พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ
พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Richard I; 8 กันยายน พ.ศ. 1700 – 6 เมษายน พ.ศ. 1742) เป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษและเป็นกษัตริย์องค์ที่สองของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท ตั้งแต่ ค.ศ. 1189 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1199 นอกจากนี้พระองค์ยังปกครองในฐานะ ดยุคแห่งนอร์ม็องดี, อากีแตน และ แกสโคนี ลอร์ดแห่งไซปรัสและเคานต์แห่งปัวตีเยร์, อองฌู, เมน และ น็องต์ และเป็นผู้ปกครองบริตตานีในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามจากพระราชโอรสทั้งห้าของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษและอาลีเยนอร์แห่งอากีแตน และดูเหมือนว่าพระองค์ไม่น่าจะมีโอกาสได้เป็นกษัตริย์ แต่พระเชษฐา 2 องค์รวมถึงพระอนุชา 1 องค์ยกเว้นเจ้าชายจอห์น พระอนุชาองค์เล็กล้วนสิ้นพระชนม์ก่อนพระราชบิดา พระเจ้าริชาร์ดเป็นที่รู้จักในพระนาม ริชาร์ดใจสิงห์ (ฝรั่งเศส: Richard Cœur de Lion) เนื่องจากชื่อเสียงของพระองค์ในฐานะผู้นำทางทหารและนักรบที่ยิ่งใหญ่[1] เบอทราน เดอ บอร์น เรียกพระองค์ว่า Richard Oc-e-Non ซึ่งอาจมาจากชื่อเสียงในเรื่องความเข้มงวดของพระองค์[2]
พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ | |
ครองราชย์ | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 1732 - 6 เมษายน พ.ศ. 1742 |
รัชสมัย | 9 ปี |
ราชาภิเษก | 3 กันยายน พ.ศ. 1732 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าเฮนรีที่ 2 |
ถัดไป | พระเจ้าจอห์น |
พระราชสมภพ | 8 กันยายน พ.ศ. 1700 เมืองออกซฟอร์ด |
สวรรคต | 6 เมษายน พ.ศ. 1742 ~(41 ปี) |
มเหสี | เบเร็นเจเรียแห่งนาวาร์ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท |
พระราชบิดา | พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ |
พระราชมารดา | อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน |
เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา เจ้าชายริชาร์ดทรงบัญชากองทัพของพระองค์เองในการปราบกบฏในปัวตูที่ลุกฮือเพื่อต่อต้านพระราชบิดาของพระองค์[1] พระเจ้าริชาร์ดเป็นแม่ทัพที่สำคัญของคริสเตียนในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่สาม พระองค์เป็นผู้นำในการรบหลังจากการจากไปของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสและประสบความสำเร็จอย่างมากในการต่อสู้กับซาลาดิน ถึงแม้ว่าพระองค์จะบรรลุสนธิสัญญาสันติภาพหรือสนธิสัญญาจาฟฟาและยุติการรบโดยปราศจากการยึดกรุงเยรูซาเล็มกลับคืนมา[3]
พระเจ้าริชาร์ดอาจตรัสได้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาอุตซิตา[4] พระองค์ประสูติในอังกฤษที่ซึ่งพระองค์ใช้ชีวิตในวัยเยาว์ก่อนขึ้นเป็นกษัตริย์ ส่วนใหญ่พระองค์ประทับอยู่ในดัชชีแห่งอากีแตน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ภายหลังการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ พระองค์ใช้เวลาเพียงน้อยนิดในอังกฤษ บางทีอาจจะเพียงหกเดือน พระชนม์ชีพส่วนใหญ่ของพระองค์ในฐานะกษัตริย์ถูกใช้ไปกับสงครามครูเสดหรือปกป้องดินแดนของพระองค์ในฝรั่งเศสอย่างแข็งขัน แทนที่จะรับผิดชอบอาณาจักรอังกฤษ พระองค์ถูกมองว่าชอบที่จะใช้อังกฤษเป็นเพียงแหล่งรายได้เพื่อสนับสนุนกองทัพของพระองค์ อย่างไรก็ตามพระองค์ถูกมองว่าเป็นวีรบุรุษผู้เคร่งศาสนาโดยอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ พระองค์ยังคงเป็นหนึ่งในกษัตริย์ไม่กี่องค์ของอังกฤษที่เป็นที่จดจำได้จากพระสมัญญาของพระองค์มากกว่าเลขรัชกาลและพระองค์เป็นสัญลักษณ์ทั้งในอังกฤษและในฝรั่งเศส
ช่วงแรกของชีวิต
แก้ริชาร์ดใจสิงห์เป็นโอรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายองค์ที่สามของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษดังนั้นจึงไม่เคยคิดเลยว่าจะได้ขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์ทรงเป็นโอรสคนโปรดของพระมารดา คือพระนางอาลีเยนอร์แห่งอากีแตน ผู้มีเชื้อสายฝรั่งเศสและเป็นหนึ่งในสตรีผู้มั่งคั่งที่สุดในยุโรปสมัยยุคกลาง ริชาร์ดเป็นโอรสองค์เล็กร่วมพระมารดาเดียวกันกับมารีแห่งฝรั่งเศส เคาน์เตสแห่งช็องปาญ และ อาลิกซ์แห่งฝรั่งเศส เคาน์เตสแห่งบลัว อีกทั้งยังเป็นพระอนุชาของวิลเลียม เค้าท์แห่งปัวติเยร์ เฮนรียุวกษัตริย์ และ มาทิลดา แห่งอังกฤษ เป็นพระเชษฐาของจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี เลโอนอรา แห่งอากิเตน โจอาน ปลองตานเนต์ และ เจ้าชายจอห์นแห่งอังกฤษ
แม้ว่าจะประสูติที่พระราชวังโบมอนต์ เมืองออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ไม่นานต่อมา พระองค์ได้ถือเอาฝรั่งเศสเป็นประเทศบ้านเกิด เมื่อพระมารดาและพระบิดาแยกทางกันอย่างเป็นทางการ พระองค์ได้อยู่ในการดูแลของพระมารดา และได้รับการแต่งตั้งจากพระนางให้เป็นดัชชีแห่งแคว้นอากิเตนในปีค.ศ. 1168 และแห่งแคว้นปัวติเยร์ในปีค.ศ. 1172 อันเป็นรางวัลปลอบใจให้เนื่องจากเฮนรียุวกษัตริย์พระเชษฐาได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมารในระยะเวลาพร้อมๆ กัน ริชาร์ดและจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี พระเชษฐาได้เรียนรู้ที่จะปกป้องมรดกของตนเองตั้งแต่วัยรุ่น พระองค์เป็นผู้มีการศึกษาดี สามารถแต่งบทกวีเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาโปรว็องซ์ พระองค์ยังทรงมีรูปร่างหน้าตาดี ผมสีทอง ตาสีฟ้า สูงประมาณหกฟุตสี่นิ้ว (193 เซนติเมตร) โดดเด่นในกิจกรรมทางการทหาร และความสามารถทางการเมืองและการทหารตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้รับการยกย่องว่ากล้าหาญและเด็ดเดี่ยว และสามารถควบคุมบุคคลชั้นสูงที่ไม่มีผู้ปกครองได้ในเวลาอันรวดเร็ว เช่นเดียวกับโอรสอีกสองพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ริชาร์ดไม่ค่อยนับถือพระบิดาเท่าใดนัก อีกทั้งยังขาดวิสัยทัศน์ และความรับผิดชอบ
ในปีค.ศ. 1170 เฮนรียุวกษัตริย์ พระเชษฐา ได้ขึ้นปกครองอังกฤษในฐานะกษัตริย์ร่วม (rex iunior) กับพระราชบิดา แต่พระองค์กลับสวรรคตก่อนพระบิดา ทำให้ไม่ได้รับการถวายพระนามว่าเฮนรีที่ 3 แต่ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "ยุวกษัตริย์" (Henry the Young King) และทำให้ริชาร์ดกลายเป็นผู้ที่จะสืบราชสมบัติต่อไป
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Turner & Heiser 2000, p. 71
- ↑ Gillingham, John (1978). Richard the Lionheart. Weidenfeld and Nicolson. p. 243. ISBN 978-0812908022.
- ↑ Addison 1842, pp. 141–149.
- ↑ Flori 1999f, p. 20 (French).
บรรณานุกรม
แก้- Addison, Charles (1842), The History of the Knights Templars, the Temple Church, and the Temple, London: Longman, Brown, Green, and Longmans.
- Arnold, Benjamin (1999) [1985], German Knighthood 1050–1300, Oxford: Clarendon Press, ISBN 978-0-19-821960-6.
- Barrow, G. W. S. (1967) [1956], Feudal Britain: The Completion of the Medieval Kingdoms 1066-1314, London: Edward Arnold, ISBN 9787240008980.
- Brown, Richard Allen (1976) [1954], Allen Brown's English Castles, Woodbridge: The Boydell Press, ISBN 978-1-84383-069-6.
- —— (30 June 2004). Die Normannen (ภาษาเยอรมัน). Albatros Im Patmos Verlag. ISBN 978-3491961227..
- Brewer, Clifford (2000), The Death of Kings, London: Abson Books, ISBN 978-0-902920-99-6.
- Cannon, John; Hargreaves, Anne (2004) [2001]. Kings and Queens of Britain. Oxford University Press. ISBN 0-19-860956-6.
- Flori, Jean (1999), Richard the Lionheart: Knight and King, Translated by Jean Birrell, Edinburgh University Press, ISBN 978-0-7486-2047-0.
- —— (1999f), Richard Coeur de Lion: le roi-chevalier (ภาษาฝรั่งเศส), Paris: Biographie Payot, ISBN 978-2-228-89272-8.
- Gillingham, John (1979), Richard the Lionheart, New York: Times Books, ISBN 978-0-8129-0802-2.
- —— (1989), Richard the Lionheart, Butler and Tanner Ltd, ISBN 9780297796060.
- —— (1994), Richard Coeur De Lion: Kingship, Chivalry And War in the Twelfth Century, London: Hambledon & London, ISBN 978-1852850845.
- —— (2002) [1999], Richard I, London: Yale University Press, ISBN 978-0-300-09404-6.
- —— (2004). "Richard I (1157–1199), king of England". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford Dictionary of National Biography (online ed.). Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/23498. สืบค้นเมื่อ 22 December 2009. (ต้องรับบริการหรือเป็นสมาชิกหอสมุดสาธารณะสหราชอาณาจักร).
- Graetz, Heinrich Bella Löwy; Bloch, Philipp (1902), History of the Jews, vol. 3, Jewish Publication Society of America, ISBN 9781539885733.
- Harvey, John (1948), The Plantagenets, Fontana/Collins, ISBN 978-0-00-632949-7.
- Jones, Dan (2014). The Plantagenets: The Warrior Kings and Queens Who Made England. Penguin Books. ISBN 978-0143124924..
- Leese, Thelma Anna (1996), Royal: Issue of the Kings and Queens of Medieval England, 1066–1399, Heritage Books Inc, ISBN 978-0-7884-0525-9.
- Longford, Elizabeth (1989), The Oxford Book of Royal Anecdotes, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-214153-8.
- Maalouf, Amin (1984), "L'impossible rencontre", ใน J'ai lu (บ.ก.), Les Croisades vues par les Arabes (ภาษาฝรั่งเศส), p. 318, ISBN 978-2-290-11916-7.
- Madden, Thomas F. (2005), Crusades: The Illustrated History (annotated, illustrated ed.), University of Michigan Press, ISBN 978-0-472-03127-6.
- Martin, Nicole (18 March 2008). "Richard I slept with French king 'but not gay'". The Daily Telegraph. p. 11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2022. See also "Bed-heads of state". The Daily Telegraph. 18 March 2008. p. 25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2008..
- McNeill, Tom (1992), English Heritage Book of Castles, London: English Heritage and B. T. Batsford, ISBN 978-0-7134-7025-3.
- Oman, Charles (1991) [1924], A History of the Art of War in the Middle Ages, Volume Two: 1278–1485 AD, Greenhill Books, ISBN 978-1853671050.
- Packard, Sydney (1922), "King John and the Norman Church", The Harvard Theological Review, 15 (1): 15–40, doi:10.1017/s0017816000001383, S2CID 160036290
- Prestwich, J.O.; Prestwich, Michael (10 October 2004). The Place of War in English History, 1066–1214. Boydell Press. ISBN 978-1843830986.
- Purser, Toby (2004), Medieval England 1042–1228 (illustrated ed.), Heinemann, ISBN 978-0-435-32760-6
- Ralph of Coggeshall. Chronicon Anglicanum (ภาษาละติน). Essex, England.
- Roger of Hoveden (1853), The annals of Roger de Hoveden: comprising The history of England and of other countries of Europe from A.D. 732 to A.D. 1201, vol. 2, แปลโดย Riley, Henry T., London: H.G. Bohn.
- —— (1867), Stubbs, William (บ.ก.), Gesta Regis Henrici II & Gesta Regis Ricardi Benedicti Abbatis (ภาษาละติน), London
- —— (1868–1871), Stubbs, William (บ.ก.), Chronica Magistri Rogeri de Houedene (ภาษาละติน), London
- Stafford, Pauline; Nelson, Janet L.; Martindale, Jane (2001). Law, Laity and Solidarities. Manchester University Press. ISBN 9780719058363.
- Turner, Ralph (1997). "Richard Lionheart and English Episcopal Elections". Albion: A Quarterly Journal Concerned with British Studies. 29 (1): 1–13. doi:10.2307/4051592. JSTOR 4051592..
- ——; Heiser, Richard R (2000), The Reign of Richard Lionheart, Ruler of the Angevin empire, 1189–1199, Harlow: Longman, ISBN 978-0-582-25659-0.
อ่านเพิ่มเติม
แก้- Ambroise (2003). The History of the Holy War. แปลโดย Ailes, Marianne. Boydell Press.
- Ralph of Diceto (1876). Stubbs, William (บ.ก.). Radulfi de Diceto Decani Lundoniensis Opera Historica (ภาษาอิตาลี). London.
- Berg, Dieter (2007). Richard Löwenherz (ภาษาเยอรมัน). Darmstadt.
- Edbury, Peter W. (1996). The Conquest of Jerusalem and the Third Crusade: Sources in Translation. Ashgate. ISBN 1-84014-676-1.
- Gabrieli, Francesco, บ.ก. (1969). Arab Historians of the Crusades (ภาษาอังกฤษ). ISBN 0-520-05224-2.
- Nelson, Janet L., บ.ก. (1992). Richard Cœur de Lion in History and Myth. ISBN 0-9513085-6-4.
- Nicholson, Helen J., บ.ก. (1997). The Chronicle of the Third Crusade: The Itinerarium Peregrinorum et Gesta Regis Ricardi. ISBN 0-7546-0581-7.
- Runciman, Steven (1951–1954). A History of the Crusades. Vol. 2–3.
- Stubbs, William, บ.ก. (1864). Itinerarium Peregrinorum et Gesta Regis Ricardi (ภาษาละติน). London.
- Medieval Sourcebook: Guillame de Tyr (William of Tyre): Historia rerum in partibus transmarinis gestarum (History of Deeds Done Beyond the Sea).
- Williams, Patrick A (1970). "The Assassination of Conrad of Montferrat: Another Suspect?". Traditio. XXVI..
ก่อนหน้า | พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 | พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ (ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท) (ค.ศ. 1189 – ค.ศ. 1199) |
สมเด็จพระเจ้าจอห์น |