ชีวิต
ชีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต
ความช่วยเหลือสำหรับตารางจำแนกพันธุ์อัตโนมัติ |
---|
ขอขอบคุณสำหรับการสร้างกล่องจำแนกพันธุ์อันโนมัตินี้ แต่เรายังไม่รู้จัก "oarm 2542" ลอง:
|
พารามิเตอร์ที่ใช้บ่อย |
|
ลิงก์ที่มีประโยชน์ |
ชีวิต ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 4280–0Ma | |
---|---|
ต้นไม้ในทิวเขารูเวนโซรี, ยูกันดา | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
ขาดข้อมูล (กรุณาคัดลอกจากหน้านี้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ มาที่หน้านี้): ขาดแม่แบบอนุกรมวิธาน ทำตามขั้นตอนด้านบนเพื่อสร้าง |
oarm 2542 |
เขต และอาณาจักร | |
ชีวิตบนโลก: |
ชีวิต คือ หน่วยที่ต้องใช้พลังงาน มีคุณสมบัติทั้งกายภาพและชีวภาพดังต่อไปนี้
- ลักษณะเฉพาะในการจัดการของระบบร่างกาย (specific oganization)
- มีกระบวนการสันดาป (metabolism)
- กระบวนการสลาย หรือ แคแทบอริซึม (catabolism)
- กระบวนการสร้าง หรือ แอแนบอริซึม (anabolism)
- มีการสืบพันธุ์ (reproduction)
- มีการเจริญและการเติบโต (Development and growth)
- มีการเคลื่อนไหว (movement)
- มีความรู้สึกตอบสนอง (irritability)
- มีการปรับตัวและวิวัฒนาการ (adaptation and evolution)
- มีภาวะธำรงดุล (homeostasis)
โครงสร้างสิ่งมีชีวิต
แก้ทุกชีวิตมีประกอบด้วยส่วนที่เล็กสุดเรียกว่าเซลล์ บางสิ่งมีชีวิตก็มีเพียง เซลล์เดียว(สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว) บางสิ่งมีชีวิตก็ประกอบด้วยหลายๆเซลล์มารวมกัน(สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์) เพื่อให้มีหน้าทีการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง กลุ่มของเซลล์ที่มารวมๆกันเป็นกลุ่มของเซลล์เรียกว่าเนื้อเยื่อ และในสัตว์จะเราจะแบ่งกลุ่มเนื้อเยื้อเป็นสี่ประเภทหลักๆ คือ กลุ่มเนื้อเยื่อบุผิว , กลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน , กลุ่มเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ , กลุ่มเนื้อเยื่อประสาท กลุ่มเนื้อเยื้อบางส่วนจะทำงานร่วมกัน เป็นอวัยวะ ที่มีหน้าที่เฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น ( หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือด หรือผิวหนังที่ทำหน้าทีปกป้องเราจากสภาพแวดล้อมภายนอก ) การร่วมตัวของกลุ่มเนื้อเยื้อรวมกันเป็นระบบอวัยวะของร่างกาย เช่น ระบบสืบพันธุ์ , ระบบย่อยอาหาร ซึ่งร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต
เซลล์
แก้การค้นพบเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เริ่มต้นจากปี ค.ศ.1655 รอเบิร์ต ฮุก(Robert Hook) ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบที่มีลำกล้องป้องกันแสงจากภายนอกรบกวน แล้วนำไปส่องดูชิ้นไม้คอร์คที่ฝานบาง ๆ ได้พบโครงสร้างที่มีรูปร่างเป็นช่องเหลี่ยมเล็ก ๆ จึงเรียกว่า เซลล์(Cell) ตามฮุกก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้พบและตั้งชื่อเซลล์เป็นคนแรก
ทฤษฎีเซลล์ ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1838 โดย Schleiden ซึ่งเป็นนักชีววิทยาชาวเยอรมัน ได้ศึกษาเซลล์ของพืชชนิดต่าง ๆ แล้วสรุปว่า พืชทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์ ต่อมาในปี ค.ศ.1839 Schwann ซึ่งเป็นนักชีววิทยาชาวเยอรมันได้ศึกษาเซลล์ของสัตว์ แล้วสรุปว่า เนื้อเยื่อของสัตว์ประกอบด้วยเซลล์ ในปีนี้เอง Schleiden และ Schwan ได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (Cell Theory) มีสาระสำคัญ คือ “สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ประกอบด้วย เซลล์ และผลิตภัณฑ์ของเซลล์” และในปี ค.ศ.1855 Rudolf Virchow ได้ศึกษาการเจริญเติบโตของเซลล์และการเพิ่มจำนวนเซลล์จากเซลล์ที่เจริญเติบโต จึงเพิ่มเติมทฤษฎีเซลล์ว่า “เซลล์ทุกชนิดย่อมมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีอยู่ก่อน” ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของชีววิทยาสมัยใหม่ มีสาระสำคัญคือ
- สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์
- เซลล์ที่เกิดใหม่ย่อมต้องมาจากเซลล์เดิมเท่านั้น
- เซลล์ทุกชนิดมีส่วนประกอบพื้นฐานและกระบวนการสร้างและสลาย (Metabolism) เหมือนกัน
- พฤติกรรม กิจกรรม และกระบวนการต่าง ๆ ที่ดำเนินอยู่ของสิ่งมีชีวิต เป็นผลมาจากการทำงานร่วมและประสานกันของกลุ่มเซลล์
อย่างไรก็ตามเซลล์ถูกแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ เซลล์ยูแคริโอต ( Eukaryotic cell ) และเซลล์โพรแคริโอต ( prokaryotic cell) เซลล์ยูแคริโอต คือเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จึงพบนิวเคลียสในเซลล์ มีสารพันธุกรรมอยู่ภายในนิวเคลียส ได้แก่ เซลล์สิ่งมีชีวิตทั่วไปที่นอกเหนือจากพวกโพรแคริโอต เช่น โพรทิสต์ เห็ดรา พืช และสัตว์ ส่วน เซลล์โพรแคริโอต คือเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จึงไม่เห็นว่ามีนิวเคลียส สารพันธุกรรม(ดีเอ็นเอ)กระจายอยู่ในไซโทพลาสซึม ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae) สิ่งมีชีวิตพวก โพรแคริโอต ถูกจำแนกอยู่ในอาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera) เท่านั้น
สิ่งมีชีวิตนอกโลก
แก้โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เรารู้ได้ในขณะนี้ ถึงแม้ว่าจะมีทฤษฎีที่อธิบายการกำเนิดของสิ่งมีชีวิต แต่ทฤษฎีเหล่านั้นยังคงไม่สามารถอธิบายการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตบนโลกและนอกโลกได้อย่างชัดเจน
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- การค้นพบและทฤษฎีของเซลล์ [1]
- Kauffman, Stuart. The Adjacent Possible: A Talk with Stuart Kauffman. Retrieved Nov. 30, 2003 from [2]
- Walker, Martin G. LIFE! Why We Exist...And What We Must Do to Survive (Book Page เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) (Web Site เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), Dog Ear Publishing, 2006, ISBN 1-59858-243-7
- Nealson KH, Conrad PG (December 1999). "Life: past, present and future". Philos. Trans. R. Soc. Lond., B, Biol. Sci. 354 (1392): 1923–39. doi:10.1098/rstb.1999.0532. PMC 1692713. PMID 10670014.
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/>
ที่สอดคล้องกัน