ลัสเตียน (รามเกียรติ์)
ตัวละครฝ่ายยักษ์ในเรื่อง รามเกียรติ์
ท้าวลัสเตียน (อังกฤษ: Vishrava:สันสกฤต: विश्रवा) หรือในรามายณะ คือมหาฤๅษีวิศรพ เป็นอสูรบุตรของท้าวจตุรพักตร์ผู้ครองเมืองลงกาองค์แรก กับนางมลิกา ( รามายณะ คือ นางมานินี (Manini) หรืออีกนามคือ นางวริวภู (Havirbhu).) ท้าวลัสเตียนเป็นกษัตริย์ครองเมืองลงกาองค์ที่สอง ในรามเกียรติ์และเรียมเกร์มีมเหสีห้าพระองค์และมีโอรสและธิดาทั้งหมดสิบเอ็ดองค์
ส่วนมหากาพย์รามายณะระบุว่าปุลัสตยะเป็นหนึ่งในฤๅษีเจ็ดตนพระพรหมสร้างขึ้นด้วยความคิด และเป็นบิดาของฤๅษีวิศรวา บิดาของราวณะ[1]
ลักษณะและสีแก้ไข
ท้าวลัสเตียน หรือ ลัสเตียนพรหม มีกายและหน้าสีขาว ปากแสยะ ตาโพลง สวมมงกุฎน้ำเต้าเฟืองยอดสะบัด บางตำราว่ามงกุฎยอดชัย มี 1 พักตร์ 4 กร
มเหสีและโอรสธิดาแก้ไข
ท้าวลัสเตียน มีมเหสี 5 องค์
อ้างอิงแก้ไข
- เศรษฐมันคร์ กาญจนกุล, ตัวละครในรามเกียรติ์ หมวด พรหมพงศ์และอสูรพงศ์, กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์, 2549) , หน้า 22.
- ↑ "ความรู้เรื่อง'ทศกัณฐ์'จาก อ.อักษรศาสตร์ จุฬาฯ-'วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนไปตามผู้เสพ'". มติชน. 22 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
ก่อนหน้า | ลัสเตียน (รามเกียรติ์) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จตุรพักตร์ | เจ้ากรุงลงกาในเรื่อง รามเกียรติ์ |
ทศกัณฐ์ |
บทความเกี่ยวกับวรรณกรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์ |