การรับมือ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยา การรับมือ (อังกฤษ: coping) เป็นการตั้งใจพยายามแก้ปัญหาส่วนตัวหรือกับคนอื่น แล้วเอาชนะ ลด หรืออดทนความเครียดหรือความรู้สึกขัดใจของตน[1][2][3][4] ประสิทธิผลของความพยายามขึ้นอยู่กับรูปแบบความเครียดหรือความขัดแย้ง บุคคลอื่น และสถานการณ์อื่น ๆ

กลไกการรับมือทางใจเรียกอย่างสามัญในภาษาอังกฤษว่า coping strategies (กลยุทธ์การรับมือ) หรือ coping skills (ทักษะการรับมือ)[5] เป็นสิ่งที่ไม่รวมกลยุทธ์ใต้สำนึก (เช่น กลไกป้องกันตน [defence mechanism])

คำทั่วไปหมายถึงกลยุทธ์รับมือที่เป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) หรือว่าเป็นแบบสร้างสรรค์ ซึ่งก็คือ ช่วยลดความเครียด โดยกลยุทธ์บางอย่างพิจารณาว่า เป็นการปรับตัวผิด (maladaptive) คือ เพิ่มความเครียด การรับมือแบบผิด ๆ อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการไม่รับมือ นอกจากนั้นแล้ว เป็นคำที่หมายถึงปฏิกิริยา คือเป็นการรับมือตอบสนองต่อตัวสร้างความเครียด (stressor) เทียบกับการรับมือล่วงหน้า (proactive coping) ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อดักตัวก่อความเครียดที่จะเกิดในอนาคต การรับมือส่วนหนึ่งควบคุมโดยบุคลิกภาพคือลักษณะที่เป็นนิสัย แต่ส่วนหนึ่งก็คุมโดยสถานการณ์ทางสังคม โดยเฉพาะธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่ก่อความเครียด[6]

รูปแบบการรับมือ แก้

มีกลยุทธ์การรับมือเป็นร้อย ๆ[6] แต่การจัดเป็นลำดับชั้นโดยเป็นหมวดหมู่ยังไม่มีมติร่วมกัน การแยกแยะหมวดหมู่มักจะทำแบบเป็นคู่ ๆ เช่น มีปัญหาเป็นศูนย์ หรือมีอารมณ์เป็นศูนย์, สู้หรือหนี, โดยการรู้คิดหรือโดยพฤติกรรม หนังสือเรียนจิตวิทยาเล่มหนึ่งกำหนดชนิดกลยุทธ์การรับมือไว้ 4 อย่างแบบกว้าง ๆ คือ[1]

  • เพ่งการประเมิน (appraisal-focused) - เพื่อค้านความคิดสมมุติของตนเอง เป็นการปรับตัวโดยความคิด (adaptive cognitive)
  • เพ่งปัญหา (problem-focused) - เพื่อลดหรือกำจัดตัวก่อความเครียด เป็นการปรับตัวโดยพฤติกรรม (adaptive behavioral)
  • เพ่งอารมณ์ (emotion-focused) - เพื่อเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์ของตนเอง
  • เพ่งสิ่งที่ทำ (occupation-focused) - เพื่อทำอะไรนาน ๆ ที่ให้การตอบสนองที่ดี
กลยุทธ์เพ่งการประเมิน

กลยุทธ์เพ่งการประเมินเป็นการเปลี่ยนความคิดของตน ยกตัวอย่างเช่น ปฏิเสธความจริง (denial) หรือแยกตัวจากปัญหา (distancing) หรือเมื่อเปลี่ยนวิธีคิดถึงปัญหาโดยเปลี่ยนเป้าหมายและค่านิยมของตน เช่น เห็นความน่าขันในสถานการณ์เช่น "มีคนที่แนะว่า มุกตลกอาจมีบทบาทสำคัญเป็นตัวลดความเครียดในหญิงมากกว่าชาย" (คือ เปลี่ยนปัญหาหญิงเครียดกว่าชายไปเป็นเรื่องขำ ๆ)[7]

กลยุทธ์เพ่งปัญหา

ส่วนคนที่ใช้กลยุทธ์เพ่งปัญหาจะพยายามจัดการเหตุของปัญหา โดยหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาแล้วเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในการจัดการปัญหา เป็นกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนหรือกำจัดตัวก่อความเครียด ศาสตราจารย์จิตวิทยาทรงอิทธิพลที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ดร. ลาซารัส และเพื่อนร่วมงานได้กำหนดกลยุทธ์ว่า เป็นการเข้าควบคุม การหาข้อมูล และการประเมินส่วนได้ส่วนเสีย

กลยุทธ์เพ่งอารมณ์

ส่วนกลยุทธ์เพ่งอารมณ์รวมทั้งการ

  • คลายอารมณ์
  • หันไปสนใจเรื่องอื่น
  • จัดการความโกรธ

กลยุทธ์นี้ "มุ่งจัดการอารมณ์ที่ตามมากับการรับรู้ความเครียด"[8] ส่วนดร. ลาซารัสกำหนดกลยุทธ์ว่าเป็น[9]

  • การไม่ยอมรับ (disclaiming)
  • การหลีกเลี่ยงหนีปัญหา (escape-avoidance)
  • การรับผิดชอบ
  • การควบคุมตนเอง
  • การประเมินใหม่ในแง่ดี

กลยุทธ์นี้ บรรเทาความเครียดโดยลดมันให้ต่ำที่สุด หรือป้องกันอารมณ์ที่จะมากับตัวก่อความเครียด[10] โดยประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ เช่น[10][11]

  • หาคนสนับสนุน/ช่วย
  • ประเมินตัวก่อความเครียดในแง่ดี
  • ยอมรับผิดชอบ
  • หลีกเลี่ยง
  • ควบคุมตนเอง
  • แยกตัวจากปัญหา (distancing)

กลยุทธ์นี้มุ่งเปลี่ยนความหมายของตัวสร้างความเครียดหรือย้ายความสนใจไปในเรื่องอื่น[11] ยกตัวอย่างเช่น การประเมินใหม่พยายามหาความหมายที่ดีเกี่ยวกับเหตุของตัวก่อความเครียดเพื่อลดอารมณ์ที่เกิดตอบสนอง การหลีกเลี่ยงความทุกข์ทางใจเป็นการหันไปสนใจเรื่องอื่นจากความรู้สึกไม่ดีที่สัมพันธ์กับตัวก่อทุกข์ เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะกับตัวก่อความเครียดที่เหมือนจะควบคุมไม่ได้ (เช่น การได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคระยะสุดท้าย หรือการสูญเสียบุคคลที่รัก)[10]

กลไกการรับมือเพ่งที่อารมณ์บางอย่าง เช่น การหลีกเลี่ยง สามารถบรรเทาความทุกข์ระยะสั้น ๆ แต่ว่า อาจจะก่อความเสียหายถ้าใช้ในระยะยาว ส่วนกลไกเชิงบวกอื่น ๆ เช่น การหาคนสนับสนุน และการประเมินใหม่ในแง่ดี สัมพันธ์กับผลที่ดีกว่า[12] การรับมือโดยวิธีทางอารมณ์ (Emotional approach coping) เป็นรูปแบบการรับมือโดยเพ่งอารมณ์อย่างหนึ่ง ที่การแสดงและการประมวลอารมณ์นำมาใช้อย่างปรับตัวได้เพื่อบริหารการตอบสนองต่อตัวก่อความเครียด[13]

โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์จะใช้กลยุทธ์รับมือทั้งสามอย่างผสมผเสกัน และทักษะการรับมือปัญหาปกติจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา วิธีทั้งหมดนี้สามารถมีประโยชน์ได้ แต่ก็มีนักวิชาการที่อ้างว่าผู้ที่ใช้กลยุทธ์เพ่งปัญหาจะปรับตัวในชีวิตได้ดีกว่า[14] เพราะว่า กลยุทธ์อาจช่วยให้รู้สึกว่าสามารถควบคุมปัญหาของตนได้ดีกว่า เทียบกับวิธีเพ่งอารมณ์ที่บางครั้งทำให้รู้สึกว่าควบคุมเหตุการณ์ได้น้อย ซึ่งถือเป็นการรับมือแบบปรับตัวได้ไม่ดี ดร. ลาซารัสแนะให้สังเกตความเชื่อมกันระหว่างแนวคิดเรื่องการประเมินใหม่เพื่อป้องกันตน (defensive reappraisals) หรือการรับมือด้วยความคิด กับแนวคิดของฟรอยด์เรื่องการป้องกันอัตตา (ego-defenses)[9] ดังนั้น กลยุทธ์การรับมือจึงมีส่วนคาบเกี่ยวกับกลไกป้องกันตน

เทคนิคบวก (ที่เป็นการปรับตัวหรือการรับมือที่สร้างสรรค์) แก้

กลยุทธ์การรับมือที่ดีอันหนึ่ง เป็นการคาดหมายหรือการเตรียมป้องกันปัญหา ซึ่งเรียกว่า การรับมือล่วงหน้า (proactive coping)[8] การคาดหมายเป็นการลดความเครียดในเรื่องอะไรที่ยาก โดยคาดว่ามันจะเป็นอย่างไรแล้วเตรียมตัวรับมือกับมัน[15]

กลยุทธ์ที่ดีอีกสองอย่างก็คือ การรับมือทางสังคม (social coping) เช่น การหาคนสนับสนุน และการรับมือแบบเพ่งความหมาย ที่บุคคลพยายามหาความหมายจากประสบการณ์เครียด[8] การทานอาหาร การออกกำลังกาย และการนอนหลับให้พอเพียง ล้วนมีส่วนช่วยบริหารความเครียด และแม้แต่ความแข็งแรงของร่างกายและเทคนิคการผ่อนคลายเช่น progressive muscle relaxation ที่ผู้บำบัดสอนให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อในทุก ๆ ส่วนของร่างกาย ก็มีส่วนเช่นกัน[16]

วิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งที่สามารถใช้กับเหตุการณ์ที่ก่อความเจ็บปวดก็คือมุกตลก คือ แม้ว่าเราจะรู้สึกไปตามเหตุการณ์ตามที่ควรจะเป็น แต่ก็เอาชนะมันโดยเปลี่ยนมันให้เป็นเรื่องตลกและน่าขัน[17]

เมื่อรับมือกับความเครียด สำคัญที่จะจัดการเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกาย ทางใจ และทางสังคม ทุกคนควรรักษาสุขภาพและรู้จักผ่อนคลายเมื่อเกิดความเครียด ส่วนทางจิตใจ เป็นเรื่องสำคัญที่จะคิดถึงเรื่องต่าง ๆ ในเชิงบวก ให้คุณค่าตัวเอง บริหารการใช้เวลาได้ดี วางแผนและคิดถึงอนาคต และแสดงอารมณ์ ทางสังคม เราควรจะคุยกับคนอื่นและหาทำสิ่งใหม่ ๆ โดยใช้กลยุทธ์ง่าย ๆ เหล่านี้ การตอบสนองต่อความเครียดในชีวิตจะง่ายขึ้น[18][19]

เทคนิคเชิงลบ (เป็นการปรับตัวผิดหรือเป็นการไม่รับมือ) แก้

เทียบกับวิธีการรับมือที่เป็นการปรับตัวที่ดีซึ่งช่วยเพิ่มสมรรถภาพในชีวิต เทคนิคที่เป็นการปรับตัวผิดแม้จะช่วยลดอาการของปัญหาแต่ก็จะช่วยรักษาและเสริมแรงปัญหานั้น เทคนิคที่ปรับตัวผิดจะมีประสิทธิผลในระยะสั้นเท่านั้นไม่เหมือนการรับมือระยะยาว ตัวอย่างของกลยุทธ์การรับมือที่เป็นการปรับตัวผิดรวมทั้งการแยกตัวทางใจจากสิ่งแวดล้อมหรือความจริง (dissociation) การเพิ่มความไวปฏิกิริยาต่อสิ่งก่อความเครียด (sensitization) พฤติกรรมที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยแต่ไม่ช่วยแก้ปัญหา (safety behaviors) การหนีไม่ประสบกับเหตุการณ์/ตัวก่อความเครียดที่อาจก่อปัญหา (avoidance coping) และการหนีจากความจริงที่ต้องประสบในชีวิต (escape) รวมทั้งการใช้สารเสพติด กลยุทธ์เหล่านี้ขัดขวางการเรียนรู้ที่จะแยกความวิตกกังวลออกจากเหตุการณ์ที่กลายมาเป็นเรื่องสัมพันธ์กัน เป็นการปรับตัวไม่ดีที่ช่วยดำรงความผิดปกติทางจิต

การแยกตัว (dissociation) เป็นความสามารถของใจที่จะแยกและจัดแบ่งส่วนของความคิด ความจำ และอารมณ์ ซึ่งบ่อยครั้งสัมพันธ์กับความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PSD) การทำให้ไว (sensitization) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพยายามเรียนรู้ ฝึกซ้อม หรือคาดการณ์เหตุการณ์ที่กลัว โดยเป็นความพยายามเพื่อป้องกันเหตุการณ์เหล่านั้นไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก แต่ความจริงทำให้เกิดความระมัดระวังเกินไปและความวิตกกังวลที่ซ้ำ ๆ พฤติกรรมที่ทำให้รู้สึกปลอดภัย (safety behavior) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลที่มีโรควิตกกังวลกลายมาพึ่งอะไรบางอย่าง หรือคนบางคน เพื่อรับมือความวิตกกังวลที่มีเกิน การรับมือแบบหลีกเลี่ยง (avoidance coping) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลโดยทุกวิถีทาง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สามัญที่สุด การหนี (escape) คล้ายกับการหลีกเลี่ยง ซึ่งเกิดในคนไข้โรคตื่นตระหนกหรือโรคกลัวอะไรบางอย่าง ผู้ต้องการหนีจากเหตุการณ์ทันทีที่รู้สึกวิตกกังวล[20]

ตัวอย่างอื่น ๆ แก้

ตัวอย่างอื่น ๆ ของกลยุทธ์การรับมือรวมทั้ง[21] คนคุยที่ช่วยบรรเทาทุกข์ อุปกรณ์ช่วยบรรเทาทุกข์ การหันไปสนใจสิ่งอื่น การปฏิเสธว่ามีปัญหา การใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในทางที่ผิด การโทษตัวเอง และการอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร (behavioral disengagement)[22]

หลายคนคิดว่า การนั่งสมาธิ/การเจริญกรรมฐาน "ไม่ใช่เพียงสงบอารมณ์ของเราเท่านั้น แต่ ... ทำให้เรารู้สึกเป็นหนึ่งเดียว" และอีกด้วยก็คือ "การสวดมนต์ที่คุณพยายามได้ความสงบและสันติภาพในภายใน"[23]

การรับมือโดยไม่พยายาม (low-effort coping) หมายถึงปฏิกิริยาของชนกลุ่มน้อยเมื่อพยายามจะเข้ากับวัฒนธรรมของคนกลุ่มใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่เป็นชนกลุ่มน้อยอาจเรียนรู้ที่จะพยายามให้น้อยที่สุดเพราะคิดว่าคนกลุ่มใหญ่กีดกันตนโดยความเดียดฉันท์[24]

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ตามประวัติ แก้

ความแตกต่างระหว่างเพศ แก้

ชายกับหญิงอาจมีตัวก่อความเครียดและกลยุทธ์รับมือที่แตกต่างกัน มีหลักฐานว่า ชายมักจะเครียดเพราะเหตุอาชีพ เทียบกับหญิงที่มักจะเครียดเพราะปัญหาความสัมพันธ์กับคนอื่น[25] งานศึกษาต้น ๆ แสดงว่า "มีความแตกต่างระหว่างเพศในเรื่องแหล่งก่อความเครียด แต่ว่า ความแตกต่างระหว่างเพศในการรับมือค่อนข้างจะน้อยเมื่อควบคุมแหล่งก่อความเครียดแล้ว"[26] โดยปี 2552 ได้ยืนยันว่ามี "ความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างชายหญิงในกลยุทธ์รับมือเมื่อศึกษาบุคคลต่าง ๆ ในสถานการณ์คล้าย ๆ กัน"[27]

โดยทั่วไปแล้ว งานศึกษาชี้ว่า หญิงมักจะใช้การรับมือโดยเพ่งที่อารมณ์ และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดโดยดูแลลูกและหาเพื่อน (tend-and-befriend) เทียบกับชายที่มักใช้การรับมือเพ่งที่ปัญหา และมีปฏิกิริยาแบบสู้หรือหนี (fight-or-flight) ซึ่งอาจเป็นเพราะมาตรฐานสังคมสนับสนุนให้ชายเป็นตัวของตัวเองมากกว่า และสนับสนุนให้หญิงเกื้อกูลกันมากกว่า ทฤษฎีอีกอย่างที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ก็คือเป็นเรื่องทางพันธุกรรม แต่ระดับอิทธิพลที่ปัจจัยทางพันธุกรรมเทียบกับทางสังคมมีต่อพฤติกรรม ก็ยังไม่มีข้อยุติ[28]

มูลฐานทางสรีรภาพ แก้

ฮอร์โมนอาจมีบทบาทในการบริหารความเครียด ฮอร์โมนความเครียดคือคอร์ติซอล พบว่าเพิ่มขึ้นในชายในสถานการณ์ที่ก่อความเครียด แต่ว่าในหญิง ระดับฮอร์โมนกลับลดลง แต่สมองส่วนระบบลิมบิกทำงานเพิ่มขึ้น นักวิจัยจำนวนมากเชื่อว่า ผลเช่นนี้เป็นเหตุที่ชายมีปฏิกิริยาสู้หรือหนี (fight-or-flight) ต่อความเครียด เทียบกับหญิงที่มีปฏิกิริยาดูแลลูกและหาเพื่อน (tend-and-befriend)[29] เพราะปฏิกิริยาสู้หรือหนีทำให้ระบบประสาทซิมพาเทติกทำงาน มีผลเป็นการเพิ่มระดับสมาธิและอะดรีนาลีน (อีพิเนฟริน) และนัยตรงกันข้ามปฏิกิริยาดูแลลูกและหาเพื่อนหมายถึงความโน้มเอียงที่หญิงจะปกป้องลูกและญาติ แม้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะสนับสนุนทฤษฎีทางพันธุกรรม แต่ไม่ควรเข้าใจว่า โดยทั่วไปแล้ว หญิงจะไม่มีปฏิกิริยาสู้หรือหนี หรือว่าชายจะไม่มีพฤติกรรมดูแลลูกและหาเพื่อน

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Weiten W, Lloyd MA (2008). Psychology Applied to Modern Life (9th ed.). Wadsworth Cengage Learning. p. 96. ISBN 0-495-55339-5.
  2. Snyder, C.R., บ.ก. (1999). Coping: The Psychology of What Works. New York: Oxford University Press. p. 9. ISBN 0-19-511934-7.
  3. Cummings, E. Mark; Greene, Anita L.; Karraker, Katherine H., บ.ก. (1991). Life-span Developmental Psychology: Perspectives on Stress and Coping. p. 92. ISBN 978-0-8058-0371-6.
  4. Lazarus RS, Folkman S (1984). Stress, Appraisal, and Coping. p. 141. ISBN 0-8261-4191-9.
  5. Zeidner M, Endler NS, บ.ก. (1996). Handbook of Coping: Theory, Research, Applications. New York: John Wiley. p. 314. ISBN 0-471-59946-8.
  6. 6.0 6.1 Carver, Charles S.; Connor-Smith, Jennifer (2010). "Personality and Coping". Annual Review of Psychology. 61: 679–704. doi:10.1146/annurev.psych.093008.100352. PMID 19572784.
  7. Worell, J (2001). Encyclopedia of Women and Gender. Vol. I. p. 603. ISBN 978-0-12-227246-2.
  8. 8.0 8.1 8.2 Brannon, Linda; Feist, Jess (2009). "Personal Coping Strategies". Health Psychology: An Introduction to Behavior and Health: An Introduction to Behavior and Health (7th ed.). Wadsworth Cengage Learning. pp. 121–3. ISBN 978-0-495-60132-6.
  9. 9.0 9.1 Robinson, Jenefer (2005). Deeper Than Reason: Emotion and Its Role in Literature, Music, and Art. p. 438. ISBN 978-0-19-926365-3.
  10. 10.0 10.1 10.2 Carver, CS (29 กันยายน 2010). "Coping". ใน Contrada RJ, Baum A (บ.ก.). The Handbook of Stress Science: Biology, Psychology, and Health. New York: Springer Publishing. pp. 220–229. ISBN 978-0-8261-1471-6.
  11. 11.0 11.1 Folkman, S.; Lazarus, R. S. (1988). "Coping as a mediator of emotion". Journal of Personality and Social Psychology. 54 (3): 466–75. doi:10.1037/0022-3514.54.3.466. PMID 3361419.
  12. Ben-Zur, H. (2009). "Coping styles and affect". International Journal of Stress Management. 16 (2): 87–101. doi:10.1037/a0015731.
  13. Stanton, A. L.; Parsa, A.; Austenfeld, J. L. (2002). Snyder, C. R.; Lopez, S. J. (บ.ก.). Oxford Handbook of Positive Psychology. New York: Oxford University Press. pp. 16–17. ISBN 978-0-19-986216-0.
  14. Taylor, Shelley E. (12 สิงหาคม 2005). Health Psychology (6th ed.). McGraw-Hill Higher Education. p. 193. ISBN 978-0-07-310726-4. LCCN 2005-047901.
  15. Skynner, Robin; Cleese, John (1994). Life and How to Survive It. London. p. 55. ISBN 978-0-7493-1108-7.
  16. Madders, Jane (1981). Stress and Relaxation (Reprint ed.). Dunitz, Martin. pp. 24–5. ISBN 978-0-906348-25-3.
  17. Skynner, Robin; Cleese, John (1994). Life and How to Survive It. London. pp. 53–6. ISBN 978-0-7493-1108-7.
  18. Lane, Daniel. "Anxiety Strategies". Perth Brain Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2015.
  19. "Tips to Manage Anxiety and Stress". Anxiety & Depression Association of America. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2015.
  20. Jacofsky, Matthew. "The Maintenance of Anxiety Disorders: Maladaptive Coping Strategies". Southern Arizona Behavioral Health Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2011.
  21. Stoeber, Joachim; Janssen, Dirk P. (2011). "Perfectionism and coping with daily failures: Positive reframing helps achieve satisfaction at the end of the day". Anxiety, Stress & Coping. 24 (5): 477–97. doi:10.1080/10615806.2011.562977. PMID 21424944.
  22. Albertus, Sargent. "Basic Coping Strategies For Stress". Stress Treatment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2015.
  23. Skynner, Robin; Cleese, John (1994). Life and How to Survive It. London. p. 355. ISBN 978-0-7493-1108-7.
  24. Ogbu, John U. (1991). "Minority coping responses and school experience". The Journal of Psychohistory. 18 (4): 433–56. ISSN 0145-3378.
  25. Davis, Mary C.; Matthews, Karen A.; Twamley, Elizabeth W. (1999). "Is life more difficult on mars or venus? A meta-analytic review of sex differences in major and minor life events". Annals of Behavioral Medicine. 21 (1): 83–97. doi:10.1007/BF02895038. PMID 18425659.
  26. Billings, Andrew G.; Moos, Rudolf H. (1981). "The role of coping responses and social resources in attenuating the stress of life events". Journal of Behavioral Medicine. 4 (2): 139–57. doi:10.1007/BF00844267. PMID 7321033.
  27. Brannon, Linda; Feist, Jess (2009). Health Psychology: An Introduction to Behavior and Health: An Introduction to Behavior and Health (7th ed.). Wadsworth Cengage Learning. p. 125. ISBN 978-0-495-60132-6.
  28. Washburn-Ormachea, Jill M.; Hillman, Stephen B.; Sawilowsky, Shlomo S. (2004). "Gender and Gender-Role Orientation Differences on Adolescents' Coping with Peer Stressors". Journal of Youth and Adolescence. 33 (1): 31–40. doi:10.1023/A:1027330213113.
  29. Wang, J.; Korczykowski, M.; Rao, H.; Fan, Y.; Pluta, J.; Gur, R. C.; McEwen, B. S.; Detre, J. A. (2007). "Gender difference in neural response to psychological stress". Social Cognitive and Affective Neuroscience. 2 (3): 227–39. doi:10.1093/scan/nsm018. PMC 1974871. PMID 17873968.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้