นางสำมนักขา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นางสำมนักขา (สันสกฤต: शूर्पणखा, ศูรฺปณขา) เป็นตัวละครหนึ่งในมหากาพย์รามายณะ
นางสำมนักขา | |
---|---|
ตัวละครใน รามเกียรติ์ | |
นางสำมนักขา(ซ้ายสุด) พระราม(ตรงกลาง)
นางสีดา(ขวาสุด) | |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
เผ่าพันธุ์ | ยักษ์ |
เพศ | หญิง |
คู่สมรส | ชิวหา |
บุตร | กุมภกาศ, อดูล, ปีศาจยักษิณี, วรณีสูร |
ญาติ | ท้าวลัสเตียน (บิดา) นางรัชฎา (มารดา) ทศกัณฐ์ (พี่ชาย) กุมภกรรณ (พี่ชาย) พิเภก (พี่ชาย) ขร (พี่ชาย) ทูษณ์ (พี่ชาย) ตรีเศียร (พี่ชาย) |
สีกาย | เขียวสด |
ประวัติ
แก้นางสำมนักขาเป็นธิดาองค์เดียวของท้าวลัสเตียนและนางรัชฎา มีสวามีคือ ชิวหา เป็นน้องสาวของทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ขร ทูษณ์และตรีเศียร นางสำมะนักขามีสามีชื่อ ชิวหา ซึ่งชิวหาผู้นี้ทำหน้าดูแลกรุงลงกาเมื่อทศกัณฐ์ได้ไปเที่ยวป่ากับนางมณโฑตลอดเวลา 7 วัน 7 คืนทำให้เกิดง่วงนอน จึงได้แลบลิ้นยาวออกมาปกคลุมกรุงลงกาและนอนหลับพักผ่อน เมื่อทศกัณฐ์กลับมาพบว่ากรุงลงกาถูกปกคลุมก็คิดว่าเป็นเวทมนตร์ของศัตรู จึงขว้างจักรไปตัดลิ้นชิวหาจนขาดทำให้ชิวหาถึงแก่ความตายยังความเศร้าโศกเสียใจให้แก่นางสำมนักขายิ่งนัก
หลังจากชิวหาสิ้นไป วันหนึ่งนางสำมนักขาไปเที่ยวป่าและได้พบพระรามจึงเกิดหลงรักขึ้นและได้เข้าไปเกี้ยวพาราสี แต่พระรามไม่สนใจ นางสำมะนักขาจึงตามพระรามไปที่อาศรมเห็นนางสีดา จึงคิดว่า ถ้าหากตนกำจัดนางสีดาได้ พระรามคงจะหันมาสนใจตน ดังนั้น นางสำมนักขาจึงเข้าไปทำร้ายนางสีดาแต่ถูกพระรามจับได้ จึงถูก พระลักษมณ์ ลงโทษด้วยการตัดหูและจมูก และปล่อยนางคืนไป เป็นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์
นางสำมนักขา มีบุตรเป็นรากษส 3 ใน 10 แห่งกรุงลงกา คือ กุมภกาศ อดูล ปีศาจยักษิณี และวรณีสูร
ลักษณะและสี
แก้สีเขียวสด 1 หน้า 2 มือ ผมยาว สวมกระบังหน้า
โคลงภาพรามเกียรติ์
แก้สำมนักขาชื่ออ้าง อสุรพันธุ์
นาฏขนิษฐาทศกรรฐ แก่นไท้
ฉวีกายสกลวรรณ เขียวสด สอาดนอ
เป็นเอกชาเยศรได้ อยู่ด้วยชิวหา
ขุนมหาสิทธิโวหาร
(ตัวสะกดตามต้นฉบับเดิม)
ข้อมูลเพิ่มเติม
แก้โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางสำมนักขา ของกรมศิลปากร[ลิงก์เสีย]