ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
ราชอาณาจักรเยรูซาเลม หรือ ราชอาณาจักรละตินเยรูซาเลม[1] (อังกฤษ: Kingdom of Jerusalem หรือ Latin Kingdom of Jerusalem) เป็นอาณาจักรคริสเตียนที่ก่อตั้งในบริเวณลิแวนต์ (Levant) ในปี ค.ศ. 1099 หลังสงครามครูเสดครั้งที่ 1 และยืนยงต่อมาร่วมสองร้อยปีจนถึงปี ค.ศ. 1291 เมื่อเอเคอร์ดินแดนสุดท้ายที่เป็นของอาณาจักรถูกทำลายโดยมามลุค (Mamluk)
ราชอาณาจักรละตินเยรูซาเลม Regnum Hierosolimitanum Roiaume de Jherusalem | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1099–ค.ศ. 1291 | |||||||||
ราชอาณาจักรเยรูซาเลมและอาณาจักรครูเสดอื่น ๆ (สีเขียวต่าง ๆ) ในปี ค.ศ. 1135. | |||||||||
สถานะ | ราชอาณาจักร | ||||||||
เมืองหลวง | เยรูซาเลม (ค.ศ. 1099-1187) ไทร์ (1187-1191) เอเคอร์ ( ค.ศ. 1191-1229) เยรูซาเลม (ค.ศ. 1229-1244) เอเคอร์ (ค.ศ. 1244-1291) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ละติน, ฝรั่งเศสโบราณ, อิตาเลียน, อาหรับ และกรีก) | ||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก, กรีกออร์โธด็อกซ์, ซีเรียนออร์โธด็อกซ์, อิสลาม, ยูดาย | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยแบบศักดินา | ||||||||
พระมหากษัตริย์เยรูซาเลม | |||||||||
• ค.ศ. 1100-1118 | พระเจ้าบอลด์วินที่ 1 | ||||||||
• ค.ศ. 1118-1131 | พระเจ้าบอลด์วินที่ 2 | ||||||||
• ค.ศ. 1131-1152 | เมลิเซนเดอ และ ฟุลค ค.ศ. 1131-1143 | ||||||||
• ค.ศ. 1143-1152-1162 | พระเจ้าบอลด์วินที่ 3 | ||||||||
• ค.ศ. 1162-1174 | พระเจ้าอมาลริคที่ 1 | ||||||||
• ค.ศ. 1285-1291 | พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งไซปรัส | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | Haute Cour of Jerusalem | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยกลางตอนกลาง | ||||||||
ค.ศ. 1099 | |||||||||
ค.ศ. 1145 | |||||||||
ค.ศ. 1187 | |||||||||
ค.ศ. 1189 | |||||||||
ค.ศ. 1191 | |||||||||
ค.ศ. 1244 | |||||||||
ค.ศ. 1256–1270 | |||||||||
ค.ศ. 1291 | |||||||||
|
ในระยะแรกราชอาณาจักรเป็นเพียงกลุ่มเมืองใหญ่และเล็กที่รวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ระหว่างสงครามครูเสด ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาบริเวณที่ปัจจุบันคืออิสราเอล และอาณาดินแดนปาเลสไตน์ (Palestinian territory) ที่ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณเลบานอนปัจจุบันไปจนถึงทางเหนือของทะเลทรายไซนายทางด้านใต้ ไปยังจอร์แดน และซีเรียทางด้านตะวันออก ระหว่างนั้นก็มีการพยายามที่จะขยายดินแดนไปยังฟาติมิยะห์ (Fatimid) อียิปต์ นอกจากนั้นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็ยังมีอำนาจบางอย่างเหนืออาณาจักรครูเสดอื่น ๆ, ตริโปลี, อันติโอค, และเอเดสสา
ประเพณีและระบบต่างที่ใช้ในอาณาจักรนำมาจากยุโรปตะวันตกกับนักการสงครามครูเสด ระบบการปกครองและความเกี่ยวดองกับยุโรปเป็นไปตลอดอายุของอาณาจักร แต่เมื่อเทียบกับอาณาจักรในยุโรปแล้วราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็เป็นเพียงอาณาจักรที่ค่อนข้างเล็กและมักจะขาดการหนุนหลังทางด้านการเงินและทางการทหารจากยุโรป ราชอาณาจักรเยรูซาเลมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชอาณาจักรข้างเคียงมากกว่าเช่นราชอาณาจักรอาร์มิเนียแห่งซิลิเซีย (Armenian Kingdom of Cilicia) และจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ได้รับอิทธิพลตะวันออกมา นอกจากนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลจากระบบมุสลิม แต่ทางด้านสังคมแล้วผู้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรจากยุโรปตะวันตกแทบไม่มีการติดต่อกับมุสลิมหรือชนคริสเตียนท้องถิ่นที่ปกครองเลย
ในระยะแรกฝ่ายมุสลิมไม่มีความสนใจกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมเท่าใดนักจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออาณาจักรของมุสลิมเริ่มเข้มแข็งขึ้นและเริ่มยึดดินแดนที่เสียไปคืนอย่างเป็นจริงเป็นจัง เยรูซาเลมเสียแก่ซาลาดินในปี ค.ศ. 1187 และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนของราชอาณาจักรก็เหลือเพียงแถบตามแนวฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพร้อมกับเมืองสำคัญ ๆ สองสามเมือง ในช่วงนี้ราชอาณาจักรที่บางครั้งก็เรียกว่า “ราชอาณาจักรเอเคอร์” ก็ปกครองโดยราชวงศ์ลูซิยัน (Lusignan) ของนักครูเสดจากราชอาณาจักรไซปรัส และมีความสัมพันธ์ดีกับทริโปลี, อันติออคและอาร์มีเนีย และได้รับอิทธิพลจากสาธารณรัฐเวนิส และสาธารณรัฐเจนัว และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกันอาณาจักรมุสลิมรอบข้างก็รวมตัวกันภายใต้ราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid) และต่อมาราชวงศ์มามลุคของอียิปต์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลมจึงกลายเป็นเบี้ยประกันของการสงครามและการเมืองในบริเวณนั้น ที่ตามมาโดยการโจมตีโดย คแวเรซเมียน (Khwarezmians) และจักรวรรดิมองโกลราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในที่สุดก็ถูกมามลุคสุลต่านไบบาร์ส (Baibars) และอัล-อัชราฟ คาลิล (al-Ashraf Khalil) ยึดดินแดนที่เหลืออยู่ทั้งหมดได้ รวมทั้งการทำลายเอเคอร์ในปี ค.ศ. 1291
อ้างอิง
แก้ดูเพิ่ม
แก้