สมชาย อาสนจินดา

สมชาย อาสนจินดา หรือ ส. อาสนจินดา (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 – 19 กันยายน พ.ศ. 2536) เป็นนักแสดง นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนบท ผู้กำกับการแสดง และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชายชาวไทย เป็นผู้บุกเบิกวงการละครเวที ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ไทย เป็นเวลากว่า 50 ปี ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2533

ส. อาสนจินดา
ชื่อเกิดสมชาย อาสนจินดา
เกิด16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต19 กันยายน พ.ศ. 2536 (71 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสสมใจ เศวตศิลา
บุตร7 คน
อาชีพนักแสดง, นักหนังสือพิมพ์, นักเขียนบท, ผู้กำกับการแสดง, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2492 - 2536
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2533 - สาขาศิลปะการแสดง
(ละครเวที ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
พระสุรัสวดีลำดับภาพยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2500 - มงกุฎเดี่ยว
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2501 - กตัญญูประกาศิต
นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2505 - เรือนแพ
พ.ศ. 2529 - บ้าน
พ.ศ. 2536 - ณ สุดขอบฟ้า
สุพรรณหงส์นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2523 - เลือดสุพรรณ
โทรทัศน์ทองคำนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2533 - เกมกามเทพ

ประวัติ แก้

ส. อาสนจินดา เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 เกิดที่กรุงเทพมหานคร เติบโตที่เชียงใหม่ โดยติดตามพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) ปลัดมณฑลประจำจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2471-2481 (ปัจจุบันคือตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด) ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง

จบชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และมัธยม 8 จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ส. อาสนจินดาสมรสกับ สมใจ เศวตศิลา (ตุ๊) บุตรีของพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) ซึ่งเป็นน้องสาวต่างมารดาของ ฯพณฯพลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา อดีตองคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2493 [1] มีบุตร 7 คน[2]

 
ภาพยนตร์ นักเลงเดี่ยว (2501) เป็นฉากท้ายเรื่องโดยมี สมชาย อาสนจินดา , วิไลวรรณ วัฒนพานิช, อดุลย์ ดุลยรัตน์

นักหนังสือพิมพ์ แก้

เริ่มงานเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ แล้วไปรับราชการที่จังหวัดเชียงรายเป็นเสมียนสหกรณ์ เวลาว่างตอนกลางคืน เขียนเรื่องสั้นส่งหนังสือ "สุภาพบุรุษ-ประชามิตร" ซึ่งจัดทำโดย วิตต์ สุทธเสถียร กุหลาบ สายประดิษฐ์ มาลัย ชูพินิจ และโชติ แพร่พันธุ์ เรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ "ชีวิตในภาพวาดอันเลอะเลือนของข้าพเจ้า " ได้ตีพิมพ์เป็นเรื่องเอกประจำฉบับ และได้รับการชักชวนให้มาทำงานหนังสือพิมพ์ จึงลาออกจากราชการ และเริ่มงานหนังสือพิมพ์ "บางกอกรายวัน" ร่วมงานกับ อิศรา อมันตกุล เสนีย์ เสาวพงศ์ อุษณา เพลิงธรรม ประหยัด ศ. นาคะนาท แต่ไม่นานก็เลิกกิจการ จึงย้ายไปอยู่หนังสือพิมพ์นวนิยายรายวัน "วันจันทร์" รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา ตีพิมพ์ได้สามเดือนก็ขาดทุนจนเลิกกิจการ

เมื่อตกงานได้ไปอาศัยวัดมหรรณพารามอยู่ จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ก็ได้รับการชักชวนให้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน ที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหาร ชื่อ "8 พฤศจิ" จนกระทั่งคณะรัฐประหารได้จับกุมนักหนังสือพิมพ์เกือบ 20 คนไปคุมขัง รวมทั้ง อิศรา อมันตกุล หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "เอกราช" ที่นับถือเป็นการส่วนตัว จึงใช้บทบรรณาธิการเขียนโจมตี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีอย่างรุนแรง และประกาศลาออก โดยขึ้นหัวข่าวหนังสือพิมพ์ เพื่อไม่ให้ผู้ร่วมงานต้องเดือดร้อน [1] เหลือเพียงงานเขียนเรื่องสั้นหาเลี้ยงชีพ

อาชีพนักแสดง แก้

เริ่มเข้าสู่วงการแสดงในปี พ.ศ. 2492 หลังจากตกงานหนังสือพิมพ์ โดยรับบทเป็น "หม่อมเจ้านิรันดร์ฤทธิ์ธำรง" พระเอกละครเวทีเรื่อง "ดรรชนีนาง " ของศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) แทนสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ พระเอกเดิมที่ถอนตัวกะทันหัน [3][1] ละครเวทีประสบความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงในฐานะนักแสดงในวงการบันเทิงนับแต่นั้น

นักสร้างภาพยนตร์ แก้

ส. อาสนจินดาเป็นทั้งผู้ประพันธ์ และ ผู้กำกับการแสดงยุคหนังไทย 16 มม.ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีโรงถ่ายทำ ส.อาสนจินดาภาพยนตร์ ที่เชิงสะพานท่าพระ ย่านฝั่งธนบุรี

เจ้าของความคิดแปลกใหม่ทันยุค ในช่วงทศวรรษ 2500-2520 กับฉายา "เชือกกล้วยกางเกงแดง " จากตัวละครยอดนิยมแนวบู๊นักเลงชุด หนึ่งต่อเจ็ด และ เจ็ดประจัญบาน ซึ่งมีภาคต่อตามมาอีกหลายครั้ง, หนังไทยแนววิทยาศาสตร์สืบสวนกับยานดำน้ำล้ำยุค กระเบนธง ที่ได้แรงบันดาลใจจากยานสติงเรย์ (Stingray) หนังหุ่นชักแนวผจญภัยทางทีวียุค '60 จนถึงจินตนิยายอภินิหารพื้นบ้านไทยที่ผู้แต่งชื่นชอบมากที่สุด ลูกสาวพระอาทิตย์ เป็นต้น ทุกเรื่องประสบความสำเร็จทำรายได้ มีผู้ชมคับคั่ง

เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2536 ด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เนื่องจากการสูบบุหรี่ มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

ผลงานกำกับภาพยนตร์และอำนวยการสร้าง แก้

  • ขุนตาล (2512)
  • นางละคร (2512)
  • ไอ้เปีย (2512)
  • ต้อยติ่ง (2512)
  • ตาลเดี่ยว (2512)
  • ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512)
  • หาดใหญ่ใจสู้ (2512)
  • หวานใจ (2513)
  • ทุ่งมหาราช (2513)
  • คมแฝก (2513)
  • ไอ้สู้ (2513)
  • ท่าจีน (2513)
  • จอมบึง (2513)
  • ภูตเสน่หา (2513)
  • ไอ้ยอดทอง (2513)
  • วิญญาณดอกประดู่ (2513)
  • เพชรพระอุมา (2514)
  • มดตะนอย (2514)
  • ดอกดิน (2514)
  • คนใจเพชร (2514)
  • รักข้ามขอบฟ้า (2514)
  • ข้าชื่อจ่าแผน (2514)
  • กระท่อมปรีดา (2515)
  • หนองบัวแดง (2516)
  • เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ (2516)
  • ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ (2516)
  • อย่ารักฉัน (2517)
  • ผู้ดีเถื่อน (2517)
  • โสมสลัว (2517)
  • ผัวเช่า (2517)
  • ธิดาพญายม (2517)
  • ทุ่งใหญ่อินทนนท์ (2517)
  • ตะวันรอนที่หนองหาร (2517)
  • คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518)
  • หัวใจราชสีห์ (2518)
  • นักเลงป่าสัก (2518)
  • 7 ดอกจิก (2518)
  • ตะวันลับฟ้า (2518)
  • โซ่เกียรติยศ (2518)
  • หนี้รัก (2518)
  • ผยอง (2518)
  • สาวแสบ (2518)
  • ระห่ำลำหัก (2518)
  • นักเลงเทวดา (2518)
  • แผ่นดินของเรา (2519)
  • กบฎหัวใจ (2519)
  • ท้องนาสะเทือน (2519)
  • ใครใหญ่ใครอยู่ (2519)
  • น้ำตาลใกล้มด (2519)
  • นรกตะรูเตา (2519)
  • นางงูเห่า (2519)
  • ลืมตัว (2519)
  • หมัดไทย (2519)
  • เผาขน (2519)
  • เพลิงแพร (2519)
  • อัศวิน 19 (2519)
  • 17 ทหารกล้า (2519)
  • ดรรชนีไฉไล (2519)
  • หนึ่งต่อเจ็ด (2520)
  • ความรักไม่มีขาย (2520)
  • จันดารา (2520)
  • แดงอังคาร (2520)
  • 7 ประจัญบาน (2520)
  • เกวียนหัก (2521)
  • รอยไถ (2522)
  • ไอ้ปืนเดี่ยว (2522)
  • อินทรีแดง ตอน พรายมหากาฬ (2523)
  • รักลอยลม (2523)
  • นรกสาว (2523)
  • เจ้าพายุ (2523)
  • หนึ่งน้องนางเดียว (2523)
  • ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)
  • ศรีธนญชัย (2524)
  • กำแพงหัวใจ (2524)
  • แผ่นดินต้องสู้ (2524)
  • ชีวิตเลือกไม่ได้ (2524)
  • ดาวกลางดิน (2525)
  • เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2526)
  • กตัญญูประกาศิต (2526)
  • พยัคฆ์ยี่เก (2526)
  • เห่าดง (2526)
  • เหล็กเพชร (2527)
  • ไอ้หม่าลูกแม่ (2527)
  • สเว็ตเตอร์สีแดง (2527)
  • เสือลากหาง (2527)

ผลงานภาพยนตร์ แก้

  • ไอ้เปีย (2512)
  • ขุนตาล (2512) รับบท ป้าสอ
  • นางละคร (2512)
  • 4 สิงห์อิสาน (2512) รับบท ฉกรรจ์อุบล
  • หาดใหญ่ใจสู้ (2512) รับบท จ่าดับ จำเปาะ
  • ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512) รับบท โศลญา
  • ต้อยติ่ง (2512)
  • แม่ย่านาง (2513) รับบท บิดาของจอม
  • ดาวพระเสาร์ (2513)
  • ไอ้สู้ (2513) รับบท ประยูร
  • ข้าชื่อจ่าแผน (2514)
  • สะใภ้ยี่เก (2514)
  • ดอกดิน (2514)
  • รอยแค้น (2515)
  • ภูกระดึง (2516) รับบท เฒ่าเจิม
  • ผาเวียงทอง (2516)
  • เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ (2516)
  • เวียงพยอม (2516)
  • ตลาดอารมณ์ (2517)
  • คุณครูที่รัก (2517)
  • ด้วยปีกของรัก (2517)
  • ทุ่งใหญ่อินทนนท์ (2517)
  • มือปืนพ่อลูกอ่อน (2518) รับบท นายพลวังปอ
  • หัวใจราชสีห์ (2518)
  • คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518) รับบท นายสุรเดช
  • มาหยารัศมี (2518)
  • เพื่อเธอที่รัก (2518)
  • แผ่นดินของเรา (2519) รับบท พระวรนาถประณต
  • แผลเก่า (2520) รับบท ผู้ใหญ่เขียน (พ่อขวัญ)
  • หนักแผ่นดิน (2520)
  • แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู (2520)
  • เกวียนหัก (2521) รับบท ตาแอบ
  • ชาติผยอง (2521) รับบท ศรายุทธ
  • สยิว (2521)
  • ผีเพื่อนรัก (2521) รับบท ลุงของธีรลิต
  • เพลงรักดอกไม้บาน (2522) รับบท นายแย้ม
  • เลือดทมิฬ (2522) รับบท พ่อของต๋อง
  • สุดห้ามใจรัก (2522) รับบท คุณพระบริรักษ์
  • เลือดสุพรรณ (2522) รับบท มังมหาสุรนาท
  • แผ่นดินเถื่อน (2522) รับบท ลุงของคมสัน
  • แม่สะเรียงที่รัก (2522) รับบท พ่อเต๋า
  • รอยไถ (2522) รับบท ตลุย
  • สลักจิต (2522) รับบท เจ้าคุณภักดีบดินทร์
  • หนุ่มบ้านนา สาวนาเกลือ (2523)
  • อุกาฟ้าเหลือง (2523) รับบท เฒ่าหลัก
  • เต้าฮวยไล่เหลี่ยว (2523)
  • พ่อจ๋า (2523) รับบท ท่านเจ้าคุณอภิราชรังสรรค์
  • คลื่นเสน่หา (2523) รับบท ลุงของเอกรินทร์ (รับเชิญ)
  • อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523) รับบท หลวงเสนาะ
  • นายอำเภอคนใหม่ (2523) รับบท ลุงเปลี่ยน
  • ไอ้ขุนเพลง (2523) รับบท พ่อพึ่ง
  • รุ้งเพชร (2523) รับบท ลุงของรุ่ง
  • ย. ยอดยุ่ง (2523) รับบท นายพิกัด
  • อาอี๊ (2523) รับบท ยาโส่ย
  • ทองผาภูมิ (2523) รับบท เอิน
  • แผ่นดินแห่งความรัก (2523)
  • ศรีธนญชัย (2524)
  • กำแพงหัวใจ (2524) รับบท นเรนทร์
  • แผ่นดินต้องสู้ (2524)
  • รักข้ามคลอง (2524)
  • ฟ้าเพียงดิน (2524)
  • แม่กาวาง (2524)
  • สามเสือสุพรรณ (2524) รับบท เสือฝ้าย
  • ชายสามโบสถ์ (2524)
  • ไอ้ค่อม (2524) รับบท พ่อของเธอ
  • นกน้อย (2524) รับบท ลุงของจักร
  • สาวน้อย (2524) รับบท พระชาญชลาศัย
  • พ่อปลาไหล (2524) รับบท หลวงณรงค์สงครามชัย
  • ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)
  • สายสวาทยังไม่สิ้น (2525)
  • กระท่อมนกบินหลา (2525)
  • ดวงตาสวรรค์ (2525) รับบท ตาพ่วง (พ่อของแพน)
  • นายอำเภอไข่ดาว (2525)
  • พระเอกรับจ้าง (2525) รับบท ทางบ้าน
  • สะใภ้ลูกทุ่ง (2525) รับบท พ่อของเธอ
  • ปลากริมไข่เต่า (2525) รับบท นายบุญธรรม
  • รักมหาสนุก (2525) รับบท นายกำแหง
  • ขุนแผน ตอนปราบจระเข้เถรขวาด (2525) รับบท พระพันวษา
  • รักข้ามรั้ว (2525) รับบท พ่อตา
  • ไอ้หนุ่มรถไถ่ (2525) รับบท ลุงของดอกรัก
  • มาดามยี่หุบ (2525) รับบท กำนันหอกทอง
  • เฮงสองร้อยปี (2525) รับบท พ่อของหญิง
  • สาวจอมกวน (2525)
  • สวัสดีไม้เรียว (2525)
  • พันท้ายนรสิงห์ (2525) รับบท พระยาราชสงคราม
  • นิจ (2526) รับบท เจ้าคุณสุรแสนสงคราม
  • แม่ยอดกะล่อน (2526)
  • หนูเป็นสาวแล้ว (2526) รับบท บุญทิ้ง
  • สาวแดดเดียว (2526) รับบท ลุงของเอก
  • เลขาคนใหม่ (2526) รับบท ลุงของวีรชัย
  • พยัคฆ์ยี่เก (2526) รับบท ลุงพรหม
  • น.ส. เย็นฤดี (2526) รับบท ตายืน
  • ยูงรำแพน (2526)
  • เจ้าสาวเงินล้าน (2526)
  • กำนันสาว (2526) รับบท กำนันเล็ก
  • ดรุณี 9 ล้าน (2526)
  • ผู้ใหญ่บ้านกลองยาว (2526)
  • อย่าหยุดสู้ (2526)
  • พญายมพนมรุ้ง (2526) รับบท ลุงของมด
  • รักที่ต้องรอ (2527)
  • แม่มะนาวหวาน (2527)
  • ลวดหนาม (2527)
  • เด็กปั๊ม (2527)
  • รักนี้เราจอง (2527)
  • คุณนาย ป.4 (2527)
  • สาวนาสั่งแฟน (2527) รับบท ลุงของไม้
  • อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง (2527) รับบท นายจ้าง
  • ผ่าโลกบันเทิง (2527) รับบท ตาน้ำ
  • 10 คงกระพัน (2527)
  • ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น (2527) รับบท ลุงของแยม
  • เสือลากหาง (2527)
  • ไอ้หม่าลูกแม่ (2527) รับบท เยี่ยมญาติ
  • รักที่ถูกลืม (2527)
  • ทับทิมโทน (2528)
  • หัวใจเถื่อน (2528) รับบท ร.ม.ต.กวี พิชิตพงษ์
  • นางฟ้ากับซาตาน (2528) รับบท ลุงของกร้าว
  • สามเณรใจสิงห์ (2528) รับบท หลวงตา
  • ผู้การเรือเร่ (2528) รับบท คุณพ่อนักเลง
  • หลานสาวเจ้าสัว (2528) รับบท ลุงของธนะรัชต์
  • ตำรวจบ้าน (2528) รับบท ลุงของสงคราม
  • เขยบ้านนอก (2528)
  • นางเสือดาว (2528) ลุงของพรเทพ
  • หยุดโลกเพื่อเธอ (2528) รับบท เจ้าคำแสง
  • สามล้อซี 5 (2528) รับบท ลุงของเล็ก
  • ตะวันยิ้มแฉ่ง (2528) รับบท ลุงของตะวัน
  • ปลัดเพชรบ่อพลอย (2528)
  • ครูสมศรี (2529) รับบท ครูทองย้อย
  • ลูกสาวเถ้าแก่เฮง (2529) รับบท ลุงของต้อม
  • โกยมหาสนุก (2529) รับบท สัปเหร่อ
  • แด่คุณครูด้วยหัวใจ (2529) รับบท พ่อของเทวัญ
  • เจ้าสาวมะลิซ้อน (2529) รับบท มั่น
  • วันนี้ยังมีรัก (2529)
  • ลูกทุ่งฮอลิเดย์ (2529) รับบท ลุงของเส็ง
  • แหม่มกะปิ (2529) รับบท ลุงของสหรัฐ
  • รักหน่อยน่า (2529)
  • บ้าน (2530) รับบท พ่อปู่
  • อย่าบอกว่าเธอบาป (2530)
  • ปรารถนาแห่งหัวใจ (2530) รับบท ลุงของวิษณุ
  • ทายาทคนใหม่ (2531) รับบท พ่อของพิพัฒน์
  • 2482 นักโทษประหาร (2531) รับบท พระยาเทพหัสดิน
  • ซอสามสาย (2531) รับบท เชฟออเคสตร้า
  • คุณจ่าเรือแจว (2531)
  • ผมรักคุณนะ (2531)
  • แอบฝัน (2531)
  • รักเธอเท่าฟ้า (2532) รับบท พ่อของติ๊ก
  • บุญชู 2 น้องใหม่ (2532) รับบท มหาแจ่ม
  • แม่เบี้ย (2532) รับบท ลุงทิม
  • บุญชู 5 เนื้อหอม (2533) รับบท มหาแจ่ม
  • 3 กบาล (2533) (รับเชิญ)
  • เล่นกับไฟ (2533) รับบท คุณปู่
  • ก้อนหินในดินทราย (2533) รับบท ลุงของอาม (รับเชิญ)
  • ด๊อกเตอร์ครก (2535)
  • โตแล้วต้องโต๋ (2535)
  • รัก ณ สุดขอบฟ้า (2535)
  • ตามล่าแต่หาไม่เจอ (2535) (รับเชิญ)
  • บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ (2536) รับบท มหาแจ่ม (รับเชิญ)
  • ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม (2536) รับบท ลุงสมชาย
  • มือปืน 2 สาละวิน (2536) รับบท พ่อเลี้ยงทวีพงศ์
  • อำแดงเหมือนกับนายริด (2537) รับบท สมภารวัดขนุน
  • มาดามยี่หุบ ภาค 2 (2537) รับบท กำนันหอกทอง
  • ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก (2538) รับบท บ๊อก

ละครโทรทัศน์ แก้

  • ศิวาราตรี (2520) ช่อง 9
  • ลูกทาส (2521) ช่อง 3
  • ขุนศึกมหาราช (2522) ช่อง 5
  • เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2522) ช่อง 5
  • ผู้ชนะสิบทิศ (2523) ช่อง 9
  • สี่แผ่นดิน (2523) ช่อง 5
  • ในฝัน (2523) ช่อง 5
  • ข้าวนอกนา (2523) ช่อง 7
  • ไฟรัก ไฟพยาบาท (2524) ช่อง 3
  • แดงสะพรั่งดั่งดวงใจ (2524) ช่อง 5
  • สลักจิต (2524) ช่อง 3
  • มายาสีเงิน (2524) ช่อง 3
  • ข้างหลังภาพ (2524) ช่อง 5
  • หลง (2524) ช่อง 9
  • จดหมายจากเมืองไทย (2525) ช่อง 7
  • ปราสาทมืด (2525) ช่อง 5
  • ลุงคำ (2525) ช่อง 7
  • สิ้นสวาท (2526) ช่อง 5
  • คนเดินดิน (2526) ช่อง 9
  • พ่อปลาไหล (2526) ช่อง 3
  • ทัดดาวบุษยา (2527) ช่อง 5
  • ขยะเปื้อนทอง (2527) ช่อง 9
  • ขมิ้นกับปูน (2527) ช่อง 9
  • คำพิพากษา (2528) ช่อง 3
  • กตัญญูพิศวาส (2528) ช่อง 3
  • ระนาดเอก (2528) ช่อง 7
  • พรายนางแก้ว (2529) ช่อง 3
  • ทองพลุและสหาย (2529) ช่อง 9
  • สื่อรักภูติน้อย (2530) ช่อง 5
  • เจ้าหญิงขันทอง (2530) ช่อง 3
  • มหาเวสสันดรชาดก (2530) ช่อง 5
  • ในม่านเมฆ (2530) ช่อง 9
  • เล็บครุฑ (2530) ช่อง 5
  • พินัยกรรมมรณะ (2531) ช่อง 3
  • เวิ้งระกำ (2531) ช่อง 7
  • ตะรุเตา (2531) ช่อง 7
  • เกมกามเทพ (2531) ช่อง 3
  • จอมศึกเสน่หา (2531) ช่อง 3
  • คนเริงเมือง (2531) ช่อง 3
  • สามีตีตรา (2531) ช่อง 3
  • ระบำไฟ (2531) ช่อง 3
  • ผู้ชนะสิบทิศ (2532) ช่อง 3
  • สายลับสองหน้า (2532) ช่อง 7
  • สมองของเฒ่าสุข (2532) ช่อง 9
  • ผู้พิชิตมัจจุราช (2532) ช่อง 3
  • กตัญญูประกาศิต (2533) ช่อง 3
  • ตะกายดาว ตอน น้ำตาดาว (2533) ช่อง 9 รับเชิญ
  • โหด เลว อ้วน (2533) ช่อง 3
  • พิษสวาท (2534) ช่อง 5
  • ชลาลัย (2534) ช่อง 5
  • แก้วขนเหล็ก (2534) ช่อง 3
  • แม่ผัวมหาภัยกับสะใภ้สารพัดพิษ (2534) ช่อง 5 รับเชิญ
  • วนิดา (2534) ช่อง 3
  • คู่ทรหด (2534) ช่อง 5 (ละครสั้นประกอบรายการคู่ทรหด)
  • ลิขิตพิศวาส (2534) ช่อง 9
  • ผู้การเรือเร่ (2534) ช่อง 5
  • แม่เบี้ย (2534) ช่อง 7
  • ละอองเทศ (2534) ช่อง 9
  • บ่วง (2535) ช่อง 3
  • เณรน้อย (2535) ช่อง 3
  • ถ่านเก่าไฟใหม่ (2535) ช่อง 3
  • ไฟรักอสูร (2535) ช่อง 3 รับเชิญ
  • อยู่กับก๋ง (2536) ช่อง 3
  • เงารัก (2536) ช่อง 3

ละครเวที แก้

  • แม่เบี้ย (2531)
  • ผู้ชนะสิบทิศ (2534)

ผลงานด้านการประพันธ์ (นวนิยาย) แก้

  1. ดอกแก้ว
  2. ชุมทางเขาชุมทอง
  3. ชีวิตพิสดาร (อันแสนจะบัดซบ) ของข้าพเจ้า
  4. พรุ่งนี้ จะรดน้ำศพ
  5. เผาขน

รางวัล แก้

ปี พ.ศ. รางวัล สาขา ผล ผลงานที่เข้าชิง
2500 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ลำดับภาพยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล มงกุฏเดี่ยว
2501 บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล กตัญญูประกาศิต
2505 นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล เรือนแพ
2523 รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล เลือดสุพรรณ
รางวัลมหกรรมเอเซีย-แปซิฟิค นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล อุกาฟ้าเหลือง
2529 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล บ้าน
2530 รางวัลมหกรรมเอเซีย-แปซิฟิค นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล บ้าน
2533 รางวัลศิลปินแห่งชาติ ศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์) ได้รับรางวัล
2536 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล ณ สุดขอบฟ้า
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 แถมสิน รัตนพันธุ์ตำนาน "ลึก(ไม่)ลับ"' ฉบับ ทระนง ฅนหนังสือพิมพ์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน, พ.ศ. 2548. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9785-33-9
  2. รายการ คู่ทรหด (พ.ศ. 2534) คู่ทรหดประจำฤดูร้อน ปี 2534 ฉายซ้ำ 7 กรกฎาคม 2558 ช่อง Workpoint1
  3. ศักดิ์เกษม หุตาคม เข้ามาชักชวนให้อิศรา อมันตกุล เล่นแทนสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ แต่อิศราปฏิเสธ ศักดิ์เกษมจึงขอร้องให้สมชายรับแสดงแทน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้