กางเขน
กางเขน (อังกฤษ: Cross) เป็นเครื่องหมายทรงเรขาคณิตที่ประกอบด้วยแกนสองแกนตัดเป็นมุมฉากกัน ตามปกติแล้วแกนจะเป็นแนวตั้งขวางกับแนวนอน แต่ถ้าตัดทแยงกันก็จะเรียกว่ากางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญแอนดรูว์
กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้โดยมนุษย์ และใช้เป็นสัญลักษณ์ศาสนาหลายศาสนาที่รวมทั้งคริสต์ศาสนา กางเขนบ่อยครั้งจะเป็นสัญลักษณ์ของธาตุหลักทั้ง 4 ของโลก (เชวาลิเย, ค.ศ. 1997) หรืออีกความหมายหนึ่งคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเทพที่เป็นแกนตั้งและโลกที่คือแกนนอน (คอค, ค.ศ. 1955)
ที่มาของคำ
แก้คำว่า “Cross” เข้ามาในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ในการสังหารพระเยซู ที่มาแทนที่คำว่า “rood” ที่ใช้อยู่แต่เดิม คำว่า “Cross” มาจากภาษาละติน “crux” ที่แผลงมาเป็น “cros” ที่ในภาษาละตินหมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการตรึงกางเขน
กางเขนที่ใช้เป็นเครื่องหมาย
แก้กางเขนใช้เป็นเครื่องหมายหลายอย่างโดยเฉพาะในคณิตศาสตร์ที่รวมทั้ง
- เลขโรมันสำหรับเลข 10 คือ “X”
- อักษรโรมันสำหรับอักษร X และ “t” เล็ก
- อักษรจีนสำหรับเลข 10 “十”
- เครื่องหมาย “†” (obelus)
- เครื่องหมาย “+” สำหรับบวก และ “x” สำหรับคูณในคณิตศาสตร์
- เครื่องหมาย “x” สำหรับระบุว่าเป็นสิ่งที่เลือก
กางเขนแบบต่างๆ
แก้ชื่อกางเขน | คำบรรยาย | รูป |
---|---|---|
กางเขนละติน (Latin cross crux ordinaria) |
เป็นทรงกางเขนที่นิยมมากที่สุดในคริสต์ศาสนา เป็นสัญลักษณ์ของการไถ่บาปให้มนุษย์ของพระเยซู เมื่อมีการตรึงพระเยซูที่กางเขนบนกางเขนแท้ (True Cross) และการคืนชีพของพระองค์ ตามที่บรรยายในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ | |
กางเขนอียิปต์ (Ankh Egyptian Cross Key of the Nile Looped Tau Cross Ansate Cross) |
เป็นกางเขนของอียิปต์โบราณที่เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตและการเจริญพันธุ์ (fertility) บางครั้งก็จะได้ชื่อเป็นภาษาลาตินเมื่อปรากฏในบันทึกของคริสเตียนเช่น crux ansata ("กางเขนมือถือ") | |
คอปติกแองค์ (Coptic ankh) |
คอปติกแองค์เป็นกางเขนอียิปต์ที่มีมาก่อนกางเขนคอปติกของผู้นับถือคริสต์ศาสนาในอียิปต์ | |
กางเขนคอปติกดั้งเดิม (Original Coptic Cross) |
กางเขนคอปติกดั้งเดิมเป็นกางเขนคอปติกที่ใช้โดยคริสต์ศาสนิกชนในอียิปต์ | |
กางเขนคอปติก (Coptic Cross) |
เป็นกางเขนที่มีวงแหวนตั้งอยู่ตรงกลางโดยมีรัศมีสี่แฉกเป็นรูปตัว “T” ทแยงออกไปสี่ทิศโดยมีหัวตัวทีอยู่ด้านนอก ที่เป็นสัญลักษณ์ของตาปูที่ใช้ในการตรึงกางเขนพระเยซู กางเขนชนิดได้รับชื่อจากคอปติกออร์ทอดอกซ์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อะเล็กซานเดรียในอียิปต์ | |
กางเขนคอปติกใหม่ (New Coptic Cross) |
กางเขนคอปติกใหม่เป็นกางเขนที่ใช้โดยชาวอียิปต์ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายคอปติกออร์ทอดอกซ์แห่งอะเล็กซานเดรียที่วิวัฒนาการมาจากกางเขนคอปติกดั้งเดิม A gallery of Coptic Crosses can be found here. | |
กางเขนสุริยะ (Sun cross Sunwheel solar cross Odin's cross) |
หรือที่เรียกว่า “กางเขนโอดิน” เพราะสัญลักษณ์ของโอดินในตำนานเทพนอร์สเป็นกางเขนในวงกลม เป็นกางเขนที่ใช้กันโดยทั่วไปในวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาที่เป็นสัญลักษณ์ของวงล้อแห่งการเยียวยา (Medicine Wheel) ของชีวิต และเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการไญยนิยม | |
กางเขนเคลติก (High cross Celtic cross) |
กางเขนเคลติกที่ยืนเด่นมักจะพบโดยทั่วไปในไอร์แลนด์และบางแห่งในบริเตนใหญ่ และจะพบบ่อยในสุสาน | |
กางเขนแคนเทอร์เบอรี (Canterbury cross) |
ใช้โดยแองกลิคันเป็นกางเขนสี่แฉกที่มีความยาวเท่ากัน ปลายของแต่ละแฉกจะบานออกไปจากศูนย์กลางคล้ายใบขวานจนด้านนอกเกือบจะจรดกันเป็นวงกลม กลางแฉกแต่ละแฉกจะมีเครื่องหมายเป็นรูปสามเหลี่ยมวงซ้อนสามเหลี่ยม (triquetra) ที่เป็นสัญลักษณ์ของตรีเอกภาพ ใจกลางของกางเขนเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก สัญลักษณ์เดิมของแองโกล-แซกซันที่เป็นเข็มกลัดมีอายุมาตั้งแต่ราว ค.ศ. 850 ที่มาขุดพบในปี ค.ศ. 1867 ที่แคนเทอร์เบอรีในอังกฤษ | |
มหากางเขน (Crucifix) |
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขน เป็นกางเขนที่ใช้ในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ที่เน้นการเสียสละของพระองค์โดยการพลีชีพบนกางเขน | |
กางเขนกรีก Greek cross crux immissa quadrata |
เป็นกางเขนที่ใช้โดยเฉพาะในอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และศาสนาคริสต์ยุคแรก ที่แขนแต่ละข้างของกางเขนมีความยาวเท่ากัน | |
กางเขนกรีกฟลอเรียน Florian cross |
กางเขนนี้ตั้งชื่อตามนักบุญฟลอเรียนผู้เป็นักบุญองค์อุปถัมภ์ของนักดับเพลิงในโปแลนด์ ออสเตรีย และ เยอรมนี มีลักษณะใกล้เคียงกับกางเขนมอลตาและกางเขนปลายบาน แต่แตกต่างตรงที่ปลายกางเขนจะมีลักษณะโค้งเป็นคลื่น ที่มีด้วยกันสองลักษณะ ๆ แรกมักจะพบในตราสัญลักษณ์ (badge) ของผู้บริการดับเพลิง ตราล่างมักจะใช้ในเหรียญที่สร้างฉลองนักบุญฟลอเรียน | |
กางเขนตะวันออก (Eastern cross) |
เป็นกางเขนที่ใช้โดยอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และอีสเทิร์นคาทอลิกแห่งไบแซนไทน์ เส้นบนกล่าวว่าเป็นสัญลักษณ์ของหัวเตียง และเส้นล่างเป็นสัญลักษณ์ของที่พักเท้า เส้นทแยงเป็นสัญลักษณ์ของพระเยซูที่ทรงบิดพระวรกายด้วยความเจ็บปวดอย่างรุนแรงจนที่พักพระบาทหลุดเลื่อนจากที่ ที่พักพระบาททแยงขึ้นไปทางซ้าย ที่เป็นทิศทางของโจรผู้กล่าวกับพระองค์ว่า “จำข้าด้วยเมื่อท่านเข้าสู่อาณาจักรของท่าน” ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของคุณธรรมที่ชนะอธรรม ตัวอักษร “IC XC” ตอนปลายของกางเขนขวางสองข้างเป็นอักษรย่อของพระเยซู (Christogram) ที่อักษรย่อจากภาษากรีก “ΙΗΣΟΥΣ ΧΡΙΣΤΟΣ” หรือ “IHCOYC XPICTOC” ซึ่งเป็นพระนามของพระองค์ | |
กางเขนนักบุญบริจิด (St. Brigid's Cross) |
เป็นกางเขนที่พบทั่วไปในไอร์แลนด์ ที่กล่าวกันว่าเป็นกางเขนที่สร้างโดยบริจิดลูกสาวของกษัตริย์นอกคริสต์ศาสนาจากใบหญ้าเพื่อจะใช้ในการทำพิธีเปลี่ยนศาสนา แต่ชื่อ “Brigid” มาจาก “Brigit” (สะกดอื่นก็ได้แก่ Brìghde, Brìde และ Bríde) เป็นเทพีแห่งไฟ กวีนิพนธ์ และช่างเหล็ก ของเคลติค ในปัจจุบันเป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ในการป้องกันอัคคีภัย กางเขนนี้เป็นตัวอย่างของการผสานระหว่างคริสต์ศาสนากับวัฒนธรรมพื้นบ้าน | |
กางเขนคอนสแตนติน (Chi-Rho labarum) |
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ที่มาจากอักษรย่อของพระเยซูในภาษากรีก “Χριστός” (chi = ch และ rho = r) กางเขนที่ใช้อักษรย่อนี้มีด้วยกันหลายแบบ | |
กางเขนลอแรน (Cross of Lorraine) |
เป็นกางเขนที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่มีลักษณะเกือบเหมือนกางเขนอัครบิดร แต่แขนกางเขนหนึ่งตั้งอยู่เกือบกลางจุดตัดของกางเขน และอีกแขนหนึ่งอยู่ตอนบน แทนที่ทั้งสองแขนจะตั้งอยู่ด้วยกันตอนบน กางเขนลอร์แรนเป็นเครื่องหมายที่ใช้ในตราอาร์มของแคว้นลอแรนทางตะวันออกของฝรั่งเศส เดิมเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของโยนออฟอาร์คผู้ต่อต้านการครอบครองของอังกฤษในฝรั่งเศสระหว่างสงครามร้อยปี | |
กางเขนพระแม่มารีย์ (Marian Cross) |
เป็นกางเขนที่ใช้ในตราอาร์มของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ที่ประยุกต์มาจากกางเขนคริสเตียนที่เน้นความศรัทธาในองค์พระนางมารีย์พรหมจารี | |
กางเขนนอร์ดิก (Nordic Cross) |
ใช้ในธงที่มาจากธงแดนเนอบรอก | |
กางเขนอ็อกซิทาเนีย (Occitan cross) |
เป็นกางเขนที่มาจากตราอาร์มของเคานต์แห่งตูลูซที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของอ็อคซิทาเนีย (Occitania) ทั้งหมด | |
กางเขนพระสันตะปาปา (Papal Cross) |
เป็นกางเขนที่มีแขนกางเขนสามแขนขวางแกนกลางที่เป็นสัญลักษณ์ของไตรอำนาจของพระสันตะปาปาในฐานะบิชอปแห่งโรม ประมุขของคริสตจักรตะวันตก และ ผู้สืบการเป็นประมุขของคริสเตียนต่อมาจากนักบุญเปโตร | |
กางเขนอัครบิดร (Patriarchal cross) |
มีลักษณะคล้ายกางเขนคริสเตียนแต่มีแขนกางเขนสั้นเพิ่มอีกหนึ่งแขนเหนือแขนหลักที่เป็นสัญลักษณ์ของอาร์ชบิชอปและอัครบิดรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ บางครั้งก็จะมีแขนกางเขนทแยงบนตอนล่างของแกนตั้ง และมีลักษณะคล้าย กางเขนลอแรน และ กางเขนซาเล็ม | |
กางเขนเพรสไบทีเรียน (Presbyterian Cross) |
ใช้โดยนิกายเพรสไบทีเรียน | |
กางเขนกาชาด (Red Cross) |
สภากาชาดใช้กางเขนกาชาดเป็นสัญลักษณ์ของการรักษาพยาบาลเกือบทั่วโลก ยกเว้นประเทศในกลุ่มอิสลามที่ใช้ตรางซึกวงเดือนแดง (Red Crescent) และ ดาราแห่งเดวิด (Star of David) สีแดงในอิสราเอล | |
กางเขนแห่งความเสียสละ (Cross of Sacrifice) |
เป็นกางเขนลาตินประดับดาบที่ปลายดาบห้อยลงข้างล่างที่เป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมาธิการอนุสรณ์ทหารผ่านศึกแห่งเครือจักรภพ (Commonwealth War Graves Commission) ที่จะพบในสุสานทหารหลายแห่ง | |
กางเขนซาเล็ม (Cross of Salem) |
หรือบางครั้งก็เรียกว่า “กางเขนพระสันตะปาปา” เพราะเป็นกางเขนที่ใช้นำหน้าพระสันตะปาปาที่มีลักษณะคล้ายกางเขนอัครบิดร แต่มีแขนกางเขนเพิ่มอีกหนึ่งแขนใต้แขนหลักที่มีความยาวเท่ากับแขนบนสุด และมีลักษณะคล้ายกางเขนตะวันออก | |
กางเขนจอร์เจีย (Royal Flag of Georgia) |
ใช้ในจอร์เจียเป็นธงประจำชาติ ใช้เป็นครั้งแรกโดยพระมหากษัตริย์จอร์เจีย Vakhtang Gorgasali ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และต่อมานำมาใช้โดยพระราชินีทามาร์แห่งจอร์เจียในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นธงที่มีกางเขนเยรูซาเลมที่เริ่มใช้ในรัชสมัยของจอร์จที่ 5 แห่งจอร์เจียผู้ทรงขับชาวมองโกลออกจากจอร์เจียในปี ค.ศ. 1334 |
|
กางเขนเถาองุ่น (Grapevine cross St. Nino's Cross) |
กางเขนเถาองุ่นตามธรรมเนียมแล้วเป็นกางเขนของนักบุญนิโนผู้เป็นผู้ทำพิธีรับศีลจุ่มให้แก่ชาวจอร์เจีย และใช้เป็นสัญลักษณ์ของนิกายจอร์เจียออร์โธด็อกซ์ | |
กางเขนนักบุญทอมัส (Nasrani Menorah St. Thomas Cross Mar Thoma Cross) |
เป็นกางเขนของนักบุญทอมัสอัครสาวกแห่งอินเดีย ใช้เป็นสัญลักษณ์ของนิกายซีเรียมาลาบาร์คาทอลิก (Syro-Malabar Catholic Church) หรือใช้โดย “ชาวซีเรียมาลาบาร์นาสรานี” (Syrian Malabar Nasrani) [1] | |
กางเขนไขว้ (Saint Andrew's Cross Saltire Boundary Cross crux decussata) |
ใช้เป็นธงชาติสกอตแลนด์, ตรากองทัพเรือรัสเซีย และอดีตสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America) บางครั้งก็เรียกว่า “กางเขนเขตแดน” เพราะใช้โดยโรมันสำหรับเป็นเครื่องหมายขอบเขต และ “กางเขนพระสันตะปาปา” เชื่อกันว่านักบุญอันดรูว์ถูกตรึงกางเขนบนกางเขนทรงนี้ซึ่งทำให้ได้รับชื่อดังว่า | |
กางเขนนักบุญจอร์จ (St George's Cross) |
ใช้ในธงชาติอังกฤษ | |
กางเขนนักบุญเปโตร (Cross of St. Peter Inverted Cross |
เป็นกางเขนละตินกลับหัวกลับหางที่เชื่อกันว่าเป็นลักษณะของกางเขนที่นักบุญซีโมนเปโตรถูกตรึงห้อยหัว ในปัจจุบันกางเขนนี้มักจะเกี่ยวข้องกับผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อคริสต์ศาสนา หรือกลุ่มลัทธิซาตาน | |
หัวกะโหลกและกระดูกไขว้ (Skull and crossbones) |
ไม่เชิงเป็นกางเขน แต่เป็นกระดูกที่จัดในรูปกางเขนไขว้ และตอนบนประดับด้วยหัวกะโหลก | |
กางเขนนักบุญแอนโทนี (Cross of Tau Saint Anthony's Cross Egyptian Cross crux commissa) |
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของนักบุญแอนโทนีอธิการ มีลักษณะคล้ายอักษร “T” นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีใช้กางเขนนี้เป็นเป็นสัญลักษณ์ | |
กางเขนโจร Thieves' Cross Furka Cross |
มีลักษณะคล้ายอักษร “Y” [1] | |
กางเขนสมอ กางเขนนักบุญเคลเมนต์ Mariner's Cross St. Clement's Cross |
เป็นกางเขนแปลงที่มีลักษณะเหมือนสมอเรือ หรือบางครั้งก็ถือว่าเป็นกางเขนของนักบุญเคลเมนต์ ที่ตามตำนานกล่าวว่าถูกมัดกับสมอเรือและจับถ่วงน้ำในทะเลดำ | |
คณะกางเขนพระคริสต์ Order of Christ Cross |
เพิมเป็นกางเขนที่ใช้โดยคณะกางเขนพระคริสต์ของโปรตุเกส แต่ต่อมากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของโปรตุเกสที่ใช้บนเรือ carracks ระหว่างยุคแห่งการสำรวจ และในปัจจุบันในเขตปกครองตนเองมาเดราของโปรตุเกส และ กองทัพอากาศโปรตุเกส | |
กางเขนเคลติก ประยุกต์ |
กลุ่มขบวนการชาตินิยมชนผิวขาว (white nationalist) และ ฟาสซิสต์ใหม่บางกลุ่มใช้กางเขนเคลติกประยุกต์เป็นสัญลักษณ์ ที่เป็นเส้นสายง่ายๆ โดยไม่มีสิ่งตกแต่งอันซับซ้อนเช่นกางเขนเคลติกตามปกติ | |
กางเขนเซอร์เบีย (Serbian cross Tetragrammatic cross) |
เป็นกางเขนที่ประยุกต์มาจากกางเขนคอนสแตนตินและใช้บนเหรียญไบแซนไทน์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เครื่องหมายสี่เชื่อกันว่าเป็นหินเหล็กไฟ หรือ หินตีไฟ หรือเป็นอักษร “ß” ของคำแรกของคำขวัญของราชวงศ์พาลาโอโลกอส: “ราชาแห่งราชาปกครองเหนือราชาทั้งปวง” (กรีก: ßασιλεύς ßασιλέων, ßασιλεύων ßασιλευόντων - Basileus Basileōn, Basileuōn Basileuontōn)
กางเขนนี้ใช้โดยรัฐในเซอร์เบียและนิกายเซอร์เบียนออร์ทอดอกซ์ตั้งแต่สมัยกลางตั้งแต่รัชสมัยของ Stefan Uroš IV Dušan of Serbia เมื่อทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็นซาร์แห่งเซอร์เบียและกรีซในปี ค.ศ. 1345 ในปัจจุบันกางเขนเป็นสัญลักษณ์ของชาติพันธุ์ ชาติ และ ศาสนาของชาวเซิร์บ และ เซอร์เบีย |
|
สวัสติกะ (Swastika) |
สวัสติกะเป็นกางเขนที่เป็นเครื่องหมากากบาทที่ตอนปลายหักเป็นมุมฉากที่อาจจะหันไปทางซ้าย (卐) หรือ ทางขวา (卍) ก็ได้ การใช้สวัสติกะมีมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ในบริเวณที่ในปัจจุบันคืออินเดีย บางครั้งก็ใช้เป็นลายตกแต่งเรขาคณิต หรือบางครั้งก็จะเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา สวัสติกะยังคงเป็นสัญลักษณ์ที่นิยมใช้กันในศาสนาตะวันออก / ศาสนากลุ่มธรรมะ เช่น ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ และ ศาสนาเชน แม้ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปทั่วโลก แต่เมื่อมาได้รับการใช้โดยนาซีเยอรมนี สัญลักษณ์นี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ต้องห้ามในโลกตะวันตก |
ในมุทราศาสตร์
แก้กางเขนที่ปรากฏข้างล่างใช้ในการสร้างตราอาร์ม และบางครั้งอาจจะไม่มีความหมายพิเศษแต่อย่างใด
ชื่อกางเขน | คำบรรยาย | รูป |
---|---|---|
กางเขนในกลุ่ม “เรขลักษณ์” |
กางเขนแบบพื้นฐานที่สุดในมุทราศาสตร์ (จะไม่นิยามถ้าใช้ลักษณะมาตรฐาน) แขนกางเขนสี่แขนจะมีความยาวเท่าๆ กันและได้สัดส่วนกับแบบของโล่ที่ใช้ โดยแขนกางเขนทั้งสีจรดของโล่ เช่นในนิยาม “Azure, a cross Or” (พื้นตราสีน้ำเงิน กางเขนสีทอง)
กางเขนที่ปลายไม่ยืดไปจรดขอบเรียกว่า “humetty” หรือ “กางเขนลอย” |
|
กางเขนสมอ (Cross anchry) |
เป็นกางเขนประยุกต์ที่มีลักษณะเหมือนสมอเรือ | |
กางเขนปลายศร (Cross barbée cross barby arrow cross) |
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายเป็นลูกศร การใช้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือโดยฟาสซิสต์ของพรรคแอร์โรว์ครอส (Arrow Cross Party) ในคริสต์ทศวรรษ 1930 แต่เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันมานานก่อนหน้านั้น ที่ใช้โดยชนฮังการีในสมัยกลาง.[ต้องการอ้างอิง] ในการใช้ทางคริสต์ศาสนา ปลายกางเขนดูเหมือนขอตกปลา หรือหอกแทงปลา ซึ่งที่เป็นนัยยะถึงสัญลักษณ์ของพระเยซูผู้เป็น “fishers of men” ในพระคัมภีร์ | |
กางเขนปลายดอกจิก (Cross anchry) |
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายมีลักษณะเหมือนดอกจิกสามแฉก (trefoil) ที่ปรากฏในสถาปัตยกรรม ตัวอย่างของเครื่องหมายนี้เช่นบนธงรัฐแมริแลนด์ | |
กางเขนเขาแพะ (Cross cercelée) |
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแตกเป็นสองแฉกบานออกไปทั้งสองข้างคล้ายเขาแพะ | |
กางเขนปลายกางเขน (Cross anchry) |
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกเป็นกางเขนเล็ก | |
กางเขนลิลลี (Cross fleury) |
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกมีลักษณะเหมือนสัญลักษณ์ดอกลิลลี | |
กางเขนปลายซ่อม (Cross anchry) |
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกแตกออกไปเป็นรูป “Y” (fourchée หรือ fourchy) | |
กางเขนปลายงอ (Cross fylfot) |
กางเขนแนวตั้งที่มีปลายงอคล้ายสวัสติกะ | |
กางเขนเยรูซาเลม กางเขนครูเสด (Jerusalem cross Crusader's Cross) |
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมของนักรบครูเสดที่รุ่งเรืองอยู่เกือบสองร้อยปีหลังจากสงครามครูเสดครั้งที่ 1 กางเขนเล็กสี่กางเขนกล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระวรสารสี่เล่ม (Gospel) หรือทิศทั้งสี่ของโลกที่ศาสนาคริสต์เผยแพร่ออกไปจากกรุงเยรูซาเลม หรือกางเขนทั้งห้าอาจจะถือว่าเป็นแผลทั้งห้าของพระเยซูที่ทรงได้รับเมื่อถูกตรึงกางเขน กางเขนเดียวกันนี้ใช้ใช้บนธงประจำชาติขเงจอร์เจีย และเป็นตราของลัทธิโฮลีเซพัลเครอ (Order of the Holy Sepulchre) และของนิกายผู้รักษาดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (Custody of the Holy Land) ของลัทธิฟรานซิสกัน | |
กางเขนมอลตา (Maltese Cross) |
เป็นกางเขนที่แต่แฉกเป็นสามเหลี่ยมปลายแหลมที่แต่ละยอดมาจรดตรงกลาง ปลายนอกบานออกไป โดยมีฐานที่หยักแหลม | |
กางเขนเขาแพะน้อย (Cross moline) |
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแตกเป็นสองแฉกบานออกไปทั้งสองข้างคล้ายกางเขนเขาแพะและความบานตอนปลายน้อยกว่ามาก | |
กางเขนลิลลีหนา (Cross anchry cross patonce) |
มีลักษณะคล้ายกางเขนลิลลีแต่หนากว่า | |
กางเขนปลายบาน (Cross pattée formée) |
มีลักษณะคล้ายกางเขนมอลตาแต่ปลายที่จรดกันตรงศูนย์กลางกว้างกว่าและปลายฐานด้านนอกไม่หยักแหลม (ดูกางเขนเหล็ก) | |
กางเขนปลายปุ่ม (Cross anchry pommée pommy) |
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแขนแต่ละแขนเป็นปุ่มกลม | |
กางเขนปลายที (Cross potent) |
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแขนแต่ละแขนเป็นแกนขวางประกบเหมือนตัว “T” คำว่า “Potent” เป็นคำเก่าที่แปลว่าไม้ยัน และเป็นคำที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่หมายถึงทรง ตัว “T” | |
กางเขนจตุรัสทับกลาง (Quadrate) |
เป็นกางเขนที่มีสี่เหลี่ยมจตุรัสทับกลางจุดตัดของแขนกางเขน | |
กางเขนสาน (Cross triple parted and fretted) |
กางเขนนี้จะนิยามว่า “cross triple parted and fretted” หรือ “treble parted and fretted” (“กางเขนสามตั้งและนอน”) สานกัน | |
กางเขนกลวง (Cross anchry Gammadia) |
กางเขนนี้จะนิยามว่า “cross voided throughout” มีลักษณะเป็นกางเขนกรีกที่ตอนกลางกลวงออก | |
?? (Cross fitchy) |
ปลายด้านล่างแหลมเหมือนดาบ | |
กางเขนนักบุญเจมส์ (Cross of St James) |
คล้ายกับ Cross fitchy แต่ปลายสองข้างเป็นดอกลิลลีและตอนล่างแหลมเป็นดาบ ซึ่งเป็นกางเขนสำหรับนักรบ และมักจะเป็นสีแดง |
ในธัชวิทยา
แก้ธงของประเทศหลายประเทศใช้เครื่องหมายกางเขนบนธง รวมทั้งธงของทุกชาติในสแกนดิเนเวียที่เรียกกันว่ากางเขนสแกนดิเนเวีย
ธงที่ใช้เครื่องหมายกางเขน
แก้ตัวอย่างของตราอาร์มที่ใช้กางเขน
แก้กางเขนลาติน ตำรวจอิตาลี |
กางเขนเขาแพะ Antoine de Beck |
กางเขนเขา แพะน้อย John Fordham |
กางเขนไขว้ Crion |
กางเขนปลาย ดอกจิก Ain |
กางเขนพระสันตะปาปา Le Monastier-Pin-Mories |
กางเขนงู Montfort en Bretagne |
กางเขนลอย Courcelles |
กางเขน fitchy Jean de Commercy |
กางเขนพระอาทิตย์ จักรวรรดิลาติน แห่งคอนสแตนติโนเปิล |
กางเขนปลายบาน Ostoja - Sciborye |
กางเขนเยรูซาเลม Beaumont-du-Ventoux |
กางเขนลิลลี Edwin of Tegeingl |
กางเขนปลายที Irañeta |
อ้างอิง
แก้- Chevalier, Jean (1997). "The Penguin Dictionary of Symbols". Penguin ISBN 0-14-051254-3
- Koch, Rudolf (1955). The Book of Signs. Dover, NY. ISBN 0-486-20162-7.
- Drury, Nevill (1985). Dictionary of Mysticism and the Occult. Harper & Row ISBN 0-06-062093-5
- Webber, F. R. (1927, rev 1938). Church Symbolism: an explanation of the more important symbols of the Old and New Testament, the primitive, the mediaeval and the modern church. Cleveland, OH. OCLC 236708.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กางเขน วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กางเขนในมุทราศาสตร์