ช่องคลอด (อังกฤษ: Vagina) รากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึง สิ่งหุ้ม หรือ ฝัก

ช่องคลอด
แผนภาพช่องสืบพันธุ์และรังไข่ของมนุษย์เพศหญิง
รายละเอียด
คัพภกรรมurogenital sinus และ paramesonephric ducts
หลอดเลือดแดงsuperior part to uterine artery, middle and inferior parts to vaginal artery
หลอดเลือดดำuterovaginal venous plexus, vaginal vein
ประสาทSympathetic: lumbar splanchnic plexus
Parasympathetic: pelvic splanchnic plexus
น้ำเหลืองupper part to internal iliac lymph nodes, lower part to superficial inguinal lymph nodes
ตัวระบุ
ภาษาละตินVagina
MeSHD014621
TA98A09.1.04.001
TA23523
FMA19949
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

โดยทั่วไปในภาษาปาก คำว่า "ช่องคลอด" มักใช้เรียกแทน "ช่องสังวาส" หรือ "อวัยวะเพศหญิง" หรือ "แคม" ในภาษาทางการ "ช่องคลอด" หมายถึง โครงสร้างภายใน ส่วน "ช่องสังวาส" และคำอื่น ๆ หมายถึง "อวัยวะเพศหญิงภายนอก" เท่านั้น ในภาษาสแลง มีคำหยาบและคำต้องห้ามหลายคำใช้เรียกแทน ช่องคลอด หรือ ช่องสังวาส ในภาษาไทย เช่น หี, หอย, จิ๋ม ฯลฯ หรือในภาษาอังกฤษ เช่น cunt, pussy ฯลฯ

กายวิภาคและสรีระ

แก้

ช่องคลอด เป็นช่องกลวง ต่อจาก ปากมดลูก (ซึ่งเป็นอวัยวะในอุ้งเชิงกราน) เปิดออกสู่ภายนอก ที่ปากเปิดช่องคลอด ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศเมีย

มีหน้าที่เป็น ช่องทางที่ใช้ร่วมเพศ และเป็น ช่องทางคลอดทารก และระบายรก

เปรียบได้กับ ช่องวางไข่ (en:cloaca) ใน นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วางไข่ (en:monotreme) ในแมลง และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ก็มีช่องคลอดเช่นกัน โดยเป็นส่วนปลายจาก ท่อนำไข่ (oviduct)

ช่องคลอดของมนุษย์ มีความยาว ความกว้าง และรูปร่าง ที่หลากหลาย ถ้ายืนตรง จะดิ่งเอียงขึ้นด้านหลัง ทำมุม 45 องศา ในชาวตะวันตก มีความยาวและขนาดปกติเฉลี่ยสั้นหรือยาวกว่าค่าเฉลี่ยขององคชาติเล็กน้อย คือ ยาวประมาณ 4 นิ้ว หรือ 100 มม. และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว (25 มม.) ซึ่งแตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน แต่ละเชื้อชาติ (ค่าเฉลี่ยของผู้หญิงไทยน้อยกว่าเล็กน้อย) กระนั้นก็สามารถยืดหยุ่นเพื่อรองรับขนาดขององคชาติที่ใหญ่กว่าได้ ขณะที่ผู้หญิงให้กำเนิดบุตรหรือมีเพศสัมพันธ์ สามารถขยายได้ถึง 2-3 เท่า

ปากช่องคลอด อยู่ที่ส่วนท้าย (ส่วนล่าง) ของ ช่องสังวาส คือถัดลงไปจาก ปากท่อปัสสาวะ ผนังด้านในของช่องคลอด มักเป็นสีชมพู (เช่นเดียวกับเยื่อกล้ามเนื้อภายในอื่นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) มีลักษณะเป็นลอนคล้ายลูกคลื่น ยืดหยุ่นได้

ต่อมบาร์โธลิน (Bartholin's glands) 1 คู่ ที่อยู่ใกล้คอของช่องคลอด ขับน้ำเมือกออกมาหล่อลื่นซึมไปทั่วทั้ง ผนังช่องคลอด (ซึ่งไม่มีต่อมใดอยู่) เพื่อหล่อลื่นให้ชุ่มชื่น และฆ่าเชื้อ

 
เยื่อพรหมจรรย์ (hymen)

เยื่อพรหมจรรย์ (hymen) เป็นเยื่อบาง ๆ หลังปากท่อปัสสาวะ ที่ลงมาปิดช่องคลอดบางส่วน พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด รวมถึงมนุษย์เพศหญิง ซึ่งมีมาแต่กำเนิด จนกว่าจะฉีกขาด โดยการมีเพศสัมพันธ์ หรือล่วงล้ำโดยวัตถุแปลกปลอม หรือกิจกรรมที่ได้รับการกระทบกระเทือน เช่น การขี่ม้า ขี่จักรยาน เล่นยิมนาสติก ฯลฯ หรือการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม สังเกตว่าการมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่สาเหตุของการฉีกขาดเสมอไป กล่าวคือ ไม่จริงที่ว่า ผู้หญิงต้องมีเยื่อพรหมจรรย์บริบูรณ์ จึงต้องถือว่าเป็นพรหมจรรย์

ที่ปากช่องคลอดมี ปุ่มกระสัน คือติ่งเนื้อขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว อยู่เหนือแคมเล็ก โดยมี กลีบปิดปุ่มกระสัน ที่อยู่บนแคมใหญ่ปิดอยู่อีกชั้นหนึ่ง ปุ่มกระสัน เปรียบได้กับ องคชาต ของเพศชาย กล่าวคือเป็นจุดที่ไวต่อการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

การทำงาน

แก้

ในมุมมองทางชีววิทยา ช่องคลอดมีบทบาทที่เกี่ยวข้องดังนี้:

  • การมีประจำเดือน
  • กิจกรรมทางเพศ
  • การให้กำเนิด

ประจำเดือน

แก้

ช่องคลอดเป็นทางผ่านให้ เลือดประจำเดือน ไหลออกจากร่างกาย ในสังคมสมัยใหม่มี ผ้าอนามัยชนิดสอด, ถ้วยประจำเดือน และผ้าอนามัย ใช้สำหรับซับหรือเก็บ

กิจกรรมทางเพศ

แก้

จุดร่วมของปลายประสาท วางตัวใกล้ปากของช่องคลอด เป็นจุดสัมผัสที่สร้างความรู้สึกพอใจระหว่างกิจกรรมทางเพศ เมื่อถูกกระตุ้นในวิธีที่ถูก มีโอกาสถึงจุดสุดยอดในการสำเร็จความใคร่ รวมถึงการสอดใส่ขององคชาติอย่างนุ่มนวลถูกวิธี ระหว่างการร่วมเพศ แรงกด, ความอบอุ่นและการเสียดสีจากช่องคลอดบนองคชาติทำให้ตื่นเต้น เป็นผลให้สำเร็จความใคร่ และเกิดการหลั่ง ซึ่งนำไปสู่ การปฏิสนธิ และตั้งครรภ์

อีกบริเวณที่ไวต่อสัมผัสทางเพศ เรียกว่า "จี-สปอต" อยู่ภายในช่องคลอด บริเวณตอนบน ลึกเข้าไปประมาณ 5 ซม. ผู้หญิงส่วนรายที่สามารถสำเร็จความใคร่ได้ หากกระตุ้นเฉพาะ จี-สปอต

การให้กำเนิด

แก้

ระหว่างให้กำเนิดบุตร ช่องคลอดเป็นเส้นทางคลอดทารกจากในมดลูกสู่ชีวิตเสรีภาพภายนอกร่างกายมารดา ระหว่างนั้น ช่องคลอดมักถูกเรียกว่า ช่องกำเนิด (birth canal)

สุขภาพ

แก้

ช่องคลอดเป็นอวัยวะที่สามารถทำความสะอาดตัวเอง ไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาอย่างพิถีพิถันเจาะจง เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในบ่อยเกินไป อาจเป็นการฆ่าเชื้อขั้นพื้นฐานโดยธรรมชาติ แพทย์ห้ามฉีดน้ำเข้าไป เพราะทำให้สมดุลภายในช่องคลอดเสียไป และอาจเร่งให้เกิดติดเชื้ออักเสบในอุ้งเชิงกราน ถ้ามีความผิดปกติ ควรพบสูตินรีแพทย์ กรณีหากจำเป็นต้องตรวจภายใน แพทย์มักใช้เครื่องมือที่เรียกว่า สเปกคูลัม (speculum) เปิดสำรวจภายใน และเก็บตัวอย่างสะเก็ดผิวไปตรวจ

มีโรคที่เกี่ยวกับช่องคลอดมากมาย รวมถึง มะเร็งในช่องคลอด และการติดเชื้อยีสต์

อ้างอิง

แก้

บทความที่เกี่ยวข้อง

แก้

กายวิภาคศาสตร์