จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, จักรพรรดิฟรีดริช บาร์บาร็อสซา หรือ จักรพรรดิฟรีดริชพระมัสสุแดง (อังกฤษ: Frederick I, Holy Roman Emperor[1] หรือ Frederick I Barbarossa; ค.ศ. 1122 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 1190) ฟรีดริชทรงได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเยอรมนีเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1152 และทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกที่อาเคินเมื่อวันที่ 9 มีนาคม; ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีในพิธีราชาภิเษกที่ปาวีอาใน ค.ศ. 1154 และในที่สุดก็ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยทรงได้รับการสวมมงกุฎจากสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 4 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1155 ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1178 พระองค์ก็ทรงได้รับการสมมงกุฎให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเบอร์กันดี

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ครองราชย์ค.ศ. 1155 - 10 มิถุนายน ค.ศ. 1190
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระจักรพรรดิโลธาร์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
รัชกาลถัดไปจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ประสูติค.ศ. 1122
สวรรคต10 มิถุนายน ค.ศ. 1190  (อายุ 67 ปี)
พระอัครมเหสีเบียทริซแห่งเบอร์กันดี จักรพรรดินีโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระราชบุตรจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และองค์อื่นๆ
จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน
พระราชบิดาเฟรดเดอริคที่ 2 ดยุกแห่งชวาเบีย
พระราชมารดาจูดิธ

ก่อนที่จะได้ทรงได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเยอรมนีฟรีดริชทรงเป็นดยุกแห่งชวาเบีย ระหว่างปี ค.ศ. 1147 ถึงปี ค.ศ. 1152 ในพระนาม "ฟรีดริชที่ 3" ต่อจากพระราชบิดาเฟรเดอริกที่ 2 ดยุกแห่งชวาเบียแห่งราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน พระราชมารดาคือจูดิธธิดาของไฮน์ริชที่ 9 ดยุกแห่งบาวาเรีย จากตระกูลเวลฟ์ซึ่งเป็นตระกูลสำคัญอีกตระกูลหนึ่งของเยอรมนี ฉะนั้นฟรีดริชจึงทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลผู้นำของเยอรมนี ซึ่งทำให้เป็นที่ยอมรับในตำแหน่งเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก (Prince-elector) ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ฟรีดริชทรงได้รับนามว่า "Barbarossa" ที่แปลว่า "หนวดแดง" จากบริเวณทางเหนือของอิตาลีที่ทรงพยายามปกครอง

พระองค์ทรงจมน้ำที่แม่น้ำซาเล็ปในเอเชียไมเนอร์จนเสด็จสวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 1190

ต้นชีวิต

แก้

ไม่มีใครรู้วันประสูติที่แท้จริงของฟรีดริชที่ 1 หรือฉายาคือ บาร์บาร็อสซา (มาจากภาษาอิตาลี แปลว่า "เคราแดง")[2] แม้ทั่วไปแล้วจะระบุปีประสูติของพระองค์ว่าเป็นปี ค.ศ. 1122 หรือ 1123 บิดาของพระองค์คือฟรีดริชที่ 2 ดยุคแห่งสวาเบีย ส่วนมารดาคือจูดิธ บุตรสาวของไฮน์ริชที่ 9 ดยุคแห่งบาวาเรียหรือไฮน์ริชดำ บิดาของบาร์บาร็อสซาเป็นชาวโฮเอินชเตาเฟิน ขณะที่มารดาเป็นชาวเวล์ฟ สองราชวงศ์ชั้นนำในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นศัตรูกันมาช้านาน

ในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่สอง บาร์บาร็อสซาติดตามพระปิตุลา พระเจ้าคอนรัดที่ 3 แห่งเยอรมนี ไปดินแดนตะวันออก สุดท้ายสงครามครูเสดกลายเป็นหายนะ[3] และผู้ทำครูเสดซึ่งรวมถึงชาวเยอรมันทำได้ไม่ดีนักในการเดินทางทางทหาร ที่ดอริเลออน ชั่วพริบตาเดียว กองทัพของพระเจ้าคอนรัดถูกชาวตุรกีซุ่มโจมตีและพ่ายแพ้ยับเยิน อย่างไรก็ดีบาร์บาร็อสซาได้ประสบการณ์ทางทหารจากการสู้รบครั้งนี้ รวมถึงความเชื่อมั่นจากพระปิตุลา

การขึ้นครองราชย์

แก้

ปี ค.ศ. 1152 ตอนที่พระเจ้าคอนรัดนอนอยู่บนเตียงสิ้นพระชนม์ พระองค์มอบตราประจำตัวจักรพรรดิให้บาร์บาร็อสซา และแสดงออกถึงความต้องการที่จะให้พระภาติยะสืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์[4] โดยมีเจ้าชายบิชอปแห่งบัมแบร์กซึ่งเป็นอีกคนที่อยู่ที่เตียงสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าคอนรัดเป็นสักขีพยาน พระโอรสวัย 6 พรรษของคอนรัดที่ไม่ได้สืบทอดเป็นกษัตริย์ต่อจากพระบิดาได้รับแต่งตั้งเป็นดยุคแห่งสวาเบีย นอกจากจะได้รับประกาศชื่อให้เป็นผู้สืบทอดของพระเจ้าคอนรัด การอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ของบาร์บาร็อสซายังได้รับการยอมรับจากความสายสัมพันธ์ทางสายเลือดที่มีต่อตระกูลโฮเอินชเตาเฟินและตระกูลเวล์ฟ ในตอนที่ขึ้นครองบัลลังก์ บาร์บาร็อสซาหมายจะฟื้นฟูจักรวรรดิให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งเหมือนในสมัยชาร์เลอมาญ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย กษัตริย์คนใหม่เดินทางไปทั่วอาณาจักรเพื่อพบปะเจ้าชายประจำท้องถิ่น และเพื่อรวมเหล่าเจ้าชายให้เป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้พระองค์

จักรพรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์

แก้

สิ่งหนึ่งของชาร์เลอมาญที่บาร์บาร็อสซาได้มาครอบครองคือตำแหน่ง "จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" ในปี ค.ศ. 1153 สนธิสัญญาคอนสตานซ์ระหว่างบาร์บาร็อสซากับพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 ได้ข้อสรุป โดยหลักๆ สนธิสัญญากำหนดให้บาร์บาร็อสซาได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แลกกับการให้ความช่วยเหลือพระสันตะปาปาต่อกรกับศัตรูชาวนอร์มันในซิซิลี[5] ในปี ค.ศ. 1155 บาร์บาร็อสซาได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จากผู้สืบทอดตำแหน่งของพระสันตะปาปายูจีน พระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 4 จากนั้นก็เดินทางกลับเยอรมนี พระองค์พบว่ามีความขัดแย้งภายในเกิดขึ้นในช่วงที่พระองค์ไม่อยู่ จึงใช้มาตราเพื่อให้อาณาจักรกลับมาเป็นระเบียบเรียบร้อย

ความสัมพันธ์กับพระสันตะปาปา

แก้
 
ฟรีดริช บาร์บาร็อสซายอมจำนนต่ออำนาจของพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 โดยสปิเนลโล อาเรติโน คริสต์ศตวรรษที่ 14

แม้จะได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปา แต่ความสัมพันธ์ระหว่างบาร์บาร็อสซากับพระสันตะปาปากลับตึงเครียดขึ้น ด้วยประเด็นที่ว่าจักรพรรดิควรเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระสันตะปาปา หรือพระสันตะปาปาควรเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของจักรพรรดิ บาร์บาร็อสซาย่อมต้องคิดว่าพระสันตะปาปาควรเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของจักรพรรดิ ส่วนพระสันตะปาปาก็มีมุมมองที่ตรงกันข้าม[6] สุดท้ายเรื่องนี้ก็ส่งผลให้บาร์บาร็อสซาถูกพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 ตัดขาดจากศาสนา[7] เพื่อเป็นการตอบโต้ บาร์บาร็อสซาหันไปสนับสนุนอยู่เบื้องหลังผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาอย่างต่อเนื่อง

 
อนุสาวรีย์บาร์บาร็อสซาที่ภูเขาคิฟฮ็อยเซอร์ คิฟฮ็อยเซอร์-เด็งค์มาล ประเทศเยอรมนี

สุดท้ายในปี ค.ศ. 1176 บาร์บาร็อสซาสงบศึกกับพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์และการตัดขาจากศาสนาถูกยกเลิกหลังการสู้รบของบาร์บาร็อสซากับสหพันธ์ลอมบาร์ดในอิตาลีเหนือ[8] อย่างไรก็ดีการเคลื่อนไหวของบาร์บาร็อสซาในหลายปีต่อมาทำให้ความสัมพันธ์กับพระสันตะปาปาเกิดรอยร้าวอีกครั้ง แต่กระนั้นเมื่อมีการเรียกทำสงครามครูเสดครั้งที่สาม บาร์บาร็อสซาตอบสนองทันทีโดยการระดมทหาร 15,000 นาย[9][10] และออกเดินทางไปดินแดนตะวันออก ทว่าครั้งนี้ชะตาไม่ได้ลิขิตให้จักรพรรดิผู้ชราแล้วไปถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1190 บาร์บาร็อสซาจมน้ำสิ้นพระชนม์ในแม่น้ำซาเลฟในอานาโตเลียตะวันออกเฉียงใต้[11] อ้างอิงตามบันทึกส่วนหนึ่ง จักรพรรดิจมน้ำสิ้นพระชนม์ขณะกำลังพยายามข้ามแม่น้ำ ขณะที่บันทึกอีกหลายฉบับอ้างว่าทรงกระโดดลงไปในแม่น้ำจนตัวแข็งและจมน้ำสิ้นพระชนม์ อีกกรณีหนึ่ง มีการโทษว่าน้ำหนักของเกราะคือต้นเหตุทำให้จมน้ำสิ้นพระชนม์

พระโอรสธิดา

แก้

การอภิเษกสมรสครั้งแรกของฟรีดริชที่ 1 กัยอาเดลไฮด์แห่งฟูบวร์กไม่มีพระโอรสธิดาและถูกประกาศให้เป็นโมฆะ[12]

 
การอภิเษกสมรสของจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 บาร์บาร็อสซากับเบียทริซแห่งเบอร์กันดี

จากการอภิเษกสมรสครั้งที่สองกับเบียทริซแห่งเบอร์กันดี[12] พระองค์มีพระโอรสธิดา ดังนี้

  1. เบียทริซ (ค.ศ. 1162 – 1174) ถูกหมั้นหมายกับพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งซิซิลี แต่สิ้นพระชนม์ก่อนจะได้แต่งงานกัน
  2. ฟรีดริชที่ 5 ดยุคแห่งสวาเบีย (16 กรกฎาคม ค.ศ. 1164 – 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1170)
  3. ไฮน์ริชที่ 6 จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (พฤศจิกายน ค.ศ. 1165 – 28 กันยายน ค.ศ. 1197)[12]
  4. คอนรัด (กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1167 – 20 มกราคม ค.ศ. 1191) ต่อมามีชื่อใหม่ว่าฟรีดริชที่ 6 ดยุคแห่งสวาเบียหลังพระเชษฐาสิ้นพระชนม์[12]
  5. จิเซลา (ตุลาคม/พฤศจิกายน ค.ศ. 1168 – ค.ศ. 1184)
  6. ออตโทที่ 1 เคานต์แห่งเบอร์กันดี (มิถุนายน/กรกฎาคม ค.ศ. 1170 – ถูกสังหาร 13 มกราคม ค.ศ. 1200)[12]
  7. คอนรัดที่ 2 ดยุคแห่งสวาเบียและโรเธินบวร์ก (กุมภาพันธ์/มีนาคม ค.ศ. 1172 – ถูกสังหาร 15 สิงหาคม ค.ศ. 1196)[12]
  8. รานูด (ตุลาคม/พฤศจิกายน ค.ศ. 1173 – วัยทารก)
  9. วิลเลียม (มิถุนายน/กรกฎาคม ต.ศ. 1176 – วัยทารก)
  10. ฟิลิปแห่งสวาเบีย (สิงหาคม ค.ศ. 1177 – ถูกสังหาร 21 มิถุนายน ค.ศ. 1208) กษัตริย์แห่งเยอรมนี ค.ศ. 1198[12]
  11. แอ็กเนส (ค.ศ. 1181 – 8 ตุลาคม ค.ศ. 1184) ถูกหมั้นหมายกับเอเมริกแห่งฮังการี แต่สิ้นพระชนม์ก่อนจะได้แต่งงานกัน

อ้างอิง

แก้

Frederick I Barbarossa: A Megalomaniac Roman Emperor On a Crusade for Power

  1. Britania.com, Frederick I
  2. Iba, Johnson (2015), p. 29
  3. Comyn (1851), p. 199
  4. Comyn (1851), p. 200
  5. Falco (1964), pp. 218 et seq.
  6. Comyn (1851), p. 235
  7. Dahmus (1969), p. 295
  8. Brown (1972), pp. 164–165
  9. Loud 2010, p. 19.
  10. Konstam, Historical Atlas of the Crusades, 162
  11. Comyn (1851), p. 267
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 Gislebertus (of Mons), Chronicle of Hainaut, transl. Laura Napran, (Boydell Press, 2005), 55 note245.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์