ลัทธิไศวะ

(เปลี่ยนทางจาก ไศวนิกาย)

ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะ หรือ ไศวนิกาย (อังกฤษ: Shaivism) เป็นลัทธินิกายที่นับถือพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าหรือพรหมัน[1] ศาสนิกชนในลัทธินี้เรียกว่าชาวไศวะ ซึ่งมีรูปแบบความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกันไปเป็นหลายกลุ่ม เช่น ศิวสิทธานตะที่มีแนวคิดว่าบุคคลจะหลุดพ้นได้โดยการภักดีต่อพระศิวะ แต่ลัทธิโยคะถือว่าทุกสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรหมันอยู่แล้ว[2][3] ลัทธินี้ถือพระเวทและอาคมเป็นคัมภีร์สำคัญ[4][5][6]

การบูชาพระศิวะ

ลัทธิไศวะมีที่มาจากการนับถือพระรุทรในสมัยพระเวท (ราวสองพันปีก่อนคริสต์ศักราช)[7] คัมภีร์เศวตาศวตโรปนิษัทซึ่งแต่งขึ้นราวหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราชปรากฏคำว่า รุทร ศิวะ มเหศวร[8][9] แต่การตีความคำเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่[10][11] จนถึงคริสต์สหัสวรรษที่ 1 ลัทธิไศวะทั้งสายภักตินิยมและสายโยคะก็เริ่มแพร่หลายในหลายอาณาจักร[7] รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะหลายพันแห่งในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม[12][13]

ความเชื่อของลัทธิไศวะมีหลายรูปแบบ บางกลุ่มถือว่าพระศิวะคือมหาเทพพระผู้สร้าง รักษา และทำลายล้างโลก บางกลุ่มมองว่าพระศิวะหมายถึงอาตมันอันเป็นภาวะแก่นสารของสรรพสิ่ง ในด้านการปฏิบัติ มีการบูชาพระศิวะรวมถึงพระปารวตีผู้เป็นศักติ (ซึ่งแบบขนบของลัทธิศักติ) ตามโบสถ์พราหมณ์ต่าง ๆ[3] บางกลุ่มเน้นการถือพรตฝึกโยคะเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะที่เป็นอาตมันภายในตนเอง[14][2][15]

อ้างอิง

แก้
  1. P. T. Raju (1985). Structural Depths of Indian Thought. State University of New York Press. pp. 10–14, 509–516. ISBN 978-0-88706-139-4.
  2. 2.0 2.1 Ganesh Tagare (2002), The Pratyabhijñā Philosophy, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1892-7, pages 16–19
  3. 3.0 3.1 Flood 2003, pp. 202–204.
  4. David Smith (1996), The Dance of Siva: Religion, Art and Poetry in South India, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-48234-9, page 116
  5. Mariasusai Dhavamony (1999), Hindu Spirituality, Gregorian University and Biblical Press, ISBN 978-88-7652-818-7, pages 31–34 with footnotes
  6. Mark Dyczkowski (1989), The Canon of the Śaivāgama, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0595-8, pages 43–44
  7. 7.0 7.1 Peter Bisschop (2011), Shaivism, Oxford University Press
  8. [a] Paul Deussen, Sixty Upanishads of the Veda, Volume 1, Motilal Banarsidass, ISBN 978-8120814684, pages 301-304;
    [b] R G Bhandarkar (2001), Vaisnavism, Saivism and Minor Religious Systems, Routledge, ISBN 978-8121509992, pages 106-111
  9. Robert Hume (1921), Shvetashvatara Upanishad, The Thirteen Principal Upanishads, Oxford University Press, pages 400-406 with footnotes
  10. A Kunst, Some notes on the interpretation of the Ṥvetāṥvatara Upaniṣad, Bulletin of the School of Oriental and African Studies, Vol. 31, Issue 02, June 1968, pages 309-314; doi:10.1017/S0041977X00146531
  11. D Srinivasan (1997), Many Heads, Arms, and Eyes, Brill, ISBN 978-9004107588, pages 96-97 and Chapter 9
  12. Flood 2003, pp. 208–214.
  13. Jan Gonda (1975). Handbook of Oriental Studies. Section 3 Southeast Asia, Religions. BRILL Academic. pp. 3–20, 35–36, 49–51. ISBN 90-04-04330-6.
  14. Flood 1996, pp. 162–167.
  15. "Introduction to Hinduism". Himalayan Academy. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-30. สืบค้นเมื่อ February 2014. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูล

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้