พิสัยการได้ยิน (อังกฤษ: Hearing range) หมายถึงพิสัยความถี่เสียงที่มนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ ได้ยิน แม้ก็อาจหมายถึงระดับความดังเสียงได้ด้วยเหมือนกัน มนุษย์ปกติจะได้ยินในพิสัยความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์ (Hz) แต่ก็จะต่างไปตามบุคคลพอสมควรโดยเฉพาะเสียงความถี่สูง และการสูญความไวเสียงความถี่สูงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอายุก็เป็นเรื่องปกติ ความไวต่อความถี่ต่าง ๆ แม้ในบุคคลก็ยังไม่เท่ากันอีกด้วย (ดูหัวข้อ เส้นชั้นความดังเสียงเท่า) มีสัตว์หลายอย่างที่สามารถได้ยินเสียงเกินพิสัยของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น โลมาและค้างคาวสามารถได้ยินเสียงสูงจนถึง 100,000 Hz ช้างสามารถได้ยินเสียงต่ำจนถึง 14-16 Hz ในขณะที่วาฬบางชนิดสามารถได้ยินเสียงต่ำในน้ำจนถึง 7 Hz

การวัดการได้ยิน แก้

การตรวจการได้ยินบ่อยครั้งจะใช้ผัง audiogram ซึ่งแสดงเส้นขีดเริ่มเปลี่ยนที่บุคคลได้ยินเทียบกับของผู้ที่ได้ยินเป็นปกติ เป็นกราฟแสดงเสียงดังน้อยสุดที่ได้ยินตลอดพิสัยความถี่เสียงที่สัตว์ชนิดนั้นได้ยิน[1]

การทดสอบการได้ยินทางพฤติกรรมหรือทางสรีรภาพ สามารถใช้ตรวจหาจุดเริ่มเปลี่ยนของการได้ยินในทั้งมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ เมื่อทดสอบมนุษย์ จะมีการปล่อยเสียงที่ความถี่และความดังหนึ่ง ๆ เมื่อผู้รับการทดสอบได้ยินเสียง ก็จะยกมือหรือกดปุ่ม เสียงดังน้อยที่สุดที่ได้ยินก็จะบันทึกเอาไว้ การตรวจสอบต่างกันบ้างในเด็ก คืออาจแสดงการได้ยินโดยให้หันศีรษะหรือใช้ของเล่น

คือสามารถสอนเด็กให้ทำอะไรบางอย่างเมื่อได้ยินเสียง เช่น ใส่ตุ๊กตาในเรือ เทคนิคคล้ายกันสามารถใช้ทดสอบสัตว์ โดยมีการให้อาหารเป็นรางวัลเมื่อตอบสนองต่อเสียง

ส่วนการทดสอบทางสรีรภาพไม่จำเป็นต้องให้ผู้รับการทดสอบตั้งใจตอบสนอง[2] ข้อมูลการได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่าง ๆ โดยหลักมาจากการทดสอบทางพฤติกรรม ความถี่เสียงจะวัดเป็นเฮิรตซ์ (Hz) ซึ่งก็คือ จำนวนรอบคลื่นเสียงต่อวินาที

ในสัตว์ แก้

พิสัยการได้ยินในสัตว์บางชนิดรวมทั้งมนุษย์ (แผนภูมิแบบลอการิทึม)[3]
(ม่วงมนุษย์ (น้ำเงินปลา (เขียวสัตว์เลื้อยคลาน (เทาสัตว์ปีก (ส้มแดงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบก (น้ำตาล) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำ

 
เส้นชั้นความดังเสียงเท่า (equal-loudness contours) ของ ISO โดยความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ - เป็นเส้นชั้นแสดงความถี่สัมพันธ์กับความดังของเสียงที่มนุษย์รู้สึกว่าดังเท่ากัน โดยเส้นที่ 0 phon (threshold) จะเป็นเส้นแสดงขีดเริ่มเปลี่ยนมาตรฐานของการได้ยินในมนุษย์

มนุษย์ แก้

ในมนุษย์ คลื่นเสียงจะวิ่งเข้าไปในหูผ่านรูหูด้านนอกเข้าไปถึงแก้วหู โดยการบีบอัด (compression) แล้วขยายออก (rarefaction) ของคลื่นเสียงจะเป็นแรงสั่นแก้วหู ทำให้เกิดแรงสั่นผ่านกระดูกหูในหูชั้นกลาง (คือ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน) ผ่านของเหลวในคอเคลีย แล้วในที่สุดก็จะสั่นขนภายในคอเคลียที่เรียกว่า Stereocilia ขนจะปกคลุมเยื่อในคอเคลียจากฐานไปถึงยอด โดยส่วนที่ได้การกระตุ้นและระดับการกระตุ้นจะชี้ถึงคุณสมบัติของเสียง แล้วเซลล์ขนก็จะส่งต่อข้อมูลผ่านโสตประสาท (auditory nerve) ไปยังสมองเพื่อประมวลผล

พิสัยการได้ยินที่มักอ้างอิงอยู่ระหว่าง 20 Hz-20 kHz[4][5][note 1] ในภาวะอุดมคติของห้องทดลอง มนุษย์อาจได้ยินเสียงความถี่ต่ำถึง 12 Hz[6] และความถี่สูงถึง 28 kHz (> 100 dB SPL) แม้ว่าความดังที่เป็นขีดเริ่มเปลี่ยนจะเพิ่มอย่างเป็นมุมหักที่ความถี่ 15 kHz ในผู้ใหญ่ (ดูรูป)[7] มนุษย์ไวเสียงที่ความถี่ 2,000-5,000 Hz มากที่สุด คือสามารถได้ยินเสียงที่ค่อยที่สุดในช่วงความถี่นั้น (ดูรูป)[8] พิสัยการได้ยินของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับสภาพทั่วไปของหูและระบบประสาท

พิสัยจะลดลงในช่วงอายุ[9] ปกติเริ่มตั้งแต่ราวอายุ 8 ขวบที่ได้ยินเสียงสูงน้อยลง หญิงจะเสียการได้ยินน้อยกว่าผู้ชาย และเกิดขึ้นทีหลังกว่า ชายจะเสียการได้ยินเสียงความถี่สูงราว 5-10 เดซิเบลมากกว่าหญิงก่อนถึงอายุ 40 ปี[10][11]

 
ผัง audiogram แสดงความแตกต่างของการได้ยินทั่วไปเทียบกับมาตรฐาน

แผนภูมิ audiogram ของการได้ยินในมนุษย์สามารถสร้างโดยใช้มีเตอร์วัดเสียง (audiometer) ซึ่งปล่อยเสียงที่ความถี่และความดังต่าง ๆ ให้ผู้รับการทดสองได้ยินผ่านหูฟังสวมศีรษะที่ปรับเทียบมาตรฐานแล้ว ความดังจะถ่วงน้ำหนักด้วยความถี่โดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานที่เรียกว่า minimum audibility curve (เส้นโค้งการได้ยินต่ำสุด) ซึ่งหมายให้เป็นตัวแทนของการได้ยินปกติ ขีดเริ่มเปลี่ยนการได้ยิน (threshold of hearing) จะกำหนดตามเส้น 0 phon (threshold) ดังที่ปรากฏบนเส้นชั้นความดังเสียงเท่า เท่ากับความดันเสียงต่ออากาศที่ 20 ไมโครปาสกาล ที่ความถี่ 1 kHz ซึ่งเป็นเสียงดังน้อยสุดที่มนุษย์วัยเยาว์ปกติจะได้ยิน[12] (เท่ากับเสียงยุงบินห่างประมาณ 3 เมตร) แต่มาตรฐาน ANSI จะกำหนดสูงกว่า 1 kHz[13]

เนื่องจากมาตรฐานต่าง ๆ ใช้ระดับอ้างอิงที่ต่างกัน ก็จะทำให้ audiogram ตามมาตรฐานต่าง ๆ กัน เช่น มาตรฐาน ASA-1951 ใช้ความดัง 16.5 dB SPL ที่ 1 kHz, เทียบกับ มาตรฐานอันกำหนดทีหลังคือ ANSI-1969/ISO-1963 ซึ่งใช้ความดังที่ 6.5 dB SPL ที่ 1 kHz และโดยปกติให้เพิ่ม 10 dB สำหรับคนสูงอายุ

ไพรเมตอื่น ๆ แก้

ไพรเมตหลายชนิดโดยเฉพาะที่ตัวเล็ก ๆ สามารถได้ยินเสียงความถี่ต่ำกว่าระดับที่มนุษย์ได้ยิน ลิง/ลีเมอร์แอฟริกา Galago senegalensis (Senegal bushbaby) สามารถได้ยินในพิสัย 92 Hz-65 kHz และลีเมอร์หางแหวน Lemur catta (ประเทศมาดากัสการ์) ในพิสัย 67 Hz-58 kHz ในบรรดาไพรเมต 19 ชนิดที่ตรวจสอบ ลิงกังญี่ปุ่นมีพิสัยกว้างที่สุดคือระหว่าง 28 Hz-34.5 kHz เทียบกับมนุษย์ที่ 31 Hz-17.6 kHz[14]

แมว แก้

แมวมีหูดีและสามารถได้ยินความถี่เสียงในพิสัยที่กว้างมาก สามารถได้ยินเสียงสูงกว่ามนุษย์และสุนัขโดยมาก คือได้ยินเสียงระหว่าง 55 Hz จนถึง 79 kHz[15][16] แมวไม่ได้ใช้ความสามารถได้ยินเหนือเสียงเพื่อการสื่อสาร แต่น่าจะสำคัญในการล่าสัตว์[17] เพราะสัตว์ฟันแทะหลายสปีชีส์สื่อสารด้วยความถี่เหนือเสียง[18]

หูของแมวยังไวมากโดยดีเป็นระดับต้น ๆ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[15] และไวที่สุดในพิสัย 500 Hz-32 kHz[19] ความไวยังเพิ่มขึ้นอาศัยใบหูใหญ่ข้างนอกที่เคลื่อนไหวได้ ซึ่งทั้งขยายเสียงและช่วยตรวจจับทิศทางของแหล่งเสียง[17]

สุนัข แก้

สมรรถภาพการได้ยินของสุนัขจะขึ้นอยู่กับพันธุ์และอายุ แต่ปกติจะอยู่ที่ราว ๆ 67 Hz-45 kHz[20][21] แต่เหมือนกับมนุษย์ สุนัขบางพันธุ์มีพิสัยที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น[22] เช่น เยอรมันเชเพิร์ดและพูเดิลแคระ

เมื่อได้ยินเสียง สุนัขจะขยับใบหูไปทางแหล่งเสียงเพื่อให้ได้ยินดีที่สุด เพื่อจะทำอย่างนี้ได้ หูสุนัขจึงมีกล้ามเนื้ออย่างน้อย 18 มัด ซึ่งทำให้เอียงหูหมุนหูได้ รูปร่างของหูยังช่วยให้ได้ยินเสียงดีขึ้น หลายพันธุ์บ่อยครังมีหูตั้งตรงหรือตั้งโค้ง ซึ่งช่วยส่งและขยายเสียง

เพราะสุนัขได้ยินเสียงสูงกว่ามนุษย์ จึงมีโลกการได้ยินที่ต่างจากมนุษย์[22] เสียงที่มนุษย์ฟังแล้วรู้สึกแค่ดังอาจมีเสียงความถี่สูงที่ไล่สุนัขไป นกหวีดที่ส่งเสียงอัลตราโซนิกที่บางครั้งเรียกว่านกหวีดสุนัข สามารถใช้ฝึกสุนัข เพราะสุนัขตอบสนองต่อเสียงระดับนี้ดีกว่า ในธรรมชาติ สุนัขจะใช้การได้ยินเพื่อล่าสัตว์และหาอาหาร ส่วนสุนัขบ้านมักใช้เพื่อเฝ้าบ้านเพราะได้ยินเสียงดีกว่ามนุษย์[21]

ค้างคาว แก้

ค้างคาวได้วิวัฒนาการให้ไวเสียงมากเพื่อหากินเวลากลางคืน พิสัยความถี่เสียงจะขึ้นอยู่กับชนิดต่าง ๆ บางชนิดอาจได้ยินความถี่ต่ำสุดถึง 1 kHz และสูงสุดถึง 200 kHz แต่ชนิดที่ได้ยินถึง 200 kHz จะไม่ได้ยินเสียงที่ต่ำกว่า 10 kHz ได้ดี[23] และพิสัยที่ค้างคาวได้ยินเสียงดีสุดจะแคบกว่า ราว ๆ 15 kHz-90 kHz[23]

ค้างคาว "เห็น" วัตถุรอบ ๆ ตัวและหาเหยื่อด้วยการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน (echolocation) คือจะส่งเสียงที่ดังมากสั้น ๆ แล้วประเมินเสียงที่สะท้อนกลับมา ค้างคาวสามารถล่าแมลงที่บินอยู่ในอากาศ เพระาแมลงเหล่านี้จะสะท้อนเสียงของค้างคาวกลับเบา ๆ ชนิดและขนาดของแมลงสามารถกำหนดด้วยคุณสมบัติเสียงและเวลาที่ใช้สะท้อนเสียง ค้างคาวใช้เสียงร้องสองชนิด คือ ร้องที่เสียงความถี่เดียว (constant frequency, CF) และร้องเสียงที่ต่ำลงเรื่อย ๆ (frequency modulated, FM)[24]

เสียงร้องแต่ละอย่างจะแสดงข้อมูลต่าง ๆ CF สามารถใช้ตรวจจับว่ามีวัตถุหรือไม่ ส่วน FM ใช้ประเมินระยะทางจากวัตถุ เสียงสะท้อนจาก FM และ CF จะบอกค้างคาวถึงขนาดและระยะทางไปถึงเหยื่อ พัลส์เสียงที่ค้างคาวส่งจะยาวเพียงไม่กี่มิลลิวินาที ความเงียบในหว่างจะใช้เป็นเวลาฟังหาข้อมูลที่กลับมากับเสียงสะท้อน หลักฐานแสดงว่า ค้างคาวใช้ความสูงต่ำของเสียงที่เปลี่ยนไปเนื่องจากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ เพื่อประเมินความเร็วการบินของตนเทียบกับวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัว[25]

ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งขนาด รูปร่าง และลักษณะเนื้อวัตถุ จะใช้กำหนดสิ่งแวดล้อมและตำแหน่งของเหยื่อ ค้างคาวจึงสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวแล้วแล้วล่าเหยื่อได้

หนูหริ่ง แก้

หนูหริ่งมีหูที่ใหญ่เทียบกับร่างกาย สามารถได้ยินเสียงสูงกว่ามนุษย์ คือในพิสัยความถี่ระหว่าง 1 kHz-70 kHz แต่ก็ไม่สามารถได้ยินเสียงที่ต่ำกว่ามนุษย์

หนูสื่อสารใช้เสียงความถี่สูงที่บางส่วนมนุษย์ไม่สามารถได้ยิน เสียงร้องให้ช่วยของลูกหนูอาจอยู่ที่ 40 kHz หนูใช้ความสามารถส่งเสียงนอกพิสัยสัตว์อื่น คือมันสามารถเตือนเพื่อน ๆ ถึงอันตรายโดยไม่ต้องแสดงตำแหน่งของตัวเองกับสัตว์ล่าเหยื่อ ส่วนเสียงร้องอี๊ด ๆ ที่มนุษย์ได้ยินมีความถี่ต่ำกว่า ที่หนูใช้เพื่อส่งเสียงไกล ๆ เพราะเสียงความถี่ต่ำสามารถไปได้ไกลกว่าเสียงสูง[26]

นก แก้

การได้ยินเป็นประสาทสัมผัสสำคัญเป็นที่สองของนก โดยมีหูเป็นรูปกรวยเพื่อรวบรวมเสียง หูจะอยู่ข้างหลังและใต้ตาเล็กน้อย ปกคลุมด้วยขนอ่อน ๆ (auricular - ขนบริเวณหู) เพื่อช่วยป้องกัน รูปร่างของหัวยังมีผลต่อการได้ยิน เช่น ในนกเค้า ตาที่กลมเว้า (facial disc) จะช่วยรวบรวมเสียงส่งไปทางหู

นกไวความถี่เสียงที่สุดระหว่าง 1 kHz-4 kHz แต่พิสัยกว้างสุดคร่าว ๆ คล้ายกับของมนุษย์ โดยมีจุดจำกัดสูงหรือต่ำกว่าขึ้นอยู่กับชนิด[27] "นกไวความเปลี่ยนแปลงในเสียงสูงเสียงต่ำ คุณภาพเสียง และจังหวะมาก และใช้ความต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อรู้จักนกตัวอื่น ๆ แม้จะอยู่ในฝูงเสียงดัง นกยังใช้เสียง, เพลง และการร้องเรียกต่าง ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการรู้จักเสียงต่าง ๆ จึงสำคัญเพื่อกำหนดว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับสัตว์ล่า การประกาศอาณาเขต หรือสัญญาณเสนอแบ่งอาหาร"[28]

"นกบางชนิด โดยเฉพาะ Steatornis caripensis (oilbird) ก็กำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนเหมือนกับค้างคาวเหมือนกัน นกเหล่านี้อยู่ในถ้ำและใช้เสียงร้องจ๊อก ๆ แจ๊ก ๆ กริ๊ก ๆ ที่เร็วเพื่อกำหนดทิศทางในถ้ำมืดซึ่งแม้แต่การเห็นที่ไวก็อาจยังไม่พอ"[28]

ปลา แก้

ปลามีพิสัยการได้ยินที่แคบถ้าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก (ดูรูป) ปลาต่าง ๆ ได้ยินไม่เท่ากัน เช่น ปลาทองและปลาหนังมี Weberian apparatus (โครงสร้างที่เชื่อมกระเพาะลมกับระบบการได้ยิน) และมีพิสัยการได้ยินที่กว้างกว่าปลาทูน่า

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำ แก้

สิ่งแวดล้อมในน้ำมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ต่างจากบนบกมาก การได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำจึงต่างจากสัตว์บก ความแตกต่างในระบบการได้ยินจึงทำให้มีการศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโลมา

ระบบการได้ยินของสัตว์บกจะทำงานโดยการถ่ายโอนคลื่นเสียงผ่านช่องหู ช่องหูของแมวน้ำ สิงโตทะเลและวอลรัส ก็เหมือนกับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกและอาจทำงานแบบเดียวกัน แต่สำหรับวาฬและโลมา ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเสียงส่งไปถึงหูได้อย่างไร แม้งานศึกษาบางงานจะยืนยันว่า เสียงส่งไปถึงหูผ่านเนื้อเยื่อของขากรรไกรล่าง วาฬมีฟันจะกำหนดที่ตั้งวัตถุเช่นเหยื่อด้วยเสียงสะท้อน วาฬกลุ่มนี้ยังแปลกเพราะมีหูที่แยกจากกะโหลกหัวและอยู่ห่างกันมาก ซึ่งช่วยกำหนดทิศทางของเสียง อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน

 
โลมา

งานศึกษาต่าง ๆ[29] พบว่า โลมามีคอเคลียในหูชั้นในสองแบบ แบบ I จะพบในโลมาแม่น้ำแอมะซอนและพอร์พอยส์อ่าวจอดเรือ (Phocoena phocoena หรือ harbour porpoise) ซึ่งใช้เสียงความถี่สูงมากเพื่อกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน โดยพอร์พอยส์อ่าวจอดเรือ จะส่งเสียงเป็นสองแถบที่ 2 kHz และเหนือ 110 kHz คอเคลียของโลมานี้ได้ปรับตัวโดยเฉพาะเพื่อให้ได้ยินเสียงความถี่สูงมาก โดยคอเคลียที่ฐานจะแคบมาก

ส่วนแบบ II จะพบในสปีชีส์วาฬที่อยู่ห่างจากฝั่งและในน้ำลึก เช่น โลมาปากขวด ซึ่งส่งเสียงในความถี่ที่ต่ำกว่า ตามปกติที่ 75-150,000 Hz โดยเสียงความถี่สูงจะใช้กำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน และเสียงความถี่ต่ำมักสัมพันธ์กับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพราะสามารถส่งไปได้ไกล ๆ

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำใช้เสียงหลากหลาย โลมาสามารถสื่อสารด้วยเสียงกริ๊กและเสียงหวีด ส่วนวาฬใช้เสียงครางหรือเสียงเป็นพัลส์ที่มีความถี่ต่ำ สัญญาณแต่ละอย่างจะมีความถี่ต่าง ๆ กัน และสัญญาณต่าง ๆ จะใช้สื่อสารสิ่งต่าง ๆ กัน โลมาจะตรวจจับและระบุวัตถุด้วยการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน และใช้เสียงหวีดในกลุ่มสังคมเพื่อระบุโลมาแต่ละตัวและเพื่อสื่อสาร

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. ความถี่เสียงระหว่าง 20 Hz-20 kHz จะเท่ากับคลื่นเสียงในอากาศอุณหภูมิ 20°C ที่มีความยาวคลื่น 17 ม. จนถึง 1.7 ซม

อ้างอิง แก้

  1. Marler, Peter (2004). Nature's Music: The Science of Birdsong. Academic Press Inc. p. 207. ISBN 978-0124730700.
  2. Katz, Jack (2002). Handbook of Clinical Audiology (5th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 9780683307658.
    • Fay, RR (1988). Hearing in Vertebrates: a Psychophysics Databook. Winnetka IL: Hill-Fay Associates.
    • Warfield, D (1973). Gay, W (บ.ก.). The study of hearing in animals. Methods of Animal Experimentation, IV. London: Academic Press. pp. 43–143.
    • Fay, RR; Popper, AN, บ.ก. (1994). Comparative Hearing: Mammals. Springer Handbook of Auditory Research Series. NY: Springer-Verlag.
    • West, CD (1985). "The relationship of the spiral turns of the cochela and the length of the basilar membrane to the range of audible frequencies in ground dwelling mammals". Journal of the Acoustic Society of America. 77: 1091–1101.
    • Lipman, EA; Grassi, JR (1942). "Comparative auditory sensitivity of man and dog". Amer J Psychol. 55: 84–89.
    • Heffner, HE (1983). "Hearing in large and small dogs: Absolute thresholds and size of the tympanic membrane". Behav Neurosci. 97: 310–318.
  3. Rosen, Stuart (2011). Signals and Systems for Speech and Hearing (2nd ed.). BRILL. p. 163. For auditory signals and human listeners, the accepted range is 20Hz to 20kHz, the limits of human hearing
  4. Rossing, Thomas (2007). Springer Handbook of Acoustics. Springer. pp. 747, 748. ISBN 978-0387304465.
  5. Olson, Harry F. (1967). Music, Physics and Engineering. Dover Publications. p. 249. ISBN 0-486-21769-8. Under very favorable conditions most individuals can obtain tonal characteristics as low as 12 cycles.
  6. Ashihara, Kaoru (2007-09-01). "Hearing thresholds for pure tones above 16kHz". The Journal of the Acoustical Society of America. 122 (3): EL52–EL57. doi:10.1121/1.2761883. ISSN 0001-4966. The absolute threshold usually starts to increase sharply when the signal frequency exceeds about 15 kHz. ... The present results show that some humans can perceive tones up to at least 28 kHz when their level exceeds about 100 dB SPL.
  7. Gelfand, Stanley (2011). Essentials of Audiology. Thieme. p. 87. ISBN 1604061553. hearing is most sensitive (i.e., the least amount of intensity is needed to reach threshold) in the 2000 to 5000 Hz range
  8. Rodriguez Valiente A, Trinidad A, Garcia Berrocal JR, Gorriz C, Ramirez Camacho R (April 2014). "Review: Extended high-frequency (9–20 kHz) audiometry reference thresholds in healthy subjects". Int J Audiol. 53 (8): 531–545. doi:10.3109/14992027.2014.893375. PMID 24749665. S2CID 30960789.
  9. Dittmar, Tim (2011). Audio Engineering 101: A Beginner's Guide to Music Production. Taylor & Francis. p. 17. ISBN 9780240819150.
  10. Moller, Aage R. (2006). Hearing: Anatomy, Physiology, and Disorders of the Auditory System (2 ed.). Academic Press. p. 217. ISBN 9780080463841.
  11. Gelfand, S A (1990). Hearing: An introduction to psychological and physiological acoustics (2nd ed.). New York and Basel: Marcel Dekker.
  12. Sataloff, Robert Thayer; Sataloff, Joseph (February 17, 1993). Hearing loss (3rd ed.). Dekker. ISBN 9780824790417.
  13. Heffner, Rickye S (2004). "Primate Hearing From a Mammalian Perspective" (PDF).
  14. 15.0 15.1 Heffner, R.S. (2004). "Primate Hearing From a Mammalian Perspective" (PDF). The Anatomical Record. 281A: 1111–1122. doi:10.1002/ar.a.20117. PMID 15472899. S2CID 4991969.
  15. Heffner, Henry E. (May 1998). "Auditory Awareness". Applied Animal Behaviour Science. 57 (3–4): 259–268. doi:10.1016/S0168-1591(98)00101-4.
  16. 17.0 17.1 Sunquist, Melvin E.; Sunquist, Fiona (2002). Wild Cats of the World. University of Chicago Press. p. 10. ISBN 0-226-77999-8.
  17. Blumberg, M. S. (1992). "Rodent ultrasonic short calls: locomotion, biomechanics, and communication". Journal of Comparative Psychology. 106 (4): 360–365. doi:10.1037/0735-7036.106.4.360. PMID 1451418.
  18. Heffner, Rickye S. (1985). "Hearing Range of the Domestic Cat" (PDF). Hearing Research. 19: 85–88. doi:10.1016/0378-5955(85)90100-5. PMID 4066516. สืบค้นเมื่อ 2009-08-20.
  19. "Frequency Hearing Ranges in Dogs and Other Species". www.lsu.edu. สืบค้นเมื่อ 2016-12-28.
  20. 21.0 21.1 Condon, Timothy (2003). Elert, Glenn (บ.ก.). "Frequency Range of Dog Hearing". The Physics Factbook. สืบค้นเมื่อ 2008-10-22.
  21. 22.0 22.1 Hungerford, Laura. "Dog Hearing". NEWTON, Ask a Scientist. University of Nebraska. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-19. สืบค้นเมื่อ 2008-10-22.
  22. 23.0 23.1 Adams, Rick A.; Pedersen, Scott C. (2000). Ontogeny, Functional Ecology, and Evolution of Bats. Cambridge University Press. pp. 139–140. ISBN 0521626323.
  23. Bennu, Devorah A. N. (2001-10-10). "The Night is Alive With the Sound of Echoes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-21. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.
  24. Richardson, Phil. "The Secret Life of Bats". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.
  25. Lawlor, Monika. "A Home For A Mouse". Society & Animals. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-13. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.
  26. Beason, C., Robert. "What Can Birds Hear?". USDA National Wildlife Research Center - Staff Publications. สืบค้นเมื่อ 2013-05-02.
  27. 28.0 28.1 Mayntz, Melissa. "Bird Senses - How Birds Use Their 5 Senses". Birding / Wild Birds. About.com. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.
  28. Ketten, D. R.; Wartzok, D. Thomas, J.; Kastelein, R. (บ.ก.). "Three-Dimensional Reconstructions of the Dolphin Ear" (PDF). Sensory Abilities of Cetaceans: Field and Laboratory Evidence. Plenum Press. 196: 81–105. doi:10.1007/978-1-4899-0858-2_6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-07-30.

อ่านเพิ่มเติม แก้

  • D'Ambrose, Christoper; Choudhary, Rizwan (2003). Elert, Glenn (บ.ก.). "Frequency range of human hearing". The Physics Factbook. สืบค้นเมื่อ 2022-01-22.
  • Hoelzel, A. Rus, บ.ก. (2002). Marine Mammal Biology: An Evolutionary Approach. Oxford: Blackwell Science. ISBN 9780632052325.
  • Ketten, D. R. (2000). "Cetacean Ears". ใน Au, W. L.; Popper, Arthur N.; Fay, Richard R. (บ.ก.). Hearing by Whales and Dolphins. New York: Springer. pp. 43–108. ISBN 9780387949062.
  • Richardson, W. John (1998). Marine mammals and noise. London: Academic Press.
  • Rubel, Edwin W.; Popper, Arthur N.; Fay, Richard R. (1998). Development of the auditory system. New York: Springer. ISBN 9780387949840.