เยื่อหุ้มนิวเคลียส

เยื่อหุ้มนิวเคลียส (อังกฤษ: Nuclear envelope, perinuclear envelope, nuclear membrane, nucleolemma หรือ karyotheca) เป็นชั้นของลิพิด ไบเลเยอร์ ที่ห่อหุ้มสารพันธุกรรมในเซลล์ยูคาริโอต ทำหน้าที่เป็นฉนวนทางชีวภาพ แยกส่วนของนิวเคลียสออกจากไซโตซอล ที่เยื่อหุ้มจะมีรูพรุน ที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม และสารอื่นๆระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาสซึม ระหว่างเยื่อหุ้มทั้งสองด้านเป็นช่องว่าง (Perinuclear space) บนเยื่อหุ้มมีช่อง (Nuclear pore) เชื่อมต่อกับ RER ซึ่งมีบทบาทในการส่งต่อรหัสพันธุกรรมออกนอกนิวเคลียสเพื่อสร้างโปรตีน จำนวนช่องนี้ขึ้นกับกิจกรรมของนิวเคลียส เซลล์โอโอไซต์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีมากถึง 70 ช่องต่อตารางไมครอน ในขณะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวมีเพียง 3-4 ช่องต่อตารางไมครอน เยื่อหุ้มทั้งสองชั้นเป็นชั้นลิพิด ไบเลเยอร์ เยื่อชั้นนอกต่อเนื่องกับ RER ส่วนเยื่อหุ้มชั้นในมีโปรตีนชนิดต่างๆฝังตัวอยู่

นิวเคลียสของเซลล์มนุษย์ เยื่อหุ้มนิวเคลียสอยู่นอกสุด มีรูพรุน
โปรตีนสามชั้นที่เยื่อหุ้มนิวเคลียส nuclear pore complex (NPC) ประกอบด้วยเยื่อหุ้มชั้นนอกและชั้นใน Perinuclear space มองเห็นได้ชัดเจน INM proteins รวมทั้ง SUN1, LAP2, Emerin, MAN1 และ LBRจะเชื่อมต่อกับ nuclear lamina Emerin, LAP2 and MAN1 ฝังอยู่ใน LEM domain ที่จับกับ BAF (barrier-to-autointegration factor) ซึ่งเป็นโปรตีนที่จับกับโครมาติน nuclear lamina อยู่ใต้ชั้นของเยื่อหุ้มชั้นใน นำข้อมูลมาจาก Chi et al. Journal of Biomedical Science 2009.[1]

เยื่อหุ้มชั้นในติดต่อกับ nuclear lamina ที่เป็นเครือข่ายของอินเตอร์มิเดียตฟิลาเมนต์ที่ประกอบด้วยลามินหลายชนิด (A, B1, B2, และ C) ลามินทำหน้าที่เป็นตำแหน่งที่โครโมโซมมาเกาะ และทำให้โครงสร้างของนิวเคลียสอยู่ตัว ช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มสองชั้น เรียกว่า perinuclear space (หรือ perinuclear cisterna, NE Lumen) กว้างประมาณ 20 - 40 nm

อ้างอิง

แก้
  1. Chi YH, Chen ZJ, Jeang KT (2009). "The nuclear envelopathies and human diseases". J. Biomed. Sci. 16: 96. doi:10.1186/1423-0127-16-96. PMC 2770040. PMID 19849840.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้