พระมหากษัตริย์เยรูซาเลม

พระมหากษัตริย์แห่งเยรูซาเลม[1] เป็นตำแหน่งสูงสุดของประมุขแห่งราชอาณาจักรเยรูซาเลม หนึ่งในรัฐนักรบครูเสดที่ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยเหล่าเจ้าผู้ปกครองชาวคริสต์ที่เข้ายึดเมืองในคราวสงครามครูเสดครั้งที่ 1

พระมหากษัตริย์
แห่งราชอาณาจักรละตินแห่งเยรูซาเลม
ราชาธิปไตยในอดีต
Arms of the Kingdom of Jerusalem (Ströhl).svg
ตราแผ่นดินราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งเยรูซาเลม
พระมหากษัตริย์แห่งเยรูซาเลมองค์สุดท้าย

ปฐมกษัตริย์ กอดฟรีย์แห่งบูยง
องค์สุดท้าย พระเจ้าอ็องรีที่ 2
สถานพำนัก หอคอยดาวิด, เมืองเก่า (เยรูซาเลม)
ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
เริ่มระบอบ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1099
สิ้นสุดระบอบ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1291 (194 ปี 300 วัน)
ผู้อ้างสิทธิ์ จำนวนมาก

กอดฟรีย์แห่งบูยง หรือภาษาฝรั่งเศส คือ โกเดอฟรอย เป็นประมุขคนแรกของราชอาณาจักรเยรูซาเลม แต่ตัวเขาเองปฏิเสธตำแหน่ง "กษัตริย์" และใช้ตำแหน่ง "ผู้พิทักษ์โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์" แทน ดังนั้นตำแหน่ง "กษัตริย์" อย่างเป็นทางการถูกใช้โดยผู้สืบบัลลังก์ของเขาคือ พระเจ้าบอลด์วินที่ 1 แห่งเยรูซาเลม ในปีค.ศ. 1100 เมืองเยรูซาเลมถูกยึดครองในปีค.ศ. 1187 แต่ราชอาณาจักรเยรูซาเลมยังคงอยู่รอด และได้ย้ายเมืองหลวงไปยังเอเคอร์ในปีค.ศ. 1191 เมืองเยรูซาเลมถูกยึดคืนกลับมาอีกครั้งในสงครามครูเสดครั้งที่ 6 ช่วงค.ศ. 1229 - 1239 และค.ศ. 1241 - 1244 ราชอาณาจักรเยรูซาเลมสุดท้ายถูกยุบเลิกจากการล่มสลายของเอเคอร์ นำมาซึ่งจุดจบของพวกครูเสดในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ปีค.ศ. 1291

หลังจากรัฐนักรบครูเสดล่มสลายไปแล้ว พระอิสริยยศ "พระมหากษัตริย์แห่งเยรูซาเลม" ถูกอ้างสิทธิโดยเหล่าพระราชตระกูลของยุโรปที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ไซปรัสหรือพระมหากษัตริย์เนเปิลส์ ตามตำแหน่งโดยพิธีการของกษัตริย์เยรูซาเลมถูกใช้โดยสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน อีกทั้งตำแหน่งนี้เคยถูกอ้างสิทธิโดยอ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์คและพระมหากษัตริย์อิตาลีจนถึงค.ศ. 1946

พระมหากษัตริย์แห่งเยรูซาเลม (1099-1291) แก้

ราชอาณาจักรเยรูซาเลมมีจุดเริ่มต้นมาจากสงครามครูเสดครั้งที่ 1 โดยกอดฟรีย์แห่งบูยง แต่เขาปฏิเสธการสวมมงกุฎและตำแหน่งพระมหากษัตริย์ "ตามคำร้องขอของเขา เขาจะไม่สวมมงกุฎทองคำ ในขณะที่พระผู้ไถ่ต้องสวมมงกุฎหนาม"[2] เขาได้ใช้อิสริยยศ "แอดโวเคตุส ซังก์ตี เซปุลชรี" (Advocatus Sancti Sepulchri; ผู้พิทักษ์โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์) ในปีค.ศ. 1099 และสาบานตนเป็นประมุขแห่งเยรูซาเลมในโบสถ์พระคริสตสมภพที่เมืองเบธเลเฮม

ปีต่อมา กอดฟรีย์เสียชีวิต พี่ชายของเขาคือ บอลด์วินที่ 1 เป็นพระองค์แรกที่ใช้ตำแหน่ง "พระมหากษัตริย์" และเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ประกอบพิธีราชาภิเษกในโบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ในเมืองเยรูซาเลม

ตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งเยรูซาเลมเดิมมีลักษณะเลือกตั้งและมีการสืบสันตติวงศ์บางส่วน ในช่วงยุครุงเรืองของราชอาณาจักรในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 มีราชวงศ์และลำดับการสืบราชสันตติวงศ์เริ่มชัดเจนมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นกษัตริย์จะได้รับการเลือกตั้ง หรืออย่างน้อยต้องได้รับการยอมรับจากฮูตกูร์แห่งเยรูซาเลม ที่นี่กษัตริย์จะได้รับการพิจารณาว่าเป็น พรีมุส อินเตร์ ปาเรส (Primus inter pares; เป็นลำดับแรกท่ามกลางคนทั้งหลาย) และเมื่อกษัตริย์ไม่ทรงอยู่การปฏิบัติหน้าที่จะดำเนินการโดยผู้ดูแลระดับสูง (Seneschal)

พระราชวังถูกสร้างตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ตั้งอยู่ทางใต้ของป้อมปราการเยรูซาเลม[3] ราชอาณาจักรเยรูซาเลมได้แนะนำโครงสร้างระบอบศักดินาแบบฝรั่งเศสให้แก่ชาวลิแวนต์ กษัตริย์จะทรงมีศักดินาที่ดินจำนวนมากรวมเข้าในฐานะแว่นแคว้นของกษัตริย์ซึ่งมีความผันแผรจากกษัตริย์องค์หนึ่งไปยังอีกองค์หนึ่ง กษัตริย์จะต้องทรงรับผิดชอบในการนำราชอาณาจักรเข้าสู่สมรภูมิรบ แม้ว่าหน้าที่นี้จะเป็นของพวกพลตระเวน

ในขณะที่หลายอาณาจักรในยุโรปช่วงนั้นกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ราชาธิปไตยแบบรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง แต่กษัตริย์เยรูซาเลมสูญเสียพระราชอำนาจอย่างต่อเนื่องให้แก่เหล่าบารอน เหตุนี้เพราะส่วนใหญ่กษัตริย์หลายพระองค์มักจะมีพระชนมายุน้อย และมีความถี่ของการตั้งผู้สำเร็จราชการบ่อยครั้ง

หลังจากการล่มสลายของเมืองเยรูซาเลมในปีค.ศ. 1187 เมืองหลวงถูกย้ายไปยังเอเคอร์ และอยู่ที่นั่นจนถึงค.ศ. 1291 แต่พิธีราชาภิเษกมักจะถูกจัดที่ไทร์ ในช่วงนี้ตำแหน่งกษัตริย์เป็นเพียงตำแหน่งในนาม ซึ่งถูกกำหนดโดยเหล่ากษัตริย์ยุโรปที่ไม่เคยประทับในเอเคอร์ เมื่อคอนราดที่ 3 ได้เป็นพระมหากษัตริย์แต่ประทับอยู่ที่ทางตอนใต้ของเยอรมนี พระญาติฝ่ายพระราชบิดาของพระองค์ คือ อูก เคานท์แห่งเบรียง อ้างสิทธิเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งราชอาณาจักรเยรูซาเลม และตั้งเขาเป็นผู้สืบทอดทางอ้อม การอ้างสิทธินี้เกิดขึ้นในปี 1264 ในฐานะผู้สืบเชื้อสายที่อาวุโสสูงสุดและเป็นทายาทผู้มีสิทธิอันชอบธรรมของอาลิกซ์แห่งช็องปาญ พระราชธิดาองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งเยรูซาเลม อูกเป็นพระโอรสในพระราชธิดาองค์โตของพระนางอาลิกซ์ แต่ถูกข้ามสิทธิโดยสภาฮูตกูร์ให้แก่พระญาติ คือ อูกแห่งแอนติออก ซึ่งในอนาคตคือ พระเจ้าอูกที่ 3 แห่งไซปรัส และอูกที่ 1 แห่งเยรูซาเลม

หลังจากพระเจ้าคอนราดที่ 3 ถูกประหารชีวิตโดยพระเจ้าการ์โลที่ 1 แห่งเนเปิลส์ในปีค.ศ. 1268 ตำแหน่งกษัตริย์กลายเป็นของราชวงศ์ลูซียง ซึ่งได้เป็นพระมหากษัตริย์ไซปรัสพร้อมกัน แต่พระเจ้าการ์โลที่ 1 ก็ใช้พระราชทรัพย์ซื้อสิทธิในบัลลังก์จากหนึ่งในผู้อ้างสิทธิในปีค.ศ. 1277

ในปีนั้น พระองค์ส่งโรเจอร์แห่งซานเซเวรีโนไปยังตะวันออกในฐานะผู้ดูแลที่ดิน โรเจอร์ยึดครองเมืองเอเคอร์และบังคับให้เหล่าบารอนสวามิภักดิ์ โรเจอร์ถูกเรียกตัวกลับในปี 1282 เนื่องด้วยเหตุการณ์สายัณห์ซิซิลี และปล่อยให้โอโด ปัวเลอเชียนดำเนินการแทน ทรัพยากรและอำนาจของเขามีน้อยและเขาถูกขับไล่โดยพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งไซปรัส เมื่อพระองค์เสด็จมาจากไซปรัสเพื่อประกอบราชาภิเษกเป็นกษัตริย์เยรูซาเลม

เอเคอร์ถูกยึดครองโดยมัมลูก ในปี 1291 พวกครูเสดก็ถูกกำจัดออกจากแผ่นดินใหญ่

ราชวงศ์บูลอญ (ค.ศ. 1099-1118) แก้

    ราชอาณาจักรเยรูซาเลม : Kingdom of Jerusalem    
(ค.ศ. 1099 - ค.ศ. 1118)

• ราชวงศ์บูลอญ •
พระปรมาภิไธย พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
1   กอดฟรีย์แห่งบูยง
("ผู้พิทักษ์โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์")
(Godfrey of Bouillon)
โกเดอฟรอย
(Godefroy)
1099-1100
ราว ค.ศ. 1060
พระราชสมภพที่บูลอญ-ซูร์-แมร์ ฝรั่งเศส หรือ บราบันต์
โอรสในอูสเทซที่ 2 เคานท์แห่งบูลอญกับไอดาแห่งลอแรน
ไม่อภิเษกสมรส 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1100
พระชนมายุราว 40 พรรษา
2   พระเจ้าบอล์ดวินที่ 1
(Baldwin I)
โบดวงที่ 1
(Baudouin I)
1100-1118
ราว ค.ศ. 1058
พระราชสมภพที่ลอแรน
โอรสในอูสเทซที่ 2 เคานท์แห่งบูลอญกับไอดาแห่งลอแรน
โกเดอฮิลด์ เดอ โทนี
ไม่มีโอรสธิดา

อาร์ดาแห่งอาร์เมเนีย
ค.ศ. 1097
ไม่มีโอรสธิดา

อเดลาเซีย เดล วาสโต
ค.ศ. 1112
ไม่มีโอรสธิดา
2 เมษายน ค.ศ. 1118
อาริช อียิปต์
พระชนมายุราว 60 พรรษา

ราชวงศ์เรเธล (ค.ศ. 1118-1153) แก้

    ราชอาณาจักรเยรูซาเลม : Kingdom of Jerusalem    
(ค.ศ. 1118 - ค.ศ. 1153)

• ราชวงศ์เรเธล •
พระปรมาภิไธย พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
3   พระเจ้าบอล์ดวินที่ 2
(Baldwin II)
โบดวงที่ 2
(Baudouin II)
1118-1131
ไม่ปรากฏ
พระราชสมภพที่ฝรั่งเศส
โอรสในอูกที่ 1 เคานท์แห่งเรเธลกับเมลีแซนเดอแห่งม็องต์แตร์รี
มอร์เฟียแห่งเมลีแตง
ค.ศ. 1101
พระราชธิดา 4 พระองค์
21 สิงหาคม ค.ศ. 1131
เยรูซาเลม
4   สมเด็จพระราชินีนาถ
เมลิเซนเดอ

(Melisende)
1131-1153
ร่วมราชบัลลังก์กับฟูล์ค จนถึงปี 1143
ร่วมราชบัลลังก์กับบอลด์วินที่ 3 จนถึงปี 1153
ค.ศ. 1105
พระราชสมภพที่เยรูซาเลม
โอรสในพระเจ้าบอล์ดวินที่ 2กับมอร์เฟียแห่งเมลีแตง
ฟูล์คที่ 5 เคานท์แห่งอ็องฌู
2 มิถุนายน ค.ศ. 1129
พระราชโอรส 2 พระองค์
11 กันยายน ค.ศ. 1161
เยรูซาเลม
พระชนมายุราว 56 พรรษา

ราชวงศ์อ็องฌู (ค.ศ. 1153-1203) แก้

ในปีค.ศ. 1127 ฟูล์คที่ 5 เคานท์แห่งอ็องฌูได้รับคณะทูตจากพระเจ้าบอลด์วินที่ 2 แห่งเยรูซาเลม พระเจ้าบอลด์วินที่ 2 ไม่ทรงมีรัชทายาทชาย แต่ทรงกำหนดให้เจ้าหญิงเมลีแซนเดอ พระราชธิดาองค์โตเป็นผู้สืบราชบัลลังก์ พระเจ้าบอลด์วินที่ 2 ทรงต้องการความปลอดภัยในการปกป้องมรดกที่พระราชธิดาจะได้รับ โดยมีพระราชประสงค์ให้เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับขุนนางผู้ทรงอำนาจ ฟูล์คเป็นนักรบครูเสดที่ร่ำรวยและเป็นผู้นำทางทหารที่มีประสบการณ์ อีกทั้งเป็นม่ายชายาถึงแก่กรรม ประสบการณ์ในสนามรบได้พิสูจน์ว่าเขาเป็นบุคคลที่มีค่าในรัฐชายแดนที่มักจะมีสงครามเช่นนี้

แต่ฟูล์คได้ยื่นข้อเสนอที่ดีกว่าในการเป็นแค่พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถ ก็คือตัวเขาต้องการเป็นพระมหากษัตริย์เคียงข้างราชบัลลังก์ของเมลีแซนเดอ พระเจ้าบอลด์วินที่ 2 ทรงยอมรับข้อเสนออย่างไม่ขัดข้องเนื่องด้วยประสงค์จะใช้อำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ทางกองทัพของฟูล์ค ฟูล์คจึงสละตำแหน่งเคานท์แห่งอ็องชูให้แก่เจฟฟรีย์ โอรสของเขาที่เกิดจากชายาคนแรก และล่องเรือไปเพื่อรับตำแหน่งกษัตริย์แห่งเยรูซาเลมในอนาคต ซึ่งเขาเสกสมรสกับเจ้าหญิงเมลีแซนเดอในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1129 หลังจากนั้นพระเจ้าบอลด์วินทรงสนับสนุนตำแหน่งของเจ้าหญิงเมลีแซนเดอในราชอาณาจักร โดยให้พระนางเป็นผู้ปกครองเพียงพระองค์เดียวของพระราชโอรสที่ประสูติจากฟูล์ค พระเจ้าบอลด์วินที่ 3 ในอนาคตประสูติในปี 1130

ฟูล์คและเมลีแซนเดอกลายเป็นพระประมุขร่วมแห่งเยรูซาเลมในปีค.ศ. 1131 หลังการสวรรคตของพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 ในช่วงแรกพระเจ้าฟูล์คทรงเข้าควบคุมกิจการในราชอาณาจักรทั้งหมดและกีดกันสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอออกไป พระองค์ทรงโปรดเพื่อนร่วมชาติจากอ็องฌูมากกว่าขุนนางพื้นเมือง รัฐนักรบครูเสดทางตอนเหนือหวาดกลัวว่า พระเจ้าฟูล์คจะใช้พระราชอำนาจของอาณาจักรเยรูซาเลมเหนือดินแดนของพวกเขา ดังที่พระเจ้าบอลด์วินที่ 2 เคยทำไป แต่พระเจ้าฟูล์คมีพลังพระราชอำนาจน้อยกว่าพระสัสสุระมาก ทำให้รัฐทางตอนเหนือปฏิเสธอำนาจของพระองค์

ในเยรูซาเลมเอง พระเจ้าฟูล์คก็ไม่เป็นที่พอใจของเหล่าชาวเยรูซาเลมคริสต์รุ่นที่สองซึ่งเติบโตมากตั้งแต่สงครามครูเสดครั้งแรก "คนพื้นเมือง"เหล่านี้ชื่นชอบพระญาติของสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอ คือ อูกที่ 2 แห่งจัฟฟา ผู้ซึ่งจงรักภักดีต่อสมเด็จพระราชินีนาถ พระเจ้าฟูล์คทรงมองอูกเป็นศัตรู และในปีค.ศ. 1134 พระองค์ต้องการกำจัดอูก โดยกล่าวหาว่าเขามีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวกับสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอ อูกก่อการจลาจลเพื่อประท้วงและหลบซ่อนตัวในดินแดนของเขาเองที่จัฟฟา อีกทั้งเป็นพันธมิตรกับมุสลิมที่อัสเคลอน เขาได้ชัยชนะต่อกองทัพของพระเจ้าฟูล์ค แต่ก็ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้ อัครบิดรแห่งเยรูซาเลมได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาท ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอ พระเจ้าฟูล์คทรงเห็นด้วยกับการสงบศึกและอูกต้องถูกเนรเทศออกจากราชอาณาจักรเป็นเวลาสามปี ซึ่งเป็นโทษสถานเบา

 
การสวรรคตของพระเจ้าฟูล์ค จากภาพประกอบหนังสือของวิลเลียมแห่งไทร์ "Historia and Old French Continuation" วาดที่เอเคอร์ ราวศตวรรษที่ 13 Bib. Nat. Française

แต่มีความพยายามในการลอบสังหารอูก พระเจ้าฟูล์คและผู้สนับสนุนพระองค์ถูกมองโดยทั่วไปว่าต้องมีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์นี้ แม้ว่าจะไม่มีการพิสูจน์คดีจริงๆ เรื่องอื้อฉาวเหล่านี้กลายเป็นประโยชน์แก่พรรคพระราชินีในการยึดอำนาจการปกครอง ซึ่งพระนางทรงก่อการรัฐประหารวังหลวง เบอร์นาร์ด แฮมิลตัน นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ได้เขียนว่า กลุ่มผู้สนับสนุนพระเจ้าฟูล์คต้อง "อยู่อย่างหวาดกลัวชีวิตภายในวัง" นักประวัติศาสตร์และนักเขียนร่วมสมัยอย่าง วิลเลียมแห่งไทร์ เขียนถึงฟูล์คว่า "พระองค์ไม่สามารถที่จะออกความคิดได้แม้แต่เรื่องที่เล็กๆน้อยๆโดยปราศจากความเห็นชอบ (ของเมลีแซนเดอ)" ผลก็คือสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอทรงควบคุมอำนาจของรัฐบาลโดยตรงอย่างไม่ต้องสงสัยตั้งแต่ค.ศ. 1136 เป็นต้นไป ก่อนปี 1136 พระเจ้าฟูล์คทรงไกล่เกลี่ยกับพระมเหสี และทำให้พระราชโอรสองค์ที่สองประสูติคือ เจ้าชายอามาลริค

ในปีค.ศ. 1143 ขณะที่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถประทับพักผ่อนในเอเคอร์ พระเจ้าฟูล์คเสด็จสวรรคตจากอุบัติเหตุขณะล่าสัตว์ ม้าของพระองค์พลาดสะดุดและล้มลง และกะโหลกพระเศียรของพระองค์ถูกทับโดยอานม้า "มันสมองของพระองค์พุ่งออกมาจากหูทั้งสองข้างและรูจมูก" ตามคำบรรยายของวิลเลียมแห่งไทร์ พระวรกายของพระองค์ถูกนำกับมายังเอเคอร์ ทรงหมดสติไปสามวันและสวรรคต พระบรมศพถูกฝังที่โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ในเยรูซาเลม แม้ว่าชีวิตสมรสจะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง สมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอทรงเสียพระทัยต่อการจากไปของพระเจ้าฟูล์คทั้งแสดงออกในที่สาธารณะและการส่วนพระองค์ พระเจ้าฟูล์คมีพระราชโอรสสามคน คือ เจฟฟรีย์ที่ประสูติจากชายาคนแรก และเจ้าชายบอลด์วินกับเจ้าชายอามาลริคที่ประสูติแต่พระนางเมลีแซนเดอ

พระเจ้าบอลด์วินที่ 3 ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นประมุขร่วมกับพระราชชนนี ในปีค.ศ. 1143 การครองราชย์ช่วงต้นรัชกาลของพระองค์เป็นการทะเลาะขัดแย้งกับพระราชชนนีอย่างรุนแรงในเรื่องสิทธิในการครอบครองเยรูซาเลม จนกระทั่งค.ศ. 1153 เมื่อพระองค์สามารถยึดครองอำนาจของรัฐบาลภายใต้พระองค์เอง สมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอสละราชบัลลังก์ พระองค์กับพระราชชนนีก็ไกล่เกลี่ยกันภายหลัง พระราชชนนีเมลีแซนเดอสวรรคตในปีค.ศ. 1161 ส่วนพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 สวรรคตในปีค.ศ. 1163 โดยไร้รัชทายาท ราชอาณาจักรสืบทอดไปยังพระราชอนุชา ครองราชย์เป็น พระเจ้าอามาลริคที่ 1 แม้ว่าจะมีความขัดแย้งในหมู่ขุนนางกับพระมเหสีในพระเจ้าอามาลริค คือ อานแย็สแห่งกูร์เตอแน แต่พวกเขาก็ยินดีที่จะยอมรับการสมรสนี้ในปีค.ศ. 1157 ในช่วงที่พระเจ้าบอลด์วินที่ 3 ยังคงสามารถสืบทายาทได้ แต่ในช่วงนี้สภาฮูตกูร์ปฏิเสธที่จะยอมรับอามาลริคเป็นกษัตริย์ จนกว่าพระองค์จะยอมหย่าขาดจากพระราชินีอานแย็ส ความเป็นปฏิปักษ์ต่อพระราชินีอานแย็สนั้นต้องยอมรับว่าอาจกล่าวเกินจริงโดยนักพงศาวดารร่วมสมัยอย่าง วิลเลียมแห่งไทร์ ซึ่งอคติจากการที่พระราชินีอานแย็สกีดกันไม่ให้เขารับตำแหน่งอัครบิดรแห่งเยรูซาเลมในช่วงทศวรรษต่อมา และผู้สืบทอดงานของวิลเลียม คือ เออร์โนลด์ ได้กล่าวถึงบุคลิกของพระนางในด้านศีลธรรมว่า "ไม่ควรมีพระราชินีเช่นนี้ในเมืองอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเยรูซาเลม" ("car telle n'est que roine doie iestre di si haute cite comme de Jherusalem")

แต่อย่างไรก็ตาม ข้อหาความสัมพันธ์ร่วมวงศ์ตระกูลเดียวกันก็เพียงพอแล้วสำหรับฝ่ายที่จะโค่นพระนางออกจากตำแหน่งราชินี พระเจ้าอามาลริคทรงเห็นด้วยและขึ้นสืบราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการโดยปราศจากพระราชินี แต่อานแย็สยังครองตำแหน่งเคานท์เตสแห่งจัฟฟาและอัสเคลอน และได้รับเงินรายได้จากศักดินาที่ดิน คริสตจักรตัดสินว่าทายาทของพระเจ้าอามาลริคกับอดีตพระราชินีอานแย็สนั้นเป็นทายาทที่ชอบโดยกฎหมาย และยังคงลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ดังเดิม ต่อมาพระโอรสธิดาของอานแย็สจะมีอำนาจสูงในเยรูซาเลมเป็นเวลาเกือบ 20 ปี พระเจ้าอามาลริคสวรรคตและสืบบัลลังก์โดยพระโอรสที่ประสูติแต่อานแย็ส คือ พระเจ้าบอลด์วินที่ 4

 
การอภิเษกสมรสของพระเจ้าอามาลริคที่ 1 กับมาเรีย โคมเนเนที่ไทร์

อานแย็สแห่งกูร์เตอแนสมรสใหม่กับเรย์นัลด์แห่งซีดง และสมเด็จพระพันปีหลวงมาเรีย โคมเนเนเสกสมรสกับเบเลียนแห่งอีเบลิน ในปีค.ศ. 1177 พระราชธิดาของพระเจ้าอามาลริคที่ประสูติแต่อานแย็ส คือ เจ้าหญิงซีบิลลา มีความพร้อมด้านพระชันษา และพร้อมมีทายาท และมีสถานะที่มั่นคงในการสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระอนุชา แต่พระราชธิดาของพระเจ้าอามาลริคที่ประสูติแต่พระพันปีหลวงมาเรีย คือ เจ้าหญิงอิซาเบลลา ทรงได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวของพระบิดาเลี้ยง คือ พวกตระกูลอีเบลิน

ในปีค.ศ. 1179 พระเจ้าบอลด์วินที่ 4 เริ่มต้นวางแผนให้เจ้าหญิงซีบิลลาเสกสมรสกับอูกที่ 3 ดยุกแห่งบูร์กอญ หลังจากพระสวามีองค์แรกของเจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ แต่ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1180 แผนนี้ก็ไม่ได้ดำเนินการ เรย์มอนด์ที่ 3 เคานท์แห่งตริโปลีพยายามก่อการรัฐประหาร โดยระดมพลในเยรูซาเลมร่วมกับโบฮีมอนด์ที่ 3 แห่งแอนติออก ในการบีบบังคับให้กษัตริย์จัดการเสกสมรสของพระเชษฐภคินีกับขุนนางท้องถิ่นที่เขาเลือก อาจจะเป็น บอลด์วินแห่งอีเบลิน พี่ชายของเบเลียน เพื่อต่อต้านแผนการนี้ กษัตริย์ทรงรีบจัดงานเสกสมรสของพระขนิษฐากับกีแห่งลูซียง น้องชายของอามาลริค กรมวังของราชอาณาจักร การจับคู่กับชาวต่างชาติเป็นสิ่งจำเป็นที่สามารถนำความช่วยเหลือทางทหารจากภายนอกเข้ามาในราชอาณาจักรได้ เมื่อพระเจ้าฟีลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสยังทรงพระเยาว์ สถานะของกีคือเป็นขุนนางของกษัตริย์ฝรั่งเศส และพระญาติของเจ้าหญิงซีบิลลาคือ พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ผู้ซึ่งเป็นหนี้ในการแสวงบุญของสมเด็จพระสันตะปาปา พันธมิตรทั้งสองนี้จำเป็นสำหรับเยรูซาเลม

 
วิลเลียมแห่งไทร์ค้นพบอาการโรคเรื้อนของบอลด์วินที่ 4 ครั้งแรก จากหนังสือ L'Estoire d'Eracles ฉบับภาษาฝรั่งเศส วาดในฝรั่งเศสทศวรรษที่ 1250

ในปีค.ศ. 1182 พระเจ้าบอลด์วินที่ 4 ก็เริ่มทรงทุพพลภาพมากขึ้น จากพระอาการโรคเรื้อน พระองค์ทรงแต่งตั้งกีเป็น บาอิลลี เรย์มอนด์ต่อต้านเรื่องนี้ แต่เมื่อกีไม่เป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์บอลด์วินอีกต่อไปแล้ว ในปีถัดมาเรย์มอนด์ได้รัยการแต่งตั้งเป็นบาอิลลีใหม่อีกครั้ง และได้รับสิทธิในการครอบครองเบรุต พระเจ้าบอลด์วินหันมาทำข้อตกลงกับเรย์มอนด์และสภาฮุตกูร์ ให้บอลด์วินแห่งมงแฟรา พระโอรสของเจ้าหญิงซีบิลลาที่ประสูติแต่พระสวามีองค์แรก ให้มีสิทธิสืบบัลลังก์ก่อนซีบิลลาและกี บอลด์วินองค์น้อยได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ร่วมของพระมาตุลาในปีค.ศ. 1183 ในพระราชพิธีมีเรย์มอนด์เป็นประธาน เป็นที่ตกลงว่าหากยุวกษัตริย์สวรรคตในช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ คณะผู้สำเร็จราชการจะเปลี่ยนผ่านไปยัง "ทายาทผู้มีความชอบธรรมที่สุด" และต่อจากนั้นคือเหล่าญาติวงศ์ ได้แก่ กษัตริย์แห่งอังกฤษและฝรั่งเศส และจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาจะสามารถตัดสินชี้ระหว่างสิทธิของซีบิลลาและสิทธิของอิซาเบลลา "ทายาทผู้มีความชอบธรรมที่สุด" เหล่านี้จะไม่ถูกเสนอชื่อ

พระเจ้าบอลด์วินที่ 4 สวรรคตในฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. 1185 และพระนัดดาขึ้นสืบบัลลังก์ เรย์มอนด์ได้เป็นบาอิลลี แต่เขาส่งผ่านการเป็นผู้ปกครองของพระเจ้าบอลด์วินที่ 5 ไปยังจอสแลงที่ 3 เคานท์แห่งอีเดสซา อาฝ่ายแม่ของเขา โดยอ้างว่าเขาไม่ต้องการให้แก่ข้อกังขาเมื่อยุวกษัตริย์ที่ดูเหมือนอ่อนแอนั้นสวรรคตขึ้นมา พระเจ้าบอลด์วินที่ 5 สวรรคตในฤดูร้อน ค.ศ. 1186 ที่เอเคอร์ ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสนใจในพระราชพินัยกรรมของพระเจ้าบอลด์วินที่ 4

หลังจากพระราชพิธีพระศพ จอสแลงตั้งให้เจ้าหญิงซีบิลลาเป็นผู้สืบสันตติวงศ์ของพระอนุชา แต่พระนางต้องยินยอมที่จะหย่าขาดจากกี เช่นเดียวกับที่พระราชชนกของพระนางหย่าขาดจากพระราชชนนี ด้วยการรับประกันว่าพระนางจะได้รับอนุญาตให้เลือกพระสวามีองค์ใหม่ ในวันราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถซีบิลลาทรงสวมมงกุฎให้กับกีทันที ในขณะที่เรย์มอนด์ก็เดินทางไปยังนาบลัสซึ่งเป็นที่พำนักของเบเลียนและสมเด็จพระพันปีหลวงมาเรีย และทำการเรียกประชุมขุนนางที่จงรักภักดีต่อเจ้าหญิงอิซาเบลลาและตระกูลอีเบลิน เรย์มอนด์ต้องการให้เจ้าหญิงอิซาเบลลากับอ็องฟรอยที่ 4 แห่งโตรอน พระสวามีของพระนางสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์ แต่อ็องฟรอยมีบิดาเลี้ยงคือ เรย์นัลด์แห่งชาตียง นั้นเป็นพันธมิตรของกี อ็องฟรอยจึงละทิ้งเรย์มอนด์และหันไปถวายความจงรักภักดีต่อซีบิลลาและกี

    ราชอาณาจักรเยรูซาเลม : Kingdom of Jerusalem    
(ค.ศ. 1153 - ค.ศ. 1205)

• ราชวงศ์อ็องฌู •
พระปรมาภิไธย พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
5   พระเจ้าฟูล์ค
(Fulk)
ฟลูเกต์
(Foulques)
1131-1143
ร่วมราชบัลลังก์กับเมลีแซนเดอ
ค.ศ. 1089/1092
พระราชสมภพที่อ็องเฌ ฝรั่งเศส
โอรสในฟูล์คที่ 4 เคานท์แห่งอ็องฌูกับแบร์ตาร์ด เดอ มงฟอร์ต
เออร์เมนการ์ด เคานท์เตสแห่งเมน
ค.ศ. 1109
พระโอรสธิดา 4 พระองค์

สมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอแห่งเยรูซาเลม
2 มิถุนายน ค.ศ. 1129
พระราชโอรส 2 พระองค์
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1143
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 52 พรรษา
6   พระเจ้าบอลด์วินที่ 3
(Baldwin III)
โบดวงที่ 3
(Baudouin III)
1143-1163
ร่วมราชบัลลังก์กับเมลีแซนเดอ จนถึงปี 1153
ค.ศ. 1130
โอรสในพระเจ้าฟูล์คกับสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอ
ธีโอโดรา โคมเนเน
ค.ศ. 1158
ไม่มีพระราชโอรสธิดา
10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1163
เบรุต ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 33 พรรษา
7   พระเจ้าอามาลริค
(Amalric)
อามอรี
(Amaury)
1163-1174
ค.ศ. 1136
โอรสในพระเจ้าฟูล์คกับสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอ
อานแย็สแห่งกูร์เตอแน
ค.ศ. 1157
มีพระราชโอรสธิดา 3 พระองค์

มาเรีย โคมเนเน
29 สิงหาคม ค.ศ. 1167
พระราชธิดา 2 พระองค์
11 กรกฎาคม ค.ศ. 1174
เยรูซาเลม ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 38 พรรษา
8   พระเจ้าบอลด์วินที่ 4
กษัตริย์เรื้อน
(Baldwin IV the Leprous)
โบดวงที่ 4
(Baudouin IV)
1174-1185
ร่วมราชบัลลังก์กับบอลด์วินที่ 5 ตั้งแต่ปี 1183
ค.ศ. 1161
เยรูซาเลม
โอรสในพระเจ้าอามาลริคกับอานแย็สแห่งกูร์เตอแน
ไม่อภิเษกสมรส 16 มีนาคม ค.ศ. 1185
เยรูซาเลม ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 24 พรรษา
9   พระเจ้าบอลด์วินที่ 5
(Baldwin V)
โบดวงที่ 5
(Baudouin V)
1183-1186
ร่วมราชบัลลังก์กับบอลด์วินที่ 4 จนถึงปี 1185
ค.ศ. 1177
โอรสในวิลเลียมแห่งมงแฟรากับสมเด็จพระราชินีนาถซีบิลลาแห่งเยรูซาเลม
ไม่อภิเษกสมรส สิงหาคม ค.ศ. 1186
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 9 พรรษา
10   สมเด็จพระราชินีนาถ
ซีบิลลา

(Sibylla)
ซีบิลล์
(Sibylle)
1186-1190
ร่วมราชบัลลังก์กับกี
ราวค.ศ. 1157
ธิดาในพระเจ้าอามาลริคกับอานแย็สแห่งกูร์เตอแน
วิลเลียมแห่งมงแฟรา เคานท์แห่งจัฟฟาและอัสเคลอน
ค.ศ.1176
พระราชโอรส 1 พระองค์

กีแห่งลูซียง
เมษายน ค.ศ. 1180
พระราชธิดา 2 พระองค์
25 มกราคม (คาดว่า) ค.ศ. 1190
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 40 พรรษา
11   กีแห่งลูซียง
พระเจ้ากี
(Guy of Lusignan)
กี เดอ ลูซียง
(Guy de Lusignan)
1186-1190/1192
ร่วมราชบัลลังก์กับซีบิลลา จนถึงปี 1190
ราวค.ศ. 1150 หรือ 1159/1160
โอรสในอูกที่ 8 แห่งลูซียงกับบรูกอญ เดอ ราญกง
สมเด็จพระราชินีนาถซีบิลลาแห่งเยรูซาเลม
เมษายน ค.ศ.1180
พระราชธิดา 2 พระองค์
18 กรกฎาคม ค.ศ. 1194
นิโคเซีย ไซปรัส
พระชนมายุราว 45 พรรษา
12   สมเด็จพระราชินีนาถ
อิซาเบลลาที่ 1

(Isabella I)
อีซาเบลที่ 1
(Isabelle I)
1190/1192-1205
ร่วมราชบัลลังก์กับคอนราด จนถึงปีค.ศ. 1192
ร่วมราชบัลลังก์กับอ็องรีที่ 1 ค.ศ. 1192-1197
ร่วมราชบัลลังก์กับอามาลริคที่ 2 ตั้งแต่ ค.ศ. 1197
ราวค.ศ. 1172
นาบลัส ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
ธิดาในพระเจ้าอามาลริคกับมาเรีย โคมเนเน
อ็องฟรอยที่ 4 แห่งโตรอน
พฤศจิกายน ค.ศ.1183
ไม่มีพระโอรสธิดา

คอนราดแห่งมงแฟรา
24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1190
พระราชธิดา 1 พระองค์

อ็องรีที่ 2 เคานท์แห่งช็องปาญ
6 พฤษภาคม ค.ศ. 1192
พระราชธิดา 2 พระองค์

อามาลริคแห่งลูซียง
มกราคม ค.ศ. 1198
พระราชธิดา 3 พระองค์
5 เมษายน ค.ศ. 1205
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 33 พรรษา
13   คอนราดแห่งมงแฟรา
พระเจ้าคอนราดที่ 1
(Conrad of Montferrat)
1190/1192-1192
ร่วมราชบัลลังก์กับ
อิซาเบลลาที่ 1
กลางทศวรรษที่ 1140
มงแฟรา จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
โอรสในวิลเลียมที่ 5 มาร์เควสแห่งมงแฟรากับจูดิธแห่งบาเบ็นแบร์ก
ไม่ปรากฏนาม
ก่อนค.ศ. 1179
ไม่มีโอรสธิดา

ธีโอโดรา แองเจลินา
ค.ศ. 1186/1187
ไม่มีโอรสธิดา

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งเยรูซาเลม
24 พฤศจิกายน ค.ศ.1180
พระราชธิดา 1 พระองค์
28 เมษายน ค.ศ. 1192
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 40 พรรษา
14   อ็องรีที่ 2 เคานท์แห่งช็องปาญ
พระเจ้าอ็องรีที่ 1
(Henry II of Champagne; Henry I)
1192-1197
ร่วมราชบัลลังก์กับ
อิซาเบลลาที่ 1
29 กรกฎาคม ค.ศ. 1166
ช็องปาญ
โอรสในอ็องรีที่ 1 เคานท์แห่งช็องปาญกับมารีแห่งฝรั่งเศส
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งเยรูซาเลม
6 พฤษภาคม ค.ศ.1192
พระราชธิดา 2 พระองค์
10 กันยายน ค.ศ. 1197
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 31 พรรษา
15   อามาลริคแห่งลูซียง
พระเจ้าอามาลริคที่ 2
(Amalric of Lusignan; Amalric II)
อามอรี เดอ ลูซียง
(Amaury de Lusignan)
1198-1205
ร่วมราชบัลลังก์กับ
อิซาเบลลาที่ 1
ค.ศ. 1145
โอรสในอูกที่ 8 แห่งลูซียงกับบรูกอญ เดอ ราญกง
เอสเชวาแห่งอีเบอลิน
ก่อน 29 ตุลาคม ค.ศ. 1114
พระโอรสธิดา 6 พระองค์

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งเยรูซาเลม
มกราคม ค.ศ.1198
พระราชธิดา 3 พระองค์
1 เมษายน ค.ศ. 1205
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 60 พรรษา

อ้างอิง แก้

  1. Guy. 2012. Encyclopædia Britannica Online. Retrieved 27 August 2012, from http://www.britannica.com/EBchecked/topic/249989/Guy
  2. Whitworth Porter (2013). A History of the Knights of Malta. Cambridge Library Collection - European History. Cambridge University Press. p. 18. ISBN 9781108066228. สืบค้นเมื่อ 20 May 2014. Refusing the title of King and the diadem which were offered him, upon the plea that he would never wear a crown of gold where his Saviour had worn a crown of thorns, he modestly contented him with the title of Defender and Advocate of the Holy Sepulchre.
  3. Adrian J. Boas. Jerusalem in the Time of the Crusades: Society, Landscape and Art in the Holy City under Frankish Rule. Pages 79-82. Routledge 2009. ISBN 9780415488754. [1]