โรคริดสีดวงทวาร

โรคริดสีดวงทวาร (อังกฤษ: hemorrhoids (อังกฤษอเมริกัน) หรือ haemorrhoids (อังกฤษบริติช) หรือ piles) เป็นโครงสร้างหลอดเลือดในช่องทวารหนัก[7][8] ในสภาพปกติจะมีลักษณะเป็นนวมและช่วยในการกลั้นอุจจาระ[2] เมื่อบวมหรืออักเสบจะมีพยาธิสภาพเป็น หัวริดสีดวง[8] อาการของโรคริดสีดวงทวารขึ้นอยู่กับชนิดที่เป็น[4] แบบภายในมักจะเลือดออกเป็นสีแดงสดโดยไม่เจ็บเมื่อถ่ายอุจจาระ[3][4] ขณะที่แบบภายนอกบ่อยครั้งจะเจ็บและบวมที่บริเวณทวารหนัก และถ้าเลือดออกก็จะสีคล้ำกว่า[4] อาการบ่อยครั้งจะดีขึ้นหลังจาก 2-3 วัน[3] แต่แบบภายนอกอาจจะเหลือติ่งหนัง (acrochordon) แม้หลังจากอาการหายแล้ว[4]

โรคริดสีดวงทวาร
(Hemorrhoids)
ชื่ออื่นHaemorrhoids, piles,[1] hemorrhoidal disease[2]
แผนภาพแสดงกายวิภาคของโรคริดสีดวงทวารทั้งแบบภายในและภายนอก
สาขาวิชาศัลยกรรมทั่วไป
อาการแบบภายใน: ไม่เจ็บ เลือดออกจากทวารหนักเป็นสีแดงสด[3] แบบภายนอก: เจ็บและบวมรอบ ๆ ทวารหนัก[4]
การตั้งต้นอายุ 45-65 ปี[5]
ระยะดำเนินโรค2-3 วัน[3]
สาเหตุไม่ชัดเจน[4]
ปัจจัยเสี่ยงท้องผูก ท้องร่วง นั่งถ่ายเป็นเวลานาน ตั้งครรภ์[3]
วิธีวินิจฉัยการตรวจร่างกาย การกันเหตุที่รุนแรงกว่าอื่น ๆ ออก[2][3]
การรักษาเพิ่มใยอาหาร ดื่มน้ำ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ พักผ่อน การรัดหนังยาง ผ่าตัด[6][1]
ความชุก50–66% ในช่วงชีวิต[1][3]

แม้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคริดสีดวงทวาร แต่ก็เชื่อว่าปัจจัยที่เพิ่มแรงดันในท้องหลายอย่างมีส่วนเกี่ยวข้อง[4] รวมทั้งท้องผูก ท้องร่วง และนั่งถ่ายเป็นเวลานาน[3] ริดสีดวงทวารยังสามัญกว่าในช่วงตั้งครรภ์ด้วย[3] การวินิจฉัยจะเริ่มที่การตรวจดูที่บริเวณ[3] หลายคนเรียกอาการทุกอย่างที่เกิดรอบบริเวณทวารหนัก-ไส้ตรงอย่างผิด ๆ ว่า "โรคริดสีดวงทวาร" แต่ก็ควรตัดสาเหตุร้ายแรงของอาการให้แน่นอนก่อน[2] การส่องกล้องแบบ Colonoscopy หรือ sigmoidoscopy บางครั้งสมควรใช้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและกันเหตุที่ร้ายแรงกว่า[9]

บ่อยครั้ง อาการไม่จำเป็นต้องรักษา[9] การรักษาเริ่มต้นจะเป็นการเพิ่มการรับประทานใยอาหาร, ดื่มน้ำให้มาก ๆ, ทานยา NSAID เพื่อลดเจ็บ, และพักผ่อน[1] ยาที่เป็นครีมอาจใช้ทาที่บริเวณ แต่ประสิทธิผลของยาเช่นนี้ไม่มีหลักฐานที่ดี[9] อาจทำหัตถการเล็กน้อยได้จำนวนหนึ่งหากอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้นด้วยการรักษาแบบอนุรักษ์[6] โดยการผ่าตัดจะสงวนไว้สำหรับโรคที่ไม่ดีขึ้น[6]

ประชากรประมาณ 50%-66% จะมีปัญหาริดสีดวงทวารอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต[1][3] ชายและหญิงพบบ่อยพอ ๆ กัน[1] คนอายุ 45-65 ปีจะมีปัญหามากที่สุด[5] เป็นปัญหาสำหรับคนมั่งมีมากกว่า[4] และปกติจะหายได้ดี[3][9]

การกล่าวถึงโรคนี้เป็นครั้งแรกที่รู้มาจากบันทึกในกระดาษปาปิรัสของชาวอิยิปต์ช่วง 1700 ปีก่อน ค.ศ.[10]

อาการ

แก้
 
ริดสีดวงภายนอกในมนุษย์

ผู้ที่มีโรคริดสีดวงทวาร 40% จะไม่มีอาการที่สำคัญ[4] ริดสีดวงภายในและภายนอกอาจมีอาการต่างกัน แต่หลายคนก็จะมีริดสีดวงสองแบบผสมกัน[8] การมีเลือดออกจนเกิดภาวะเลือดจางมีน้อย[5] และการมีเลือดออกจนอันตรายถึงชีวิตก็ยิ่งน้อยกว่า[11] หลายคนจะรู้สึกอายเมื่อมีปัญหา[5] และบ่อยครั้งจะไปหาแพทย์ก็ต่อเมื่ออาการหนักแล้ว[8]

แบบภายนอก

แก้

โรคริดสีดวงทวารแบบภายนอกจะเกิดบริเวณใต้ dentate line (หรือ pectinate line) ถ้าไม่มีลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) ก็อาจสร้างปัญหาน้อยมาก[12] แต่ถ้ามีลิ่มเลือดก็อาจจะเจ็บมาก[8][1] อย่างไรก็ดี ความเจ็บปวดมักจะหายเองภายใน 2-3 วัน[5] แต่อาการบวมอาจใช้เวลา 2-3 อาทิตย์กว่าจะหาย[5] อาจจะมีติ่งหนังเหลืออยู่แม้หายแล้ว[8] ถ้าริดสีดวงใหญ่จนมีปัญหาเรื่องความสะอาด มันอาจจะทำให้ระคายเคืองและคันรอบ ๆ ทวารหนัก[12]

ภายใน

แก้

โดยปกติ โรคริดสีดวงทวารภายในจะปรากฏอาการเลือดออกเป็นสีแดงสดที่ปลายลำไส้โดยไม่เจ็บ ไม่ว่าในระหว่างหรือหลังจากถ่ายอุจจาระ[8] ปกติเลือดจะอาบก้อนอุจจาระ ติดกระดาษชำระ หรือเลือดหยดลงในโถส้วม[8] ส่วนก้อนอุจจาระเองมีสีปกติ[8] อาการอื่น ๆ ที่อาจมีคือ มีเมือกไหล มีก้อนรอบปากทวารหนักหากหัวริดสีดวงเลื่อนยืดออกมาข้างนอก คันทวารหนัก และกลั้นอุจจาระไม่อยู่[11][13] โรคริดสีดวงภายในปกติจะเจ็บก็ต่อเมื่อเกิดลิ่มเลือดอุดตันหรือเนื้อตาย (necrosis)[8]

เนื่องจากไม่มีอาการปวด บางคนอาจไม่สนใจถึงแม้เป็น ถ้าไม่รักษาอาจกลายเป็นริดสีดวงได้สองแบบ คือแบบมีก้อนยื่นออกทวาร (prolapsed hemorrhoids) หรือแบบบีบรัด (strangulated hemorrhoids) ถ้าหูรูดทวารหนักหดตัวและบีบก้อนริดสีดวงจนขาดเลือดไปเลี้ยง ริดสีดวงจะกลายเป็นแบบบีบรัด ยังสามารถจัดโรคริดสีดวงภายในได้เป็น 4 ระยะ ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

สาเหตุ

แก้

สาเหตุที่แน่นอนของโรคริดสีดวงที่มีอาการยังไม่ชัดเจน[14] มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้เกิดก้อนริดสีดวงทวาร อาทิ การถ่ายผิดปกติ (ท้องผูก ท้องเสีย) การไม่ออกกำลังกาย ปัจจัยทางอาหาร (รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย) ความดันเพิ่มภายในช่องท้อง (เช่น เบ่งนาน ท้องมาน ก้อนเนื้อในช่องท้อง หรือตั้งครรภ์) กรรมพันธุ์ ไม่มีลิ้นในเส้นเลือดบริเวณทวารหนัก อายุ[1][5] สาเหตุอื่น ๆ ที่เชื่อว่าเพิ่มความเสี่ยงรวมทั้งโรคอ้วน นั่งเป็นเวลานาน ๆ[8] การไอเรื้อรัง และฐานเชิงกรานผิดปกติ (pelvic floor dysfunction)[2] การนั่งยอง ๆ เมื่อถ่ายอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคริดสีดวงที่รุนแรง[15] อย่างไรก็ดี หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ของโรคกับปัจจัยเหล่านี้ค่อนข้างไม่ดี[2]

ระหว่างตั้งครรภ์ ความดันจากตัวอ่อนในท้องและการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนจะทำให้เส้นเลือดริดสีดวงทวารมีขนาดใหญ่ขึ้น การคลอดก็จะเพิ่มความดันภายในช่องท้องด้วย[16] การผ่าตัดมักไม่จำเป็นสำหรับหญิงมีครรภ์ เพราะอาการมักหายเองหลังคลอด[1]

พยาธิสรีรวิทยา

แก้

ริดสีดวงทวารเป็นนวมป้องกันอันหนึ่งของร่างกาย และจะกลายเป็นโรคก็ต่อเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น[8] ในช่องทวารหนักที่ปกติดีจะมีนวมป้องกันหลัก ๆ อยู่สามจุด[1] ซึ่งปกติอยู่ที่ตำแหน่งซ้ายด้านข้าง (left lateral) ขวาด้านหน้า (right anterior) กับขวาด้านหลัง (right posterior)[5] เป็นนวมป้องกันที่ไม่ใช่หลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำ แต่ประกอบด้วยหลอดเลือดที่เรียกว่าไซนูซอยด์ (sinusoids) เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน กับกล้ามเนื้อเรียบ[2]: 175  ไซนูซอยด์จะไม่มีเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อในผนังเหมือนกับหลอดเลือด[8] กลุ่มเส้นเลือดเหล่านี้เรียกรวมกันว่า hemorrhoidal plexus[2]

ริดสีดวงที่เป็นนวมป้องกันจะสำคัญในการกลั้นอุจจาระ ในช่วงหยุดพักอยู่เฉย ๆ จะช่วยเป็นแรงปิดทวารหนักร้อยละ 15-20 และในขณะถ่ายอุจจาระ จะช่วยปกป้องกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักทั้งภายในภายนอก[8] เมื่อเบ่ง แรงดันภายในช่องท้องก็จะเพิ่ม ซึ่งทำให้นวมริดสีดวงโป่งใหญ่ขึ้นเพื่อปิดทวารหนักให้อยู่[5]

เชื่อกันว่า อาการริดสีดวงทวารเป็นผลจากเมื่อส่วนที่เต็มไปด้วยหลอดเลือดนี้เลื่อนลง หรือเมื่อแรงดันที่หลอดเลือดดำเพิ่มมากเกินไป[11] แรงดันที่หูรูดทวารหนักทั้งภายในภายนอกที่เพิ่มมากขึ้น ก็อาจมีส่วนด้วย[5] โรคริดสีดวงทวารจะมีสองประเภท คือแบบภายในโดยเกิดที่กลุ่มหลอดเลือดของริดสีดวงด้านบนคือ superior hemorrhoidal plexus กับแบบภายนอกโดยเกิดที่กลุ่มหลอดเลือดของริดสีดวงด้านล่างคือ inferior hemorrhoidal plexus[5] แนวรอยต่อระหว่างลำไส้ตรงกับทวารหนักหรือ dentate/pectinate line จะเป็นแนวแบ่งบริเวณทั้งสองนี้[5]

เกรดริดสีดวงภายใน
เกรด แผนภาพ ภาพ
1    
2    
3    
4    

การวินิจฉัย

แก้

โรคริดสีดวงทวารโดยปกติแล้วจะวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจร่างกาย[6] การตรวจดูปากทวารและบริเวณใกล้เคียงอาจทำให้วินิจฉัยได้ว่า เป็นโรคริดสีดวงภายนอกหรือแบบยื่นย้อยออกมา (prolapsed)[8] การตรวจปลายลำไส้ตรงอาจทำเพื่อแยกว่าเป็นเนื้องอกในลำไส้ตรง ติ่งเนื้อเมือก ต่อมลูกหมากโต หรือฝี หรือไม่[8] โดยอาจต้องใช้ยาระงับประสาทที่เหมาะสมเพื่อระงับความเจ็บ แม้ริดสีดวงภายในส่วนมากจะไม่เจ็บ[1] เพื่อให้แน่ชัดว่าเป็นโรคริดสีดวงภายใน อาจต้องส่องกล้องทวารหนัก (anoscopy) โดยใช้อุปกรณ์เป็นท่อกลวงซึ่งมีไฟติดที่ข้างหนึ่ง[5]

โรคริดสีดวงทวารมีสองประเภทคือ ภายนอกและภายใน โดยต่างกันตรงตำแหน่งเมื่อเทียบกับแนวรอยต่อระหว่างปลายลำไส้กับทวารหนัก (dentate line)[1] คนไข้บางรายอาจมีอาการของทั้งสองประเภทในเวลาเดียวกัน[5] หากรู้สึกเจ็บหรือมีแผลปริที่ปากทวาร โรคริดสีดวงภายนอกจะเป็นไปได้มากกว่าแบบภายใน[5]

แบบภายใน

แก้

โรคริดสีดวงภายในจะเกิดเหนือแนวรอยต่อระหว่างลำไส้ตรงกับทวารหนัก (dentate line)[12] ซึ่งปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อ columnar epithelium ที่ไร้ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด[2] ในปี ค.ศ. 1985 ได้มีการจัดโรคเป็นสี่ระยะ โดยขึ้นกับขนาดการยื่นออกมา (prolapse)[2][1]

  • ระยะที่ 1 - ไม่ยื่นออกมา เพียงแต่หลอดเลือดจะปรากฏชัดขึ้น[6]
  • ระยะที่ 2 - จะยื่นออกเมื่อเบ่ง แต่จะกลับเข้าไปเอง
  • ระยะที่ 3 - จะยื่นออกมาเมื่อเบ่ง และจะต้องดันให้กลับเข้าไป
  • ระยะที่ 4 - จะยื่นออกมาโดยดันกลับเข้าไปไม่ได้

แบบภายนอก

แก้
 
โรคริดสีดวงทวารภายนอกชนิดเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

โรคริดสีดวงทวารภายนอกจะเกิดใต้แนวรอยต่อระหว่างลำไส้ตรงกับทวารหนัก (dentate/pectinate line)[12] และปกคลุมด้วยเยื่อบุรูทวารหนัก (anoderm) ใต้แนวรอยต่อ และด้วยผิวหนังเหนือแนวรอยต่อ โดยทั้งสองส่วนจะสามารถรู้สึกเจ็บและร้อนเย็นได้[2]

การวินิจฉัยแยกโรค

แก้

ปัญหาบริเวณปลายลำไส้และทวารหนัก รวมทั้งแผลปริที่ปากทวาร แผลชอนทะลุทวารหนัก ฝี มะเร็งลำไส้ตรง เส้นเลือดขอดบริเวณลำไส้ตรง และอาการคันทวารหนัก ต่างก็มีอาการคล้ายคลึงกัน ทำให้อาจระบุผิด ๆ ว่า เป็นโรคริดสีดวงทวาร[1] อาการเลือดออกในลำไส้ตรง อาจเกิดขึ้นได้เช่นกันจากมะเร็งลำไส้ตรง, จากลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis) รวมทั้งแบบไม่ทราบสาเหตุ (inflammatory bowel disease), จากโรคถุงลำไส้ใหญ่ (diverticular disease), และจากความผิดปกติของเส้นเลือด (angiodysplasia)[6] หากมีภาวะโลหิตจาง ควรพิจารณาความเป็นไปได้ของสาเหตุอื่น ๆ ด้วย[5]

ภาวะอื่น ๆ ที่เกิดก้อนเนื้อบริเวณปากทวารหนักได้แก่ผิวหนังเป็นติ่ง (acrochordon) หูดทวารหนัก ลำไส้ตรงยื่น (rectal prolapse) ติ่งเนื้อเมือก และปุ่มพองออกบริเวณทวารหนัก (enlarged anal papillae)[5] เส้นเลือดขอดบริเวณลำไส้ตรงกับทวารหนัก (Anorectal varices) ซึ่งเกิดจากความดันโลหิตสูงในระบบเส้นเลือด Hepatic portal system อาจมีอาการคล้ายกับโรคริดสีดวงทวาร แต่จริง ๆ เป็นภาวะอีกอย่างหนึ่งต่างหาก[5] และอาการนี้ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของริดสีดวงทวาร[4]

การป้องกัน

แก้

วิธีป้องกันโรคริดสีดวงทวารที่แนะนำรวมทั้ง

แนวทางการรักษา

แก้

แนวอนุรักษ์

แก้

การรักษาแนวอนุรักษ์ปกติหมายถึงการทานอาหารที่มีใยอาหารมาก ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อไม่ให้ขาดน้ำ ใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) การนั่งแช่น้ำอุ่น และการพักผ่อน[1] การบริโภคใยอาหารเพิ่มมีหลักฐานว่า ทำให้ได้ผลดีขึ้น[19] ซึ่งทำได้โดยเปลี่ยนอาหารหรือทานผลิตภัณฑ์เสริมใยอาหาร[1][19] แต่ประโยชน์ของการนั่งแช่น้ำอุ่นในระหว่างการรักษา ยังขาดหลักฐานอยู่[20] หากใช้วิธีนี้ ควรจำกัดเวลาแต่ละครั้งไม่ให้เกิน 15 นาที[2]: 182 

ในการรักษาโรคริดสีดวง อาจใช้ยาใช้เฉพาะที่และยาเหน็บทางทวารหนักได้ แต่ก็ยังมีหลักฐานยืนยันประโยชน์จากยาเหล่านี้น้อยอยู่[1] ยาที่มีสเตอรอยด์ ไม่ควรใช้นานกว่า 14 วัน เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุให้ผิวหนังยิ่งบางลง[1] ยาส่วนใหญ่จะเป็นยาออกฤทธิ์ต่าง ๆ ที่นำมาผสมกัน[2] ซึ่งอาจรวมครีมป้องกันแผลเช่นวาสลีน (ปิโตรเลียมเจลลี่) หรือซิงค์ออกไซด์ รวมยาระงับปวด เช่นไลโดเคน และรวมยาบีบหลอดเลือด เช่นเอพิเนฟรีน[2] บางอย่างอาจมียาหม่องเปรู (Balsam of Peru) ที่บางคนอาจแพ้[21][22] การรักษาอีกวิธีหนึ่งคือ การทานยาในรูปแบบแคปซูลสมุนไพร ซึ่งมีส่วนประกอบที่มาจากสมุนไพรต่างๆ อาทิเช่น เพชรสังฆาต อัคคีทวาร ว่านหางจระเข้ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร[23]

ส่วนเฟลวานอยด์ (Flavonoids) นั้น ยังไม่ปราฏประโยชน์ที่ชัดเจน อีกทั้งยังอาจมีผลข้างเคียงได้ด้วย[2][24] ปกติแล้ว อาการจะหายไปเองเมื่อผ่านช่วงตั้งครรภ์ บ่อยครั้งจึงเลื่อนการรักษาอย่างแอคทีฟไปจนหลังคลอดบุตรแล้ว[25] หลักฐานไม่สนับสนุนการใช้ยาจีน[26]

หัตถการ

แก้

บางครั้งอาจต้องใช้หัตถการต่าง ๆ ที่กระทำในสถานพยาบาล ซึ่งโดยทั่วไปจะปลอดภัย และนาน ๆ ครั้งจึงเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ภาวะพิษเหตุติดเชื้อรอบขอบทวารหนัก[6]

  • การรัดหนังยาง (Rubber band ligation) เป็นวิธีแรกที่ปกติแนะนำให้รักษาสำหรับผู้เป็นโรคในระยะที่ 1-3[6] เป็นหัตถการซึ่งใช้หนังยางรัดหัวริดสีดวงแบบภายในอย่างน้อย 1 ซม เหนือแนวรอยต่อระหว่างลำไส้ตรงกับทวารหนัก (dentate line) เพื่อตัดเลือด ภายใน 5-7 วัน หัวริดสีดวงก็จะเหี่ยวแห้งหลุดออกเอง หากรัดหนังยางใกล้กับแนวรอยต่อดังกล่าวมากเกินไป ก็จะทำให้เจ็บอย่างรุนแรงทันที[1] งานศึกษาพบว่าอัตราการหายขาดมีประมาณร้อยละ 87[1] โดยอัตราเกิดภาวะแทรกซ้อนมีถึงร้อยละ 3[6]
  • การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้าง (Sclerotherapy) คือการฉีดสารที่ก่อความแข็งตัวเช่นฟีนอล เข้าสู่หัวริดสีดวง ซึ่งทำลายผนังหลอดเลือดดำและทำให้หัวริดสีดวงเหี่ยวเฉาไป อัตราสัมฤทธิ์ผลหลังรักษาสี่ปีเท่ากับประมาณร้อยละ 70[1]
  • ส่วนการทำลายเนื้อเยื่อด้วยการเผา (cauterization) นั้น หลายวิธีใช้ได้ผลดีกับหัวริดสีดวง แต่ปกติจะใช้เฉพาะเมื่อวิธีอื่นไม่ได้ผล หัตถการนี้อาจใช้การจี้ด้วยไฟฟ้า (electrocautery) การฉายรังสีอินฟราเรด การใช้แสงเลเซอร์ผ่าตัด[1] หรือศัลยกรรมใช้ความเย็น (cryosurgery)[27] การทำลายหลอดเลือดหรือเนื้อเยื่อด้วยแสงอินฟราเรดอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับโรคระยะที่ 1 หรือที่ 2[6] แต่สำหรับระยะที่ 3 หรือ 4 อัตราการกลับมาเป็นอีกจะสูง[6]
 
แผนภาพแสดง Stapled hemorrhoidectomy

การผ่าตัด

แก้

เทคนิคการผ่าตัดอื่น ๆ อาจใช้ถ้าแนวทางการรักษาแบบอนุรักษ์ธรรมดา ๆ ไม่ได้ผล[6] การผ่าตัดทุกกรณีก็จะสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนอยู่บ้าง รวมทั้งเลือดออก ติดเชื้อ ช่องทวารหนักตีบ (anal stricture) และปัสสาวะคั่งค้าง (urinary retention) เนื่องจากลำไส้ตรงอยู่ใกล้กับเส้นประสาทของกระเพาะปัสสาวะ[1] บางครั้งอาจเสี่ยงกลั้นอุจจาระไม่อยู่บ้าง โดยเฉพาะอุจจาระเหลว[2][28] อัตราที่รายงานอยู่ระหว่างร้อยละ 0-28[29] การปลิ้นออกนอกของเยื่อเมือก (Mucosal ectropion) อาจเกิดหลังจากตัดหัวริดสีดวงทวารออก (hemorrhoidectomy) โดยบ่อยครั้งเกิดร่วมกับภาวะทวารหนักตีบ (anal stenosis)[30] เป็นการปลิ้นออกของเยื่อเมือกออกจากปากทวาร คล้ายกับภาวะไส้ตรงยื่นย้อย (rectal prolapse) แบบอ่อน ๆ[30]

  • การผ่าตัดริดสีดวง (Excisional hemorrhoidectomy) จะใช้เฉพาะกรณีที่อาการรุนแรง[1] ซึ่งจะเจ็บมากหลังผ่าตัด และปกติต้องใช้เวลา 2-4 อาทิตย์เพื่อฟื้นตัว[1] อย่างไรก็ดี สำหรับโรคริดสีดวงระยะ 3 ในระยะยาวจะมีประโยชน์มากกว่าเมื่อเทียบกับการรัดหนังยาง[31] การผ่าตัดเป็นวิธีที่แนะนำสำหรับริดสีดวงทวารภายนอกแบบมีลิ่มเลือดอุดตัน หากกระทำให้เสร็จภายใน 24-72 ชั่วโมง[12][6] ยาทาไนโตรกลีเซอรีนที่ใช้หลังหัตถการ จะช่วยลดอาการเจ็บปวดและช่วยเยียวยารักษา[32]
  • การตัดหลอดเลือดแดงที่ผ่านเข้าหัวริดสีดวง (transanal hemorrhoidal dearterialization) นำทางด้วยคลื่นเสียงแบบดอปเพลอร์ เป็นวิธีการรักษาแบบเกิดแผลน้อยที่สุด โดยใช้เครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแบบดอปเพลอร์เพื่อหาตำแหน่งหลอดเลือดแดงที่วิ่งเข้ามาที่หัวริดสีดวง แล้วผูกเส้นเลือดและเย็บเนื้อเยื่อที่ยื่นออกให้เข้าสู่ตำแหน่งเดิม โอกาสกลับมาเป็นอีกจะสูงกว่าเล็กน้อย แต่เปรียบเทียบกับการผ่าตัดออกแล้ว จะมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า[1]
  • Stapled hemorrhoidectomy/hemorrhoidopexy เป็นการใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อตัดเนื้อเยื่อริดสีดวงที่พองผิดปกติโดยตัดออกส่วนมาก แล้วเย็บเนื้อเยื่อที่เหลือกลับเข้าตำแหน่งเดิม เป็นวิธีที่โดยทั่วไปจะเจ็บน้อยกว่า และหายเป็นปกติได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับการตัดหัวริดสีดวงทั้งหมดออก[1] อย่างไรก็ดี โอกาสเป็นโรคริดสีดวงอีกอาจจะมากกว่าการตัดหัวริดสีดวงออกแบบทั่วไป[33] จึงมักแนะนำให้ใช้เฉพาะโรคระยะที่ 2 หรือ 3[6]

วิทยาการระบาด

แก้

โรคริดสีดวงทวารหนักสามัญแค่ไหนยากที่จะกำหนดได้ เนื่องจากคนไข้จำนวนมากจะไม่ไปพบแพทย์[11][14] แต่เชื่อว่าอย่างน้อยร้อยละ 50 ของประชากรชาวอเมริกัน จะเป็นโรคริดสีดวงทวารในช่วงหนึ่งของชีวิต และประมาณร้อยละ 5 กำลังเป็นอยู่[1] หญิงชายจะเป็นพอ ๆ กัน[1] โดยอัตราการเป็นจะสูงสุดในช่วงอายุระหว่าง 45-65 ปี[5] โรคจะพบบ่อยมากกว่าในคนผิวขาว (Caucasians)[34] และผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่สูงกว่า[2] โดยทั่วไปแล้วจะได้ผลดีในระยะยาว แม้บางคนอาจกลับมาเป็นอีก[11] และมีส่วนน้อยมากที่ลงท้ายต้องผ่าตัด[2]

ประวัติ

แก้
 
ภาพเหมือนขนาดเล็กจากอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ภาพด้านขวาแสดงการผ่าตัดเอาหัวริดสีดวงทวารออก

เท่าที่ทราบ ครั้งแรกที่มีการกล่าวถึงโรคอันสร้างความทรมานนี้ อยู่ในบันทึกกระดาษต้นกกปาปิรุสของชาวอียิปต์ ในปี 1,700 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งให้คำแนะนำว่า “...สูเจ้าพึงให้สูตรยา ยาวิเศษสำหรับทากันแผล เอาใบอาเคเชียมาบด ตำ แล้วหุงให้สุกด้วยกัน ป้ายที่แถบผ้าลินินละเอียด จากนั้นใส่เข้าไปในทวารหนัก ทำเช่นนี้ ก็จะหายทันที"[10]

ในปี 460 ก่อนคริสต์ศักราช งานเขียนของฮิปพอคราทีส (Hippocratic corpus) ได้บรรยายวิธีรักษาพยาบาลซึ่งคล้ายเคียงกับวิธีสมัยใหม่คือการรัดหนังยางไว้ว่า “หัวริดสีดวงต่าง ๆ นั้น เมื่อรักษา ท่านอาจทำด้วยการเอาเข็มยึดตรึงพวกมันไว้ แล้วผูกพวกมันด้วยเส้นด้ายขนสัตว์ที่หนา ๆ และอย่ากวนหรือชะน้ำหรือทายา จนกว่าจะหลุดออกไปเอง โดยทิ้งหัวหนึ่งเหลือไว้เสมอ และเมื่อผู้ป่วยหายดีขึ้น จัดให้ทานยาสมุนไพรคือเฮลเลอบอร์ (Hellebore เพื่อให้ถ่าย) ”[10] คัมภีร์ไบเบิลก็อาจกล่าวถึงโรคริดสีดวงทวารไว้ด้วย[5]

นักสารานุกรม เซลซัส (25 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ 14) ได้อธิบายหัตถการผูกมัดและตัดออก อีกทั้งชี้แจงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิด[35] นายแพทย์ชาวกรีก กาเล็น สนับสนุนการตัดส่วนเชื่อมระหว่างหลอดเลือดแดงกับหลอดเลือดดำ โดยอ้างว่าจะลดทั้งอาการเจ็บและทั้งการแพร่ของเนื้อตายเน่า[35] คัมภีร์แพทย์สันสกฤต ซุสรูตา แซมฮิตา (Susruta Samhita คริสต์ศักราชที่ 4–5) เขียนในทำนองเดียวกับที่ฮิปโปเครติสได้กล่าวไว้ แต่ต่างโดยเน้นการรักษาแผลให้สะอาด[10]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศัลยแพทย์ชาวยุโรป เช่น ลานฟรังค์แห่งมิลาน, กีย์ เดอ ชอลิแอค, เฮนรี เดอ มอนเดวิเล, และจอห์นแห่งอาร์ดีน ได้พัฒนาเทคนิควิธีการผ่าตัดให้ก้าวหน้าอย่างมาก[35] ในยุโรปสมัยกลาง โรคนี้เรียกว่า คำสาปของนักบุญ Fiacre เพราะนักบุญที่มีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศศวรรษที่ 6 ผู้นี้ป่วยเป็นโรคนี้เมื่อไถดิน[36]

การใช้คำภาษาอังกฤษว่า hemorrhoid เกิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1398 โดยมาจากคำภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า "emorroides" ซึ่งก็มาจากคำภาษาละตินว่า "hæmorrhoida"[37] โดยมาจากคำภาษากรีกว่า αἱμορροΐς (haimorrhois) ซึ่งแปลว่า "มักจะหลั่งเลือด" และก็มาจากรากศัพท์ว่า αἷμα (haima) แปลว่า "เลือด"[38] กับคำว่า ῥόος (rhoos) แปลว่า "สายธาร กระแส การไหล"[39] ซึ่งก็มาจากคำว่า ῥέω (rheo) ซึ่งแปลว่า "ไหล หลั่งไหล"[40]

ผู้ป่วยที่มีชื่อเสียง

แก้

นักกีฬาเบสบอลชื่อเสียงกระฉ่อน จอร์จ เบร็ตต์ ต้องออกจากการแข่งขันชิงชนะเลิศเวิลด์ซีรีส์ประจำปี 1980 กลางคันเนื่องจากเจ็บริดสีดวง หลังจากที่เบร็ตต์ได้รับการผ่าตัดเล็ก เขาก็กลับเข้าเล่นในรอบต่อไป โดยทิ้งคำพูดไว้อย่างคมคายว่า "...ปัญหาของผมก็ทิ้งไว้ข้างหลังทั้งหมดแล้วครับ"[41] เบร็ตต์ได้รับการผ่าตัดริดสีดวงอีกในฤดูใบไม้ผลิต่อมา[42] นักวิเคราะห์ข่าวการเมืองฝ่ายอนุรักษนิยม เกล็นน์ เบ็ก ได้รับการผ่าตัดริดสีดวง ต่อมาเขาได้เล่าประสบการณ์อันไม่น่ารื่นรมย์ทางวีดิโอยูทูบ ซึ่งมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมากในปี พ.ศ. 2551[43][44] อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ จิมมี คาร์เตอร์ได้รับการผ่าตัดริดสีดวงในปี 2527[45]

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 1.26 1.27 1.28 1.29 1.30 Lorenzo-Rivero, S (2009-08). "Hemorrhoids: diagnosis and current management". Am Surg. 75 (8): 635–42. PMID 19725283. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 Beck, David E. (2011). The ASCRS textbook of colon and rectal surgery (2nd ed.). New York: Springer. p. 175. ISBN 978-1-4419-1581-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-30.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 "Hemorrhoids". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. 2013-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-26. สืบค้นเมื่อ 2016-02-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 Sun, Z; Migaly, J (2016-03). "Review of Hemorrhoid Disease: Presentation and Management". Clinics in colon and rectal surgery. 29 (1): 22–9. doi:10.1055/s-0035-1568144. PMID 26929748. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 5.17 5.18 5.19 5.20 5.21 5.22 5.23 Kaidar-Person, O; Person, B; Wexner, SD (2007-01). "Hemorrhoidal disease: A comprehensive review" (PDF). Journal of the American College of Surgeons. 204 (1): 102–17. doi:10.1016/j.jamcollsurg.2006.08.022. PMID 17189119. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-22. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 Rivadeneira, DE; Steele, SR; Ternent, C; Chalasani, S; Buie, WD; Rafferty, JL; Standards Practice Task Force of The American Society of Colon and Rectal Surgeons (2011-09). "Practice parameters for the management of hemorrhoids (revised 2010)". Diseases of the colon and rectum. 54 (9): 1059–64. doi:10.1097/DCR.0b013e318225513d. PMID 21825884. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. Chen, Herbert (2010). Illustrative Handbook of General Surgery. Berlin: Springer. p. 217. ISBN 1-84882-088-7.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 Schubert, MC; Sridhar, S; Schade, RR; Wexner, SD (2009-07). "What every gastroenterologist needs to know about common anorectal disorders". World J Gastroenterol. 15 (26): 3201–9. doi:10.3748/wjg.15.3201. ISSN 1007-9327. PMC 2710774. PMID 19598294. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Hollingshead, JR; Phillips, RK (2016-01). "Haemorrhoids: modern diagnosis and treatment". Postgraduate Medical Journal. 92 (1083): 4–8. doi:10.1136/postgradmedj-2015-133328. PMID 26561592. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Ellesmore, Windsor (2002). "Surgical History of Haemorrhoids". ใน Charles, MV (บ.ก.). Surgical Treatment of Haemorrhoids. London: Springer.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Davies, RJ (2006-06). "Haemorrhoids". Clinical evidence (15): 711–24. PMID 16973032. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-20. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Dayton, senior editor, Peter F. Lawrence; editors, Richard Bell, Merril T. (2006). Essentials of general surgery (4th ed.). Philadelphia ;Baltimore: Williams & Wilkins. p. 329. ISBN 978-0-7817-5003-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  13. Azimuddin, edited by Indru Khubchandani, Nina Paonessa, Khawaja (2009). Surgical treatment of hemorrhoids (2nd ed.). New York: Springer. p. 21. ISBN 978-1-84800-313-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  14. 14.0 14.1 Reese, GE; von Roon, AC; Tekkis, PP (2009-01-29). "Haemorrhoids". Clinical evidence. 2009. PMC 2907769. PMID 19445775.
  15. Bland, Kirby I.; Sarr, Michael G.; B?chler, Markus W.; Csendes, Attila; Garden, Oliver James; Wong, John (2008). General Surgery: Principles and International Practice (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 857. ISBN 9781846288326. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-11.
  16. National Digestive Diseases Information Clearinghouse (2004-11). "Hemorrhoids". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK), NIH. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-23. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 Domino, Frank J (2012). The 5-Minute Clinical Consult 2013 (Griffith's 5 Minute Clinical Consult). Hagerstown, MD: Lippincott Williams & Wilkins. p. 572. ISBN 1-4511-3735-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  18. 18.0 18.1 Glass, Cheryl A. Cash, Jill C (บ.ก.). Family practice guidelines (2nd ed.). New York: Springer. p. 665. ISBN 978-0-8261-1812-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  19. 19.0 19.1 Alonso-Coello, P.; Guyatt, G. H.; Heels-Ansdell, D.; Johanson, J. F.; Lopez-Yarto, M.; Mills, E.; Zhuo, Q.; Alonso-Coello, Pablo (2005). Alonso-Coello, Pablo (บ.ก.). "Laxatives for the treatment of hemorrhoids". Cochrane Database Syst Rev (4): CD004649. doi:10.1002/14651858.CD004649.pub2. PMID 16235372.
  20. Lang, DS; Tho, PC; Ang, EN (2011-12). "Effectiveness of the Sitz bath in managing adult patients with anorectal disorders". Japan journal of nursing science : JJNS. 8 (2): 115–28. doi:10.1111/j.1742-7924.2011.00175.x. PMID 22117576. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  21. "Balsam of Peru contact allergy". Dermnetnz.org. 2013-12-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-03-05.
  22. The ASCRS Textbook of Colon and Rectal Surgery: Second Edition. 2011. ISBN 978-1-4419-1581-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-04.
  23. "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด". www.rspg.or.th.
  24. Alonso-Coello, P; Zhou, Q; Martinez-Zapata, MJ และคณะ (2006-08). "Meta-analysis of flavonoids for the treatment of haemorrhoids". Br J Surg. 93 (8): 909–20. doi:10.1002/bjs.5378. PMID 16736537. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |authors= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  25. Quijano, CE; Abalos, E (2005-07-20). "Conservative management of symptomatic and/or complicated haemorrhoids in pregnancy and the puerperium". Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD004077. doi:10.1002/14651858.CD004077.pub2. PMID 16034920.
  26. Gan, Tao; Liu, Yue-dong; Wang, Yiping; Yang, Jinlin (2010-10-06). Cochrane Database of Systematic Reviews (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons, Ltd. doi:10.1002/14651858.cd006791.pub2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-04.
  27. Misra, MC; Imlitemsu, (2005). "Drug treatment of haemorrhoids". Drugs. 65 (11): 1481–91. doi:10.2165/00003495-200565110-00003. PMID 16134260.{{cite journal}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  28. Pescatori, M; Gagliardi, G (2008-03). "Postoperative complications after procedure for prolapsed hemorrhoids (PPH) and stapled transanal rectal resection (STARR) procedures". Techniques in coloproctology. 12 (1): 7–19. doi:10.1007/s10151-008-0391-0. PMC 2778725. PMID 18512007. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  29. Ommer, A; Wenger, FA; Rolfs, T; Walz, MK (2008-11). "Continence disorders after anal surgery—a relevant problem?". International journal of colorectal disease. 23 (11): 1023–31. doi:10.1007/s00384-008-0524-y. PMID 18629515. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  30. 30.0 30.1 Lagares-Garcia, JA; Nogueras, JJ (2002-12). "Anal stenosis and mucosal ectropion". The Surgical clinics of North America. 82 (6): 1225–31, vii. doi:10.1016/s0039-6109(02)00081-6. PMID 12516850. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  31. Shanmugam, V; Thaha, MA; Rabindranath, KS; Campbell, KL; Steele, RJ; Loudon, MA (2005-07-20). "Rubber band ligation versus excisional haemorrhoidectomy for haemorrhoids". Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD005034. doi:10.1002/14651858.CD005034.pub2. PMID 16034963.
  32. Ratnasingham, K; Uzzaman, M; Andreani, SM; Light, D; Patel, B (2010). "Meta-analysis of the use of glyceryl trinitrate ointment after haemorrhoidectomy as an analgesic and in promoting wound healing". International journal of surgery (London, England). 8 (8): 606–11. doi:10.1016/j.ijsu.2010.04.012. PMID 20691294.
  33. Jayaraman, S; Colquhoun, PH; Malthaner, RA (2006-10-18). "Stapled versus conventional surgery for hemorrhoids". Cochrane Database of Systematic Reviews (4): CD005393. doi:10.1002/14651858.CD005393.pub2. PMID 17054255.
  34. Lynge, Dana Christian; Weiss, Barry D. 20 Common Problems: Surgical Problems And Procedures In Primary Care. McGraw-Hill Professional. p. 114. ISBN 978-0-07-136002-9.
  35. 35.0 35.1 35.2 Agbo, SP (2011-01-01). "Surgical management of hemorrhoids". Journal of Surgical Technique and Case Report. 3 (2): 68. doi:10.4103/2006-8808.92797.
  36. Cataldo, Peter (2005). "Hemorrhoids". Arlington Heights, IL: American Society of Colon and Rectal Surgeons. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-09-30.
  37. Lewis, Charlton T; Short, Charles. "hæmorrhoida". A Latin Dictionary, on Perseus Digital Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-25.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  38. Liddell, Henry George; Scott, Robert. "αἷμα". A Greek-English Lexicon, on Perseus Digital Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  39. Liddell, Henry George; Scott, Robert. "ῥόος". A Greek-English Lexicon, on Perseus Digital Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  40. Liddell, Henry George; Scott, Robert. "???". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  41. Kaegel, Dick (2009-03-05). "Memories fill Kauffman Stadium". Major League Baseball. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05.
  42. "Brett in Hospital for Surgery". The New York Times. Associated Press. 1981-03-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-11.
  43. "Glenn Beck: Put the 'Care' Back in Health Care". ABC Good Morning America. 2008-01-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-28. สืบค้นเมื่อ 2012-09-17.
  44. "Beck From the Dead". YouTube (Mr?Beck speaking from home shortly after hospital). GlennBeckVideos. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09.
  45. "Carter Leaves Hospital". The New York Times. 1984-01-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-09. สืบค้นเมื่อ 2013-09-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก