ทศพิน
อติกายะ (ฮินดี: अतिकाय) ในรามายณะ หรือ ทศพิน หรือ ไพนาสุริยวงศ์ ในรามเกียรติ์และเรียมเกร์ เป็นรายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ในศาสนาฮินดู โดยเป็นหนึ่งในโอรสของท้าวราวณะ (ท้าวทศกัณฐ์) และนางมณโฑทรี (นางมณโฑ) และพี่น้องของเขาคือ เฆฆนาท ตริศิระ นรานตกะ - เทวานตกะ ประหัสตะและอักษยกุมาร[1][2]
ทศพิน | |
---|---|
ชื่ออื่น | ไพนาสุริยวงศ์ หรือ อติกายะ |
ส่วนเกี่ยวข้อง | รามายณะ รามเกียรติ์ เรียมเกร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
บิดา-มารดา | ท้าวทศกัณฐ์ นางมณโฑ |
พี่น้อง | เฆฆนาท บรรลัยกัลป์ นรานตกะ - เทวานตกะ ประหัสตะ อักษยกุมาร |
ในรามายณะ
แก้ตามรามายณะเล่าว่า อติกายะ ได้มีเหตุทำให้พระอิศวรทรงกริ้วบนยอดเขาไกรลาส โดยพระอิศวรทรงเหวี่ยงตรีศูล (อาวุธสามง่าม) ของพระองค์ไปที่ อติกายะ แต่ อติกายะ จับ ตรีศูล ไว้กลางอากาศและสำนึกผิดและขอขมาด้วยการทำสักการะบูชาพระองค์ พระอิศวรทรงประทานอภัยโทษทั้งหมดที่อติกายะได้ล่วงเกินและประทานพรให้ อติกายะ ด้วยความลับของการยิงธนูและอาวุธศักดิ์สิทธิ์
เนื่องจากความสามารถพิเศษและความเหนือกว่าของ อติกายะ ต้องถูกสังหารโดย พระลักษมณ์โดยใช้ ศรพรหมหัตถตรา (Brahmastra) ซึ่งเป็นอาวุธอันทรงพลังของพระพรหม โดยพระวายุ เทพแห่งลมตามราชบัญชารับสั่งของพระอินทร์ ได้ทูลแก่พระลักษมณ์ถึงความลับที่จะสังหาร อาติกายะ ได้นั้นต้องใช้ศรพรหมหัตถตราเท่านั้น
กล่าวกันว่า อติกายะ และ กุมภกรรณ ลุงของเขาเป็นอวตารของปีศาจ มธุและไกฏภะ ซึ่งถูกพระวิษณุสังหารในการสร้างโลก ในอีกกรณีหนึ่ง กุมภกรรณได้กล่าวถึงอดีตชาติเมื่อครั้งเป็นทวารบาลที่ถูกสาปของพระวิษณุ
ในรามเกียรติ์และเรียมเกร์
แก้ไพนาสุริยวงศ์ หรือ ทศพิน เป็นโอรสท้าวทศกัณฐ์และนางมณโฑ เมื่อพิเภกครองกรุงลงกาหลังจากท้าวทศกัณฐ์ตาย ได้นางมณโฑเป็นมเหสี ขณะนั้นนางมณโฑตั้งครรภ์อยู่แล้วเมื่อคลอดพิเภกเข้าใจว่าเป็นลูกของตน เมื่อไพนาสุริยวงศ์เติบโตขึ้น พี่เลี้ยงชื่อวรณีสูรเป็นผู้บอกความจริงและยุให้เป็นกบฏเกิดศึกกรุงลงกาอีก พระพรตเป็นผู้มาปราบกบฏและสั่งประหารไพนาสุริยวงศ์พร้อมกับพี่เลี้ยง[3][4][5]
หัวโขนสำหรับการแสดงโขนและละโคนโขล
แก้หน้ายักษ์สีเขียว ปากขบตาโพลงเขี้ยวคุด (ดอกมะลิ) สวมชฎามนุษย์หรือชฎายอดกาบไผ่เดินหนแบบอินทรชิตจอนหูแบบมนุษย์และในตอนเด็กสวมกะบังหน้ามีเกี้ยวรัดจุก (ชฎาเด็ก หรือ หัวกุมารไว้จุก) กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร[6][7][8][9]
อ้างอิง
แก้- ↑ James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. The Rosen Publishing Group. p. 69. ISBN 978-0-8239-3179-8.
- ↑ Nāyuḍū, Su Śaṅkara Rājū; Shankar Raju Naidu, S. (1971). "A Comparative Study of Kamba Ramayanam and Tulasi Ramayan".
- ↑ http://www.thaiheritage.net/nation/ramakian/index18.htm
- ↑ https://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/ramayana/52.html
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-24.
- ↑ https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rouenrarai&month=10-2017&date=20&group=31&gblog=5
- ↑ https://www.navanurak.in.th/asi/site/theme/museshowcatsub2.php?ac2_id=7&ac1_id=7
- ↑ https://www.finearts.go.th/storage/contents/file/gwSMFHpKLrLUZlbYDbth7ggag74kBjUDMFaZWRLN.pdf
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-24.