเลี่ยงเสียงดังแบบเรื่อย ๆ หรือแบบต่อเนื่อง และไม่ใช้ยาและสารที่เป็นพิษต่อหู[2][16] หากมีเหตุที่เป็นมูลฐาน การรักษาสาเหตุนั้นอาจทำให้ดีขึ้น[3] มิฉะนั้น การรักษาปกติจะเป็นการให้ความรู้ทางจิตวิทยาหรือการให้คำปรึกษา เช่น การบำบัดโดยสนทนา[5] เพื่อหาวิธีลดการใส่ใจ/การสำนึกถึงเสียงในหู[17] แม้การเล่นดนตรีเพื่อกลบเสียง[18] หรือเครื่องสร้างเสียงกลบ หรือเครื่องช่วยฟัง ก็อาจช่วยบางกรณี[2] จนถึงปี 2013 ยังไม่มียาที่รักษาเสียงในหูโดยตรง[3]
คำภาษาอังกฤษว่า tinnitus มาจากภาษาละติน คือ tinnīre ซึ่งหมายความว่า ตีระฆัง/ทำเสียงกริ่ง [3]
อาการ
แก้เสียงในหูอาจได้ยินจากหูข้างเดียว ทั้งสองข้าง หรือว่าจากภายในศีรษะ คำภาษาอังกฤษว่า tinnitus เป็นคำบ่งลักษณะของเสียงภายในศีรษะของบุคคลเมื่อไม่มีตัวกระตุ้นทางหูจริง ๆ ซึ่งเป็นเสียงหลายอย่างแต่ที่คนไข้บอกมากที่สุดก็คือเป็นเสียงสูงต่ำเสียงเดียว แม้ปกติคนไข้จะบอกว่าเป็นเสียงเหมือนตีระฆัง/เสียงโทรศัพท์ แต่ในคนไข้อื่น ๆ จะเป็นเสียงสูงหงิง ๆ เสียงหึ่ง ๆ เหมือนในสายไฟ เสียงฟู่ เสียงฮัม เสียงเหมือนลูบแก้วคริสตัล เสียงผิวปาก เสียงนาฬิกา เสียงแก๊ก ๆ เสียงดังกระหึ่ม เสียงจิ้งหรีด เสียงกบต้นไม้ เสียงตั๊กแตน เสียงจักจั่น ทำนองเพลง เสียงบี๊ป ๆ เสียงแฉ่ ๆ เหมือนกระทะร้อน เสียงคล้าย ๆ เสียงคน เสียงสูงต่ำเดียวยาว ๆ เช่นดังที่ใช้เพื่อทดสอบการได้ยิน ยังมีคนไข้บอกด้วยว่าเป็นเสียงลมหรือเสียงคลื่น[19][20][21][5]
เสียงในหูอาจจะได้ยินเป็นครั้งเป็นคราวหรืออาจจะได้ยินอย่างต่อเนื่อง ในกรณีหลัง นี่อาจทำให้เป็นทุกข์มาก ในคนไข้บางคน ความดังของเสียงอาจเปลี่ยนตามการเคลื่อนไหวของไหล่ ศีรษะ ลิ้น ขากรรไกร และตา[22]
คนไข้โดยมากที่ได้ยินเสียงในหูจะเสียการได้ยินไปแล้วเป็นบางส่วน[23] คือบ่อยครั้งจะไม่สามารถได้ยินอย่างชัดเจนซึ่งเสียงจริง ๆ ภายนอกร่างกายที่อยู่ในพิสัยความถี่เดี่ยวกันกับเสียงที่ได้ยินในหู[24] ซึ่งทำให้มีการเสนอว่า เหตุอย่างหนึ่งของเสียงในหูอาจจะเป็นการตอบสนองเพื่อธำรงดุลของเซลล์ประสาทการได้ยินใน dorsal cochlear nucleus ซึ่งทำให้มันทำงานมากเกินเพื่อชดเชยเสียงที่ขาดหายไปเพราะไม่ได้ยิน[25]
เสียงอาจดังเป็นเพียงเสียงพื้นหลังค่อย ๆ จนกระทั่งเป็นเสียงที่ยังได้ยินแม้เมื่อเสียงภายนอกดังมาก เสียงในหูแบบหนึ่งที่เรียกว่าเสียงในหูเต้นเป็นจังหวะ (pulsatile tinnitus) เป็นการได้ยินเสียงชีพจรหรือการหดเกร็งกล้ามเนื้อของตนเอง ซึ่งปกติเป็นเสียงจากการขยับกล้ามเนื้อใกล้ ๆ หู หรือการเปลี่ยนแปลงภายในช่องหู หรือเสียงเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดภายในคอหรือใบหน้า[26]
การดำเนินของโรค
แก้เนื่องจากความต่าง ๆ ในการออกแบบงานศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินของโรคจึงไม่ค่อยคงเส้นคงวา โดยทั่วไป ความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุในผู้ใหญ่ ส่วนความรำคาญต่อเสียงทั่วไปจะลดไปเอง[27][28][29]
จิตใจ
แก้เสียงในหูแบบคงยืนอาจทำให้วิตกกังวลและซึมเศร้า[30][31] สภาพจิตใจเป็นปัจจัยให้รำคาญเสียงยิ่งกว่าความดังและความถี่เสียงที่ได้ยิน[30][32][33] ผู้ที่รู้สึกรำคาญเสียงในหูมากกว่าจะมีปัญหาทางจิตใจอย่างสามัญรวมทั้งความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ปัญหาการนอน และการไม่มีสมาธิ[30][34][35] 45% ของคนไข้ที่มีเสียงในหู จะมีโรควิตกกังวลในช่วงหนึ่งของชีวิต[36]
งานทางจิตวิทยาได้ตรวจดูปฏิกิริยาโดยความเป็นทุกข์ต่อเสียงในหู (TDR) เพื่ออธิบายว่า ทำไมคนไข้จึงมีอาการรุนแรงไม่เท่ากัน[34] งานแสดงว่า เมื่อได้ยินเสียงในหูเป็นครั้งแรก การสร้างภาวะของเสียงเนื่องกับสิ่งเร้าที่ไม่น่ายินดีในเวลานั้น จะเชื่อมเสียงในหูกับอารมณ์เชิงลบ เช่น ความกลัวและความวิตกกังวล งานแสดงว่า เมื่อได้ยินเสียงในหูในช่วงแรก ๆ มีการปรับภาวะเชื่อมเสียงกับอารมณ์ที่ไม่น่ายินดี เช่นความกลัวและความวิตกกังวลที่เกิดตอบสนองต่อสิ่งเร้าในเวลานั้น ซึ่งเพิ่มการทำงานของระบบลิมบิกและระบบประสาทอิสระ แล้วจึงเพิ่มความสำนึกและความรำคาญต่อเสียงในหู[37]
เหตุ
แก้มีเสียงในหูสองแบบคือแบบไม่มีเสียงจริง (คือเป็นอัตวิสัย) และแบบมีเสียงจริง (คือที่เป็นปรวิสัย)[3] แต่โดยปกติจะเป็นแบบไม่มีเสียงจริง (subjective tinnitus) คือคนอื่นไม่สามารถได้ยินได้[3] แบบไม่มีเสียงจริงอาจเรียกเป็นคำภาษาอังกฤษอื่น ๆ รวมทั้ง tinnitus aurium, nonauditory tinnitus, และ nonvibratory tinnitus
อย่างไรก็ดี ในบางกรณีซึ่งน้อยมาก คนอื่นอาจจะได้ยินเสียงในหูของผู้มีอาการโดยใช้อุปกรณ์ เช่น หูฟังแพทย์เป็นต้น และในบางกรณีซึ่งไม่น้อยถึงขนาดนั้น แต่ก็ยังไม่สามัญ เสียงที่ว่าสามารถวัดด้วยไมค์นอกหูโดยเป็นเสียงจากหู (SOAE) นี่ก็จะเป็นแบบมีเสียงจริง (objective tinnitus)[3] ซึ่งเรียกเป็นคำภาษาอังกฤษอื่น ๆ รวมทั้ง pseudo-tinnitus และ vibratory tinnitus
แบบไม่มีเสียงจริง (subjective)
แก้เสียงในหูแบบไม่มีเสียงจริงเกิดบ่อยสุด ซึ่งมีเหตุหลายอย่าง แต่ที่สามัญที่สุดก็เพราะเสียการได้ยิน เมื่อเกิดจากโรคในหูชั้นในหรือประสาทหู (auditory nerve) นี่จะเรียกว่า otic tinnitus (โดยคำว่า otic มาจากคำภาษากรีกแปลว่า หู)[38] ซึ่งเป็นภาวะทางโสตวิทยาหรือทางประสาทวิทยาที่อาจจุดชนวนโดยการติดเชื้อหรือยา[20] แต่เหตุเสียการได้ยินที่เกิดบ่อยสุดก็คือ การได้รับเสียงดังเกินซึ่งทำลายเซลล์ขนในหูชั้นใน แล้วก่อเสียงในหู
เมื่อปรากฏว่า เสียงในหูไม่เกี่ยวกับโรคในหูชั้นในหรือประสาทหู อาการก็จะเรียกว่า nonotic tinnitus ในคนไข้ 30% อาการจะได้รับอิทธิพลจากระบบรับความรู้สึกทางกาย ยกตัวอย่างเช่น สามารถเพิ่มหรือลดเสียงโดยขยับใบหน้า ศีรษะ หรือคอ[39] โดยแบบนี้ก็จะสามารถเรียกได้ด้วยว่า somatic tinnitus หรือ craniocervical tinnitus เพราะการขยับศีรษะและคอเท่านั้นที่มีผล[38]
มีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสดงนัยว่า เสียงในหูเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงแบบพลาสติกของระบบประสาทกลางเกี่ยวกับการได้ยิน ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากข้อมูลทางประสาทสัมผัสที่เปลี่ยนไปเนื่องจากการเสียการได้ยิน[40] คือ การเสียการได้ยินจะเปลี่ยนการตอบสนองเพื่อธำรงดุล (homeostatic response) ภายในระบบประสาทกลาง แล้วก่อเสียงในหู[41]
การเสียการได้ยิน
แก้เหตุสามัญที่สุดของเสียงในหูก็คือการเสียการได้ยินเพราะได้รับเสียงดังมากเกินไป แต่การเสียการได้ยินก็อาจอยู่ในรูปแบบที่อำพรางไว้ เช่น ในคนที่ทดสอบว่าได้ยินเป็นปกติ[41] การเสียการได้ยินยังมีเหตุต่าง ๆ กันด้วย ในบรรดาคนไข้ที่มีเสียงในหู เหตุหลักก็คือความเสียหายที่คอเคลีย[40]
ยาที่เป็นพิษต่อหูสามารถเป็นเหตุให้เกิดเสียงในหูที่ไม่มีจริง เพราะมันสามารถทำให้เสียการได้ยิน หรือเพิ่มความเสียหายที่มีอยู่แล้วเนื่องจากการได้รับเสียงดัง และอาจเกิดแม้เมื่อใช้ยาในขนาดที่พิจารณาว่าไม่เป็นพิษต่อหู[42] ยากว่า 260 ชนิดมีรายงานว่า มีผลข้างเคียงเป็นเสียงในหู[43]
เสียงในหูยังอาจเกิดเมื่อหยุดใช้ยาเบ็นโซไดอาเซพีนแม้ในขนาดที่ใช้รักษาโรค ซึ่งบางครั้งเป็นอาการยืดเยื้อของการขาดยาโดยอาจคงยืนเป็นเวลาหลายเดือน[44][45]
อย่างไรก็ดี เสียงในหูในกรณีจำนวนมากก็หาสาเหตุไม่ได้[2]
ปัจจัย
แก้ปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีส่วนให้เกิดเสียงในหูรวมทั้ง[46]
- ปัญหาหูและการเสียการได้ยิน
- การเสียการได้ยินเนื่องจากสื่อนำเสียง
- acoustic shock เป็นอาการที่เกิดเมื่อได้ยินเสียงดังแบบไม่คาดหวัง
- เสียงดัง[47]
- หูชั้นกลางอักเสบ
- หูอักเสบ (otitis)
- otosclerosis/otospongiosis เป็นการเจริญผิดปกติของกระดูกใกล้หูชั้นกลาง
- การทำงานผิดปกติของท่อหู
- การเสียการได้ยินเนื่องจากสื่อนำเสียง
- sensorineural hearing loss เป็นการเสียการได้ยินเนื่องกับอวัยวะหรือโครงสร้างในหูชั้นใน หรือเส้นประสาทสมองเส้นที่ 8 หรือระบบประสาทส่วนอื่น ๆ
- เสียงดัง
- หูตึงเหตุสูงอายุ
- โรคเมนิแยร์
- การบวมน้ำเอ็นโดลิมฟ์ (endolymphatic hydrops)
- superior canal dehiscence เป็นอาการมีน้อยที่มีผลต่อการได้ยินและการทรงตัว เกิดจากการกร่อนหรือการไม่มีกระดูกขมับเหนือหลอดกึ่งวงกลมส่วนบนของระบบการทรงตัว
- เนื้องอกไม่ร้ายของเซลล์ปลอกไมอีลินที่เส้นประสาทสมองเส้นที่ 8 (Vestibular schwannoma) ซึ่งทำให้เสียการได้ยิน เกิดอาการนี้ ทรงตัวได้ไม่ดี มีปัญหาความดันในหู อัมพฤกษ์อัมพาตที่ใบหน้า
- ปรอทหรือตะกั่วเป็นพิษ
- ยาที่เป็นพิษต่อหู
- Arnold-Chiari malformation เป็นความผิดปกติทางโครงสร้างของสมองน้อย
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- การบาดเจ็บที่ศีรษะ
- temporomandibular joint dysfunction เป็นการเจ็บและการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้เคี้ยวและของข้อต่อขากรรไกร
- giant cell arteritis เป็นการอักเสบของเส้นเลือดขนาดใหญ่และขนาดกลางในศีรษะ โดยเฉพาะที่สาขา external carotid artery
- หลอดเลือดอักเสบ เป็นกลุ่มโรคที่ทำลายเส้นเลือดโดยการอักเสบ
- สารก่ออาการโรคจิต/ประสาทหลอน ที่ก่อเสียงในหูชั่วคราวโดยเป็นผลข้างเคียง
- การขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน[44][45]
- ความดันในกะโหลกศีรษะที่ต่ำหรือสูงเกินโดยมีเหตุต่าง ๆ เช่น สมองอักเสบหรือน้ำหล่อสมองไขสันหลังรั่ว
แบบมีเสียงจริง ๆ (objective)
แก้เสียงในหูแบบมีเสียงจริง ๆ คนอื่นก็สามารถได้ยิน และบางครั้งจะมีเหตุจากกล้ามเนื้อกระตุกรัวหรือเหตุทางหลอดเลือดต่าง ๆ บางกรณีอาจเกิดจากกล้ามเนื้อกระตุกรอบ ๆ หูชั้นกลาง[51] มีกลไกลธำรงดุลที่ช่วยแก้ปัญหานี้ภายในหนึ่งนาทีหลังเกิดขึ้น โดยปกติจะเกิดพร้อมกับการลดความไวเสียงและหูอื้อ[52]
เสียงจากหู (SOAE) ซึ่งเป็นเสียงความถี่สูงเบา ๆ ที่สร้างในหูชั้นใน และสามารถวัดที่ช่องหูด้วยไมค์ไวเสียง ก็สามารถทำให้เกิดเสียงในหูได้ด้วย[15] ประเมินว่า จำนวนของผู้มีเสียงในหูที่เนื่องกับ SOAE อยู่ที่ 4%[15]
แบบเป็นจังหวะ (pulsatile)
แก้บางคนได้ยินเสียงเต้นเป็นจังหวะคู่กับชีพจรของตน จึงเรียกว่า pulsatile tinnitus หรือ vascular tinnitus[53][54] เป็นเสียงในหูที่มีจริง ๆ เป็นผลของการไหลเวียนของเลือดที่เปลี่ยนไป คือเกิดความปั่นป่วนใกล้ ๆ หู โดยมีเหตุเช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็งและเสียงฮัมในเส้นเลือดดำ (venous hum)[55] แต่ก็อาจเป็นเสียงที่ไม่มีจริง ๆ ซึ่งเกิดจากการสำนึกเพิ่มขึ้นถึงการไหลเวียนของเลือดในหู[53][54]
น้อยครั้งมากที่เสียงในหูแบบเป็นจังหวะจะเป็นอาการของสภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น หลอดเลือดแดงแครอทิดโป่งพอง[56] หรือผนังหลอดเลือดแดงแครอทิดลอก (carotid artery dissection)[57]
เสียงในหูแบบเป็นจังหวะอาจเป็นตัวบ่งชี้ภาวะหลอดเลือดอักเสบโดยเฉพาะ giant cell arteritis อาจเป็นตัวบ่งชี้ความดันในกะโหลกศีรษะสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ (IIH)[58] หรืออาจเป็นอาการของความผิดปกติทางเส้นเลือดในกะโหลกศีรษะ เช่น สภาวะวิรูปของเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ (AVM)[59] และดังนั้นจึงควรตรวจหาเสียงผิดปกติในเส้นเลือด (bruit) ด้วย
กลไกของอาการ
แก้กลไกที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งของอาการก็คือ เสียงจากหู คือ หูชั้นในมีเซลล์ขนเป็นพัน ๆ โดยเซลล์ขนชั้นใน (IHC) จะเป็นตัวตรวจจับเสียง และเซลล์ขนชั้นนอก (OHC) จะเปลี่ยนแรงสั่นที่ได้รับบวกกับสัญญาณจากระบบประสาทกลาง ให้ไปเป็นแรงดึงทำให้เยื่อคลุมที่ฐานเกิดความแข็งอ่อนไม่เท่ากัน โดยอาจเป็นกระบวนการขยายเสียง โดยเฉพาะเมื่อเสียงเบา การตรวจจับเสียงจะเชื่อมกับกลไกที่เพิ่มหรือลดการสั่นของเยื่อเป็นกระบวนการป้อนกลับผ่านระบบประสาทกลาง[60][52] ซึ่งการป้อนกลับนี้ปกติจะปรับให้น้อยกว่าจุดที่จะทำให้เยื่อสั่นเองเพียงเล็กน้อย จึงทำให้สามารถรับเสียงได้ไวและเฉพาะเจาะจงอย่างน่าอัศจรรย์ แต่ถ้ามีอะไรเปลี่ยนไป ก็อาจทำให้ค่าป้อนกลับข้ามจุดที่ทำให้เกิดการสั่นเองได้ง่าย ดังนั้น จึงเกิดเสียงในหูขึ้น[61][52]
กลไกที่เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งก็คือความเสียหายต่อเซลล์รับเสียง เซลล์นี้แม้จะสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้จาก Deiters cells ซึ่งเป็นเซลล์สนับสนุนที่อยู่ข้าง ๆ ถ้าเสียหายในสัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก แต่ก็เชื่อว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะเกิดขึ้นในช่วงการเกิดเอ็มบริโอเท่านั้น คือแม้ Deiters cell ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะสามารถสร้างเซลล์ขึ้นใหม่และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะ แต่ก็ยังไม่เคยพบว่ามันเปลี่ยนกลายเป็นเซลล์รับเสียงยกเว้นในการทดลองที่เพาะเนื้อเยื่อ[62][63] ดังนั้น ถ้าเซลล์ขนเกิดเสียหาย เช่น เพราะได้รับเสียงดังเกิน หูอาจจะตึงต่อเสียงความถี่บางช่วง แต่เมื่อเกิดอาการเสียงในหู เซลล์อาจจะส่งข้อมูลว่ามีเสียงภายนอกที่ความถี่หนึ่ง ๆ ซึ่งความจริงไม่มี
อย่างไรก็ดี กลไกของเสียงในหูแบบไม่มีเสียงจริงบ่อยครั้งไม่ชัดเจน แม้จะไม่น่าแปลกใจว่า การบาดเจ็บที่หูชั้นในโดยตรงจะก่ออาการนี้ แต่เหตุอื่น ๆ ที่ปรากฏ (เช่น temporomandibular joint dysfunction และโรคฟันอื่น ๆ) ก็อธิบายได้ยาก
งานวิจัยได้เสนอให้แบ่งเสียงในหูแบบไม่มีเสียงจริงเป็นสองหมวด คือ otic tinnitus (เสียงในหูเหตุหู) ซึ่งเกิดจากภาวะ/โรคต่าง ๆ ในหูชั้นในหรือเส้นประสาทหู และ somatic tinnitus (เสียงในหูเหตุกาย) ซึ่งเกิดจากภาวะ/โรคนอกหูและประสาทหูโดยยังเกิดภายในศีรษะหรือคอ และได้ให้สมมติฐานเพิ่มขึ้นด้วยว่า เสียงในหูเหตุกาย อาจเกิดจากสัญญาณแทรกข้ามวงจรประสาทภายในสมอง เพราะเส้นประสาทศีรษะและคอวิ่งเข้าไปในสมองใกล้บริเวณที่มีบทบาทในการได้ยิน[64]
อาการอาจมีเหตุจากการทำงานทางประสาทซึ่งเพิ่มขึ้นในก้านสมองส่วนที่ประมวลสัญญาณเสียง แล้วทำให้เซลล์ประสาทการได้ยินบางส่วนทำงานมากเกิน มูลฐานของทฤษฎีนี้ก็คือ คนโดยมากที่มีอาการนี้ได้เสียการได้ยินไปโดยบางส่วน[23] และความถี่เสียงที่พวกเขาไม่ได้ยิน จะใกล้กับความถี่ของเสียงในหูที่ไม่มีจริง ๆ[24] แบบจำลองของการเสียการได้ยินและสมอง สนับสนุนไอเดียว่า การตอบสนองแบบธำรงดุลของนิวเคลียสประสาท dorsal cochlear nucleus จะเป็นเหตุให้พวกมันทำงานเกินเพื่อชดเชยข้อมูลเสียงที่ไม่มีอีกต่อไป[25]
อย่างไรก็ดี งานทบทวนวรรณกรรมปี 2016 สามงามเน้นว่า มีโรคเป็นจำนวนมากแม้ที่เกิดร่วมกันซึ่งอาจมีบทบาทกับเสียงในหู และที่ต้องปรับการบำบัดให้เข้ากับอาการต่าง ๆ โดยเฉพาะ ๆ[65][66][67]
การวินิจฉัย
แก้แม้เสียงในหูอาจจะเป็นอาการหลักที่คนไข้บอก แพทย์หูคอจมูกก็มักจะตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุที่รักษาได้ เช่น การติดเชื้อในหูชั้นกลาง เนื้องอกที่ประสาทหู (Vestibular schwannoma) การกระแทกกระเทือน กระดูกงอกใกล้หูชั้นกลาง เป็นต้น ก่อนทดสอบการได้ยินของคนไข้[68] เสียงในหูจะประเมินด้วยการตรวจลักษณะการได้ยิน (audiogram) เช่น ความทุ้มแหลมและความดังเป็นต้น บวกกับการประเมินปัญหาทางจิตที่เกิดร่วมกันเช่น ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียดที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของเสียงในหู
ข้อกำหนดว่าอะไรเป็นเสียงในหูแบบเรื้อรัง เทียบกับประสบการณ์ที่มีตามธรรมชาติ ก็คือการมีเสียงในหูอย่างน้อย 5 นาทีอย่างน้อย 2 ครั้งต่ออาทิตย์[69] แต่ผู้ที่มีเสียงในหูเรื้อรังบ่อยครั้งก็ประสบปัญหาบ่อยกว่านี้ โดยอาจมีอย่างต่อเนื่องหรืออย่างเป็นปกติ เช่น ในเวลากลางคืนซึ่งเสียงในสิ่งแวดล้อมมีน้อยเกินที่จะกลบเสียงในหู
โสตวิทยา
แก้เพราะผู้มีเสียงในหูโดยมากก็เสียการได้ยินด้วย การทดสอบด้วยเสียงสูงต่ำเดี่ยว ๆ (pure tone audiometry) แสดงเป็นกราฟการได้ยิน (audiogram) ก็อาจช่วยวินิจฉัยเหตุ ถึงแม้ก็มีผู้ที่ไม่เสียการได้ยินด้วยเหมือนกันที่มีเสียงในหู กราฟการได้ยินอาจช่วยให้ปรับเครื่องช่วยฟังสำหรับคนที่เสียการได้ยินอย่างสำคัญ โดยความทุ้มแหลมของเสียงในหูบ่อยครั้งจะอยู่ในพิสัยเดียวกับการได้ยินที่เสียไป
จิตสวนศาสตร์
แก้การวัดลักษณะต่าง ๆ ของเสียงในหูรวมความทุ้มแหลมหรือความถี่ถ้าเป็นเสียงในหูที่เป็นเสียงเดียว หรือเป็นพิสัยความถี่ในกรณีเป็นเสียงที่กระจายเป็นแถบความถี่, ความดังของเสียงเหนือขีดเริ่มได้ยินที่ความถี่นั้น ๆ (เป็นเดซิเบล), และระดับเสียงต่ำสุดที่จะกลบเสียงในหูนั้นได้เป็นต้น[71] ในกรณีโดยมาก พิสัยความถี่ของเสียงในหูจะอยู่ในระหว่าง 5,000-10,000 เฮิรตซ์[72] และดังระหว่าง 5-15 เดซิเบลเหนือขีดเริ่มได้ยิน[73]
ตัวแปรที่สำคัญอีกอย่างก็คือ residual inhibition ซึ่งเป็นการระงับหรือการหายไปอย่างชั่วคราวของเสียงในหูหลังจากใช้เสียงกลบ (masking) ระยะหนึ่ง เพราะค่าวัดนี้อาจบ่งชี้ว่า อุปกรณ์สร้างเสียงกลบจะมีประสิทธิภาพในการรักษาแค่ไหน[74][75]
แพทย์อาจจะประเมินว่ามีสภาวะไวเสียงเกิน (hyperacusis) ซึ่งบ่อย ๆ เกิดพร้อมกับเสียงในหูด้วยหรือไม่[76][77] สิ่งที่วัดก็คือ ระดับความดังที่รู้สึกไม่สบาย (LDL) โดยมีหน่วยเป็นเดซิเบล และเป็นระดับความดังเหนือขีดเริ่มเปลี่ยนของความถี่ต่าง ๆ ที่มนุษย์สามารถได้ยิน เป็นพิสัยความต่างระหว่างขีดเริ่มได้ยินที่ความถี่นั้น ๆ กับความดังที่ทำให้ไม่สบาย
พิสัยความต่างที่แคบลงในพิสัยความถี่หนึ่ง ๆ เช่นนี้ สัมพันธ์กับสภาวะไวเสียงเกินที่เป็นอัตวิสัย[78] ขีดเริ่มได้ยินปกติ โดยทั่วไปจะกำหนดเป็น 0–20 เดซิเบล ส่วนระดับความดังที่ทำให้รู้สึกไม่สบายปกติจะอยู่ที่ 85–90+ เดซิเบลโดยมีนักวิชาการที่อ้างค่าถึง 100 เดซิเบล พิสัยความต่างระหว่างระดับความดังที่ไม่สบายกับขีดเริ่มได้ยินที่ 55 เดซิเบลหรือน้อยกว่านั้นจัดว่า เป็นสภาวะไวเสียงเกิน[79][80]
ความรุนแรง
แก้ภาวะนี้บ่อยครั้งจัดระดับความรุนแรงเริ่มตั้งแต่ "เล็กน้อย" (slight) จนถึง "รุนแรงมาก" (catastrophic) ตามผลที่มันมี เช่น กวนการนอน กวนการพักผ่อน หรือกวนกิจกรรมในชีวิตประจำวัน[81] ในกรณีสุด ๆ กรณีหนึ่ง ชายผู้หนึ่งฆ่าตัวตายหลังจากหมอบอกว่า รักษาให้หายไม่ได้[82]
การประเมินทางจิตวิทยารวมทั้งการวัดความรุนแรงของอาการและความทุกข์ที่เกิด (เช่น ลักษณะและความมากน้อยของปัญหาเนื่องกับเสียงในหู) ที่วัดโดยแบบคำถามซึ่งได้ประเมินความสมเหตุสมผลแล้ว[34] แบบคำถามเหล่านี้วัดความทุกข์ทางใจและความพิการที่เกิดเนื่องจากเสียงในหู รวมทั้งผลต่อการได้ยิน วิถีชีวิต และจิตใจ[83][84][85] อนึ่ง การประเมินการใช้ชีวิตทั่วไปรวมทั้งระดับความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ความเครียด สิ่งที่ทำให้เครียด และปัญหาการนอน ก็สำคัญในการประเมินอาการนี้ด้วย เพราะเสียงในหูอาจมีผลต่อปัญหาเหล่านี้ หรือปัญหาเหล่านี้อาจทำให้เสียงในหูแย่ลง[86]
โดยทั่วไปแล้ว การประเมินทั้งหมดก็เพื่อกำหนดระดับความทุกข์และการรบกวนชีวิตต่อบุคคล กำหนดการตอบสนองและการรับรู้/ความสำนึกต่อเสียงในหู เพื่อปรับวิธีการรักษาและการเฝ้าสังเกตผล อย่างไรก็ดี เพราะวิธีการประเมินผลที่ใช้ต่าง ๆ กัน บางครั้งก็ไม่สอดคล้องกัน และไม่มีมติร่วมกัน ดังที่พบในวรรณกรรมการแพทย์ต่าง ๆ จึงทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบประสิทธิผลชอ วิธีการรักษาต่าง ๆ ได้[87]
แบบเป็นจังหวะ
แก้ถ้าแพทย์ตรวจพบเสียงที่เกิดจากเลือดที่ไหลอย่างปั่นป่วน (bruit) การตรวจโดยทำภาพเช่น transcranial doppler (TCD) หรือ magnetic resonance angiography (MRA) อาจจำเป็น[88][89][90]
การวินิจฉัยแยกโรค
แก้แหล่งเสียงอื่น ๆ ที่ฟังคล้ายกับเสียงในหูจะต้องกันออก แหล่งเสียงความถี่สูงที่รู้จักกันดีรวมทั้งสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดเนื่องกับสายไฟ ตลอดจนวิธีการส่งสัญญาณเสียงต่าง ๆ เรื่องที่มักวินิจฉัยผิดเพราะคล้ายเสียงในหูอย่างหนึ่งก็คือ เสียงคลื่นวิทยุ คือมีคนไข้ซึ่งตรวจพบว่าสามารถได้ยินคลื่นความถี่วิทยุที่มีเสียงแหลมและฟังคล้ายกับเสียงในหู[91][92]
การป้องกัน
แก้การได้รับเสียงดังนาน ๆ อาจก่อเสียงในหู[93] ดังนั้น การใช้อุปกรณ์อุดหูเป็นต้น ก็อาจช่วย
ยาหลายอย่างมีพิษต่อหู โดยอาจเพิ่มความเสียหายที่เกิดจากเสียงดัง เมื่อใช้ยาที่เป็นพิษต่อหู ถ้าแพทย์ใส่ใจระมัดระวังการใช้ยา เช่น ขนาดและระยะระหว่างการได้ยา ก็จะสามารถลดความเสียหายได้[94][95][96]
การรักษา
แก้ถ้ามีเหตุที่เป็นมูลฐาน การรักษาเหตุอาจทำให้อาการดีขึ้น[3] ไม่เช่นนั้นแล้ว วิธีรักษาหลักจะเป็นการปรึกษาจิตแพทย์หรือคุยกับนักจิตวิทยา[5] และการบำบัดด้วยเสียง (sound therapy) เพราะยังไม่มียาที่ได้ผล[3]
จิตวิทยา
แก้การรักษาที่มีหลักฐานดีสุดสำหรับเสียงในหูก็คือการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) ซึ่งอาจทำได้ทางอินเทอร์เน็ตหรือตัวต่อตัว[5][97] ซึ่งช่วยลดความเครียดเนื่องกับเสียงในหู[98] โดยประโยชน์ที่ได้ดูเหมือนจะเป็นอิสระต่างหากกับผลการรักษาความซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล[97]
การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) ก็ดูเหมือนจะมีอนาคตในการรักษาอาการนี้ด้วย[99] และเทคนิคการผ่อนคลายก็อาจมีประโยชน์[3]
กระทรวงทหารผ่านศึกสหรัฐ (VA) ได้พัฒนาระเบียบการรักษาอาการเสียงในหูที่เรียกว่า Progressive Tinnitus Management[100]
ยา
แก้จนถึงปี 2014 ยังไม่มียาที่ได้ผลต่อเสียงในหูที่ไม่ทราบสาเหตุ[3][93] ประโยชน์ของยาแก้ซึมเศร้าก็ยังไม่มีหลักฐานพอ[101] หรือของ acamprosate (ซึ่งปกติใช้รักษาการติดเหล้า)[102] แม้จะมีหลักฐานบ้างสำหรับยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน แต่ก็ยังไม่พอเพื่อให้ใช้[3] ยากันชักไม่ปรากฏว่ามีประโยชน์[3] การฉีดสเตอรอยด์เข้าในหูชั้นกลางก็ดูเหมือนจะไม่มีประสิทธิผลด้วย[103][104]
การลองฉีดชีวพิษโบทูลินัมดูเหมือนจะประสบความสำเร็จบ้างในกรณีที่มีเสียงในหูแบบมีเสียงจริงโดยมีเหตุจากเพดานปากสั่นซึ่งเกิดน้อยมาก[105]
ยา caroverine ก็ใช้ด้วยในประเทศไม่กี่ประเทศเพื่อรักษาอาการนี้[106] แต่หลักฐานแสดงประสิทธิผลของยาก็อ่อนมาก[107]
การรักษาวิธีอื่น ๆ
แก้เครื่องช่วยฟังหรืออุปกรณ์สร้างเสียงกลบ ช่วยให้ไม่สนใจเสียงในหูที่ความถี่โดยเฉพาะ ๆ แม้จะเป็นวิธีที่ไม่ค่อยมีหลักฐาน แต่ก็ไม่มีผลเสีย[3][108][109]
มีหลักฐานเบื้องต้นสนับสนุนการรักษาโดย tinnitus retraining therapy บ้าง[3][110] ส่วนการกระตุ้นสมองผ่านกะโหลกด้วยแม่เหล็ก มีหลักฐานสนับสนุนน้อยมาก[3][111] ดังนั้น จึงไม่แนะนำ[93]
โดยปี 2017 neurofeedback ยังมีหลักฐานจำกัดว่ามีผลดีหรือไม่[112]
ยาสมุนไพร
แก้แปะก๊วย (Ginkgo biloba) ดูจะไม่มีผล[113] วิทยาลัยแพทย์หูคอจมูกอเมริกัน แนะนำไม่ให้ใช้อาหารเสริมคือเมลาโทนินหรือสังกะสีเพื่อบรรเทาอาการ[93] อนึ่ง งานทบทวนวรรณกรรมแบบคอเคลนปี 2016 สรุปว่า หลักฐานไม่พอให้ทานอาหารเสริมคือสังกะสีเพื่อบรรเทาอาการที่เนื่องกับเสียงในหู[114]
พยากรณ์โรค
แก้แม้จะรักษาให้หายขาดไม่ได้ ผู้ที่มีเสียงในหูปกติจะชินไปเอง คนไข้ส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ[5]
ความระบาด
แก้ผู้ใหญ่
แก้เสียงในหูเกิดในประชากรร้อยละ 10–15%[5] คนอเมริกาเหนือ 1/3 ประสบกับอาการนี้[115] อาการจะเกิดกับผู้ใหญ่ 1/3 ในช่วงชีวิต โดยเทียบกับ 10-15% ในบรรดาคนเหล่านี้ผู้มีปัญหาพอเพื่อไปหาหมอ[116]
เด็ก
แก้เสียงในหูเชื่อว่า เป็นอาการในผู้ใหญ่ ดังนั้น บ่อยครั้งจึงมองข้ามในเด็ก เด็กที่เสียการได้ยินบ่อยครั้งจะมีเสียงในหู แม้จะไม่สามารถบอกว่ามี หรือว่ามีผลอย่างไรต่อชีวิต[117] เด็กโดยทั่วไปจะไม่บอกอาการนี้เอง ดังนั้นถ้าบอกเอง ผู้ใหญ่อาจจะไม่ค่อยฟัง[118]
เด็กที่บอกว่ามีเสียงในหู จะมีโอกาสสูงขึ้นในการมีโรคทางหูหรือทางประสาทที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ไมเกรน โรคเมนิแยร์วัยเด็ก และหูชั้นกลางอักเสบแบบมีหนองเรื้อรัง[119] เด็กที่มีขีดเริ่มได้ยินปกติมีความชุกโรคระหว่าง 12-36% และในเด็กที่เสียการได้ยิน 66% โดยเด็ก 3–10% จะบอกว่าเสียงรบกวนชีวิต[120]
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Levine, Robert A.; Oron, Yahav (2015). "Tinnitus". The Human Auditory System - Fundamental Organization and Clinical Disorders. Handbook of Clinical Neurology. Vol. 129. pp. 409–431. doi:10.1016/B978-0-444-62630-1.00023-8. ISBN 978-0-444-62630-1. PMID 25726282.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 "Tinnitus". NIH – National Institute on Deafness and Other Communication Disorders (NIDCD). 6 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 20 September 2019.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 3.22 3.23 Baguley, David; McFerran, Don; Hall, Deborah (November 2013). "Tinnitus". The Lancet. 382 (9904): 1600–1607. doi:10.1016/S0140-6736(13)60142-7. PMID 23827090.
- ↑ 4.0 4.1 Han BI, Lee HW, Kim TY, Lim JS, Shin KS (March 2009). "Tinnitus: characteristics, causes, mechanisms, and treatments". Journal of Clinical Neurology. 5 (1): 11–19. doi:10.3988/jcn.2009.5.1.11. PMC 2686891. PMID 19513328.
About 75% of new cases are related to emotional stress as the trigger factor rather than to precipitants involving cochlear lesions.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 Langguth, Berthold; Kreuzer, Peter M; Kleinjung, Tobias; De Ridder, Dirk (2013). "Tinnitus: causes and clinical management". The Lancet Neurology. 12 (9): 920–930. doi:10.1016/S1474-4422(13)70160-1.
- ↑ "Tinnitus", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) เสียงในหู
- ↑ Snow (2008), 3.18.1 Definition of Tinnitus, p. 303
- ↑ Diamond BJ, Mosley JE (2011). "Arteriovenous Malformation (AVM)". ใน Kreutzer JS, DeLuca J, Caplan B (บ.ก.). Encyclopedia of Clinical Neuropsychology. Springer. pp. 249–252. doi:10.1007/978-0-387-79948-3. ISBN 978-0-387-79947-6.
- ↑ "Tinnitus – noises in the ears or head". ENT kent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
- ↑ "Taming tinnitus".
- ↑ "Why Does My Tinnitus Get Worse when I'm Stressed?". 2021-05-17.
- ↑ House, Patricia R. (2008). "Personality of the Tinnitus Patient". Ciba Foundation Symposium 85 – Tinnitus. Novartis Foundation Symposia. Vol. 85. pp. 193–203. doi:10.1002/9780470720677.ch11. ISBN 978-0-470-72067-7. PMID 7035099.
- ↑ Esmaili, Aaron A; Renton, John (1 April 2018). "A review of tinnitus". Australian Journal of General Practice. 47 (4): 205–208. doi:10.31128/AJGP-12-17-4420. PMID 29621860.
- ↑ Mazurek B, Haupt H, Olze H, Szczepeck A (2022). "Stress and tinnitus—from bedside to bench and back". Frontiers in Systems Neuroscience. 6 (47): 47. doi:10.3389/fnsys.2012.00047. PMC 3371598. PMID 22701404.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Henry, James A.; Dennis, Kyle C.; Schechter, Martin A. (October 2005). "General Review of Tinnitus: Prevalence, Mechanisms, Effects, and Management". Journal of Speech, Language, and Hearing Research. 48 (5): 1204–1235. doi:10.1044/1092-4388(2005/084). PMID 16411806.
- ↑ Rizk, HG; Lee, JA; Liu, YF; Endriukaitis, L; Isaac, JL; Bullington, WM (December 2020). "Drug-Induced Ototoxicity: A Comprehensive Review and Reference Guide". Pharmacotherapy. 40 (12): 1265–1275. doi:10.1002/phar.2478. PMID 33080070. S2CID 224828345.
- ↑ Lalwani, Anil K; Snow, James B (Jr.) (2001). "29. DISORDERS OF SMELL, TASTE, AND HEARING". ใน Braunwald, Eugene; Fauci, Anthony S; Kasper, Dennis L; Hauser, Stephen L; Longo, Dan L; Jameson, J Larry (บ.ก.). Harrison's principles of internal medicine (15th ed.). McGraw-Hill. HEARING: DISORDERS OF THE SENSE OF HEARING: Sensorineural Hearing Loss: Tinnitus. ISBN 0-07-007272-8.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Harrison's Principles of Internal Medicine (2001), HEARING: TREATMENT
- ↑ "Signs of tinnitus". Action on Hearing Loss. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 2018-08-19.
- ↑ 20.0 20.1 Chan, Y (2009). "Tinnitus: etiology, classification, characteristics, and treatment". Discovery Medicine. 8 (42): 133–36. PMID 19833060.
- ↑ "Tinnitus". MedlinePlus: NIH US National Library of Medicine. 2016-05-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-28.
- ↑ Simmons, R; Dambra, C; Lobarinas, E; Stocking, C; Salvi, R (2008). "Head, Neck, and Eye Movements That Modulate Tinnitus". Seminars in Hearing. 29 (4): 361–70. doi:10.1055/s-0028-1095895. PMC 2633109. PMID 19183705.
- ↑ 23.0 23.1 Nicolas-Puel, C; Faulconbridge, RL; Guitton, M; Puel, JL; Mondain, M; Uziel, A (2002). "Characteristics of tinnitus and etiology of associated hearing loss: a study of 123 patients". The International Tinnitus Journal. 8 (1): 37–44. PMID 14763234.
- ↑ 24.0 24.1 Knig, O; Schaette, R; Kempter, R; Gross, M (2006). "Course of hearing loss and occurrence of tinnitus". Hearing Research. 221 (1–2): 59–64. doi:10.1016/j.heares.2006.07.007. PMID 16962270.
- ↑ 25.0 25.1 Schaette, R; Kempter, R. (2006). "Development of tinnitus-related neuronal hyperactivity through homeostatic plasticity after hearing loss: a computational model". Eur J Neurosci. 23 (11): 3124–38. doi:10.1111/j.1460-9568.2006.04774.x. PMID 16820003.
- ↑ "Tinnitus (Ringing in the Ears) Causes, Symptoms, Treatments". Webmd.com. 2010-02-12. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03.
- ↑
Baguley, D; g, Andersson; McFerran, D; McKenna, L (2013). Tinnitus: A Multidisciplinary Approach (2nd ed.). Blackwell Publishing Ltd. pp. 16–17. ISBN 978-1118488706.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Gopinath, B; McMahon, CM; Rochtchina, E; Karpa, MJ; Mitchell, P (2010). "Incidence, persistence, and progression of tinnitus symptoms in older adults: the Blue Mountains Hearing Study". Ear and Hearing. 31 (3): 407–12. doi:10.1097/AUD.0b013e3181cdb2a2. PMID 20124901.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Shargorodsky, J; Curhan, GC; Farwell, WR (2010). "Prevalence and characteristics of tinnitus among US adults". The American Journal of Medicine. 123 (8): 711–18. doi:10.1016/j.amjmed.2010.02.015. PMID 20670725.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 30.0 30.1 30.2
Andersson, G (2002). "Psychological aspects of tinnitus and the application of cognitive-behavioral therapy". Clinical Psychology Review. 22 (7): 977–90. doi:10.1016/s0272-7358(01)00124-6. PMID 12238249.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Reiss, M; Reiss, G (1999). "Some psychological aspects of tinnitus". Perceptual and Motor Skills. 88 (3 Pt 1): 790–92. doi:10.2466/pms.1999.88.3.790. PMID 10407886.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Baguley, DM (2002). "Mechanisms of tinnitus". British Medical Bulletin. 63: 195–212. doi:10.1093/bmb/63.1.195. PMID 12324394.
- ↑
Henry, JA; Meikele, MB (1999). "Pulsed versus continuous tones for evaluating the loudness of tinnitus". Journal of the American Academy of Audiology. 10 (5): 261–72. PMID 10331618.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 34.0 34.1 34.2 Henry, JA; Dennis, KC; Schechter, MA (2005). "General review of tinnitus: Prevalence, mechanisms, effects, and management". Journal of Speech, Language, and Hearing Research. 48 (5): 1204–35. doi:10.1044/1092-4388(2005/084). PMID 16411806.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Davies, A; Rafie, EA (2000). "Epidemiology of Tinnitus". ใน Tyler, RS (บ.ก.). Tinnitus Handbook. San Diego: Singular. pp. 1–23. OCLC 42771695.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Pattyn, T; Van Den Eede, F; Vanneste, S; Cassiers, L; Veltman, DJ; Van De Heyning, P; Sabbe, BC (2015). "Tinnitus and anxiety disorders: A review". Hear. Res. 333: 255–65. doi:10.1016/j.heares.2015.08.014. PMID 26342399.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Jastreboff, PJ; Hazell, JWP (2004). Tinnitus Retraining Therapy: Implementing the neurophysiological model. Cambridge: Cambridge University Press. OCLC 237191959.
- ↑ 38.0 38.1 Robert Aaron Levine (1999). "Somatic (craniocervical) tinnitus and the dorsal cochlear nucleus hypothesis". American Journal of Otolaryngology. 20 (6): 351–62. doi:10.1016/S0196-0709(99)90074-1. PMID 10609479.
- ↑ Rubinstein, Barbara และคณะ (1990). "Prevalence of Signs and Symptoms of Craniomandibular Disorders in Tinnitus Patients". Journal of Craniomandibular Disorders. 4 (3): 186–92. PMID 2098394.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 40.0 40.1 Schecklmann, Martin; Vielsmeier, Veronika; Steffens, Thomas; Landgrebe, Michael; Langguth, Berthold; Kleinjung, Tobias; Andersson, Gerhard (2012-04-18). "Relationship between Audiometric Slope and Tinnitus Pitch in Tinnitus Patients: Insights into the Mechanisms of Tinnitus Generation". PLoS ONE. 7 (4): e34878. doi:10.1371/journal.pone.0034878.
- ↑ Brown, RD; Penny, JE; Henley, CM และคณะ (1981). "Ototoxic drugs and noise". Ciba Found Symp. 85: 151–71. PMID 7035098.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Bekman, Stas. "6) What are some ototoxic drugs?". Stason.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-19. สืบค้นเมื่อ 2012-10-26.
- ↑ 44.0 44.1 Riba, Michelle B.; Ravindranath, Divy (2010-04-12). Clinical manual of emergency psychiatry. Washington, DC: American Psychiatric Publishing Inc. p. 197. ISBN 978-1-58562-295-5.
- ↑ 45.0 45.1 Delanty, Norman (2001-11-27). Seizures: medical causes and management. Totowa, N.J.: Humana Press. p. 187. ISBN 978-0-89603-827-1.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Crummer, RW; Hassan, GA (2004). "Diagnostic approach to tinnitus". Am Fam Physician. 69 (1): 120–06. PMID 14727828.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Passchier-Vermeer, W; Passchier, WF (2000). "Noise exposure and public health". Environ. Health Perspect. 108 Suppl 1 (Suppl 1): 123–31. doi:10.2307/3454637. JSTOR 3454637. PMC 1637786. PMID 10698728.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Stover, Janos Zempleni, John W. Suttie, Jesse F. Gregory, III, Patrick J. (2014). Handbook of vitamins (5th ed.). Hoboken: CRC Press. p. 477. ISBN 9781466515574.
- ↑ Shulgin, Alexander; Shulgin, Ann (1997). "#36. 5-MEO-DET". TiHKAL: the continuation. Berkeley, CA, USA: Transform Press. ISBN 9780963009692. OCLC 38503252. สืบค้นเมื่อ 2012-10-27.
- ↑ "Erowid Experience Vaults: DiPT - More Tripping & Revelations - 26540".
- ↑ "Tinnitus". American Academy of Otolaryngology - Head and Neck Surgery. 2012-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-16. สืบค้นเมื่อ 2012-10-26.
- ↑ 52.0 52.1 52.2 "What Causes Spontaneous Ringing In Our Ears?". ZidBits. ZidBits Media. 2013-02-26. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
- ↑ 53.0 53.1 McFerran, Don; Magdalena, Sereda. "Pulsatile tinnitus" (PDF). Action on Hearing Loss. Royal National Institute for Deaf People (RNID). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-22. สืบค้นเมื่อ 2018-07-22.
- ↑ 54.0 54.1 "Information and resources: Our factsheets and leaflets: Tinnitus: Factsheets and leaflets". RNID.org.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-26.
- ↑ Chandler, JR (1983). "Diagnosis and cure of venous hum tinnitus". Laryngoscope. 93 (7): 892–5. doi:10.1288/00005537-198307000-00009. PMID 6865626.
- ↑ Moonis, G; Hwang, CJ; Ahmed, T; Weigele, JB; Hurst, RW (2005). "Otologic manifestations of petrous carotid aneurysms". AJNR Am J Neuroradiol. 26 (6): 1324–27. PMID 15956490.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Selim, Magdy; Caplan, Louis R. (2004). "Carotid Artery Dissection". Current Treatment Options in Cardiovascular Medicine. 6 (3): 249–53. doi:10.1007/s11936-996-0020-z. ISSN 1092-8464. PMID 15096317.[ลิงก์เสีย] (ต้องรับบริการ)
- ↑ Sismanis, A; Butts, FM; Hughes, GB (2009-01-04). "Objective tinnitus in benign intracranial hypertension: An update". The Laryngoscope. 100: 33–36. doi:10.1288/00005537-199001000-00008.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Diamond, Bruce J; Mosley, Joseph E (2011). Kreutzer, Jeffrey S; DeLuca, John; Caplan, Bruce (บ.ก.). Arteriovenous Malformation (AVM). Encyclopedia of Clinical Neuropsychology. Springer. pp. 249–252. doi:10.1007/978-0-387-79948-3. ISBN 978-0-387-79947-6.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Purves, Dale; Augustine, George J; Fitzpatrick, David; Hall, William C; Lamantia, Anthony Samuel; McNamara, James O; White, Leonard E, บ.ก. (2008a). "13 - The Auditory System". Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. Two Kinds of Hair Cells in the Cochlea, p. 330. ISBN 978-0-87893-697-7.
- ↑ Siegel, J (2008). Dallos, Peter; Oertel, Donata (บ.ก.). 3.15 Otoacoustic Emissions. The Senses: A Comprehensive Reference. Vol. 3: Audition. Elsevier. 3.15.2 A Brief History of Otoacoustic Emission, pp. 239-240.
Adding to his direct contributions... the work of Gold was largely disregarded.
- ↑
Yamasoba, T; Kondo, K (2006). "Supporting cell proliferation after hair cell injury in mature guinea pig cochlea in vivo". Cell Tissue Res. 325 (1): 23–31. doi:10.1007/s00441-006-0157-9. PMID 16525832.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
White, PM; Doetzlhofer, A; Lee, YS; Groves, AK; Segil, N (2006). "Mammalian cochlear supporting cells can divide and trans-differentiate into hair cells". Nature. 441 (7096): 984–87. doi:10.1038/nature04849. PMID 16791196.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Engmann, Birk: Ohrgeräusche (Tinnitus) : Ein lebenslanges Schicksal? PTA-Forum. Supplement Pharmazeutische Zeitung. 1997 July
- ↑
Møller, AR (2016). "Sensorineural Tinnitus: Its Pathology and Probable Therapies". International Journal of Otolaryngology. 2016: 2830157. doi:10.1155/2016/2830157. PMC 4761664. PMID 26977153.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Sedley, W; Friston, KJ; Gander, PE; Kumar, S; Griffiths, TD (2016). "An Integrative Tinnitus Model Based on Sensory Precision". Trends in Neurosciences. 39 (12): 799–812. doi:10.1016/j.tins.2016.10.004. PMC 5152595. PMID 27871729.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Shore, SE; Roberts, LE; Langguth, B (2016). "Maladaptive plasticity in tinnitus - triggers, mechanisms and treatment". Nature Reviews Neurology. 12 (3): 150–60. doi:10.1038/nrneurol.2016.12. PMC 4895692. PMID 26868680.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Crummer, RW; และคณะ (2004). "Diagnostic Approach to Tinnitus". Am Fam Physician. 69 (1): 120–26.
- ↑ Davis, A (1989). "The prevalence of hearing impairment and reported hearing disability among adults in Great Britain". International Journal of Epidemiology. 18 (4): 911–17. doi:10.1093/ije/18.4.911.
- ↑ Sheldrake, J; Diehl, PU; Schaette, R (2015). "Audiometric characteristics of hyperacusis patients". Frontiers in Neurology. 6: 105. doi:10.3389/fneur.2015.00105. PMC 4432660. PMID 26029161.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Henry, JA (2000). "Psychoacoustic Measures of Tinnitus". J Am Acad Audiol. 11: 138–55.
- ↑ Vielsmeier, V; Lehner, A; Strutz, J; Steffens, T; Kreuzer, PM; Schecklmann, M; Landgrebe, M; Langguth, B; Kleinjung, T (2015). "The Relevance of the High Frequency Audiometry in Tinnitus Patients with Normal Hearing in Conventional Pure-Tone Audiometry". BioMed Research International. 2015: 302515. doi:10.1155/2015/302515. PMC 4637018. PMID 26583098.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ CÉ, Basile; Fournier, P; Hutchins, S; Hébert, S (2013). "Psychoacoustic assessment to improve tinnitus diagnosis". PLOS One. 8 (12): e82995. Bibcode:2013PLoSO...882995B. doi:10.1371/journal.pone.0082995. PMC 3861445. PMID 24349414.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Roberts, LE (2007). "Residual inhibition". Progress in Brain Research. Progress in Brain Research. 166: 487–95. doi:10.1016/S0079-6123(07)66047-6. ISBN 978-0444531674. PMID 17956813.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Roberts, LE; Moffat, G; Baumann, M; Ward, LM; Bosnyak, DJ (2008). "Residual inhibition functions overlap tinnitus spectra and the region of auditory threshold shift". Journal of the Association for Research in Otolaryngology. 9 (4): 417–35. doi:10.1007/s10162-008-0136-9. PMC 2580805. PMID 18712566.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Knipper, M; Van Dijk, P; Nunes, I; Rüttiger, L; Zimmermann, U (2013). "Advances in the neurobiology of hearing disorders: recent developments regarding the basis of tinnitus and hyperacusis". Progress in Neurobiology. 111: 17–33. doi:10.1016/j.pneurobio.2013.08.002. PMID 24012803.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Tyler, RS; Pienkowski, M; Roncancio, ER; Jun, HJ; Brozoski, T; Dauman, N; Dauman, N; Andersson, G; Keiner, AJ; Cacace, AT; Martin, N; Moore, BC (2014). "A review of hyperacusis and future directions: part I. Definitions and manifestations" (PDF). American Journal of Audiology. 23 (4): 402–19. doi:10.1044/2014_AJA-14-0010. PMID 25104073. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-23.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Sherlock, LaGuinn P. (2005). "Estimates of Loudness, Loudness Discomfort, and the Auditory Dynamic Range: Normative Estimates, Comparison of Procedures, and Test-Retest Reliability". J Am Acad Audiol. 16: 85–100. doi:10.3766/jaaa.16.2.4.
- ↑
Sherlock, LP; Formby, C (2005). "Estimates of loudness, loudness discomfort, and the auditory dynamic range: normative estimates, comparison of procedures, and test-retest reliability". Journal of the American Academy of Audiology. 16 (2): 85–100. doi:10.3766/jaaa.16.2.4. PMID 15807048.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Pienkowski, M; Tyler, RS; Roncancio, ER; Jun, HJ; Brozoski, T; Dauman, N; Coelho, CB; Andersson, G; Keiner, AJ; Cacace, AT; Martin, N; Moore, BC (2014). "A review of hyperacusis and future directions: part II. Measurement, mechanisms, and treatment". American Journal of Audiology. 23 (4): 420–36. doi:10.1044/2014_AJA-13-0037. PMID 25478787.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ McCombe, A; Baguley, D; Coles, R; McKenna, L; McKinney, C; Windle-Taylor, P (2001). "Guidelines for the grading of tinnitus severity: the results of a working group commissioned by the British Association of Otolaryngologists, Head and Neck Surgeons, 1999" (PDF). Clinical Otolaryngology and Allied Sciences. 26 (5): 388–93. doi:10.1046/j.1365-2273.2001.00490.x. PMID 11678946. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-24.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "James Jones's 80ft death jump after tinnitus 'torture'". BBC News. 2015-12-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-04. สืบค้นเมื่อ 2015-12-02.
- ↑
Langguth, B; Goodey, R; Azevedo, A และคณะ (2007). "Consensus for tinnitus patient assessment and treatment outcome measurement: Tinnitus Research Initiative meeting, Regensburg, July 2006". Progress in Brain Research. Progress in Brain Research. 166: 525–36. doi:10.1016/S0079-6123(07)66050-6. ISBN 978-0444531674. PMC 4283806. PMID 17956816.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Meikle, MB; Stewart, BJ; Griest, SE และคณะ (2007). "Assessment of tinnitus: measurement of treatment outcomes" (PDF). Progress in Brain Research. Progress in Brain Research. 166: 511–21. doi:10.1016/S0079-6123(07)66049-X. ISBN 978-0444531674. PMID 17956815. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-25.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Meikle, MB; Henry, JA; Griest, SE และคณะ (2012). "The tinnitus functional index: development of a new clinical measure for chronic, intrusive tinnitus" (PDF). Ear and Hearing. 33 (2): 153–76. doi:10.1097/AUD.0b013e31822f67c0. PMID 22156949. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-25.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Henry, JL; Wilson, PH (2000). The Psychological Management of Chronic Tinnitus: A Cognitive Behavioural Approach. Allyn and Bacon.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Landgrebe, M; Azevedo, A; Baguley, D; Bauer, C; Cacace, A; Coelho, C และคณะ (2012). "Methodological aspects of clinical trials in tinnitus: A proposal for international standard". Journal of Psychosomatic Research. 73 (2): 112–21. doi:10.1016/j.jpsychores.2012.05.002. PMC 3897200. PMID 22789414.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Pegge, S; Steens, S; Kunst, H; Meijer, F (2017). "Pulsatile Tinnitus: Differential Diagnosis and Radiological Work-Up". Current Radiology Reports. 5 (1): 5. doi:10.1007/s40134-017-0199-7. PMC 5263210. PMID 28203490.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Hofmann, E; Behr, R; Neumann-Haefelin, T; Schwager, K (2013). "Pulsatile tinnitus: imaging and differential diagnosis". Deutsches Arzteblatt International. 110 (26): 451–58. doi:10.3238/arztebl.2013.0451. PMC 3719451. PMID 23885280.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Sismanis, A (2011). "Pulsatile tinnitus: contemporary assessment and management" (PDF). Current Opinion in Otolaryngology & Head and Neck Surgery. 19 (5): 348–57. doi:10.1097/MOO.0b013e3283493fd8. PMID 22552697. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-25.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Elder, JA; Chou, CK (2003). "Auditory response to pulsed radiofrequency energy". Bioelectromagnetics. Suppl 6: S162-73. doi:10.1002/bem.10163. PMID 14628312.
- ↑
Lin, JC; Wang, Z (2007). "Hearing of microwave pulses by humans and animals: effects, mechanism, and thresholds". Health Physics. 92 (6): 621–28. doi:10.1097/01.HP.0000250644.84530.e2. PMID 17495664.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 93.0 93.1 93.2 93.3 Tunkel DE, Bauer CA, Sun GH, และคณะ (2014). "Clinical practice guideline: tinnitus". Otolaryngology–Head and Neck Surgery. 151 (2 Suppl): S1–40. doi:10.1177/0194599814545325. PMID 25273878. S2CID 206468767.
- ↑ Cianfrone, G; Pentangelo, D; Cianfrone, F; Mazzei, F; Turchetta, R; Orlando, MP; Altissimi, G (June 2011). "Pharmacological drugs inducing ototoxicity, vestibular symptoms and tinnitus: a reasoned and updated guide". European Review for Medical and Pharmacological Sciences. 15 (6): 601–36. PMID 21796866.
- ↑ Palomar García, V; Abdulghani Martínez, F; Bodet Agustí, E; Andreu Mencía, L; Palomar Asenjo, V (July 2001). "Drug-induced otoxicity: current status". Acta Oto-Laryngologica. 121 (5): 569–572. doi:10.1080/00016480121545. PMID 11583387. S2CID 218879738.
- ↑ Seligmann H, Podoshin L, Ben-David J, Fradis M, Goldsher M (1996). "Drug-induced tinnitus and other hearing disorders". Drug Safety. 14 (3): 198–212. doi:10.2165/00002018-199614030-00006. PMID 8934581. S2CID 23522352.
- ↑ 97.0 97.1 Hoare D, Kowalkowski V, Knag S, Hall D (2011). "Systematic review and meta-analyses of randomized controlled trials examining tinnitus management". The Laryngoscope. 121 (7): 1555–1564. doi:10.1002/lary.21825. PMC 3477633. PMID 21671234.
- ↑ Hesser H, Weise C, Zetterquist Westin V, Andersson G (2011). "A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials of cognitive–behavioral therapy for tinnitus distress". Clinical Psychology Review. 31 (4): 545–553. doi:10.1016/j.cpr.2010.12.006. PMID 21237544.
- ↑ Ost, LG (October 2014). "The efficacy of Acceptance and Commitment Therapy: an updated systematic review and meta-analysis". Behaviour Research and Therapy. 61: 105–121. doi:10.1016/j.brat.2014.07.018. PMID 25193001.
- ↑ Henry J, Zaugg T, Myers P, Kendall C (2012). "Chapter 9 – Level 5 Individualized Support". Progressive Tinnitus Management: Clinical Handbook for Audiologists. US Department of Veterans Affairs, National Center for Rehabilitative Auditory Research. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2013. สืบค้นเมื่อ 20 December 2013.
- ↑ Baldo, P; Doree, C; Molin, P; McFerran, D; Cecco, S (12 September 2012). "Antidepressants for patients with tinnitus". Cochrane Database of Systematic Reviews. 9 (9): CD003853. doi:10.1002/14651858.CD003853.pub3. PMC 7156891. PMID 22972065.
- ↑ Savage, J; Cook, S; Waddell, A (12 November 2009). "Tinnitus". BMJ Clinical Evidence. 2009. PMC 2907768. PMID 21726476.
- ↑ Pichora-Fuller, M. Kathleen; Santaguida, Pasqualina; Hammill, Amanda; Oremus, Mark; Westerberg, Brian; Ali, Usman; Patterson, Christopher; Raina, Parminder (2013). "Evaluation and Treatment of Tinnitus: Comparative Effectiveness". Comparative Effectiveness Reviews. AHRQ Comparative Effectiveness Reviews (122). PMID 24049842.
- ↑ Lavigne, P; Lavigne, F; Saliba, I (23 June 2015). "Intratympanic corticosteroids injections: a systematic review of literature". European Archives of Oto-Rhino-Laryngology. 273 (9): 2271–2278. doi:10.1007/s00405-015-3689-3. PMID 26100030. S2CID 36037973.
- ↑ Penney, SE; Bruce, IA; Saeed, SR (2006). "Botulinum toxin is effective and safe for palatal tremor: a report of five cases and a review of the literature". J Neurology. 253 (7): 857–60. doi:10.1007/s00415-006-0039-9. PMID 16845571.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Sweetman, Sean C., บ.ก. (2009). Martindale (36th ed.). Pharmaceutical Press. p. 2277. ISBN 978-0-85369-840-1.
- ↑ Langguth, B; Salvi, R; Elgoyhen, AB (December 2009). "Emerging pharmacotherapy of tinnitus". Expert Opinion on Emerging Drugs. 14 (4): 687–702. doi:10.1517/14728210903206975. PMC 2832848. PMID 19712015.
- ↑
Hoare, DJ; Searchfield, GD; A, El Refaie; Henry, JA (2014). "Sound therapy for tinnitus management: practicable options". Journal of the American Academy of Audiology. 25 (1): 62–75. doi:10.3766/jaaa.25.1.5. PMID 24622861.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Hobson, J; Chisholm, E; El Refaie, A (2012-11-14). "Sound therapy (masking) in the management of tinnitus in adults". Cochrane Database of Systematic Reviews. 11: CD006371. doi:10.1002/14651858.CD006371.pub3. PMID 23152235.
- ↑
Phillips, JS; McFerran, D (2010). "Tinnitus Retraining Therapy (TRT) for tinnitus". Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD007330. doi:10.1002/14651858.CD007330.pub2. PMID 20238353.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Meng, Z; Liu, S; Zheng, Y; Phillips, JS (2011-10-05). "Repetitive transcranial magnetic stimulation for tinnitus". The Cochrane Database of Systematic Reviews (10): CD007946. doi:10.1002/14651858.CD007946.pub2. PMID 21975776.
- ↑ Güntensperger, D; Thüring, C; Meyer, M; Neff, P; Kleinjung, T (2017). "Neurofeedback for Tinnitus Treatment - Review and Current Concepts". Frontiers in Aging Neuroscience. 9: 386. doi:10.3389/fnagi.2017.00386. PMC 5717031. PMID 29249959.
- ↑ Hilton, MP; Zimmermann, EF; Hunt, WT (2013-03-28). "Ginkgo biloba for tinnitus". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 3: CD003852. doi:10.1002/14651858.CD003852.pub3. PMID 23543524.
- ↑ Person, Osmar C; Puga, Maria ES; da Silva, Edina MK; Torloni, Maria R (2016-11-23). "Zinc supplements for tinnitus". Cochrane Database of Systematic Reviews. doi:10.1002/14651858.cd009832.pub2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-26.
- ↑ Sanchez, TG; Rocha, CB (2011). "Diagnosis and management of somatosensory tinnitus: review article". Clinics. 66 (6): 1089–94. doi:10.1590/S1807-59322011000600028. PMC 3129953. PMID 21808880.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Heller, AJ (2003). "Classification and epidemiology of tinnitus". Otolaryngologic Clinics of North America. 36 (2): 239–48. doi:10.1016/S0030-6665(02)00160-3. PMID 12856294.
- ↑ Celik, N; Bajin, MD; Aksoy, S (2009). "Tinnitus incidence and characteristics in children with hearing loss" (PDF). Journal of International Advanced Otology. Ankara, Turkey: Mediterranean Society of Otology and Audiology. 5 (3): 363–69. ISSN 1308-7649. OCLC 695291085. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-21. สืบค้นเมื่อ 2013-02-02.
- ↑ Mills, RP; Albert, D; Brain, C (1986). "Tinnitus in childhood". Clinical Otolaryngology and Allied Sciences. 11 (6): 431–34.
- ↑ Ballantyne, JC (2009). Graham, J; Baguley, D (บ.ก.). Ballantyne's Deafness (7th ed.). Chichester: Wiley-Blackwell. OCLC 275152841.
- ↑ Shetye, A; Kennedy, V (2010). "Tinnitus in children: an uncommon symptom?" (PDF). Archives of Disease in Childhood. 95 (8): 645–48. doi:10.1136/adc.2009.168252. PMID 20371585. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-29.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
แหล่งอ้างอิงอื่น
แก้- Snow, JB Jr. (2008). Dallos, Peter; Oertel, Donata (บ.ก.). 3.18 Tinnitus. The Senses: A Comprehensive Reference. Vol. 3: Audition. Elsevier. pp. 301–308.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เสียงในหู ที่เว็บไซต์ Curlie
- Baguley, David; Andersson, Gerhard; McFerran, Don; McKenna, Laurence (2013) [2004]. Tinnitus: A Multidisciplinary Approach (2nd ed.). Indianapolis, IN: Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4051-9989-6. LCCN 2012032714. OCLC 712915603.
- Langguth, B; Hajak, G; Kleinjung, T; Cacace, A; Møller, AR, บ.ก. (2007). Tinnitus: pathophysiology and treatment. Progress in brain research no. 166 (1st ed.). Amsterdam; Boston: Elsevier. ISBN 978-0-444-53167-4. LCCN 2012471552. OCLC 648331153. สืบค้นเมื่อ 5 November 2012. Alt URL
- Møller, Aage R; Langguth, Berthold; Ridder, Dirk; และคณะ, บ.ก. (2011). Textbook of Tinnitus. New York: Springer. doi:10.1007/978-1-60761-145-5. ISBN 978-1-60761-144-8. LCCN 2010934377. OCLC 695388693 , 771366370 and 724696022. (ต้องสมัครสมาชิก)
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |