คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (วันประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาพร้อมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) [1] เป็นคณะเทคนิคการแพทย์แห่งแรกและแห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University
ชื่อย่อทนพ. / AMS
สถาปนา21 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 (45 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
ที่อยู่
สี███ สีน้ำเงิน
เว็บไซต์https://ams.kku.ac.th/

ประวัติ แก้

ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2516 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยคณะต่างๆ 7 คณะ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จากนั้น โครงการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการบรรจุเข้าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519) โครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ อยู่ในโครงการศูนย์แพทยศาสตร์ ระยะที่ 2 ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) [2]

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตนักเทคนิคแพทย์ และเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ยกระดับบริการทางด้านห้องปฏิบัติการชันสูตรสาธารณสุข และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเจ้าหน้าที่ชันสูตรสาธารณสุขในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยและส่งเสริมงานบริการประชาชนทางด้านนี้ นอกจากนี้คณะเทคนิคการแพทย์ยังมีหน้าที่ผลิตนักกายภาพบำบัด เป้าหมายเพื่อพัฒนาการเป็นแหล่งกลางของการตรวจทางห้องปฏิบัติการชันสูตรสาธารณสุขและกายภาพบำบัด สำหรับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และหน่วยงานในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นตัวกลางในการสนับสนุนทางด้านวิชาการ งานวิจัยทางเทคนิคการแพทย์ และกายภาพบำบัดทั้งภายในและภายนอกประเทศ[3]

สัญลักษณ์ แก้

  • สัญลักษณ์ประจำคณะ

สัญลักษณ์ประจำคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ งูพันเส้นเลือดแดง

  • สีประจำคณะ

  สีน้ำเงิน

หลักสูตร แก้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[4]
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สาขาชีวเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิกและการจัดการ
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด(โครงการพิเศษ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวของมนุษย์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวของมนุษย์ (นานาชาติ)

คณบดี แก้

ทำเนียบคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ พิสิฏฐ์ สัณฑ์พิทักษ์ พ.ศ. 2521 - 2527
2. รองศาสตราจารย์ สุภาภรณ์ พัวเพิ่มพูลศิริ พ.ศ. 2527 - 2527 (รักษาการแทนฯ)
3. รองศาสตราจารย์ สุภินันท์ สายเชื้อ พ.ศ. 2527 - 2529
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง เนตรเฉลียว สัณฑ์พิทักษ์ พ.ศ. 2529 - 2533
5. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ศาสตรี เสาวคนธ์ พ.ศ. 2533 - 2537
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพศาล มงคลวงศ์โรจน์ พ.ศ. 2537 - 2540
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง จิราพร สิทธิถาวร พ.ศ. 2540 - 2543
8. รองศาสตราจารย์ ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ พ.ศ. 2543 - 2547
9. รองศาสตราจารย์ ชูชาติ อารีย์จิตรานุสรณ์ พ.ศ. 2547 - 2550
10. รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ พ.ศ. 2550 - 2559
11. รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรี เจียรนัยกูร พ.ศ. 2559 - 2562
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ทนพญ. จุรีรัตน์ ดาดวง พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

งานวิจัย แก้

ปัจจุบันคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยเฉพาะทางที่ชื่อว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หรือ ศวป. (Centre for Research and Development of Medical Diagnostic Laboratories, CMDL) โดยมีเป้าหมายคือ พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา เป็นศูนย์ปฏิบัติการอ้างอิงในระดับชาติ และภูมิภาคโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซีย โอเซียเนีย เป็นศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทางทั้งการให้บริการทางห้องปฏิบัติการและการวิจัยเป็นศูนย์การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตชุดน้ำยาตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานและผลิตได้เอง ภายในประเทศและเป็นแหล่งรวมและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยมุ่งดำเนินการวิจัยและพัฒนาใน 4 แนวทางหลัก ดังนี้

1. โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมีย

2. โครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

3. โครงการวิจัยและพัฒนาภูมิคุ้มกันระดับโมเลกุลและการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ

4. โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อ

จากการดำเนินงานในช่วง พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2548 ของโครงการย่อยทั้ง 4 โครงการ สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการต่างๆได้รวมทั้งสิ้น 53 เรื่อง โดย ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ นานาชาติ จำนวน 41 เรื่อง และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ในประเทศ จำนวน 12 เรื่องนอกจากนี้นักวิจัยของ ศวป. มีผลงานวิจัยและพัฒนาที่ได้รับการจดสิทธิบัตรไปแล้ว 1 รายการ

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้

ดูเพิ่ม รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

หมายเหตุ รายนามดังกล่าว จัดเรียงชื่อและนามสกุลตามตัวอักษร

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 95, ตอนที่ 72 ก, 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521, หน้า 433
  2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะเทคนิคการแพทย์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 142
  3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะเทคนิคการแพทย์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 143
  4. ระบบฐานข้อมูลหลักสูตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดูเพิ่ม แก้

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะเทคนิคการแพทย์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 141 - 150
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะเทคนิคการแพทย์", 30 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัย, 2537, หน้า 67 - 69

แหล่งข้อมูลอื่น แก้