อุจจาระ
อุจจาระ (คำอื่น ๆ เช่น มูล, อึ, ขี้) คือ กากอาหารที่เหลือจากการย่อยจากระบบทางเดินอาหารของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ โดยจะถ่ายออกทางทวารหนัก ส่วนใหญ่จะมีกลิ่นเหม็นเนื่องจากอาหารที่มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตนั้นๆกินเข้าไปหรืออาจเกิดจากแบคทีเรียในลำไส้ของสัตว์นั้นๆ
ความสำคัญทางนิเวศวิทยา
แก้หลังจากที่สัตว์ตัวหนึ่งได้ย่อยอาหารที่กินเข้าไป มักจะเหลือส่วนหนึ่งที่ระบบทางเดินอาหารไม่สามารถดูดซึมได้และจะกลายเป็นอุจจาระหรือมูลสัตว์ แต่ถึงกระนั้นอุจจาระอาจจะยังคงมีพลังงานหลงเหลืออยู่กว่า 50% ของอาหารทั้งหมด[1] นั่นหมายความว่าอาหารทุกอย่างที่สัตว์กินเข้าไป จะมีพลังงานส่วนหนึ่งหลงเหลือมาให้กับผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตหลายชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในอุจจาระ ตั้งแต่แบคทีเรีย เห็ดรา หรือแม้แต่แมลงเช่นด้วงขี้ควาย (dung beetle) ซึ่งสามารถรับรู้กลิ่นได้จากระยะทางไกล[2] อุจจาระนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาหารที่กินเข้าไป อุจจาระอาจเป็นอาหารหลักหรืออาหารเสริมของสัตว์บางชนิด ตัวอย่างเช่นลูกช้างจะกินมูลจากแม่ของมันเพื่อเพิ่มจุลชีพในลำไส้ (gut flora) เป็นต้น
อุจจาระอาจมีความสำคัญเป็นเหมือนสัญญาณ เช่น เหยี่ยวเคสเตรล (kestrel) สามารถตรวจจับมูลของหนูนา (ที่สะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลต) และสามารถรับรู้ได้ว่ามีหนูนาอยู่ตรงไหนชุกชุมกว่ากัน หรือหนอนแมลงบางชนิดสามารถยิงมูลของมันออกไปเพื่อให้ผู้ล่าที่ตามกลิ่นเข้าใจผิด ส่วนวิลเดอร์บีสต์ (wildebeest) ไม่ได้ใช้ในการล่าหรือถูกล่า แต่ใช้อุจจาระและฟีโรโมนที่สร้างจากต่อมสร้างกลิ่นเพื่อการแบ่งอาณาเขต
เมล็ดพืชอาจพบได้ในอุจจาระของสัตว์ที่กินผลไม้ ข้อดีที่พืชออกผลก็เพื่อให้สัตว์กินผลไม้เข้าไปโดยที่ไม่รู้ว่าได้ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไปด้วย ซึ่งการแพร่พันธุ์ของพืชด้วยวิธีนี้ประสบความสำเร็จสูง เมล็ดพืชจะเดินทางผ่านระบบทางเดินอาหารของสัตว์โดยที่ไม่ถูกย่อยและออกมาพร้อมกับอุจจาระ พร้อมที่จะงอกใหม่และยังได้ปุ๋ยของมันเอง
อุจจาระไม่ถูกนับเป็นของเสียเนื่องจากไม่ผ่านการย่อยระดับเซลล์
อ้างอิง
แก้- ↑ Biology (4th edition) N.A.Campbell (Benjamin Cummings NY, 1996) ISBN 0-8053-1957-3
- ↑ Heinrich, B., and G. A. Bartholomew (1979) The ecology of the African dung beetle. Scientific American 241: 146-156