ธงชาติสวีเดน (สวีเดน: Sveriges flagga) ประกอบด้วยกางเขนนอร์ดิกสีเหลืองหรือทองบนพื้นสีฟ้า โดยรูปแบบกางเขนนอร์ดิกตามธรรมเนียมสื่อถึงศาสนาคริสต์[2][3] รูปแบบและสีธงชาติสวีเดนเชื่อกันว่าได้แรงบันดาลใจจากตราแผ่นดินของสวีเดนแบบปัจจุบันใน ค.ศ. 1442 และดัดแปลงจากธงชาติเดนมาร์ก[4] สีน้ำเงินและเหลืองบนธงชาติสวีเดนใช้งานมาตั้งแต่บนตราแผ่นดินของมักนุสที่ 3 ใน ค.ศ. 1275


ธงชาติสวีเดน
การใช้ ธงพลเรือน, ธงเรือราษฎร์, ธงราชการและธงเรือรัฐบาล Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Reverse side is mirror image of obverse side
สัดส่วนธง 5:8
ประกาศใช้ 22 มิถุนายน 1906; 117 ปีก่อน (1906-06-22)
ลักษณะ ธงสีเหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีฟ้ามีรูปกางเขนแบบนอร์ดิกสีเหลือง สัดส่วน: ด้านยาว 5:2:9 และ ด้านกว้าง 4:2:4
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
ชื่ออื่น ธงกองทัพ
การใช้ ธงกองทัพและธงนาวี Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Reverse side is mirror image of obverse side
สัดส่วนธง 1:2
ประกาศใช้ สืบถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 บังคับใช้ตามกฎหมายเมื่อ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1663[1] รูปแบบปัจจุบัน: 22 มิถุนายน ค.ศ. 1906
ลักษณะ ลักษณะอย่างเดียวกันกับธงชาติ สัดส่วน 1:2 ที่ปลายธงตัดเป็นปลายหางแซงแซวสามแฉก

ประวัติ แก้

ค.ศ. 1815 และ ค.ศ. 1818 แก้

ค.ศ. 1844–1905 แก้

ข้อบังคับ และ ระเบียบ แก้

เสาธงสำหรับประดับธงชาติ ในกรณีที่เป็นเสาเดี่ยว เสาธงมีความสูงเป็นสี่เท่าจนถึงยอดเสาธง ส่วนเสาธงแยกออกจากตัวอาคาร เสาธงมีความสูงเป็นสามเท่าจนถึงยอดเสาธง[5]

เวลาและกฎในการชักธงขึ้นหรือลงเป็นไปตามนี้:[6]

  • ชังธงขึ้นในเวลา 8.00 น. ในช่วงวันที่ 1 มีนาคมถึง 31 ตุลาคม
  • ส่วนในช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายนถึง 28/29 กุมภาพันธ์ ชักธงขึ้นในเวลา 09.00 น..
  • ชักธงลงตอนดวงอาทิตย์ตก แต่ช้าสุดได้ถึงเวลา 21.00 น.
  • ถ้าธงนั้นส่งสว่าง สามารถชูต่อได้ แม้ว่าดวงอาทิตย์จะตกแล้วก็ตาม

ถ้าธงอยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้ ควรนำไปกำจัดด้วยการเผาในวิธีที่เหมาะสมหรือส่งคืนไปที่โรงงานผลิตธง

พลเมืองไม่จำเป็นต้องชูธงในวันประดับธงของทางการ แต่ส่งเสริมให้กระทำเช่นนั้น นอกจากวันประดับธงในประเทศสวีเดนแล้ว ทุกคนสามารถใช้ะงได้ในกรณีที่มีงานฉลองในครอบครัวหรือในกรณีอื่น ๆ[7]

ราชธวัช แก้

ราชธวัชสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ และ สมเด็จพระราชินี ลักษณะอย่างธงกองทัพ ที่ใจกลางกางเขนมีภาพตราแผ่นดินมหาจลัญจกร. สำหรับพระราชวงศ์องค์อื่นๆ และ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่เป็นเจ้านายในราชวงศ์ ลักษณะอย่างธงกองทัพ ที่ใจกลางกางเขนมีภาพตราแผ่นดินอย่างย่อ. ราชธวัชทั้งสองใช้คู่กับธงผู้บังคับการเรือราชสำนัก ใช้สำหรับเรือราชสำนักที่มีสมเด็จพระราชาธิบดี และ สมเด็จพระราชินีประทับบนเรือ มีลักษณะเป็นธงหางแซงแซวแถบสีเหลืองฟ้า ที่ต้นธงมีภาพตราแผ่นดินมหาจลัญจกร. ในส่วนของเรือรบที่สังกัดกองทัพเรือ ลักษณะเหมือนที่ได้กล่าวมาข้างต้น ที่ต้นธงมีภาพตราแผ่นดินอย่างย่อ

หนังสือจอมพลแห่งสวีเดน (Riksmarskalken) ได้ตีพิมพ์บทความราชธวัชแห่งสวีเดน. เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1897 ว่าด้วยระเบียบข้อบังคับ และการชักหรือแสดงธงบนพระราชวังหลวง ณ กรุงสต็อกโฮล์ม.[8]

  • ลักษณะอย่างธงกองทัพสวีเดน ที่ใจกลางกางเขนมีภาพตราแผ่นดินมหาจลัญจกร สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ และ สมเด็จพระราชินี
  • ลักษณะอย่างธงกองทัพสวีเดน ที่ใจกลางกางเขนมีภาพตราแผ่นดินอย่างย่อ (ตราโล่ล้อมด้วยสายสร้อยของเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟิม) สำหรับพระราชวงศ์องค์อื่นๆ และ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่เป็นเจ้านายในราชวงศ์.
  • ธงกองทัพสวีเดน ไม่มีเครื่องหมายใดๆ สำหรับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ที่ไม่ได้เป็นเจ้านายในราชวงศ์.[9]

ธงราชการ แก้

 
เรือตรวจการณ์ยามฝั่ง (pansarskepp) เรือรบหลวงกุสตาฟที่5 ชักธงราชการทหารที่เสาธงฉานซึ่ง มีตราแผ่นดินอยู่ที่หัวเรือรบ
 
เรือรบหลวงวาซา ชักธงฉานของสหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ที่เสาธงฉานหน้าหัวเรือ พ.ศ. 2446

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Plakat, av den 6. Nov. 1663, angående den åtskillnad som härefter bör observeras emellan de flaggor som Kongl. Maj:ts enskilda skepp och farkoster föra, så ock de skepps och farkosters flaggor, som private personer tillhöra och af dem brukas skola.
  2. Jeroen Temperman (2010). State Religion Relationships and Human Rights Law. Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 978-9004181489. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2023. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007. Many predominantly Christian states show a cross, symbolising Christianity, on their national flag. Scandinavian crosses or Nordic crosses on the flags of the Nordic countries–Denmark, Finland, Iceland, Norway and Sweden–also represent Christianity.
  3. Carol A. Foley (1996). The Australian Flag: Colonial Relic or Contemporary Icon. William Gaunt & Sons. ISBN 9781862871885. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2023. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007. The Christian cross, for instance, is one of the oldest and most widely used symbols in the world, and many European countries, such as the United Kingdom, Norway, Sweden, Finland, Denmark, Iceland, Greece and Switzerland, adopted and currently retain the Christian cross on their national flags.
  4. Andrew Evans (2008). Iceland. Bradt. ISBN 9781841622156. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2023. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007. Legend states that a red cloth with the white cross simply fell from the sky in the middle of the 13th-century Battle of Valdemar, after which the Danes were victorious. As a badge of divine right, Denmark flew its cross in the other Scandinavian countries it ruled and as each nation gained independence, they incorporated the Christian symbol.
  5. "Parad 2: Flaggor, fälttecken & heraldik" (PDF) (ภาษาสวีเดน). Swedish Armed Forces. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2021. สืบค้นเมื่อ 21 July 2021.
  6. "Flaggningstider" (ภาษาสวีเดน). National Archives of Sweden. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2 August 2019.
  7. "Flaggdagar i Sverige". Riksarkivet. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2021. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021.
  8. Riksmarskalkens beslut den April 6, 1987, för flaggning.
  9. This is also one of the royal flags, and rumours that the three-tailed war flag is mainly chosen since the Royal Palace is the home of the Palace Guard - is not correct.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้