ธงสหภาพ (อังกฤษ: Union Flag) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ยูเนียนแจ็ก (Union Jack) เป็นธงชาติของสหราชอาณาจักร[1] ทั้งยังได้รับการใช้อย่างเป็นทางการและกึ่งทางการในรัฐสมาชิกเครือจักรภพบางรัฐ เช่น ในประเทศแคนาดาที่ซึ่งธงนี้มีนามตามกฎหมายว่า "ราชธวัชสหภาพ" (Royal Union Flag)[2] ธงสหภาพยังใช้อย่างเป็นทางการในดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน ทั้งยังปรากฏในธงของบางประเทศซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักรด้วย

ธงสหภาพ
Union Flag
ยูเนียนแจ็ก (Union Jack)
การใช้ธงชาติ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flagSmall vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง1:2
ประกาศใช้1 มกราคม 1801; 223 ปีก่อน (1801-01-01)
ลักษณะธงพื้นสีน้ำเงิน ซ้อนทับด้วยกากบาทมุมฉาก และกากบาทแยงสีแดงขอบขาว
แบบสัดส่วน 3:5
สัดส่วนธง3:5
ธงแสดงสัญชาติสีแดง
การใช้ธงเรือพลเรือน Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง1:2
ลักษณะธงพื้นแดง มีธงสหภาพที่มุมบนด้านคันธง
ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน
การใช้ธงเรือรัฐบาล Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง1:2
ลักษณะธงพื้นน้ำเงิน มีธงสหภาพที่มุมบนด้านคันธง
ธงราชนาวี
การใช้ธงนาวี Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง1:2
ลักษณะธงพื้นขาว กลางมีกากบาทมุมฉากสีแดง และมีธงสหภาพที่มุมบนด้านคันธง
ธงแสดงสัญชาติกองทัพอากาศหลวง
การใช้ธงกองทัพอากาศ
สัดส่วนธง1:2
ลักษณะธงพื้นฟ้า มีธงสหภาพที่มุมบนด้านคันธง และมีเครื่องหมายอากาศยานกลางส่วนปลายธง

ธงสหภาพมีกำเนิดย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน 1606 จึงมีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีธงใหม่เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ระหว่างประเทศอังกฤษและประเทศสกอตแลนด์ พระราชกฤษฎีกานี้ให้รวมธงชาติอังกฤษ (ธงพื้นขาวมีกางเขนสีชาดซึ่งเรียก "กางเขนแห่งนักบุญจอร์จ" อยู่ตรงกลาง) เข้ากับธงชาติสกอตแลนด์ (ธงพื้นน้ำเงินมีกางเขนไขว้สีขาวซึ่งเรียก "กางเขนแห่งนักบุญแอนดรูว์" อยู่ตรงกลาง) เรียกว่า "ธงแห่งบริเตนใหญ่" ซึ่งก็คือ ธงผืนแรกแห่งสหภาพ

รูปแบบปัจจุบันของธงสหภาพมีขึ้นในสหภาพบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เมื่อปี 1801[3] โดยรูปแบบนี้รวมเอาลักษณะของธงชาติประจำรัฐทั้งสามนั้นเข้าไว้ คือ ธงรูปกางเขนสีชาดของนักบุญจอร์จ (อังกฤษ) ธงรูปกางเขนไขว้สีชาดของนักบุญแพทริก (ไอร์แลนด์) และธงรูปกางเขนไขว้สีขาวของนักบุญแอนดรูว์ (สกอตแลนด์)

ธงชาติสหราชอาณาจักรปกติแล้วจะมีสัดส่วน 1:2 หนังสือธงของราชนาวี BR20 Flags of All Nations ระบุแบบว่าทั้ง 1:2 เเละ 3:5 เป็นทางการ การออกแบบธงจะขึ้นอยู่กับ 30 ส่วนของความกว้าง ไม่ว่าจะแสดงด้วยสัดส่วนใดความกว้างของไม้กางเขนจะยังคงที่ต่อความกว้าง

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Union Jack เก็บถาวร 2020-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The official website of the British Monarchy.
  2. "Statement by the Hon. Jason Kenney, PC, MP Secretary of State (Multiculturalism and Canadian Identity) on Commonwealth Day". Canadian Heritage. 10 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-11. สืบค้นเมื่อ 2010-06-17.
  3. British flags, from the Flag Institute site. Accessed 2 May 2007

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้