รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2505
รางวัลวงการบันเทิงไทย
การประกวดภาพยนตร์ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2505 จัดขึ้นโดยคณะกรรมการจัดงานวันเมตตา โดยนายหยิบ ณ นคร เป็นประธานจัดงาน มีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร เป็นประธานกรรมการตัดสิน การประกวดครั้งนี้จัดขึ้นหลังจากเว้นว่างไปเป็นเวลา 2 ปี [1]
รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2505 | |
---|---|
วันที่ | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 |
สถานที่ตั้ง | สวนอัมพร อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร |
รางวัลมากที่สุด | สายเลือด-สายรัก (6) |
พิธีประกาศผลอย่างเป็นทางการ จัด ณ สวนอัมพร เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506
ผู้ได้รับรางวัล
แก้รางวัลตุ๊กตาทอง
แก้สาขา | ผู้ได้รับรางวัล | ภาพยนตร์เรื่อง |
---|---|---|
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | เรือนแพ (อัศวินภาพยนตร์) | เรือนแพ (2504) |
ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม | ไชยา สุริยัน | เรือนแพ |
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม | เมตตา รุ่งรัตน์ | วัยรุ่นวัยคะนอง (2505) |
ผู้แสดงประกอบฝ่ายชายยอดเยี่ยม | ส. อาสนจินดา | เรือนแพ |
ผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม | สุพรรณ บูรณพิมพ์ | สุรีรัตน์ล่องหน (2504) |
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม | วิจิตร คุณาวุฒิ | สายเลือด-สายรัก (2505) |
บทประพันธ์ยอดเยี่ยม | วิจิตร คุณาวุฒิ | สายเลือด-สายรัก |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | "สัตตบุศย์" วิจิตร คุณาวุฒิ | สายเลือด-สายรัก |
รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม | รัตน์ เปสตันยี | แพรดำ (2504) (35 มม.) |
รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม | วิจิตร คุณาวุฒิ | สายเลือด-สายรัก |
รางวัลออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม | เฉลิม พันธุ์นิล | เรือนแพ |
รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม | นันทา วิเศษประภา (วรรณา คราประยูร) | รักสลักใจ (2504) |
รางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม | น้อย บุนนาค | เรือนแพ |
รางวัลตุ๊กตาเงิน
แก้สาขา | ผู้ได้รับรางวัล | ภาพยนตร์เรื่อง |
---|---|---|
รางวัลพิเศษสำหรับผู้ถ่ายภาพเทคนิคยอดเยี่ยม | วิจารณ์ ภักดีวิจิตร | สุรีรัตน์ล่องหน |
ผู้แสดงยอดเยี่ยมสำหรับเด็ก | ภูมิพงศ์ ทัศนะพยัคฆ์ | สายเลือด-สายรัก |
รางวัลพิเศษสำหรับผู้พากย์ | พันคำ - พวงเล็ก | สายเลือด-สายรัก |
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-01-07.
- http://www.thaifilm.com/awardsDetail.asp?id=58 เก็บถาวร 2011-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หนึ่งเดียว, หนังสือชุดพิพิธภัณฑ์หนังไทย "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย", 2549