การถ่ายปัสสาวะ
การถ่ายปัสสาวะ (อังกฤษ: urination)[เชิงอรรถ 1] เป็นการขับปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะผ่านท่อปัสสาวะสู่ปากช่องท่อปัสสาวะนอกร่างกาย
ในมนุษย์ซึ่งมีสุขภาพดี (และสัตว์อื่นอีกหลายชนิด) กระบวนการการถ่ายปัสสาวะอยู่ใต้การควบคุมอำนาจใจ ในทารก ผู้สูงอายุบางคน และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทางประสาท การถ่ายปัสสาวะอาจเกิดเป็นรีเฟล็กซ์ มนุษย์ผู้ใหญ่ปกติถ่ายปัสสาวะมากได้เจ็ดครั้งต่อวัน[1]
ในสัตว์บางอย่าง นอกเหนือจากการถ่ายปัสสาวะเพื่อขับของเสียแล้ว ยังสามารถทำเครื่องหมายบอกอาณาเขตหรือแสดงการยอมจำนนด้วย ในทางสรีรวิทยา การถ่ายปัสสาวะอาศัยการประสานงานระหว่างระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทอิสระและระบบประสาทกาย ศูนย์สมองซึ่งกำกับการถ่ายปัสสาวะมีศูนย์ถ่ายปัสสาวะพอนส์ เนื้อเทาข้างท่อน้ำสมอง (periaqueductal gray) และเปลือกสมอง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก (Placentalia) เพศผู้หรือชาย ปัสสาวะถูกขับออกทางองคชาต[2] ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรกเพศเมียหรือหญิง ปัสสาวะจะถูกขับผ่านโยนีหรือองคชาตเทียม (pseudo-penis)[3]: 38, 364
เชิงอรรถ
แก้- ↑ มีคำภาษาอังกฤษหลายคำ ศัพท์ทางแพทย์ว่า micturition, voiding, uresis, หรือ emiction, ภาษาปากว่า tinkling, peeing, weeing, และ pissing
อ้างอิง
แก้- ↑ American Urological Association (2014). "Diagnosis and Treatment of Overactive Bladder (Non-Neurogenic) in Adults: AUA/SUFU Guideline" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-26. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
- ↑ Marvalee H. Wake (15 September 1992). Hyman's Comparative Vertebrate Anatomy. University of Chicago Press. p. 583. ISBN 978-0-226-87013-7. สืบค้นเมื่อ 6 May 2013.
- ↑ Roughgarden, Joan (2004). Evolution's Rainbow: Diversity, Gender, and Sexuality in Nature and People. University of California Press. ISBN 978-0-520-24073-5. สืบค้นเมื่อ 17 October 2013.