อาการท้องผูก

(เปลี่ยนทางจาก Constipation)

อาการท้องผูก[8] (อังกฤษ: constipation) หมายถึงการถ่ายอุจจาระไม่บ่อยหรือยาก[2]อุจจาระบ่อยครั้งจะแข็งและแห้ง[4] อาการอื่น ๆ ที่อาจมีรวมปวดท้อง ท้องขึ้น (bloating) และรู้สึกเหมือนกับว่ายังถ่ายไม่หมด[3] ภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งโรคริดสีดวงทวาร แผลทวารหนัก (anal fissure) และอุจจาระอัดแน่น (fecal impaction)[4] ความถี่การถ่ายอุจจาระปกติของผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 3 ครั้งต่อวัน จนถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์[4] ส่วนทารกบ่อยครั้งจะถ่าย 3-4 ครั้งต่อวัน และเด็กเล็ก ๆ ปกติจะถ่าย 2-3 ครั้งต่อวัน[9]

อาการท้องผูก
(Constipation)
ชื่ออื่นCostiveness[1], dyschezia[2]
ภาพเอ็กซเรย์แสดงอาการท้องผูกในเด็ก วงกลมแสดงอุจจาระ (อุจจาระสีขาวล้อมรอบด้วยแก๊สลำไส้สีดำ)
สาขาวิชาวิทยาทางเดินอาหาร
อาการถ่ายไม่บ่อยหรือยาก ปวดท้อง ท้องขึ้น[3][2]
ภาวะแทรกซ้อนริดสีดวงทวารหนัก แผลทวารหนัก อุจจาระอัดแน่น[4]
สาเหตุอุจจาระเคลื่อนไปได้ช้าในลำไส้ใหญ่, กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS), celiac disease[A], การแพ้กลูเตน (NCGS)[B], ความผิดปกติของฐานเชิงกราน (pelvic floor disorders)[4][5][6]
ปัจจัยเสี่ยงภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, โรคเบาหวาน, โรคพาร์คินสัน, โรคเกี่ยวกับกลูเตน, มะเร็งลำไส้ใหญ่, diverticulitis[C], โรคลำไส้อักเสบ (IBD), ยาบางชนิด[4][5][6]
การรักษาดื่มน้ำให้พอ ทานใยอาหารเพิ่ม ออกกำลังกาย[4]
ยายาระบายแบบเพิ่มเนื้ออุจจาระ, แบบเพิ่มน้ำ (osmotic agent), แบบทำอุจจาระให้นิ่ม, หรือแบบหล่อลื่น[4]
ความชุก2-30%[7]

ท้องผูกมีเหตุหลายอย่าง[4] เหตุสามัญรวมทั้งอุจจาระเคลื่อนไปในลำไส้ใหญ่ช้าเกินไป, กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น, และความผิดปกติของฐานเชิงกราน (pelvic floor disorders)[4] โรคที่เป็นมูลฐานของอาการรวมทั้งภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, โรคเบาหวาน, โรคพาร์คินสัน, celiac disease[A], การแพ้กลูเตน (NCGS)[B], มะเร็งลำไส้ใหญ่, diverticulitis[C], และโรคลำไส้อักเสบ (IBD)[4][17][5][6] ยาที่ทำให้ท้องผูกรวมทั้งโอปิออยด์ ยาลดกรดบางชนิด แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ และ anticholinergics[4] ในบรรดาคนไข้ที่ทานยาโอปิออยด์ ประมาณ 90% จะท้องผูก[18] ท้องผูกน่าเป็นห่วงยิ่งขึ้นถ้าน้ำหนักลดหรือโลหิตจาง, มีเลือดในอุจจาระ, ครอบครัวมีประวัติโรคลำไส้อักเสบ (IBD) หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่, หรือเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ในผู้สูงอายุ[19]

การรักษาจะขึ้นอยู่กับเหตุและระยะเวลาที่เป็นมาแล้ว[4] พฤติกรรมที่อาจช่วยรวมทั้งการดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานใยอาหารเพิ่ม และออกกำลังกาย[4] ถ้านี่ยังไม่ได้ผล ก็แนะนำให้ใช้ยาระบายต่าง ๆ ทั้งแบบเพิ่มเนื้ออุจจาระ, แบบเพิ่มน้ำ (osmotic agent), แบบทำอุจจาระให้นิ่ม, หรือแบบหล่อลื่น[4] ส่วนยาระบายแบบ stimulant ที่กระตุ้นเยื่อเมือกลำไส้หรือข่ายประสาทลำไส้ เปลี่ยนการหลั่งน้ำและอิเล็กโทรไลต์ และเปลี่ยนการบีบตัวของลำไส้ จะเก็บไว้ใช้เป็นอย่างสุดท้ายถ้าอย่างอื่นไม่ได้ผล[4] การรักษาอย่างอื่นรวมทั้ง biofeedback (การวัดการตอบสนองทางสรีรภาพด้วยเครื่องมือโดยมีจุดประสงค์เพื่อจะควบคุมการตอบสนองเช่นนั้น ๆ) หรือในกรณีที่น้อยมาก การผ่าตัด[4]

ในกลุ่มประชากรทั่วไป อัตราการท้องผูกอยู่ที่ 2-30%[7] ส่วนสำหรับผู้สูงอายุในบ้านคนชรา อัตราจะอยู่ที่ 50-75%[18]

นิยาม แก้

 
รูปแบบอุจจาระ จากบนลงล่าง (1) เป็นก้อนต่างหาก ๆ และแข็ง - ท้องผูกมาก (2) เป็นก้อน ๆ มีรูปคล้ายกับไส้กรอก - ท้องผูกเบา ๆ (3) เป็นรูปไส้กรอกมีผิวแตก - ปกติ (4) เป็นรูปไส้กรอกหรืองูมีผิวเรียบ - ปกติ (5) เป็นก้อนนิ่ม ๆ มีขอบเรียบ - ขาดใยอาหาร (6) เละ ๆ มีขอบกะรุ่งกะริ่ง - ท้องร่วงเบา ๆ (7) เป็นน้ำไม่เป็นก้อนเลย - ท้องร่วงหนัก

ท้องผูกเป็นอาการแต่ไม่ใช่โรค บ่อยครั้งที่สุดพิจารณาว่า เป็นการถ่ายไม่บ่อยพอ คือถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่ออาทิตย์[20][21] อย่างไรก็ดี คนที่มีอาการอาจมีปัญหาอื่น ๆ รวมทั้ง[3][22]

  • ต้องเบ่งถ่ายอุจจาระ
  • ถ่ายใช้เวลามาก
  • อุจจาระแข็ง
  • เจ็บเมื่อถ่ายเพราะเบ่ง
  • ปวดท้อง
  • ท้องขึ้น (bloating)
  • รู้สึกเหมือนถ่ายยังไม่หมด

เกณฑ์วิธีคือ Rome Criteria เป็นอาการต่าง ๆ ที่ช่วยวินิจฉัยอาการท้องผูกในคนกลุ่มอายุต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐาน และช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้ตามมาตรฐาน

เหตุ แก้

เหตุของอาการท้องผูกอาจแบ่งออก (1) เป็นแต่กำเนิด (2) ปฐมภูมิ (3) ทุติยภูมิ[2] แบบที่สามัญที่สุดก็คือปฐมภูมิ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต[23] เหตุยังสามารถแบ่งตามอายุเช่นในเด็ก และผู้ใหญ่

ท้องผูกปฐมภูมิหรือท้องผูกโดยหน้าที่ (functional constipation) เป็นอาการที่นานกว่า 6 เดือนโดยไม่มีเหตุต่าง ๆ รวมทั้งผลข้างเคียงของยา หรือผลของโรคอื่น ๆ[2][24] ไม่มีการปวดท้อง และดังนั้นจึงต่างกับกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น[2] เป็นอาการท้องผูกแบบสามัญที่สุด และบ่อยครั้งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง[23][25]

ในผู้ใหญ่ เหตุหลัก ๆ ก็คือ การทานอาหาร เช่น ไม่ได้ใยอาหารและน้ำพอ หรือเกิดจากพฤติกรรม เช่น อยู่เฉย ๆ มากเกินไป ในผู้สูงอายุ เหตุสามัญที่อ้างรวมทั้งการทานใยอาหารไม่เพียงพอ ทานน้ำไม่เพียงพอ อยู่เฉย ๆ มากเกินไป ผลข้างเคียงของยา ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ขวางทางอุจจาระ[26] อย่างไรก็ดี หลักฐานว่าเป็นปัจจัยเหล่านี้จริง ๆ ก็อ่อนมาก[26]

เหตุทุติยภูมิรวมทั้งผลข้างเคียงของยาเช่น สารฝิ่น, โรคต่อมไร้ท่อและโรคทางเมแทบอลิซึม เช่น ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ และสิ่งที่ขวางทางอุจจาระ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่[25] celiac disease[A] และการแพ้กลูเตน (NCGS)[B] ก็อาจมีอาการท้องผูกด้วย[5][27][6]

กระเพาะปัสสาวะเลื่อนเข้าไปในช่องคลอด (cystocele)[D] อาจเกิดโดยเป็นผลของท้องผูกเรื้อรัง[28]

อาหาร แก้

ท้องผูกอาจมีเหตุจากหรือแย่ลงเพราะอาหารที่มีใยอาหารน้อย การทานน้ำน้อย หรือการควบคุมอาหาร[22][29] อาหารที่มีใยอาหารสูงจะช่วยลดเวลาการดำเนินผ่านลำไส้ใหญ่ และเพิ่มเนื้ออุจจาระโดยทำให้มันนิ่มไปด้วยพร้อม ๆ กัน ดังนั้น อาหารที่มีใยอาหารต่ำอาจนำไปสู่อาการท้องผูกปฐมภูมิ[25]

ยา แก้

ยาหลายอย่างมีผลข้างเคียงเป็นอาการท้องผูก รวมทั้ง (แต่ไม่จำกัดแค่) โอปิออยด์, ยาขับปัสสาวะ, ยาแก้ซึมเศร้า, สารต้านฮิสตามีน, ยาแก้เกร็ง, ยากันชัก, ยาแก้ซึมเศร้าแบบ tricyclic, ยาปรับการเต้นหัวใจ (antiarrythmic), beta-adrenoceptor antagonists, ยาแก้ท้องร่วง, 5-HT3 receptor antagonist เช่น ondansetron, และยาลดกรดที่เป็นอะลูมิเนียม[22][30]แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์บางชนิด เช่น nifedipine และ verapamil สามารถทำให้ท้องผูกมากเนื่องจากการเคลื่อนไหวเอง (motility) ที่ผิดปกติของลำไส้ใหญ่ที่ไส้ตรงและไส้คด (rectosigmoid colon)[31] อาหารเสริมเช่นแคลเซียมและธาตุเหล็กก็มีผลข้างเคียงเด่นอย่างหนึ่งเป็นอาการท้องผูก

โรค แก้

ปัญหาทางเมแทบอลิซึมและต่อมไร้ท่อที่อาจทำให้ท้องผูกรวมทั้งภาวะแคลเซียมสูงเกินในเลือด, ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงเกินในเลือด (hyperparathyroidism), porphyria[E], โรคไตเรื้อรัง, pan-hypopituitarism, โรคเบาหวาน, และซิสติก ไฟโบรซิส[22][23] อาการท้องผูกยังสามัญในบุคคลที่มีโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน (muscular dystrophy) และ myotonic dystrophy[F][22] โรคทั้งกายที่อาจมีอาการท้องผูกรวมทั้ง celiac disease[A] และโรคหนังแข็ง[5][27][36]

อาการท้องผูกยังเกิดพร้อมกับปัญหาทางกายภาพ (ไม่ว่าจะโดยเชิงกล โดยโครงสร้าง หรือโดยกายวิภาค) เพราะสร้างรอยโรคซึ่งกินเนื้อที่ในลำไส้ใหญ่และขวางทางเดินของอุจจาระ ปัญหาเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่, ลำไส้ตีบ, ไส้ตรงยื่นย้อย, ความเสียหายของหูรูดทวารหนัก, สภาวะวิรูปที่ส่วนต่าง ๆ, หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลังจากผ่าตัด ก้อนเนื้อนอกลำไส้ เช่น มะเร็งในที่อื่น ๆ ก็อาจทำให้ท้องผูกเพราะกดลำไส้[37]

อาการท้องผูกยังมีเหตุทางประสาท รวมทั้ง anismus[G], ฝีเย็บย้อย (descending perineum syndrome)[H], และ Hirschsprung's disease (HD)[I][7] ในทารก HD เป็นความผิดปกติที่สามัญที่สุดเมื่อท้องผูก แต่ anismus ก็เกิดในคนหมู่น้อยที่ท้องผูกอย่างเรื้อรัง หรืออุจจาระถูกขวาง[40]

รอยโรคที่ไขสันหลังและความผิดปกติทางประสาท เช่น โรคพาร์คินสัน และการทำหน้าที่ผิดปกติของฐานเชิงกราน (pelvic floor dysfunction)[23] ก็สามารถทำให้ท้องผูกได้เหมือนกัน

เหตุทางจิต แก้

การกลั้นอุจจาระไว้ก็เป็นเหตุที่สามัญของท้องผูก[22] เหตุผลที่อั้นไว้ก็อาจจะเป็นเพราะกลัวเจ็บ ไม่อยากใช้ห้องน้ำสาธารณะ หรือขี้เกียจ[22] ถ้าเด็กอั้นอุจจาระไว้ การให้กำลังใจ ให้น้ำดื่ม ให้ใยอาหาร และให้ยาระบาย อาจช่วยแก้ปัญหา[41] การแก้ปัญหาตั้งแต่เนิ่นเป็นเรื่องสำคัญเพราะนี่อาจก่อแผลที่ทวารหนัก (anal fissure)[42]

เหตุแต่กำเนิด แก้

ความผิดปกติแต่กำเนิดอาจมีผลเป็นอาการท้องผูกในเด็ก โดยรวม ๆ แล้วนี่เป็นเหตุไม่สามัญของอาการ ชนิดที่เป็นเหตุสามัญที่สุดก็คือ Hirschsprung’s disease (HD)[I][43] ยังมีความผิดปกติทางโครงสร้างอื่น ๆ ที่ทำให้ท้องผูก รวมทั้งการย้ายที่ของทวารหนักมาทางด้านหน้า ทวารหนักไม่มีช่อง ลำไส้ตีบ และ small left colon syndrome[44]

 
ภาพเอ็กซ์เรย์ของเด็กอายุ 8 ขวบ แสดงท้องผูกค่อนข้างมาก

วิธีการวินิจฉัย แก้

การวินิจฉัยมักจะทำอาศัยคำบอกอาการของคนไข้ อุจจาระที่ถ่ายยาก แข็งมาก หรือเป็นเม็ดแข็ง ๆ เล็ก ๆ (คล้ายกับขี้กระต่าย) จัดว่าเป็นท้องผูก แม้จะถ่ายเช่นนี้ทุกวัน แต่อาการท้องผูกโดยปกติก็จะนิยามว่า เป็นการถ่ายอุจจาระ 3 ครั้งหรือน้อยกว่าต่ออาทิตย์[20] อาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับท้องผูกรวมทั้งท้องขึ้น ท้องพอง ปวดท้อง ปวดศีรษะ ล้า หมดแรง หรือรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด[45] แม้แพทย์อาจจะวินิจฉัยว่าท้องผูก แต่ปกติก็จัดเป็นอาการที่จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุ

รายละเอียด แก้

แพทย์จะแยกแยะอาการแบบฉับพลัน (เป็นแล้วหลายวันถึงหลายอาทิตย์) หรือแบบเรื้อรัง (เป็นเดือน ๆ จนถึงปี ๆ) เพราะข้อมูลนี้จะเปลี่ยนการวินิจฉัยแยกโรค อาการอื่น ๆ ที่เป็นร่วมกันก็จะช่วยให้แพทย์กำหนดเหตุของอาการได้ คนไข้มักกล่าวถึงอาการท้องผูกว่า ถ่ายยาก อุจจาระแข็งเป็นก้อน ๆ หรือแข็งไปทั่ว และต้องเบ่งมากเมื่อถ่าย อาการท้องขึ้น (bloating) ท้องพอง (abdominal distension) และปวดท้องมักจะมีพร้อมกับท้องผูก[46] ท้องผูกเรื้อรัง (มีอาการอย่างน้อย 3 ครั้งต่อเดือนมากกว่า 3 เดือน) ที่สัมพันธ์กับความไม่สบายท้องมักจะวินิจฉัยเป็นกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS) เมื่อไม่พบสาเหตุอื่น ๆ[47]

การทานอาหารที่ไม่ถูกสุขภาพ การผ่าตัดในอดีต หรือยาบางชนิดอาจมีบทบาทต่ออาการ โรคที่สัมพันธ์กับท้องผูกรวมทั้งภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ มะเร็งบางอย่าง และ IBS การทานอาหารที่มีใยอาหารน้อย ดื่มน้ำไม่พอ การอยู่เฉย ๆ เกินไป หรือยา ก็ล้วนแต่อาจมีบทบาทต่อท้องผูก[22][29] เมื่อแพทย์กำหนดว่าเป็นท้องผูกตามอาการดังที่กล่าวแล้ว ก็อาจพยายามหาเหตุต่อไป

การแยกเหตุที่เบากับเหตุที่หนักอาจทำได้ส่วนหนึ่งตามอาการ ยกตัวอย่างเช่น แพทย์อาจสงสัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ถ้าคนไข้มีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว เป็นไข้ น้ำหนักลด และเลือดออกทางทวารหนัก[20] อาการน่าเป็นห่วงอื่น ๆ รวมทั้งประวัติ IBS ส่วนตัวหรือของครอบครัว การเริ่มมีอาการหลังอายุ 50 ปี การเปลี่ยนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของอุจจาระ คลื่นไส้ อาเจียน และอาการทางประสาท เช่น อ่อนแรง ชา และมีปัญหาถ่ายปัสสาวะ[46]

การตรวจร่างกาย แก้

การตรวจร่างกายอย่างน้อยควรจะมีการตรวจท้องและตรวจไส้ตรง เพราะการตรวจท้องอาจพบก้อนในท้องถ้ามีอุจจาระมากและอาจพบจุดที่ท้องไม่สบาย การตรวจไส้ตรงจะทำให้รู้ถึงความตึงแน่นของหูรูดทวารหนัก และเพื่อดูว่า ไส้ตรงส่วนล่างมีอุจจาระหรือไม่ อีกทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสม่ำเสมอของอุจจาระ ว่ามีริดสีดวง มีเลือด และมีความผิดปกติต่าง ๆ ที่ฝีเย็บร่วมทั้งติ่งเนื้อ แผล หรือหูด หรือไม่[29][22][20] ข้อมูลที่ได้อาจช่วยแนะว่าควรจะตรวจวินิจฉัยเพิ่มขึ้นหรือไม่

การตรวจเพิ่ม แก้

ท้องผูกโดยหน้าที่ (functional constipation) คือไม่มีเหตุทางกาย เป็นเรื่องสามัญ จึงไม่จำเป็นต้องตรวจเพิ่ม (diagnostic testing) การถ่ายภาพหรือการทดสอบทางแล็บอื่น ๆ ปกติจะแนะนำสำหรับคนไข้ที่มีอาการน่าเป็นห่วง[20] การทดสอบในแล็บที่ใช้จะขึ้นอยู่กับเหตุของอาการท้องผูกที่สงสัย ซึ่งอาจรวมการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ การตรวจเลือดรวมทั้งระดับแคลเซียม โพแทสเซียมเป็นต้น[22][20]การถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ที่ท้อง (AXR) โดยทั่วไปจะทำเมื่อสงสัยการอุดตันในลำไส้ หรืออุจจาระอัดแน่นในลำไส้ใหญ่ และอาจยืนยันหรือกันเหตุอื่น ๆ ที่มีอาการคล้าย ๆ กัน[29][22] การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) อาจทำถ้าสงสัยความผิดปกติในลำไส้ใหญ่เช่นเนื้องอก[20] การตรวจที่แพทย์ไม่ค่อยสั่งรวมทั้งการบีบตัวของไส้ตรงและทวารหนัก (anorectal manometry), การบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก (sphincter electromyography), และ defecography (การดูภาพรังสีบนจอเมื่อถ่ายอุจจาระ)[22]

ลำดับคลื่นความดันแผ่กระจาย (propagating pressure wave sequence, PS) ของลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นตัวการค่อย ๆ ขยับสิ่งที่อยู่ลำไส้ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการถ่ายอุจจาระปกติ ความบกพร่องในความถี่ ความแรง และส่วนลำไส้ที่เกิด PS ล้วนแต่เป็นหตุให้เกิดการถ่ายผิดปกติอย่างรุนแรง (severe defecatory dysfunction, SDD) วิธีการที่ช่วยบรรเทารูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติเยี่ยงนี้อาจช่วยแก้ปัญหา งานปี 2007 ได้ลองใช้การบำบัดใหม่ที่เรียกว่า การกระตุ้นประสาทใต้กระเบนเหน็บ (sacral nerve stimulation, SNS) เพื่อรักษาท้องผูกแบบรุนแรง[48]

เกณฑ์วินิจฉัย แก้

เกณฑ์ Rome III เพื่อวินิจฉัยท้องผูกโดยหน้าที่ต้องรวมอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 อย่างและต้องมีใน 3 เดือนที่ผ่านมา อีกทั้งอาการได้เริ่มขึ้นอย่างน้อย 6 เดือนก่อนจะวินิจฉัย[20]

  • ต้องเบ่งถ่ายอุจจาระอย่างน้อย 25%
  • อุจจาระเป็นก้อน ๆ หรือแข็งอย่างน้อย 25%
  • ความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดอย่างน้อย 25%
  • ความรู้สึกว่ามีอะไรขวางไส้ตรง-ทวารหนักอย่างน้อย 25%
  • การต้องใช้มือช่วยถ่ายอย่างน้อย 25%
  • ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • อุจจาระที่ไม่อัดแน่นมีน้อยมากถ้าไม่ใช้ยาระบาย
  • ไม่มีอาการพอให้วินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS)

การป้องกัน แก้

ท้องผูกป้องกันได้ง่ายกว่ารักษา เมื่อท้องผูกบรรเทาแล้ว การดูแลไม่ให้เกิดโรคอีกก็คือให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานน้ำให้เพียงพอ และทานอาหารมีใยอาหารสูง[22]

การรักษา แก้

มีเหตุจำกัดจำนวนหนึ่งที่จำเป็นต้องรีบรักษา ไม่เช่นนั้นจะมีผลรุนแรง[3] ท้องผูกควรรักษาที่เหตุถ้ารู้ องค์การอนามัยสหราชอาณาจักรคือ NICE ได้แยกท้องผูกในผู้ใหญ่ออกเป็นสองหมวด คือ แบบเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ และที่เกิดจากยาฝิ่น[49]

สำหรับท้องผูกเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ การรักษาหลักก็โดยดื่มน้ำเพิ่มและทานใยอาหารเพิ่ม ไม่ว่าจะโดยเปลี่ยนอาหารหรือทานอาหารเสริม[23] การใช้ยาระบายเป็นปกติไม่แนะนำ เพราะอาจจะกลายเป็นต้องใช้ยาเพื่อจะถ่าย การสวนทวารสามารถใช้กระตุ้นการถ่าย การสวนทวารแบบใช้น้ำมาก[50] อาจใช้เพื่อล้างอุจจาระจากลำไส้ใหญ่ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้[51][52] อย่างไรก็ดี การสวนทวารหนักแบบใช้น้ำน้อยปกติจะช่วยระบายอุจจาระในไส้ตรงเท่านั้น ไม่ได้กำจัดอุจจาระที่อยู่ในลำไส้[53]

ใยอาหารเสริม แก้

อาหารเสริมที่มีใยอาหารแบบละลายได้เช่น ซิลเลียม (psyllium) โดยทั่วไปจัดเป็นการรักษาอันดับแรกสำหรับท้องผูกเรื้อรัง เทียบกับใยอาหารที่ละลายไม่ได้เช่น รำข้าว ผลข้างเคียงของใยอาหารเสริมรวมทั้งท้องขึ้น (bloating) ท้องอืด ท้องร่วง และการดูดซึมธาตุเหล็ก แคลเซียม และยาบางอย่างได้ผิดปกติ อย่างไรก็ดี คนไข้ที่ท้องผูกเนื่องจากยาฝิ่นปกติจะไม่ได้ประโยชน์จากใยอาหารเสริม[42]

ยาระบาย แก้

เมื่อใช้ยาระบาย แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ หรือโพลีเอทิลีนไกลคอล (polyethylene glycol) แนะนำเป็นอันดับแรกเพราะราคาถูกและปลอดภัย[3] ยาแบบกระตุ้น (stimulant) ควรใช้ต่อเมื่อนี่ไม่ได้ผล[23] ในท้องผูกเรื้อรัง โพลีเอทิลีนไกลคอลดูเหมือนจะได้ผลดีกว่าแล็กทูโลส[54]ยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ (prokinetic) อาจช่วยปรับการบีบตัว (motility) ของทางเดินอาหาร

ยังมียาใหม่ ๆ ที่ได้ผลดีสำหรับท้องผูกเรื้อรัง รวมทั้ง prucalopride[55] และ lubiprostone[56] ส่วนยาเพิ่มการบีบตัวของทางเดินอาหารส่วนบน คือ cisapride มีขายอย่างแพร่หลายในประเทศกำลังพัฒนา แต่ได้เลิกขายในประเทศตะวันตกโดยมากแล้ว เพราะไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์แก่ท้องผูก และอาจสร้างปัญหาหัวใจเสียจังหวะและทำให้ถึงตายได้[57]

การใช้กายช่วย แก้

ท้องผูกที่ดื้อวิธีรักษาที่กล่าวมาแล้วอาจจะต้องใช้กายช่วย เช่น การเอาอุจจาระที่อัดแน่นออกด้วยมือ การออกกำลังกายสม่ำเสมอก็อาจช่วยทำให้ท้องผูกเรื้อรังดีขึ้นด้วย[58]

การผ่าตัด แก้

ในกรณีที่รักษาไม่หาย หัตถการบางอย่างอาจช่วยบรรเทาอาการ การกระตุ้นประสาทใต้กระเบนเหน็บ (sacral nerve stimulation) พบว่ามีประสิทธิผลในกรณีส่วนน้อยจำนวนหนึ่ง การตัดลำไส้ใหญ่ (colectomy) เปิดช่องระหว่างลำไส้เล็กส่วนปลายกับไส้ตรง (ileorectal anastomosis) จะทำกับแต่คนไข้ที่รู้ว่าอุจจาระผ่านลำไส้ใหญ่ไปได้ช้า และได้รักษาความผิดปกติในการถ่ายอุจจาระไปแล้ว หรือว่าไม่มีโรคเช่นนั้น[3] แต่เพราะนี่เป็นการผ่าตัดใหญ่ ผลข้างเคียงอาจรวมการปวดท้องมาก การอุดตันในลำไส้เล็ก และการติดเชื้อหลังผ่าตัด นอกจากนั้น ยังมีอัตราความสำเร็จที่ต่าง ๆ กัน โดยขึ้นอยู่กับกรณีคนไข้เป็นอย่างยิ่ง[42]

พยากรณ์โรค แก้

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากท้องผูกรวมทั้งโรคริดสีดวงทวาร แผลทวารหนัก (anal fissure) ไส้ตรงปลิ้น และอุจจาระอัดแน่น[22][29][59][60] การเบ่งถ่ายอุจจาระอาจทำให้เป็นริดสีดวงทวารหนัก ในระยะหลัง ๆ ของอาการท้องผูก ท้องเองอาจจะป่อง แข็ง และกดเจ็บโดยกระจายไปทั่ว กรณีที่รุนแรง (เช่น เมื่ออุจจาระอัดแน่น หรือเป็น "ท้องผูกแบบร้าย") อาจมีอาการของการอุดตันในลำไส้ (เวียนศีรษะ อาเจียน ท้องกดเจ็บ) และอาการอุจจาระรด (encopresis) ที่อุจจาระนิ่มจะไหลอ้อมอุจจาระแข็งในลำไส้ใหญ่แล้วไหลออกจากทวารหนักแบบกลั้นไม่ได้

การระบาด แก้

อาการท้องผูกเป็นความผิดปกติทางเดินอาหารเรื้อรังซึ่งสามัญที่สุดในผู้ใหญ่ คือเกิดกับประชากร 2-20% โดยขึ้นอยู่กับนิยามที่ใช้[23][61] มันสามัญกว่าในหญิง ผู้สูงอายุ และเด็ก[61] โดยเฉพาะท้องผูกที่ไม่มีสาเหตุ ซึ่งเกิดในหญิงมากกว่าชาย[62] เหตุผลที่เกิดในผู้สูงอายุมากกว่าเชื่อว่า เพราะมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ มากขึ้นเหตุสูงอายุและออกกำลังน้อยลง[24]

  • ประชากร 12% ทั่วโลกรายงานว่ามีท้องผูก[63]
  • ท้องผูกเรื้อรังทำให้เด็กต้องไปแผนกผู้ป่วยนอก (กุมารเวช) 3% ในแต่ละปี[22]
  • ในสหรัฐ การพยาบาลรักษาอาการเกี่ยวกับท้องผูกมีค่าใช้จ่ายถึง 6,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (277,270 ล้านบาทในปี 2000) ต่อปี[23]
  • คนอเมริกันมากกว่า 4 ล้านคน (ในบรรดาประมาณ 309 ล้านคน) ท้องผูกบ่อย ทำให้ไปหาแพทย์ 2.5 ครั้งต่อปี[60]
  • ในสหรัฐ มีการซื้อยาระบายเป็นมูลค่า 725 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 23,488 ล้านบาทปี 2007) ต่อปี[60]
 
การ์ตูนเสียดสีคริสต์ทศวรรษที่ 19 แสดงลิงที่ไม่เอาวิธีการสวนทวารเก่า โดยเอาแต่วิธีการสวนทวารใหม่ที่ใช้ขนมมาร์ชเมลโลว์กับฝิ่น

ประวัติ แก้

ตั้งแต่สมัยโบราณ สังคมต่าง ๆ ได้บันทึกความเห็นของแพทย์ว่าควรจะรักษาอาการท้องผูกในคนไข้อย่างไร[64] หมอในเวลาต่าง ๆ และในที่ต่าง ๆ ได้อ้างว่า ท้องผูกมีเหตุทางการแพทย์หรือเหตุทางสังคมต่าง ๆ นา ๆ[64] และได้รักษาด้วยวิธีที่สมเหตุผลหรือไม่สมเหตุสมผล (เช่น ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Spatula Mundani[J])[64]

ต่อมาหลังจากเกิดทฤษฎีการเกิดโรคเหตุเชื้อโรค แนวคิดของการทำพิษให้ตนเอง (auto-intoxication) ก็กลายเป็นเรื่องนิยมในความคิดชนตะวันตก[64] การสวนทวารจึงกลายเป็นวิธีการรักษา "ทางวิทยาศาสตร์" และการล้างลำไส้ใหญ่ซึ่งเคยเป็นวิธีการแพทย์ทางเลือกก็กลายเป็นเรื่องสามัญในการแพทย์หลัก[64] ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1700 ยังมีแนวคิดยอดนิยมในชาวตะวันตกว่า คนที่ท้องผูกมีปัญหาทางศีลธรรมในเรื่องการกินไม่เลือกและเกียจคร้าน[65]

กลุ่มพิเศษ แก้

เด็ก แก้

เด็กประมาณ 3% ท้องผูก โดยทั้งหญิงทั้งชายเท่ากัน[44] ท้องผูกเป็นเหตุให้ไปหากุมารแพทย์ทั่วไปประมาณ 5% และกุมารแพทย์ทางเดินอาหาร 25% ดังนั้น อาการนี้จึงเป็นภาระแก่ระบบสาธารณสุขออย่างสำคัญ[9]

แม้จะกำหนดช่วงอายุที่เกิดท้องผูกมากที่สุดได้ยาก แต่เด็กบ่อยครั้งจะท้องผูกเมื่อชีวิตเปลี่ยนไป ตัวอย่างรวมทั้งการฝึกใช้ส้วม การเริ่มหรือการย้ายโรงเรียน และการเปลี่ยนอาหาร[9] โดยเฉพาะในทารก การเปลี่ยนสูตรนมหรือการเปลี่ยนจากให้นมแม่ไปเป็นนมกระป๋องอาจเป็นเหตุให้ท้องผูก ยังดีว่า กรณีท้องผูกโดยมากไม่ใช่โรคจริง ๆ และการรักษาก็คือแค่บรรเทาอาการเท่านั้น[44]

มารดาหลังคลอด แก้

6 อาทิตย์หลังการตั้งครรภ์จัดเป็นระยะหลังคลอด (postpartum stage)[66] ในช่วงเวลานี้ หญิงจะเสี่ยงท้องผูกมากขึ้น งานศึกษาหลายงานได้ประเมินความชุกของท้องผูกที่ราว ๆ 25% ใน 3 เดือนแรก[67] ท้องผูกอาจทำให้หญิงไม่สบายเพิ่ม เพราะกำลังฟื้นสภาพจากการคลอดลูกโดยเฉพาะถ้าฝีเย็บฉีกหรือถ้าต้องผ่าขยายปากช่องคลอดเมื่อคลอดลูก[68]

ปัจจัยเสี่ยงต่อการท้องผูกในกลุ่มนี้รวมทั้ง[68]

  • กล้ามเนื้อฐานเชิงกราน (levator ani muscle) เสียหายเพราะคลอดลูก
  • ต้องใช้คีมเพื่อช่วยคลอดเด็ก
  • การคลอดระยะสองยาว
  • เด็กตัวโต
  • โรคริดสีดวงทวาร

โรคริดสีดวงทวารเป็นเรื่องสามัญเมื่อมีครรภ์ และอาจแย่ลงเมื่อท้องผูก ดังนั้น อะไรที่ทำให้เจ็บเมื่อถ่ายอุจจาระ (รวมทั้งริดสีดวง ฝีเย็บฉีก และแผลที่ผ่าขยายช่องคลอด) อาจทำให้ท้องผูกเพราะคนไข้อาจกลั้นอุจจาระเพื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บ[68] กล้ามเนื้อฐานเชิงกรานมีบทบาทสำคัญในการถ่ายอุจจาระ ดังนั้น เมื่อกล้ามเนื้อบาดเจ็บเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงดังที่ว่าบางอย่าง (เช่น เด็กตัวโต การคลอดระยะสองยาวนาน การใช้คีมช่วยคลอด) จะมีผลให้ท้องผูก[68] หญิงบางครั้งยังได้รับสวนทวารในช่วงการคลอด ที่อาจเปลี่ยนกระบวนการขับถ่ายของลำไส้หลังจากคลอดบุตรแล้ว[66] อย่างไรก็ดี ก็ยังไม่มีหลักฐานพอสรุปประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาระบายสำหรับคนไข้กลุ่มนี้[68]

เชิงอรรถ แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 coeliac disease หรือ celiac disease เป็นโรคภูมิต้านตนเองระยะยาวที่โดยหลักมีผลต่อลำไส้เล็กและเกิดในบุคคลที่มีปัจจัยทางพันธุกรรม[10] อาการคลาสสิกรวมทั้งปัญหาในทางเดินอาหารเช่นท้องร่วงเรื้อรัง ท้องป่อง ดูดซึมอาหารผิดปกติ ไม่อยากอาหาร และไม่โตตามวัยในเด็ก[11]
  2. 2.0 2.1 2.2 non-celiac gluten sensitivity (NCGS) หรือ gluten sensitivity[12] เป็น "โรค/อาการที่เกิดเนื่องจากการทานกลูเตน แล้วก่ออาการภายในลำไส้หรือนอกลำไส้ที่จะดีขึ้นหลังจากเลิกทานอาหารที่มีกลูเตน และได้กันโรค celiac disease และโรคแพ้ข้าวสาลีออกแล้ว"[13]
  3. 3.0 3.1 diverticulitis หรือ colonic diverticulitis เป็นโรคทางเดินอาหาร ที่ส่วนยื่นออกจากเยื่อเมือกและชั้นใต้เยื่อเมือกของลำไส้ใหญ่เนื่องจากกล้ามเนื้อผนังลำไส้ไม่แข็งแรง เกิดการอักเสบ[14] อาการปกติรวมการปวดท้องด้านล่างที่เกิดอย่างฉับพลัน แต่ก็อาจใช้เวลาเกิดเป็นเวลา 2-3 วัน[14] ในอเมริกาเหนือและยุโรป มักจะปวดท้องทางด้านซ้าย และในเอเชีย บ่อยครั้งจะปวดทางด้านขวา[15][16] บางครั้งจะเป็นไข้ คลื่นไส้ ท้องร่วง ท้องผูก หรือมีเลือดในอุจจาระ[14] และอาจเกิดอย่างซ้ำ ๆ[15]
  4. cystocele เป็นภาวะที่เกิดเมื่อผนังที่เป็นเส้นใยแข็งระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับช่องคลอด คือ pubocervical fascia ฉีก ทำให้กระเพาะปัสสาวะเลื่อนผ่านช่องเข้าไปในช่องคลอดได้
  5. porphyria เป็นกลุ่มโรค ที่สาร porphyrin สะสมแล้วก่อปัญหาที่ผิวหนังหรือระบบประสาท แบบที่มีผลต่อระบบประสาทยังเรียกด้วยว่า acute porphyria[32] ซึ่งมีอาการปวดท้อง เจ็บหน้าอก อาเจียน สับสน ท้องผูก เป็นไข้ และชัก[32][33] อาการเช่นนี้ปกติจะเป็น ๆ หาย ๆ เป็นวัน ๆ หรืออาทิตย์ ๆ อาการอาจจุดชนวนด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เครียด หรือยาบางชนิด ถ้ามีผลต่อผิวหนังด้วย เมื่อถูกแดดอาจเกิดตุ่มพองและคัน[33]
  6. myotonic dystrophy เป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่เป็นในระยะยาวและมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ อาการรวมทั้งการเสียกล้ามเนื้อที่แย่ลงเรื่อย ๆ และรู้สึกอ่อนแรง กล้ามเนื้อบ่อยครั้งจะหดเกร็งโดยไม่สามารถคลายได้[34] อาการอย่างอื่นอาจรวมต้อกระจก อ่อนสติปัญญา และปัญหาการนำไฟฟ้าในหัวใจ[34][35] ในชาย อาจจะหัวล้านก่อนวัยและเป็นหมัน[34]
  7. anismus หรือ dyssynergic defecation หมายถึงกล้ามเนื้อฐานเชิงกรานไม่คลายตัวเหมือนปกติเมื่อพยายามจะอุจจาระ
  8. ฝีเย็บย้อย (descending perineum syndrome หรือ levator plate sagging)[38] หมายถึงภาวะที่ฝีเย็บพองเป็นลูกโป่งขนาดหลายเซนติเมตรลงจากช่องกระดูกของเชิงกรานเมื่อเบ่งถ่ายอุจจาระ แม้การย้อยนี้ก็อาจเกิดโดยไม่ต้องเบ่งด้วย[39]
  9. 9.0 9.1 Hirschsprung's disease เป็นรูปแบบหนึ่งของ megacolon (ลำไส้ใหญ่บวมเกินปกติ) ที่เกิดเมื่อลำไส้ใหญ่บางส่วนหรือทั้งหมด หรือโครงสร้างที่เกิดขึ้นก่อนพัฒนาเป็นทางเดินอาหาร ไม่มี ganglion cells และดังนั้น จึงไม่สามารถทำงานได้
  10. Spatula Mundani เป็นอุปกรณ์เหล็กที่ยาวประมาณ 12 นิ้ว ข้างหนึ่งมีรูปร่างเหมือนไม้พาย อีกข้างหนึ่งเหมือนช้อนแต่ตรงกลางเอาออกและปลายสุดเป็นลูกตุ้ม ส่วนที่เป็นช้อนเอาไว้คว้านอุจจาระแข็งออก อีกข้างหนึ่งเอาไว้สำหรับทายา ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะต้องทาหลังจากทำหัตถการด้วยเครื่องมือนี้ เป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์โดยศัลยแพทย์ชาวลอนดอน James Woodall

อ้างอิง แก้

  1. "Costiveness - Definition and More from the Free Merriam-Webster Dictionary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Chatoor, D; Emmnauel, A (2009). "Constipation and evacuation disorders". Best Pract Res Clin Gastroenterol. 23 (4): 517–30. doi:10.1016/j.bpg.2009.05.001. PMID 19647687.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 American Gastroenterological Association,; Bharucha, AE; Dorn, SD; Lembo, A; Pressman, A (January 2013). "American Gastroenterological Association medical position statement on constipation". Gastroenterology (Review). 144 (1): 211–217. doi:10.1053/j.gastro.2012.10.029. PMID 23261064.{{cite journal}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 "Constipation". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2017. สืบค้นเมื่อ 14 March 2017.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Symptoms & Causes of Celiac Disease | NIDDK". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2017. สืบค้นเมื่อ 24 April 2017.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Makharia, A; Catassi, C; Makharia, GK (2015). "The Overlap between Irritable Bowel Syndrome and Non-Celiac Gluten Sensitivity: A Clinical Dilemma". Nutrients (Review). 7 (12): 10417–26. doi:10.3390/nu7125541. PMC 4690093. PMID 26690475.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 7.2 Andromanakos, N; Skandalakis, P; Troupis, T; Filippou, D (2006). "Constipation of anorectal outlet obstruction: Pathophysiology, evaluation and management". Journal of Gastroenterology and Hepatology. 21 (4): 638–646. doi:10.1111/j.1440-1746.2006.04333.x. PMID 16677147.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. "constipation", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, อาการท้องผูก
  9. 9.0 9.1 9.2 Colombo, Jennifer M.; Wassom, Matthew C.; Rosen, John M. (1 September 2015). "Constipation and Encopresis in Childhood". Pediatrics in Review. 36 (9): 392–401, quiz 402. doi:10.1542/pir.36-9-392. ISSN 1526-3347. PMID 26330473.
  10. "Celiac Disease". NIDDKD. June 2015. สืบค้นเมื่อ 17 March 2016.
  11. "Clinical presentation of celiac disease in the pediatric population". April 2005. PMID 15825129. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  12. "The Oslo definitions for coeliac disease and related terms". 2013. PMID 22345659. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  13. "Nonceliac gluten sensitivity". 2015. PMID 25583468. Since 2010, the definition of NCGS has been discussed at 3 consensus conferences, which led to 3 publications. Given the uncertainties about this clinical entity and the lack of diagnostic biomarkers, all 3 reports concluded that NCGS should be defined by the following exclusionary criteria: a clinical entity induced by the ingestion of gluten leading to intestinal and/or extraintestinal symptoms that resolve once the gluten-containing foodstuff is eliminated from the diet, and when celiac disease and wheat allergy have been ruled out. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  14. 14.0 14.1 14.2 "Diverticular Disease". niddk.nih.gov. September 2013.
  15. 15.0 15.1 "Diverticulosis today: unfashionable and still under-researched". 2016. PMID 26929783. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  16. Feldman, Mark (2010). Sleisenger & Fordtran's Gastrointestinal and liver disease pathophysiology, diagnosis, management (9th ed.). MD Consult. p. 2084. ISBN 9781437727678.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Bharucha, AE; Pemberton, JH; Locke GR, 3rd (January 2013). "American Gastroenterological Association technical review on constipation". Gastroenterology. 144 (1): 218–38. doi:10.1053/j.gastro.2012.10.028. PMC 3531555. PMID 23261065.
  18. 18.0 18.1 Canadian Agency for Drugs and Technologies in Health (26 June 2014). "Dioctyl Sulfosuccinate or Docusate (Calcium or Sodium) for the Prevention or Management of Constipation: A Review of the Clinical Effectiveness". PMID 25520993. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  19. Brenner, DM; Shah, M (June 2016). "Chronic Constipation". Gastroenterology clinics of North America. 45 (2): 205–16. doi:10.1016/j.gtc.2016.02.013. PMID 27261894.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 20.5 20.6 20.7 Jamshed, Namirah; Lee, Zone-En; Olden, Kevin W. (1 August 2011). "Diagnostic approach to chronic constipation in adults". American Family Physician. 84 (3): 299–306. ISSN 1532-0650. PMID 21842777.
  21. "Constipation". eMedicine. 29 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2007.
  22. 22.00 22.01 22.02 22.03 22.04 22.05 22.06 22.07 22.08 22.09 22.10 22.11 22.12 22.13 22.14 Walia, R; Mahajan, L; Steffen, R (October 2009). "Recent advances in chronic constipation". Curr Opin Pediatr. 21 (5): 661–6. doi:10.1097/MOP.0b013e32832ff241. PMID 19606041.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 23.6 23.7 Locke, GR; Pemberton, JH; Phillips, SF (December 2000). "American Gastroenterological Association Medical Position Statement: guidelines on constipation". Gastroenterology. 119 (6): 1761–6. doi:10.1053/gast.2000.20390. PMID 11113098.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  24. 24.0 24.1 Hsieh, C (December 2005). "Treatment of constipation in older adults". Am Fam Physician. 72 (11): 2277–84. PMID 16342852. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2012.
  25. 25.0 25.1 25.2 Basilisco, Guido; Coletta, Marina (2013). "Chronic constipation: A critical review". Digestive and Liver Disease. 45 (11): 886–893. doi:10.1016/j.dld.2013.03.016.
  26. 26.0 26.1 Leung, FW (February 2007). "Etiologic factors of chronic constipation: review of the scientific evidence". Dig. Dis. Sci. 52 (2): 313–6. doi:10.1007/s10620-006-9298-7. PMID 17219073.
  27. 27.0 27.1 "Celiac disease". World Gastroenterology Organisation Global Guidelines. July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2017. สืบค้นเมื่อ 23 April 2017.
  28. "Cystocele (Prolapsed Bladder) | NIDDK". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 McCallum, IJ; Ong, S; Mercer-Jones, M (2009). "Chronic constipation in adults". BMJ. 338: b831. doi:10.1136/bmj.b831. PMID 19304766.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  30. Selby, Warwick; Corte, Crispin (August 2010). "Managing constipation in adults". Australian Prescriber. 33 (4): 116–9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2011. สืบค้นเมื่อ 27 August 2010.
  31. Gallegos-Orozco, JF; Foxx-Orenstein, AE; Sterler, SM; Stoa, JM (January 2012). "Chronic constipation in the elderly". The American Journal of Gastroenterology (Review). 107 (1): 18–25. doi:10.1038/ajg.2011.349. PMID 21989145.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  32. 32.0 32.1 "porphyria". GHR. July 2009.
  33. 33.0 33.1 "Porphyria". NIDDK. February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2016. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
  34. 34.0 34.1 34.2 "myotonic dystrophy". GHR. 11 October 2016.
  35. "Myotonic dystrophies: An update on clinical aspects, genetic, pathology, and molecular pathomechanisms". 2015. PMID 24882752. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  36. Gyger, G; Baron, M (2015). "Systemic Sclerosis: Gastrointestinal Disease and Its Management". Rheum Dis Clin North Am (Review). 41 (3): 459–73. doi:10.1016/j.rdc.2015.04.007. PMID 26210129.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  37. Rao, Satish S. C.; Rattanakovit, Kulthep; Patcharatrakul, Tanisa (2016). "Diagnosis and management of chronic constipation in adults". Nature Reviews Gastroenterology & Hepatology. 13 (5): 295–305. doi:10.1038/nrgastro.2016.53.
  38. "Interest of retro-anal levator plate myorrhaphy in selected cases of descending perineum syndrome with positive anti-sagging test". 2008. doi:10.1186/1471-2482-8-13. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  39. "Perineal descent and patients' symptoms of anorectal dysfunction, pelvic organ prolapse, and urinary incontinence". 2010. doi:10.1007/s00192-010-1099-z. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  40. Schouten, WR; Briel, JW; Auwerda, JJ; van Dam, JH; Gosselink, MJ; Ginai, AZ; Hop, WC (1997). "Anismus: fact or fiction?". Diseases of the colon and rectum. 40 (9): 1033–1041. doi:10.1007/BF02050925. PMID 9293931.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  41. Cohn, A (2010). "Stool withholding" (PDF). Journal of Pediatric Neurology. 8 (1): 29–30. doi:10.3233/JPN-2010-0350. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 September 2011. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.
  42. 42.0 42.1 42.2 Bharucha, Adil E.; Pemberton, John H.; Locke, G. Richard (2013). "American Gastroenterological Association Technical Review on Constipation". Gastroenterology. 144 (1): 218–238. doi:10.1053/j.gastro.2012.10.028. PMC 3531555. PMID 23261065.
  43. Wexner, Steven (2006). Constipation: etiology, evaluation and management. New York: Springer.
  44. 44.0 44.1 44.2 Tabbers, M.M.; DiLorenzo, C.; Berger, M.Y.; Faure, C.; Langendam, M.W.; Nurko, S.; Staiano, A.; Vandenplas, Y.; Benninga, M.A. (2014). "Evaluation and Treatment of Functional Constipation in Infants and Children". Journal of Pediatric Gastroenterology and Nutrition. 58 (2): 265–281. doi:10.1097/mpg.0000000000000266.[ลิงก์เสีย]
  45. "Constipation". MedicineNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2007.
  46. 46.0 46.1 Tierney, LM; Henderson, MC; Smetana, GW (2012). The patient history : an evidence-based approach to differential diagnosis (2nd ed.). New York: McGraw-Hill Medical. p. Chapter 32. ISBN 9780071624947.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  47. Longstreth, GF; Thompson, WG; Chey, WD; Houghton, LA; Mearin, F; Spiller, RC (2006). "Functional bowel disorders". Gastroenterology. 130 (5): 1480–91. doi:10.1053/j.gastro.2005.11.061. PMID 16678561.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  48. Dinning, PG (September 2007). "Colonic manometry and sacral nerve stimulation in patients with severe constipation". Pelviperineology. 26 (3): 114–116. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2008.
  49. "Constipation overview". National Institute for Health and Car Excellence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2015. สืบค้นเมื่อ 10 October 2015.
  50. "high enema". Medical Dictionary. Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
  51. "Administering an Enema". Care of patients. Ternopil State Medical University. 14 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2018. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
  52. Cruz, Rhodora. "Types of Enemas". Fundamentals of Nursing Practice. Professional Education, Testing and Certification Organization International. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
  53. "low enema". Medical Dictionary. Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
  54. Lee-Robichaud, H; Thomas, K; Morgan, J; Nelson, RL (7 July 2010). "Lactulose versus Polyethylene Glycol for Chronic Constipation". Cochrane Database of Systematic Reviews (7): CD007570. doi:10.1002/14651858.CD007570.pub2. PMID 20614462.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  55. Camilleri, M; Deiteren, A (February 2010). "Prucalopride for constipation". Expert Opin Pharmacother. 11 (3): 451–61. doi:10.1517/14656560903567057. PMID 20102308.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  56. Barish, CF; Drossman, D; Johanson, JF; Ueno, R (April 2010). "Efficacy and safety of lubiprostone in patients with chronic constipation". Dig. Dis. Sci. 55 (4): 1090–7. doi:10.1007/s10620-009-1068-x. PMID 20012484.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  57. Aboumarzouk, Omar M; Agarwal, Trisha; Antakia, Ramez; Shariff, Umar; Nelson, Richard L (2011-01-19). Cochrane Database of Systematic Reviews (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons, Ltd. doi:10.1002/14651858.cd007780.pub2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2017.
  58. Canberra Hospital - Gastroenterology Unit. "constipation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2013.
  59. Bharucha, AE (2007). "Constipation". Best Practice & Research Clinical Gastroenterology. 21 (4): 709–31. doi:10.1016/j.bpg.2007.07.001. PMID 17643910.
  60. 60.0 60.1 60.2 "NIH Publication No. 07-2754". National Digestive Diseases Information Clearinghouse. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2010. สืบค้นเมื่อ 18 July 2010.
  61. 61.0 61.1 Sonnenberg, A; Koch, TR (1989). "Epidemiology of constipation in the United States". Dis Colon Rectum. 32 (1): 1–8. doi:10.1007/BF02554713. PMID 2910654.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  62. Chang, L; Toner, BB; Fukudo, S; Guthrie, E; Locke, GR; Norton, NJ; Sperber, AD (2006). "Gender, age, society, culture, and the patient's perspective in the functional gastrointestinal disorders". Gastroenterology. 130 (5): 1435–46. doi:10.1053/j.gastro.2005.09.071. PMID 16678557.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  63. Wald, A.; Scarpignato, C.; Mueller-Lissner, S.; Kamm, M. A.; Hinkel, U.; Helfrich, I.; Schuijt, C.; Mandel, K. G. (1 October 2008). "A multinational survey of prevalence and patterns of laxative use among adults with self-defined constipation". Alimentary Pharmacology & Therapeutics (ภาษาอังกฤษ). 28 (7): 917–930. doi:10.1111/j.1365-2036.2008.03806.x. ISSN 1365-2036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2017.
  64. 64.0 64.1 64.2 64.3 64.4 Whorton, James C. (2000). Inner hygiene : constipation and the pursuit of health in modern society. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0195135817.
  65. Hornibrook, F. A. (1929). The culture of the abdomen;: The cure of obesity and constipation. Heinemann.
  66. 66.0 66.1 Turawa, Eunice B; Musekiwa, Alfred; Rohwer, Anke C (23 September 2014). Cochrane Database of Systematic Reviews (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons, Ltd. doi:10.1002/14651858.cd010273.pub2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2017.
  67. Rome II: the Functional Gastrointestinal Disorders. Diagnosis, Pathophysiology and Treatment: a Multinational Consensus (2nd ed.). McLean: Degnon Associates. 2000. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  68. 68.0 68.1 68.2 68.3 68.4 Turawa, EB; Musekiwa, A; Rohwer, AC (18 September 2015). "Interventions for preventing postpartum constipation". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 9: CD011625. doi:10.1002/14651858.CD011625.pub2. PMID 26387487.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก