รายชื่อคณะเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย

สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่จัดการเรียนการสอนในสาขาเทคนิคการแพทย์ ต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาเทคนิคการแพทย์ถึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบใบประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์

ประวัติ แก้

คณะเทคนิคการแพทย์ก่อตั้งขึ้นสืบเนื่องมาจากการขาดแคลนบุคลากรที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงต้องนำพยาบาลมาฝึกหัดการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการแทน ซึ่งเป็นการใช้บุคลากรไม่ตรงตามสาขาวิชาที่เรียนมา ดังนั้น ทางคณะจึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อร่างหลักสูตรในการผลิตบุคลากรทางห้องปฏิบัติการ แต่โครงการต้องระงับไปเนื่องจากยังอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ในปี พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ขอความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID ในปัจจุบัน) โดยส่ง นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์ และ นพ.เชวง เดชะไกศยะ ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเทคนิคการแพทย์ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 ปี และได้เริ่มก่อสร้างโรงเรียนสำหรับผลิตเทคนิคการแพทย์ขึ้น 2 แห่ง ได้แก่ ที่คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมีพระราชกฤษฎีจัดตั้ง “โรงเรียนเทคนิคการแพทย์” สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2499[1] เมื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์มีการอนุมัติหลักสูตรเทคนิคการแพทย์แล้วเสร็จจึงมีพระราชกฤษฎีจัดตั้ง "คณะเทคนิคการแพทย์" ขึ้นอย่างเป็นทางการในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2500[2] ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นคณบดีท่านแรก ซึ่งมีที่ทำการอยู่ 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราช และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยในระยะแรกนั้นคณะเทคนิคการแพทย์จัดการเรียนการสอนเพียงระดับอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์ (อทกพ.) เท่านั้น

ต่อมา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ปรับขยายหลักสูตรเทคนิคการแพทย์จากระดับอนุปริญญาเป็นระดับปริญญาตรีเมื่อ พ.ศ. 2503 โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) ซึ่งนับว่าเป็นการปรับหลักสูตรก่อนประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 ปี ในปี พ.ศ. 2514 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในส่วนที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้โอนมาเป็นภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นสถาบันแห่งที่ 2 ที่เปิดการเรียนการสอนในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์[3] และมีการตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นแห่งที่ 3

นอกจากสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์แล้ว คณะเทคนิคการแพทย์บางแห่งยังจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์อื่น ๆ ด้วย เช่น คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดการเรียนการสอนสาขาวิชารังสีเทคนิคเพื่อผลิตบุคลากรด้านรังสีวิทยาขึ้นอีกสาขาเมื่อ พ.ศ. 2508, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชากิจกรรมบำบัด กายภาพบำบัด และรังสีเทคนิค เป็นต่น

ด้วยเหตุที่ชื่อคณะเทคนิคการแพทย์นั้นมีความจำเพาะกับวิชาชีพเทคนิคการแพทย์เท่านั้น ในระยะหลังมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น สาขาวิชากายภาพบำบัด สาขาวิชารังสีเทคนิค จึงใช้ชื่อ "คณะสหเวชศาสตร์" มากขึ้น

รายชื่อ แก้

อักษรย่อ
คณะ มหาวิทยาลัย หลักสูตร การรับรองหลักสูตร
MT PT RT OT ND
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น    
  สำเร็จ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต  
  สำเร็จ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  
  สำเร็จ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่        
  สำเร็จ
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล    
  สำเร็จ
คณะเทคนิคการแพทย์ a มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
  สำเร็จ
คณะเทคนิคการแพทย์ a มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น  
  สำเร็จ
คณะเทคนิคการแพทย์ a มหาวิทยาลัยเนชั่น MT รับรองหลักสูตรเป็นปีแรก พ.ศ. 2562
คณะสหเวชศาสตร์
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย        
  สำเร็จ
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา    
  สำเร็จ
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    
  สำเร็จ
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร      
  สำเร็จ
คณะสหเวชศาสตร์ a มหาวิทยาลัยบูรพา    
  สำเร็จ
สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์    
  สำเร็จ
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  
  สำเร็จ
คณะวิทยาศาสตร์ a มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  สำเร็จ
คณะกายภาพบำบัด
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล    
  สำเร็จ
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    
  สำเร็จ
สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ
สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  
  สำเร็จ
หมายเหตุ
  •   สำเร็จ หมายถึง ได้รับการรับรองแล้ว
  • a หมายถึง เห็นชอบให้จัดการเรียนการสอนและประเมินทุก 1 ปี การที่สภาเทคนิคการแพทย์ให้การรับรองสถาบันที่มีการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ โดยการติดตามและประเมินอย่างใกล้ชิดเพื่อความพร้อมในประเด็นต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่สภาเทคนิคการแพทย์กำหนด

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๔๙๙, เล่ม ๗๓, ตอน ๔๐ ก, ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙, หน้า ๖๐๒
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๐, เล่ม๗๔, ตอน ๖๐ ก, ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐, หน้า ๑๑๔๓
  3. "ประวัติคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  4. รายชื่อสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ ที่สภาเทคนิคการแพทย์อนุมัติให้บัณฑิตขอขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2555[ลิงก์เสีย]