นางเบญกาย
นางเบญกาย หรือ นางเบญจกาย เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นธิดาของพิเภกกับนางตรีชฎา และเป็นหลานของทศกัณฐ์ ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของหนุมาน[1] (ตอนนี้ไม่ปรากฏในรามายณะ)
นางเบญกาย | |
---|---|
ตัวละครใน รามเกียรติ์ | |
เบญกายแปลงเป็นนางสีดา | |
เผ่าพันธุ์ | ยักษ์ |
ครอบครัว | พิเภก (บิดา) ตรีชฎา (มารดา) ท้าวลัสเตียน (ปู่) ท้าวจตุรพักตร์ (ทวด) ทศกัณฐ์ (ลุง) กุมภกรรณ (ลุง) ขร (อา) ทูษณ์ (อา) ตรีเศียร (อา) นางสำมนักขา (อา) |
คู่สมรส | หนุมาน |
บุตร | อสุรผัด |
นางปรากฏตัวในตอนนางลอย ที่ทศกัณฐ์ผู้เป็นลุงได้สั่งให้เธอแปลงกายนางสีดาแสร้งเป็นศพลอยน้ำไปยังค่ายของพระราม หวังที่จะทำให้พระรามหมดกำลังใจและถอนทัพกลับ แต่หนุมานได้เห็นพิรุธบางประการจึงทูลพระรามก่อนนำไปสู่การเปิดเผย
ประวัติ
แก้นางเบญกาย เป็นธิดาของพิเภก กับนางตรีชฎา[1][2][3] โดยพิเภกเป็นน้องชายของทศกัณฐ์[4] เบญกายจึงเป็นหลานลุงของทศกัณฐ์ด้วย
ทศกัณฐ์ผู้เป็นลุงได้สั่งให้เธอแปลงกายไปเป็นนางสีดาโดยทำเหมือนว่านางสีดาเป็นศพลอยตามน้ำยังหน้าพลับพลาของพระรามหวังทำลายขวัญและกำลังใจฝ่ายตรงข้าม เมื่อรับคำสั่งนั้นนางเบญกายจึงไปเฝ้าดูนางสีดาแล้วแปลงกายเป็นนางสีดาอย่างแนบเนียน แม้แต่ทศกัณฐ์เองก็จำไม่ได้ ดังปรากฏความตอนหนึ่ง ความว่า[2]
เมื่อนั้น | นางเบญกายยักษี | |
เห็นพระราชาอสุรี | เสด็จลงจากที่บัลลังก์ทรง |
ด้วยได้เห็นรูปนางนิมิต | คิดว่าสีดานวลหง | |
ดำเนินเข้ามาเคียงองค์ | ใหลหลงประโลมด้วยวาจา |
จากนั้นนางก็ทำตามคำบัญชาของทศกัณฐ์ เมื่อพระรามเห็นศพนางสีดาลอยน้ำมาก็เสียใจมากที่ต้องมาสูญเสียนางอันเป็นที่รักไป พาลต่อว่าหนุมานที่เข้าไปเผากรุงลงกาในคราวนั้น ทศกัณฐ์คงเจ็บใจและสังหารนางสีดาทิ้งเสีย แต่หนุมานทูลให้พระรามเห็นพิรุธนานาประการ อาทิ ศพที่ลอยน้ำจะต้องเป็นศพที่เน่าเปื่อย และศพนางสีดานี้ลอยทวนน้ำขึ้นมานั้นผิดวิสัยของศพที่จะต้องลอยตามกระแสน้ำ จึงทูลขอศพนางสีดานั้นไปเผาไฟ นางเบญกายก็ทนร้อนไม่ไหวจึงกลับคืนร่างเดิมและเหาะขึ้นฟ้าไป แต่หนุมานก็เหาะตามไปจับตัวนางมาได้[1][2]
โทษของนางเบญกายนั้นถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากพระรามได้ทราบว่านางเบญกายเป็นบุตรสาวของพิเภกผู้มีความยุติธรรม จึงได้ปล่อยนางเบญกายไป โดยให้หนุมานไปส่งนางเบญกายที่กรุงลงกา แต่ระหว่างทางที่หนุมานพานางเบญกายไปส่งยังกรุงลงกานั้น หนุมานซึ่งมีจิตปฏิพัทธ์นางเบญกายแต่แรกที่พบกัน จึงได้เกี้ยวพาราสีนางจนได้นางเบญกายเป็นภรรยา[1][3][5]
ในคราวที่หนุมานมาปราบท้าวมหาบาลซึ่งบุกมาที่กรุงลงกา หนุมานได้เข้าไปพำนักกับนางเบญกายด้วย ทำให้ในเวลาต่อมา นางเบญกายได้ให้กำเนิดบุตรชายนามว่า อสุรผัด[1][3] มีหน้าเป็นวานร และมีกายเป็นยักษ์
ครั้นเมื่อทศกัณฐ์ทำพิธีตั้งอุโมงค์บำเพ็ญตบะ หนุมาน, สุครีพ และนิลนนท์ ได้รับมอบหมายให้ไปทำลายพิธี โดยนำน้ำล้างเท้าของนางเบญกายไปรดแผ่นหินที่ปิดปากอุโมงค์[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "ประวัตินางในวรรณคดี หญิงงามในบทประพันธ์". สนุกดอตคอม. 5 เมษายน 2556. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "เบญกาย (รามเกียรติ์)". My First Brain. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 "นางสำมนักขา, สุพรรณมัจฉา, นางเบญกาย, นางมณโฑ, สดายุ". SiamNT ฝีมือไทย ภูมิปัญญาไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-17. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ทศกัณฑ์ (รามเกียรติ์)". My First Brain. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นางเบญกาย". บ้านรำไทย. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)