วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร[1] ตั้งอยู่ริมถนนและคลองผดุงกรุงเกษม ด้านใกล้ถนนราชดำเนินนอก
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร | |
---|---|
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร | |
ชื่อสามัญ | วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร |
ที่ตั้ง | ถนนราชดำเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร |
พระประธาน | พระพุทธวชิรมกุฎ |
เจ้าอาวาส | พระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม) |
หมายเหตุ | |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | วัดมกุฏกษัตริยาราม |
ขึ้นเมื่อ | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000064 |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูพระนครชั้นนอกแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีวัดเรียงรายอยู่ตามชายคลองเหมือนที่กรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นเคียงคู่กับวัดโสมนัสราชวรวิหาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองก่อสร้าง และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม เป็นนายช่าง การก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2411 ในขั้นแรกโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อว่าวัดนามบัญญัติ เป็นการชั่วคราวก่อน เมื่อสิ้นรัชกาลจึงค่อยเรียกนามพระราชทานว่าวัดมกุฏกษัตริยาราม อันเป็นนามตามพระปรมาภิไธย
วัดมกุฏกษัตริยารามในเขตพระนคร และวัดโสมนัสวิหารที่อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นวัดในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีเสมา 2 ชั้น ชั้นแรกเรียกว่า มหาสีมา อยู่ในซุ้มที่มุมกำแพงรอบวัด และยังมีเสมารอบพระอุโบสถอีกเรียกว่า ขัณฑสีมา ในวัดที่มีเสมา 2 ชั้นเช่นนี้ พระสงฆ์สามารถประชุมทำสังฆกรรมได้ทั้งพระอุโบสถและพระวิหาร อยู่ติดกับโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์
ประวัติสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ
แก้อาคารสำคัญในวัดได้แก่ พระวิหาร และพระอุโบสถ มีลายพระมหามงกุฏอันเป็นตราประจำรัชกาลที่ 4 ทั้งที่หน้าบันและด้านบนของซุ้มประตูหน้าต่างเช่นเดียวกัน ผนังด้านในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมอันหลากหลายแตกต่างจากวัดอื่น เช่น เรื่องพระสาวกในบาลีและอรรถกถา พระอัครสาวก 11 พระองค์ อัครสาวิกา 8 องค์ ภาพการบำเพ็ญกรรมฐาน สิ่งที่พึ่งปฏิบัติเนื่องด้วยธรรมวินัย ธุดงควัตร บนบานหน้าต่างและบานประตูด้านในเขียนพระสูตรที่เป็นคาถาด้วยตัวอักษรบรรจง เป็นต้น
ลำดับเจ้าอาวาส
แก้พระอารามแห่งนี้มีเจ้าอาวาสมาแล้วทั้งสิ้น 8 พระองค์/รูปได้แก่
ลำดับที่ | รูปภาพ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) | พ.ศ. 2411 | พ.ศ. 2425 | |
2 | พระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) | พ.ศ. 2425 | พ.ศ. 2443 | |
3 | พระธรรมปาโมกข์ (ถม วราสโย) | พ.ศ. 2443 | พ.ศ. 2462 | |
4 | พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) | พ.ศ. 2462 | พ.ศ. 2488 | |
5 | สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) | พ.ศ. 2488 | พ.ศ. 2514 | |
6 | พระเทพกิตติเมธี (หิ้น คนฺธาโร) | พ.ศ. 2514 | พ.ศ. 2516 | |
7 | สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) | พ.ศ. 2517 | พ.ศ. 2551 | |
8 | พระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม) | พ.ศ. 2565 | ปัจจุบัน |
คลังภาพ
แก้-
พระอุโบสถ
-
พระวิหาร
-
พระพุทธวชิรมกุฎ พระประธานในพระวิหารหลวง
-
พระประธานในพระอุโบสถ
-
พระเจดีย์
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๙๐