อบ ไชยวสุ

ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์

อบ ไชยวสุ (15 สิงหาคม พ.ศ. 24442 ตุลาคม พ.ศ. 2540)[1] ครูสอนภาษาไทย นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนเรื่องสั้นแนวชวนหัว เจ้าของนามปากกา ฮิวเมอริสต์ และ L.ก.ฮ. ได้รับการยกย่องเป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น รางวัลพระเกี้ยวทองคำ และรับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (หัสคดี) ประจำปีพุทธศักราช 2529[2]

อบ ไชยวสุ
เกิด15 สิงหาคม พ.ศ. 2444
จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต2 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (96 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
นามปากกาฮิวเมอริสต์
L.ก.ฮ.
สุราสิวดี
อาชีพนักเขียน นักหนังสือพิมพ์
รางวัลสำคัญ
พ.ศ. 2529 - ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (หัสคดี)
คู่สมรสสายใจ นาคะปิณฑ์
บิดามารดาหลวงรัตนเทพพลารักษ์ (เชย)
นางเที่ยง รัตนเทพพลารักษ์

ประวัติ

แก้

อบ ไชยวสุ เกิดที่บ้านตำบลคลองสำเหร่ ฝั่งธนบุรี เป็นบุตรคนโตในจำนวน 8 คนของหลวงรัตนเทพีพลารักษ์ (เชย) กับนางเที่ยง ไชยวสุ บิดาเคยรับราชการเป็นพระพี่เลี้ยงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ [3] จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดชนะสงคราม โรงเรียนวัดราชบพิธ โรงเรียนเทพศิรินทร์ แล้วรับราชการเป็นครูสอนวิชาภาษาไทย จากนั้นทำงานเป็นบรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ นักภาษาและนักประพันธ์ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มนักประพันธ์ชื่อคณะ “สุภาพบุรุษ” เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2472 ออกหนังสือรายปักษ์ชื่อ “สุภาพบุรุษ” ร่วมกับ กุหลาบ สายประดิษฐ์ มาลัย ชูพินิจ โชติ แพร่พันธุ์ [4]

งานเขียนของอบ ไชยวสุ แบ่งได้เป็น 3 แนว คือเรื่องเชิงหรรษา เรื่องเกี่ยวกับภาษาไทย และเรื่องแปล โดยใช้นามปากกาแยกโดยเฉพาะสำหรับงานเขียนแต่ละประเภท คือ "อบ ไชยวสุ" ใช้เขียนเรื่องสั้น, "ฮิวเมอริสต์" ใช้เขียนเรื่องชวนหัว หัสคดี, "L.ก.ฮ." ใช้เขียนเพื่อสะกิด หยอกเย้าคนที่เขียนภาษาไทยอย่างผิดๆ (L.ก.ฮ. อ่านออกเสียงเหมือน "แอลกอฮอล์" เป็นการล้อเลียนตัวเอง) และ "นายฮูก สุราสิวดี" ใช้เขียนบทความเบาสมอง

ไฟล์:ศุขเล็ก-ฮิวเมอร์ริสต์-คึกฤทธิ์-นายรำคาญ.jpg
ภาพลายเส้นโดย ประยูร จรรยาวงษ์ จากซ้าย ศุขเล็ก, ฮิวเมอร์ริสต์, คึกฤทธิ์ และ นายรำคาญ
 
ภาพปกหนังสือ เป็นการ์ตูนล้อเลียนตัวเอง ของฮิวเมอริสต์

ในวันเกิดครบรอบปีที่ 56 ตรงกับ พ.ศ. 2500 อบ ไชยวสุ ได้งดดื่มสุราอย่างเด็ดขาด ตามที่ได้ตั้งใจไว้ว่าจะถือศีลตั้งแต่ 25 พุทธศตวรรษ อบ ไชยวสุ ยังคงเขียนหนังสืออยู่ที่บ้านเรื่อยมา โดยเลิกงานประจำที่หนังสือพิมพ์ เพื่องดเว้นการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง

ในปี พ.ศ 2529 ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (หัสคดี) อีกทั้งได้รับมอบพระเกี้ยวทองคำ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะเป็นผู้ทะนุบำรุงและเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยดีเด่น ในปีเดียวกัน

ท่านได้หยุดงานเขียนเมื่ออายุ 90 ปี คงพักผ่อนอย่างสงบกับคุณสายใจคู่ชีวิตท่ามกลางลูกหลาน โดยรักษาศีล ฟังเทศน์ ฟังธรรม จากแถบบันทึกเสียงจนสิ้นอายุขัย[3]

อบ ไชยวสุ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540 สิริอายุได้ 96 ปี 1 เดือน 17 วัน ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม

อ้างอิง

แก้
  1. ครูอบ ไชยวสุ คุรุวรรณศิลป์แห่งสยามประเทศ
  2. "นายอบ ไชยวสุ (ฮิวเมอริสต์) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (หัสดี) ปี 2529". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2007.
  3. 3.0 3.1 ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4.
  4. ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้