ประหยัด ศ. นาคะนาท

ประหยัด ศ. นาคะนาท (17 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 - 12 เมษายน พ.ศ. 2545) เป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ที่มีชื่อเสียงจากนามปากกา "นายรำคาญ" อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ประหยัด ศ. นาคะนาท
ประหยัด ศ. นาคะนาท เมื่อ พ.ศ. 2496 ถ่ายโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ประหยัด ศ. นาคะนาท เมื่อ พ.ศ. 2496 ถ่ายโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
เกิด17 กรกฎาคม พ.ศ. 2457
เสียชีวิต12 เมษายน พ.ศ. 2545 (87 ปี)
นามปากกานายรำคาญ, เกลือ, นายประโดก, ปรูม บางกอก, กา
อาชีพนักเขียน นักหนังสือพิมพ์
คู่สมรสละออศรี นาคะนาท
ภาพลายเส้นโดย ประยูร จรรยาวงษ์ จากซ้าย ศุขเล็ก, ฮิวเมอร์ริสต์, คึกฤทธิ์ และ นายรำคาญ

ประวัติแก้ไข

ประหยัด ศ. นาคะนาท เดิมชื่อ "ประหยัดศรี" เป็นบุตรของขุนวิจิรวรรณกร (เปล่ง นาคะนาท) และเยื้อน นาคะนาท และเป็นพี่ชายของประภาศรี นาคะนาท (หรือ 'ภา พรสรรค์) และประยงคุ์ศรี อุณหธูป (ภริยาของ ประมูล อุณหธูป) เปลี่ยนชื่อตัวเป็น "ประหยัด ศ." ในยุครัฐนิยมสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่บังคับให้เปลี่ยนชื่อที่ไม่ตรงตามเพศ ห้ามผู้ชายใช้ชื่อที่มีคำว่า "ศรี"

ประหยัดเข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ปี พ.ศ. 2472 เลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ.3726

เริ่มเขียนหนังสือในหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน เมื่อ พ.ศ. 2477 ใช้นามปากกาว่า “นายรำคาญ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 เริ่มเขียนในประชาชาติรายสัปดาห์ คอลัมน์ “ตามใจท่าน” แทนครูอบ ไชยวสุ [1]

ประหยัด ศ. นาคะนาท มีงานเขียนหลากหลาย ทั้งบทความการเมือง ขำขัน หัสนิยาย สารคดี เคยเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ บางกอกรายปักษ์ บางกอกรายวัน สยามสมัย พิมพ์ไทยวันจันทร์ สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และสยามิศร์ รายวันและรายสัปดาห์ [2]

ประหยัด ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางละออศรี มีบุตร-ธิดา 5 คน

ในเหตุการณ์ 6 ตุลา เขามีบทบาทในการโจมตีนักศึกษาผ่านสถานีวิทยุยานเกราะอันเป็นเครือข่ายของกองทัพบกเป็นแม่ข่าย[4]

ประหยัด ศ. นาคะนาท เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2545 สิริอายุรวม 87 ปี

ผลงานแก้ไข

  • เที่ยวไปกับนายรำคาญ
  • เที่ยวเขมรกับคึกฤทธิ์
  • ละคอนลิงแห่งชีวิต
  • ลิเกแห่งชีวิต
  • เรื่องอย่างว่า
  • เรื่องนี้นางเอกมีหนวด
  • พระเอกเป็นนักสืบตำรวจเป็นผู้ร้าย
  • ผีโป่งที่ป่าร่อน

อ้างอิงแก้ไข

  1. สองผู้น่ารักในวงวรรณกรรม (บันทึกของคนเดินเท้า)
  2. คริส สารคามนักเขียนในอดีต 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, พ.ศ. 2542. 263 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-7343-81-9
  3. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  4. "ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519"