ลูกทาส
ลูกทาส เป็นวรรณกรรมอมตะอิงประวัติศาสตร์ เป็นผลงานที่โดดเด่นอีกชิ้นหนึ่งของ รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก) ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2506 ในหนังสือพิมพ์รายปักษ์ เดลิเมล์วันจันทร์ เล่าถึงชีวิตลูกทาสที่ดิ้นรนต่อสู้จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และ ได้ครองคู่กับหญิงสาวสูงศักดิ์ที่หมายปอง
ลูกทาส | |
---|---|
ประเภท | ละครโทรทัศน์ |
สร้างโดย | บริษัท ทีวีซีน จำกัด |
เขียนโดย | รพีพร |
เนื้อเรื่องโดย | บทกร ลงเสียง |
กำกับโดย | ธรธร สิริพันธ์วราภรณ์ |
แสดงนำ | ภูภูมิ พงศ์ภาณุภาค ราณี แคมเปน วฤษฎิ์ ศิริสันธนะ กมลเนตร เรืองศรี |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | วันนั้นไม่ไกล - ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | เลือกแล้วคือเธอ - โบ สุนิตา |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนตอน | 13 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | ณัฏฐนันท์ ฉวีวงษ์ |
ความยาวตอน | 150 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
ออกอากาศ | 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 – 14 เมษายน พ.ศ. 2557 |
ลูกทาส ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2508 ของคณะนาฏศิลปสัมพันธ์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 โดย สัมพันธ์ พันธุ์มณี ได้ติดต่อผู้ประพันธ์ (ซึ่งขณะนั้นติดคุกคดีกบถเสรีภาพ) เพื่อขอให้จัดทำบทสำหรับแสดงทางทีวี โดยส่งงานออกมาทางปิ่นโตกับข้าว[1] ตามด้วยกมลศิลป์ภาพยนตร์สร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง [2] และยังได้รางวัลตุ๊กตาทองบทประพันธ์ยอดเยี่ยมกับรางวัลเพลงประกอบในงานตุ๊กตาทองประจำปี พ.ศ. 2508 ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นมีการนำมาสร้างเป็นภาพนยตร์และละครโทรทัศน์อีกหลายครั้ง
เนื้อเรื่อง
แก้ในปี พ.ศ. 2428 เป็นเรื่องราวของ แก้ว ทาสในเรือนของพระยาไชยากร เขาพยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะพ้นสภาพการเป็นทาส ในยุคแห่งกระบวนการเลิกทาสในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในราชวงศ์จักรีที่เริ่มมีการประกาศเลิกทาสและเกษียณอายุลุกทาสในแต่ละช่วงอายุ หากแต่นายเงินของแก้วนั้นไม่ยอมให้ความเป็นไทแก่บรรดาเหล่าทาสในครอบครอง แก้วจึงดิ้นรนและไข่วคว้าอิสรภาพที่เขาสมควรได้ ขณะเดียวกันก็ใฝ่หาความรู้ เพื่อการทำงานหลังจากเป็นไท เพื่อยกฐานะของตนเองขึ้นมาให้ทัดเทียมกับคุณน้ำทิพย์ หญิงสาวสูงศักดิ์ที่เป็นแรงใจให้เขามาตลอด
ตัวละคร
แก้- แก้ว หรือ หลวงรัตนะอรรถชัย ลูกชายคนเดียวของก้านและกิ่ง เป็นลูกทาสในเรือนหลวงไชยานุกร เมื่อเติบโตขึ้นจึงแอบเล่าเรียนวิชาในด้านของวิชากฎหมายที่เรือนคุณพระนิติธรรมลือชา แม้จะถูดขัดขวางทุกวิถีทางจากพระยาไชยากร ในด้านของความรักนั้นเขามีใจมั่นคงต่อคุณน้ำทิพย์
- คุณน้ำทิพย์ หญิงสาวเรียบร้อย อ่อนหวาน บุตรีของพระยาไชยากร เพียบพร้อมในทุก ๆ ด้านมีความรักบริสุทธิ์ให้กับแก้ว แม้ฐานะของเธอและเขาจะเแตกต่างกันจากฐานะนายและทาส และเป็นแรงบันดาลใจให้แก้วพยายามฝ่าฟันให้ได้เป็นข้าราชการจนสำเร็จ
- บุญเจิม ทาสสาวแสนสวยในเรือนของพระยาไชยากรหลงรักและมีใจให้กับแก้วด้วยความเจ็บปวดที่ความรักไม่สมหวัง จึงนำความของทั้งสองคนมาบอกกับบุญมีพี่ชายผู้มีความจงรักภักดีต่อพระยาไชยากรเพื่อแก้แค้นทั้งสองคน
- มาโนช หลานชายคนโปรดของพระยาไชยากร ชายหนุ่มผู้เพียบพร้อมแต่กลับทำตัวหยาบช้าหลงใหลในอำนาจวาสนาใช้ทุกหนทางแม้จะเลวร้าย เพื่อทำให้คุณน้ำทิพย์ หญิงสาวที่เขาหมายปองเป็นภรรยาของเขาให้ได้
นักแสดง
แก้การสร้าง
แก้ภาพยนตร์
แก้- พ.ศ. 2507 ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 16 มม. กำกับโดย น้อย กมลวาทิน[3] อำนวยการสร้างโดย รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง สร้างโดย กมลศิลป์ภาพยนตร์ นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน, พิศมัย วิไลศักดิ์, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, ประจวบ ฤกษ์ยามดี เข้าฉายเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 ที่โรงภาพยนตร์แกรนด์ ได้รับความนิยมเช่นกัน ภาพยนตร์ได้รับราวัล บทประพันธ์ยอดเยี่ยม (ระพีพร) และเพลงประกอบยอดเยี่ยม (สมาน กาญจนผลิน - ชาลี อินทรวิจิตร)
- พ.ศ. 2522 ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 70 มม. อำนวยการสร้างโดย สันติ สันติพัฒนาชัย สร้างโดย ไทยสตาร์ภาพยนตร์ กำกับโดย รพีพร, กำธร สุวรรณปิยะศิริ[4] นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี, นันทนา เงากระจ่าง, วงเดือน อินทราวุธ, เศรษฐา ศิระฉายา, สมภพ เบญจาธิกุล, เดือนเต็ม สาลิตุล, สมจินต์ ธรรมฑัต, ศิรินทิพย์ ศิริวรรณ, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, วิทยา สุขดำรงค์, ภิญโญ ปานนุ้ย, เชาว์ แคล่วคล่อง, กฤษณะ อำนวยพร แต่เดิมได้วางตัวปิยะ ตระกูลราษฎร์ในบทแก้ว[5] เข้าฉายเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 ที่โรงภาพยนตร์แกรนด์-แอมบาสเดอร์ แต่กระแสหนังก็ไม่ค่อยแรงนัก
ละครโทรทัศน์
แก้ลูกทาส เคยถูกดัดแปลงมาเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 5 ครั้ง ได้แก่
- พ.ศ. 2508 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 โดยคณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ โดย สัมพันธ์ พันธุ์มณี จัดโดย ทัต เอกทัต บทโทรทัศน์โดย เอกสองฑัต กำกับการแสดงโดย พิชัย วาศนาส่ง[6] นำแสดงโดย กำธร สุวรรณปิยะศิริ, อารีย์ นักดนตรี, บุศรา นฤมิตร, สมจินต์ ธรรมทัต, ทัต เอกทัต, กนกวรรณ ด่านอุดม, ชาลี อินทรวิจิตร, จำรูญ หนวดจิ๋ม, รอง เค้ามูลคดี, วลิต สนธิรัตน์, เสริมพันธ์ สุทธิเนตร, ขวัญ สุวรรนะ, ประกอบ อรุณแสง, เพ็ญ พัชรา ออกอากาศเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2508
- พ.ศ. 2521 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จัดโดย ศิริพร วงศ์สวัสดิ์ นำแสดงโดย นิรุตติ์ ศิริจรรยา, รัชนู บุญชูดวง, กรรณิกา ธรรมเกษร, จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา, กิตติ ดัสกร, เมตตา รุ่งรัตน์, ทัต เอกทัต, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, ส. อาสนจินดา ออกอากาศทุกวันจันทร์-พุธ-ศุกร์ เวลา 19.00 น.
- พ.ศ. 2532 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 สร้างโดยปริทรรศน์ฟิล์ม วิดีโอ กำกับการแสดงโดย ชุติมา สุวรรณรัต นำแสดงโดย เอกพัน บันลือฤทธิ์, อลิษา ขจรไชยกุล, ปัทมา ปานทอง, วีรยุทธ รสโอชา, สุริยา ไพรหิรัญ, มณฑาทิพย์ แก้วประเสริฐ, วิทยา สุขดำรงค์, ศิรินภา สว่างล้ำ, วุฒิ คงคาเขตร, โฉมฉาย ฉัตรวิไล ออกอากาศทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 21.00 - 22.00 น. ออกอากาศเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2532 [7]
- พ.ศ. 2544 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สร้างโดย บริษัท ร.ศ. ๒๑๙ พิคเจอร์ จำกัด และ บริษัท เทวา ดราม่า แอนด์ ฟิล์ม บทโทรทัศน์และกำกับการแสดงโดย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล นำแสดงโดย เกริกพล มัสยวาณิช, สิริยากร พุกกะเวส, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, กรรชัย กำเนิดพลอย, สถาพร นาควิลัย, สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ, ธัญญา โสภณ, สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, ศักราช ฤกษ์ธำรงค์, สันติสุข พรหมศิริ, วรวุฒิ นิยมทรัพย์, ชลิดา เถาว์ชาลี, สะแกวัลย์ ยงใจยุทธ ออกอากาศในช่วงเวลาหลังข่าวภาคค่ำ[8]
- พ.ศ. 2557 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สร้างโดย ทีวีซีน จัดโดย ณัฏฐนันท์ ฉวีวงษ์ กำกับการแสดงโดย ธรธร สิริพันธ์วราภรณ์ บทโทรทัศน์โดย บทกร ลงเสียงประกอบโดย ทีมไจแอ็นท์ เวฟ และ ปั้น-ปั้น นำแสดงโดย ภูภูมิ พงศ์ภาณุ รับบท แก้ว, ราณี แคมเปน รับบท น้ำทิพย์, วฤษฎิ์ ศิริสันธนะ รับบท คอก, กมลเนตร เรืองศรี รับบท บุญเจิม, ศรราม เทพพิทักษ์ รับบท พระนิติธรรมลือชา, ธารธารา รุ่งเรือง รับบท ตุ๊กตา, บุศย์สิริ รัตนาไพศาลสุข รับบท คุณแดง, จักรกฤษณ์ อำมรัตน์ รับบท พระยาไชยากร, โชติกา วงศ์วิลาศ รับบท นิ่ม, ปนัดดา วงศ์ผู้ดี รับบท น้อม, วริษฐ์ ทิพโกมุท รับบท มาโนช, วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์ รับบท เฉียวหู, โกสินทร์ ราชกรม รับบท บุญมี, ปวีณา ชารีฟสกุล รับบท กิ่ง, โฉมฉาย ฉัตรวิไล รับบท นมอ้อน, กฤติกา ซิงห์ รับบท อบเชย, ณฐกร ไตรกิศยเวช รับบท เค้ง, ธนาวุฒิ เกสโร รับบท ลอย, ชัชวาล เพชรวิศิษฐ์ รับบท อ้น, สุเชาว์ พงษ์วิไล รับบท หมื่นลพ, อติรุจ สุวรรณ รับบท พลอย, สุรินทร คารวุตม์ รับบท เข้ม, นริสา เกสะวัฒนะ รับบท คุณหญิงลอง, กลศ อัทธเสรี รับบท พระยาเดชารณภพ, นิรุติ สาวสุดชาติ รับบท ใบ, เบญจสิริ วัฒนา รับบท อ่อน, กิตติพล เกศมณี รับบท , ชยุตพล บำเพ็ญ รับบท , กนกกาญจน์ จุลทอง รับบท ออกอากาศทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.15 - 22.45 น.[9] ออกอากาศเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 – 14 เมษายน พ.ศ. 2557
- พ.ศ. 2560 ช่อง 3 ได้นำละครลูกทาส กลับมาออกอากาศรีรันอีกครั้ง โดยจะออกอากาศทุกวัน วันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา 18.20 - 19.55 น., ยกเว้นวันศุกร์ เวลา 18.00 - 19.35 น. เริ่มตอนแรกวันที่ 11 ตุลาคม-31 ตุลาคม ต่อจากละครเตียงนางไม้
ละครเวที
แก้- พ.ศ. 2536 ถูกนำไปสร้างเป็นละครเวทีเทิดพระเกียรติพระปิยมหาราช รายได้เพื่อจัดตั้งกองทุน สุวัฒน์ วรดิลก เพื่อธรรมศาสตร์ บทละครเวทีโดย รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก) นำแสดงโดย บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์, กมลชนก โกมลฐิติ, เพ็ญ พิสุทธิ์ แสดงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (2 รอบ) ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ้างอิง
แก้- ↑ บูรพา อารัมภีร ,เพลงละครลูกทาส คอลัมน์เพลงของพ่อ, มติชนสุดสัปดาห์ 2-8 พ.ย. 2550
- ↑ ลูกทาส..ที่ยังไม่เป็นไท โดย มนัส กิ่งจันทร์
- ↑ ลูกทาส (2507) ที่เว็บไซต์ ThaiFilmDb
- ↑ ลูกทาส (2522) ที่เว็บไซต์ ThaiFilmDb
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-03-04.
- ↑ สูจิบัตร ละครเทิดพระเกียรติพระปิยมหาราช เรื่อง ลูกทาส ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๖
- ↑ ละคร ลูกทาส พ.ศ. ๒๕๓๒[ลิงก์เสีย]
- ↑ always on my mind...: ลูกทาส (2001)
- ↑ "เรื่องย่อละคร ลูกทาส 2557 : Manager Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-14. สืบค้นเมื่อ 2014-02-26.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |