การตอบสนองโดยสู้หรือหนี
การตอบสนองโดยสู้หรือหนี หรือ การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (อังกฤษ: fight-or-flight response, hyperarousal, acute stress response) เป็นปฏิกิริยาทางสรีรภาพที่เกิดตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นอันตราย เสี่ยงต่อถูกทำร้าย หรือเสี่ยงต่อชีวิต[1] โดยมี ศ. นพ. วอลเตอร์ แบรดฟอร์ด แคนนอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวถึงไอเดียนี้เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2472[2] ทฤษฎีของเขาแสดงว่า สัตว์ (และมนุษย์) มีปฏิกิริยาต่อภัยด้วยการทำงานในระบบประสาทซิมพาเทติก ซึ่งช่วยเตรียมสัตว์ให้สู้หรือหนี[3]
โดยเฉพาะก็คือ สมองส่วน adrenal medulla ซึ่งเป็นส่วนของต่อมหมวกไตจะสร้างปฏิกิริยาลูกโซ่ทางฮอร์โมนมีผลเป็นการหลั่งสารประกอบอินทรีย์แบบโมโนอะมีนคือ catecholamines โดยเฉพาะนอร์เอพิเนฟรินและอีพิเนฟริน (คือ อะดรีนาลีน)[4] นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงหลักคือเอสโตรเจน ฮอร์โมนเพศชายหลักคือเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนที่หลั่งเมื่อเครียดคือคอร์ติซอล กับทั้งสารสื่อประสาทโดพามีนและเซโรโทนิน ก็ยังมีอิทธิพลต่อการตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์อีกด้วย[5]
การตอบสนองเช่นนี้รู้แล้วว่าเป็นระยะแรกของกลุ่มอาการปรับตัวทั่วไป (General Adaptation Syndrome) ที่ควบคุมการตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์มีกระดูกสันหลังและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ[6]
สรีรวิทยา
แก้ระบบประสาทอิสระ
แก้ระบบประสาทอิสระเป็นระบบควบคุมที่ทำงานใต้จิตสำนึกและควบคุมอัตราหัวใจเต้น การย่อยอาหาร อัตราการหายใจ การตอบสนองของรูม่านตา การถ่ายปัสสาวะ และอารมณ์เพศ เป็นระบบหลักที่ควบคุมการตอบสนองแบบสู้หรือหนี ที่อำนวยโดยส่วนประกอบสองอย่าง[7] ดังที่จะกล่าวต่อไป
ระบบประสาทซิมพาเทติก
แก้ระบบประสาทซิมพาเทติกเริ่มที่ไขสันหลังและทำหน้าที่หลักคือก่อความเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพที่เกิดขึ้นในช่วงการตอบสนองโดยสู้หรือหนี ส่วนประกอบของระบบประสาทนี้ ใช้สารสื่อประสาทและส่งสัญญาณให้ปล่อยสารสื่อประสาทนอร์เอพิเนฟรินในปฏิกิริยานี้[8]
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
แก้ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกเริ่มจากไขสันหลังและ medulla oblongata โดยทำงานร่วมกับระบบประสาทซิมพาเทติก และทำหน้าที่หลักคือก่อการตอบสนองแบบ "พักและย่อยอาหาร" แล้วคืนสภาพร่างกายไปสู่ภาวะธำรงดุลหลังจากตอบสนองแบบสู้หรือหนี ระบบนี้ใช้สารสื่อประสาทและส่งสัญญาณให้ปล่อยสารสื่อประสาท acetylcholine[8]
ปฏิกิริยา
แก้ในสมอง ปฏิกิริยาเริ่มที่อะมิกดะลา ซึ่งจุดชนวนการตอบสนองในไฮโปทาลามัส ปฏิกิริยาเบื้องต้นจะตามด้วยการทำงานของต่อมใต้สมอง (pituitary gland) และการปล่อยฮอร์โมน Adrenocorticotropic hormone (ACTH)[9] โดยมีต่อมหมวกไตที่เริ่มทำงานเกือบพร้อมกันและปล่อยฮอร์โมนอีพิเนฟริน (อะดรีนาลีน) การปล่อยสารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้มีผลเป็นการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเพิ่มความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด และระงับระบบภูมิคุ้มกัน[10] การตอบสนองเบื้องต้นนี้และปฏิกิริยาต่อ ๆ มา เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มพลังงานที่มี ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออีพิเนฟรินเข้ายึดกับเซลล์ตับซึ่งผลิตกลูโคสต่อมา[11] นอกจากนั้นแล้ว การไหลเวียนของคอร์ติซอลยังเปลี่ยนกรดไขมันเป็นพลังงาน ซึ่งตระเตรียมกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเพื่อการตอบสนอง[12] ส่วนฮอร์โมนกลุ่ม Catecholamine เช่น อีพิเนฟริน หรือนอร์เอพิเนฟริน (นอร์อะดรีนาลีน) อำนวยปฏิกิริยาทางกายแบบฉับพลันต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับการเตรียมตัวใช้กล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วรุนแรง ปฏิกิริยารวมทั้ง[13]
- การเร่งการทำงานของหัวใจและปอด
- หน้าซีด หรือหน้าแดง หรือสลับกัน
- การยับยั้งการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก จนกระทั่งการย่อยอาหารช้าลงหรือหยุด
- ผลทั่วไปต่อหูรูด (sphincter) ต่าง ๆ ในร่างกาย
- การตีบของหลอดเลือดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- การปล่อยแหล่งพลังงานเพื่อเผาผลาญ โดยเฉพาะไขมันและไกลโคเจนสำหรับกล้ามเนื้อ
- การขยายหลอดเลือดสำหรับกล้ามเนื้อ
- การยับยั้งต่อมน้ำตาและต่อมน้ำลาย
- รูม่านตาขยาย
- การผ่อนกล้ามเนื้อที่กระเพาะปัสสาวะ (คือทำให้ไม่ปวดปัสสาวะ)
- การยับยั้งการแข็งตัวขององคชาต
- การเสียการได้ยิน (หูหนวก) ชั่วคราว
- การเสียการเห็นรอบข้าง (peripheral vision)
- การเลิกระงับรีเฟล็กซ์จากไขสันหลัง
- การสั่น
หน้าที่ของการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพ
แก้การเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพเมื่อตอบสนองแบบสู้หรือหนีเกิดขึ้นเพื่อให้กำลังและความเร็วกับร่างกายโดยคาดว่าจะมีการสู้หรือวิ่งหนี การเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพมีหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง[14][15]
- การเพิ่มการไหลของโลหิตไปยังกล้ามเนื้อโดยส่งไปจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- การเพิ่มความดันโลหิต อัตราหัวใจเต้น น้ำตาลและไขมันในเลือด เพื่อให้พลังงานเพิ่มขึ้นแก่ร่างกาย
- การจับลิ่มของเลือดทำงานได้เร็วขึ้นเพื่อป้องกันการเสียเลือดมากถ้าเกิดบาดเจ็บในช่วงการตอบสนอง
- การเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพื่อให้ความเร็วและกำลังเพิ่มแก่ร่างกาย
องค์ประกอบทางอารมณ์
แก้การควบคุมอารมณ์
แก้ในสภาพแวดล้อมของการตอบสนองแบบสู้หรือหนี จะมีการควบคุมอารมณ์ล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียด และควบคุมระดับความตื่นตัวทางอารมณ์[16][17]
ความไวปฏิกิริยาอารมณ์ (Emotional reactivity)
แก้ในช่วงปฏิกิริยา ความรุนแรงทางอารมณ์ที่เกิดจากสิ่งเร้าจะเป็นตัวกำหนดธรรมชาติและความรุนแรงของการตอบสนองทางพฤติกรรมด้วย[18] บุคคลที่ไวปฏิกิริยาทางอารมณ์สูงอาจมีแนวโน้มต่อความวิตกกังวลและความก้าวร้าว ซึ่งแสดงผลที่ตามมาของการมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่สมควรในช่วงการตอบสนองแบบสู้หรือหนี[19][20]
องค์ประกอบทางการรู้คิด
แก้ความเฉพาะเจาะจงของสิ่งที่คิด
แก้ปัจจัยทางการรู้คิดในช่วงการตอบสนองดูเหมือนจะเป็นในเชิงลบโดยมาก รวมทั้ง การใส่ใจในสิ่งเร้าเชิงลบ ความรู้สึกถึงสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นแบบลบ และการระลึกถึงคำพูดเชิงลบได้อย่างซ้ำ ๆ.[21] และอาจจะมีความคิดเชิงลบที่เฉพาะเจาะจงโดยสัมพันธ์กับอารมณ์ที่มักมีในปฏิกิริยาแบบเดียวกัน[22]
ความรู้สึกว่าควบคุมเหตุการณ์ได้
แก้ความรู้สึกว่าควบคุมเหตุการณ์ได้ (Perceived control)[23] ต่างจากการควบคุมเหตุการณ์ได้จริง ๆ เพราะว่าความเชื่อของบุคคลเกี่ยวกับสมรรถภาพของตนอาจจะไม่สะท้อนความจริง ดังนั้น การประเมินว่าควบคุมเหตุการณ์ได้เกินหรือน้อยไปอาจทำให้วิตกกังวลและก้าวร้าว[24]
การประมวลข้อมูลทางสังคม (Social information processing)
แก้แบบจำลองการประมวลข้อมูลทางสังคม (social information processing) เสนอปัจจัยหลายอย่างที่กำหนดพฤติกรรม ภายในสภาพแวดล้อมคือสถานการณ์ทางสังคมและความคิดที่มีอยู่ก่อน[25] การตีความว่ามีการมุ่งร้าย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยทางการรู้คิดสำคัญที่สุดที่สัมพันธ์กับการตอบสนอง[26]
สัตว์ต่าง ๆ
แก้มุมมองทางวิวัฒนาการ
แก้จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology) อธิบายว่า สัตว์บรรพบุรุษต้องมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าที่เป็นภัยอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีเวลาเตรียมตัวเองทั้งทางกายและทางใจ ดังนั้น การตอบสนองแบบสู้หรือหนีจึงเป็นกลไกให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อภัยชีวิตอย่างรวดเร็ว[27][28]
ตัวอย่าง
แก้ตัวอย่างของการตอบสนองต่อความเครียดที่พบในสัตว์ ก็คือม้าลายที่กำลังกินหญ้าอยู่ ถ้ามันเห็นสิงโตกำลังวิ่งเข้ามาเพื่อฆ่า การตอบสนองต่อความเครียดก็จะเริ่มทำงาน การหนีจำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อมาก โดยได้รับการสนับสนุนจากระบบอื่น ๆ ของกาย การทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นโดยเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง
ตัวอย่างที่คล้าย ๆ กันรวมการสู้ของแมวที่สุนัขกำลังโจมตี แมวจะมีหัวใจเต้นเร็ว มีขนตั้ง (ซึ่งปกติจะทำเพื่อรักษาความร้อน) รูม่านตาขยาย ซึ่งแสดงการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก[13] แต่ว่าให้สังเกตว่า ทั้งม้าลายและแมวยังสามารถดำรงภาวะธำรงดุลได้ในสภาวะต่าง ๆ เหล่านี้
ความหลากหลายของการตอบสนอง
แก้สัตว์ตอบสนองต่อภัยด้วยวิธีที่ซับซ้อนหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น หนูจะพยายามหนีเมื่อเกิดภัย แต่จะสู้ถ้าจนตรอก สัตว์บางชนิดจะยืนอยู่นิ่ง ๆ เพื่อที่สัตว์ล่าเหยื่อจะไม่เห็นมัน สัตว์หลายประเภทจะแข็งตัวและแกล้งตายเมื่อถูกตัวโดยหวังว่าสัตว์ล่าเหยื่อจะเลิกสนใจ และสัตว์อื่น ๆ ก็มีวิธีป้องกันตัวอย่างอื่น ๆ สัตว์เลือดเย็นบางประเภทเปลี่ยนสีได้อย่างรวดเร็วเพื่ออำพรางตัวเอง[29]
การตอบสนองเหล่านี้เริ่มจากการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก แต่เพื่อให้เข้ากับแบบจำลองสู้หรือหนี แนวคิดเรื่องการหนีต้องขยายรวมทั้งการหนีจากการถูกจับ ไม่ว่าจะโดยทางกายหรือโดยแฝงตัว ดังนั้น อาจจะหนีไปสู่อีกสถานที่หนึ่งหรือว่าเพียงแค่หายตัวอยู่ตรงนั้น และบ่อยครั้ง ทั้งการสู้การหนีจะเกิดรวมกันในสถานการณ์หนึ่ง ๆ การสู้หรือหนียังปรากฏว่ามีสองข้าง คือ สัตว์อาจจะสู้หรือหนีต่อต้านอะไรบางอย่างที่เป็นภัย เช่นสิงโตหิว หรือสู้หรือหนีไปยังอะไรที่ต้องการ เช่นไปสู่ฝั่งเพื่อความปลอดภัยจากแม่น้ำที่กำลังหลากมา
ภัยจากสัตว์อีกตัวหนึ่งไม่ได้มีผลเป็นปฏิกิริยาสู้หรือหนีทันทีทุกครั้ง อาจจะมีช่วงเวลาที่รู้สึกตัวเพิ่มขึ้น เป็นช่วงที่สัตว์ตีความพฤติกรรมของสัตว์อื่น พฤติกรรมเช่น การถอดสี ขนตั้ง การแข็งตัว เสียง และท่าทางอื่น ๆ จะแสดงถึงสถานะและความตั้งใจของสัตว์แต่ละตัว อาจจะมีเหมือนกับระยะการต่อรอง ซึ่งตามด้วยการสู้หรือหนี แต่ก็อาจจะกลายเป็นการเล่นกัน การผสมพันธุ์ หรือไม่เกิดอะไรขึ้นเลย ยกตัวอย่างเช่น การเล่นของลูกแมว แม้ว่าลูกแมวแต่ละตัวจะแสดงการตื่นตัวของระบบประสาทซิมพาเทติก แต่ก็ไม่ได้ทำอันตรายแก่กันจริง ๆ
ตัวเมียและตัวผู้มักจะรับมือกับสถานการณ์ก่อความเครียดอย่างแตกต่างกัน ตัวผู้มีโอกาสตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยความก้าวร้าว คือการสู้ สูงกว่า ในขณะที่ตัวเมียมีโอกาสสูงกว่าที่จะหนี หันหน้าไปหาสัตว์อื่นเพื่อให้ช่วย หรือพยายามปลดชนวนสถานการณ์ ที่เรียกว่าการดูแลและผูกมิตร (tend and befriend) คือเมื่อเครียด แม่มีโอกาสสูงเป็นพิเศษที่จะตอบสนองแบบป้องกันลูก และผูกมิตรกับผู้อื่นเพื่อร่วมมือกันตอบสนองต่อภัยที่ปรากฏ[30]
ดูเพิ่ม
แก้สภาวะ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Cannon, Walter (1932). Wisdom of the Body. United States: W.W. Norton & Company. ISBN 0393002055.
- ↑ Cannon, Walter (1929). Bodily changes in pain, hunger, fear, and rage. New York: Appleton-Century-Crofts.
- ↑ Jansen, A; Nguyen, X; Karpitsky, V; Mettenleiter, M (1995-10-27). "Central Command Neurons of the Sympathetic Nervous System: Basis of the Fight-or-Flight Response". Science Magazine. 5236 (270).
- ↑ Cannon, Walter Bradford (1915). Bodily Changes in Pain, Hunger, Fear and Rage: An Account of Recent Researches into the Function of Emotional Excitement. Appleton-Century-Crofts.
- ↑ "Adrenaline, Cortisol, Norepinephrine: The Three Major Stress Hormones, Explained". Hufflington Post. 2014-04-19. สืบค้นเมื่อ 2014-08-16.
- ↑ Gozhenko, A; Gurkalova, I.P.; Zukow, W; Kwasnik, Z (2009). PATHOLOGY - Theory. Medical Student's Library. Radom. pp. 270–275.
- ↑ Schmidt, A; Thews, G (1989). "Autonomic Nervous System". ใน Janig, W (บ.ก.). Human Physiology (2 ed.). New York, NY: Springer-Verlag. pp. 333–370.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 8.0 8.1 Chudler, Eric. "Neuroscience For Kids". University of Washington. สืบค้นเมื่อ 2013-04-19.
- ↑ Margioris, Andrew; Tsatsanis, Christos (April 2011). "ACTH Action on the Adrenal". Endotext.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2013. สืบค้นเมื่อ 18 April 2013.
- ↑ Padgett, David; Glaser, R (August 2003). "How stress influences the immune response". Trends in Immunology. 24 (8): 444–448. CiteSeerX 10.1.1.467.1386. doi:10.1016/S1471-4906(03)00173-X. PMID 12909458.
- ↑ King, Michael. "PATHWAYS: GLYCOGEN & GLUCOSE". Washington University, St. Louis.
- ↑ "HOW CELLS COMMUNICATE DURING THE FIGHT OR FLIGHT RESPONSE". University of Utah. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-08. สืบค้นเมื่อ 2013-04-18.
- ↑ 13.0 13.1 Henry Gleitman, Alan J. Fridlund and Daniel Reisberg (2004). Psychology (6 ed.). W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-97767-7.
- ↑ Stress Management for Health Course. "The Fight Flight Response". สืบค้นเมื่อ 2013-04-19.
- ↑ Olpin, Michael. "The Science of Stress". Weber State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-20. สืบค้นเมื่อ 2016-10-17.
- ↑
Cistler, Josh; Olatunji, Bunmi O; Feldner, Matthew T; Forsyth, John P (2010). "Emotion Regulation and the Anxiety Disorders: An Integrative Review". Journal of Psychopathology and Behavioral Assessment. 32 (1): 68–82. doi:10.1007/s10862-009-9161-1. PMC 2901125. PMID 20622981.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Gross, James (1998). "Sharpening the Focus: Emotion Regulation, Arousal, and Social Competence". Psychological Inquiry. 9 (4): 287–290. doi:10.1207/s15327965pli0904_8.
- ↑ Avero, Pedro; Calvo, M (1999-07-01). "Emotional reactivity to social-evaluative stress: genderdifferences in response systems concordance". Personality and Individual Differences. 27 (1): 155–170. doi:10.1016/S0191-8869(98)00229-3.
- ↑ Carthy, T; Horesh N; Apter A; Edge MD; Gross JJ (May 2010). "Emotional reactivity and cognitive regulation in anxious children". Behaviour Research and Therapy. 48 (5): 384–393. doi:10.1016/j.brat.2009.12.013. PMID 20089246. S2CID 14382059.
- ↑ Valiente, C; Eisenberg N; Smith CL; Reiser M; Fabes RA; Losoya S; Guthrie IK; Murphy BC (December 2003). "The relations of effortful control and reactive control to children's externalising problems: A longitudinal assessment". Personality. 71 (6): 1171–1196. doi:10.1111/1467-6494.7106011. PMID 14633062.
- ↑ Reid, Sophie C.; Salmon, Karen; Peter F. Lovibond (October 2006). "Cognitive Biases in Childhood Anxiety, Depression, and Aggression: Are They Pervasive or Specific?". Cognitive Therapy and Research. 30 (5): 531–549. doi:10.1007/s10608-006-9077-y. S2CID 28911747.
- ↑ Beck, Aaron (1979). Cognitive Therapy and the Emotional Disorders. United States: Penguin Books.
- ↑ Weems, CF; Silverman, WK (April 2006). "An integrative model of control: implications for understanding emotion regulation and dysregulation in childhood anxiety". Journal of Affective Disorders. 91 (2): 113–124. doi:10.1016/j.jad.2006.01.009. PMID 16487599.
- ↑ Brendgen, M; Vitaro F; Turgeon L; Poulin F; Wanner B (June 2004). "Is there a dark side of positive illusions? Overestimation of social competence and subsequent adjustment in aggressive and nonaggressive children". Journal of Abnormal Child Psychology. 32 (3): 305–320. doi:10.1023/B:JACP.0000026144.08470.cd. PMID 15228179. S2CID 11239252.
- ↑ Crick, Nicki; Dodge, Kenneth (January 1994). "A review and reformulation of social information-processing mechanisms in children's social adjustment". Psychological Bulletin. 115 (1): 74–101. doi:10.1037/0033-2909.115.1.74.
- ↑ Dodge, Kenneth (March 1980). "Social cognition and children's aggressive behavior". Journal of Child Development. 51 (1): 162–170. doi:10.2307/1129603. JSTOR 1129603. PMID 7363732.
- ↑ Grohol, John. "What's the purpose of the fight or flight response?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-23. สืบค้นเมื่อ 2013-04-18.
- ↑ Goldstein, David; Kopin, I (2007). "Evolution of concepts of stress". Stress. 10 (2): 109–20. doi:10.1080/10253890701288935. PMID 17514579.
- ↑ Gill, A.C. (2004). Revision of the Indo-Pacific dottyback fish subfamily Pseudochrominae (Perciformes: Pseudochromidae). Smithiana Monographs. pp. 1–123.
- ↑ Taylor, Shelley Elizabeth; Klein, LC; Lewis, BP. "Biobehavioral responses to stress in females: Tend-and-befriend, not fight-or-flight" (PDF). Psychological Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-11.
First described by Walter Cannon in 1932, the fight-or-flight response is characterized physiologically by sympathetic nervous system activation that innervates the adrenal medulla, producing a hormonal cascade that results in the secretion of catecholamines, especially ...
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Sapolsky, Robert M., 1994. Why Zebras Don't Get Ulcers. W.H. Freeman and Company.
- บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเว็บไซต์หรือเอกสารของ รัฐบาลกลางสหรัฐ"http://www.surgeongeneral.gov/library/mentalhealth/chapter4/sec2_1.html"