ราวณะ

ตัวละครรามเกียรติ์

ราวณะ (สันสกฤต: रावण, Rāvaṇa) เป็นตัวละครหลักฝ่ายร้ายในมหากาพย์เรื่อง รามายณะ ของศาสนาฮินดู โดยเป็นราชารากษสแห่งนครลงกา ซึ่งเชื่อกันว่า ตรงกับประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน[1][2]

ราวณะ
ตัวละครใน รามายณะ
รูปราวณะจากอินเดียใต้ คริสต์ศตวรรษที่ 18
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เผ่าพันธุ์รากษส
ครอบครัว
คู่สมรสมณโททรี
ธัญญมาลินี
บุตร
ญาติศูรปณขา
รูปราวณะบนราชรถทองเหลืองแห่งรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย สร้างใน ค.ศ. 1923

ราวณะมักเป็นที่พรรณนาว่า มีศีรษะสิบศีรษะ เป็นสาวกของพระศิวะ เป็นมหาปราชญ์ ปกครองบ้านเมืองอย่างเปี่ยมสามารถ ชำนาญบรรเลงวีณา (वीणा vīṇā) และมุ่งหมายจะเป็นใหญ่เหนือทวยเทพ ศีรษะทั้งสิบของเขายังเป็นเครื่องสำแดงถึงศาสตร์ทั้งหกและเวททั้งสี่ นอกจากนี้ ตามความใน รามายณะ ราวณะลักพาสีดา ภริยาของพระราม เพื่อล้างแค้นที่พระรามและพระลักษณ์อนุชาตัดจมูกศูรปณขา กนิษฐาของราวณะ

ชาวฮินดูในหลายส่วนของประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา และประเทศอินโดนีเซีย เคารพบูชาราวณะ[3][4][5] และถือเป็นสาวกพระศิวะที่ได้รับความเคารพยำเกรงที่สุด เทวสถานพระศิวะหลายแห่งยังตั้งรูปราวณะคู่กับรูปพระศิวะด้วย

ศัพทมูล

แก้
 
รูปสลักราวณะที่นครวัด ประเทศกัมพูชา คริสต์ศตวรรษที่ 12

คำว่า "ราวณ" ในภาษาสันสกฤต หมายความว่า "กู่ร้อง" เป็นศัพท์ตรงข้ามของ "ไวศรวณ" (वैश्रवण vaiśravaṇa) ที่แปลว่า "เงี่ยหูฟัง"[6]

เอฟ. อี. พาร์กิเทอร์ (F. E. Pargiter) ข้าราชการชาวอังกฤษ เห็นว่า คำ "ราวณ" อาจมาจากการแปลงคำ "อิไรวน" (Iraivan) ในภาษาทมิฬ ที่แปลว่า "เจ้า" หรือ "ราชา" ให้เป็นสันสกฤต[7]

ราวณะยังเป็นที่รู้จักด้วยชื่ออื่น เช่น "ทศกัณฐ์" แปลว่า "สิบคอ", "ทศพักตร์" แปลว่า "สิบหน้า", "ลงเกศวร" แปลว่า "เจ้าลงกา", "ราวเณศวร" แปลว่า "ท้าวราวณะ" ฯลฯ[8]

รูปลักษณ์

แก้

ราวณะมักได้รับการพรรณนาว่า มีศีรษะสิบศีรษะ แต่บางรูปก็แสดงเพียงเก้าศีรษะ เพราะเชื่อว่า ถวายศีรษะหนึ่งศีรษะให้พระศิวะไปแล้ว คัมภีร์ต่าง ๆ ว่า เขาเป็นสาวกพระศิวะ เป็นมหาบัณฑิต เป็นผู้ปกครองที่มากสามารถ เป็นนักบรรเลงวีณามือฉกาจ เป็นผู้ทรงภูมิด้านแพทยศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นเจ้าของงานประพันธ์หลายเรื่อง เช่น ราวณสงฺหิตา ซึ่งว่าด้วยดาราศาสตร์ฮินดู และ อารกปฺรกาศม ซึ่งว่าด้วยการแพทย์สิทธะ ทั้งยังเป็นเจ้าของน้ำอมฤตซึ่งเขากักเก็บไว้ภายในท้องของตัวโดยอาศัยพรจากพระพรหม[9] นอกจากนี้ รามายณะ ของวาลมิกิยังว่า เขามีลิ้นสองแฉก[10]

ใน รามายณะ

แก้

ฉบับอินเดีย

แก้

รามายณะ ของอินเดียว่า ราวณะเป็นบุตรของมหาฤๅษีวิศรพ (विस्रव Visrava) มารดาเป็นแทตย์ชื่อ ไกกสี (कैकसी Kaikasī) ชาวเกรตเทอร์โนเอฑา (ग्रेटर नोएडा; Greater Noida) ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย อ้างว่า ท้องถิ่นของตัวเป็นบ้านเกิดราวณะ[11]

ฉบับไทย

แก้

รามายณะ ฉบับไทย คือ รามเกียรติ์ ว่า ราวณะเป็นอสูร เป็นบุตรของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา เป็นเจ้านครลงกา ชาติก่อนเป็นยักษ์ชื่อ "นนทก" มีหน้าที่ล้างท้าวเทวดา แต่ถูกเทวดากลั่นแกล้ง จึงตอบโต้ด้วยนิ้วเพชรสังหารที่ได้มาจากพระศิวะ พระศิวะจึงส่งพระวิษณุไปปราบ นนทกแค้นว่า พระวิษณุมีสี่กร ตนมีสองกร จึงสู้ไม่ได้ พระวิษณุสาปให้ชาติหน้าไปเกิดเป็นอสูรมีสิบหน้ายี่สิบมือ แล้วพระวิษณุจะตามไปเกิดเป็นมนุษย์สองแขน คือ พระราม แล้วเข่นฆ่าให้ตายอีก ก็เป็นไปตามนั้นทุกประการ

พงศาวลีตามฉบับไทย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ท้าวลัสเตียน
 
 
 
 
 
นางรัชฎา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางมณโฑ
 
 
 
ทศกัณฐ์
 
กุมภกรรณ
 
พิเภก
 
ขร
 
ทูษณ์
 
ตรีเศียร
 
นางสำมนักขา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางเบญกาย
 
มังกรกัณฐ์
 
วิรุณจำบัง
 
 
 
 
 
กุมภกาศ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางสีดา
 
อินทรชิต
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บรรลัยกัลป์
 
ทศคีรีวัน
 
ทศคีรีธร
 
สุพรรณมัจฉา


ฉบับเชน

แก้

รามายณะ ฉบับศาสนาเชน ว่า ทั้งราวณะและพระรามนับถือเชน[12] ราวณะเป็นราชาของชาววิทยาธร[13] และสุดท้ายแล้วถูกพระลักษณ์ น้องชายพระราม สังหาร[14]

การบูชา

แก้

ชาวฮินดูในหลายส่วนของประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา และประเทศอินโดนีเซีย เคารพบูชาราวณะ[3][4][5]

วัดไศวนิกายหลายแห่งในประเทศอินเดียบูชาราวณะ และตั้งรูปราวณะไว้คู่กับรูปพระศิวะ[15][16][17]

ในประเทศศรีลังกาก็มีสถานที่เกี่ยวข้องกับราวณะและนางแทตย์ผู้เป็นมารดา เช่น วัดโกเนศวรัม (Koneswaram Temple) เดิมอุทิศแด่พระศิวะ แต่ภายหลังกลายเป็นที่เซ่นสรวงบูชาราวณะกับมารดา และน้ำพุร้อนกันนิยา (Kanniya Hot water spring) เชื่อว่า เกิดจากราวณะเอาดาบทิ่มดินพวยพุ่งขึ้นเป็นสายน้ำในช่วงพิธีศพของมารดา

ชาติพันธุ์

แก้

สกุลพราหมณ์สโชระ (Sachora Brahmin) ในรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย อ้างว่า พวกตัวสืบเชื้อสายมาจากราวณะ และนิยมใช้นามสกุล "ราวณะ" (Ravan)[18]

อ้างอิง

แก้
  1. Mani, Vettam (1975). Puranic Encyclopaedia: A Comprehensive Dictionary With Special Reference to the Epic and Puranic Literature. Delhi: Motilal Banarsidass. p. 354. ISBN 0-8426-0822-2.
  2. Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions (ภาษาอังกฤษ). Merriam-Webster. 1999. p. 909. ISBN 9780877790440.
  3. 3.0 3.1 "Only the elderly come to mourn Ravana in 'birthplace' Bisrakh". The Indian Express. 2014-10-04. สืบค้นเมื่อ 2016-06-14.
  4. 4.0 4.1 "Ravana in Noida: A book on Greater Noida". hindustantimes.com. 2014-03-15. สืบค้นเมื่อ 2016-06-14.
  5. 5.0 5.1 "Bisrakh seeks funds for Ravan temple - Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2016-06-14.
  6. Aiyangar Narayan (1909) "Essays On Indo-Aryan Mythology-Vol.", p.413
  7. Roy, Janmajit (2002-01-01). Theory of Avatāra and Divinity of Chaitanya (ภาษาอังกฤษ). Atlantic Publishers & Dist. ISBN 9788126901692.
  8. "Early Tamils of Ilangai". Scribd. สืบค้นเมื่อ 2016-09-05.
  9. Ramayana By Valmiki; Ramcharitmas by Tulsidasa (Lanka Kanda Vibhishana & Rama Samvaad)
  10. หน้า 13 ประชาชื่น, เยี่ยมบ้าน ส.พลายน้อย 88 ปี วันนี้...สบายดี "สนุกกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในทะเลหนังสือ" โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช. มติชนปีที่ 40 ฉบับที่ 14318: วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
  11. "?". IBN Live. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2014.
  12. Sharma, S.R. (1940), Jainism and Karnataka Culture, Dharwar: Karnatak Historical Research Society, p. 76
  13. Dalal, Roshen (2010), Hinduism: An Alphabetical Guide, India: Penguin Books, p. 338
  14. Ramanujan, A.K. (1991). "Three hundred Rāmāyaṇas: Five examples and Three thoughts on Translation". ใน Paula Richman (บ.ก.). Many Rāmāyaṇas: The Diversity of a Narrative Tradition in South Asia. University of California Press. p. 35. ISBN 978-0-520-07589-4.
  15. Ravana has his temples, too. The Sunday Tribune – Spectrum. 21 October 2007.
  16. Vachaspati.S, Ravana Brahma [in English], 2005, Rudrakavi Sahitya Peetham, Gandhi Nagar, Tenali, India.
  17. Kamalesh Kumar Dave,Dashanan [in Hindi], 2008, Akshaya Jyotish Anusandan Kendra, Quila Road, Jodhpur, India.
  18. People of India: A - G., Volume 4. Oxford Univ. Press. p. 3061.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้