ฟีลิปแห่งฟลานเดอส์
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ฟีลิปแห่งอาลซัส (ค.ศ. 1143 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 1191) เป็นเคานต์แห่งฟลานเดอส์ตั้งแต่ ค.ศ. 1168 ถึง ค.ศ. 1191 โดยสืบทอดตำแหน่งต่อจากตีแยรีแห่งอาลซัสผู้เป็นบิดา
ฟีลิปที่ 1 | |
---|---|
ตราประทับของฟีลิปแห่งอาลซัส | |
เคานต์แห่งฟลานเดอส์ | |
เกิด | ค.ศ. 1143 |
เสียชีวิต | 1 สิงหาคม ค.ศ. 1191 |
บิดา | ตีแยรี เคานต์แห่งฟลานเดอส์ |
มารดา | ซีบีลแห่งอ็องฌู |
ขุนนางฝรั่งเศส - กษัตริย์ฝรั่งเศส - ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส |
เคานต์แห่งฟลานเดอส์
แก้การดำรงตำแหน่งของเขาเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1157 ขณะกำลังทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและเป็นเคานต์ร่วมของตีแยรี บิดาที่จากไปทำสงครามครูเสด[1] เขาปราบโฟลริสที่ 3 เคานต์แห่งฮอลแลนด์และหยุดการปล้นแบบโจรสลัด โฟลริสถูกจับกุมตัวในบรูชและถูกจำคุกจนถึงปี ค.ศ. 1167 ที่เขาถูกเรียกค่าไถ่แลกกับการยอมรับว่าฟลานเดอส์มีอำนาจเหนือเซลันด์ ฟีลิปยังกอบกู้วาสลันด์และกัทร์-เมตีเยของฟลานเดอส์กลับคืนมา
ปี ค.ศ. 1159 ฟีลิปแต่งงานกับเอลีซาแบ็ตแห่งแวร์ม็องดัว ธิดาคนโตของเคานต์ราอูลที่ 1 แห่งแวร์ม็องดัวกับเปทรอนีย์แห่งอากีแตน[2] เมื่อพ่อตาเสียชีวิต ภรรยาของเขาได้สืบทอดเคาน์ตีแวร์ม็องดัว ทำให้อำนาจของฟลานเดอส์ขยายตัวไปทางใต้ ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งใหญ่ที่สุดจนเป็นภัยต่อสมดุลอำนาจในฝรั่งเศสเหนือ
ฟีลิปบริหารบ้านเมืองอย่างชาญฉลาดโดยมีรอแบร์ แดร์ ที่มีบทบาทกึ่ง ๆ นายกรัฐมนตรีคอยให้ความช่วยเหลือ ทั้งคู่สร้างระบบบริหารบ้านเมืองที่ทรงประสิทธิภาพและสายสัมพันธ์กับต่างแดนของฟีลิปนั้นดีเยี่ยม เขาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสกับพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ, ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าเฮนรีที่ 2 กับทอมัส แบ็กกิต และจับมาร์เกอริต น้องสาวของตนแต่งงานกับโบดวงที่ 5 เคานต์แห่งแอโน
ฟีลิปกับเอลีซาแบ็ตไม่มีลูก ในปี ค.ศ. 1175 ฟีลิปจับได้ว่าเอลีซาแบ็ตลอบคบชู้ วอลแตร์ เดอ ฟงแตน คนรักของเธอถูกทุบตีจนตาย[3] ฟีลิปยังได้อำนาจควบคุมดินแดนของเธอมาอย่างสมบูรณ์จากพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส เนื่องจากมาตีเยอและปีแยร์แห่งอาลซัส น้องชายของฟีลิปเสียชีวิตไปแล้ว ในปี ค.ศ. 1177 ก่อนออกเดินทางไปทำสงครามครูเสด เขาจึงแต่งตั้งมาร์เกอริตและโบดวงเป็นทายาท
สงครามกับฝรั่งเศส
แก้ฟีลิปกลับมาจากปาเลสไตน์ในปี ค.ศ. 1179 ในตอนนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ป่วยและประกาศชื่อเขาเป็นผู้พิทักษ์ของฟีลิปที่ 2 พระโอรสน้อย หนึ่งปีต่อมาฟีลิปแห่งอาลซัสจับเด็กในการพิทักษ์ของตนแต่งงานกับเอลีซาแบ็ตแห่งแอโน หลานสาว (ลูกของพี่น้อง) ของตน โดยเสนอเคาน์ตีอาร์ตัวและดินแดนอื่นของฟลานเดอส์เป็นสินสอด เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 สิ้นพระชนม์ พระเจ้าฟีลิปที่ 2 เริ่มแยกตัวเป็นอิสระ สงครามอุบัติขึ้นในปี ค.ศ. 1180 ปีการ์ดีและอีล-เดอ-ฟร็องส์ถูกทำลายราบ พระเจ้าฟีลิปปฏิเสธที่จะเปิดสมรภูมิและถือไพ่เหนือกว่า โบดวงที่ 5 ที่ในตอนแรกเป็นพันธมิตรกับพี่เขยเข้ามาแทรกแซงในปี ค.ศ. 1184 ในนามของพระเจ้าฟีลิปผู้เป็นลูกเขย เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้บุตรสาว[4] ความขัดแย้งระหว่างเคานต์ฟีลิปกับเคานต์โบดวงมีพระเจ้าฟีลิปคอยให้การสนับสนุน ถึงขั้นประกาศชื่อโบดวงเป็นผู้แทนพระองค์ในการเจรจากับเคานต์ฟีลิป
เอลีซาแบ็ต ภรรยาของเคานต์ฟีลิปเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1183 กระตุ้นให้พระเจ้าฟีลิปที่ 2 ยึดแวร์ม็องดัวมาในนามของอาลีเยนอร์ น้องสาวของเอลีซาแบ็ต ฟีลิปแต่งงานใหม่กับตึเรซา พระธิดาของพระเจ้าอาฟงซูที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งโปรตุเกส ด้วยความกลัวว่าตนเองจะถูกรายล้อมโดยดินแดนของกษัตริย์แห่งเคาน์ตีแอโน เคานต์ฟีลิปจึงลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพร่วมกับพระเจ้าฟีลิปที่ 2 และเคานต์โบดวงที่ 5 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1186 โดยยอมยกแวร์ม็องดัวให้กษัตริย์ แม้จะได้รับอนุญาตให้ครองตำแหน่งเคานต์แห่งแวร์ม็องดัวต่อไปจนเสียชีวิต
สงครามครูเสดครั้งที่สองของฟีลิปและการเสียชีวิต
แก้ปี ค.ศ. 1190 ฟีลิปรับกางเขนเป็นครั้งที่สองและตามไปสมทบกับคณะของชาวฟลานเดอส์ที่เดินทางไปปาเลสไตน์ก่อนแล้ว หลังไปถึงการปิดล้อมอาเคร เขาติดโรคระบาดในค่ายของผู้ทำครูเสดและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1191[5] ภรรยาที่ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในช่วงที่เขาไม่อยู่นำร่างของเขากลับไปฟลานเดอส์ ร่างของฟีลิปถูกฝังในวิหารแกลร์โว เนื่องจากไม่ประสบความสำเร็จในการมีทายาทกับเคาน์เตสมาติลดา (ตึเรซา) มาร์เกอริต น้องสาวของเขาจึงสืบทอดตำแหน่งต่อ และโบดวง น้องเขยของเขาขึ้นปกครองเป็นโบดวงที่ 7 แห่งฟลานเดอส์[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ Nicholas, David M (1992). Medieval Flanders. Routledge, p. 71.
- ↑ Baldwin, John W. (1986). The Government of Philip Augustus: Foundations of French Royal Power in the Middle Ages. University of California Press, p. 15.
- ↑ Gislebertus (of Mons) (2005). Chronicle of Hainaut. Translated by Napran, Laura. The Boydell Press, p. 34 note138.
- ↑ Wolff, p. 282.
- ↑ Bryant 2015, p. 1.
- ↑ Wolff, p. 282.