สงครามครูเสดครั้งที่ 3
สงครามครูเสดครั้งที่ 3 หรือ สงครามครูเสดกษัตริย์(อังกฤษ: Third Crusade หรือ Kings' Crusade) (ค.ศ. 1189-ค.ศ. 1192) เป็นสงครามครูเสด[9][10]ที่ฝ่ายผู้นำยุโรปพยายามกู้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากศอลาฮุดดีน (Salāh al-Dīn Yūsuf ibn Ayyūb).
สงครามครูเสดครั้งที่ 3 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามครูเสด | |||||||||
พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษเดินทางไปเยรูซาเลม. James William Glass (1850). | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
| |||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
ครูเสด:
รัฐนักรบครูเสดแห่งลิแวนต์:
นักรบครูเสด: พันธมิตรแห่งคริสเตียนตะวันออก: |
กองทัพมุสลิม: ศัตรูแห่งคริสเตียนตะวันออก: | ||||||||
กำลัง | |||||||||
ทหาร 80,000–85,000 นาย (โดยประมาณ) |
อัยยูบิด: 40,000 นาย (ทหารของเศาะลาฮุดดีนมีแค่ 1189 นาย (โดยประมาณ) เท่านั้น)[6] ซัลจูค: 22,000+ (ทหารของ Qutb al-Din มีแค่ 1190 นายเท่านั้น)[7][8] |
หลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 2 ราชวงศ์เซนกิด (Zengid dynasty) ก็เข้าครอบครองซีเรียและสร้างความขัดแย้งกับฟาติมียะห์ผู้ปกครองอียิปต์ที่เป็นผลที่ทำให้อียิปต์และซีเรียรวมตัวกันภายใต้การนำของศอลาฮุดดีนผู้ใช้อำนาจในการลดอำนาจของรัฐคริสเตียนและยึดเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1187 ด้วยความมุ่งมั่นในความเป็นคริสเตียนที่ดีสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ และ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสก็ทรงยุติความบาดหมางกัน เพื่อจะร่วมกันนำสงครามครูเสดครั้งใหม่ (แม้ว่าการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ในปี ค.ศ. 1189 จะต้องทำให้ผู้นำฝ่ายอังกฤษต้องเปลี่ยนไปเป็นสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษแทนที่) สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ผู้มีพระชนมายุสูงแล้วก็ทรงรวบรวมกำลังพลและนำกองทัพอันใหญ่โตเดินทางไปยังอานาโตเลียแต่ไปทรงจมน้ำตายเสียก่อนที่จะถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ทหารเป็นจำนวนมากที่หมดกำลังใจก็พากันเดินทางกลับ
หลังจากที่ได้รับชัยชนะหลายครั้งฝ่ายคริสเตียนก็ทะเลาะกันเรื่องทรัพย์สินที่ได้จากสงคราม เลโอโปลด์ที่ 5 ดยุคแห่งออสเตรีย (Leopold V, Duke of Austria) และพระเจ้าฟิลิปหมดความอดทนกับพระเจ้าริชาร์ดก็เดินทางต่อไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1191 เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1192 พระเจ้าริชาร์ดและศอลาฮุดดีนก็ตกลงในสนธิสัญญาที่มีผลทำให้เยรูซาเลมอยู่ภายใต้การครอบครองของมุสลิมแต่นักแสวงบุญคริสเตียนผู้ไม่ถืออาวุธสามารถเดินทางเข้าไปในเมืองเพื่อทำการสักการะได้ พระเจ้าริชาร์ดเสด็จออกจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ความล้มเหลวในการยึดเยรูซาเลมคืนนำมาซึ่งสงครามครูเสดครั้งที่ 4 หกปีต่อมา
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Hosler 2018, p. 72.
- ↑ Tyerman, page 436
- ↑ Frank McLynn. "Richard and John: Kings at War." Page 219.
- ↑ Loud 2010, p. 19.
- ↑ Hunyadi, Zsolt (2011), A keresztes háborúk világa, p. 41.
- ↑ Hosler 2018, p. 54.
- ↑ Tyerman p.422: "After desperate fighting involving the Emperor himself, the Turks outside the city were defeated [by the Imperial and Hungarian army], apparently against numerical odds."
- ↑ Loud 2010, p. 104: the Seljuks lost 5,000+ men per their own bodycount estimates on May 7, 1190, soon before the Battle of Iconium.
- ↑ CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Crusades[1]
- ↑ The Crusades[2] เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สงครามครูเสดครั้งที่ 3