หลอดเลือด

โครงสร้างรูปท่อซึ่งลำเลียงเลือด

หลอดเลือด (อังกฤษ: blood vessel) เป็นส่วนประกอบของระบบไหลเวียนโลหิตที่ขนส่งเลือดไปทั่วร่างกายมนุษย์[1] หลอดเลือดเหล่านี้ขนส่งเซลล์เม็ดเลือด สารอาหาร และออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย อีกทั้งยังนำของเสียและคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากเนื้อเยื่อ หลอดเลือดเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต เนื่องจากเนื้อเยื่อของร่างกายทั้งหมดต้องอาศัยการทำงานของมัน[2]

หลอดเลือด
แผนภาพอย่างง่ายของระบบไหลเวียนโลหิตของมนุษย์
รายละเอียด
ระบบระบบไหลเวียน
ตัวระบุ
ภาษาละตินvas sanguineum
MeSHD001808
TA98A12.0.00.001
TA23895
FMA63183
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

หลอดเลือดมี 5 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง ซึ่งนำเลือดออกจากหัวใจ, หลอดเลือดแดงเล็ก, หลอดเลือดฝอย ซึ่งเป็นจุดที่เกิดการแลกเปลี่ยนน้ำและสารเคมีระหว่างเลือดกับเนื้อเยื่อ, หลอดเลือดดำเล็ก, และหลอดเลือดดำ ซึ่งนำเลือดจากหลอดเลือดฝอยกลับไปที่หัวใจ

คำว่า แวสคิวลาร์ (vascular) ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับหลอดเลือด รับมาจากคำภาษาละติน vas ซึ่งหมายถึง เรือ โครงสร้างบางอย่าง เช่น กระดูกอ่อน เยื่อบุผิว เลนส์ และกระจกตา เป็นโครงสร้างที่ไม่มีหลอดเลือด จัดอยู่ในประเภท อะแวสคิวลาร์ (avascular)

ถ้านำหลอดเลือดในร่างกายมาต่อกันจะมีความยาวประมาณ 62,000 ไมล์[ต้องการอ้างอิง]

โครงสร้าง

แก้

หลอดเลือดประกอบด้วยผนัง 3 ชั้น ได้แก่

  1. ทูนิกา อินทิมา (tunica intima) : เป็นผนังชั้นในสุดของหลอดเลือด
  2. ทูนิกา มีเดีย (tunica media) : เป็นผนังชั้นกลางของหลอดเลือด ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบและเนื้อเยื่ออิลาสติก (elastic tissue) เรียงตัวกันเป็นวงรอบหลอดเลือด
  3. ทูนิกา แอดเวนติเชีย (tunica adventitia) : เป็นผนังชั้นนอกสุดของหลอดเลือด ประกอบด้วยเส้นใยอิลาสติก (elastic fiber), เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) และ กล้ามเนื้อเรียบ เรียงตัวไปตามความยาวของหลอดเลือด

ประเภท

แก้

หลอดเลือดแดง

แก้

หลอดเลือดแดง ( Artery ) หมายถึง หลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ ซึ่งจะเป็นเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงเป็นเลือดที่มีสีแดงสด ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ( ยกเว้นหลอดเลือดที่ไปสู่ปอดชื่อ pulmonary artery ซึ่งจะนำเลือดดำจากหัวใจที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงไปฟอกที่ปอด )

ลักษณะของหลอดเลือดแดง

– มีผนังหนา โดยจะมีลักษณะเป็นชั้นกล้ามเนื้อที่หนาและยืดหยุ่น ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือเนื้อเยื่อด้านในสุดเป็นเนื้อเยื่อบุผิว ชั้นกลางเป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่สามารถยืดหยุ่นได้ เนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยืดหยุ่นได้

หลอดเลือดแดงมี 3 ขนาด เรียงจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ

– เอออร์ตา ( aorta ) หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่สุด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดแดงที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายโค้งไปทางด้านหลัง ทอดผ่านช่องอกและช่องท้อง ขนาดใหญ่สุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว

– อาร์เทอรี ( artery ) หลอดเลือดแดง ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หลอดเลือดมีผนังกล้ามเนื้อหนาเพื่อให้ทนต่อแรงดันเลือด

– อาร์เทอริโอล ( arteriole ) หลอดเลือดแดงเล็ก ซึ่งสามารถจะขยายตัวหรือหดตัวได้ เพื่อบังคับการไหลของเลือด

หลอดเลือดดำ

แก้

หลอดเลือดดำ ( Vein ) หมายถึง หลอดเลือดที่นำเลือดที่มีของเสีย และคาร์บอนไดออกไซด์ ( เลือดดำ ) ที่ร่างกายใช้แล้วจากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา ( Right atrium ) เพื่อนำกลับไปฟอกที่ปอด ( ยกเว้นหลอดเลือดดำปอดที่ชื่อ pulmonary vein ซึ่งจะนำเลือดแดงที่ผ่านการฟอกจากปอดแล้วนำกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย ) ภายในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำ ถ้าหลอดเลือดดำฉีกขาด เลือดที่ไหลออกมาจะไหลรินๆคงที่ และสม่ำเสมอ ห้ามเลือดหยุดได้ง่ายกว่าหลอดเลือดแดงฉีกขาด

ลักษณะของเส้นเลือดดำ

– มีผนังบาง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น เช่นเดียวกับหลอดเลือดแดงแต่บางกว่า

– ผนังมีความยืดหยุ่นได้น้อย เพราะมีเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันน้อย

– มีลิ้นกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ

หลอดเลือดฝอย

แก้

หลอดเลือดฝอย ( Capillary ) หมายถึง หลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ไปยังหลอดเลือดดำขนาดเล็ก โดยจะแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ สมอง และอวัยวะอื่นๆ ยกเว้นเส้นผม และเล็บจะไม่มีหลอดเลือดฝอย

ลักษณะของเส้นเลือดฝอย

– หลอดเลือดฝอยเป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กที่สุดในร่างกายมีทั้งเส้นเลือดแดงฝอย และเส้นเลือดดำฝอย

– มีเนื้อเยื่อบางมาก มีจำนวนมากเพราะเป็นส่วนที่ต้องแยกไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย มีผนังบาง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 ไมโครเมตร

– ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียว มีหน้าที่เป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ และสารต่างๆระหว่างเลือดกับเซลล์ของร่างกายโดยวิธีการแพร่

อ้างอิง

แก้
  1. "Blood Vessels – Heart and Blood Vessel Disorders – Merck Manuals Consumer Version". Merck Manuals Consumer Version. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2015. สืบค้นเมื่อ 2016-12-22.
  2. "Heart & Blood Vessels: Blood Flow". Cleveland Clinic.