โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
โรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส (อังกฤษ: multiple sclerosis, MS, disseminated sclerosis, encephalomyelitis disseminata) เป็นโรคซึ่งทำให้มีการทำลายปลอกไมอีลินซึ่งหุ้มใยประสาทของสมองและไขสันหลังเอาไว้ ทำให้ใยประสาทไม่มีปลอกไมอีลินหุ้ม เกิดเป็นเนื้อเยื่อแผลเป็น และมีอาการและอาการแสดงอื่นๆ ตามมา[5] ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และมักพบในเพศหญิง มีความชุกอยู่ระหว่าง 2 - 150 ต่อ 100,000 ประชากร โดยพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1868 โดยฌอง-มาร์ติน ชาร์โคต์
โรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส (Multiple sclerosis) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Disseminated sclerosis, encephalomyelitis disseminata |
![]() | |
ภาพขยาย 1:100 ย้อมสี CD68 แสดงให้เห็นแมโครฟาจจำนวนมากในบริเวณซึ่งมีการทำลายปลอกไมอีลินที่เกิดใน MS | |
สาขาวิชา | ประสาทวิทยา |
อาการ | เห็นภาพซ้อน, ตาบอดข้างเดียว, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, การรับสัมผัสผิดปกติ, การทรงตัวผิดปกติ[1] |
การตั้งต้น | อายุ 20–50 ปี[2] |
ระยะดำเนินโรค | เรื้อรัง[1] |
สาเหตุ | ไม่ทราบสาเหตุ[3] |
วิธีวินิจฉัย | Based on symptoms and medical tests[4] |
การรักษา | Medications, physical therapy[1] |
พยากรณ์โรค | 5–10 year shorter life expectancy[5] |
ความชุก | 2 million (2015)[6] |
การเสียชีวิต | 18,900 (2015)[7] |
MS ส่งผลต่อการทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลระหว่างกันของเซลล์ประสาทในสมองและไขสันหลัง ปกติเซลล์ประสาทจะติดต่อกันโดยส่งสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่าศักยะงานไปตามแกนประสาทซึ่งปกติจะถูกห่อหุ้มด้วยปลอกไมอีลิน ในผู้ป่วย MS นั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำลายไมอีลินไป เมื่อไม่มีไมอีลิน แกนประสาทจะไม่สามารถนำสัญญาณได้ดีเท่าเดิม ชื่อโรคมัลติเพิล สเกลอโรซิสนั้นหมายถึงแผลเป็นที่เกิดขึ้นในเนื้อขาวของสมองและไขสันหลัง ซึ่งปกติจะประกอบด้วยไมอีลินเป็นส่วนใหญ่ แม้ปัจจุบันกลไกของโรคนี้จะเป็นที่ทราบกันดี แต่สาเหตุที่แน่ชัดนั้นยังไม่เป็นที่ทราบ มีทฤษฎีว่าสาเหตุอาจมาจากพันธุกรรมหรือการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมหลายตัวที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค
ผู้ป่วยอาจมีอาการทางระบบประสาทได้แทบทุกรูปแบบ ส่วนใหญ่มักดำเนินไปจนทำให้เกิดความพิการทั้งทางร่างกายและการนึกคิด โรคนี้มีการดำเนินโรคหลายรูปแบบ คือแบบเป็นโรคกลับซึ่งมีอาการใหม่ๆ เพิ่มในช่วงที่มีอาการกำเริบแต่ละครั้ง หรือแบบลุกลามซึ่งค่อยๆ มีอาการเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ระหว่างการกำเริบแต่ละครั้งผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อโรคเป็นมากขึ้นมักเริ่มมีความบกพร่องของระบบประสาทที่เป็นถาวร
ปัจจุบัน MS ยังไม่มีวิธีรักษาให้หาย วิธีรักษาในปัจจุบันมุ่งไปที่การช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทำงานได้ตามปกติหลังการกำเริบ การป้องกันการกำเริบ และการป้องกันความพิการ ยาที่ใช้รักษา MS มักมีผลข้างเคียงมากจนผู้ป่วยหลายคนไม่สามารถรับยาต่อเนื่องได้ จึงมีผู้ป่วยหลายคนพยายามใช้การรักษาทางเลือกซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ พยากรณ์โรคนั้นทำนายได้ยาก ขึ้นอยู่กับชนิดย่อยของโรค ลักษณะโรคของผู้ป่วยแต่ละคน อาการแรกเริ่ม และระดับความพิการเมื่อโรคดำเนินไปมาก อายุขัยจะสั้นกว่าคนทั่วไปประมาณ 5-10 ปี[5]
พยากรณ์โรคแก้ไข
พยากรณ์โรคของผู้ป่วย MS แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดย่อยของโรคที่เป็น เพศ อายุ อาการแรกเริ่ม และระดับความพิการ[8] อาการของโรคจะรุนแรงขึ้นในช่วงเวลาเป็นสิบปี โดยมีค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกระทั่งเสียชีวิตอยู่ที่ 30 ปี[5]
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีการดำเนินโรคที่ดีได้แก่ เพศหญิง ชนิดย่อยแบบกลับเป็นซ้ำสลับหาย การมีอาการแรกเริ่มเป็นเส้นประสาทตาอักเสบหรืออาการทางระบบรับสัมผัส การมีอาการกำเริบน้อยครั้งในช่วงปีแรก และโดยเฉพาะการเริ่มเป็นโรคตั้งแต่อายุน้อย[8][9]
อายุขัยของผู้ป่วย MS สั้นกว่าคนปกติประมาณ 5-10 ปี[5] ผู้ป่วย 40% มีอายุได้ถึงวัย 70 ปี[9] อย่างไรก็ดีสองในสามของผู้ป่วยเท่านั้นที่เสียชีวิตจากสาเหตุซึ่งเกี่ยวข้องกับ MS โดยตรง[5] ในกลุ่มผู้ป่วย MS ที่ค่อนข้างมีสุขภาพดีนั้นการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญสาเหตุหนึ่ง ในขณะที่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการมากนั้นมักมีความทุพพลภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ[5]
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเป็นมากจนถึงขั้นเดินไม่ได้ก่อนจะเสียชีวิต แต่ผู้ป่วย 90% ก็สามารถเดินได้เป็นเวลา 10 ปี หลังเริ่มมีอาการ และ 75% สามารถเดินได้เป็นเวลา 15 ปีหลังเริ่มมีอาการ[9][10]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2015
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMilo2010
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNak2012
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อTsang2011
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Compston A, Coles A (2008). "Multiple sclerosis". Lancet. 372 (9648): 1502–17. doi:10.1016/S0140-6736(08)61620-7. PMID 18970977.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBD2015Pre
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBD2015De
- ↑ 8.0 8.1 Weinshenker BG (1994). "Natural history of multiple sclerosis". Ann. Neurol. 36 (Suppl): S6–11. doi:10.1002/ana.410360704. PMID 8017890.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Phadke JG (1987). "Survival pattern and cause of death in patients with multiple sclerosis: results from an epidemiological survey in north east Scotland". J. Neurol. Neurosurg. Psychiatr. 50 (5): 523–31. doi:10.1136/jnnp.50.5.523. PMC 1031962. PMID 3495637.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Myhr KM, Riise T, Vedeler C; และคณะ (2001). "Disability and prognosis in multiple sclerosis: demographic and clinical variables important for the ability to walk and awarding of disability pension". Mult. Scler. 7 (1): 59–65. PMID 11321195. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-21. สืบค้นเมื่อ 2011-05-29.
{{cite journal}}
: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|author=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ที่เว็บไซต์ Curlie
- Database for analysis and comparison of global data on the epidemiology of MS
- NIH listing of clinical trials related to MS
- Abstract index Archived 2010-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the Cochrane Library
- GeneReview/NCBI/NIH/UW entry on Multiple Sclerosis Overview
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
บทความเกี่ยวกับแพทยศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:แพทยศาสตร์ |