ราวณะ
ราวณะ (สันสกฤต: रावण, Rāvaṇa) เป็นตัวละครหลักฝ่ายร้ายในมหากาพย์เรื่อง รามายณะ ของศาสนาฮินดู โดยเป็นราชารากษสแห่งนครลงกา ซึ่งเชื่อกันว่า ตรงกับประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน[1][2]
ราวณะ | |
---|---|
ตัวละครใน รามายณะ | |
รูปราวณะจากอินเดียใต้ คริสต์ศตวรรษที่ 18 | |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
เผ่าพันธุ์ | รากษส |
ครอบครัว | |
คู่สมรส | มณโททรี ธัญญมาลินี |
บุตร | |
ญาติ | ศูรปณขา |
ราวณะมักเป็นที่พรรณนาว่า มีศีรษะสิบศีรษะ เป็นสาวกของพระศิวะ เป็นมหาปราชญ์ ปกครองบ้านเมืองอย่างเปี่ยมสามารถ ชำนาญบรรเลงวีณา (वीणा vīṇā) และมุ่งหมายจะเป็นใหญ่เหนือทวยเทพ ศีรษะทั้งสิบของเขายังเป็นเครื่องสำแดงถึงศาสตร์ทั้งหกและเวททั้งสี่ นอกจากนี้ ตามความใน รามายณะ ราวณะลักพาสีดา ภริยาของพระราม เพื่อล้างแค้นที่พระรามและพระลักษณ์อนุชาตัดจมูกศูรปณขา กนิษฐาของราวณะ
ชาวฮินดูในหลายส่วนของประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา และประเทศอินโดนีเซีย เคารพบูชาราวณะ[3][4][5] และถือเป็นสาวกพระศิวะที่ได้รับความเคารพยำเกรงที่สุด เทวสถานพระศิวะหลายแห่งยังตั้งรูปราวณะคู่กับรูปพระศิวะด้วย
ศัพทมูล
แก้คำว่า "ราวณ" ในภาษาสันสกฤต หมายความว่า "กู่ร้อง" เป็นศัพท์ตรงข้ามของ "ไวศรวณ" (वैश्रवण vaiśravaṇa) ที่แปลว่า "เงี่ยหูฟัง"[6]
เอฟ. อี. พาร์กิเทอร์ (F. E. Pargiter) ข้าราชการชาวอังกฤษ เห็นว่า คำ "ราวณ" อาจมาจากการแปลงคำ "อิไรวน" (Iraivan) ในภาษาทมิฬ ที่แปลว่า "เจ้า" หรือ "ราชา" ให้เป็นสันสกฤต[7]
ราวณะยังเป็นที่รู้จักด้วยชื่ออื่น เช่น "ทศกัณฐ์" แปลว่า "สิบคอ", "ทศพักตร์" แปลว่า "สิบหน้า", "ลงเกศวร" แปลว่า "เจ้าลงกา", "ราวเณศวร" แปลว่า "ท้าวราวณะ" ฯลฯ[8]
รูปลักษณ์
แก้ราวณะมักได้รับการพรรณนาว่า มีศีรษะสิบศีรษะ แต่บางรูปก็แสดงเพียงเก้าศีรษะ เพราะเชื่อว่า ถวายศีรษะหนึ่งศีรษะให้พระศิวะไปแล้ว คัมภีร์ต่าง ๆ ว่า เขาเป็นสาวกพระศิวะ เป็นมหาบัณฑิต เป็นผู้ปกครองที่มากสามารถ เป็นนักบรรเลงวีณามือฉกาจ เป็นผู้ทรงภูมิด้านแพทยศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นเจ้าของงานประพันธ์หลายเรื่อง เช่น ราวณสงฺหิตา ซึ่งว่าด้วยดาราศาสตร์ฮินดู และ อารกปฺรกาศม ซึ่งว่าด้วยการแพทย์สิทธะ ทั้งยังเป็นเจ้าของน้ำอมฤตซึ่งเขากักเก็บไว้ภายในท้องของตัวโดยอาศัยพรจากพระพรหม[9] นอกจากนี้ รามายณะ ของวาลมิกิยังว่า เขามีลิ้นสองแฉก[10]
ใน รามายณะ
แก้ฉบับอินเดีย
แก้รามายณะ ของอินเดียว่า ราวณะเป็นบุตรของมหาฤๅษีวิศรพ (विस्रव Visrava) มารดาเป็นแทตย์ชื่อ ไกกสี (कैकसी Kaikasī) ชาวเกรตเทอร์โนเอฑา (ग्रेटर नोएडा; Greater Noida) ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย อ้างว่า ท้องถิ่นของตัวเป็นบ้านเกิดราวณะ[11]
ฉบับไทย
แก้รามายณะ ฉบับไทย คือ รามเกียรติ์ ว่า ราวณะเป็นอสูร เป็นบุตรของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา เป็นเจ้านครลงกา ชาติก่อนเป็นยักษ์ชื่อ "นนทก" มีหน้าที่ล้างท้าวเทวดา แต่ถูกเทวดากลั่นแกล้ง จึงตอบโต้ด้วยนิ้วเพชรสังหารที่ได้มาจากพระศิวะ พระศิวะจึงส่งพระวิษณุไปปราบ นนทกแค้นว่า พระวิษณุมีสี่กร ตนมีสองกร จึงสู้ไม่ได้ พระวิษณุสาปให้ชาติหน้าไปเกิดเป็นอสูรมีสิบหน้ายี่สิบมือ แล้วพระวิษณุจะตามไปเกิดเป็นมนุษย์สองแขน คือ พระราม แล้วเข่นฆ่าให้ตายอีก ก็เป็นไปตามนั้นทุกประการ
- พงศาวลีตามฉบับไทย
ท้าวลัสเตียน | นางรัชฎา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นางมณโฑ | ทศกัณฐ์ | กุมภกรรณ | พิเภก | ขร | ทูษณ์ | ตรีเศียร | นางสำมนักขา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นางเบญกาย | มังกรกัณฐ์ | วิรุณจำบัง | กุมภกาศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นางสีดา | อินทรชิต | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บรรลัยกัลป์ | ทศคีรีวัน | ทศคีรีธร | สุพรรณมัจฉา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฉบับเชน
แก้รามายณะ ฉบับศาสนาเชน ว่า ทั้งราวณะและพระรามนับถือเชน[12] ราวณะเป็นราชาของชาววิทยาธร[13] และสุดท้ายแล้วถูกพระลักษณ์ น้องชายพระราม สังหาร[14]
การบูชา
แก้ชาวฮินดูในหลายส่วนของประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา และประเทศอินโดนีเซีย เคารพบูชาราวณะ[3][4][5]
วัดไศวนิกายหลายแห่งในประเทศอินเดียบูชาราวณะ และตั้งรูปราวณะไว้คู่กับรูปพระศิวะ[15][16][17]
ในประเทศศรีลังกาก็มีสถานที่เกี่ยวข้องกับราวณะและนางแทตย์ผู้เป็นมารดา เช่น วัดโกเนศวรัม (Koneswaram Temple) เดิมอุทิศแด่พระศิวะ แต่ภายหลังกลายเป็นที่เซ่นสรวงบูชาราวณะกับมารดา และน้ำพุร้อนกันนิยา (Kanniya Hot water spring) เชื่อว่า เกิดจากราวณะเอาดาบทิ่มดินพวยพุ่งขึ้นเป็นสายน้ำในช่วงพิธีศพของมารดา
ชาติพันธุ์
แก้สกุลพราหมณ์สโชระ (Sachora Brahmin) ในรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย อ้างว่า พวกตัวสืบเชื้อสายมาจากราวณะ และนิยมใช้นามสกุล "ราวณะ" (Ravan)[18]
อ้างอิง
แก้- ↑ Mani, Vettam (1975). Puranic Encyclopaedia: A Comprehensive Dictionary With Special Reference to the Epic and Puranic Literature. Delhi: Motilal Banarsidass. p. 354. ISBN 0-8426-0822-2.
- ↑ Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions (ภาษาอังกฤษ). Merriam-Webster. 1999. p. 909. ISBN 9780877790440.
- ↑ 3.0 3.1 "Only the elderly come to mourn Ravana in 'birthplace' Bisrakh". The Indian Express. 2014-10-04. สืบค้นเมื่อ 2016-06-14.
- ↑ 4.0 4.1 "Ravana in Noida: A book on Greater Noida". hindustantimes.com. 2014-03-15. สืบค้นเมื่อ 2016-06-14.
- ↑ 5.0 5.1 "Bisrakh seeks funds for Ravan temple - Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2016-06-14.
- ↑ Aiyangar Narayan (1909) "Essays On Indo-Aryan Mythology-Vol.", p.413
- ↑ Roy, Janmajit (2002-01-01). Theory of Avatāra and Divinity of Chaitanya (ภาษาอังกฤษ). Atlantic Publishers & Dist. ISBN 9788126901692.
- ↑ "Early Tamils of Ilangai". Scribd. สืบค้นเมื่อ 2016-09-05.
- ↑ Ramayana By Valmiki; Ramcharitmas by Tulsidasa (Lanka Kanda Vibhishana & Rama Samvaad)
- ↑ หน้า 13 ประชาชื่น, เยี่ยมบ้าน ส.พลายน้อย 88 ปี วันนี้...สบายดี "สนุกกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในทะเลหนังสือ" โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช. มติชนปีที่ 40 ฉบับที่ 14318: วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
- ↑ "?". IBN Live. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2014.
- ↑ Sharma, S.R. (1940), Jainism and Karnataka Culture, Dharwar: Karnatak Historical Research Society, p. 76
- ↑ Dalal, Roshen (2010), Hinduism: An Alphabetical Guide, India: Penguin Books, p. 338
- ↑ Ramanujan, A.K. (1991). "Three hundred Rāmāyaṇas: Five examples and Three thoughts on Translation". ใน Paula Richman (บ.ก.). Many Rāmāyaṇas: The Diversity of a Narrative Tradition in South Asia. University of California Press. p. 35. ISBN 978-0-520-07589-4.
- ↑ Ravana has his temples, too. The Sunday Tribune – Spectrum. 21 October 2007.
- ↑ Vachaspati.S, Ravana Brahma [in English], 2005, Rudrakavi Sahitya Peetham, Gandhi Nagar, Tenali, India.
- ↑ Kamalesh Kumar Dave,Dashanan [in Hindi], 2008, Akshaya Jyotish Anusandan Kendra, Quila Road, Jodhpur, India.
- ↑ People of India: A - G., Volume 4. Oxford Univ. Press. p. 3061.