เอ็ลอัล
เอ็ลอัลอิสราเอลแอร์ไลน์ (ฮีบรู: אל על נתיבי אויר לישראל בע״מ) รู้จักกันในชื่อ เอ็ลอัล (ฮีบรู: אל על, แปลตรงตัว ''สู่ท้องฟ้า'') เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอิสราเอล ที่มีสำนักงานใหญ่ที่ท่าอากาศยานเบ็น-กูรีย็อนในเทลอาวีฟ เอ็ลอัลให้บริการเที่ยวบินในประเทศ ระหว่างประเทศ และเที่ยวบินขนส่งสินค้าสู่จุดหมายปลายทางในยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย[1]
| |||||||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1948 (76 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฐานการบิน | เทลอาวีฟ | ||||||
สะสมไมล์ | มัตมิด เกสท์ | ||||||
บริษัทลูก |
| ||||||
ขนาดฝูงบิน | 47 | ||||||
จุดหมาย | 49 | ||||||
การซื้อขาย | TASE:ELAL | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ท่าอากาศยานเบ็น-กูรีย็อน เทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล | ||||||
บุคลากรหลัก | ดาวิด บรอดท์, ประธาน ดินา เบน ทัล, ซีอีโอ | ||||||
พนักงาน | 2,529 คน | ||||||
เว็บไซต์ | www |
นับตั้งแต่เที่ยวบินทางการครั้งแรกจากเจนีวาสู่เทลอาวีฟ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1948 เอ็ลอัลขยายจุดหมายปลายทางไปสู่ 48 จุดหมาย ใน 5 ทวีป เอ็ลอัลมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในหลากหลายเหตุการณ์ เช่น การอพยพชาวยิวออกจากเอธิโอเปีย และเยเมน และประเทศอื่นที่ชาวยิวตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย เอ็ลอัลยังเคยสร้างสถิติเที่ยวบินที่มีผู้โดยสารมากที่สุด ซึ่งเคยทำไว้ในปฏิบัติการโซโลมอน
เอ็ลอัลเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสายการบินที่มีสถิติความปลอดภัยมากที่สุดในโลก จากมาตรการความปลอดภัยในการป้องกันการจี้เครื่องบินของสลัดอากาศหลายครั้ง แต่มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่สลัดอากาศกระทำสำเร็จ[2][3]
การรักษาความปลอดภัย
แก้เนื่องจาก สายการบินเอ็ลอัล ตกเป็นเป้าหมายในการก่อการร้ายมานานหลายทศวรรษ ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ เอ็ลอัล จำต้องปฏิบัติหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดทั้งบนพื้นดินและบนอากาศยาน จึงเกิดกระแสวิจารณ์ความไม่สะดวกในการใช้บริการ และเป็นประเด็นถกเถียงในเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด[4] แต่อย่างไรนั้นความมีชื่อเสียงด้านมาตรการรักษาความปลอดภัย ทำให้ เอ็ลอัล ได้รับรางวัลสายการบินที่มีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยสูงที่สุดในโลก ในปี ค.ศ. 2008 จากนิตยสาร "โกลบอล แทรเวลเลอร์"[5]
มาตรการการรักษาความปลอดภัยในสนามบิน
แก้สายการบินกำหนดให้ผู้โดยสารต้องรายงานตัวสามชั่วโมงก่อนออกเดินทาง อาคารผู้โดยสารของเอ็ลอัล ทั่วโลกมีการเฝ้าระวังความปลอดภัยอย่างเข้มงวด มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบและกำลังทหาร ตำรวจ ติดอาวุธครบมือออกตรวจตราวัตถุระเบิด บุคคลผู้มีพฤติกรรมที่น่าสงสัย และภัยคุกคามอื่นๆ กระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสารจะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด ผู้โดยสารทุกคนจะต้องผ่านการสอบถามคำถามด้านการรักษาความปลอดภัย จากเจ้าหน้าที่ถึงสาเหตุในการเดินทางเพื่อประเมินความเสี่ยง โดยเจ้าหน้าที่มักจะถามว่า ผู้โดยสารมาจากไหน มีเหตุผลอะไรในการเดินทาง ตลอดจนถามถึงอาชีพการงาน และสอบถามถึงสัมภาระของผู้โดยสารว่าเป็นผู้บรรจุเองหรือไม่
ที่เคาเตอร์เช็กอินผู้โดยสารทุกคนจะต้องผ่านการตรวจสอบบัตรโดยสารและหนังสือเดินทางอย่างละเอียดโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสายการบิน ผู้ที่ยังมิได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยอาจถูกปฏิเสธไม่ให้เช็กอิน ที่ด่านตรวจหนังสือเดินทางเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบชื่อและนามสกุลของผู้โดยสารโดยใช้ฐานข้อมูลของ สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา, สำนักข่าวกรองความปลอดภัยแคนาดา, สก็อตแลนด์ยาร์ด, สำนักความปลอดภัยอิสราเอล และองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ สัมภาระผู้โดยสารจะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียดและบางครั้งอาจต้องตรวจสอบด้วยมือ นอกจากนี้สัมภาระความเสี่ยงสูงต้องผ่านการเข้าห้องปรับความดันเพื่อทดสอบหาระเบิดแสวงเครื่องที่ทำงานโดยอาศัยหลักความกดอากาศหรือความดันขณะบิน[6] แม้จะเป็นสนามบินในต่างประเทศเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของสายการบินก็ยังทำการตรวจสอบสัมภาระเองทั้งหมด[7]
มาตรการความปลอดภัยบนเที่ยวบิน
แก้ในทุกเที่ยวบินระหว่างประเทศจะมีแอร์ มาร์แชลหรือเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบซุกซ่อนอาวุธแฝงตัวไปกับผู้โดยสาร[8] นักบินส่วนใหญ่ของเอ็ลอัล จะเป็นอดีตนักบินของกองทัพอากาศอิสราเอล[9] ห้องนักบินได้ติดตั้งประตูนิรภัยแน่นหนาสองชั้น เพื่อป้องกันบุคคลไม่ได้รับอนุญาตเข้าห้องนักบินและมีระบบรหัสลับสำหรับการผ่านเข้าออก ประตูห้องนักบินที่สองจะเปิดได้ก็ต่อเมื่อประตูที่หนึ่งปิดแล้วเท่านั้น บุคคลที่จะเข้าห้องนักบินทุกคนจะต้องรับการตรวจค้นจากกัปตันเครื่องหรือผู้ช่วยนักบินที่หนึ่ง พื้นห้องโดยสารได้รับการเสริมเหล็กกล้าเพื่อป้องกันระหว่างห้องโดยสารกับห้องสัมภาระ[10]
จากเหตุการณ์ลอบโจมตีอากาศยานของอิสราเอลในปี 2002[11] ทำให้อากาศยานบางลำ(ขึ้นกับระดับภัยคุกคามของเส้นทางการบิน)ของเอ็ลอัล ได้รับการติดตั้งระบบต่อต้านจรวดนำวิถีด้วยอินฟราเรด (IRCM) เรียกว่า"ไฟลท์การ์ด"[12][13][14][15] ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทอุตสาหกรรมการบินอิสราเอล เพื่อป้องกันตัวจากขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ
จุดหมายปลายทาง
แก้ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 เอ็ลอัลให้บริการเที่ยวบินจุดหมายปลายทาง 48 แห่งในสี่ทวีปใน 31 ประเทศ
ข้อตกลงการบินร่วม
แก้เอ็ลอัลได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:[16]
- อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัส[17][18]
- อาเอโรเมฆิโก[19]
- แอร์ไชนา
- แอร์ฟรานซ์[20]
- แอร์เซอร์เบีย
- เดลตาแอร์ไลน์[21]
- เอธิโอเปียนแอร์ไลน์
- สายการบินเอทิฮัด[22]
- กัลฟ์แอร์
- ฮ่องกงแอร์ไลน์[23]
- ไอบีเรีย
- เจ็ตบลูแอร์เวย์
- เคนยาแอร์เวย์
- เคแอลเอ็ม[24]
- ลาตัมบราซิล
- ลอตโปลิชแอร์ไลน์[25]
- พอร์เตอร์แอร์ไลน์
- ควอนตัส[26]
- เอสเซเวนแอร์ไลน์
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม[27]
- สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
- ตัปแอร์ปูร์ตูกัล[28]
- การบินไทย[29][30]
- เวียดนามแอร์ไลน์[31]
- เวอร์จินแอตแลนติก[32]
ฝูงบิน
แก้ฝูงบินปัจจุบัน
แก้ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2024 เอ็ลอัลมีเครื่องบินประจำการในฝูงบิน ดังนี้:[34][35]
ฝูงบินของเอ็ลอัล | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร[34] | หมายเหตุ | |||||
F | C | P | Y | รวม | |||||
โบอิง 737-800 | 14 | — | — | 16 | — | 150 | 166 | ||
2 | — | — | 189 | 189 | ให้บริการโดยซุนดอร์ | ||||
โบอิง 737-900อีอาร์ | 8 | — | — | 16 | — | 159 | 175 | ||
โบอิง 737 แมกซ์ | — | 20 | รอประกาศ | สั่งซื้อพร้อม 11 ตัวเลือก[36][37] ส่งมอบตั้งแต่ปี ค.ศ. 2028 | |||||
โบอิง 777-200อีอาร์ | 6 | — | 6 | 35 | — | 238 | 279 | จะเปลี่ยนการจัดเรียงที่นั่งเป็นแบบ 313 ที่นั่ง โดยนำที่นั่งชั้นหนึ่งออก[38][39] | |
— | 28 | 32 | 253 | 313 | [38] | ||||
โบอิง 787-8 | 4 | — | — | 20 | 35 | 183 | 238 | ||
โบอิง 787-9 | 12 | 6 | — | 32 | 35 | 204 | 271 | สั่งซื้อพร้อม 6 ตัวเลือก[40][41] | |
— | 30 | — | 263 | 293 | โอนย้ายมาจากแอร์ไชนา และใช้ผังที่นั่งเดิม[42][43] | ||||
ฝูงบินองเอ็ลอัล คาร์โก | |||||||||
โบอิง 737-800บีซีเอฟ | 1 | — | สินค้า | [44] | |||||
รวม | 47 | 26 |
เอ็ลอัลมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 13.6 ปี
ฝูงบินในอดีต
แก้เอ็ลอัลเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
อ้างอิง
แก้- ↑ Orme, William A. Jr. "El Al at a Turning Point; A Mirror of Israel's Divisions Prepares to Go 49% Public." The New York Times. March 5, 1999. C1, New York Edition. 1. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553.
- ↑ "El Al secure because it must be". CNN. 2002-07-05. สืบค้นเมื่อ 2016-05-15.
- ↑ Walt, Vivienne (2001-01-10). "Unfriendly skies are no match for El Al". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2007-04-29.
- ↑ Walt, Vivienne (2001-01-10). "Unfriendly skies are no match for El Al". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2007-04-29.
- ↑ "EL AL named most secure airline". เยรูซาเร็มโพสต์. 2008-02-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-06.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "El Al Decompression Chamber". Simcoe Engineering Group Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 2016-05-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "El Al wants to do own bag screening at Newark". USA Today. 2006-05-12. สืบค้นเมื่อ 2007-05-07.
- ↑ "El Al sets security standards". BBC News. 2002-07-05. สืบค้นเมื่อ 2007-05-07.
- ↑ "Model for air travel security may be El Al". CNN. 2001-09-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-24. สืบค้นเมื่อ 2007-05-07.
- ↑ Silver, Eric (2006-08-15). "Flying under the eagle eyes of El Al's famed high security". New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 2006-08-15.
- ↑ "Kenyan police find Mombasa missiles". BBC News. 2002-12-06.
- ↑ Vause, John (24 May 2004). "Missile defense for El Al fleet". CNN. สืบค้นเมื่อ 2007-11-30.
- ↑ WILLIAMS, DAN (02/16/06 18:10). "El Al Fits Fleet with Anti-Missile System". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-28. สืบค้นเมื่อ 2007-11-30.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "IAI/Elta's "Flight Guard" Commercial Aircraft Protection System Funded". Israeli Aerospace Industries. 2003-09-08.
- ↑ "El Al Airlines installs anti-missile systems on passenger aircraft". Haaretz. 2006-02-15. สืบค้นเมื่อ 2007-05-07.
El Al, Israel's national carrier and largest airline
- ↑ "Profile on El Al". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-10-29.
- ↑ Liu, Jim (22 September 2017). "Aerolineas Argentinas / El Al begins codeshare partnership from Sep 2017". สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
- ↑ "Aerolíneas Argentinas y El Al Israel Airlines anuncian acuerdo de código compartido". Aerolineas Argentinas S.A. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
- ↑ "AEROMEXICO AND EL AL ISRAEL AIRLINES SIGN A CODE SHARE AGREEMENT". GlobeNewswire News Room (Press release). August 2, 2017.
- ↑ "Air France / El Al Begins Reciprocal Codeshare Partnership in NS24". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 11 March 2024. สืบค้นเมื่อ 11 March 2024.
- ↑ "Delta / El Al codeshare partnership from Jan 2024". AeroRoutes. 18 December 2023.
- ↑ "EL al Israel, Etihad Air Sign MoU on Codeshare, Loyalty Program". MSN.
- ↑ "Hong Kong Airlines and EL AL Israel Airlines announce reciprocal codeshare agreement". TravelDailyNews International. 6 June 2018.
- ↑ "El Al/KLM begins codeshare from mid-July 2024". aeroroutes.com. 22 July 2024.
- ↑ "El Al / LOT Polish Airlines begins codeshare service from late-Dec 2018". Routesonline.
- ↑ Liu, Jim (7 September 2017). "El Al / Qantas codeshare partnership begins in Sep 2017". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017.
- ↑ "El Al / SAS Begins Codeshare Partnership From Feb 2024". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 29 January 2024. สืบค้นเมื่อ 29 January 2024.
- ↑ Liu, Jim (10 November 2017). "El Al / TAP Air Portugal begins codeshare service from Oct 2017". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 10 November 2017.
- ↑ Liu, Jim (4 October 2017). "El Al / THAI expands codeshare service from Oct 2017". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 5 October 2017.
- ↑ Liu, Jim (23 July 2024). "El Al Expands THAI Codeshare to Japan From August 2024". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 23 July 2024.
- ↑ Liu, Jim (12 November 2018). "El Al / Vietnam Airlines begins codeshare partnership from Nov 2018". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 12 November 2018.
- ↑ Scheer, Steven (3 June 2024). "Israel's El Al, UK's Virgin Atlantic sign code share deal for London flights". Reuters. สืบค้นเมื่อ 4 June 2024.
- ↑ Pallini, Thomas (2018-07-26). "El Al Goes Retro with New 787 Special Livery". Airline Geeks. สืบค้นเมื่อ 2018-08-23.
- ↑ 34.0 34.1 "Our Fleet". El Al. สืบค้นเมื่อ 21 May 2022.
- ↑ "El Al Israel Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-07.
- ↑ "Israel's El Al orders 20+11 B737 MAX". ch-aviation.com. สืบค้นเมื่อ 15 August 2024.
- ↑ "EL AL Israel Airlines Finalizes Order for up to 31 Boeing 737 MAX Jets" (Press release). Boeing. สืบค้นเมื่อ 15 August 2024.
- ↑ 38.0 38.1 "El Al Israel Airlines Outlines Re-configured Boeing 777 Operation From Aug 2023". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 19 July 2023. สืบค้นเมื่อ 19 July 2023.
- ↑ Kaminski-Morrow2023-08-10T10:12:00+01:00, David. "Israel's El Al starts services with first reconfigured 777-200ER". Flight Global (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-12.
- ↑ "El Al to raise $100m and buy 3 Dreamliners". Globes (ภาษาอังกฤษ). 2024-03-24. สืบค้นเมื่อ 2024-05-12.
- ↑ "Boeing Commercial Orders & Deliveries". The Boeing Company. 29 February 2024. สืบค้นเมื่อ 1 April 2024.
- ↑ Kaminski-Morrow, David (2022-10-18). "El Al offers to take additional 787-9 originally built for another customer". Flight Global (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
- ↑ אביטן, יותם (2024-03-14). "תצורת פנים חדשה בדרימליינר של אל על: איך זה יראה מבפנים?" [A new interior configuration in El Al's Dreamliner, how will it look on the inside?]. חדשות תעופה (ภาษาฮิบรู). สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
- ↑ Jeffrey, Rebecca (2023-11-13). "El Al introduces 737 freighter as conflict disrupts PAX flights". Air Cargo News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
- ↑ ch-aviation.com – El Al ends B737-700 operations 10 May 2016
- ↑ simpleflying.com - Final El Al Boeing 747 Flight To “Paint” An Aircraft In The Sky 3 November 2019
- ↑ - El Al Retires Last Cargo plane (Hebrew) - July 1st, 2019
- ↑ "EL AL Retiring the Last of its Boeing 757 Aircraft from Service | EL AL Airlines". Elal.co.il. 2012-11-26. สืบค้นเมื่อ 2013-07-04.
- ↑ aeronauticsonline.com – El Al Retires Last Boeing 767 เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 5 February 2019
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ (ฮีบรู)