ปุลัสตยะ (สันสกฤต: पुलस्त्य, ปุลสฺตฺย) หรือในรามายณะ คือมหาฤๅษีปุลัสตยะ หรือท้าวจตุรพักตร์ เป็นบิดาของท้าวลัสเตียนและเป็นพระอัยกา (ปู่) ของราวณะ (ทศกัณฐ์ ในรามเกียรติ์ และเรียมเกร์) มีนามเดิมว่า ท้าวมหาอัชดาหรือธาดา เป็นผู้ครองกรุงลงกาองค์แรก มเหสีคือนางมลิกา (ในรามายณะ คือ นางมานินี (Manini) หรืออีกนามคือ นางหริวภู (Havirbhu))[1] และโอรสเป็นยักษ์สี่มือ ชื่อ ท้าวลัสเตียน อาวุธคือตรีศูล คทา และฉัตรแก้ว มีบุษบกแก้วเป็นอากาศยานวิเศษ ในรามเกียรติ์ และเรียมเกร์ ระบุว่า ท้าวจตุรพักตร์เป็นน้องท้าวมาลีวัคคพรหมหรือท้าวมาลีวราช ดังนั้นทศกัณฐ์ จึงถือว่าตนเป็นวงศ์พรหม

มหากาพย์รามายณะระบุว่า ปุลัสตยะเป็นหนึ่งในฤๅษีเจ็ดตนที่พระพรหมสร้างขึ้นด้วยความคิด และเป็นบิดาของฤๅษีวิศรวา บิดาของราวณะ[2]

ลักษณะและสี แก้

ท้าวจตุรพักตร์ มีกายสีขาว รูปอย่างพรหม

อ้างอิง แก้

  1. "History of Kubera". Manuscrypts. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-14. สืบค้นเมื่อ 25 August 2011.
  2. "ความรู้เรื่อง'ทศกัณฐ์'จาก อ.อักษรศาสตร์ จุฬาฯ-'วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนไปตามผู้เสพ'". www.matichon.co.th. มติชน. 22 Sep 2016. สืบค้นเมื่อ 27 Apr 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

ดูเพิ่ม แก้

  • นาคะประทีป. สมญาภิธานรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คลังวิทยา, หน้า 30-31.
ก่อนหน้า ปุลัสตยะ ถัดไป
-   กษัตริย์กรุงลงกาในเรื่อง รามเกียรติ์

  ท้าวลัสเตียน